Carro-Prevent-Covid-19-With-BMTA-2021

การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 (COVID-19) ในขณะนี้ นอกจากจะส่งผลกระทบนอกต่อบุคคลทั่วไปแล้ว ยังส่งผลต่อผู้ที่ต้องเดินทางด้วยระบบขนส่งมวลชน ที่จัดว่าอยู่ในกลุ่มเสี่ยงสูงกว่าบุคคลทั่วไป ที่เดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัวอย่างมาก

Carro-Prevent-Covid-19-With-BMTA-2021

Carro-Prevent-Covid-19-With-BMTA-2021

“CARRO” หรือ “คาร์โร” สตาร์ทอัพด้านตลาดรถยนต์จากประเทศสิงคโปร์ จึงขอเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือสังคม ส่งมอบความปรารถนาดี ช่วยเหลือคนไทย ผ่านแคมเปญ “อาสาดูแลรถขนส่งสาธารณะ พ่นน้ำยาฆ่าเชื้อ ลดความเสี่ยงโควิด-19” ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ พ่นน้ำยาฆ่าเชื้อ ลดความเสี่ยง COVID-19 ในปีที่สอง ณ อู่พระราม 9 เมื่อวันที่ 28 มกราคม ที่ผ่านมา

Carro-Prevent-Covid-19-With-BMTA-2021

Carro-Prevent-Covid-19-With-BMTA-2021

Carro-Prevent-Covid-19-With-BMTA-2021

Carro-Prevent-Covid-19-With-BMTA-2021

หากช่วงนี้ใครต้องการซื้อรถมือสองคุณภาพเยี่ยม ผ่านการตรวจสภาพได้มาตรฐาน รับประกันพร้อมโอนทุกคัน หรือหารถมือสองรุ่นที่ต้องการ สามารถเข้ามาดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ CARRO Automall > https://th.carro.co/buy-car หรือโทร. 02-508-8690 หรือจะ Inbox มาสอบถามก็ได้เช่นกัน ที่ Facebook CARRO Automall – รถบ้านมือสอง ถ้าสะดวก Add Line ก็ที่ @carroautomall

Carro-Prevent-Covid-19-With-BMTA-2021

ส่วนใครที่อยากขายรถ หรือมีเพื่อนฝูงกำลังหาที่ขายรถอยู่ CARRO เรารับซื้อรถของคุณ สามารถเข้าไปเช็กราคา ตีราคาขายรถก่อนได้ โดยใส่ข้อมูลรถของคุณที่นี่เลย กับ CARRO Express > https://th.carro.co/sell-car/express หรือโทร. 02-508-8425

หรือใครจะ Inbox มาสอบถามก็ได้เช่นกัน ที่ Facebook CARRO Thailand หรือสะดวก Add Line ก็ที่ @Carrothai หรือคลิกที่นี่ครับ —> เพิ่มเพื่อน

Forecast-Volume-Car-Sales-In-Thailand-2021

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินตลาดรถยนต์ในประเทศปี 2564 ทิศทางยอดขายมีโอกาสกลับมาขยายตัวได้ดีอีกครั้ง หากภาวะเศรษฐกิจในประเทศเริ่มทยอยฟื้นตัวดีขึ้น กับภาวะโควิด-19 ที่กลับมาระบาดระลอกใหม่ในปีนี้ รัฐบาลสามารถหยุดยังได้ทัน และไม่ล็อกดาวน์อีกครั้งเสียก่อน

ประกอบกับในปี 2021 หลายประเทศทั่วโลก รวมทั้งไทย จะได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 (COVID-19) ซึ่งจะกลายมาเป็นปัจจัยช่วยฟื้นเศรษฐกิจไทย เมื่อการท่องเที่ยว การลงทุน และการค้าขายระหว่างประเทศกลับมาคึกคักขึ้นอีกครั้ง แม้จะยังไม่กลับสู่ระดับปกติ

“ปัจจัยเหล่านี้ ผนวกกับการออกแคมเปญแข่งขันกันของค่ายรถ จึงมีผลโดยตรงต่อทิศทางยอดขายรถยนต์ในประเทศปี 2564 ซึ่งศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่าจะขยายตัวได้ 7-11% คิดเป็นยอดขายที่เพิ่มขึ้นสู่ระดับ 825,000 – 855,000 คัน” บทวิเคราะห์ระบุ

Hyundai-Kona-Electric-Motor-Expo-2020

อย่างไรก็ตาม การคาดการณ์ดังกล่าว ตั้งอยู่บนสมมติฐานที่ว่า ภาครัฐ ไม่มีความจำเป็นต้องใช้มาตรการล็อกดาวน์ เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 อีกครั้ง ซึ่งในปี 2564 คาดว่ารถยนต์ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า หรือรถยนต์กลุ่ม xEV ซึ่งประกอบด้วยรถยนต์ไฮบริด (HEV) รถยนต์ปลั๊กอินไฮบริด (PHEV) และรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ (BEV) จะเป็นกลุ่มที่มีการขยายตัวได้อย่างก้าวกระโดด

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ประเทศไทยมีแนวโน้มการเข้าสู่ยุคแห่งรถยนต์ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าเช่นเดียวกับตลาดโลก แม้ว่าจะยังเป็นตัวเลขที่น้อยกว่ามาก เนื่องจากไทยยังนับเป็นตลาดเกิดใหม่ของกลุ่มรถยนต์ xEV แต่เมื่อพิจารณาจากสภาพตลาดรถยนต์กลุ่ม xEV ในประเทศที่แม้จะยังไม่มีมาตรการกระตุ้นตลาดอย่างชัดเจนจากทางภาครัฐเข้ามา จะมีก็เพียงแต่มาตรการส่งเสริมการลงทุนในปัจจุบัน แต่เมื่อเทียบกับรถยนต์ประเภทอื่นแล้ว ตลาดรถยนต์กลุ่ม xEV ในประเทศกลับเติบโตรุดหน้าสวนทางตลาด เนื่องจากผู้บริโภคหลักเป็นกลุ่มที่ไม่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจมากนัก

“คาดว่าในปี 2564 ถ้าการแพร่เชื้อไวรัสโควิด-19 ในประเทศยังอยู่ในระดับที่ควบคุมได้ ยอดขายรถยนต์กลุ่มนี้ในไทยน่าจะยิ่งเร่งตัวขึ้น หลังการเข้ามาแข่งขันของค่ายรถที่ทวีความดุเดือดขึ้น โดยเฉพาะเมื่อรถยนต์หลายรุ่นกลุ่ม xEV เริ่มเข้ามารุกตลาดกลุ่มราคาไม่เกิน 1 ล้านบาท ซึ่งเป็นการเปิดตลาดสู่กลุ่มผู้บริโภคขนาดใหญ่ขึ้น” บทวิเคราะห์ระบุ

Mitsubishi-Outlander-PHEV-2020

สำหรับคาดการณ์ยอดขายของรถยนต์แต่ละประเภทในปีหน้า มีรายละเอียดดังนี้

  • สำหรับรถยนต์กลุ่ม HEV และ PHEV ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า ปี 2564 นี้ ค่ายรถจะเริ่มดันให้รถยนต์รุ่น HEV และ PHEV กลายมาเป็นโมเดลมาตรฐานของแต่ละค่ายรถมากขึ้น ซึ่งจะเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้จำนวนยอดขายรถยนต์ในกลุ่มนี้ปรับเพิ่มขึ้น โดยคาดว่าจะมีประมาณ 48,000-50,000 คัน หรือขยายตัว 10-23% ขยายตัวต่อเนื่องจากปี 2563 ที่คาดว่าจะขยายตัว 17% คิดเป็นยอดขาย 31,000 คัน
  • สำหรับรถยนต์ BEV ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า ปี 2564 นี้ มีโอกาสเติบโตจากการเข้ามาบุกตลาดของรถยนต์ BEV สัญชาติจีนได้รับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI และยังได้สิทธิ์ภาษีนำเข้า 0% ผ่านข้อตกลงการค้าเสรีไทย-จีน ทำให้สามารถนำเข้ามาจำหน่ายในช่วงแรกได้ด้วยระดับราคาไม่สูงนัก ก่อนจะผลิตเพื่อทำตลาดในประเทศในอนาคต ขณะที่ค่ายรถหรูยุโรปที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอก็จะเริ่มรุกตลาดรถยนต์ BEV ในปีนี้เช่นเดียวกัน ทำให้มีโอกาสจะขยายตัวได้สูง แต่ตัวเลขยอดขายอาจจะยังไม่สูงนักเนื่องจากยังเป็นตลาด niche โดยน่าจะมียอดขายประมาณ 4,000-5,000 คัน ขยายตัว 176-245% และเป็นการขยายตัวต่อเนื่องจากปีนี้ที่คาดว่าจะขยายตัว 102% คิดเป็นยอดขาย 1,450 คัน

MG-ZS-EV-Motor-Expo-2020

“ปัจจัยสนับสนุนหลักของตลาด BEV ในอนาคต คือ การที่ภาครัฐและเอกชนจะสามารถเพิ่มความเชื่อมั่นให้กับตลาดซึ่งมีกำลังซื้อพร้อม แต่ยังขาดความมั่นใจในเรื่องของการวางเครือข่ายสถานีชาร์จไฟฟ้าที่ทั่วถึง เมื่อเทคโนโลยีรถยนต์ BEV ปัจจุบันยังมีข้อจำกัดในเรื่องระยะทางวิ่งอยู่” บทวิเคราะห์ระบุ

ส่วนรถยนต์ในกลุ่ม ICE ในปี 2564 ถ้าการแพร่เชื้อไวรัสโควิด-19ยังอยู่ในระดับที่ควบคุมได้และไม่ทำให้รัฐบาลต้องออกมาใช้มาตรการล็อกดาวน์อีกครั้ง ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่ามีโอกาสที่จะขยายตัวได้ดีนอกจากจะเป็นเพราะฐานที่ต่ำในปี 2563 แล้ว การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยที่คาดว่าจะทยอยเกิดขึ้นตลอดช่วงปีหน้าก็คาดว่าจะช่วยกระตุ้นยอดขายรถยนต์ ICE เช่นเดียวกัน โดยเฉพาะกลุ่มรถยนต์อเนกประสงค์ที่ขยายตัวตามเทรนด์ตลาดปัจจุบัน และรถปิกอัพที่คาดว่าจะเติบโตตามทิศทางการลงทุนในอุตสาหกรรมต่างๆ ส่งผลให้ยอดขายรถยนต์ ICE รวมน่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 773,000 – 800,000 คันได้ หรือขยายตัว 5-8% จากปีนี้ที่คาดว่าจะหดตัวอย่างรุนแรงถึง 24.8% คิดเป็นยอดขายเพียง 737,550 คัน

Mini-Electric-2020

ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าปริมาณการผลิตรถยนต์กลุ่ม xEV ในประเทศปี 2564 น่าจะทำได้ 72,000 – 80,000 คัน ขยายตัว 60-78% จากที่คาดว่าจะผลิตประมาณ 45,000 คันในปี 2563 และปริมาณการผลิตรถยนต์รวมของประเทศน่าจะทำได้ 1,550,000 ถึง 1,620,000 คัน ขยายตัว 10-15% จากปีนี้ที่คาดว่าจะผลิตได้ 1,410,000 คัน หดตัว -30% จากปีก่อน ในกรณีที่ไม่พบการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่รุนแรงจนส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจให้ชะลอลงกว่าที่คาด

สำหรับมาตรการกระตุ้นตลาด “รถเก่าแลกใหม่” ที่แม้ตอนนี้จะถูกดึงกลับไปพิจารณาถึงผลกระทบต่อภาคส่วนต่างๆ อีกครั้งนั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า หากมีการผลักดันนำเข้ามาใหม่ด้วยมาตรการที่ชัดเจนและเหมาะสม ก็คาดว่าจะน่าจะช่วยเร่งให้ตลาดรถยนต์กลุ่ม xEV เติบโตได้อย่างรวดเร็ว ปัจจัยเร่งสำคัญที่ภาคส่วนต่างๆ ควรพิจารณาด้วย คือ การเพิ่มสถานีชาร์จไฟฟ้าให้ครอบคลุมทั่วประเทศเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้ซื้อ หากมีเป้าหมายต้องการเร่งตลาด BEV และ PHEV ให้กลายเป็นรถรุ่นมาตรฐานดังเช่นหลายตลาดหลักของโลกในอนาคต

ส่วนถ้าหากใครกำลังอยากขายรถคันเดิมในเวลานี้ หรือกำลังตัดสินใจจะซื้อรถป้ายแดงอยู่พอดี แต่งบไม่พอ! ขายรถคันเดิมของคุณกับทาง CARRO ดูได้ ลงประกาศขายรถฟรี โดยได้ราคาที่คุณพอใจ พร้อมปิดการขายภายใน 24 ชั่วโมง! กับ CARRO Express แค่คลิก https://th.carro.co/sell-car/express หรือจะ Inbox สอบถามรายละเอียดได้ที่ Facebook CARRO Thailand

และ Add Line สอบถามรายละเอียดได้เช่นกัน ที่ @Carrothai คลิกที่นี่ —> เพิ่มเพื่อน

ขอบคุณแหล่งที่มาจาก:

Thailand-Monthly-Car-Sales-Volume

สถิติการขายรถยนต์ประจำเดือนพฤศจิกายน 2563 มียอดการขายรวมทั้งสิ้น 79,177 คัน เพิ่มขึ้น 2.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ประกอบด้วย รถยนต์นั่ง 25,437 คัน ลดลง 7.2% รถเพื่อการพาณิชย์ 53,740 คัน เพิ่มขึ้น 8.2% ขณะที่รถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซกเมนท์นี้ มีจำนวน 42,763 คัน เพิ่มขึ้น 6.8%

ส่วนตลาดรถยนต์สะสม 11 เดือน มีปริมาณการขาย 688,057 คัน ลดลง 24.7% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตลดลง 34.5% ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์มีอัตราการเติบโตลดลง 18.3% เป็นผลกระทบมาจากโควิด-19 มาตั้งแต่ต้นปี

แต่อย่างไรก็ตาม ภาครัฐฯ ยังออกมาตรการเยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจในด้านต่างๆ เพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายของคนไทยอย่างต่อเนื่อง รวมถึงตลาดรถยนต์ บรรดาค่ายรถยนต์ต่างๆ มอบข้อเสนอพิเศษ รวมถึงเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ และปรับปรุงใหม่ ในงาน Motor Expo 2020 เพื่อให้ผู้บริโภคซื้อรถได้ง่ายขึ้น ส่งผลให้ตลาดรถยนต์ในเดือนธันวาคมมีทิศทางดีขึ้น

All-New-Honda-City-Hatchback-2021

ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ เดือนพฤศจิกายน 2563

1. ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 79,177 คัน เพิ่มขึ้น 2.7%

อันดับที่ 1 โตโยต้า 28,279 คัน เพิ่มขึ้น 4.0% ส่วนแบ่งตลาด 35.7%
อันดับที่ 2 อีซูซุ
17,577 คัน เพิ่มขึ้น 20.2% ส่วนแบ่งตลาด 22.2%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 8,908 คัน เพิ่มขึ้น 0.2% ส่วนแบ่งตลาด  11.3%

2. ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 25,437 คัน ลดลง 7.2%

อันดับที่ 1 โตโยต้า 7,420 คัน ลดลง 23.6% ส่วนแบ่งตลาด 29.2%
อันดับที่ 2 ฮอนด้า 7,376 คัน เพิ่มขึ้น 9.3% ส่วนแบ่งตลาด 29.0%
อันดับที่ 3 มาสด้า 2,746 คัน ลดลง 6.7% ส่วนแบ่งตลาด  10.8%

3. ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 53,740 คัน เพิ่มขึ้น 8.2%

อันดับที่ 1 โตโยต้า 20,859 คัน เพิ่มขึ้น 19.3% ส่วนแบ่งตลาด 38.8%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 17,577 คัน เพิ่มขึ้น 20.2% ส่วนแบ่งตลาด 32.7%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 3,727 คัน เพิ่มขึ้น 5.5% ส่วนแบ่งตลาด  6.9%

4. ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน*  (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย 42,763 คัน เพิ่มขึ้น 6.8%

อันดับที่ 1 โตโยต้า 17,305 คัน เพิ่มขึ้น 10.7% ส่วนแบ่งตลาด 40.5%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 16,578 คัน เพิ่มขึ้น 24.0% ส่วนแบ่งตลาด 38.8%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 3,727 คัน เพิ่มขึ้น 5.5% ส่วนแบ่งตลาด 8.7%

*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน) 5,318 คัน
โตโยต้า 2,766 คัน – อีซูซุ 1,108 คัน – มิตซูบิชิ 838 คัน – ฟอร์ด 465 คัน – นิสสัน 141 คัน  

5. ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 37,445 คัน เพิ่มขึ้น 3.3%

อันดับที่ 1 อีซูซุ 15,470 คัน เพิ่มขึ้น 21.5% ส่วนแบ่งตลาด 41.3%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 14,539 คัน เพิ่มขึ้น 3.5% ส่วนแบ่งตลาด 38.8%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 2,889 คัน เพิ่มขึ้น 6.7% ส่วนแบ่งตลาด 7.7%

สถิติการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมกราคม – พฤศจิกายน 2563

1. ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 688,057 คัน ลดลง 24.7%

อันดับที่ 1 โตโยต้า
211,119 คัน ลดลง 30.3% ส่วนแบ่งตลาด 30.7%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 158,277 คัน เพิ่มขึ้น 3.8% ส่วนแบ่งตลาด 23.0%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า
82,966 คัน ลดลง 28.7% ส่วนแบ่งตลาด 12.1%

2. ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 236,659 คัน ลดลง 34.5%

อันดับที่ 1 ฮอนด้า 69,041 คัน ลดลง 22.7% ส่วนแบ่งตลาด 29.2%
อันดับที่ 2 โตโยต้า
59,341 คัน ลดลง 44.9% ส่วนแบ่งตลาด 25.1%
อันดับที่ 3 นิสสัน 24,666 คัน ลดลง 25.7% ส่วนแบ่งตลาด 10.4%

3. ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 451,398 คัน ลดลง 18.3%

อันดับที่ 1 อีซูซุ 158,277 คัน เพิ่มขึ้น 3.8% ส่วนแบ่งตลาด 35.1%
อันดับที่ 2 โตโยต้า
151,778 คัน ลดลง 22.3% ส่วนแบ่งตลาด 33.6%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 31,541 คัน ลดลง 29.5% ส่วนแบ่งตลาด 7.0%

4. ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย 357,947 คัน ลดลง 19.9%

อันดับที่ 1 อีซูซุ
146,901 คัน เพิ่มขึ้น 6.1% ส่วนแบ่งตลาด 41.0%
อันดับที่ 2 โตโยต้า
129,512 คัน ลดลง 25.8% ส่วนแบ่งตลาด 36.2%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ
31,541 คัน ลดลง 29.5% ส่วนแบ่งตลาด8.8%

*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน) 37,064 คัน
โตโยต้า 17,033 คัน – มิตซูบิชิ 8,224 คัน – อีซูซุ 5,333 คัน – ฟอร์ด 4,487 คัน – นิสสัน 1,315 คัน –เชฟโรเลต 672 คัน

5. ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 320,883 คัน ลดลง 18.2%

อันดับที่ 1 อีซูซุ
141,568 คัน เพิ่มขึ้น 9.1% ส่วนแบ่งตลาด 44.1%
อันดับที่ 2 โตโยต้า
112,479 คัน ลดลง 25.3% ส่วนแบ่งตลาด 35.1%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ
23,317 คัน ลดลง 28.3% ส่วนแบ่งตลาด 7.3%

หากช่วงนี้ใครอยากซื้อรถมือสองคุณภาพเยี่ยม ผ่านการตรวจสภาพได้มาตรฐาน รับประกันพร้อมโอนทุกคัน หรือหารถมือสองรุ่นที่ต้องการ สามารถเข้ามาดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ CARRO Automall > https://th.carro.co/buy-car หรือโทร. 02-508-8690 หรือจะ Inbox มาสอบถามก็ได้เช่นกัน ที่ Facebook CARRO Automall – รถบ้านมือสอง ถ้าสะดวก Add Line ก็ที่ @carroautomall

ส่วนถ้าใครอยากขายรถ เพื่อนำเงินไปใช้จ่ายในยุคเศรษฐกิจฝืดเคือง สามารถขายคันเก่ากับ CARRO Express ได้ เรายินดีรับซื้อรถของคุณ ได้เงินไว เร็ว พร้อมปิดการขายได้ทันที แค่คลิก https://th.carro.co/sell-car/express หรืออยากตีราคารถก่อน สามารถ Inbox สอบถามรายละเอียดได้ที่ Facebook CARRO Thailand

หรือจะ Add Line สอบถามรายละเอียดได้ที่ @Carrothai หรือคลิกที่นี่ —> เพิ่มเพื่อน

แหล่งที่มาจาก:

Thailand-Monthly-Car-Sales-Volume

สถิติการขายรถยนต์ประจำเดือนตุลาคม 2563 มียอดขายรวมทั้งสิ้น 74,115 คัน ลดลง 1.4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ประกอบด้วย รถยนต์นั่ง 22,461 คัน ลดลง 20.7% รถเพื่อการพาณิชย์ 51,654 คัน เพิ่มขึ้น 10.4% ขณะที่รถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซกเมนท์นี้ มีจำนวน 40,837 คัน เพิ่มขึ้น 9.3% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา เนื่องจากสถานการณ์ COVID-19 ในประเทศกำลังไปในทิศทางที่ดีขึ้น

ประกอบกับการที่รัฐบาลได้ออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง อาทิเช่น โครงการ “เราเที่ยวด้วยกัน” โครงการ “คนละครึ่ง” และมาตรการ “ช้อปดีมีคืน” ช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายของผู้บริโภค อีกทั้งราคาพืชผลทางการเกษตรหลายรายการปรับตัวดีขึ้น ทำให้เกษตรกรเริ่มมีรายได้สูงขึ้น และกำลังซื้อมีเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ซึ่งส่งผลในเชิงบวกกับตลาดรถยนต์

Nissan-Navara-Pro-4X-2021

ส่วนตลาดรถยนต์สะสม 9 เดือน มีปริมาณการขาย 534,765 คัน ลดลง 29.8% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตลดลง 38.2% ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์มีอัตราการเติบโตลดลง 24.2% เป็นผลกระทบมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19

ส่วนตลาดรถยนต์สะสม 10 เดือน มีปริมาณการขาย 608,880 คัน ลดลง 27.3% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตลดลง 36.8% ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์มีอัตราการเติบโตลดลง 20.9% เป็นผลกระทบมาจากโควิด-19 มาตั้งแต่ต้นปี

บรรดาค่ายรถยนต์ต่างๆ พยายามอย่างเต็มที่ในช่วงปลายปี ให้เกิดการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค ทั้งการแนะนำรถใหม่ๆ การออกกลยุทธ์ต่างๆ คาดหวังว่าตลาดรถยนต์ในเดือนพฤศจิกายนจะมีทิศทางที่ดีขึ้น

All-New-Isuzu-MU-X-2020

ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ เดือนตุลาคม 2563

1.     ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 74,115 คัน ลดลง 1.4%

อันดับที่ 1 โตโยต้า 25,709 คัน ลดลง 3.6% ส่วนแบ่งตลาด 34.7%
อันดับที่ 2 อีซูซุ
17,174 คัน เพิ่มขึ้น 44.8% ส่วนแบ่งตลาด 23.2%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 9,011 คัน ลดลง 7.2% ส่วนแบ่งตลาด  12.2%

2. ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 22,461 คัน ลดลง 20.7%

อันดับที่ 1 ฮอนด้า 7,233 คัน ลดลง 6.9% ส่วนแบ่งตลาด 32.2%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 6,245 คัน ลดลง 32.0% ส่วนแบ่งตลาด 27.8%
อันดับที่ 3 นิสสัน 2,602 คัน เพิ่มขึ้น 0.0% ส่วนแบ่งตลาด  11.6%

3. ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 51,654 คัน เพิ่มขึ้น 10.4%

อันดับที่ 1 โตโยต้า 19,464 คัน เพิ่มขึ้น 11.3% ส่วนแบ่งตลาด 37.7%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 17,174 คัน เพิ่มขึ้น 44.8% ส่วนแบ่งตลาด 33.2%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 2,985 คัน ลดลง 23.8% ส่วนแบ่งตลาด  5.8%

4. ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน*  (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย 40,837 คัน เพิ่มขึ้น 9.3%

อันดับที่ 1 โตโยต้า 16,622 คัน เพิ่มขึ้น 6.3% ส่วนแบ่งตลาด 40.7%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 16,010 คัน เพิ่มขึ้น 51.5% ส่วนแบ่งตลาด 39.2%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 2,985 คัน ลดลง 23.8% ส่วนแบ่งตลาด 7.3%

*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน) 4,127 คัน
โตโยต้า 2,783 คัน- มิตซูบิชิ 816 คัน – ฟอร์ด 452 – คัน- อีซูซุ 70 คัน – เชฟโรเลต 6 คัน

5. ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 36,710 คัน เพิ่มขึ้น 11%

อันดับที่ 1 อีซูซุ 15,940 คัน เพิ่มขึ้น 59.8% ส่วนแบ่งตลาด 43.4%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 13,839 คัน เพิ่มขึ้น 1.5% ส่วนแบ่งตลาด 37.7%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 2,198 คัน ลดลง 29.6% ส่วนแบ่งตลาด 6.0%

สถิติการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมกราคม – ตุลาคม 2563

1.  ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 608,880 คัน ลดลง 27.3%

อันดับที่ 1 โตโยต้า
182,840 คัน ลดลง 33.7% ส่วนแบ่งตลาด 30.0%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 140,700 คัน เพิ่มขึ้น 2.1% ส่วนแบ่งตลาด 23.1%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า
74,058 คัน ลดลง 31.0% ส่วนแบ่งตลาด 12.2%

2.  ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 211,222 คัน ลดลง 36.8%

อันดับที่ 1 ฮอนด้า 61,665 คัน ลดลง 25.3% ส่วนแบ่งตลาด 29.2%
อันดับที่ 2 โตโยต้า
51,921 คัน ลดลง 47.0% ส่วนแบ่งตลาด 24.6%
อันดับที่ 3 นิสสัน 21,951 คัน ลดลง 27.9% ส่วนแบ่งตลาด 10.4%

3.  ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 397,658 คัน ลดลง 20.9%

อันดับที่ 1 อีซูซุ 140,700 คัน เพิ่มขึ้น 2.1% ส่วนแบ่งตลาด 35.4%
อันดับที่ 2 โตโยต้า
130,919 คัน ลดลง 26.4% ส่วนแบ่งตลาด 32.9%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 27,814 คัน ลดลง 32.5% ส่วนแบ่งตลาด 7.0%

4.  ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย 315,184 คัน ลดลง 22.6%

อันดับที่ 1 อีซูซุ
130,323  คัน เพิ่มขึ้น 4.2% ส่วนแบ่งตลาด 41.3%
อันดับที่ 2 โตโยต้า
112,207 คัน ลดลง 29.4% ส่วนแบ่งตลาด 35.6%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ
27,814 คัน ลดลง 32.5% ส่วนแบ่งตลาด 8.8%

*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน) 31,746 คัน
โตโยต้า 14,267 คัน – มิตซูบิชิ 7,386 คัน – อีซูซุ 4,225 คัน – ฟอร์ด 4,022 คัน – นิสสัน 1,174 คัน –เชฟโรเลต 672 คัน

5.  ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 283,438 คัน ลดลง 20.3%

อันดับที่ 1 อีซูซุ
126,098 คัน เพิ่มขึ้น 7.7% ส่วนแบ่งตลาด 44.5%
อันดับที่ 2 โตโยต้า
97,940 คัน ลดลง 28.2% ส่วนแบ่งตลาด 34.6%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ
20,428 คัน ลดลง 31.5% ส่วนแบ่งตลาด 7.2%

ส่วนถ้าใครอยากขายรถ เพื่อนำเงินไปใช้จ่ายในยุคเศรษฐกิจฝืดเคือง สามารถขายคันเก่ากับ CARRO Express ได้ เรายินดีรับซื้อรถของคุณ ได้เงินไว เร็ว พร้อมปิดการขายได้ทันที แค่คลิก https://th.carro.co/sell-car/express หรืออยากตีราคารถก่อน สามารถ Inbox สอบถามรายละเอียดได้ที่ Facebook CARRO Thailand

หรือจะ Add Line สอบถามรายละเอียดได้ที่ @Carrothai หรือคลิกที่นี่ —> เพิ่มเพื่อน

แหล่งที่มาจาก:

Carro-Secures-110M-Debt-Financing-2020

CARRO (คาร์โร) บริษัท Startup ด้านรถมือสองชั้นนำจากประเทศสิงคโปร์ ประกาศว่าบริษัทได้ระดมทุนเพิ่มเติมอีกจาก Mitsubishi Corporation และ MS&AD Ventures ได้เพิ่มอีก 110.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (หรือ 150 ล้านดอลล่าร์สิงคโปร์)

โดยในเวลาเพียงห้าปี นับตั้งแต่เริ่มดำเนินงาน CARRO ได้ขยายธุรกิจให้บริการด้านรถมือสองไปยังประเทศต่างๆ ใน ASEAN อาทิเช่น ประเทศไทย ที่เป็นสาขาจากที่ขยายมาจาก CARRO สิงคโปร์โดยตรง

ส่วนในประเทศมาเลเซีย ทาง CARRO ได้เข้าซื้อกิจการ MyTukar.com บริษัท Startup ด้านรถมือสอง ด้วยเงินลงทุนมากถึง 30 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (หรือประมาณ 125.4 ล้านริงกิตมาเลเซีย) และในประเทศอินโดนีเซีย ได้เข้าซื้อกิจการ Jualo.com อีกทั้งยังมีแผนขยายธุรกิจไปยังประเทศอื่นๆ ในอนาคตอีกด้วย

บนเส้นทางธุรกิจที่เติบโตแบบก้าวกระโดดมากกว่า 500% ในแต่ละปี ซึ่ง CARRO มีเป้าหมายที่จะสร้างรายได้ให้ถึง 740 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ (หรือ 1 พันล้านดอลล่าร์สิงคโปร์) ในอีก 2 ปีข้างหน้านี้

Carro-Singapore-Team

แม้ว่าบริษัทฯ จะอยู่ในช่วงเพิ่งที่ต้องเผชิญกับการแพร่ระบาดของ COVID-19 (โควิด-19) ใน ASEAN ขณะนี้ กลับส่งผลดีให้การธุรกิจอยู่บ้าง เนื่องจากทั้งผู้ซื้อและผู้ขายรถยนต์ส่วนใหญ่ เลือกที่จะเลี่ยงการพบปะ หรือการสัมผัส

ด้าน Ernest Chew หัวหน้าฝ่ายการเงินของ CARRO ได้เผยว่า การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้ผู้บริโภคหันมาใช้งานระบบดิจิทัลมากขึ้น ไม่เว้นแม้แต่ขายรถ ซึ่งถือว่ามีแนวโน้มที่สูงขึ้น

“โควิด-19 ช่วยผลักดันเกิดความก้าวหน้าในตลาดรถยนต์ออนไลน์ แม้ว่าการชะลอตัวของเศรษฐกิจในตอนนี้ ทำให้ลูกค้าต้องมองหารถยนต์ที่คุ้มค่าคุ้มราคามากขึ้น และก็คำนึงถึงเรื่องความปลอดภัยด้วย” เขากล่าวเสริม

Carro-And-Doctor-Car-Prevent-Covid-19

สำหรับ CARRO นั้นได้รับ EBITDA (Earnings before Interest, Taxes, Depreciation and Amortization – กำไรก่อนดอกเบี้ยภาษีค่าเสื่อมและค่าตัดจำหน่าย) เป็นบวกในช่วงไตรมาสสามที่ผ่านมา ซึ่งถือว่าเป็น EBITDA ที่สูงสุดในนับตั้งแต่ที่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19

สำหรับ CARRO เป็นบริษัท Startup ด้าน Car Trading Platform ที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2015 ในประเทศสิงคโปร์ เพื่อเป็นสื่อกลางระหว่างผู้ซื้อรถและผู้ขายรถ โดยมีบริการเสริมทั้งด้านไฟแนนซ์ ประกันภัย การจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ซื้อรถคันใหม่ และขายรถคันเดิมอย่างครบวงจร

Carro-Pantip-Workshop-Event-2019

โดยในช่วงก่อนหน้านั้น จนในเดือนกันยายน 2020 CARRO ได้รับเงินทุนมากกว่า 100 ล้านดอลล่าร์สิงคโปร์ (หรือ 74 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ) จากผู้ร่วมลงทุนอย่าง SoftBank Ventures Asia, EDBI, Insignia Ventures Partners และ B Capital Group เพื่อขับเคลื่อนและขยายธุรกิจ

ซึ่งงบลงทุนนี้รวมถึง 30 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ที่ได้รับก่อนหน้าในเดือนสิงหาคม 2019 และ 60 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ที่ได้รับจาก Series B เมื่อเดือนพฤษภาคม 2018 อีกด้วย

สำหรับท่านใดที่อยากขายรถ ผ่านบริการของเรา CARRO เรายินดีรับซื้อรถของคุณ สามารถเข้าไปเช็คราคา ตีราคาขายรถก่อนได้ โดยใส่รายละเอียดข้อมูลรถของคุณ และรูปรถที่คุณต้องการขายได้ที่นี่เลย กับ CARRO Express > https://th.carro.co/sell-car/express หรือโทร. 02-508-8425

หรือใครจะ Inbox มาสอบถามก็ได้เช่นกัน ที่ Facebook CARRO Thailand หรือสะดวก Add Line ก็ที่ @Carrothailand หรือคลิกที่นี่ครับ —> เพิ่มเพื่อน

Thailand-Monthly-Car-Sales-Volume

สถิติการขายรถยนต์ประจำเดือนกันยายน 2563 มียอดการขายรวมทั้งสิ้น 77,943 คัน ลดลง 3.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ประกอบด้วย รถยนต์นั่ง 29,245 คัน ลดลง 22.7% รถเพื่อการพาณิชย์ 48,698 คัน เพิ่มขึ้น 13.5%ขณะที่ รถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซกเมนท์นี้ มีจำนวน 38,196 คัน เพิ่มขึ้น 11.6%

จะเห็นได้ว่า ยอดขายโดยรวมของเดือนกันยายนปรับตัวดีขึ้น และธุรกิจต่างๆ เริ่มกลับมาฟื้นตัว อาทิเช่น ธุรกิจด้านการขนส่ง (Logistic) และการส่งออกสินค้าเกษตร ซึ่งส่งผลในเชิงบวกให้กับตลาดรถยนต์

ส่วนตลาดรถยนต์สะสม 9 เดือน มีปริมาณการขาย 534,765 คัน ลดลง 29.8% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตลดลง 38.2% ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์มีอัตราการเติบโตลดลง 24.2% เป็นผลมาจากการแพร่ระบาดของโควิด-19

All-New-Isuzu-D-Max-X-Series-2020

ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ เดือนกันยายน 2563

1.     ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 77,943 คัน ลดลง 3.5%

อันดับที่ 1 โตโยต้า 23,757 คัน ลดลง 3.6% ส่วนแบ่งตลาด 30.5%
อันดับที่ 2 อีซูซุ
15,438 คัน เพิ่มขึ้น 44.8% ส่วนแบ่งตลาด 19.8%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 9,077 คัน ลดลง 12.4% ส่วนแบ่งตลาด  11.6%

2. ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 29,245 คัน ลดลง 22.7%

อันดับที่ 1 ฮอนด้า 7,598 คัน ลดลง 8.4% ส่วนแบ่งตลาด 26.0%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 5,430 คัน ลดลง 44.0% ส่วนแบ่งตลาด 18.6%
อันดับที่ 3 นิสสัน 2,240 คัน ลดลง 16.7% ส่วนแบ่งตลาด  7.7%

3. ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 48,698 คัน เพิ่มขึ้น 13.5%

อันดับที่ 1 โตโยต้า 18,327 คัน เพิ่มขึ้น 22.5% ส่วนแบ่งตลาด 37.6%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 15,438 คัน เพิ่มขึ้น 44.8% ส่วนแบ่งตลาด 31.7%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 3,124 คัน ลดลง 22.5% ส่วนแบ่งตลาด  6.4%

4. ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน*  (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV)  ปริมาณการขาย 38,196 คัน เพิ่มขึ้น 11.6%

อันดับที่ 1 โตโยต้า 15,332 คัน เพิ่มขึ้น 13.9% ส่วนแบ่งตลาด 40.1%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 14,143 คัน เพิ่มขึ้น 51.4% ส่วนแบ่งตลาด 37.0%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 3,124 คัน ลดลง 22.5% ส่วนแบ่งตลาด 8.2%

*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน) 3,903 คัน
โตโยต้า 2,147 คัน- มิตซูบิชิ 959 คัน – ฟอร์ด 514 – คัน- อีซูซุ 268 คัน – เชฟโรเลต 14 คัน – นิสสัน 1 คัน

5. ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 34,293 คัน เพิ่มขึ้น 15.7%

อันดับที่ 1 อีซูซุ 13,875 คัน เพิ่มขึ้น 59.7% ส่วนแบ่งตลาด 40.5%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 13,185 คัน เพิ่มขึ้น 13.0% ส่วนแบ่งตลาด 38.4%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 2,331 คัน ลดลง 24.5% ส่วนแบ่งตลาด 6.8%

สถิติการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมกราคม – กันยายน 2563

1.  ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 534,765 คัน ลดลง 29.8%

อันดับที่ 1 โตโยต้า
157,131 คัน ลดลง 36.9% ส่วนแบ่งตลาด 29.4%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 123,526 คัน ลดลง 1.9% ส่วนแบ่งตลาด 23.1%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า
65,047 คัน ลดลง 33.4% ส่วนแบ่งตลาด 12.2%

2.  ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 188,761 คัน ลดลง 38.2%

อันดับที่ 1 ฮอนด้า 54,432 คัน ลดลง 27.2% ส่วนแบ่งตลาด 28.8%
อันดับที่ 2 โตโยต้า
45,676 คัน ลดลง 48.5% ส่วนแบ่งตลาด 24.2%
อันดับที่ 3 นิสสัน 19,349 คัน ลดลง 30.6% ส่วนแบ่งตลาด 10.3%

3.  ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 346,004 คัน ลดลง 24.2%

อันดับที่ 1 อีซูซุ 123,526 คัน ลดลง 1.9% ส่วนแบ่งตลาด 35.7%
อันดับที่ 2 โตโยต้า
111,455 คัน ลดลง 30.5% ส่วนแบ่งตลาด 32.2%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 24,829 คัน ลดลง 33.4% ส่วนแบ่งตลาด 7.2%

4.  ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย 274,347 คัน ลดลง 25.8%

อันดับที่ 1 อีซูซุ
114,313  คัน ลดลง 0.2% ส่วนแบ่งตลาด 41.7%
อันดับที่ 2 โตโยต้า
95,585 คัน ลดลง 33.3% ส่วนแบ่งตลาด 34.8%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ
24,829 คัน ลดลง 33.4% ส่วนแบ่งตลาด 9.1%

*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน) 27,619 คัน
โตโยต้า 11,484 คัน – มิตซูบิชิ 6,570 คัน – อีซูซุ 4,155 คัน – ฟอร์ด 3,570 คัน – นิสสัน 1,174 คัน –เชฟโรเลต 666 คัน

5.  ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 246,728 คัน ลดลง 23.6%

อันดับที่ 1 อีซูซุ
110,158 คัน เพิ่มขึ้น 2.9% ส่วนแบ่งตลาด 44.6%
อันดับที่ 2 โตโยต้า
84,101 คัน ลดลง 31.5% ส่วนแบ่งตลาด 34.1%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ
18,259 คัน ลดลง 32.2% ส่วนแบ่งตลาด 7.4%
ส่วนถ้าใครอยากขายรถ เพื่อนำเงินไปใช้จ่ายในยุคเศรษฐกิจฝืดเคือง สามารถขายคันเก่ากับ CARRO Express ได้ เรายินดีรับซื้อรถของคุณ ได้เงินไว เร็ว พร้อมปิดการขายได้ทันที แค่คลิก https://th.carro.co/sell-car/express หรืออยากตีราคารถก่อน สามารถ Inbox สอบถามรายละเอียดได้ที่ Facebook CARRO Thailand

หรือจะ Add Line สอบถามรายละเอียดได้ที่ @Carrothai หรือคลิกที่นี่ —> เพิ่มเพื่อน

แหล่งที่มาจาก:

Tesla-Record-Delivery-Electric-Cars-Q3-2020

แม้ว่าตอนนี้ ใน USA และทั่วโลก กำลังได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการระบาดของโควิด-19 (Covid-19) กันอย่างหนัก ส่งผลให้ยอดขายรถยนต์ ร่วงรูดอย่างมากในหลายประเทศทั่วโลก เนื่องจากผู้คนหลายสาขาอาชีพที่เป็นกลุ่มผู้ซื้อรถ ได้รับผลกระทบอย่างเลี่ยงไม่ได้ เช่น ธุรกิจท่องเที่ยว ธุรกิจสายการบิน หรือธุรกิจแลกเปลี่ยนเงินตรา เป็นต้น

แต่ปัญหาดังกล่าว อาจไม่ได้สร้างผลกระทบให้กับ Tesla เลยแม้แต่น้อย เพราะ Tesla ในเวลานี้นับว่าเป็นบริษัทรถยนต์เพียงไม่กี่แห่งในโลก ที่กลับมายอดขายเพิ่มขึ้น สวนทางกับบริษัทรถยนต์ค่ายอื่นๆ! ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากที่ Tesla ได้เปิดโรงงาน Gigafactory 3 ในประเทศจีนด้วย

โดยผลประกอบการไตรมาส 3 ของ Tesla ในปี 2020 สามารถสร้างยอดการส่งมอบรถให้ลูกค้าได้มากถึง 139,300 คัน ซึ่งมากกว่าไตรมาส 3 ปีเดียวกันของปีที่แล้ว ที่ส่งมอบรถได้เพียงแค่ 97,186 คัน หรือ 43% เมื่อเทียบกับปีนี้

external_image

ยอดการผลิตรถ Tesla ตั้งแต่ปี 2012 – 2020 (ภาพจาก InsideEVs)

ยอดขายรถ Tesla ในช่วงไตรมาส 3 ของปี 2019

ยอดขายปี 2019 Q3 ยอดผลิตรถ (คัน) ยอดส่งมอบ (คัน) Subject to Lease  Accounting
Model S/X 16,318 17,483 15%
Model 3/Y 79,837 79,703 8%
Total 96,155 97,186

ยอดขายรถ Tesla ในช่วงไตรมาส 3 ของปี 2020

ยอดขายปี 2020 Q3 ยอดผลิตรถ (คัน) ยอดส่งมอบ (คัน) Subject to Lease Accounting
Model S/X 16,992 15,200 13%
Model 3/Y 128,044 124,100 7%
Total 145,036 139,300 7%

Tesla-Model-3-Cuts-Price-For-China

โดยทาง Wall Street Consensus ตอนแรกได้คาดการณ์ออกมาด้วยว่า ในไตรมาส 3 Tesla จะสามารถส่งมอบรถให้ลูกค้าได้เพียง 120,000 คัน แต่ Tesla กลับสามารถส่งมอบรถได้ถึง 140,000 คันเลยทีเดียว!

และ Tesla ยังคุยว่าจะเพิ่มกำลังการผลิต ให้ส่งมอบรถยนต์ไฟฟ้าได้มากกว่า 145,000 คัน ด้วยซ้ำไป! (เรียกว่า เอาให้เหนือกว่าที่ Wall Street Consensus คาดการณ์ไว้ก่อนหน้าเลย)

ส่วนใครที่อยากขายรถ เพื่อไปซื้อรถยนต์ไฟฟ้าคันใหม่มาใช้ CARRO เรารับซื้อรถของคุณ สามารถเข้าไปเช็คราคา ตีราคาขายรถก่อนได้ โดยใส่ข้อมูลรถของคุณที่นี่เลย กับ CARRO Express > https://th.carro.co/sell-car/express หรือโทร. 02-508-8425

หรือใครจะ Inbox มาสอบถามก็ได้เช่นกัน ที่ Facebook CARRO Thailand หรือสะดวก Add Line ก็ที่ @Carrothailand หรือคลิกที่นี่ครับ —> เพิ่มเพื่อน

แหล่งที่มาบางส่วนจาก:

Thailand-Monthly-Car-Sales-Volume

สถิติการขายรถยนต์ประจำเดือนสิงหาคม มีปริมาณการขาย 68,883 คัน ยังลดลง 12.1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตลดลง 30.3% และตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ มีอัตราการเติบโตลดลง 0.5% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา เพราะยังเป็นผลมาจากสถานการณ์โควิด-19

Toyota-Yaris-ATIV-2020

อย่างไรก็ตาม ยอดขายโดยรวมของเดือนสิงหาคมปรับตัวดีขึ้น เมื่อเทียบกับเดือนกรกฎาคม เนื่องจากความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับตัวดีชึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 หลังจากที่รัฐบาลได้ผ่อนคลายให้ธุรกิจสามารถกลับมาดำเนินการได้ และมีมาตรการเยียวยาผลกระทบจากสถานการณ์ COVID-19 ทั้งมาตรการด้านการเงินและการคลัง

ส่วนตลาดรถยนต์สะสม 8 เดือน มีปริมาณการขาย 448,006 คัน ลดลง 32.9% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตลดลง 40.7% ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์มีอัตราการเติบโตลดลง 28.1% ซึ่งเป็นผลกระทบมาจากโควิด-19 ที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจโดยรวมทั่วโลก

Nissan-Kicks-e-Power

ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ เดือนสิงหาคม 2563

1.     ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 68,883 คัน ลดลง 12.1%

อันดับที่ 1 โตโยต้า 21,599 คัน ลดลง 31.9% ส่วนแบ่งตลาด 31.4%
อันดับที่ 2 อีซูซุ
16,557 คัน เพิ่มขึ้น 11.9% ส่วนแบ่งตลาด 24.0%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 8,610 คัน ลดลง 45.3% ส่วนแบ่งตลาด  12.5%

2. ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 21,300 คัน ลดลง 30.3%

อันดับที่ 1 ฮอนด้า 7,099 คัน ลดลง 39.6% ส่วนแบ่งตลาด 33.3%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 5,278 คัน ลดลง 43.5% ส่วนแบ่งตลาด 24.8%
อันดับที่ 3 นิสสัน 2,332 คัน ลดลง 19.4% ส่วนแบ่งตลาด 10.9%

3. ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 47,583 คัน ลดลง 0.5%

อันดับที่ 1 อีซูซุ 16,557 คัน เพิ่มขึ้น 11.9% ส่วนแบ่งตลาด 34.8%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 16,321 คัน ลดลง 25.7% ส่วนแบ่งตลาด 34.3%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 3,189 คัน ลดลง 21.7% ส่วนแบ่งตลาด  6.7%

4. ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน*  (Pure Pick Up และ รถกระบะดัดแปลง PPV)  ปริมาณการขาย 37,035 คัน ลดลง 3.1%

อันดับที่ 1 อีซูซุ 15,280 คัน เพิ่มขึ้น 15.1% ส่วนแบ่งตลาด 41.3%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 13,565 คัน ลดลง 30.3% ส่วนแบ่งตลาด 36.6%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 3,189 คัน ลดลง 21.7% ส่วนแบ่งตลาด 8.6%

*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน) 3,752 คัน
โตโยต้า 1,750 คัน- มิตซูบิชิ 934 คัน – ฟอร์ด 533 – คัน- อีซูซุ 422 คัน – นิสสัน 106 คัน – เชฟโรเลต 7 คัน

5. ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 33,283 คัน เพิ่มขึ้น 0.1%

อันดับที่ 1 อีซูซุ 14,858 คัน เพิ่มขึ้น 17.7% ส่วนแบ่งตลาด 46.4%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 11,815 คัน ลดลง 25.7% ส่วนแบ่งตลาด 35.5%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 2,255 คัน ลดลง 28.1% ส่วนแบ่งตลาด 6.8%

สถิติการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมกราคม – สิงหาคม 2563

1.  ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 448,006 คัน ลดลง 32.9%

อันดับที่ 1 โตโยต้า
133,374 คัน ลดลง 43.3% ส่วนแบ่งตลาด 29.3%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 108,088 คัน ลดลง 11.1% ส่วนแบ่งตลาด 24.1%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า
55,970 คัน ลดลง 37.5% ส่วนแบ่งตลาด 12.5%

2.  ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 150,700 คัน ลดลง 40.7%

อันดับที่ 1 ฮอนด้า 46,834 คัน ลดลง 30.9% ส่วนแบ่งตลาด 31.1%
อันดับที่ 2 โตโยต้า
40,246 คัน ลดลง 49.5% ส่วนแบ่งตลาด 26.7%
อันดับที่ 3 นิสสัน
17,109 คัน ลดลง 34.8% ส่วนแบ่งตลาด 11.4%

3.  ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 297,306 คัน ลดลง 28.1%

อันดับที่ 1 อีซูซุ
108,088 คัน ลดลง 11.1% ส่วนแบ่งตลาด 36.4%
อันดับที่ 2 โตโยต้า
93,128 คัน ลดลง 40.0% ส่วนแบ่งตลาด 31.3%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ
21,705 คัน ลดลง 36.3% ส่วนแบ่งตลาด 7.3%

4.  ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย 236,151 คัน ลดลง 29.6%

อันดับที่ 1 อีซูซุ
100,170 คัน ลดลง 10.1% ส่วนแบ่งตลาด 42.4%
อันดับที่ 2 โตโยต้า
80,253 คัน ลดลง 41.6% ส่วนแบ่งตลาด 34.0%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ
21,705 คัน ลดลง 36.3% ส่วนแบ่งตลาด 9.2%

*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน) 23,716 คัน
โตโยต้า 9,337 คัน – มิตซูบิชิ 5,611 คัน – อีซูซุ 3,887 คัน – ฟอร์ด 3,056 คัน – นิสสัน 1,173 คัน –เชฟโรเลต 652 คัน

5.  ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 212,435 คัน ลดลง 27.5%

อันดับที่ 1 อีซูซุ
96,283 คัน ลดลง 7.6% ส่วนแบ่งตลาด 45.3%
อันดับที่ 2 โตโยต้า
70,916 คัน ลดลง 39.4% ส่วนแบ่งตลาด 33.4%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ
16,094 คัน ลดลง 35.1% ส่วนแบ่งตลาด 7.6%
ส่วนถ้าใครอยากขายรถ เพื่อนำเงินไปใช้จ่ายในยุคเศรษฐกิจฝืดเคือง สามารถขายคันเก่ากับ CARRO Express ได้ เรายินดีรับซื้อรถของคุณ ได้เงินไว เร็ว พร้อมปิดการขายได้ทันที แค่คลิก https://th.carro.co/sell-car/express หรืออยากตีราคารถก่อน สามารถ Inbox สอบถามรายละเอียดได้ที่ Facebook CARRO Thailand

หรือจะ Add Line สอบถามรายละเอียดได้ที่ @Carrothailand หรือคลิกที่นี่ —> เพิ่มเพื่อน

แหล่งที่มาจาก:

Thailand-Monthly-Car-Sales-Volume
สถิติการขายรถยนต์ประจำเดือนกรกฎาคม 2563 มียอดการขายรวมทั้งสิ้น 59,335 คัน ลดลง 26.8% ประกอบด้วย รถยนต์นั่ง 18,500 คัน ลดลง 43.6% รถเพื่อการพาณิชย์ 40,835 คัน ลดลง 15.4% ขณะที่ รถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซกเมนท์นี้ มีจำนวน 32,707 คัน ลดลง 15.9%

โดยตลาดรถยนต์นั่ง มีอัตราการเติบโตลดลง 43.6% และตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ มีอัตราการเติบโตลดลง 15.4% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา

Toyota-Corolla-Cross-2020

จะเห็นได้ว่ายอดขายของเดือนกรกฎาคม มีแนวโน้มดีขึ้นจากเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา เนื่องจากรัฐบาลได้ผ่อนปรนมาตรการระยะที่ 5 ซึ่งทำให้ธุรกิจสามารถกลับมาดำเนินการได้ รวมถึงการเริ่มมีการจัดงานส่งเสริมการขายรถยนต์ ได้แก่ งาน Motor Show 2020 และงาน Big Motor Sale 2020 อีกทั้งมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ มาตรการช่วยเหลือการท่องเที่ยวในประเทศ “เราเที่ยวด้วยกัน” ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ก่อให้เกิดการใช้จ่าย ซึ่งส่งผลในเชิงบวกกับตลาดรถยนต์

ส่วนตลาดรถยนต์สะสม 7 เดือน มีปริมาณการขาย 387,939 คัน ลดลง 35.9% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตลดลง 42.2% ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์มีอัตราการเติบโตลดลง 31.7% จากปัญหาโควิด-19 ซึ่งส่งผลต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ และทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง

Honda-CR-V-2020

ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ เดือนกรกฎาคม 2563

1.     ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 59,335 คัน ลดลง 26.8%

อันดับที่ 1 โตโยต้า 17,553 คัน ลดลง 31.9% ส่วนแบ่งตลาด 29.6%
อันดับที่ 2 อีซูซุ
15,477 คัน เพิ่มขึ้น 11.9% ส่วนแบ่งตลาด 26.1%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 6,034 คัน ลดลง 45.3% ส่วนแบ่งตลาด  10.2%

2. ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 18,500 คัน ลดลง 43.6%

อันดับที่ 1 ฮอนด้า 5,217 คัน ลดลง 39.6% ส่วนแบ่งตลาด 28.2%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 5,042 คัน ลดลง 43.5% ส่วนแบ่งตลาด 27.3%
อันดับที่ 3 นิสสัน 2,136 คัน ลดลง 19.4% ส่วนแบ่งตลาด 11.5%

3. ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 40,835 คัน ลดลง 15.4%

อันดับที่ 1 อีซูซุ 15,477 คัน เพิ่มขึ้น 11.9% ส่วนแบ่งตลาด 37.9%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 12,511 คัน ลดลง 25.7% ส่วนแบ่งตลาด 30.6%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 3,100 คัน ลดลง 21.7% ส่วนแบ่งตลาด  7.6%

4. ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน*  (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV)  ปริมาณการขาย 32,707 คัน ลดลง 15.9%

อันดับที่ 1 อีซูซุ 14,317 คัน เพิ่มขึ้น 15.1% ส่วนแบ่งตลาด 43.8%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 10,423 คัน ลดลง 30.3% ส่วนแบ่งตลาด 31.9%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 3,100 คัน ลดลง 21.7% ส่วนแบ่งตลาด 9.5%

*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน) 2,987 คัน
โตโยต้า 944 คัน- มิตซูบิชิ 859 คัน – อีซูซุ 517 – คัน- ฟอร์ด 425 คัน – นิสสัน 235 คัน – เชฟโรเลต 7 คัน

5. ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 29,720 คัน ลดลง 13.5%

อันดับที่ 1 อีซูซุ 13,800 คัน เพิ่มขึ้น 17.7% ส่วนแบ่งตลาด 46.4%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 9,479 คัน ลดลง 25.7% ส่วนแบ่งตลาด 31.9%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 2,241 คัน ลดลง 28.1% ส่วนแบ่งตลาด 7.5%

สถิติการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมกราคม – กรกฎาคม 2563

1.  ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 387,939 คัน ลดลง 35.9%

อันดับที่ 1 โตโยต้า
111,775 คัน ลดลง 43.3% ส่วนแบ่งตลาด 28.8%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 91,531 คัน ลดลง 11.1% ส่วนแบ่งตลาด 23.6%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า
47,360 คัน ลดลง 37.5% ส่วนแบ่งตลาด 12.2%

2.  ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 138,216 คัน ลดลง 42.2%

อันดับที่ 1 ฮอนด้า 39,735 คัน ลดลง 30.9% ส่วนแบ่งตลาด 28.7%
อันดับที่ 2 โตโยต้า
34,968 คัน ลดลง 49.5% ส่วนแบ่งตลาด 25.3%
อันดับที่ 3 นิสสัน
14,777 คัน ลดลง 34.8% ส่วนแบ่งตลาด 10.7%

3.  ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 249,723 คัน ลดลง 31.7%

อันดับที่ 1 อีซูซุ
91,531 คัน ลดลง 11.1% ส่วนแบ่งตลาด 36.7%
อันดับที่ 2 โตโยต้า
76,807 คัน ลดลง 40.0% ส่วนแบ่งตลาด 30.8%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ
18,516 คัน ลดลง 36.3% ส่วนแบ่งตลาด 7.4%

4.  ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย 199,116 คัน ลดลง 33.0%

อันดับที่ 1 อีซูซุ
84,890 คัน ลดลง 10.1% ส่วนแบ่งตลาด 42.6%
อันดับที่ 2 โตโยต้า
66,688 คัน ลดลง 41.6% ส่วนแบ่งตลาด 33.5%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ
18,516 คัน ลดลง 36.3% ส่วนแบ่งตลาด 9.3%

*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน) 19,964 คัน
โตโยต้า 7,587 คัน – มิตซูบิชิ 4,677 คัน – อีซูซุ 3,465 คัน – ฟอร์ด 2,523 คัน – นิสสัน 1,067 คัน –เชฟโรเลต 645 คัน

5.  ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 179,152 คัน ลดลง 31.1%

อันดับที่ 1 อีซูซุ
81,425 คัน ลดลง 7.6% ส่วนแบ่งตลาด 45.5%
อันดับที่ 2 โตโยต้า
59,101 คัน ลดลง 39.4% ส่วนแบ่งตลาด 33.0%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ
13,839 คัน ลดลง 35.1% ส่วนแบ่งตลาด 7.7%
ส่วนถ้าใครอยากขายรถ เพื่อนำเงินไปใช้จ่ายในยุคโควิด-19 ระบาด สามารถขายคันเก่ากับ CARRO Express ได้ เรายินดีรับซื้อรถของคุณ ได้เงินไว เร็ว พร้อมปิดการขายได้ทันที แค่คลิก https://th.carro.co/sell-car/express หรืออยากตีราคารถก่อน สามารถ Inbox สอบถามรายละเอียดได้ที่ Facebook CARRO Thailand

หรือจะ Add Line สอบถามรายละเอียดได้ที่ @Carrothailand หรือคลิกที่นี่ —> เพิ่มเพื่อน

แหล่งที่มาจาก:

Thailand-Monthly-Car-Sales-Volume

สถิติการขายรถยนต์เดือนมิถุนายน สามารถสร้างยอดขาย 58,013 คัน ลดลง 32.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตลดลง 41.3% และตลาดรถเพื่อการพาณิชย์มีอัตราการเติบโตลดลง 26.4% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา

ในช่วงต้นปีที่ผ่านมา เดิมมีการคาดการณ์ตลาดรวมในประเทศของปี 2563 อยู่ที่ 940,000 คัน และตั้งเป้าหมายการขายรถยนต์โตโยต้าไว้ที่ 310,000 คัน แต่ทว่าในสถานการณ์ไตรมาสที่ 1 ตัวเลขยอดขายตลาดรวมอยู่ที่ประมาณ 200,000 คัน หรือคิดเป็น 76% ของยอดขายในช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา

นับตั้งแต่กลางเดือนมีนาคมเป็นต้นมา โควิด-19 ได้แพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ความต้องการของตลาดตกหมดอย่างฉับพลัน ทั้งตลาดรถยนต์ในประเทศและตลาดการส่งออก ทำให้แตกต่างออกไปจากแผนที่คาดการณ์ไว้โดยสิ้นเชิง

หลังผ่านสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และ การหยุดสายการผลิตเป็นการชั่วคราวขอรถหลายค่ายไปแล้วนั้น ตลาดรถยนต์ของไทยในช่วงไตรมาสที่ 2 ลดลงไปที่ประมาณ 128,500 คัน คิดเป็น 49% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา

สถิติการขายรถยนต์ ม.ค. – มิ.ย. 2563

ปริมาณการขายรวม
328,604 คัน
ลดลง     37.3%
รถยนต์นั่ง
119,716 คัน
ลดลง     42.0%
รถเพื่อการพาณิชย์
208,888 คัน
ลดลง     34.2%
รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง)
166,409 คัน
ลดลง     35.6%
รถกระบะ 1 ตัน (ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง)
149,432 คัน
ลดลง     33.7%

สถิติการขายรถยนต์ของโตโยต้า ม.ค. – มิ.ย. 2563

ปริมาณการขายโตโยต้า
94,222 คัน
ลดลง 45.1%
ส่วนแบ่งตลาด 28.7%
รถยนต์นั่ง
29,926 คัน
ลดลง 50.4%
ส่วนแบ่งตลาด 25.0%
รถเพื่อการพาณิชย์
64,296 คัน
ลดลง 42.2%
ส่วนแบ่งตลาด 30.8%
รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง)
56,265 คัน
ลดลง 43.3%
ส่วนแบ่งตลาด 33.8%
รถกระบะ 1 ตัน (ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง)
49,622 คัน
ลดลง 41.5%
ส่วนแบ่งตลาด 33.2%

แนวโน้มตลาดรถยนต์ของปี 2563

ในส่วนของภาคธุรกิจยานยนต์ของประเทศไทยนั้น ผลกระทบที่ได้รับยังถือว่าไม่รุนแรงเท่ากับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคอาเซียน และการฟื้นตัวของประเทศไทยดูจะรวดเร็วกว่า ดังนั้น แม้อาจจะยังไม่ควรที่จะประเมินสถานการณ์ให้สูงจนเกินไป แต่แนวโน้มของตลาดรถยนต์ไทยน่าจะไปในทิศทางที่ดี และสถานการณ์จะไม่แย่เท่าที่คาดการณ์ไว้

จึงได้ปรับตัวเลขคาดการณ์ยอดขายรถยนต์ในปี 2563 เป็น 660,000 คัน คิดเป็น 65% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา

ประมาณการยอดขายรถยนต์ในประเทศ ปี 2563

ปริมาณการขายรวม
660,000 คัน
ลดลง     34.5%
รถยนต์นั่ง
225,100 คัน
ลดลง     43.5%
รถเพื่อการพาณิชย์
434,900 คัน
ลดลง     28.6%
รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง)
346,015 คัน
ลดลง     29.7%
รถกระบะ 1 ตัน (ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง)
310,000 คัน
ลดลง     28.2%

ประมาณยอดขายรถยนต์ในประเทศของโตโยต้า ปี 2563

ปริมาณการขายโตโยต้า
220,000 คัน
ลดลง 33.8%
ส่วนแบ่งตลาด 33.3%
รถยนต์นั่ง
62,800 คัน
ลดลง 46.6%
ส่วนแบ่งตลาด 27.9%
รถเพื่อการพาณิชย์
157,200 คัน
ลดลง 26.8%
ส่วนแบ่งตลาด 36.1%
รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง)
135,600 คัน
ลดลง 29.3%
ส่วนแบ่งตลาด 39.2%
รถกระบะ 1 ตัน (ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง)
121,000 คัน
ลดลง 26.9%
ส่วนแบ่งตลาด 39.0%

ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมิถุนายน 2563

1.     ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 58,013 คัน ลดลง 32.6%

อันดับที่ 1 อีซูซุ 16,661 คัน เพิ่มขึ้น 26.1% ส่วนแบ่งตลาด 28.7%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 13,366 คัน ลดลง 53.8% ส่วนแบ่งตลาด 23.0%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 5,822 คัน ลดลง 52.1% ส่วนแบ่งตลาด 10.0%

2. ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 20,768 คัน ลดลง 41.3%              

อันดับที่ 1 ฮอนด้า 4,816 คัน ลดลง 47.4% ส่วนแบ่งตลาด 23.2%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 4,802 คัน ลดลง 50.7% ส่วนแบ่งตลาด 23.1%
อันดับที่ 3 ซูซูกิ 1,776 คัน ลดลง 13.1% ส่วนแบ่งตลาด 8.6%

3. ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 37,245 คัน ลดลง 26.4% 

อันดับที่ 1 อีซูซุ 16,661 คัน เพิ่มขึ้น 26.1% ส่วนแบ่งตลาด 44.7%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 8,564 คัน ลดลง 55.4% ส่วนแบ่งตลาด 23.0%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 2,562 คัน ลดลง 34.1% ส่วนแบ่งตลาด  6.9%

4. ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน*  (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย 29,576 คัน ลดลง 26.7%

อันดับที่ 1 อีซูซุ 15,368 คัน เพิ่มขึ้น 29.7% ส่วนแบ่งตลาด 52.0%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 7,375 คัน ลดลง 57.2% ส่วนแบ่งตลาด 24.9%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 2,562 คัน ลดลง 34.1% ส่วนแบ่งตลาด 8.7%

*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน: 2,992 คัน
โตโยต้า 1,262 คัน – มิตซูบิชิ 553 คัน – อีซูซุ 500 คัน – นิสสัน 337 คัน – ฟอร์ด 312 คัน –  เชฟโรเลต 28 คัน 

5. ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 26,584 คัน ลดลง 25%

อันดับที่ 1 อีซูซุ 14,868 คัน เพิ่มขึ้น 33.7% ส่วนแบ่งตลาด 55.9%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 6,113 คัน ลดลง 58.8% ส่วนแบ่งตลาด 23.0%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 2,009 คัน ลดลง 26.6% ส่วนแบ่งตลาด 7.6%

สถิติการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมกราคม – มิถุนายน 2563

1.  ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 328,604 คัน ลดลง 37.3% 

อันดับที่ 1 โตโยต้า
94,222 คัน ลดลง 45.1% ส่วนแบ่งตลาด 28.7%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 76,054 คัน ลดลง 14.7% ส่วนแบ่งตลาด 23.1%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า
41,326 คัน ลดลง 36.1% ส่วนแบ่งตลาด 12.6%

2.  ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 119,716 คัน ลดลง 42%          

อันดับที่ 1 ฮอนด้า 34,518 คัน ลดลง 29.4% ส่วนแบ่งตลาด 28.8%
อันดับที่ 2 โตโยต้า
29,926 คัน ลดลง 50.4% ส่วนแบ่งตลาด 25.0%
อันดับที่ 3 นิสสัน
12,641 คัน ลดลง 36.9% ส่วนแบ่งตลาด 10.6%

3.  ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 208,888 คัน ลดลง 34.2%  

อันดับที่ 1 อีซูซุ
76,054 คัน ลดลง 14.7% ส่วนแบ่งตลาด 36.4%
อันดับที่ 2 โตโยต้า
64,296 คัน ลดลง 42.2% ส่วนแบ่งตลาด 30.8%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ
15,416 คัน ลดลง 38.6% ส่วนแบ่งตลาด 7.4%

4.  ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย 166,409 คัน ลดลง 35.6%

อันดับที่ 1 อีซูซุ
70,573 คัน ลดลง 13.9% ส่วนแบ่งตลาด 42.4%
อันดับที่ 2 โตโยต้า
56,265 คัน ลดลง 43.3% ส่วนแบ่งตลาด 33.8%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ
15,416 คัน ลดลง 38.6% ส่วนแบ่งตลาด 9.3%

*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน: 16,977 คัน
โตโยต้า 6,643 คัน – มิตซูบิชิ 3,818 คัน – อีซูซุ 2,948 คัน – ฟอร์ด 2,098 คัน – นิสสัน 832 คัน – เชฟโรเลต 638 คัน

5.  ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 149,432 คัน ลดลง 33.7%

อันดับที่ 1 อีซูซุ
67,625 คัน ลดลง 11.5% ส่วนแบ่งตลาด 45.3%
อันดับที่ 2 โตโยต้า
49,622 คัน ลดลง 41.5% ส่วนแบ่งตลาด 33.2%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ
11,598 คัน ลดลง 36.3% ส่วนแบ่งตลาด 7.8%
ส่วนถ้าใครอยากขายรถ เพื่อนำเงินไปใช้จ่ายในยุคโควิด-19 ระบาด สามารถขายคันเก่ากับ CARRO Express ได้ เรายินดีรับซื้อรถของคุณ ได้เงินไว เร็ว พร้อมปิดการขายได้ทันที แค่คลิก https://th.carro.co/sell-car/express หรืออยากตีราคารถก่อน สามารถ Inbox สอบถามรายละเอียดได้ที่ Facebook CARRO Thailand

หรือจะ Add Line สอบถามรายละเอียดได้ที่ @Carrothailand หรือคลิกที่นี่ —> เพิ่มเพื่อน

แหล่งที่มาจาก: