Emergency-Numbers

เหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดอย่างอุบัติเหตุต่างๆ บนท้องถนน มักจะเกิดขึ้นแบบไม่ทันได้ตั้งตัวเสมอ รวมถึงเหตุคับขันต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ปัญหารถยนต์สตาร์ทไม่ติดในชั่วโมงเร่งรีบ น้ำมันหมดระหว่างทาง แม้กระทั่งกุญแจหาย หรือเผลอลืมทิ้งไว้ในรถ

ซึ่งคนเราเวลาเกิดเหตุแบบนี้มักตกใจ ทำอะไรต่อไม่ถูก อย่างแรกที่ควรทำเมื่อเจอเหตุการณ์เหล่านี้คือ ตั้งสติ แล้วโทรแจ้งขอความช่วยเหลือกับหน่วยงานที่รับผิดชอบนั้นๆ ซึ่ง คาร์โร ได้รวบรวมมาให้คุณแล้ว ดังนี้

เบอร์ฉุกเฉินแจ้งเหตุด่วน เหตุร้าย ที่ ‘คนขับรถ’ ต้องรู้!

หมายเลขโทรศัพท์ สำหรับแจ้งเหตุด่วนเหตุร้าย

เหตุด่วนเหตุร้าย โทร.191 หรือ โทร.1190

ตำรวจทางหลวง โทร.1193

โจรกรรมรถยนต์ โทร.1192

ข้อมูลจราจร โทร.1197

อุบัติเหตุบนทางหลวง โทร.1193

ศูนย์ความปลอดภัย กรมทางหลวงชนบท โทร.1146

เบอร์ฉุกเฉินแจ้งเหตุด่วน เหตุร้าย ที่ ‘คนขับรถ’ ต้องรู้!

หมายเลขโทรศัพท์ สำหรับแจ้งเหตุด่วนเหตุร้าย

สอบถามเส้นทางบนทางด่วน (การทางพิเศษแห่งประเทศไทย) โทร.1543

ศูนย์ความปลอดภัย กรมทางหลวงชนบท โทร.1146

สายด่วนอุบัติเหตุ โทร.02-711-9161-2

สายด่วนรถหาย โทร.02-711-9160

หน่วยแพทย์กู้ชีพ โทร.1154

ตำรวจท่องเที่ยว โทร.1155

สายด่วนประกันภัย โทร.1186

แจ้งอุบัติเหตุ รพ.ตำรวจ โทร.1691

ศูนย์นเรนทร กระทรวงสาธารณสุข โทร.1669

ศูนย์เอราวัณ โทร.1646

หน่วยกู้ชีวิต วชิรพยาบาล โทร.1554

เบอร์ฉุกเฉินแจ้งเหตุด่วน เหตุร้าย ที่ ‘คนขับรถ’ ต้องรู้!

หมายเลขโทรศัพท์ สำหรับแจ้งเหตุด่วนเหตุร้าย (ศูนย์วิทยุ)

สถานีวิทยุ สวพ.91 โทร.1644

จส.100 โทร.1137 หรือ *1808

ร่วมด้วยช่วยกัน โทร.1677

ศูนย์วิทยุรามา โทร.02-3546999

ศูนย์วิทยุกรุงธน โทร.02-4517227-9

ศูนย์วิทยุปอเต๊กตึ๊ง โทร.02-2264444-8

สายด่วนเมาไม่ขับ โทร.1717

หมายเลขโทรศัพท์ สำหรับสอบถามข้อมูลต่างๆ / ร้องเรียน

การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร.1690

องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) โทร. 1348

สหกรณ์แท็กซี่สยาม โทร.1661

TAXI-RADIO โทร.1681

บริษัท โอเรียนท์ ไทย แอร์ไลน์ จำกัด โทร.1126

บริษัท สายการบินนกแอร์ จำกัด โทร.1318

บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) โทร.1566

บริษัท บางกอก แอร์เวย์ จำกัด โทร.1771

ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ของรัฐบาล โทร.1111

เชื่อว่าใครหลายคนอาจคิดว่าไม่จำเป็น เพราะอุบัติเหตุต่างๆยังไม่เกิดขึ้นกับคุณ ซึ่งนั้นเป็นเรื่องที่ดี แต่ด้วยความไม่ประมาท ควรบันทึกหมายเลขโทรศัพท์เหล่านี้ไว้ในมือถือของคุณ เพราะขณะเกิดเหตุจริงๆจะได้ใช้ได้ทันท่วงที

อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ที่ต้องเดินทางในช่วงปกติหรือเทศกาลต่างๆ สิ่งสำคัญควรเพิ่มความระมัดระวังให้เป็นพิเศษเพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของตัวคุณเองนะคะ

หากคุณต้องการขายรถด่วน เพื่อไปซื้อรถคันใหม่ หรือรับเงินก้อนไปใช้ สามารถขายรถคันเก่า หรือตีราคารถกับทาง CARRO ได้ ง่ายๆ ได้เงินไว! กับ CARRO Express เพียงแค่คลิก https://th.carro.co/sell-car/express หรือสามารถ Inbox มาขอรายละเอียดได้ที่ Facebook CARRO Thailand

หรือจะ Add Line สอบถามรายละเอียดได้ที่ @Carrothailand หรือคลิกที่นี่ —> เพิ่มเพื่อน

10-Car-Equipment-Less-In-This-Time

รถยนต์ในปัจจุบัน มีเทคโนโลยีที่พัฒนาก้าวหน้าไปไกลจากในอดีตมาก อุปกรณ์ติดรถบางอย่าง ที่เคยจำเป็นในอดีต แม้ว่าในการใช้งาน จะต้องออกแรงกันเป็นหลัก แต่มันก็ให้ความทนทาน และไม่ต้องพึ่งพิงระบบไฟฟ้า ในการทำงาน

รถยุค 70 รถยุค 80 สิ่งของจำเป็นเหล่านี้ยังได้รับความนิยม แต่พอมาจนถึงรถยุค 90 จวบจนในปัจจุบัน อาจจะหมดความสำคัญ ถูก Disrupt ออกไปจนแทบจะไม่มี หรือหายไปจากในรถยนต์แล้ว ก็มีอยู่หลายอย่าง …

ทาง CARRO ขอรวบรวม 10 อุปกรณ์ติดรถ ที่กำลังจะสูญพันธ์ มาให้ท่านผู้อ่านได้ทราบกันครับ

10-Car-Equipment-Less-In-This-Time

1. กระจกมือหมุน

ถือเป็น 1 ในอุปกรณ์ติดรถที่สำคัญมาตั้งแต่อดีต “กระจกมือหมุน” อาศัยการทำงานแบบกลไกเป็นหลัก พอถึงในยุคที่มีกระจกไฟฟ้าแล้ว ก็จะเหลือแต่รถยนต์รุ่นล่างๆ ที่ยังติดตั้งกระจกหน้าต่างมือหมุนมาให้เป็นอุปกรณ์มาตรฐาน แม้จะดูว่าโบราณ และบางทีต้องเอี้ยวตัวไปเปิด (ฝั่งด้านคนนั่ง) ซึ่งไม่สะดวกเอาซะเลย

แต่ก็ได้เรื่องความทนทาน เวลาไม่ได้สตาร์ทรถ ก็ยังสามารถหมุนกระจกได้ รวมถึงเวลาฉุกเฉิน ก็ยังสามารถหมุนกระจกได้ และดูแลรักษาง่าย ใช้งานได้ยาวนาน จนกว่ารถจะพัง หรือรางหมุนกระจกด้านใน สนิมกินหมดซะก่อน

10-Car-Equipment-Less-In-This-Time

2. ที่จุดบุหรี่

ในอดีตรถยุคก่อนมักจะติดที่จุดบุหรี่ มาให้คู่กับที่เขี่ยบุหรี่ เพราะการสูบบุหรี่ในสมัยก่อนถือเป็นเรื่องธรรมดา แต่ช่วง 20 กว่าปีที่ผ่านมา ผู้คนเริ่มตระหนักถึงพิษภัยของบุหรี่มากขึ้น

ทำให้บรรดาค่ายรถต่างๆ เริ่มเปลี่ยนที่จุดบุหรี่ มาเป็นช่องเสียบปลั๊กไฟขนาด 12V พร้อมกับฝาพลาสติกปิดตรงจุดจ่ายไฟ แทนที่จุดบุหรี่ ส่วนที่เขี่ยบุหรี่ ก็เปลี่ยนเป็นที่เก็บเศษสตางค์ไปแทน

10-Car-Equipment-Less-In-This-Time

3. เกียร์ธรรมดา

รถเกียร์ธรรมดา ปัจจุบันยังได้รับความนิยมในประเทศแถบยุโรป เนื่องจากความทนทาน ประหยัด ขับในเมืองเล็กๆ หรือขึ้นเขาลงเขาได้สนุก ต่างจากประเทศในแถบเอเชีย ที่หลายประเทศรถติดอันดับโลก หรือรถติดมากๆ ในช่วงเวลาเร่งด่วน

ทำให้เกียร์ธรรมดา มีเฉพาะในรถรุ่นล่างๆ กับรถกระบะเท่านั้น เพราะการขับรถเกียร์ธรรมดา ผู้คนไม่นิยมแล้ว เนื่องจากขับค่อนข้างยาก สำหรับคนที่ยังไม่ชำนาญ และกรุงเทพฯ ขึ้นชื่อว่ารถติดอันดับต้นๆ ของโลก การขับรถเกียร์ธรรมดาตอนรถติดๆ ต้องเหยียบคลัทช์กันแทบตลอดเวลา เล่นซะขาซ้ายน่องโป่งข้างเดียวซะก่อน

10-Car-Equipment-Less-In-This-Time

4. วิทยุติดรถยนต์แบบ 1 DIN

DIN ย่อมาจาก Deutsches Institut fur Normung (ในภาษาอังกฤษ คือ German Institute for Standardization) ซึ่งอาจจะไม่ได้เกี่ยวข้องกับเครื่องเสียงโดยตรงนัก แต่ DIN มีกำหนดมาตรฐานของเครื่องเสียงของเยอรมนีเอาไว้ด้วย (มาตรฐาน “DIN 75490”) เลยกลายเป็นคำยอดฮิตสำหรับเรียกวิทยุติดรถยนต์ไป

วิทยุ 1 DIN หรือ EURO-DIN จะมีขนาดของวิทยุกว้าง 180 มม. สูง 50 มม. ราวๆ ประมาณนี้ บวกลบนิดหน่อย ในอดีตจะเป็นวิทยุ FM/AM พร้อมช่องใส่เทปคาสเซท หรือ CD แต่ในปัจจุบัน ก็ปรับเปลี่ยนเป็นช่องเสียบ USB และ AUX แทน

แต่วิทยุติดรถยนต์ปัจจุบัน แทบทั้งหมดในท้องตลาดจะเป็นแบบ 2 DIN มีทั้งแบบปุ่มกด และแบบจอสัมผัส หรือวิทยุรูปทรง Built-In เข้ากับตัวคอนโซลรถ จำหน่ายหรือติดตั้งมาจากโรงงาน ทำให้วิทยุติดรถ 1 DIN แบบเก่า ที่เคยนิยมมาตั้งแต่ในรถยุค 80 และรถยุค 90 เริ่มน้อยลงจากในรถยนต์รุ่นใหม่ที่ออกมาจากโรงงานมากขึ้นเรื่อยๆ

10-Car-Equipment-Less-In-This-Time

5. ยางอะไหล่แบบกระทะเหล็ก และล้อแม็ก

แม้ว่ายางอะไหล่แต่เดิมนั้น ส่วนใหญ่มักใช้แบบกระทะเหล็กขนาดเดียวกับล้อรถ แต่รถราคาแพงหน่อย ก็จะเป็นล้อแม็กลายเดียวกับที่ติดมากับตัวรถ

แต่เพราะยางอะไหล่ แค่ใช้งานชั่วคราว แต่การลดต้นทุน รวมถึงการเพิ่มเนื้อที่เก็บสัมภาระท้ายรถได้มากขึ้น บริษัทรถจึงเริ่มนิยมใช้ยาวหน้าแคบ และล้อกะทะเหล็กขนาดบาง สำหรับเป็นยางอะไหล่ แถมช่วยให้น้ำหนักด้านท้ายรถเบาลง

แต่ในปัจจุบัน ชุดปะยางสำเร็จรูป ที่กำลังมาแทนที่ยางอะไหล่ และได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ

10-Car-Equipment-Less-In-This-Time

6. คิ้วกันกระแทกรอบคัน

ในอดีต รถส่วนใหญ่มักนิยมประดับตัวรถ ด้วยคิ้วกันแทกบริเวณด้านหน้า ด้านข้างตัวรถ และด้านหลัง อาจจะทำจากวัสดุเช่น ยาง โครเมียม หรือสแตนเลส เป็นต้น เพื่อกันกระแทกเวลาเลี้ยวหรือเปิดประตู เพื่อป้องกันตัวถังเป็นรอยหรือโดนเบียด และดูสวยงาม หรูหรา

แต่ในปัจจุบัน รถส่วนใหญ่ไม่นิยมติดคิ้วกันกระแทกให้แล้ว เน้นการเล่นเส้นสายด้านข้างของตัวรถมากกว่า

10-Car-Equipment-Less-In-This-Time

7. เบรกมือ

ในอดีต เบรกมือนั้นมักติดตั้งอยู่บริเวณด้านใต้พวงมาลัยรถ เป็นก้านสำหรับดึงเข้า-ออก ดังเห็นได้จากรถกระบะในอดีตหลายๆ รุ่น หรือเบรกแบบใช้เท้าเหยียบ (รถอเมริกันสมัยก่อนนิยมใช้) พอช่วงประมาณต้นยุค 70 เป็นต้นมา เบรกมือเริ่มนิยมติดตั้งบริเวณระหว่างกึ่งกลางเบาะคู่หน้า พร้อมก้านดึงและปุ่มสำหรับกด เพื่อใช้ปลดล็อก

แต่ในปัจจุบัน รถหลายรุ่นเริ่มนิยมใช้เบรกมือไฟฟ้า เพราะใช้งานได้สะดวกมากยิ่งขึ้น แต่เบรกมือรถยนต์ในรูปแบบเก่า ยังคงมีติดตั้งอยู่แต่ก็เริ่มน้อยลงเรื่อยๆ

10-Car-Equipment-Less-In-This-Time

8. เสาอากาศไฟฟ้า

นับตั้งแต่ยุค 50 ที่วิทยุเริ่มแพร่หลายในรถยนต์ เสาอากาศไฟฟ้าก็ถือเป็น 1 ในออพชั่นที่รถยนต์หรูหราจากทั่วโลกนิยมติดตั้งมาให้บริเวณหน้ารถ หรือท้ายรถ จนถึงในยุค 2000 เสาอากาศไฟฟ้าในรถยนต์ก็เริ่มลดบทบาทลง

เนื่องจากมีการพัฒนาเสาอากาศแบบเป็นเส้นฝังอยู่ในกระจก รวมไปถึงมีเสาอากาศขนาดเล็ก (ซึ่งมีทั้งแบบเป็นยาง หรือแบบครีบหูฉลาม ติดตั้งบนหลังคา) มาแทนที่ เสาอากาศไฟฟ้าในรถยนต์รุ่นใหม่ๆ จึงค่อยๆ หายไป

10-Car-Equipment-Less-In-This-Time

9. กระจกมองข้าง ปรับจากภายในรถ

ในยุคที่กระจกมองข้างยังเป็นแบบธรรมด้า ธรรมดา ผู้ใช้รถต้องซื้อมาติดเอง (เพราะสมัยก่อน รถยนต์ส่วนใหญ่ ไม่มีกระจกมองข้างติดตั้งมาให้) เวลาจะปรับจะพับ ก็ใช้มือนี่ล่ะครับ ปรับกับกะระยะมุมมองเอา

ถ้ากระจกมองข้างติดบริเวณมุมล้อหน้า (ยอดฮิตในรถญี่ปุ่นช่วงยุค 60 ถึงต้นยุค 80) ก็ต้องทั้งกะทั้งเล็งเป็นพิเศษหน่อย ในช่วงปลายยุค 70 กระจกมองข้างปรับไฟฟ้า เริ่มเข้ามานิยมในรถยนต์รุ่นหรูหรา กับรถรุ่นท็อป ต่อมาจึงกลายเป็นอุปกรณ์มาตรฐานที่ติดรถกันไปแล้วทุกยี่ห้อ (บางรุ่น ก็มีแค่ปรับด้วยไฟฟ้าอย่างเดียว เวลาพับ ต้องใช้มือพับ)

เหลือแต่ในรถยนต์รุ่นล่างๆ ที่ยังใช้กระจกมองข้าง แบบมีก้านปรับจากภายในรถ แต่ก็มีให้เห็นน้อยลงเรื่อยๆ

10-Car-Equipment-Less-In-This-Time

10. ล้อแม็ก 13 นิ้ว และ 14 นิ้ว

ย้อนไปดูรถยุค 80 เป็นยุคที่ล้อแม็กติดรถ เริ่มมีให้เห็นกันมากขึ้น มากกว่าล้อกระทะเหล็กและฝาครอบล้อ โดยล้อแม็กในขณะนั้นส่วนมากก็จะเป็นลายแบบเรียบๆ ง่ายๆ หรือเน้นแนวเหลี่ยม ล้อซี่ลวด หรือล้อกล้วยเป็นหลัก และส่วนใหญ่มีขนาดแค่ 13 นิ้ว

ล้อแม็กยี่ห้อฮิตๆ หน่อยในยุคนั้น เท่าที่เห็นก็มี Tom’s, Enkai, Dunlop, Lenso, Speedstar, Bridgestone Zona, Watanabe, Hayashi, Kosei, Yachiyoda, RG, Rial, Cromodora หรือ BBS เป็นต้น

ทำให้ล้อแม็กขนาด 14 นิ้ว ยังมีติดรถเป็นอุปกรณ์มาตรฐานให้เห็นอยู่เฉพาะในรุ่นเล็กๆ และรุ่นย่อยล่างๆ เท่านั้น

ดูอุปกรณ์รถย้อนยุคแต่ละคันกันไปแล้ว ถ้าใครอยากเล่นรถยุค 70 รถยุค 80 รถยุค 90 ที่คนเล่นรถเก่าชอบ ก็ลองมาปรึกษาดูได้ครับ

หากช่วงนี้ใครต้องการซื้อรถมือสองคุณภาพเยี่ยม ผ่านการตรวจสภาพได้มาตรฐาน รับประกันพร้อมโอนทุกคัน หรือหารถมือสองรุ่นที่ต้องการ สามารถเข้ามาดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ CARRO Automall > https://th.carro.co/buy-car หรือโทร. 02-508-8690 หรือจะ Inbox มาสอบถามก็ได้เช่นกัน ที่ Facebook CARRO Automall – รถบ้านมือสอง ถ้าสะดวก Add Line ก็ที่ @carroautomall

ส่วนถ้าคุณอยากขายรถด่วน เพื่อไปซื้อรถคันใหม่ หรือรับเงินก้อนไปใช้สามารถขายรถคันเก่า หรือตีราคารถกับทาง CARRO ได้ ง่ายๆ ได้เงินไว! กับ CARRO Express เพียงแค่คลิก https://th.carro.co/sell-car/express หรือสามารถ Inbox มาขอรายละเอียดได้ที่ Facebook CARRO Thailand

หรือจะ Add Line สอบถามรายละเอียดได้ที่ @Carrothai หรือคลิกที่นี่ —> เพิ่มเพื่อน

10-Need-To-Change-In-Car

10 ชิ้นส่วนและอะไหล่รถ ที่ต้องเปลี่ยนประจำ

เป็นเรื่องธรรมดาของสรรพสิ่งในโลกใบนี้ อะไรก็ตามที่ใช้ไปนานๆ ย่อมมีการเสื่อมสภาพเป็นธรรมดา อุปกรณ์ต่างๆ ในรถยนต์ก็เช่นกัน ทุกชิ้นส่วนต่างก็มีระยะเวลาการใช้งาน หรือต้องเปลี่ยนถ่ายตามระยะทาง

Car-Maintenance

Carro ขอแนะนำถึง 10 ชิ้นส่วนและอะไหล่รถ ที่ต้องเปลี่ยนประจำนั้น มีอะไรบ้าง เชิญอ่านได้เลยครับ.

1.น้ำมันเครื่อง พร้อมไส้กรองน้ำมันเครื่อง

น้ำมันเครื่อง

น้ำมันเครื่อง พร้อมไส้กรองน้ำมันเครื่อง เมื่อถึงกำหนดควรเปลี่ยนถ่ายทุกครั้ง สำหรับระยะเวลาเปลี่ยนคือ ทุกๆ 5,000-10,000 กิโลเมตร (แล้วแต่ยี่ห้อ และประเภทของน้ำมันเครื่อง เช่น แบบธรรมดา แบบกึ่งสังเคราะห์ หรือแบบสังเคราะห์) หรือพบว่าน้ำมันเครื่องเป็นสีเริ่มดำ หรือเป็นตะกอนโคลน ก็สามารถเปลี่ยนก่อนได้เลย เพราะน้ำมันเครื่องเสื่อมสภาพแล้ว โดยเมื่อเปลี่ยนน้ำมันเครื่องแล้ว ก็ควรเปลี่ยนไส้กรองน้ำมันเครื่องไปพร้อมกันเลย

หากเป็นรถใหม่บางยี่ห้อ ทางศูนย์บริการจะแนะนำให้เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องทุกๆ 6 เดือน และในส่วนของรถยนต์ที่ใช้น้อย เมื่อครบ 1 ปีแล้ว ไม่ว่าจะวิ่งมากี่กิโลเมตรก็ตาม ก็ควรเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องเช่นกันครับ

การเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องทุกครั้ง ต้องมีการจดบันทึก วันที่ เดือน ปี และเลขกิโลเมตร ไว้ด้วย เพื่อใช้เป็นการคำนวณกำหนดการเปลี่ยนถ่าย

2. แบตเตอรี่

แบตเตอรี่

แบตเตอรี่ ถ้าเป็นแบตเตอรี่แบบเปียก ควรเติมน้ำกลั่นให้ได้ระดับปกติอยู่เสมอ เพื่อให้แบตเตอรี่เก็บประจุไฟได้อย่างเต็มที่ ส่วนแบตเตอรี่ที่เป็นแบบแห้ง ก็สามารถใช้งานได้ตลอดอายุการใช้งาน ไม่ต้องดูแลรักษาอะไรใดๆ ส่วนใหญ่ระยะเวลาการเปลี่ยนจะอยู่ที่ 1.5 -3 ปี แล้วแต่ขนาด และการใช้งาน

3. ยางรถยนต์

ยางรถยนต์

ยางรถยนต์ อายุการใช้งานส่วนใหญ่ที่ควรเปลี่ยน คือ 2 ปี หรือ 50,000 กิโลเมตร แต่ถ้าเป็นยางที่คุณภาพสูงๆ จะมีอายุการใช้งานนานถึง 5-6 ปี นับตั้งแต่วันที่ผลิต หากความลึกของดอกยางที่น้อยลงมาก โดยดูจากจุด “สามเหลี่ยม” บริเวณขอบยาง หรือ สภาพโครงสร้างของยาง มีรอยแตกลายงาหรือไม่ ก็ควรเปลี่ยนยางเส้นใหม่ครับ เพื่อความปลอดภัยของคุณ

แต่ก็มีวิธียืดอายุการใช้งานยางให้ได้นานที่สุด (เพราะเปลี่ยนใหม่หมด 4 เส้น ก็ใช้เงินไม่ใช่น้อย) พยายามเลี่ยงถนนที่มีหลุมบ่อ สิ่งกีดขวาง ระวังกระแทกขอบถนน วัตถุมีคม และลูกระนาดชะลอความเร็ว ตรวจดูการสึกหรอของดอกยาง ดูแรงดันลมยาง และคอยตั้งศูนย์ล้อสม่ำเสมอ เป็นต้น

4. ผ้าเบรก

ผ้าเบรก

ผ้าเบรก ถือว่าเป็นชิ้นส่วนสำคัญ หากผ้าเบรกใกล้หมด จะมีเสียงดังเอี๊ยดๆ เกิดขึ้นขณะเหยียบเบรค หรือตอนรถออกวิ่งใหม่ๆ บ่งบอกว่าถึงเวลาเปลี่ยนได้แล้ว เพราะถ้าหากยังใช้ต่อ เหล็กของก้ามเบรกจะสีกับจานเบรก ทำให้จานเบรกเป็นรอยได้ ระยะเวลาในการเปลี่ยนประมาณ 40,000–70,000 กิโลเมตร

5. ไส้กรองอากาศ

ไส้กรองอากาศ

ไส้กรองอากาศ เป็นตัวสำคัญที่จะคอยกรองสิ่งสกปรกในอากาศก่อนเข้าเครื่องยนต์ ช่วยให้การเผาไหม้สมบูรณ์ ระยะเวลาในการเปลี่ยน 20,000 กิโลเมตร หรือ 1 ปี และควรเป่าทำความสะอาดทุกๆ เดือน

6. หัวเทียน

หัวเทียน

หัวเทียน ควรเปลี่ยนทุกๆ 40,000 กิโลเมตร เพื่อการจุดระเบิดที่ดีของเครื่องยนต์ หรือทุก 1 ปีก็ได้

7. สายพานไทม์มิ่ง

สายพานไทม์มิ่ง

สายพานไทม์มิ่ง ถือเป็นสายพานหลักสำหรับส่งกำลังเครื่องยนต์ หากสายพานเริ่มมีเสียงดังเอี้ยดอ๊าด ก็ควรเปลี่ยนได้ โดยสายพานไทม์มิ่ง ควรเปลี่ยนทุกๆ 100,000 กิโลเมตร เปลี่ยนความปลอดภัยของเครื่องยนต์

8. น้ำมันเกียร์ และไส้กรองน้ำมันเกียร์

น้ำมันเกียร์

น้ำมันเกียร์ และไส้กรองน้ำมันเกียร์ ระบบเกียร์ทุกระบบประกอบไปด้วยโลหะจำนวนมาก รวมไปถึงความร้อนสูง น้ำมันเกียร์ จะช่วยลดการสึกหรอของการทำงานภายในเกียร์ได้ โดยระยะเวลาในการเปลี่ยน ประมาณ 20,000 – 40,000 กิโลเมตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับรุ่นรถ และคำแนะนำของรถยนต์แต่ละยี่ห้อ

9. ยางใบปัดน้ำฝน

ใบปัดน้ำฝน

ยางใบปัดน้ำฝน ควรเปลี่ยนทุกๆ 1 ปี หรือเมื่อยางเสื่อมสภาพ กรอบแตก ปัดแล้วมีเสียงดัง หรือกวาดน้ำออกมาจากกระจกไม่หมด ปัดแล้วไม่เรียบ เป็นต้น

10. ระบบส่องสว่างและหลอดไฟต่างๆ

ไฟหน้า

ระบบส่องสว่างและหลอดไฟต่างๆ ทั้งภายนอกรถและภายในรถ ไม่มีระยะเปลี่ยนที่แน่นอน ส่วนใหญ่จะเปลี่ยนใหม่เมื่อหลอดขาดเท่านั้น

ถือเป็นเคล็ดลับในการดูแลรถยนต์ง่ายๆ ที่ทาง Carro นำมาฝาก ซึ่งทุกคนสามารถตรวจเช็คได้ หรือให้ช่างผู้ชำนาญตรวจเช็คก็ได้เช่นกัน เพื่อความปลอดภัยในการขับขี่และเดินทางของท่านครับ