5-Things-To-Use-Manual-Transmission

ในอดีต รถเกียร์ธรรมดา จัดได้ว่าเป็นรถธรรมดาสามัญ ที่มีอยู่ในบ้านเราทั่วไป (และทั่วโลก) ไม่ใช่ของแปลกอะไร และคนที่ขับรถเป็นกันแทบทุกคนในอดีต ต่างก็เรียนหัดขับรถจากรถเกียร์ธรรมดากันทั้งนั้น

ซึ่งเกียร์ธรรมดา ก็จะมีแยกออกไปได้อีก ทั้ง เกียร์บริเวณคอพวงมาลัย หรือ “เกียร์คอ” มักจะมีเฉพาะในรถรุ่นเก่ามากๆ หรือรถตู้ในอดีตบางรุ่น ที่คนเล่นรถ Retro Car ชอบรถเก่า ยังคงถวิลหา และเกียร์บริเวณแผงคอนโซลกลาง หรือ “เกียร์กระปุก” ที่ปัจจุบัน จะมีให้เลือกกันทั้ง 5 สปีด และ 6 สปีด

มาจนถึงในโลกยุคปัจจุบัน ที่เทคโนโลยีของรถเกียร์อัตโนมัติก้าวล้ำไปมาก และปัญหารถติดที่มากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้รถยนต์เกียร์ธรรมดา “แทบถูกลืม” ไปจากคนใช้รถยุคใหม่ โดยมีเหลือไว้เฉพาะในรถกระบะ รถตู้ รถสปอร์ต หรือรถเก๋ง กับรถ Eco-Car รุ่นถูกสุดเท่านั้น

หากใครอยากที่จะลองขับเกียร์ธรรมดาให้คล่อง และเกียร์ไม่พังไว ต้องอ่าน 5 สิ่งนี้กันก่อน …

5-Things-To-Use-Manual-Transmission

1. อย่ากระแทก หรือเข้าเกียร์แรงๆ

คุณเคยสังเกตคนขับรถเมล์ เวลาเข้าเกียร์ไหมล่ะ? เสียงดังครืดคราดมาเลย นั่นเป็นเพราะเฟืองซินโครเมชในเกียร์สึก ทำให้เกียร์เข้ายาก อันเนื่องมาจากการเข้าเกียร์ไม่ตรงร่องบ้างล่ะ เข้าเกียร์แรงๆ บ้างล่ะ

การเข้าเกียร์ที่ถูกต้อง คือ ควรใช้ “ข้อมือ” ช่วย จะช่วยให้เข้าเกียร์ตามตำแหน่งที่เยื้องกันได้ง่าย เช่น จาก 2-3, 4-5 หรือ 5-4, 3-2 เป็นต้น อย่าเกร็งแขนและข้อมือ เพราะจะเข้าเกียร์ผิดตำแหน่ง หรือเข้าเกียร์ได้ยาก

ยิ่งเกียร์ธรรมดาในรถรุ่นใหม่ๆ เข้าง่ายกว่ารถสมัยก่อนมาก แถมคลัทช์ก็นิ่ม (ถ้าคลัทช์แข็งๆ ก็จะประมาณรถกระบะ) แต่สิ่งสำคัญที่ควรจำไว้ เวลาขับรถบนถนน “ห้ามมองเกียร์” นะครับ!

5-Things-To-Use-Manual-Transmission

2. เลี้ยงคลัทช์ให้ดี เครื่องจะไม่ดับ

เป็นเรื่องที่คนขับรถเกียร์ธรรมดาตอนหัดขับ เป็นกันทุกคน นั่นคือ “ออกตัวแล้วเครื่องดับ” ไม่ใช่เรื่องแปลกหรอกครับ ผมเองก็เคยทำเช่นนี้

คือเรื่องแบบนี้ต้อง “ทำความคุ้นเคย” กับรถ และหมั่น “ฝึกฝน” บ่อยๆ แรกๆ อาจจะยาก แต่บ่อยครั้งเข้าเดี๋ยวก็ชิน เพื่อออกรถให้นุ่นนวล มีจังหวะ ไม่ออกตัวกระชาก จับระยะการปล่อยคลัทช์ให้สัมพันธ์กันกับคันเร่ง ซึ่งในรถแต่ละรุ่น ระยะคลัทช์ตื้นลึกไม่เท่ากัน

บางคนบอก ถ้ากลัวออกตัวแล้วเครื่องดับ ก็ให้เหยียบคันเร่งลึกๆ แช่คลัทช์ไว้แล้วค่อยๆ ถอนคลัทช์ก่อนออกตัวรถ ซึ่งก็ทำได้ แต่มันก็จะกินน้ำมัน หรือหากถอนคลัทช์เร็วไป รถอาจพุ่งไปข้างหน้าได้ครับ

5-Things-To-Use-Manual-Transmission

3. รถติดบนทางชัน ต้องใช้เบรกมือ

การขับรถเกียร์ธรรมดา แล้วต้องจอดคาบนทางชัน เป็นอะไรที่ทำให้มือใหม่ เหงื่อตกเหงื่อแตกกันมาก นั่นคือ “รถติดบนสะพาน” หรือบนลานจอดรถในห้าง หลายคนกลัวตอนออกตัว แล้วรถจะไหลไปชนกับคันหลัง

ไม่ต้องกลัวครับ กรณีรถติดอยู่บนคอสะพาน ให้ดึงเบรกมือไว้ก่อนเลย พอจังหวะจะออกตัว ให้เหยียบคลัทช์ เข้าเกียร์ 1 ค่อยๆ เหยียบคันเร่ง แล้วค่อยๆ ปล่อยคลัทช์ จนรู้สึกว่ารถเริ่มออกตัวได้ ก็ค่อยๆ ปลดเบรกมือลง

5-Things-To-Use-Manual-Transmission

4. อย่าเลี้ยงคลัทช์จนเคยชิน

บางคนติดนิสัยชอบเหยียบคลัทช์แช่ไว้นานๆ แต่การวางเท้าไว้ที่คลัทช์นานๆ นั้น ไม่เป็นผลดีนัก เพราะเหมือนมีน้ำหนักกดไว้อยู้ ทำให้คลัทช์นั้นทำงานตลอด จะทำให้คลัทช์สึกหรอเร็ว และรถกินน้ำมันมากขึ้น

ทางที่ดี เมื่อเข้าเกียร์ เหยียบคลัทช์ ออกตัวรถเรียบร้อยแล้ว ควรวางขาไว้ที่ “แป้นพักเท้า” บริเวณมุมซ้ายสุดนะครับ (แบบในรูป) เพื่อความสบายของเท้า และจะช่วยตรึงและดันให้ร่างกายให้แนบสนิท ติดกับตัวเบาะ ทำให้ขับรถได้สบายขึ้น ไม่เมื่อยขาท่อนบน และช่วยให้กล้ามเนื้อแผ่นหลัง รับแรงสั่นสะเทือนจากช่วงล่างของรถน้อยลง เมื่อนั่งนานๆ จะได้ไม่ปวดหลัง และปวดขาท่อนบน

5-Things-To-Use-Manual-Transmission

5. เปลี่ยนเกียร์ที่ความเร็วเหมาะสม

การเปลี่ยนเกียร์ที่เหมาะสม คุณควรศึกษาจากคู่มือรถของคุณดูก่อนนะครับว่า เขาออกแบบให้เกียร์แต่ละเกียร์นั้น ทำความเร็วสูงสุดได้เท่าไหร่ ช่วงความเร็วที่เหมาะสมในการเปลี่ยนเกียร์ อยู่ที่เท่าไหร่ ซึ่งในรถแต่ละรุ่นไม่เท่ากัน แต่ถ้าใครไม่มีคู่มือรถ ก็อาศัยดูวัดรอบ หรือถ้าไม่มีวัดรอบ ก็อาศัยเงี่ยหูฟังเสียงเครื่องยนต์คำรามเอา ว่าดังพอที่จะเปลี่ยนเกียร์ถัดไปได้หรือยัง

เรื่องกำลังของรถก็มีส่วน หากขับรถเกียร์ธรรมดา เครื่องเบนซิน ก็อาจจะใช้รอบเครื่องที่สูงหน่อย แล้วค่อยเปลี่ยนเกียร์ (เพราะหากเปลี่ยนเกียร์ตอนรอบเครื่องต่ำ รถก็จะสั่นและอืด กับกินน้ำมันมากขึ้น) ส่วนถ้าใครขับรถเกียร์ธรรมดา เครื่องดีเซล ก็สามารถเปลี่ยนในรอบต่ำได้เลย เพราะเครื่องยนต์ดีเซล จะมีแรงบิดที่ค่อนข้างสูง

5-Things-To-Use-Manual-Transmission

สำหรับใครที่ยังไม่คุ้นเคยกับรถ เพื่อความคุ้นเคย ควรฝึกจำตำแหน่งเกียร์ให้ดีก่อน ด้วยการลองเข้าเกียร์แต่ละจังหวะ (ห้ามสตาร์ทรถนะครับ) เพราะตำแหน่งเกียร์ในรถยุโรป เกียร์ “R” จะอยู่ตำแหน่งเดียวกับเกียร์ “1” ในรถหลายๆ รุ่น หลายคนอาจไม่คุ้นเคย ใส่เกียร์ผิด! (ด้วยเหตุนี้ รถหลายรุ่น จึงออกแบบมาให้มีสลักสำหรับดึงขึ้นบริเวณคันเกียร์ เพื่อป้องกันการเข้าเกียร์ R)

อย่าลืม! ใส่เกียร์ว่างทุกครั้งเวลาจอดรถ และเมื่อขึ้นไปนั่งขับรถ ให้ขยับเกียร์ก่อนเลย ว่าอยู่ที่เกียร์ว่างหรือเปล่า ทำให้เป็นนิสัย เพื่อป้องกันการสตาร์ทรถแล้ว รถกระชากไปข้างหน้าได้ แค่นี้คุณก็ขับรถเกียร์ธรรมดาได้อย่างสนุกแล้วล่ะครับ

สำหรับใครที่อยากขายรถคันเดิมตอนนี้ หรือกำลังตัดสินใจจะซื้อรถป้ายแดงอยู่พอดี แต่งบไม่พอ!  มาขายรถกับ CARRO Express สิ! หรือจะ Inbox มาขอรายละเอียดได้ที่ Facebook -> CARRO Thailand และ Add Line สอบถามรายละเอียดได้เช่นกัน ที่ @carrothai

และอีกหนึ่งบริการใหม่! CARRO Automall แหล่งรวมรถมือสองคุณภาพเยี่ยม ผ่านการตรวจสภาพแบบ Double Check รับประกันพร้อมโอนทุกคัน ฟรี! ค่าจัดโอน มีให้เลือกชมเพียบ เปิดบริการทุกวัน อยากซื้อรถคุณภาพเยี่ยม มาซื้อกับ CARRO Automall สิ!

หรือสนใจรถรุ่นไหนอยู่ แต่หาไม่ได้ สามารถสั่งตามออเดอร์ได้ที่นี้ > https://th.carro.co/buy-car หรือโทร. 02-508-8690 อีกทั้งยัง Inbox เข้ามาสอบถามก็ได้เช่นกันได้ที่ Facebook -> CARRO Automall – รถบ้านมือสอง หรือทาง Line เชิญเลยครับที่ @carroautomall

Driving-Reverse-Technique

ขับรถถอยหลัง สิ่งที่มือใหม่หัดขับ ต้องหมั่นฝึกซ้อมเยอะๆ …

เวลาขับรถไปไหนมาไหน คุณเคยสังเกตรถยนต์รอบข้างของคุณบ้างไหมว่า เรามีลักษณะ ท่าทางการขับรถเป็นแบบไหน … จริงอยู่ที่เวลาขับรถไปข้างหน้า ใครๆ ก็ขับได้ไม่ยาก ใช้เวลาไม่นานก็ทำความคุ้นเคยแล้ว

แต่ถ้าหากเป็นการขับรถถอยหลัง เวลาจะจอดรถล่ะ? อันนี้สิ เวลาผมไปตามศูนย์การค้า (ในลานจอดรถ) ด้วยแล้ว เห็นการถอยรถเข้าซองของหลายคนแล้ว รู้สึกเก้ๆ กังๆ อย่างบอกไม่ถูก กะระยะไม่พ้นบ้างล่ะ ถอยไปเบียดกับเสา หรือเบียดกับรถที่จอดอยู่บ้างล่ะ กลายเป็นเกิดปัญหา ต้องเสียเวลาและเสียเงินไปอีก

ทีนี้เรามาดูกันครับว่า ขับรถถอยหลังอย่างไร ถึงจะปลอดภัยทุกสถานการณ์ …

Driving-Reverse-Technique

เราควรรู้ตั้งแต่ต้นว่า จะถอยหลังเป็นแนวตรงอย่างเดียว หรือจะต้องเลี้ยวซ้ายหรือเลี้ยวขวาด้วย ถ้า ต้องถอยเป็นแนวตรงอย่างเดียว ใช้มือขวาจับพวงมาลัยในตำแหน่ง 12 ถึง 3 นาฬิกา แล้วแต่ความถนัดของแต่ละคน

ถ้าจะต้องเลี้ยวไปทางซ้ายมือของตัวรถ ก็ต้องหมุนพวงมาลัยไปทางซ้ายหรือทวนเข็มนาฬิกา ให้จับพวงมาลัยด้านขวาล่าง คือตำแหน่ง 3 ถึง 5 นาฬิกา ถ้าจะต้องเลี้ยวไปทางขวาของตัวรถ จับพวงมาลัยที่ตำแหน่ง 10 ถึง 12 นาฬิกา เพื่อให้หมุนพวงมาลัยได้มาก โดยไม่ต้องขยับมือ

ถ้าแน่ใจว่าต้องเลี้ยวมุมแคบ ให้ใช้ฝ่ามือกดพวงมาลัยไว้ขณะหมุน นิ้วมือทุกนิ้วเหยียดตรงหมด เพื่อให้หมุนพวงมาลัยแบบวนได้ถนัด

Driving-Reverse-Technique

กรณีของรถรุ่นเก่า ที่ไม่มีกล้องมองภาพถอยหลัง เริ่มแรกให้ตั้งลำรถให้ดี ใช้มือซ้ายเข้าเกียร์ถอยหลัง แล้วมองไปที่กระจกมองข้าง ซ้าย-ขวา และกระจกมองหลัง ดูว่ามีสิ่งกีดขวางอยู่หรือไม่ แต่อย่ามองค้าง! จากนั้น ยกแขนซ้ายไปวางที่เบาะหลัง ด้านพนักพิงศีรษะคนนั่ง เอาฝ่ามือโอบด้านข้างพนักพิงศีรษะไว้ แล้วหันศีรษะไปด้านหลังให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อให้สามารถมองด้านท้ายของรถได้มากที่สุด ถอยรถอย่างช้าๆ ด้วยความระมัดระวัง

ส่วนแขนขวาก็หมุนพวงมาลัยไปด้วย เมื่อคืนพวงมาลัยให้ตรง ก็ต้องหมุนให้เร็วกว่าปกติหน่อย รถจึงจะเข้าอยู่ในตำแหน่งที่เราต้องการ

ส่วนรถที่ไม่มีพวงมาลัยเพาเวอร์ ซึ่งพวงมาลัยค่อนข้างหนัก ต้องออกแรงหมุนพวงมาลัยด้วยมือทั้งสองข้าง ไม่ต้องเอาแขนซ้ายไปวางที่พนักพิงศีรษะ แต่ขณะถอยและเลี้ยว ก็ยังต้องหันศีรษะไปทางด้านหลังให้มากที่สุดอยู่ดี เพื่อความปลอดภัย

Driving-Reverse-Technique

ส่วนรถที่มีกล้องมองภาพถอยหลัง ก่อนจะถอยรถ ให้มองไปที่กระจกมองข้าง ซ้าย-ขวา และกระจกมองหลังว่า มีสิ่งกีดขวางอยู่หรือไม่ จากนั้นใช้มือซ้ายเข้าเกียร์ถอยหลัง แล้วค่อยๆ ถอยช้าๆ ดูภาพจากในจอบนแผงคอนโซลไปด้วย โดยอย่ามองค้าง! ให้สลับด้วยการหันศีรษะไปมองด้านท้ายด้วย เพื่อความปลอดภัยอีกขั้น ถอยรถอย่างช้าๆ ด้วยความระมัดระวัง

หากมีเซ็นเซอร์ถอยหลังด้วย ก็จะช่วยให้จอดรถได้อย่างมั่นใจมากขึ้น (เพราะยิ่งใกล้กับสิ่งกีดขวางเมื่อไหร่ เสียงเตือนก็จะดังถี่ขึ้นเรื่อยๆ)

ส่วนการถอยรถในท่านั่งขับปกติ มองเพียงแค่กระจกมองข้าง และกระจกมองหลังสลับกันไป หลายคนทำวิธีแบบนี้ ถือว่า “ผิด” นะครับ เพราะนี่เป็นวิธีขับรถถอยหลังของคนขับรถสิบล้อ หรือคนขับรถเมล์ครับ เพราะเขาไม่สามารถมองไปด้านหลังได้ นอกจากพึ่งกระจกมองข้างทั้งสองด้าน หรือกระจกมองหลังเท่านั้น ดังนั้น คนขับรถสิบล้อ หรือคนขับรถเมล์ จึงไม่ถอยรถแต่เพียงลำพัง แต่จะต้องมีผู้ช่วยลงไป “ให้สัญญาณ” ตอนกำลังถอยรถอยู่ด้วยเสมอ

Driving-Reverse-Technique

ส่วนวิธีจอดรถ ที่นิยมปฏิบัติในต่างประเทศ คือ การขับรถเอาหน้าเข้าไปจอดด้านในเลย และถอยหลังออกเมื่อต้องการออกจากช่องจอด แต่ที่ไม่สามารถทำได้ในบ้านเราได้ เพราะพื้นที่จอดรถมันแคบ ยิ่งเวลาไปตามห้างสรรพสินค้าส่วนใหญ่ในบ้านเรา (ที่ไม่ใช่แบบลานจอดรถกลางแจ้ง) การเอาหน้ารถเข้าบางทีก็ลำบาก ต้องตีวงกว้างๆ อีก จึงนิยมถอยหลังเอาหน้ารถออกมากกว่า

เมื่อคุณเจอที่จอดรถว่างแล้ว หากคุณจะนำรถเข้าไปจอด ควรเปิดไฟเลี้ยวบอก ให้คนที่ขับรถตามมาได้รู้ มองกระจกมองข้าง กระจกมองหลัง แล้วก็ค่อยๆ ขับรถเข้าไปจอด ส่วนตอนออกรถก็ค่อยๆ ถอยรถอย่างช้าๆ ออกไปจนพ้นช่องจอดรถ ไม่ต้องเปิดไฟฉุกเฉินนะครับ เขาเห็นแต่ไกลแล้วว่าเรากำลังถอยรถ และยังมีไฟถอยหลังให้เห็นอีก

Driving-Reverse-Technique

เอาละครับ เมื่อทราบถึงวิธีการถอยรถ เพื่อจอดรถอย่างถูกต้องแล้ว ก็ควรปฏิบัติกันตามนี้นะครับ โดยเฉพาะเหล่า “มือใหม่” ทั้งหลาย ต้องฝึกฝนกันให้มากๆ เพราะการขับรถถอยหลัง ต้องเก็บประสบการณ์กันมากพอสมควร

Carro-Driving-On-Road-Shoulder

ปัญหาที่แก้ไม่ได้ของสังคมไทย คือ การขับรถที่ไร้ระเบียบวินัย

Driving-On-Road-Shoulder

เวลาคุณขับรถบนทางด่วนช่วงเวลาเร่งด่วน ขับรถออกต่างจังหวัดช่วงเทศกาล คุณเคยสังเกตไหมครับว่า ที่ไหล่ทาง มักจะมีรถยนต์จำนวนมาก วิ่งคร่อมไหล่ทางบ้าง วิ่งในไหล่ทางบ้างล่ะ เพื่อที่จะไปปาด เบียดข้างหน้า หรือแซงข้างหน้า เป็นประจำ ทำให้รถติดมากขึ้น หรือเกะกะกีดขวางการจราจรของรถกู้ภัย หรือรถพยาบาล

ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นว่า ประเทศเรา หย่อนยานและละเลยในการปฏิบัติตามกฎจราจรมากๆ เป็นปัญหาที่ชาตินี้ ไม่มีทางแก้ไขและปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมได้ซะที

ซึ่งก็ก่อให้เกิดอุบัติเหตุมาหลายต่อหลายครั้งแล้ว (ซึ่งไม่กี่วันก่อน ก็เพิ่งเกิดบนทางด่วนมาหมาดๆ) ก่อให้เกิดความสูญเสียในชีวิต และทรัพย์สินเป็นจำนวนมาก

Driving-On-Road-Shoulder

แก้ปัญหาไม่ได้ ก็วางแบริเออร์น้ำ ซะเลย …

พ.ร.บ. จราจรทางบกฯ พ.ศ. 2522 มาตรา 103 ระบุว่า ทางใดที่มีทางเท้า หรือไหล่ทาง อยู่ข้างทางเดินรถ ให้คนเดินเท้าเดินบนทางเท้าหรือไหล่ทาง ถ้าทางนั้นไม่มีทางเท้าอยู่ข้างทางเดินรถ ให้เดินริมทางด้านขวาของตน

… แสดงให้เห็นว่า บนถนนทั่วไป กฎหมายกำหนดให้ไหล่ทาง เป็นทางสำหรับคนเดินเท้า หรือสำหรับจักรยานปั่น ไม่ใช่ให้รถวิ่ง แต่บางที เจ้าหน้าที่ตำรวจจราจร ก็เรียกรถให้ไปวิ่งไหล่ในทางเพื่อระบายรถได้ ซึ่งก็ไม่ใช่ว่าใครก็ตาม จะเปิดเลนพิเศษเข้าไปวิ่งในไหล่ทางได้ตามอำเภอใจ

แม้จะมีตำรวจ โบกให้รถเข้าไปวิ่งในไหล่ทาง ในช่วงเวลาเร่งด่วน ก็ต้องระมัดระวังรถที่จอดอยู่ จักรยานที่ปั่นอยู่ หรือคนที่เดินสัญจรไปมา เพราะหากเกิดอุบัติเหตุขึ้น รถที่วิ่งไหล่ทางย่อมเป็นฝ่ายผิด เพราะฝ่าฝืนกฎจราจรเข้าวิ่งช่องทางที่ไม่ได้จัดไว้สำหรับเป็นทางเดินรถ แม้จะมีเจ้าหน้าที่ตำรวจโบกให้เข้าใช้ได้ก็ตาม

และสำหรับบนทางด่วน จะตีเส้นทึบไหล่ทางตลอดแนวห้ามรถเข้าไปวิ่ง ยกเว้นกรณีรถจอดเสีย หรือเกิดอุบัติเหตุ อนุญาตให้นำรถเข้าไปจอดชั่วคราวได้เพื่อความปลอดภัยและไม่ให้กีดขวางการจราจร … แต่ตำรวจทางด่วน ก็โบกรถให้รถสามารถเข้าไปวิ่งในไหล่ทางได้ ในช่วงเวลาเร่งด่วนด้วยเช่นกัน

Driving-On-Road-Shoulder

ภาพจาก Fanpage ลิงรู้เรื่อง

ด้าน พล.ต.ต.จิรพัฒน์ ภูมิจิตร รอง ผบช.น. ได้ชี้แจงว่า ไหล่ทางไม่ใช่ช่องทางเดินรถ แต่เป็นช่องทางสำหรับจอดรถกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน ไม่ว่ารถเสีย รถชน หรือเป็นช่องทางสำหรับรถพยาบาล รถฉุกเฉินที่จะนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาล แต่ปัจจุบันกลับพบว่ามีประชาชนที่ใช้ทางด่วนเข้าไปวิ่งไหล่ทางเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุกับรถที่จอดเสียบ่อยครั้ง

จน บช.น. ต้องหารือกับ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เพื่อกำหนดมาตรการดูแลและป้องกันอุบัติเหตุ ไม่ว่าจะเป็นการบังคับใช้กฎหมายกับผู้ฝ่าฝืนวิ่งบนไหล่ทาง เพราะตามกฎหมายจราจรระบุ ไว้ชัดเจนว่า ห้ามรถเข้าไปวิ่งไหล่ทาง หากฝ่าฝืนเข้าไปวิ่งจะถือเป็นการกระทำความผิดฝ่าฝืนเครื่องหมายบนพื้นที่ มีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท

ขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก

ขับรถ, เที่ยว, เตรียมความพร้อม

เตรียมสิ่งเหล่านี้! ให้พร้อมก่อนเที่ยว
จะได้ปลอดภัยทั้งคนทั้งรถขณะเดินทาง

สวัสดีค่ะ เพื่อนๆ การขับรถเที่ยว ก็เป็นอีกกิจกรรมที่เวลาเราไปกับเพื่อนฝูง หรือครอบครัวทีไร ก็มันส์สุดๆ ทุกทีว่ามั้ยเอ๋ย? แต่ถ้าหากรถของเพื่อนๆไปเสียเอากลางทางระหว่างขับรถเที่ยว ก็คงน่าปวดหัวแย่ รวมไปถึงเพื่อนร่วมทางและรถคันอื่นที่เดินทางต่อมาอยู่ด้านหลัง ก็คงเซ็งไม่น้อยที่รถของเราไปทำรถติด ทำให้คนอื่นๆไม่สามารถเดินทางไปได้

เพราะฉะนั้น การเตรียมความพร้อมให้รถของเพื่อนๆก่อนขับรถเที่ยว ถือเป็นหนทางที่ดีที่สุดที่จะลดความเสี่ยงต่อการเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินเหล่านี้ไปได้ค่ะ


นำรถไปตรวจเช็กสภาพล่วงหน้า

เพื่อนๆ อย่าลืม! ว่าถ้าเราเอารถเข้าอู่เพื่อตรวจเช็กสภาพนาทีสุดท้าย เช่น 1 หรือ 2 วันก่อนขับรถเที่ยว ก็อาจจะกระชั้นชิดไป แนะนำให้นำรถไปตรวจเช็กล่วงหน้าซักประมาณ 3 อาทิตย์กำลังดีค่ะ

โดยทางช่างก็จะทำการตรวจเช็กน้ำมันเครื่องและของเหลวต่างๆ เช่นน้ำมันเบรคน้ำยาแอร์ น้ำหน้าปัดรถ เป็นต้น รวมไปถึงเช็กแบตเตอรี่รถยนต์ว่ามีการสึกหรอหรือไม่ เช็กไฟรถ เช็กลมยาง เช็กสายไฟต่างๆ เช็กระบบเบรค เช็กที่กรองอากาศและที่กรองน้ำมัน เป็นต้น

 


การเตรียมตัวเบื้องต้น ก่อนขับรถเที่ยว

  1. ติดตั้งระบบ GPS: การติดตั้งระบบ GPS จะช่วยให้เพื่อนๆสามารถขับรถเที่ยวได้อย่างสะดวกสบายมากขึ้นโดยที่เพื่อนๆไม่ต้องมาคอยพะวงหาสถานที่บนแผนที่ แต่อย่างไรก็ตาม GPS ก็ไม่ได้เป็นทุกอย่างให้เพื่อนๆหรอกนะคะ เราควรมีแผนที่กระดาษติดรถเอาไปด้วยในกรณีที่อุปกรณ์แบตหมด จะได้มีแผนที่สำรองเอาไว้ดูระหว่างขับรถเที่ยว
  2. ทำความสะอาดรถทั้งภายในและภายนอก: ก่อนที่เพื่อนๆจะออกไปขับรถเที่ยว อย่าลืมทำความสะอาดรถให้เรียบร้อย พร้อมรับกับแป้งดินสอพองและน้ำเย็นๆที่จะสาดเข้ามาที่ตัวรถ รวมถึงขัดป้ายทะเบียนให้สามารถมองเห็นเลขได้ชัดก็จะดีมากค่ะ นอกจากนี้ ให้เก็บเศษเงินหรือของมีค่าในรถให้พ้นสายตาไปให้หมด เพื่อกันมิให้มิจฉาชีพทำการทุบรถเพื่อเอาของมีค่าเหล่านั้นระหว่างที่เพื่อนๆไม่อยู่ที่รถค่ะ
  3. เช็กลมยาง: ก่อนเพื่อนๆไปขับรถเที่ยว ก็อย่าลืมเช็กลมยางและสภาพยางว่ายังอยู่ในสภาพดีหรือไม่ด้วยนะคะ

 


นำอุปกรณ์ฉุกเฉินติดรถไปด้วย

อย่าลืม! นำเอาอุปกรณ์ฉุกเฉิน เช่น คู่มือรถยนต์ ไฟฉายพร้อมถ่านไฟสำรอง โทรศัพท์มือถือ แผนที่ อุปกรณ์ปฐมพยาบาล ขวดแกลลอนเปล่าๆ ถุงมือ สายจั๊มแบต น้ำกลั่น อุปกรณ์ช่าง ที่เช็กลมยาง ยางสำรอง เป็นต้น ติดรถไปด้วยนะคะ เพื่อที่ในกรณีที่รถของเพื่อนๆเสีย ระหว่างที่เรารอเจ้าหน้าที่ประกันหรือช่างซ่อมมาถึง เพื่อนๆจะได้มีอุปกรณ์เหล่านี้เอาไว้คอยตรวจสอบและแก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปก่อนค่ะ

 


จัดของใส่รถไปยังไงดี

หลายคนอาจจะไม่คุ้นเคยกับการจัดของใส่รถก่อนขับรถเที่ยว หลักการของการจัดของใส่รถก็คือ ให้เพื่อนๆเอาเพียงของที่จำเป็นไปเท่านั้น ไม่เตรียมของไปเยอะจนเกินไป เพื่อที่ว่าผู้ร่วมทางกับเพื่อนๆจะได้มีที่นั่งสะดวกสบาย ของไม่รกจนเกินไปจนหาอะไรไม่เจอ แถมจะได้ไม่ต้องเสียเวลาแพ็คของลงจากรถหลังจบทริปค่ะ ทำทุกอย่างให้ดูเป็นระเบียบเรียบร้อย เพื่อเพื่อนๆจะได้จำได้ว่าอะไรอยู่ตรงไหน

นอกจากนี้ยิ่งเพื่อนๆแพ็คของเยอะเกิน รถของเพื่อนๆก็ยิ่งจะต้องรับน้ำหนักที่มากเกินกว่าความจำเป็น ทำให้ไม่ปลอดภัยในการขับขี่ได้ค่ะ โดยอาจทำให้รถทรงตัวอยู่บนถนนได้ยาก ระบบเบรคทำงานได้ไม่มีประสิทธิภาพ ยางบวม จะหักเลี้ยวก็ยาก รถกินน้ำมันเพิ่มขึ้น ศูนย์ถ่วงรถไม่ดี

อีกทั้งถ้าหากเพื่อนๆแพ็คของหนักเกินไป ประกันก็อาจจะไม่จ่ายค่าคุ้มครองให้กับรถของเพื่อนๆในกรณีเกิดอุบัติเหตุได้นะคะ

เพราะฉะนั้นแล้ว ก่อนที่เพื่อนๆจะแพ็คของใส่รถ ก็ให้ลองตรวจสอบในคู่มือรถยนต์ดูก่อนว่า รถของเพื่อนๆนั้นมีความสามารถแบกรับน้ำหนักได้กี่กิโลกรัมค่ะ

 

สุดท้ายแล้วใครที่กำลังวางแผนขับรถเที่ยว ก็อย่าลืมดูแลรถยนต์ให้ดี เราจะได้พร้อมตลอดเวลาหากเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินนั่นเองค่ะ นอกจากนี้ เพื่อนๆอย่าลืมทำประกันรถยนต์ติดไว้จะได้ช่วยคุ้มครองในกรณีอุบัติเหตุต่างๆบนท้องถนนได้ด้วยนะคะ เพื่อนๆสามารถเปรียบเทียบประกันการเดินทางได้ที่เว็บไซต์โกแบร์เลยค่ะ

Dangerous-Road-At-Songkran-2018

47 เส้นทางสุดอันตรายทั่วประเทศ ที่ต้องขับรถด้วยความระวัง ในช่วงสงกรานต์ 2561

กรมทางหลวง เตรียมรองรับการเดินทางของประชาชนในช่วงสงกรานต์ 2561 ด้วยนโยบาย One Transport โดยตั้งเป้าลดจำนวนอุบัติเหตุใน 77 เส้นทางที่ถูกคัดเลือกมา โดยเป็นของกรมทางหลวง 47 เส้นทาง, ทางหลวงชนบท 30 เส้นทาง โดยคัดเลือกจากพื้นที่นำร่อง ภายใต้ความร่วมมือระหว่างกระทรวงคมนาคม กับ Ministry of Land, Infrastructure, Transport and Tourism (MLIT) แห่งประเทศญี่ปุ่น จำนวน 8 เส้นทาง เส้นทางที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุดในช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2560 จำนวน 24 สายทาง เส้นทางที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุดในรอบปี 2560 จำนวน 5 เส้นทาง เส้นทางเข้าสู่แหล่งท่องเที่ยวที่ประชาชนนิยมท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลสงกรานต์ จำนวน 10 เส้นทาง

Highway

โดยเส้นทางดังกล่าวที่ถูกเลือก จะมีการเพิ่มความปลอดภัย เช่น ตั้งเต๊นท์อำนวยการในพื้นที่, เสริมป้าย Vinyl เตือนและรณรงค์เป็นระยะ, ติดตั้งป้ายเตือนถนนลื่นทุก 200 เมตร, ตั้งจุดเฝ้าระวังและตรวจความเร็วและคนเมาสุรา, ติดตั้งไฟกระพริบให้ลดความเร็ว เป็นต้น

Highway

เส้นทางอันตราย 47 เส้นทาง โดยกรมทางหลวง ประกอบด้วย

ลำดับที่ 1 ทางหลวงหมายเลข 1 ตอนโนนปอแดง – ปากดง ระหว่าง กม. 386–394 จ.กำแพงเพชร

ลำดับที่ 2 ทางหลวงหมายเลข 1 ตอนวังม่วง – แม่เชียงรายบน ระหว่าง กม. 535–540 จ.ตาก

ลำดับที่ 3 ทางหลวงหมายเลข 4 ตอนหนองหมู – ห้วยยาง ระหว่าง กม. 276+813-295 จ.ประจวบคีรีขันธ์

ลำดับที่ 4 ทางหลวงหมายเลข 4 ตอนน้ำรอด-พ่อตาหินช้าง ระหว่าง กม. 425-440 จ.ชุมพร

ลำดับที่ 5 ทางหลวงหมายเลข 4 ตอนเขาพับผ้า – พัทลุง ระหว่าง กม. 1158+1163 จ.พัทลุง

ลำดับที่ 6 ทางหลวงหมายเลข 12 ตอนกลางสะพานมิตรภาพแม่สอด – แม่ละเมา ระหว่าง กม. 1-6 จ.ตาก

ลำดับที่ 7 ทางหลวงหมายเลข 22 ตอนสูงเนิน – ท่าแร่ ระหว่าง กม. 161-167 จ.สกลนคร

ลำดับที่ 8 ทางหลวงหมายเลข 22 ตอนกุรุคุ – นครพนม ระหว่าง กม. 235-240 จ.นครพนม

ลำดับที่ 9 ทางหลวงหมายเลข 33 ตอนบางปะหัน – โคกแดง ระหว่าง กม. 49-62 จ.อยุธยา

ลำดับที่ 10 ทางหลวงหมายเลข 41 ตอนถ้ำพรรณรา – ทุ่งสง ระหว่าง กม. 264-271 จ.นครศรีธรรมราช

ลำดับที่ 11 ทางหลวงหมายเลข 41 ตอนสี่แยกโพธิ์ทอง – พัทลุง ระหว่าง กม. 377-382+616 จ.พัทลุง

ลำดับที่ 12 ทางหลวงหมายเลข 43 ตอนนาหม่อม – จะนะ ระหว่าง กม. 270-320 จ.สงขลา

ลำดับที่ 13 ทางหลวงหมายเลข 101 ตอนร้องกวาง – สวนป่า ระหว่าง กม. 283-290 จ.แพร่

ลำดับที่ 14 ทางหลวงหมายเลข 118 ตอนท่าก๊อ – ดงมะดะ ระหว่าง กม. 132+139 จ.เชียงราย

ลำดับที่ 15 ทางหลวงหมายเลข 205 ตอนโคกสวาย – ขท.นครราชสีมาที่ 1 ระหว่าง กม. 204+209 จ.นครราชสีมา

ลำดับที่ 16 ทางหลวงหมายเลข 212 ตอนย้อมพัฒนา – นาโพธิ์ ระหว่าง กม. 406-411 จ.มุกดาหาร

ลำดับที่ 17 ทางหลวงหมายเลข 212 ตอนหนองยอ – อุบลราชธานี ระหว่าง กม. 568-574 จ.อุบลราชธานี

ลำดับที่ 18 ทางหลวงหมายเลข 224 ตอนพะโค – หนองสนวน ระหว่าง กม. 90-95 จ.นครราชสีมา

ลำดับที่ 19 ทางหลวงหมายเลข 226 ตอนหัวทะเล – หนองกระทิง ระหว่าง กม. 15+20 จ.นครราชสีมา

ลำดับที่ 20 ทางหลวงหมายเลข 304 ตอนดอนขวาง – โพธิ์กลาง ระหว่าง กม. 272-278 จ.นครราชสีมา

ลำดับที่ 21 ทางหลวงหมายเลข 402 ตอนหมากปรก – เมืองภูเก็ต ระหว่าง กม. 30-35 จ.ภูเก็ต

ลำดับที่ 22 ทางหลวงหมายเลข 1084 ตอนป่าแดง – หาดชะอม ระหว่าง กม. 5-14 จ.นครสวรรค์

ลำดับที่ 23 ทางหลวงหมายเลข 2044 ตอนร้อยเอ็ด – หนองดง ระหว่าง กม. 0+184-5 จ.ร้อยเอ็ด

ลำดับที่ 24 ทางหลวงหมายเลข 3395 ตอนวัฒนานคร – โคคลาน ระหว่าง กม. 82-87 จ.สระแก้ว

ลำดับที่ 25 ทางหลวงหมายเลข 2 ตอนสระบุรี – ตาลเดี่ยว ระหว่าง กม. 0-5 จ.สระบุรี

ลำดับที่ 26 ทางหลวงหมายเลข 4 ตอนปากท่อ – สระพัง ระหว่าง กม. 123-133 จ.สมุทรสงคราม

ลำดับที่ 27 ทางหลวงหมายเลข 35 ตอนสะพานขึ้นแม่น้ำท่าจีน-ยาโคก ระหว่าง กม. 4-5 จ.สมุทรสาคร

ลำดับที่ 28 ทางหลวงหมายเลข 41 ตอนเกาะมุกข์ – ควนรา ระหว่าง กม. 118-132 จ.สุราษฎร์ธานี

ลำดับที่ 29 ทางหลวงหมายเลข 101 ตอนแยกบ้านฝ้าย – ร้องกวาง ระหว่าง กม. 252–257 จ.แพร่

ลำดับที่ 30 ทางหลวงหมายเลข 1 ตอนพาน – สันทรายหลวง ระหว่าง กม. 916-922 จ.เชียงราย

ลำดับที่ 31 ทางหลวงหมายเลข 1 ตอนแม่คำ – กลางสะพานแม่น้ำสาย ระหว่าง กม. 972-976 จ.เชียงราย

ลำดับที่ 32 ทางหลวงหมายเลข 3 ตอนชลบุรี – ศรีราชา ระหว่าง กม. 98-103 จ.ชลบุรี

ลำดับที่ 33 ทางหลวงหมายเลข 4 ตอนคลองหวะ – พังลา ระหว่าง กม. 1258+642-1263 จ.สงขลา

ลำดับที่ 34 ทางหลวงหมายเลข 12 ตอนเข็กน้อย – แยกอนุสาวรีย์พ่อขุนผาเมือง ระหว่าง กม.340–348 จ.เพชรบูรณ์

ลำดับที่ 35 ทางหลวงหมายเลข 217 ตอนวารินทร์ชำราบ – พิบูลมังสาหาร ระหว่าง กม. 22-37 จ.อุบลราชธานี

ลำดับที่ 36 ทางหลวงหมายเลข 323 ตอนแยกปากกิเลน – น้ำตกไทรโยคใหญ่ ระหว่าง กม. 110–115 จ.กาญจนบุรี

ลำดับที่ 37 ทางหลวงหมายเลข 401 ตอนบางกุ้ง – เขาหัวช้าง ระหว่าง กม. 175–180 จ.สุราษฎร์ธานี

ลำดับที่ 38 ทางหลวงหมายเลข 1009 ตอนจอมทอง – ดอยอินทนนท์ ระหว่าง กม. 0+5 จ.เชียงใหม่

ลำดับที่ 39 ทางหลวงหมายเลข 4030 ตอนถลาง – หาดราไวย์ ระหว่าง กม. 26-28+290 และ 29+790-32 จ.ภูเก็ต

สำดับที่ 40 ทางหลวงหมายเลข 2 ตอนขอนแก่น – หินลาด ระหว่าง กม. 343-354 จ.ขอนแก่น

ลำดับที่ 41 ทางหลวงหมายเลข 4 ตอน สระพระ –ห้วยทรายใต้ ระหว่าง กม. 187-193 จ.เพชรบุรี

ลำดับที่ 42 ทางหลวงหมายเลข 11 ตอนบึงหลัก-หนองเขียว ระหว่าง กม. 346-351 จ.อุตรดิตถ์

ลำดับที่ 43 ทางหลวงหมายเลข 12 ตอนน้ำดุก – ห้วยซ้ำมะคาว ระหว่าง กม. 372-375 จ.เพชรบูรณ์

ลำดับที่ 44 ทางหลวงหมายเลข 32 ตอนไชโย – สิงห์ใต้ ระหว่าง กม. 78-83+900 จ.อ่างทอง

ลำดับที่ 45 ทางหลวงหมายเลข 340 ตอนสาลี – สุพรรณบุรี ระหว่าง กม. 55-60 จ.สุพรรณบุรี

ลำดับที่ 46 ทางหลวงหมายเลข 3312 ตอนลำลูกกา – คลองใน ระหว่าง กม. 19-21 จ.นครนายก

ลำดับที่ 47 ทางหลวงหมายเลข 4029 ตอนกระทู้ – ป่าตอง ระหว่าง กม 0.-3+236 จ.ภูเก็ต

โดยอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบนเส้นทางดังกล่าว มีหลายสาเหตุ อาทิ การขับรถเร็ว, หลับใน, เมาสุรา, ตัดหน้าในระยะกระชั้นชิด, ฝ่าฝืนเครื่องหมายจราจร เป็นต้น

จะโดน “ปาดหน้า” กี่ที ก็ไม่มีปัญหา
รวมข้อคิดดีๆ ที่ทำให้ใจไม่ร้อน ตามสภาพอากาศ

การโดน “ขับรถปาดหน้า” ถือเป็นปัญหาโลกแตกพอๆกับคำว่า วันนี้จะกินอะไรดี แต่ที่แย่กว่านั้นก็คือ การขับรถปาดหน้ามักเป็นต้นเหตุให้เกิดการปะทะ ทะเลาะวิวาท หรือถึงขั้นเกิดอุบัติเหตุเลยก็ได้ เป็นการเสียเงิน เสียเวลาโดยใช่เหตุ บางครั้งก็ถึงขั้นเสียชีวิต!

ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มาจากชั่วโมงเร่งรีบบนท้องถนน จนคนบางคนลืมกฏจราจรไป ยิ่งการขับรถในกรุงเทพฯ ยิ่งเจอเหตุการณ์ “โดนปาดหน้า” ได้บ่อยกว่าชาวบ้าน เพราะคนกรุงเทพฯ มีวิถีชีวิตที่ต้องรวดเร็วในทุกๆอย่าง รวมไปถึง “การขับรถ” อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ขับรถ, หัวร้อน, คิดบวก, เทคนิค

แต่ถึงแม้ว่า เราจะแก้ไขปัญหา “การขับรถปาดหน้า” หรือหลีกเลี่ยงมันไม่ได้ แต่เราสามารถจัดการอารมณ์ของตนเองได้ หากตกอยู่ในสถานการณ์เหล่านี้ ซึ่งมีวิธีคิดบวกเบื้องต้น จากกรมสุขภาพจิต ที่จะช่วยลดความหงุดหงิด หรืออาการ “หัวร้อน” จากการโดนปาดหน้า เพื่อลดการทะเลาะวิวาท และการเกิดอุบัติเหตุ ที่สำคัญที่สุดคือ เพื่อรักษาสุขภาพจิตที่ดี วิธีการคิดบวกเบื้องต้น 5 ข้อ ก็ทำได้ง่ายๆ คือ

  1. คิดว่าเขาเป็นคนในครอบครัว เป็นญาติ เป็นครูบาอาจารย์ที่เราเคารพ
  2. คิดว่าเขารีบ เพราะมีเรื่องจำเป็นเร่งด่วนในชีวิตของลูก คนในบ้านหรือญาติๆ
  3. ร้องเพลง, เปิดเพลงที่ชอบ เพื่อระงับหรือเปลี่ยนอารมณ์ของตนเอง ไปในทางที่ดีขึ้น
  4. ฝึกการหายใจทางหน้าท้อง สูดลมหายใจเข้าและออกยาวๆ เพื่อบรรเทาความเครียด
  5. ขอบคุณคนที่ขับปาดหน้ารถ ที่ช่วยฝึกความอดทนให้กับเรา

การฝึกคิดแง่บวกในสถานการณ์แย่ๆเป็นเรื่องที่ดี ทั้งในเวลาที่เกิดเหตุการณ์และในระยะยาว เพราะจะฝึกให้เราเป็นคนใจเย็น มีสติมากขึ้น และการคิดบวกก็ไม่มีผลเสียตามมา ให้เราต้องรับผิดชอบในภายหลัง

ขับรถ-หัวร้อน-คิดบวก-เทคนิค

หวังว่าคุณผู้อ่านจะนำข้อคิดดีๆ 5 ข้อนี้ ไปปรับใช้ในการเดินทางในชีวิตประจำวัน หรือในช่วงสงกรานต์ที่กำลังจะมาถึง เพื่อการขับขี่ที่ปลอดภัย ไม่หัวร้อน ไร้อุบัติเหตุ แถม save เงินค่าซ่อมรถไปได้อีกเยอะ!

 

Driver-License-2018

ปรับเงื่อนไขในการขอใบขับขี่ใหม่ เพื่อความปลอดภัยบนท้องถนนมากขึ้น

Driving-License

กรมการขนส่งทางบก บังคับใช้ “ใบรับรองแพทย์” แบบ 2 ท่อน ให้ผู้ขอลงนามร่วมกับแพทย์ เวลาขอทำใบขับขี่ เริ่ม 1 มี.ค. นี้ พร้อมกำหนด 5 โรคต้องห้าม โรคเท้าช้าง วัณโรค โรคเรื้อน พิษสุราเรื้อรัง และโรคติดยาเสพติดให้โทษ ด้านรองเลขาธิการแพทยสภา ระบุ ออกแบบและบังคับใช้เมื่อ 10 ปีที่แล้ว เพื่อความเป็นธรรม แต่บางแห่งยังไม่มีผู้ป่วยรับรองตนเอง

นายสนิท พรหมวงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก เปิดเผยว่า แพทยสภาได้กำหนดแบบมาตรฐานของใบรับรองแพทย์ สำหรับผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ออกให้กับผู้ขอรับบริการตรวจสุขภาพ เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค. นี้ เนื่องจากแต่เดิมไม่มีมาตรฐานเดียวกัน แต่ได้กำหนด 5 โรคต้องห้าม ได้แก่ โรคเท้าช้าง วัณโรค โรคเรื้อน พิษสุราเรื้อรัง และโรคติดยาเสพติดให้โทษ

Driving-License

โดยรายละเอียดใบรับรองแพทย์แบบมาตรฐานใหม่แบ่งเป็น 2 ส่วน ประกอบด้วย ส่วนที่ 1 ของผู้ขอรับใบรับรองสุขภาพกรอกประวัติโรคประจำตัว ประวัติอุบัติเหตุและการเข้ารับการผ่าตัด ประวัติเคยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลตามความจริง

ส่วนที่ 2 ของแพทย์รับรองผู้ขอรับบริการตรวจสุขภาพ ว่า ไม่เป็นผู้มีร่างกายทุพพลภาพจนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ไม่ปรากฏอาการของโรคจิต หรือจิตฟั่นเฟือน หรือปัญญาอ่อน ไม่ปรากฏอาการของการติดยาเสพติดให้โทษ และอาการของโรคพิษสุราเรื้อรัง และไม่ปรากฏอาการและอาการแสดงของโรคเรื้อนในระยะติดต่อหรือในระยะปรากฏอาการเป็นที่รังเกียจแก่สังคม วัณโรคในระยะอันตราย โรคเท้าช้างในระยะปรากฏอาการเป็นที่รังเกียจแก่สังคม

Driving-License

ส่วนกรณีผู้ขอรับใบอนุญาตขับรถหรือใบอนุญาตเป็นผู้ประจำรถใช้ใบรับรองแพทย์ไม่เป็นไปตามแบบมาตรฐานดังกล่าว ให้นายทะเบียนแจ้งผู้ยื่นคำขอไปดำเนินการขอใบรับรองแพทย์ใหม่ให้ถูกต้องก่อนรับดำเนินการ รวมทั้งให้สำนักงานขนส่งจังหวัดประสานสถานพยาบาลในพื้นที่ให้ออกใบรับรองแพทย์ตามแบบที่ถูกต้องเพื่อการคัดกรองผู้ขับรถที่มีความรู้และทักษะการขับรถได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย และไม่เป็นภัยอันตรายต่อผู้ใช้รถใช้ถนนรายอื่น

สำหรับโรคประจำตัวบางกลุ่ม แม้ตามกฎหมายจะยังไม่กำหนดให้เป็นโรคต้องห้ามที่เป็นอุปสรรคต่อการขับรถ เช่น โรคลมชัก โรคความดันโลหิตสูง แต่กรณีผู้ได้รับใบอนุญาตขับรถไปแล้วอาการของโรคกำเริบขณะขับรถจนเป็นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุ ก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรง นายทะเบียนอาจพิจารณาเพิกถอนใบอนุญาตขับรถได้เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้รถใช้ถนนส่วนรวม

Driving-License

ส่วนความคืบหน้าการปรับปรุงร่างกฎกระทรวงขณะนี้อยู่ในระหว่างหารือร่วมกับแพทยสภาเพื่อกำหนดรายละเอียดของใบรับรองแพทย์ให้สามารถกลั่นกรองผู้ที่มีโรคในกลุ่มเสี่ยงที่อาจเป็นอันตรายต่อการขับรถเพิ่มเติม เช่น โรคเบาหวานระยะที่ต้องฉีดอินซูลิน โรคความดันโลหิตสูง โรคลมบ้าหมูหรือลมชัก ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดทางสมอง ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายที่ผ่านการผ่าตัดหัวใจ หรือขยายเส้นเลือดหัวใจ ซึ่งแพทย์วินิจฉัยแล้วว่าเป็นอุปสรรคต่อการขับรถ และอาจพิจารณาให้มีการตรวจรับรองโรคเป็นระยะ สำหรับผู้ที่ได้รับใบอนุญาตขับรถตลอดชีพ ก่อนที่กรมการขนส่งทางบกจะประกาศยกเลิกการออกใบอนุญาตขับรถตลอดชีพเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2546 เพื่อคุ้มครองผู้ใช้รถใช้ถนนให้มีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

ใบรับรองแพทย์

ตัวอย่างใบรับรองแพทย์แบบใหม่

ด้าน พล.อ.ต.นพ.อิทธพร คณะเจริญ รองเลขาธิการแพทยสภา ชี้แจงว่า แพทยสภาได้รับรองใบรับรองแพทย์ ชนิดที่มี 2 ท่อน เพื่อแก้ปัญหาข้อกฎหมาย โดยให้คนไข้รับรองตนเอง ในโรคที่แพทย์ไม่มีทางทราบได้จากการตรวจปกติ ในท่อนแรก คู่ขนานกับการที่แพทย์รับรองเฉพาะโรคที่ตรวจได้และระบุตามกฎหมาย ในท่อนที่ 2 เพื่อไม่ต้องรับผิดชอบ ในส่วนที่ตนเองไม่สามารถทราบได้จากการตรวจปกติมานานแล้ว โดยเพิ่มข้อมูลสัญญานชีพ เลขที่บัตรประชาชน ประวัติต่างๆ ที่แพทย์อาจพลาดถ้าคนไข้ไม่บอก และให้คนไข้รับรองประวัติตนเอง ไม่ใช่แพทย์รับรอง เพราะไม่มีทางรู้ แพทย์รับรองเฉพาะที่ตรวจที่เห็นเท่านั้น เพื่อความเป็นธรรมกับทั้งสองฝ่าย

ทั้งนี้ ใบรับรองแพทย์รูปแบบดังกล่าว ออกประกาศใช้เมื่อปี พ.ศ. 2551 หรือเมื่อ 10 ปีที่แล้ว ตามมติการประชุมกรรมการแพทยสภา ครั้งที่ 8/2551 วันที่ 14 ส.ค. 2551 โดยได้แจ้งให้มีการปรับใหม่ ลงจดหมายข่าวแพทยสภา และประกาศทางเว็บไซต์ เพื่อให้ สถานพยาบาลทุกแห่งนำมาใช้ให้เข้าเกณฑ์ตามข้อกฎหมาย และ ให้ดาวน์โหลดได้ที่ เว็บไซต์แพทยสภา เพื่อเป็นต้นแบบ

“สถานพยาบาลส่วนใหญ่ได้นำไปใช้แล้ว แต่ยังพบว่าบางสถานพยาบาลยังคงใช้แบบท่อนเดียว โดยไม่มีผู้ป่วยรับรองตนเอง ซึ่งอาจเกิดความเสี่ยงในการรับรองสุขภาพ จึงขอแจ้งมาอีกครั้งให้พิจารณาปรับปรุงเป็นใบรับรองแพทย์ 2 ท่อน ที่แพทยสภารับรองแล้ว เพื่อลดความเสี่ยงของสถานพยาบาล และให้สอดคล้องกฎหมายต่อไป โดยทางกรมขนส่งทางบกจะใช้ฟอร์มนี้ตั้งแต่ 1 มี.ค. 2561 เป็นต้นไป” พล.อ.ต.นพ.อิทธพร กล่าว

ขอขอบคุณเนื้อหาข่าวจาก MGR Online

5 เรื่องที่มือใหม่หัดขับรถ ต้องรู้!

เป็นมือใหม่หัดขับรถ รู้ไว้ จะกลายเป็นมือโปรในระยะสั้นๆ

นับวันจำนวนรถเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล ในขณะที่มีพื้นที่ถนนเท่าเดิม ทำให้สิ่งที่ตามมาคือปัญหาการจราจร ฉะนั้นเริ่มที่ตัวผู้ขับขี่เองจะดีกว่า และด้วยส่วนหนึ่งคือการมีมือใหม่ที่เยอะมากขึ้นบนถนน ทำให้คนที่ใช้รถใช้ถนนในปัจจุบัน ล้วนแต่เต็มไปด้วยคนที่ไม่ค่อยรู้ หรือขับเป็นแต่ไม่เข้าใจ

ส่วนเรื่องที่รู้อยู่แล้ว อย่างกฎจราจรต่างๆ ครั้งนี้จึงจะไม่พูดถึงกันให้มากมาย แต่ถ้าวันนี้คุณเพิ่งขับรถลองดูสิว่า เรื่องเหล่านี้จะช่วยให้คุณขับรถปลอดภัยขึ้นหรือไม่ในการขับขี่ปัจจุบัน

ขับรถ

1. เบรก ควรใช้เมื่อหยุดเท่านั้น

อาจจะเป็นเรื่องที่ยากจะบรรยายเกี่ยวกับการใช้เบรก แต่โดยปกติแล้วเบรกจะถูกใช้ 2 กรณี คือชะลอความเร็วและหยุดรถ แต่ด้วยความเข้าใจในเรื่องการชะลอความเร็วนี่เอง ทำให้มือใหม่หลายคนขับรถโดยแตะเบรกแทบตลอดเวลาทำให้เกิดความเข้าใจผิดแก่ผู้ขับขี่คนอื่น เนื่องจากเวลาเบรกไฟเบรกทางด้านหลังก็จะติดด้วย และจะทำให้ผ้าเบรกเกิดการสึกหรอมากกว่าที่ควรจะเป็น เพียงเพราะต้องการรักษาความเร็ว

ทางแก้ของปัญหานี้ คือ ต้องหัดการควบคุมคันเร่ง แต่หากวันนี้ใครเป็นคนที่ขับรถแล้ว ติดต้องใช้เบรก ลองเริ่มต้นด้วยการผ่อนคันเร่งก่อน แล้วกลับค่อยๆ เหยียบไปให้น้ำหนักตามความเร็วที่ต้องการดู น่าจะดีกว่า แม้อาจจะไม่ชินในช่วงแรกแต่ท้ายที่สุด เมื่อเข้าใจในการทำงานก็จะรู้ว่าเบรกไม่ใช่ทุกสิ่งที่สามารถชะลอความเร็วได้

2. ไฟเลี้ยว

ไฟเลี้ยวถือเป็นสิ่งที่สำคัญมาก และมันช่วยอำนวยความปลอดภัยในการบอกทิศทางที่จะไป เช่นเดียวกับที่ทำให้การจราจรคล่องตัวมากขึ้นด้วย ตามหลักแล้วควรเปิดไฟเลี้ยวก่อนทุกๆ 100 เมตร เช่นเดียวกับตอนที่จะเปลี่ยนเลน

 

3. ไฟฉุกเฉิน

ที่มาของไฟฉุกเฉินคือ การที่เราส่งสัญญาณแสดงไฟเลี้ยวทั้งสองข้างพร้อมกัน และคำว่าฉุกเฉินก็ย่อมหมายถึงว่ามีเรื่องที่ทำให้รถไม่สามารถขับเคลื่อนต่อได้ หรือเกิดอุบัติเหตุเท่านั้น หลายคนอาจจะเคยถูกสอนมาว่าให้เปิดไฟฉุกเฉินยามฝนตกด้วย หรือกระทั่งยามข้ามแยกไม่มีสัญญาณไฟ แต่ทั้งหมดล้วนเป็นแนวคิดที่ผิด เนื่องจากจะทำให้ผู้ขับขี่เกิดความสับสนและอาจจะนำไปสู่อุบัติเหตุได้ในที่สุด

ขับรถ

4. ขับเร็ววิ่งขวา ขับช้าวิ่งกลาง

ข้อนี้สำคัญทั้งมือใหม่ หรือมือเก่า ที่ขับช้าแล้วยังวิ่งเลนขวาสุด โดยเฉพาะมือใหม่มักจะพบเห็นบ่อย ที่ยังเห็นวิ่งเลนขวา แล้วทิ้งระยะห่างหลายกิโลฯ ทำให้คนที่รีบก็แซงไม่ได้ เมื่อโดนจี้มากๆ ก็จะเกิดอาการลน จึงอาจก่อให้เกิดอันตรายได้ และยังเป็นสาเหตุทำให้เกิดปัญหารถติดตามมามากมาย

 

5. แตร

ส่วนใหญ่ที่เจอคือไม่ค่อยบีบแตรกัน ซึ่งการใช้รถในภาคสากล แตรคือสัญญาณเตือน ไม่ใช่การยกไฟสูงใส่ ซึ่งด้วยนิสัยของคนไทยเป็นคนขี้เกรงใจ ทำให้น้อยคนที่ใช้แตรเป็นสัญญาณ ทั้งที่จริงมีเพียงไม่กี่ที่ ที่ห้ามใช้ได้แก่ สถานศึกษา วัด โรงพยาบาล และเขตพระราชฐาน ส่วนที่อื่นไม่ได้ห้ามอย่างชัดเจน  ดังนั้นหากพบปัญหาที่อาจจะนำมาซึ่งอุบัติเหตุสิ่งที่ควรทำคือการบีบแตร เพื่อเตือนเพื่อนร่วมทาง0

ทั้งหมดที่กล่าวมานี้อาจจะเรียกว่าเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการขับขี่อย่างปลอดภัยบนท้องถนน แม้ถนนกับมือใหม่หัดขับอาจจะเป็นสิ่งที่ไม่คุ้นชิน แต่ด้วยประสบการณ์ในการขับขี่ ก็จะสอนให้รู้ว่าการขับรถที่ถูกต้องอาจจะไม่ใช่เหมือนที่โรงเรียนสอนขับรถแนะนำเสมอไป

ขับรถ

ด้วยหลักการขับรถอย่างปลอดภัยมีข้อปฏิบัติอยู่ 3 ประการ คือ

1. ไม่ขับไปชนเขา

2.ไม่ให้เขามาชนเรา และ

3. ไม่เป็นสาเหตุให้เขาชนกัน

ดูเหมือนง่ายแต่ผู้ขับขี่ก็ต้องศึกษา และใช้ประสบการณ์บนท้องถนนให้เป็นประโยชน์ โอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุ ก็จะลดน้อยลงนะคะ

Carro Express ขายรถกับคาร์โร อยากขายรถ ขายรถด่วน

สำหรับใครที่อยากขายรถคันเดิม ไปซื้อรถยนต์คันใหม่ มาขายรถกับทาง Carro Express สิ! คลิกเลยที่ https://th.carro.co/sell-car/express รับรองได้เงินเร็ว ไว ทันใจแน่นอน!

Carro Automall ตลาดรถ

ส่วนใครสนใจจะซื้อรถมือสอง Carro แหล่งรวมรถมือสองคุณภาพเยี่ยมผ่านระบบออนไลน์ คุณสามารถจองรถได้ในเวลาเพียง 1 นาทีเท่านั้น! พร้อมคำนวณสินเชื่อและค่างวด ได้ภายในเว็บไซต์ทันที!

ซึ่ง Carro เรามีรถให้คุณเลือกมากมาย รถทุกคันผ่านการตรวจสภาพโดย Carro Certified อย่างละเอียดแบบ Double Check มากกว่า 160 จุด, การันตีคืนเงินภายใน 5 วัน, รับประกันเครื่องยนต์และเกียร์ 1 ปี, รับประกันไม่กรอไมล์ และไม่ประสบอุบัติเหตุหนัก ไฟไหม้ หรือน้ำท่วม พร้อมรับประกันคุณภาพรถ 1 ปี หรือ 30,000 กิโลเมตร!

อีกทั้งยังมีเทคโนโลยี “360 View & Sound Engine Analysis” เลือกชมรถยนต์เสมือนจริงออนไลน์รายแรกในไทย ทั้งภาพและเสียงในรูปแบบ 360 องศา รวมถึงมีเทคโนโลยีสนับสนุนฝ่ายขาย ทั้ง Digital Device ที่เชื่อมต่อกับ Digital Screen นำเสนอสิ่งที่ลูกค้าต้องการ และจัดการเรื่องเอกสารให้กับลูกค้าให้ตั้งแต่ต้นจนจบ บวกกับ Online Viewing Service ที่ลูกค้าสามารถวิดีโอคอล ตรวจสภาพรถยนต์คันที่สนใจได้แบบเรียลไทม์ ซื้อรถคุณภาพเยี่ยม ต้องที่ Carro สิ!

หรือถ้าหากคุณสนใจรถรุ่นไหนอยู่ แต่ยังหาที่ถูกใจไม่ได้ เรายินดีหาให้! เพียงกรอกชื่อ-เบอร์โทรศัพท์ และรถที่คุณสนใจ ไว้ที่ “รับการแจ้งเตือน” เมื่อมีรถที่คุณต้องการ Carro จะรีบติดต่อไปยังคุณทันที สอบถามรายละเอียดได้ที่ Facebook -> Carro Thailand โทร. 02-460-9380 หรือทาง Line @carrothai

แหล่งที่มาจาก:

  • auto.sanook.com
Driving-License

สิ่งที่จำเป็นสำหรับคนขับรถยนต์ และคนขี่รถจักรยานยนต์ ที่ต้องมีพกติดตัวไว้ตลอดเวลาของการขับขี่ นั่นคือ “ใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ และรถจักรยานยนต์” ซึ่งใบขับขี่ ก็ยังแบ่งออกเป็นได้อีกหลายๆ ประเภท รวมไปถึงคุณสมบัติต่างๆ ที่สำคัญว่ามีอะไรบ้าง

สำหรับในอดีต กรมการขนส่งทางบก ยังได้มีการออกใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคลตลอดชีพให้ แต่ถูกยกเลิกไปเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2546 (ซึ่งหากใครที่มีใบขับขี่ประเภทตลอดชีพอยู่ สามารถไปเปลี่ยนบัตรเป็นแบบสมาร์ทการ์ดได้ โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงประเภทของใบขับขี่ใดๆ) จึงทำให้มีการต่ออายุใบอนุญาตขับขี่ส่วนบุคคลแบบปัจจุบัน คือ มีอายุครั้งละ 5 ปี บังคับใช้ทั้งในรถยนต์ส่วนบุคคล และรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล

ทาง CARRO ขอแนะนำวิธีการสอบใบขับขี่รถยนต์และรถจักรยานยนต์ ให้ทุกท่านได้อ่านและปฏิบัติกันครับ.

สอบใบขับขี่รถยนต์และรถจักรยานยนต์ ... ง่ายนิดเดียว

เริ่มแรก ไปทำใบขับขี่ที่สำนักงานขนส่งใกล้บ้านท่าน …

*สำหรับในเขตกรุงเทพฯ และปริมณทล มี 5 พื้นที่ ได้แก่

สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ 5 (ถ.พหลโยธิน ตรงข้ามตลาดนัดจตุจักร)
โทร. 02-271-8888 ต่อ 4201-4 หรือ 1584

สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1 (ถ.บางขุนเทียน-ชายทะเล)
โทร. 02-415-7337 ต่อ 204-205

สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ 2 (ถ.สวนผัก ตลิ่งชัน)
โทร. 02-433-4773

สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ 3 (ถ.สุขุมวิท ตรงข้าม ซ.สุขุมวิท 62/1)
โทร. 02-333-0035

สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ 4 (ถ.สุวินทวงศ์ หนองจอก)
โทร. 02-543-5512

ผู้ที่ภูมิลำเนาอยู่ต่างจังหวัด ยื่นคำขอที่สำนักงานขนส่งจังหวัด หรือสำนักงานขนส่งจังหวัดสาขา หรือกรมการขนส่งทางบก หรือสำนักงานขนส่งเขตใดเขตหนึ่งก็ได้ (เพราะมีระบบออนไลน์ถึงกันหมด) สามารถค้นหารายละเอียดได้ที่ http://www.dlt.go.th

หรือ สอบใบขับขี่กับโรงเรียนสอนขับรถของเอกชน ที่ได้รับการรับรองจากกรมการขนส่งทางบก

สอบใบขับขี่รถยนต์และรถจักรยานยนต์ ... ง่ายนิดเดียว

1. การขอทำใบขับขี่รถยนต์ชั่วคราว หรือรถจักรยานยนต์ชั่วคราว (2 ปี)

– ผู้ขอทำใบขับขี่รถยนต์ ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์
– ผู้ขอทำใบขับขี่รถจักรยานยนต์ ไม่เกิน 90 ซีซี ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์
– เป็นผู้ที่ไม่มีร่างกายบกพร่อง เช่น ตาบอด ตาบอดสี หรือหูหนวก เป็นต้น

หลักฐานเอกสารประกอบ เพื่อขอทำใบขับขี่รถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ชั่วคราว

1. บัตรประจำตัวประชาชนฉบับจริง
2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน 1 ฉบับ (เซ็นสำเนาถูกต้อง พร้อมระบุเบอร์โทรศัพท์ติดต่อ)
3. ใบรับรองแพทย์ ซึ่งตรวจไว้ไม่เกิน 1 เดือน

จากนั้น ทำการยื่นคำขอพร้อมหลักฐานเอกสารประกอบให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบและลงทะเบียนรับ เสร็จแล้วรับคืนเอกสารฉบับจริง

สอบใบขับขี่รถยนต์และรถจักรยานยนต์ ... ง่ายนิดเดียว

ขั้นตอนอบรมและทดสอบ เพื่อขอทำใบขับขี่รถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ชั่วคราว

1. ทดสอบสมรรถภาพทางร่างกาย ได้แก่ ทดสอบการมองเห็นสีที่จำเป็นในขณะขับรถ ความลึกของการมองเห็น ลานกว้างของสายตา และทดสอบปฏิกิริยาตอบสนองเมื่อเห็นสีไฟจราจร
2. อบรมความรู้เกี่ยวกับกฎหมายจราจรทางบก เครื่องหมายพื้นทาง ป้ายบังคับ ป้ายเตือน ป้ายแนะนำ มารยาทและจิตสำนึก เทคนิคขับรถให้ปลอดภัย บำรุงรักษารถ การรับรู้สถานการณ์อันตรายและรูปภาพจราจรต่างๆ
3. สอบภาคทฤษฏี (ทดสอบข้อเขียน) ผ่านระบบคอมพิวเตอร์ (E-Exam) ซึ้งต้องผ่าน 90% จำนวนข้อสอบทั้งหมด 50 ข้อ ต้องให้ได้ 45 ขึ้นขึ้นไป เนื้อหาข้อสอบ ดูรายละเอียดได้ใน Link นี้ – http://apps.dlt.go.th/e_exam/
4. สอบภาคปฏิบัติ (ทดสอบขับรถ) ตามชนิดใบขับขี่ (รถยนต์ หรือรถจักรยานยนต์ชั่วคราว)
5. เสียค่าธรรมเนียมกรณีสอบผ่านทั้งภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติ (รถยนต์ชั่วคราว 2 ปี 205 บาท รถจักรยานยนต์ชั่วคราว 2 ปี 105 บาท)
6. ถ่ายรูป พิมพ์บัตร แล้วรอรับใบอนุญาตขับขี่

สอบใบขับขี่รถยนต์และรถจักรยานยนต์ ... ง่ายนิดเดียว

2. การขอทำใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคล หรือรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล (5 ปี)

ผู้ที่ขอทำใบขับขี่ส่วนบุคคล 5 ปี เป็นผู้ที่ได้รับใบขับขี่รถยนต์ชั่วคราว หรือรถจักรยานยนต์ชั่วคราว มาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี และสามารถยื่นก่อนใบขับขี่หมดอายุไม่เกิน 60 วัน

หลักฐานเอกสารประกอบ เพื่อขอทำใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคล หรือรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล (5 ปี)

1. ใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ชั่วคราว หรือรถจักรยานยนต์ชั่วคราว แล้วแต่กรณี ที่ยังไม่หมดอายุ
2. สำเนาใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ชั่วคราว หรือรถจักรยานยนต์ชั่วคราว แล้วแต่กรณี จำนวน 1 ฉบับ
3. บัตรประจำตัวประชาชน
4. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน 1 ฉบับ (เซ็นสำเนาถูกต้อง พร้อมระบุเบอร์โทรศัพท์ติดต่อ)
5. ใบรับรองแพทย์ ซึ่งตรวจไว้ไม่เกิน 1 เดือน

สอบใบขับขี่รถยนต์และรถจักรยานยนต์ ... ง่ายนิดเดียว

ขั้นตอนอบรมและทดสอบ เพื่อขอทำใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคล 5 ปี หรือรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล 5 ปี

1. ทดสอบสมรรถภาพทางร่างกาย ได้แก่ ทดสอบการมองเห็นสีที่จำเป็นในขณะขับรถ ความลึกของการมองเห็น ลานกว้างของสายตา และทดสอบปฏิกิริยาตอบสนองเมื่อเห็นสีไฟจราจร
2. เสียค่าธรรมเนียม (รถยนต์ส่วนบุคคล 5 ปี 505 บาท รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล 5 ปี 255 บาท)
3. ถ่ายรูป พิมพ์บัตร แล้วรอรับใบอนุญาตขับขี่

*กรณีเอกสารหลักฐานประกอบ ใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ชั่วคราว หรือรถจักรยานยนต์ชั่วคราว สิ้นอายุแล้วเกินกว่า 1 ปี แต่ไม่เกิน 3 ปี ต้องทดสอบสมรรถภาพทางร่างกายและทดสอบข้อเขียน ผ่านตามเกณฑ์ จึงสามารถรับใบอนุญาตขับขี่ส่วนบุคคล 5 ปีได้
**แต่ถ้าใบอนุญาตขับขี่ชนิดชั่วคราว สิ้นอายุแล้วเกินกว่า 3 ปี ต้องเข้ารับการอบรม ทดสอบสมรรถภาพร่างกาย ทดสอบข้อเขียนและทดสอบขับรถด้วย เหมือนกรณีมาขอทำใบขับขี่รถยนต์ชั่วคราว หรือรถจักรยานยนต์ชั่วคราว

สอบใบขับขี่รถยนต์และรถจักรยานยนต์ ... ง่ายนิดเดียว

3. การต่อใบอนุญาตขับขี่รถส่วนบุคคล 5 ปี

การต่อใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคลหรือใบอนุญาตขับขี่รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล ชนิด 5 ปี มาเป็น 5 ปี สามารถยื่นก่อนใบอนุญาตขับขี่สิ้นอายุไม่เกิน 3 เดือน

หลักฐานเอกสารประกอบ เพื่อต่อใบอนุญาตขับขี่รถส่วนบุคคล 5 ปี

1. ใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคลหรือใบขับขี่รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลเดิม แล้วแต่กรณี
2. บัตรประจำตัวประชาชน
3. ใบรับรองแพทย์

ขั้นตอนอบรมและทดสอบ เพื่อขอต่อใบอนุญาตขับขี่รถส่วนบุคคล 5 ปี

1. ทดสอบสมรรถภาพทางร่างกาย ได้แก่ ทดสอบการมองเห็นสีที่จำเป็นในขณะขับรถ ความลึกของการมองเห็น ลานกว้างของสายตา และทดสอบปฏิกิริยาตอบสนองเมื่อเห็นสีไฟจราจร
2. อบรม 1 ชั่วโมง
3. เสียค่าธรรมเนียม (รถยนต์ส่วนบุคคล 5 ปี 505 บาท รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล 5 ปี 255 บาท)
4. ถ่ายรูป พิมพ์บัตร แล้วรอรับใบอนุญาตขับขี่

*กรณีใบขับขี่เดิมสิ้นอายุเกิน 1 ปี แต่ไม่เกิน 3 ปี เพิ่มขั้นตอนการสอบข้อเขียน
**กรณีใบขับขี่เดิมสิ้นอายุเกิน 3 ปี ต้องทดสอบข้อเขียนและทดสอบขับรถ

Sign

เป็นอย่างไรกันบ้างครับ สำหรับรายละเอียดการทำใบขับขี่ที่ทาง CARRO นำมาให้ได้ศึกษากัน ในส่วนของใบขับขี่รถยนต์สาธารณะ หรือใบขับขี่ส่วนบุคคลชนิดที่ 2, 3 และ 4 (รถบรรทุก รถพ่วง) ทางเราจะนำมาเสนอในโอกาสต่อไปครับ

Carro Express ขายรถกับคาร์โร อยากขายรถ ขายรถด่วน

สำหรับใครที่อยากขายรถคันเดิม ไปซื้อรถยนต์คันใหม่ มาขายรถกับทาง CARRO Express ได้ที่  https://th.carro.co/sell-car/express วิธีการขายรถในแบบยุคใหม่ ง่าย สะดวก รวดเร็ว ได้ราคา อีกทั้งยังลงขายได้ “ฟรี!” พร้อมรับเงินสดกลับบ้านทันที ภายใน 24 ชั่วโมง!

Carro Automall / คาร์โร ออโต้มอลล์

แต่ถ้าหากช่วงนี้ใครอยากเปลี่ยนรถคันใหม่ มาใช้แทนที่รถคันเดิม CARRO Automall แหล่งรวมรถมือสองคุณภาพเยี่ยมผ่านระบบออนไลน์ พร้อมตอบโจทย์คุณด้วยคอนเซปต์ “click.buy.drive.” คุณสามารถจองรถออนไลน์ ได้ในเวลาเพียง 1 นาทีเท่านั้น!

รถทุกคันผ่านการตรวจสภาพแบบ Double Check มากกว่า 200 จุด และยังมีเทคโนโลยี “360 View & Sound Engine Analysis” ให้คุณเลือกชมรถยนต์เสมือนจริงออนไลน์รายแรกในไทย ทั้งภาพและเสียงในรูปแบบ 360 องศา พร้อมรับประกันคุณภาพรถนานถึง 1 ปี หรือ 30,000 กิโลเมตร! อีกทั้งยังการันตีความพึงพอใจ คืนเงินได้ภายใน 5 วันอีกด้วย! เรามีรถให้คุณเลือกชมเพียบ เปิดบริการทุกวัน ซื้อรถคุณภาพเยี่ยม ต้องที่ CARRO Automall สิ!

หรือถ้าหากสนใจรถรุ่นไหนอยู่ แต่ยังหาที่ถูกใจไม่ได้ เรายินดีหาให้! เพียงแค่กรอกเบอร์โทรศัพท์ ชื่อยี่ห้อ / รุ่นรถ ที่คุณต้องการก็ได้เช่นกันครับ อีกทั้งยังสามารถ Inbox เข้ามาสอบถามรายละเอียดได้ที่ Facebook -> CARRO Automall Official โทร. 02-508-8690 หรือทาง Line @carroautomall ครับ

มารยาทในการขับรถบนท้องถนน ที่คุณควรรู้

ปัจจุบันการคมนาคมมีหลายรูปแบบให้เลือกมากขึ้น แต่การเดินทางด้วยรถยนต์ถือเป็นสิ่งที่อำนวยความสะดวกสบายที่สุดในการเดินทางบนถนนสาธารณะ โดยเฉพาะในช่วงเวลาเร่งด่วนที่ผู้ใช้รถใช้ถนนมักขับรถด้วยความเร่งรีบ และอาจขาดความระมัดระวัง จึงกลายเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ สร้างความเสียหายทั้งชีวิตและทรัทย์สิน หรืออาจเกิดการทะเลาะวิวาทบนท้องถนน

ที่เรามักพบเห็นจากวีดิโอที่ถ่ายโดยบุคคล การนำเสนอข่าว หรือการตั้งกระทู้ต่างๆ ยกตัวอย่างกระทู้จากพันทิป เช่น “นอกจากขับช้าแช่ขวา ที่ทำให้หงุดหงิด ก็ยังมีขับทิ้งช่วงห่างระหว่างคันหน้า ที่ทำให้หงุดหงิดเหมือนกัน” , “ผิดถึงกับต้องทำร้ายร่างกายกันเลยเหรอ แค่ขี่ช้ามาอยู่ข้างหน้า แล้วคุณขี่เร็วกว่า” เป็นต้น

จึงทำให้รู้ว่ามารยาทในการขับรถบนท้องถนนควรเป็นเรื่องที่ต้องร่วมกันรณรงค์ ไม่ใช่แค่ปฏิบัติตามกฏจราจรเท่านั้น เพราะฉะนั้นทาง CARRO ขอเป็นส่วนหนึ่งในการรณรงค์ ด้วยการนำเสนอมารยาทในการขับรถเบื้องต้นที่ผู้ใช้รถใช้ถนนสามารถปฏิบัติได้ดังนี้

มารยาทในการขับรถบนท้องถนน

1. ไม่ขับแช่ขวา

แม้ว่าเราจะขับรถตามความเร็วที่กฏหมายกำหนด แต่เราไม่ควรขับรถแช่เลนทางขวา เพราะหลายครั้งที่บนท้องถนนมีสภาพการจราจรติดขัด เคลื่อนตัวไปอย่างช้าๆ อาจเป็นเพราะมีรถที่ขับแช่เลนขวาด้วยความเร็วคงที่ ทำให้รถด้านหลังไม่สามารถไปก่อนได้

ซึ่งสามารถสังเกตุได้ว่า หากคุณขับรถวิ่งเลนขวา และมีรถมาจ่อท้ายเมื่อไหร่ นั่นแสดงว่าคุณขับรถช้าไป โดยมารยาทแล้วคุณต้องเปิดไฟเลี้ยวซ้าย และหลบให้ทางรถที่มาข้างหลัง เพื่อให้รถที่มีความเร็วสูงกว่ารถของคุณแซงขึ้นไปอย่างปลอดภัย

2. ไม่ขับจี้ท้ายรถ หรือขับทิ้งช่วงห่างระหว่างคันหน้า

ความพอดี ไม่น้อยเกินไป ไม่มากเกินไป จนต้องเบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เป็นคำกล่าวที่สามารถใช้ได้กับทุกเรื่อง และในเรื่องขับรถก็เช่นเดียวกัน เพราะการเกิดอุบัติเหตุชนท้ายในบ้านเรา ส่วนมากเกิดครั้งละหลายคันติดกัน และมักพบได้บ่อยครั้ง ดังนั้น การขับรถตามหลังควรต้องเว้นระยะห่างจากคันหน้า ให้เพียงพอที่จะหยุดได้อย่างปลอดภัย หากคันหน้าเกิดอุบัติเหตุ หรือหยุดกระทันหัน

นอกจากขับแช่ขวาแล้วนี่เป็นอีกเรื่องที่ทำให้คันหลังอาจเกิดหงุดหงิดจนถึงขั้นมีเรื่องของการวิวาทบนท้องถนนได้ เพราะด้วยการขับทิ้งช่วงห่างระหว่างคันหน้า ยกตัวอย่างเช่น ในกรุงเทพมักมีวินาทีไฟเขียวที่เร็วกว่าวินาทีไฟแดง ถ้าหากคุณทิ้งระยะห่างมากเกินไปจะทำให้คันหลังไม่สามารถขับต่อไปได้ ทำให้อาจติดไฟแดงอีกครั้ง ซึ่งกลายเป็นเรื่องที่เสียเวลามาก  

มารยาทในการขับรถบนท้องถนน

3. การขับรถแซง

ผู้ขับควรให้สัญญาณไฟก่อนแซง และเร่งความเร็วรถเพื่อที่จะแซงขึ้นไป อีกทั้งต้องเว้นระยะห่างก่อนให้สัญญาณไฟเพื่อที่จะขอกลับเข้าช่องจราจรเดิม นอกจากนี้ควรเร่งความเร็วให้เหมาะสมกับรถคันที่อยู่ด้านหน้า การแซงรถคันหน้าได้แล้วปาดหน้าชิดซ้ายทันที เป็นการแซงที่ไม่ปลอดภัยและแสดงถึงความไม่มีมารยาทของผู้ขับขี่รถ

ส่วนอีกหนึ่งการแซงที่แสดงถึงการไร้มารยาท คือ แซงขวาในเลนที่รถวิ่งสวนมาอีกทาง เป็นการกระทำที่ไม่ควรทำอย่างมาก อีกทั้งยังผิดกฏจราจรอีกด้วย

4. รักษาเลนของตัวเองเวลาเลี้ยว

ปัญหาเหล่านี้มักพบบ่อยครั้ง เช่น บางครั้งเราขับรถอยู่ในเลนขวาสุด เมื่อเราต้องการเลี้ยวขวาแล้วก็ต้องรักษาช่องทางขวาเอาไว้ แต่ถ้าคุณมาเลนที่สองจากขวา เมื่อเริ่มเลี้ยวก็ต้องรักษาช่องทางเดิม จนเลี้ยวขวาเสร็จก็ต้องรักษาเลนที่สองจากขวาไว้ ซึ่งหลายครั้งเจอคนที่ไม่รู้ หลังจากเลี้ยวเสร็จไม่รักษาเลนของตัวเองไว้ เช่น จากเลนที่สองจากขวาเมื่อเลี้ยวแล้วก็ปาดมาขวาสุดทันใด ทำให้เกิดการเบียดเสียดกลางแยก รถไปได้ช้า หลายครั้งก็ทำให้เกิดอุบัติเหตุด้วย และที่สำคัญก่อนเลี้ยวควรเปิดไฟเลี้ยวทิ้งไว้ก่อนเลี้ยวสักระยะหนึ่ง ไม่ควรเปิดก่อนเลี้ยวแบบทันที

มารยาทในการขับรถบนท้องถนน

5. ไม่ควรเปิดไฟสูงขณะรถสวนกัน

หรือเวลาขับตามหลังรถคันอื่นไม่ควรเปิดไฟเพื่อไล่รถคันหน้า เพราะการกระทำแบบนี้จะทำให้ไฟส่องเข้าตาผู้ขับคันหน้า เกิดการมองไม่เห็นถนน หรืออาจตกใจขับรถเปลี่ยนเลน หรือเร่งเครื่องหนี ซึ่งอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้

ส่วนการใช้ไฟสูงที่ถูกต้องและไม่เสียมารยาท ควรเปิดไฟสูงเพื่อตรวจสอบสภาพถนนและริมถนน เฉพาะเส้นทางที่มืดมาก และไม่มีรถวิ่งอยู่ด้านหน้าหรือสวนทาง หลังจากนั้นให้ปิดไฟสูงทันที

6. หยุดรถทางม้าลาย

เมื่อเห็นคนยืนบนทางเท้า และมีการแสดงท่าทีที่จะเดินข้ามถนนตรงทางม้าลาย ผู้ขับรถควรแตะเบรกเตือนหรือเปิดไฟขอทาง เพื่อให้รถคันหลังเห็นสัญญาณไฟ และรู้ว่าคุณกำลังหยุดรถตรงทางม้าลาย จนกระทั่งคนข้ามถนนเสร็จเรียบร้อยแล้วจึงค่อยออกตัวรถ และขับต่อไป

มารยาทในการขับรถบนท้องถนน

ทั้งหมดที่ได้กล่าวมานั้นเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งของมารยาททางสังคมในการขับรถบนท้องถนนที่ผู้ใช้รถใช้ถนนควรยึดมั่นเท่านั้น ซึ่งนอกจากกฎระเบียบและมารยาท ผู้ขับขี่ทุกท่าน ควรมีสติ ไม่ใจร้อน รู้จักใจเย็น ปล่อยวาง และให้อภัยซึ่งกันและกัน จะได้สามารถคิด แก้ไขปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นได้เป็นอย่างดี และอย่างน้อยก็เพื่อเป็นการป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้น จากการไม่มีมารยาทของผู้ขับขี่

สำหรับใครที่อยากขายรถคันเดิม มาขายรถคันเดิมกับ CARRO Express สิ! Inbox มาขอรายละเอียดได้ที่ Facebook -> CARRO Thailand และ Add Line สอบถามรายละเอียดได้เช่นกัน ที่ @carrothai

แต่ถ้าหากช่วงนี้ใครอยากเปลี่ยนรถคันใหม่ มาใช้แทนที่รถคันเดิม CARRO Automall แหล่งรวมรถมือสองคุณภาพเยี่ยมผ่านระบบออนไลน์ พร้อมตอบโจทย์คุณด้วยคอนเซปต์ “click.buy.drive.” คุณสามารถจองรถออนไลน์ ได้ในเวลาเพียง 1 นาทีเท่านั้น!

รถทุกคันผ่านการตรวจสภาพแบบ Double Check มากกว่า 200 จุด และยังมีเทคโนโลยี “360 View & Sound Engine Analysis” ให้คุณเลือกชมรถยนต์เสมือนจริงออนไลน์รายแรกในไทย ทั้งภาพและเสียงในรูปแบบ 360 องศา พร้อมรับประกันคุณภาพรถนานถึง 2 ปี หรือ 20,000 กิโลเมตร! อีกทั้งยังการันตีความพึงพอใจ คืนเงินได้ภายใน 5 วันอีกด้วย! เรามีรถให้คุณเลือกชมเพียบ เปิดบริการทุกวัน ซื้อรถคุณภาพเยี่ยม ต้องที่ CARRO Automall สิ!

หรือถ้าหากสนใจรถรุ่นไหนอยู่ แต่ยังหาที่ถูกใจไม่ได้ เรายินดีหาให้! เพียงแค่กรอกเบอร์โทรศัพท์ ชื่อยี่ห้อ / รุ่นรถ ที่คุณต้องการก็ได้เช่นกันครับ อีกทั้งยังสามารถ Inbox เข้ามาสอบถามรายละเอียดได้ที่ Facebook -> CARRO Automall Thailand  โทร. 02-508-8690 หรือทาง Line @carroautomall ครับ

ขอบคุณแหล่งที่มาจาก: