Thailand-Monthly-Car-Sales-Volume

สถิติการขายรถยนต์เดือนพฤษภาคม สามารถสร้างยอดขาย 40,418 คัน ลดลง 54.1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตลดลง 65.1% และตลาดรถเพื่อการพาณิชย์มีอัตราการเติบโตลดลง 47.4% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา

จะเห็นได้ว่า สถานการณ์การขายของเดือนพฤษภาคม มีแนวโน้มดีขึ้นกว่าเดือนเมษายนที่ผ่านมา สืบเนื่องจากรัฐบาลได้ทยอยประกาศผ่อนปรนมาตรการควบคุมเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้บางธุรกิจที่ได้รับการผ่อนปรนเริ่มทยอยกลับมาดำเนินงาน ซึ่งส่งผลในเชิงบวกให้กับตลาดรถยนต์

อย่างไรก็ตาม สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ยังคงอยู่ในช่วงของการค่อยๆ ฟื้นตัว ทำให้ผู้บริโภคยังระวังเรื่องใช้จ่ายอยู่ รวมถึงภาครัฐฯต้องออกมาตรการดูแลและเยียวยาเพื่อช่วยเหลือประชาชน และผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์นี้ด้วย ซึ่งไม่ได้เป็นแค่ที่ไทยที่เดียว แต่เป็นเหมือนกันทั้งโลก

ส่วนตลาดรถยนต์สะสม 5 เดือน มีปริมาณการขาย 270,591 คัน ลดลง 38.2% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตลดลง 42.2% ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์มีอัตราการเติบโตลดลง 35.6%

ส่วนในเดือนมิถุนายน 2563 จากการที่ภาครัฐฯ ได้ผ่อนคลายให้ธุรกิจสามารถกลับมาดำเนินการได้ในระยะที่ 3 และไม่มีผู้ติดเชื้อโควิด-19 ภายในประเทศ กับได้มีการคลายล็อกระยะที่ 4 มีผลบังคับใช้วันที่ 15 มิถุนายน โดยให้กิจการและกิจกรรมอีกหลายประเภท กลับมาดำเนินธุรกิจได้ภายใต้มาตรการที่ภาครัฐกำหนด เพื่อให้เศรษฐกิจไทยเดินหน้าต่อไปได้ แนวโน้มของตลาดรถยนต์ในเดือนมิถุนายน น่าจะมีทิศทางที่ดีขึ้นต่อเนื่อง

ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ เดือนพฤษภาคม 2563

1.     ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 40,418 คัน ลดลง 54.1%

อันดับที่ 1 โตโยต้า 13,611 คัน ลดลง 53.7% ส่วนแบ่งตลาด 33.7%
อันดับที่ 2 อีซูซุ
10,130 คัน ลดลง 35.3% ส่วนแบ่งตลาด 25.1%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 4,178 คัน ลดลง 62.8% ส่วนแบ่งตลาด  10.3%

2. ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 11,733  คัน ลดลง 65.1%

อันดับที่ 1 โตโยต้า 3,557 คัน ลดลง 62.9% ส่วนแบ่งตลาด 30.3%
อันดับที่ 2 ฮอนด้า 3,514 คัน ลดลง 59.2% ส่วนแบ่งตลาด 29.9%
อันดับที่ 3 ซูซูกิ 1,218 คัน ลดลง 37.3% ส่วนแบ่งตลาด 10.4%

3. ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 28,685 คัน ลดลง 47.4%

อันดับที่ 1 อีซูซุ 10,130 คัน ลดลง 35.3% ส่วนแบ่งตลาด 35.3%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 10,054 คัน ลดลง 49.2% ส่วนแบ่งตลาด 35.0%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 1,823 คัน ลดลง 50.9% ส่วนแบ่งตลาด  6.4%

4. ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน*  (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย 23,137 คัน ลดลง 47.5%

อันดับที่ 1 อีซูซุ 9,318 คัน ลดลง 34.7% ส่วนแบ่งตลาด 40.3%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 9,138 คัน ลดลง 48.2% ส่วนแบ่งตลาด 39.5%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 1,823 คัน ลดลง 50.9% ส่วนแบ่งตลาด 7.9%

*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน) 2,570 คัน
โตโยต้า 1,308 คัน- มิตซูบิชิ 420 คัน – อีซูซุ 363 – คัน- ฟอร์ด 277 คัน – นิสสัน 181 คัน – เชฟโรเลต 21 คัน

5. ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 20,567 คัน ลดลง 46.8%

อันดับที่ 1 อีซูซุ 8,955 คัน ลดลง 32.5% ส่วนแบ่งตลาด 43.5%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 7,830 คัน ลดลง 48.4% ส่วนแบ่งตลาด 38.1%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 1,403 คัน ลดลง 48.2% ส่วนแบ่งตลาด 6.8%

สถิติการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมกราคม – พฤษภาคม 2563

1.  ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 270,591 คัน ลดลง 38.2%

อันดับที่ 1 โตโยต้า
80,856 คัน ลดลง 43.3% ส่วนแบ่งตลาด 29.9%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 59,393 คัน ลดลง 21.8% ส่วนแบ่งตลาด 21.9%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า
35,504 คัน ลดลง 32.4% ส่วนแบ่งตลาด 13.1%

2.  ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 98,948 คัน ลดลง 42.2%

อันดับที่ 1 ฮอนด้า 29,702 คัน ลดลง 25.3% ส่วนแบ่งตลาด 30.0%
อันดับที่ 2 โตโยต้า
25,124 คัน ลดลง 50.4% ส่วนแบ่งตลาด 25.4%
อันดับที่ 3 นิสสัน
10,908 คัน ลดลง 34.5% ส่วนแบ่งตลาด 11.0%

3.  ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 171,643 คัน ลดลง 35.6%

อันดับที่ 1 อีซูซุ
59,393 คัน ลดลง 21.8% ส่วนแบ่งตลาด 34.6%
อันดับที่ 2 โตโยต้า
55,732 คัน ลดลง 39.4% ส่วนแบ่งตลาด 32.5%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ
12,854 คัน ลดลง 39.5% ส่วนแบ่งตลาด 7.5%

4.  ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย 136,833 คัน ลดลง 37.2%

อันดับที่ 1 อีซูซุ
55,205 คัน ลดลง 21.3% ส่วนแบ่งตลาด 40.3%
อันดับที่ 2 โตโยต้า
48,890 คัน ลดลง 40.4% ส่วนแบ่งตลาด 35.7%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ
12,854 คัน ลดลง 39.5% ส่วนแบ่งตลาด 9.4%

*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน) 13,985 คัน
โตโยต้า 5,381 คัน – มิตซูบิชิ 3,265 คัน – อีซูซุ 2,448 คัน – ฟอร์ด 1,786 คัน – นิสสัน 495 คัน –เชฟโรเลต 610 คัน

5.  ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 122,848 คัน ลดลง 35.4%

อันดับที่ 1 อีซูซุ
52,757 คัน ลดลง 19.2% ส่วนแบ่งตลาด 42.9%
อันดับที่ 2 โตโยต้า
43,509 คัน ลดลง 37.8% ส่วนแบ่งตลาด 35.4%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ
9,589 คัน ลดลง 38.1% ส่วนแบ่งตลาด 7.8%
ส่วนถ้าใครอยากขายรถ เพื่อนำเงินไปใช้จ่ายในยุคโควิด-19 ระบาด สามารถขายคันเก่ากับ CARRO Express ได้ เรายินดีรับซื้อรถของคุณ ได้เงินไว เร็ว พร้อมปิดการขายได้ทันที แค่คลิก https://th.carro.co/sell-car/express หรืออยากตีราคารถก่อน สามารถ Inbox สอบถามรายละเอียดได้ที่ Facebook CARRO Thailand

หรือจะ Add Line สอบถามรายละเอียดได้ที่ @Carrothailand หรือคลิกที่นี่ —> เพิ่มเพื่อน

แหล่งที่มาจาก:

Thailand-Monthly-Car-Sales-Volume

สถิติการขายรถยนต์เดือนเมษายนมีปริมาณการขาย 30,109 คัน ลดลง 65% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตลดลง 74.7% และตลาดรถเพื่อการพาณิชย์มีอัตราการเติบโตลดลง 58.4% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา

ซึ่งเป็นผลจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ภาครัฐฯ ออกมาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาด ตั้งแต่การทำงานจากที่บ้าน (Work From Home) และผู้บริโภคหยุดพิจารณาซื้อรถใหม่ เศรษฐกิจของประเทศที่แย่อยู่แล้ว ทำให้ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมยานยนต์เป็นวงกว้าง ส่งผลต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย และในทั่วโลก

ส่วนตลาดรถยนต์สะสม 4 เดือน มีปริมาณการขาย 230,173 คัน ลดลง 34.2% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตลดลง 36.6% ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์มีอัตราการเติบโตลดลง 32.6%

ในเดือนพฤษภาคม ภาครัฐฯ ได้เริ่มผ่อนปรนมาตรการปิดเมือง ปรับเวลาเคอร์ฟิว แต่ก็เริ่มให้เกิดกิจการหลายอย่าง เพื่อช่วยขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ และหลายค่ายรถยนต์ได้กลับมาเปิดสายการผลิตอีกครั้ง ทำให้แนวโน้มตลาดรถยนต์ในเดือนพฤษภาคมมีทิศทางดีขึ้น

ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ เดือนเมษายน 2563

1.     ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 30,109 คัน ลดลง 65%

อันดับที่ 1 โตโยต้า 11,084 คัน ลดลง 58.9% ส่วนแบ่งตลาด 36.8%
อันดับที่ 2 อีซูซุ
6,865 คัน ลดลง 55.4% ส่วนแบ่งตลาด 22.8%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 2,648 คัน ลดลง 76.6% ส่วนแบ่งตลาด  8.8%

2. ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 8,830 คัน ลดลง 74.7%

อันดับที่ 1 โตโยต้า 2,906 คัน ลดลง 71.2% ส่วนแบ่งตลาด 32.9%
อันดับที่ 2 ฮอนด้า 2,229 คัน ลดลง 74.1% ส่วนแบ่งตลาด 25.2%
อันดับที่ 3 นิสสัน 1,072 คัน ลดลง 56.9% ส่วนแบ่งตลาด 12.1%

3. ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 21,279 คัน ลดลง 58.4%

อันดับที่ 1 โตโยต้า 8,178 คัน ลดลง 51.5% ส่วนแบ่งตลาด 38.4%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 6,865 คัน ลดลง 55.4% ส่วนแบ่งตลาด 32.3%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 1,205 คัน ลดลง 73.1% ส่วนแบ่งตลาด  5.7%

4. ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน*  (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย 16,733 คัน ลดลง 59.4%

อันดับที่ 1 โตโยต้า 7,019 คัน ลดลง 53.1% ส่วนแบ่งตลาด 41.9%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 6,267 คัน ลดลง 56.0% ส่วนแบ่งตลาด 37.5%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 1,205 คัน ลดลง 73.1% ส่วนแบ่งตลาด 7.2%

*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน) 1,575 คัน
โตโยต้า 753 คัน –  อีซูซุ 322 คัน – มิตซูบิชิ 219 คัน – ฟอร์ด 211 คัน – เชฟโรเลต 45 คัน – นิสสัน 25 คัน

5. ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 15,158 คัน ลดลง 58.2%

อันดับที่ 1 โตโยต้า 6,266 คัน ลดลง 52.2% ส่วนแบ่งตลาด 41.3%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 5,945 คัน ลดลง 55.0% ส่วนแบ่งตลาด 39.2%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 994 คัน ลดลง 73.7% ส่วนแบ่งตลาด  6.6%

สถิติการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมกราคม – เมษายน 2563

1.  ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 230,173 คัน ลดลง 34.2%

อันดับที่ 1 โตโยต้า
67,245 คัน ลดลง 40.6% ส่วนแบ่งตลาด 29.2%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 49,263 คัน ลดลง 18.3% ส่วนแบ่งตลาด 21.4%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า
31,326 คัน ลดลง 24.2% ส่วนแบ่งตลาด 13.6%

2.  ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 87,215 คัน ลดลง 36.6%

อันดับที่ 1 ฮอนด้า 26,188 คัน ลดลง 15.9% ส่วนแบ่งตลาด 30.0%
อันดับที่ 2 โตโยต้า
21,567 คัน ลดลง 47.4% ส่วนแบ่งตลาด 24.7%
อันดับที่ 3 นิสสัน
9,763 คัน ลดลง 27.3% ส่วนแบ่งตลาด 11.2%

3.  ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 142,958 คัน ลดลง 32.6%

อันดับที่ 1 อีซูซุ
49,263 คัน ลดลง 18.3% ส่วนแบ่งตลาด 34.5%
อันดับที่ 2 โตโยต้า
45,678 คัน ลดลง 36.7% ส่วนแบ่งตลาด 32.0%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ
11,031 คัน ลดลง 37.0% ส่วนแบ่งตลาด 7.7%

4.  ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย 113,696 คัน ลดลง 34.6%

อันดับที่ 1 อีซูซุ
45,887 คัน ลดลง 17.8% ส่วนแบ่งตลาด 40.4%
อันดับที่ 2 โตโยต้า
39,752 คัน ลดลง 38.2% ส่วนแบ่งตลาด 35.0%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ
11,031 คัน ลดลง 37.0% ส่วนแบ่งตลาด 9.7%

*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน) 11,415 คัน
โตโยต้า 4,073 คัน – มิตซูบิชิ 2,845 คัน – อีซูซุ 2,085 คัน – ฟอร์ด 1,509 คัน – เชฟโรเลต 589 คัน –นิสสัน 314 คัน

5.  ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 102,281 คัน ลดลง 32.4%

อันดับที่ 1 อีซูซุ
43,802 คัน ลดลง 15.9% ส่วนแบ่งตลาด 42.8%
อันดับที่ 2 โตโยต้า
35,679 คัน ลดลง 34.9% ส่วนแบ่งตลาด 34.9%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ
8,186 คัน ลดลง 35.9% ส่วนแบ่งตลาด 8.0%
ส่วนถ้าใครอยากขายรถ เพื่อนำเงินไปใช้จ่ายในยุคโควิด-19 ระบาด สามารถขายคันเก่ากับ CARRO Express ได้ เรายินดีรับซื้อรถของคุณ ได้เงินไว เร็ว พร้อมปิดการขายได้ทันที แค่คลิก https://th.carro.co/sell-car/express หรืออยากตีราคารถก่อน สามารถ Inbox สอบถามรายละเอียดได้ที่ Facebook CARRO Thailand

หรือจะ Add Line สอบถามรายละเอียดได้ที่ @Carrothailand หรือคลิกที่นี่ —> เพิ่มเพื่อน

แหล่งที่มาจาก:

Thailand-Monthly-Car-Sales-Volume

สถิติการขายรถยนต์ประจำเดือนมีนาคม 2563 มียอดการขายรวมทั้งสิ้น 60,105 คัน ลดลง 41.7% ประกอบด้วย รถยนต์นั่ง 20,698 คัน ลดลง 48.3% รถเพื่อการพาณิชย์ 39,407 คัน ลดลง 37.6% ขณะที่ รถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซกเมนท์นี้ มีจำนวน 30,296 คัน ลดลง 41.8%

ปัญหาหลักๆ ที่ยอดขายรถบ้านเราตกลง เพราะการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 (COVID-19) ส่งผลต่อการดำเนินชีวิต การทำธุรกิจ และภาวะเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม ความสนใจในการซื้อรถใหม่ (และรถมือสอง) จึงชะลอตัว และผู้บริโภคยังระมัดระวังการใช้จ่าย ซึ่งส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของผู้คน และเศรษฐกิจของประเทศและระดับโลก

ส่วนตลาดรถยนต์สะสม 3 เดือน มีปริมาณการขาย 200,064 คัน ลดลง 24.1% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตลดลง 23.6% ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์มีอัตราการเติบโตลดลง 24.4%

อย่างไรก็ตาม ค่ายรถยนต์ต่างๆ ยังคงพยายามหามาตรการเพื่อให้สอดรับกับสถานการณ์ในปัจจุบัน โดยเฉพาะการนำเสนอผลิตภัณฑ์และกิจกรรมส่งเสริมการขายให้กับลูกค้า ผ่านช่องทางออนไลน์ต่างๆ ซึ่งยอดขายของรถยนต์ใหม่ ในเดือนเมษายน 2563 ยังคงต้องเฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิด!

ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมีนาคม 2563

1.     ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 60,105 คัน ลดลง 41.7%

อันดับที่ 1 โตโยต้า 17,332 คัน ลดลง 48.9% ส่วนแบ่งตลาด 28.8%
อันดับที่ 2 อีซูซุ
13,629 คัน ลดลง 21.8%
ส่วนแบ่งตลาด 22.7%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 7,506 คัน ลดลง 31.9% ส่วนแบ่งตลาด 12.5%

2. ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 20,698 คัน ลดลง 48.3%

อันดับที่ 1 ฮอนด้า
6,070 คัน ลดลง 25.5%
ส่วนแบ่งตลาด 29.3%
อันดับที่ 2 โตโยต้า
5,406 คัน ลดลง 55.6% ส่วนแบ่งตลาด 26.1%
อันดับที่ 3 มาสด้า
2,161 คัน ลดลง 56.5%
ส่วนแบ่งตลาด 10.4%

3. ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 39,407 คัน ลดลง 37.6%

อันดับที่ 1 อีซูซุ
13,629 คัน
ลดลง 21.8%
ส่วนแบ่งตลาด 34.6%
อันดับที่ 2 โตโยต้า
11,926 คัน ลดลง 45.2%
ส่วนแบ่งตลาด 30.3%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 2,930 คัน
ลดลง 47.5%
ส่วนแบ่งตลาด  7.4%

4. ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน*  (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย 30,296 คัน ลดลง 41.8%

อันดับที่ 1 อีซูซุ
12,634 คัน
ลดลง 21.9% ส่วนแบ่งตลาด 41.7%
อันดับที่ 2 โตโยต้า
10,349 คัน ลดลง 46.3%
ส่วนแบ่งตลาด 34.2%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ
2,930 คัน
ลดลง 47.5% ส่วนแบ่งตลาด 9.7%

*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน) 3,081 คัน
โตโยต้า 962 คัน – มิตซูบิชิ 773  คัน – อีซูซุ 640  คัน – ฟอร์ด 419  คัน – เชฟโรเลต 228 คัน – นิสสัน 59 คัน

5. ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 27,215 คัน ลดลง 39.5%

อันดับที่ 1 อีซูซุ
11,994 คัน
ลดลง 19.7%
ส่วนแบ่งตลาด 44.1%
อันดับที่ 2 โตโยต้า
9,387 คัน ลดลง 41.6%
ส่วนแบ่งตลาด 34.5%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ
2,157 คัน
ลดลง 46.8% ส่วนแบ่งตลาด  7.9%

สถิติการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมกราคม – มีนาคม 2563

1. ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 200,064 คัน ลดลง 24.1%

อันดับที่ 1 โตโยต้า
56,161 คัน ลดลง 34.9% ส่วนแบ่งตลาด 28.1%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 42,398 คัน
ลดลง 5.6%
ส่วนแบ่งตลาด 21.2%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า
28,678 คัน ลดลง 4.4% ส่วนแบ่งตลาด 14.3%

2. ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 78,385 คัน ลดลง 23.6%

อันดับที่ 1 ฮอนด้า 23,959 คัน เพิ่มขึ้น 6.4% ส่วนแบ่งตลาด 30.6%
อันดับที่ 2 โตโยต้า
18,661 คัน ลดลง 39.6% ส่วนแบ่งตลาด 23.8%
อันดับที่ 3 นิสสัน
8,691คัน ลดลง 20.5% ส่วนแบ่งตลาด 11.1%

3. ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 121,679 คัน ลดลง 24.4%

อันดับที่ 1 อีซูซุ
42,398 คัน ลดลง 5.6% ส่วนแบ่งตลาด 34.8%
อันดับที่ 2 โตโยต้า
37,500 คัน ลดลง 32.2% ส่วนแบ่งตลาด 30.8%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ
9,835 คัน ลดลง 29.4% ส่วนแบ่งตลาด 8.1%

4. ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย 96,963 คัน ลดลง 26.9%

อันดับที่ 1 อีซูซุ
39,620 คัน ลดลง 4.8% ส่วนแบ่งตลาด 40.9%
อันดับที่ 2 โตโยต้า
32,733 คัน ลดลง 33.7%
ส่วนแบ่งตลาด 33.8%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ
9,835 คัน ลดลง 29.4% ส่วนแบ่งตลาด 10.1%

*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน) 9,840 คัน
โตโยต้า 3,320 คัน
 – มิตซูบิชิ 2,626 คัน – อีซูซุ 1,763 คัน – ฟอร์ด 1,298 คัน – เชฟโรเลต 544 คัน – นิสสัน 289 คัน

5. ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 87,123 คัน ลดลง 24.3%

อันดับที่ 1 อีซูซุ
37,857 คัน ลดลง 2.5% ส่วนแบ่งตลาด 43.5%
อันดับที่ 2 โตโยต้า
29,413 คัน ลดลง 29.4%
ส่วนแบ่งตลาด 33.8%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ
7,209 คัน ลดลง 29.1% ส่วนแบ่งตลาด 8.3%
ส่วนถ้าใครอยากขายรถ เพื่อนำเงินไปใช้จ่ายในยุค COVID-19 ระบาด สามารถขายคันเก่ากับ CARRO Express ได้ เรายินดีรับซื้อรถของคุณ ได้เงินไว เร็ว พร้อมปิดการขายได้ทันที แค่คลิก https://th.carro.co/sell-car/express หรืออยากตีราคารถก่อน สามารถ Inbox สอบถามรายละเอียดได้ที่ Facebook CARRO Thailand

หรือจะ Add Line สอบถามรายละเอียดได้ที่ @Carrothailand หรือคลิกที่นี่ —> เพิ่มเพื่อน

แหล่งที่มาจาก:

Thailand-Monthly-Car-Sales-Volume

สถิติการขายรถยนต์ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2563 มียอดการขายรวมทั้งสิ้น 68,271 คัน ลดลง 17.1% ประกอบด้วย รถยนต์นั่ง 27,356 คัน ลดลง 15.6% รถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 40,915 คัน ลดลง 18.1% ขณะที่ รถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซกเมนท์นี้ มีจำนวน 33,376 คัน ลดลง 18.5%

สาเหตุที่ตลาดรถยนต์นั่งบ้านเราลดลง 15.6% และตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ลดลง 18.1% เนื่องมาจากสถานการณ์เศรษฐกิจที่ชะลอตัว ทั้งเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลก รวมถึงการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ ประหยัดและระวังเรื่องการใช้จ่าย

ส่วนตลาดรถยนต์สะสม 2 เดือน มีปริมาณการขาย 139,959 คัน ลดลง 12.8% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตลดลง 7.9% ตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์มีอัตราการเติบโตลดลง 15.9% ซึ่งต้องจับตาดูยอดขายรถยนต์ในเดือนมีนาคม 2563 กันอีกครั้ง ว่าตัวเลขนั้นจะดิ่งลงมากกว่านี้แค่ไหน จากสถานการณ์ระบาดของ โควิด-19 ที่ยังไม่สามารถควบคุมได้!

อีกทั้งยังเกิดเรื่องที่ว่า มีพนักงานในสายการผลิตรถยนต์ยี่ห้อหนึ่ง ติดโรค COVID-19 ขึ้ันมา รวมถึงการที่ภาครัฐขอความร่วมมือให้ทุกคนอยู่บ้าน ไม่ควรออกไปไหนถ้าไม่จำเป็น และการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) ทำให้ผู้ผลิตรถยนต์หลายราย เริ่มพิจารณาการหยุดผลิตรถยนต์ชั่วคราว ซึ่งมีโรงงานที่หยุดการผลิตดังต่อไปนี้

  • Honda ปิดโรงงานที่โรจนะ จ.พระนครศรีอยุธยา ตั้งแต่วันที่ 27 มี.ค. – 30 เม.ย. 2563
  • Toyota ปิดโรงงานที่สำโรง จ.สมุทรปราการ, บ้านโพธิ์ จ.ฉะเชิงเทรา และเกตเวย์ จ.ฉะเชิงเทรา ตั้งแต่วันที่ 7 เม.ย. – 17 เม.ย. 2563
  • Mazda ปิดโรงงานที่ จ.ระยอง ตั้งแต่วันที่ 30 มี.ค. – 8 เม.ย. 2563
  • Ford ปิดโรงงานที่ จ.ระยอง ตั้งแต่วันที่ 28 มี.ค. – 20 เม.ย. 2563

และสำหรับรายละเอียดด้านล่างนี้ เป็นปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ เดือนกุมภาพันธ์ 2563 ครับ

1. ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 68,271 คัน ลดลง 17.1%

อันดับที่ 1 โตโยต้า 18,606 คัน
ลดลง 27.2% ส่วนแบ่งตลาด 27.3%
อันดับที่ 2 อีซูซุ
14,484 คัน
ลดลง 2.1%
ส่วนแบ่งตลาด 21.2%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 9,761 คัน เพิ่มขึ้น 0.7% ส่วนแบ่งตลาด 14.3%

2. ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 27,356 คัน ลดลง 15.6%

อันดับที่ 1 ฮอนด้า
8,409 คัน
เพิ่มขึ้น 12.9%
ส่วนแบ่งตลาด 30.7%
อันดับที่ 2 โตโยต้า
6,364 คัน
ลดลง 32.7% ส่วนแบ่งตลาด 23.3%
อันดับที่ 3 นิสสัน
3,013 คัน
ลดลง 13.8%
ส่วนแบ่งตลาด 11.0%

3. ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 40,915 คัน ลดลง 18.1%

อันดับที่ 1 อีซูซุ
14,484 คัน
ลดลง 2.1%
ส่วนแบ่งตลาด 35.4%
อันดับที่ 2 โตโยต้า
12,242 คัน ลดลง 23.9%
ส่วนแบ่งตลาด 29.9%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 3,508 คัน
ลดลง 17.2%
ส่วนแบ่งตลาด  8.6%

4. ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และรถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย 33,376 คัน ลดลง 18.5%

อันดับที่ 1 อีซูซุ
13,604 คัน
ลดลง 0.7% ส่วนแบ่งตลาด 40.8%
อันดับที่ 2 โตโยต้า
10,599 คัน ลดลง 25.6%
ส่วนแบ่งตลาด 31.8%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ
3,508 คัน
ลดลง 17.2% ส่วนแบ่งตลาด 10.5%

*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน) 3,539 คัน
โตโยต้า 1,183 คัน – มิตซูบิชิ 904  คัน – อีซูซุ 652  คัน – ฟอร์ด 450  คัน – เชฟโรเลต 192 คัน – นิสสัน 158 คัน

5. ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 29,837 คัน ลดลง 15.7%

อันดับที่ 1 อีซูซุ
12,952 คัน
เพิ่มขึ้น 0.4%
ส่วนแบ่งตลาด 43.4%
อันดับที่ 2 โตโยต้า
9,416 คัน ลดลง 21.5%
ส่วนแบ่งตลาด 31.6%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ
2,604 คัน
ลดลง 13.9% ส่วนแบ่งตลาด  8.7%

สถิติการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ 2563

1. ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 139,959 คัน ลดลง 12.8%

อันดับที่ 1 โตโยต้า
38,829 คัน ลดลง 25.8% ส่วนแบ่งตลาด 27.7%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 28,769 คัน
เพิ่มขึ้น 4.6%
ส่วนแบ่งตลาด 20.6%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า
21,172 คัน เพิ่มขึ้น 11.5% ส่วนแบ่งตลาด 15.1%

2. ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 57,687 คัน ลดลง 7.9%

อันดับที่ 1 ฮอนด้า 17,889 คัน
เพิ่มขึ้น 24.5%
ส่วนแบ่งตลาด 31.0%
อันดับที่ 2 โตโยต้า
13,255 คัน ลดลง 29.3%
ส่วนแบ่งตลาด 23.0%
อันดับที่ 3 นิสสัน
6,716 คัน เพิ่มขึ้น 3.8%
ส่วนแบ่งตลาด 11.6%

3. ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 82,272 คัน ลดลง 15.9%

อันดับที่ 1 อีซูซุ
28,769 คัน
เพิ่มขึ้น 4.6%
ส่วนแบ่งตลาด 35.0%
อันดับที่ 2 โตโยต้า
25,574 คัน ลดลง 23.8%
ส่วนแบ่งตลาด 31.1%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ
6,905 คัน
ลดลง 17.3%
ส่วนแบ่งตลาด 8.4%

4. ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย 66,667 คัน ลดลง 17.3%

อันดับที่ 1 อีซูซุ
26,986 คัน เพิ่มขึ้น 6.2%
ส่วนแบ่งตลาด 40.5%
อันดับที่ 2 โตโยต้า
22,384 คัน ลดลง 25.7%
ส่วนแบ่งตลาด 33.6%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ
6,905 คัน
ลดลง 17.3% ส่วนแบ่งตลาด 10.4%

*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน) 6,759 คัน
โตโยต้า 2,358 คัน
มิตซูบิชิ 1,853 คันอีซูซุ 1,123 คันฟอร์ด 879 คันเชฟโรเลต 316 คันนิสสัน 230 คัน

5. ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 59,908 คัน ลดลง 14.6%

อันดับที่ 1 อีซูซุ
25,863 คัน
เพิ่มขึ้น 8.2%
ส่วนแบ่งตลาด 43.2%
อันดับที่ 2 โตโยต้า
20,026 คัน ลดลง 21.7%
ส่วนแบ่งตลาด 33.4%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ
5,052 คัน
ลดลง 17.3% ส่วนแบ่งตลาด 8.4%

ส่วนถ้าใครอยากขายรถ เพื่อนำเงินไปใช้จ่ายในยุค COVID-19 ระบาด สามารถขายคันเก่ากับ CARRO Express ได้ เรายินดีรับซื้อรถของคุณ ได้เงินไว เร็ว พร้อมปิดการขายได้ทันที แค่คลิก https://th.carro.co/sell-car/express หรืออยากตีราคารถก่อน สามารถ Inbox สอบถามรายละเอียดได้ที่ Facebook CARRO Thailand

หรือจะ Add Line สอบถามรายละเอียดได้ที่ @Carrothailand หรือคลิกที่นี่ —> เพิ่มเพื่อน

แหล่งที่มาจาก:

Thailand-Car-Sales-Volume-2020

บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด แถลงสถิติการจำหน่ายรถยนต์ปี 2562 พร้อมคาดการณ์ตลาดรถยนต์ไทยปี 2563 ในเศรษฐกิจยุคลุง คาดยอดขายตลาดรถยนต์ไทยโดยรวม 940,000 คัน ลดลง 6.7% เมื่อเทียบกับปี 2562

Thailand-Car-Sales-Volume-2020

ยอดขายรถยนต์รวมในประเทศไทยปี 2562 ลดลง 3% โดยมียอดขายอยู่ที่ 1,007,552 คัน แต่อย่างไรก็ตาม ครั้งนี้ยังถือได้ว่าเป็นครั้งที่ 4 ในประวัติศาสตร์ของตลาดรถยนต์ไทย ที่มียอดขายถึงระดับหนึ่งล้านคัน ถึงแม้ว่าตลาดรถยนต์มีการหดตัวอย่างเห็นได้ชัดในช่วงครึ่งปีหลัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งนับตั้งแต่เดือนกันยายนผ่านมา

Thailand-Car-Sales-Volume-2020

สถิติการขายรถยนต์ในประเทศปี 2562

 ยอดขายปี 2562 เปลี่ยนแปลง
เทียบกับปี 2561
ปริมาณการขายรวม 1,007,552 คัน -3.3%
รถยนต์นั่ง 398,386 คัน
-0.3%
รถเพื่อการพาณิชย์ 609,166 คัน -5.1%
รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง)
492,129 คัน -3.8%
รถกระบะ 1 ตัน (ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง)
431,677 คัน
-3.4%

ส่วนแนวโน้มตลาดรถยนต์ของปี 2563 คาดการณ์ว่า ปีนี้นับเป็นปีที่ท้าทายอีกปีหนึ่ง ตลาดรถยนต์ยังคงเผชิญกับหลายปัจจัย จากความเชื่อมั่นของผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจโลกที่ไม่แน่นอน และมาตรการควบคุมสินเชื่อรถยนต์ที่เข้มงวดมากขึ้น ดังนั้นจึงคาดการณ์ว่าตลาดรถยนต์รวมในประเทศ จะอยู่ที่ 940,000 คัน ลดลงประมาณ 7% เมื่อเทียบกับปี 2562 ที่ผ่านมา

Thailand-Car-Sales-Volume-2020

ประมาณการยอดขายรถยนต์ในประเทศปี 2563

ยอดขาย
ประมาณการปี 2563
เปลี่ยนแปลง
เทียบกับปี 2562
ปริมาณการขายรวม 940,000 คัน -6.7%
รถยนต์นั่ง 358,500 คัน -10.0%
รถเพื่อการพาณิชย์ 581,500 คัน -4.5%

แต่สำหรับยอดขายรถโตโยต้าในปี 2562 สามารถสร้างยอดขายเพิ่มขึ้น สวนทางกับสถานการณ์ตลาดที่หดตัวลง โดยโตโยต้า มียอดขายอยู่ที่ 332,380 คัน เพิ่มขึ้นประมาณ 6% ครองส่วนแบ่งการตลาด 33.0% เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 2.8 จุด

ปัจจัยหลักมาจากการเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ และรุ่นปรับปรุงใหม่ของรถยนต์นั่งอย่าง New Camry และ New Corolla Altis รวมไปถึงกิจกรรมส่งเสริมการขายของ Yaris และ ATIV ตลอดจนรถเพื่อการพาณิชย์ อย่าง Hilux Revo Z Edition, Commuter และ Majesty

Thailand-Car-Sales-Volume-2020

สถิติการขายรถยนต์ของโตโยต้าในปี 2562

ยอดขายปี 2562 เปลี่ยนแปลง
เทียบกับปี 2561
ส่วนแบ่งตลาด
ส่วนแบ่งตลาด
เติบโต (จุด)
ปริมาณการขายโตโยต้า 332,380 คัน +5.5% 33.0% +2.8
รถยนต์นั่ง 117,708 คัน +4.7% 29.5% +1.4
รถเพื่อการพาณิชย์ 214,672 คัน +5.9% 35.2% +3.6
รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง) 191,669 คัน +8.3% 38.9% +4.3
รถกระบะ 1 ตัน (ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง) 165,452 คัน +9.6% 38.3% +4.5

สำหรับเป้าหมายของโตโยต้าในปี 2563 มีเป้าหมายการขายที่ 310,000 คัน ด้วยส่วนแบ่งการตลาดที่ 33.0% ลดลงประมาณ 7% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา

Thailand-Car-Sales-Volume-2020

ประมาณการขายรถยนต์ของโตโยต้าในปี 2563

ยอดขาย เปลี่ยนแปลง
ประมาณการปี 2563
ส่วนแบ่งตลาด
เทียบกับปี 2562
ปริมาณการขายรวม 310,000 คัน -6.7% 33.0%
รถยนต์นั่ง 103,000 คัน -12.5% 28.7%
รถเพื่อการพาณิชย์ 207,000 คัน -3.6% 35.6%

ด้านการส่งออกรถในปี 2562 โตโยต้าส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปจำนวน 264,775 คัน ลดลง 10% ทั้งนี้ปริมาณการผลิตสำหรับการขายภายในประเทศ และการส่งออก มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 570,850 คัน ลดลง 3% สืบเนื่องจากเศรษฐกิจที่ไม่ดีในหลายภูมิภาค เช่น โอเชียเนีย อเมริกากลางและอเมริกาใต้

ปริมาณการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปและการผลิตของโตโยต้าปี 2562

ปริมาณ
ปี 2562
เปลี่ยนแปลง
เทียบกับปี 2561
ปริมาณการส่งออก 264,775 คัน -10%
ยอดผลิตรวมทั้งส่งออกและการขายในประเทศ 570,850 คัน -3%

สำหรับเป้าหมายการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปของโตโยต้าในปีนี้ คาดการณ์ไว้ว่าปริมาณการส่งออกจะอยู่ที่ 263,000 คัน ลดลงจากปีที่ผ่านมา 1% อันเนื่องมาจากสถานการณ์ทางด้านเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศคู่ค้ายังไม่คลี่คลาย นอกจากนี้แผนการผลิตสำหรับการขายภายในประเทศ และการส่งออก จะอยู่ที่ 556,000 คัน ลดลง 3%

เป้าหมายการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปและการผลิตของโตโยต้าปี 2563

ปริมาณ
ปี 2563
เปลี่ยนแปลง
เทียบกับปี 2562
ปริมาณการส่งออก 263,000 คัน -1%
ยอดผลิตรวมทั้งส่งออกและการขายในประเทศ 556,000 คัน -3%

ส่วนถ้าใครอยากขายรถ เพื่อไปถอยรถ Toyota รุ่นใหม่ๆ ต้อนรับปี 2020 ลองมาขายคันเก่ากับ CARRO Express ดูสิ ได้เงินไว เร็ว พร้อมปิดการขายได้ทันที แค่คลิก https://th.carro.co/sell-car/express หรืออยากตีราคารถก่อน สามารถ Inbox สอบถามรายละเอียดได้ที่ Facebook CARRO Thailand

หรือจะ Add Line สอบถามรายละเอียดได้ที่ @Carrothailand หรือคลิกที่นี่ —> เพิ่มเพื่อน

สรุปตัวเลขยอดขายรถ ในเดือนธันวาคม 2562

ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ เดือนธันวาคม 2562

1. ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 89,285 คัน ลดลง 21.4%

อันดับที่ 1 โตโยต้า 29,487 คัน ลดลง 5.3% ส่วนแบ่งตลาด 33.0%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 15,767 คัน ลดลง 28.1% ส่วนแบ่งตลาด 17.7%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 9,537 คัน ลดลง 28.2% ส่วนแบ่งตลาด 10.7%

2. ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 32,766 คัน ลดลง 18.7%

อันดับที่ 1 โตโยต้า 10,080 คัน เพิ่มขึ้น 9.4% ส่วนแบ่งตลาด 30.8%
อันดับที่ 2 ฮอนด้า 6,843 คัน ลดลง 26.1% ส่วนแบ่งตลาด 20.9%
อันดับที่ 3 มาสด้า 3,369 คัน ลดลง 27.7% ส่วนแบ่งตลาด 10.3%

3. ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 56,519 คัน ลดลง 22.9%

อันดับที่ 1 โตโยต้า 19,407 คัน ลดลง 11.5% ส่วนแบ่งตลาด 34.3%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 15,767 คัน ลดลง 28.1% ส่วนแบ่งตลาด 27.9%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 4,623 คัน ลดลง 22.8% ส่วนแบ่งตลาด 8.2%

4. ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย 45,025 คัน ลดลง 23.3%

อันดับที่ 1 โตโยต้า 17,128 คัน ลดลง 11.8% ส่วนแบ่งตลาด 38.0%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 14,677 คัน ลดลง 27.2% ส่วนแบ่งตลาด 32.6%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 4,623 คัน ลดลง 22.8% ส่วนแบ่งตลาด 10.3%

ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน: 5,432 คัน
โตโยต้า 2,164 คัน – มิตซูบิชิ 1,355 คัน – อีซูซุ 768 คัน – ฟอร์ด 703 คัน –  เชฟโรเลต 298 คัน –  นิสสัน 144 คัน

5. ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 39,593 คัน ลดลง 23.2%

อันดับที่ 1 โตโยต้า 14,964 คัน ลดลง 12.5% ส่วนแบ่งตลาด 37.8%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 13,909 คัน ลดลง 25.9% ส่วนแบ่งตลาด 35.1%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 3,890 คัน ลดลง 21.2% ส่วนแบ่งตลาด 9.8%


สถิติการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมกราคม – ธันวาคม 2562

1. ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 1,007,552 คัน ลดลง 3.3%

อันดับที่ 1 โตโยต้า 332,380 คัน เพิ่มขึ้น 5.5% ส่วนแบ่งตลาด 33.0%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 168,215 คัน ลดลง 5.4% ส่วนแบ่งตลาด 16.7%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 125,833 คัน ลดลง 1.9% ส่วนแบ่งตลาด 12.5%

2. ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 398,386 คัน ลดลง 0.3%

อันดับที่ 1 โตโยต้า 117,708 คัน เพิ่มขึ้น 4.7% ส่วนแบ่งตลาด 29.5%
อันดับที่ 2 ฮอนด้า 96,154 คัน เพิ่มขึ้น 0.4% ส่วนแบ่งตลาด 24.1%
อันดับที่ 3 มาสด้า 96,154 คัน ลดลง 8.8% ส่วนแบ่งตลาด 11.7%

3. ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 609,166 คัน ลดลง 5.1%

อันดับที่ 1 โตโยต้า 214,672 คัน เพิ่มขึ้น 5.9% ส่วนแบ่งตลาด 35.2%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 168,215 คัน ลดลง 5.4% ส่วนแบ่งตลาด 27.6%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 49,842 คัน ลดลง 24.3% ส่วนแบ่งตลาด 8.2%

4. ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย 492,129 คัน ลดลง 3.8%

อันดับที่ 1 โตโยต้า 191,669 คัน เพิ่มขึ้น 8.3% ส่วนแบ่งตลาด 38.9%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 153,170 คัน ลดลง 5.5% ส่วนแบ่งตลาด 31.1%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 49,841 คัน ลดลง 23.5% ส่วนแบ่งตลาด 10.1%

ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน : 60,452 คัน
โตโยต้า 26,217 คัน – มิตซูบิชิ 13,558 คัน – อีซูซุ 9,477 คัน – ฟอร์ด 6,355 คัน – เชฟโรเลต 3,091 คัน –  นิสสัน 1,754 คัน

5. ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 431,677 คัน ลดลง 3.4%

อันดับที่ 1 โตโยต้า 165,452 คัน เพิ่มขึ้น 9.6% ส่วนแบ่งตลาด 38.3%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 143,693 คัน ลดลง 3.9% ส่วนแบ่งตลาด 33.3%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 43,486 คัน ลดลง 21.7% ส่วนแบ่งตลาด 10.1%

ขอขอบคุณข้อมูลจาก:

Mazda-Annual-Sales-Volume-In-Thailand

มาสด้า เซลส์ ประเทศไทย เผยความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจประจำปี 2562 ที่ผ่านมา ยอดขายพุ่งสูงสุดเกือบ 6 หมื่นคัน Mazda2 (มาสด้า2) ยังคว้าแชมป์สองปีติดต่อกัน

มั่นใจปี 2563 ตลาดรถยนต์จะกลับมาคึกคักอีกครั้ง เน้นการบริหารงานแบบครบวงจร เตรียมเสริมทัพรถใหม่อีกเพียบ ทั้งรถเก๋ง รถอเนกประสงค์ รถครอสโอเวอร์ Mazda CX-30 และรถปิกอัพ รวมทั้งเทคโนโลยีใหม่ล่าสุด

มั่นใจปีนี้ยอดขายมากกว่า 60,000 คัน และครองส่วนแบ่งการตลาดมากกว่า 6%

ส่วนถ้าใครอยากขายรถ เพื่อไปถอยรถ Mazda รุ่นใหม่ๆ ต้อนรับปี 2020 ลองมาขายคันเก่ากับ CARRO Express ดูสิ ได้เงินไว เร็ว พร้อมปิดการขายได้ทันที แค่คลิก https://th.carro.co/sell-car/express หรืออยากตีราคารถก่อน สามารถ Inbox สอบถามรายละเอียดได้ที่ Facebook CARRO Thailand

หรือจะ Add Line สอบถามรายละเอียดได้ที่ @Carrothailand หรือคลิกที่นี่ —> เพิ่มเพื่อน

นายชาญชัย ตระการอุดมสุข ประธานบริหาร บริษัท มาสด้า เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ตลาดรถยนต์ในปี 2562 ที่ผ่านมา ถูกคาดการณ์ว่ายอดรวมของอุตสาหกรรมรถยนต์น่าจะอยู่ที่ประมาณ 1 ล้านคัน ซึ่งเป็นตัวเลขที่ใกล้เคียงกับปี 2561 ซึ่งมียอดรวมอยู่ที่ 1.04 ล้านคัน แม้จะมีปัจจัยทั้งภายในและภายนอกเข้ามากระทบ แต่ท้ายที่สุดตัวเลขรวมก็ทะลุ 1 ล้านคัน (ประมาณการ) ซึ่งใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา

All-New-Mazda-CX-8-2019

ในส่วนของมาสด้าสามารถบรรลุยอดขายรวมได้สูงถึง 58,129 คัน ลดลงประมาณ 17.5% และครองส่วนแบ่งการตลาด 5.8% แบ่งออกเป็นรถยนต์นั่ง 46,704 คัน รถอเนกประสงค์จำนวน 5,736 คัน โดยเฉพาะการเปิดตัว CX-8 Crossover 7 ที่นั่ง ที่สามารถตอบโจทย์ลูกค้าแบบครอบครัวจนสร้างกระแสตอบรับเป็นอย่างดีจากลูกค้า รวมทั้งรถปิกอัพจำนวน 5,664 คัน และรถสปอร์ต MX-5 จำนวน 25 คัน

เนื่องจากตลาดรถยนต์ในปีที่ผ่านมามีการแข่งขันที่สูงมาก แม้ว่ามาสด้าจะส่งรถยนต์รุ่นใหม่ลงสู้ศึกในตลาดถึง 6 รุ่น แต่ทั้งหมดอยู่ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี แต่กลับทำยอดขายได้เป็นกอบเป็นกำ สาเหตุสำคัญเกิดจากความมั่นใจของลูกค้าที่มีต่อตัวโปรดักซ์ทุกรุ่น การจัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาดที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายครอบคลุมในทุกพื้นที่ การสื่อสารแบรนด์สู่ความเป็นพรีเมียมที่ลูกค้าสัมผัสได้จริง ตลอดจนการดูแลเอาใจใส่ลูกค้าเป็นอย่างดี

ส่งผลให้ยอดขายรวมทะลุถึง 58,129 คัน สามารถครองส่วนแบ่งการตลาดสูงถึง 5.8%

All-New-Mazda-CX-8-2019

“ภาพรวมของภาวะเศรษฐกิจไทยปี 2562 ขยายตัวอยู่ที่ประมาณ 2.5% โดยรวมต้องบอกว่า “ดีขึ้น” แต่ยังต่ำกว่าศักยภาพที่ควรจะเป็น ปัจจัยสำคัญเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ซึ่งแม้ว่าจะจัดการเลือกตั้งได้ไปได้ด้วยดี แต่ก็ใช้เวลานานกว่าที่จะจัดการแต่งตั้งรัฐบาลเข้ามาบริหารประเทศ ทำให้โครงการสำคัญๆ ชะลอออกไป ไม่สามารถเดินต่อได้ จึงไม่มีกลไกมาช่วยส่งเสริม”

พร้อมกันนี้ นายชาญชัย ตระการอุดมสุข แสดงวิสัยทัศน์เกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2563 ว่าเศรษฐกิจไทยในปีนี้มีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น ประมาณ 2.8 – 3.0% ค่าเงินและเศรษฐกิจอาจส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมรถยนต์ หากค่าเงินบาทเฉลี่ยที่ 30/ดอลลาร์ฯ ในปีนี้จะกระทบสินค้าเกษตร รถยนต์ และท่องเที่ยว การผลิตอาจลดลงเป็นปีที่สองติดต่อกัน ด้านการท่องเที่ยว ปัญหานักท่องเที่ยวที่ลดลงจะกลับมาคึกคักมากขึ้น เพราะประเทศไทยยังถือเป็นประเทศเป้าหมายของนักท่องเที่ยว โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวหลัก จากจีน อินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อาเซียน รวมทั้งจากไทยเที่ยวไทย

The-All-New-Mazda3-2019

ประเด็นทางเศรษฐกิจไทย ปี 2563 จำเป็นต้องได้รับแรงหนุนจากภาครัฐเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ อาทิ รัฐต้องออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม การเร่งรัดเบิกจ่ายงบประมาณ รวมถึงการผ่อนคลายนโยบายทางการเงินและการคลัง การลงทุนโครงการของภาครัฐคือแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย โดยเฉพาะการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง อาทิ ท่าอากาศยาน ทางหลวงพิเศษ รถไฟรางคู่ รถไฟฟ้าในเมือง

ส่วนปัจจัยเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยในปีนี้ คือ สถานการณ์ทางการเมืองของไทยและสถานการณ์การเมืองระหว่างประเทศ โดยเฉพาะเรื่องสงครามการค้าระหว่างประเทศ ส่งผลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก รวมถึงส่งผลมาถึงเศรษฐกิจไทย ส่วนปัญหาภัยแล้ง อาจกระทบภาคการเกษตรและอุตสาหกรรมในห่วงโซ่ แต่จะส่งผลให้ราคาพืชผลทางการเกษตรทุกชนิดมีแนวโน้มดีขึ้น

Mazda2-2020

ตลาดรถยนต์ไทยในปี 2562 ยอดขายรวมทะลุ 1 ล้านคัน และที่สำคัญ มาสด้า2 ครองแชมป์เบอร์หนึ่งและตลาดรวมรถยนต์เก๋งมาสด้าครองอันดับ 3 อย่างถาวร ก้าวขึ้นครองอันดับหนึ่งของ B Car และ Eco Car เป็นปีที่สองติดต่อกัน

ล่าสุดการปรับโฉมของ New Mazda2 จะส่งผลให้มาสด้ายังคงรักษาแชมป์ในเซกเม้นต์นี้ต่อไป แม้ต้องเผชิญกับคู่แข่งรอบด้าน

ดังนั้น การแนะนำรถยนต์รุ่นใหม่เข้าสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้รถยนต์มาสด้า มียอดขายสะสมสูงถึง 2.6 แสนคัน ภายในระยะเวลาเพียง 5 ปี เท่านั้น

The-All-New-Mazda3-2019

สำหรับปี 2563 มาสด้ายังคงมุ่งมั่นเดินหน้าอย่างเต็มที่ในการสื่อสารวิสัยทัศน์ Sustainable Zoom-Zoom 2030 โดยยังคงเน้นเรื่อง “ความสนุกในการขับขี่” หรือ “Joy of Driving” ซึ่งเป็นพื้นฐานที่เราไม่เคยเปลี่ยน

โดยในปีนี้ Mazda Motor Corporation กำลังจะครบ 100 ปี ในวันที่ 30 มกราคม นี้ และทาง มาสด้า เซลส์ ประเทศไทย เตรียมจัดกิจกรรมไปพร้อมกันกับมาสด้าทั่วโลกตลอดทั้งปี 2020 และแน่นอนว่าเรากำลังเตรียมงานสำคัญเพื่อร่วมเฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่ เช่นเดียวกัน

นโยบายเกี่ยวกับผู้จำหน่าย การปรับปรุงโชว์รูมทั้งหมดคาดว่าจะแล้วเสร็จ 100% ภายในปีงบประมาณ 2562 นี้ กิจกรรมส่งเสริมการขายจะถูกยึดถือเป็นนโยบายหลักเพื่อให้ดีลเลอร์ทั่วประเทศดำเนินการ ทุกคนต้องออกไปเจอลูกค้าด้วยตัวเอง เน้นสร้างทีมงานให้แข็งแกร่ง และดูแลลูกค้าอย่างดีที่สุด

ด้านผลิตภัณฑ์ ปี 2563 เตรียมเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ โดยเฉพาะในกลุ่ม Crossover SUV และครอบคลุมทั้งรถยนต์นั่ง รถอเนกประสงค์ และรถปิกอัพ ตอบสนองความต้องการของกลุ่มลูกค้า ทั้งกลุ่มคนโสด คู่สมรส และกลุ่มครอบครัว ได้อย่างสมบูรณ์แบบ

ด้านอะไหล่และการขนส่ง มาสด้าปรับปรุงทั้งคุณภาพและราคาจนสามารถใกล้เคียงกับตลาด หรือบางชิ้นส่วนมีราคาที่ต่ำกว่าตลาด ด้านการจัดส่งอะไหล่ไปยังศูนย์บริการ มีบริการจัดส่ง 2 รอบต่อวัน สำหรับเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล และต่างจังหวัด 1 รอบต่อวัน

สรุปยอดจำหน่ายรถยนต์มาสด้า ประจำปี 2562 เปรียบเทียบกับปี 2561

ข้อมูลการขายรถ มกราคม – ธันวาคม 2561 มกราคม – ธันวาคม 2562 % เปลี่ยนแปลง
มาสด้า2 45,972 41,987 – 8.6
มาสด้า3 5,255 4,717 – 10.2
มาสด้า CX-3 3,536 1,971 – 44.2
มาสด้า CX-5 8,184 3,020 – 63.0
มาสด้า CX-8 n/a 745 n/a
มาสด้า BT-50 โปร 7,498 5,664 – 24.4
มาสด้า MX-5 30 25 – 16.6
ยอดรวม 70,475 58,129 – 17.5