DLT-Tightened-Inspection-School-Driver

กรมการขนส่งทางบก คุมเข้ม! โรงเรียนสอนขับรถ ต้องสแกนลายนิ้วมือเพื่อยืนยันตัวตนทั้งผู้เรียนและผู้สอน โดยตอนนี้มีโรงเรียนสอนขับรถ ที่ได้รับการรับรอง จำนวน 275 แห่ง ใน 66 จังหวัดทั่วประเทศ

นายพีระพล ถาวรสุภเจริญ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก เปิดเผยว่า กรมการขนส่งทางบก ให้เอกชนที่มีความพร้อม เปิดโรงเรียนสอนขับรถเอกชนที่ได้มาตรฐาน เพื่อดำเนินการอบรม และทดสอบให้กับผู้ขอรับใบอนุญาตขับรถ โดยมีมาตรการในการควบคุม กำกับ ดูแล อย่างมีคุณภาพและมาตรฐานและพัฒนาคุณภาพมาตรฐานของโรงเรียนสอนขับรถอย่างต่อเนื่อง

ที่สำคัญ ยังนำระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในการควบคุม กำกับ การดำเนินการของโรงเรียนสอนขับรถ โดยกำหนดให้ผู้ฝึกสอนขับรถและผู้เรียนจะต้องมีการสแกนลายนิ้วมือเพื่อยืนยันตัวตนก่อนทำการเรียนการสอน

DLT-Tightened-Inspection-School-Driver

ซึ่งกรมการขนส่งทางบก สามารถตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูลการเรียนการสอน วันเวลาเรียน รายวิชาที่เรียน รายชื่อผู้ฝึกสอนขับรถได้ผ่านทางระบบ e-classroom รวมทั้งกำหนดให้โรงเรียนสอนขับรถจะต้องมีการติดตั้งกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ในห้องทดสอบข้อเขียน เพื่อทำการบันทึกข้อมูลภาพของผู้เรียน ในขณะทำการทดสอบข้อเขียนอีกทางหนึ่งด้วย

อธิบดีกรมการขนส่งทางบก กล่าวเพิ่มเติมว่า ข้อมูล ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2562 มีโรงเรียนสอนขับรถที่ได้รับการรับรองจากกรมการขนส่งทางบก จำนวนทั้งสิ้น 275 แห่ง ใน 66 จังหวัดทั่วประเทศ แบ่งเป็น รถที่ใช้เพื่อการขนส่งทางบก, รถยนต์ และรถจักรยานยนต์

DLT-Tightened-Inspection-School-Driver

ภาพจาก โรงเรียนสอนขับรถ ID Driver

มีผู้ผ่านการอบรมและทดสอบจากโรงเรียนสอนขับรถ ที่ได้รับการรับรองจากกรมการขนส่งทางบก ประจำปีงบประมาณ 2562 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2561 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2562 จำนวนทั้งสิ้น 454,691 ราย แบ่งเป็น หลักสูตรการสอนขับรถที่ใช้เพื่อการขนส่งทางบก จำนวน 6,903 ราย หลักสูตรการสอนขับรถยนต์ จำนวน 277,329 ราย และหลักสูตรการสอนขับรถจักรยานยนต์ จำนวน 170,459 ราย

ส่วนจังหวัดที่ยังไม่มีโรงเรียนสอนขับรถมีจำนวน 11 จังหวัด ได้แก่ ชัยนาท ชัยภูมิ นครพนม แม่ฮ่องสอน น่าน อุทัยธานี สมุทรสงคราม ตราด สตูล พัทลุง และปัตตานี

DLT-Tightened-Inspection-School-Driver

ภาพจาก โรงเรียนสอนขับรถ ID Driver

สำหรับผู้สนใจเรียนขับรถกับโรงเรียนสอนขับรถเอกชน ที่กรมการขนส่งทางบกรับรอง สามารถตรวจดูรายชื่อ หรือศึกษารายละเอียดการจัดตั้งและการดำเนินกิจการโรงเรียนสอนขับรถเอกชนได้ที่ https://www.dlt.go.th/site/ltsb/

แหล่งที่มา :

กรมขนส่ง-ห้ามคนเป็นโรคลมชัก-ขอใบขับขี่

กรมการขนส่งทางบก เข้ม ตามมติคณะกรรมการแพทยสภา ที่เพิ่มคนเป็นโรคลมชัก ห้ามขับรถ ยกเว้นแพทย์รับรอง

Driving-License

วันที่ 11 ก.พ. 2562 นายพีระพล ถาวรสุภเจริญ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก เปิดเผยว่า เพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน กรมการขนส่งทางบก กำหนดให้การขอรับใบอนุญาตขับรถ ต้องใช้ใบรับรองแพทย์ แสดงว่าไม่มีโรคประจำตัวอันอาจเป็นอันตรายขณะขับรถเป็นหลักฐานประกอบ คณะกรรมการแพทยสภาได้มีมติเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2560 ให้โรคลมชัก ในสภาวะที่ไม่สามารถควบคุมอาการชักได้ เป็นโรคประจำตัวที่อาจเป็นอันตรายขณะขับรถ เว้นแต่แพทย์ผู้ให้การรักษารับรองว่าผู้ป่วยไม่มีอาการชักเกินกว่า 2 ปี

Driving-License

กรมการขนส่งทางบก ได้แจ้งแก่นายทะเบียนทั่วประเทศ โดยให้ตรวจสอบหลักฐานใบรับรองแพทย์ที่ใช้ประกอบคำขอ โดยต้องเป็นใบรับรองแพทย์ตามแบบมาตรฐานที่แพทยสภารับรอง โดยส่วนที่ 1 ลงลายมือชื่อรับรองตนเอง ประวัติโรคประจำตัว ประวัติอุบัติเหตุและการเข้ารับการผ่าตัดที่สำคัญ และส่วนที่ 2 แพทย์ผู้ตรวจร่างกายรับรอง

Driving-License

นอกจากโรคชมชัก ยังต้องมีการรับรองในกรณีอื่น เช่น ไม่เป็นผู้มีร่างกายทุพพลภาพ จนไม่สามารถขับรถได้ ไม่ปรากฏอาการของโรคจิต หรือจิตฟั่นเฟือน หรือปัญญาอ่อน ไม่ปรากฏอาการของการติดยาเสพติดให้โทษ ไม่ปรากฏอาการของโรคพิษสุราเรื้อรัง และไม่ปรากฏอาการและอาการแสดงของโรคเรื้อนในระยะติดต่อหรือในระยะปรากฏอาการ วัณโรคในระยะอันตราย โรคเท้าช้างในระยะปรากฏอาการ สำหรับใบรับรองแพทย์ตามแบบที่แพทยสภารับรอง สถานพยาบาลส่วนใหญ่ใช้เป็นมาตรฐานอยู่แล้ว ผู้ขอรับใบอนุญาตขับรถ หรือใบอนุญาตเป็นผู้ประจำรถ แจ้งวัตถุประสงค์ให้ชัดเจน เพื่อให้แพทย์ออกใบรับรองแพทย์ให้ถูกต้องตรงกับการนำไปใช้

Driving-License

สำหรับโรคประจำตัวบางกลุ่มอันอาจเป็นอันตรายขณะขับรถ ยังอยู่ในระหว่างการหารือร่วมกันระหว่างกรมการขนส่งทางบกและแพทยสภาที่อาจกำหนดเพิ่มเติมในอนาคต เช่น โรคเบาหวานระยะที่ต้องฉีดอินซูลิน โรคความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดทางสมอง ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายที่ผ่านการผ่าตัดหัวใจ หรือขยายเส้นเลือดหัวใจ ซึ่งแพทย์วินิจฉัยแล้วว่าเป็นอุปสรรคต่อการขับรถ

ขอขอบคุณข่าวจาก Workpoint News

Carro-Driving-On-Road-Shoulder

ปัญหาที่แก้ไม่ได้ของสังคมไทย คือ การขับรถที่ไร้ระเบียบวินัย

Driving-On-Road-Shoulder

เวลาคุณขับรถบนทางด่วนช่วงเวลาเร่งด่วน ขับรถออกต่างจังหวัดช่วงเทศกาล คุณเคยสังเกตไหมครับว่า ที่ไหล่ทาง มักจะมีรถยนต์จำนวนมาก วิ่งคร่อมไหล่ทางบ้าง วิ่งในไหล่ทางบ้างล่ะ เพื่อที่จะไปปาด เบียดข้างหน้า หรือแซงข้างหน้า เป็นประจำ ทำให้รถติดมากขึ้น หรือเกะกะกีดขวางการจราจรของรถกู้ภัย หรือรถพยาบาล

ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นว่า ประเทศเรา หย่อนยานและละเลยในการปฏิบัติตามกฎจราจรมากๆ เป็นปัญหาที่ชาตินี้ ไม่มีทางแก้ไขและปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมได้ซะที

ซึ่งก็ก่อให้เกิดอุบัติเหตุมาหลายต่อหลายครั้งแล้ว (ซึ่งไม่กี่วันก่อน ก็เพิ่งเกิดบนทางด่วนมาหมาดๆ) ก่อให้เกิดความสูญเสียในชีวิต และทรัพย์สินเป็นจำนวนมาก

Driving-On-Road-Shoulder

แก้ปัญหาไม่ได้ ก็วางแบริเออร์น้ำ ซะเลย …

พ.ร.บ. จราจรทางบกฯ พ.ศ. 2522 มาตรา 103 ระบุว่า ทางใดที่มีทางเท้า หรือไหล่ทาง อยู่ข้างทางเดินรถ ให้คนเดินเท้าเดินบนทางเท้าหรือไหล่ทาง ถ้าทางนั้นไม่มีทางเท้าอยู่ข้างทางเดินรถ ให้เดินริมทางด้านขวาของตน

… แสดงให้เห็นว่า บนถนนทั่วไป กฎหมายกำหนดให้ไหล่ทาง เป็นทางสำหรับคนเดินเท้า หรือสำหรับจักรยานปั่น ไม่ใช่ให้รถวิ่ง แต่บางที เจ้าหน้าที่ตำรวจจราจร ก็เรียกรถให้ไปวิ่งไหล่ในทางเพื่อระบายรถได้ ซึ่งก็ไม่ใช่ว่าใครก็ตาม จะเปิดเลนพิเศษเข้าไปวิ่งในไหล่ทางได้ตามอำเภอใจ

แม้จะมีตำรวจ โบกให้รถเข้าไปวิ่งในไหล่ทาง ในช่วงเวลาเร่งด่วน ก็ต้องระมัดระวังรถที่จอดอยู่ จักรยานที่ปั่นอยู่ หรือคนที่เดินสัญจรไปมา เพราะหากเกิดอุบัติเหตุขึ้น รถที่วิ่งไหล่ทางย่อมเป็นฝ่ายผิด เพราะฝ่าฝืนกฎจราจรเข้าวิ่งช่องทางที่ไม่ได้จัดไว้สำหรับเป็นทางเดินรถ แม้จะมีเจ้าหน้าที่ตำรวจโบกให้เข้าใช้ได้ก็ตาม

และสำหรับบนทางด่วน จะตีเส้นทึบไหล่ทางตลอดแนวห้ามรถเข้าไปวิ่ง ยกเว้นกรณีรถจอดเสีย หรือเกิดอุบัติเหตุ อนุญาตให้นำรถเข้าไปจอดชั่วคราวได้เพื่อความปลอดภัยและไม่ให้กีดขวางการจราจร … แต่ตำรวจทางด่วน ก็โบกรถให้รถสามารถเข้าไปวิ่งในไหล่ทางได้ ในช่วงเวลาเร่งด่วนด้วยเช่นกัน

Driving-On-Road-Shoulder

ภาพจาก Fanpage ลิงรู้เรื่อง

ด้าน พล.ต.ต.จิรพัฒน์ ภูมิจิตร รอง ผบช.น. ได้ชี้แจงว่า ไหล่ทางไม่ใช่ช่องทางเดินรถ แต่เป็นช่องทางสำหรับจอดรถกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน ไม่ว่ารถเสีย รถชน หรือเป็นช่องทางสำหรับรถพยาบาล รถฉุกเฉินที่จะนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาล แต่ปัจจุบันกลับพบว่ามีประชาชนที่ใช้ทางด่วนเข้าไปวิ่งไหล่ทางเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุกับรถที่จอดเสียบ่อยครั้ง

จน บช.น. ต้องหารือกับ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เพื่อกำหนดมาตรการดูแลและป้องกันอุบัติเหตุ ไม่ว่าจะเป็นการบังคับใช้กฎหมายกับผู้ฝ่าฝืนวิ่งบนไหล่ทาง เพราะตามกฎหมายจราจรระบุ ไว้ชัดเจนว่า ห้ามรถเข้าไปวิ่งไหล่ทาง หากฝ่าฝืนเข้าไปวิ่งจะถือเป็นการกระทำความผิดฝ่าฝืนเครื่องหมายบนพื้นที่ มีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท

ขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก

ข้อสอบ ใบขับขี่, สถานการณ์อันตราย

ข้อสอบใบขับขี่ พร้อมเฉลย

วันนี้ คาร์โร มีแบบทดสอบที่สามารถเป็นแนวทางในการเตรียมความพร้อมก่อนไปสอบจริง ในหมวดการรับรู้สถานการณ์อันตราย เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้ที่กำลังจะไปสอบใบขับขี่มากยิ่งขึ้น และทั้งหมดมี 21 ข้อ พร้อมเฉลย (อยู่ด้านล่างของบทความ)

1. รถยนต์คันสีเหลือง และรถยนต์คันสีแดง วิ่งมาถึงทางแยกพร้อมกัน และเกิดอุบัติเหตุเฉี่ยวกัน ดังรูปข้อสอบ ใบขับขี่, สถานการณ์อันตราย

  1. รถยนต์คันสีเหลือง เป็นฝ่ายผิดเนื่องจากบริเวณทางแยกลักษณะนี้ ต้องให้รถที่อยู่ด้านขวาไปก่อน
  2. รถยนต์คันสีแดง เป็นฝ่ายผิด
  3. ทั้งรถยนต์คันสีเหลือง และรถยนต์คันสีแดง ผิดด้วยกันทั้ง 2 ฝ่าย
  4. ไม่มีรถยนต์ฝ่ายใดผิด

 

2. รถยนต์คันสีเหลือง , คันสีแดง และ คันสีขาว เลี้ยวซ้ายพร้อมกัน คันใดกระทำผิดกฎหมาย

ข้อสอบ ใบขับขี่, สถานการณ์อันตราย

  1. รถคันสีเหลือง และ สีแดง ผิด เพราะเลี้ยวซ้ายพร้อมกัน
  2. รถคันสีเหลือง และ สีขาว ผิด เพราะเลี้ยวซ้ายพร้อมกัน
  3. รถคันสีแดง และ สีขาว ผิด เพราะเลี้ยวซ้ายพร้อมกัน
  4. รถทุกคัน ผิด เพราะเลี้ยวซ้ายพร้อมกัน

 

3. จากรูป สมมติว่าท่านเป็นผู้ขับรถคันสีแดง และมีความประสงค์จะขับเข้าซอยซ้ายมือด้านหน้า รถโดยสารประจำทางที่กำลังจอดรับส่งผู้โดยสารที่ป้ายรถเมล์ ท่านต้องขับรถอย่างไรจึงจะปลอดภัย

ข้อสอบ ใบขับขี่, สถานการณ์อันตราย

  1. หยุดรถหลังรถโดยสารประจำทาง รถให้รถโดยสารประจำทางขับออกไปก่อนแล้วค่อยขับเลี้ยวเข้าซอย
  2. ขับแซงด้านซ้ายรถโดยสารประจำทางแล้วค่อยเลี้ยวซ้ายเข้าซอย
  3. ขับแซงด้านขวารถโดยสารประจำทางแล้วค่อยเลี้ยวซ้ายเข้าซอย
  4. ถูกทั้งข้อ ก, ข. และ ค.

 

4. สมมติว่าท่านขับรถคันสีแดง ออกจากห้างสรรพสินค้า ซึ่งมีป้ายรถเมล์อยู่หน้าห้างดังรูป ท่านจะต้องขับรถอย่างไรจึงจะปลอดภัย

ข้อสอบ ใบขับขี่, สถานการณ์อันตราย

  1. หยุดรถบริเวณทางออกดูรถด้านขวามือ ถ้าไม่มีรถวิ่งมาก็ขับรถเลี้ยวขวาแซงรถประจำทางออกไป
  2. หยุดรถบริเวณทางออก ดูรถด้านขวามือ ถ้าไม่มีรถวิ่งมาก็ดูรถด้านซ้ายมือว่ามีรถมาจอดต่อท้ายรถโดยสารประจำทางหรือ ไม่ ถ้าด้านซ้ายมือไม่มีรถก็ขับรถออกไป
  3. ไม่ต้องหยุดรอ ขับเลี้ยวซ้ายออกมาต่อท้ายรถโดยสารประจำทาง
  4. ถูกทุกข้อ

 

5. จากรูปเป็นการชนประสานงากันระหว่างรถคันสีแดง และ รถคันสีเหลือง ถามว่ารถคันสีแดง หรือ รถคันสีเหลือง เป็นฝ่ายผิด เพราะอะไร

ข้อสอบ ใบขับขี่, สถานการณ์อันตราย

  1. รถคันสีแดง ผิด เพราะแซงซ้ายบนทางโค้งส่วนรถคันสีเหลือง ถูก เพราะช่องที่ขับมาเป็นไหล่ทางไม่ใช่
  2. รถคันสีแดง ผิด เพราะขับรถย้อนศร ส่วนรถคันสีแดง ถูกเพราะเป็นไหล่ทางช่องรถวิ่งสามารถขับได้
  3. รถคันสีแดง เป็นฝ่ายถูก เพราะขับรถชิดขอบทางด้านซ้าย ส่วนรถคันสีเหลือง เป็นฝ่ายผิด เพราะขับรถชิดขอบทางด้านขวา
  4. รถคันสีแดง ผิด เพราะแซงด้านซ้าย ส่วนรถคันสีเหลือง ผิดเพราะขับรถย้อนศร

 

6. สมมติท่านขับรถคันสีเขียว ในระหว่างที่ขับรถอยู่นั้นรถในช่องทางด้านขวามือของท่านตั้งแต่รถคันสีชมพู ลงมา อยู่ ๆ ก็หยุดรถท่านเห็นรถในช่องขวามือของท่านหยุด ท่านจะทำอย่างไร

ข้อสอบ ใบขับขี่, สถานการณ์อันตราย

  1. ขับรถต่อไป เพราะช่องเดินรถของท่านโล่งสามารถขับรถต่อไปได้
  2. เร่งเครื่องยนต์รีบขับขึ้นหน้ารถด้านขวามือ
  3. ชะลอความเร็ว เนื่องจากไม่แน่ใจว่ารถด้านขวาหยุดให้ผู้โดยสารลงรถหรือไม่
  4. หยุดรถ เพราะคาดว่าทางข้างหน้าอาจจะมีคนข้ามถนน


7. ท่านขับรถตามหลังรถโดยสารประจำทาง เมื่อถึงป้ายรถเมล์ รถโดยสารประจำทางจอดให้ผู้โดยสารขึ้นและลงรถ เมื่อท่านเห็นรถโดยสารประจำทางหยุด ท่านจะทำอย่างไร

ข้อสอบ ใบขับขี่, สถานการณ์อันตราย

  1. ขับแซงด้านขวาขึ้นหน้ารถโดยสารประจำทาง
  2. หยุดรถหลังรถโดยสารประจำทาง เพราะอาจจะมีคนโดยสารรถโดยสารประจำทางเดินตัดหน้ารถโดยสารประจำทาง
  3. ดูว่ามีรถด้านขวาหรือไม่ ถ้าไม่มีรถก็แซงด้านขวา
  4. ชะลอความเร็ว เตรียมแซงรถโดยสารประจำทางด้านซ้ายหรือด้านขวา

 

8. เมื่อท่านขับรถยนต์ไปในทางโค้งด้านขวา รถเสียหลักหลุดโค้งออกไปด้านซ้ายลงข้างทางไปชนเสาไฟฟ้า ถามว่าท่านกระทำผิดกฎหมายจราจรทางบกหรือไม่

  1. ไม่มีความผิด เพราะไม่มีคู่กรณี
  2. ไม่มีความผิด เพราะท่านทำให้เกิดอุบัติเหตุเอง
  3. มีความผิด เนื่องจากไม่ชะลอความเร็วของรถเมื่อขับรถในทางโค้ง
  4. มีความผิด เพราะขับรถไปชนเสาไฟฟ้า

 

9. เมื่อท่านขับรถที่มุ่งหน้าเข้าหาหน้าผาของภูเขาสูงแสดงว่า
ข้อสอบ ใบขับขี่, สถานการณ์อันตราย

  1. ถนนที่ท่านกำลังขับรถอยู่นั้นตัดผ่านภูเขา
  2. ถนนที่ท่านกำลังขับรถอยู่นั้นจะต้องเป็นทางโค้งขวาหรือโค้งซ้าย
  3. ถนนที่ท่านกำลังขับรถอยู่นั้นอาจเป็นทางตันไม่สามารถขับผ่านไปได้
  4. ถูกทั้งข้อ ก, ข. และ ค.

 

10. ท่านเห็นรถคันสีแดง ชนกับรถคันสีเหลือง อย่างแรงจนรถทั้ง 2 คันพังยับเยินผู้ขับรถทั้ง 2 คนเสียชีวิตในที่เกิดเหตุตรงบริเวณสามแยก โดยเห็นว่ารถคันสีเหลือง วิ่งออกจากซอย ชนกับรถคันสีแดง ที่วิ่งมาบนถนนสายหลัก ดังรูปถามว่ารถคันใดทำผิดกฎหมาย เพราะอะไร

ข้อสอบ ใบขับขี่, สถานการณ์อันตราย

  1. ผู้ขับรถคันสีแดง ผิด เพราะไม่ลดความเร็วเมื่อขับรถผ่านทางร่วมทางแยก
  2. ผู้ขับรถคันสีเหลือง ผิด เพราะไม่ให้รถที่มีสิทธิ์ผ่านไปก่อน
  3. ทั้งผู้ขับรถคันสีแดง และผู้ขับรถคันสีเหลือง ผิดด้วยกันทั้งคู่ ด้วยเหตุผลตามข้อ คันสีแดง และ คันสีเหลือง
  4. ผิดทั้งคู่ เพราะผู้ขับรถคันสีแดง ไม่ลดความเร็วเมื่อขับรถผ่านทางร่วมทางแยก และผู้ขับรถคันสีเหลือง ไม่ให้รถที่มีสิทธิ์ผ่านไปก่อน

 

11. เมื่อท่านจะขับรถออกจากปากซอย ดังรูป เหตุการณ์ใดต่อไปนี้ที่ท่านเป็นฝ่ายถูก

ข้อสอบ ใบขับขี่, สถานการณ์อันตราย

  1. ท่านเลี้ยวซ้ายทันที
  2. ท่านเลี้ยวขวาทันที
  3. ท่านขับตามช่องทางเดินรถไป 1 ช่องแล้วเลี้ยวขวา
  4. ท่านขับรถถึงปากซอยแล้วหยุดทันที

 

12. เมื่อท่านขับรถคันสีขาวถึงบริเวณสี่แยกที่ไม่มีไฟสัญญาณจราจร (ดังภาพ) กรณีใดที่ท่านไม่ใช่เป็นฝ่ายผู้กระทำผิด

ข้อสอบ ใบขับขี่, สถานการณ์อันตราย

  1. เลี้ยวซ้ายทันที
  2. เลี้ยวขวาทันที
  3. ขับตรงไปทันที
  4. หยุดทันทีเมื่อถึงทางแยก

 

13. ในขณะที่ท่านกำลังขับรถเลี้ยวขวา ดังรูป ท่านเห็นว่าเบรกไม่ทันรถของท่านจะชนรถคันหน้าจะหักพวงมาลัยรถไถลลงข้างทางไป ชนต้นไม้ ถามว่าการกระทำของท่านทำผิดกฎหมายจราจรทางบกหรือไม่

ข้อสอบ ใบขับขี่, สถานการณ์อันตราย

  1. ไม่ผิด เพราะไม่ได้ชนรถที่อยู่ข้างหน้า
  2. ผิด เพราะไม่ได้ขับในช่องทางเดินรถแต่ไปชนต้นไม้
  3. ผิด เพราะไม่ลดความเร็วของรถเมื่อขับผ่านทางร่วมทางแยก
  4. ไม่ผิด เพราะไม่มีผู้เสียหาย

 

14. ข้อใดที่แสดงว่า ท่านขับรถไม่เป็น

  1. ขณะที่กำลังขับรถอยู่ มีสุนัขวิ่งตัดหน้ารถ ท่านหักหลบสุนัขลงข้างทาง
  2. ขณะที่กำลังขับรถอยู่ ถูกรถที่ตามหลังมาชนท้ายอย่างแรงจนรถของท่านไปกระแทกรถคันข้างหน้า
  3. ขณะที่กำลังเลี้ยวซ้ายเข้าที่จอดรถ มีรถขับตัดหน้าแย่งเข้าจอดรถ ท่านจึงเหยียบเบรกอย่างแรงแต่รถก็ยังชนรถที่ตัดหน้า
  4. ขับรถไปซื้อของที่หน้าปากซอยท่านก็คาดเข็มขัดนิรภัย

 

15. ท่านขับรถคัน ก. เหตุการณ์ต่อไปนี้ ท่านเป็นฝ่ายกระทำผิดเพราะอะไร

ข้อสอบ ใบขับขี่, สถานการณ์อันตราย

  1. แซงอย่างผิดกฎหมาย
  2. ขับล้ำเข้าไปในช่องทางรถสวน
  3. ไม่ลดความเร็วของรถเมื่อขับผ่านทางโค้ง
  4. ขับรถย้อนศร

 

16. ท่านขับรถคันสีเหลือง จากรูปรถของท่านถูกรถของนาย ก. คันสีแดง ชนบริเวณสี่แยกที่ไม่มีสัญญาณไฟจราจร

ข้อสอบ ใบขับขี่, สถานการณ์อันตราย

  1. ท่านผิด เพราะไม่ลดความเร็วในรถขณะขับผ่านทางร่วมทางแยก
  2. นาย ก. เป็นฝ่ายผิด เพราะกลับรถในบริเวณทางร่วมทางแยก
  3. ท่านเป็นฝ่ายผิด เนื่องจากประมาท
  4. ทั้งท่านและนาย ก. ผิด เพราะขับรถโดยประมาท

 

17. รถของท่าน (คันสีเขียว) ชนกับรถของนาย ก. คันสีเหลือง ตรงบริเวณที่ท่านกำลังเลี้ยวขวาเข้าซอย ดังรูป

ข้อสอบ ใบขับขี่, สถานการณ์อันตราย

  1. ท่านเป็นฝ่ายผิด เพราะขับล้ำเข้าในช่องทางรถสวน
  2. ฝ่ายนาย ก. เป็นฝ่ายผิด เพราะไม่ยอมให้รถเลี้ยวเข้าซอยไปก่อน
  3. ท่านเป็นฝ่ายผิด เพราะไม่ได้ให้สัญญาณเลี้ยวขวา
  4. ฝ่ายนาย ก. เป็นฝ่ายผิด เพราะไม่ลดความเร็วของรถขณะขับผ่านทางร่วมทางแยก

 

18. สมมติว่าในขณะที่ท่านรอข้ามถนนได้เห็นเหตุการณ์รถตู้ส่งของมีคนนั่ง 2 คนถูกรถเก๋งชนท้ายด้านขวา ทำให้รถตู้หมุน 3 รอบ คนขับรถตู้กระเด็นออกจากตัวรถ ศีรษะฟาดพื้นถนนเสียชิวิตถามว่า เพราะเหตุใดคนขับรถตู้จึงกระเด็นออกจากตัวรถ

  1. รถตู้ถูกชนอย่างแรงจนหมุนเหวี่ยงคนขับให้กระเด็นออกจากตัวรถ
  2. รถเก๋งชนท้ายรถตู้ในมุมเฉียง ๆ ด้านขวา จึงทำให้รถตู้หมุนอย่างแรง
  3. คนขับรถเก๋งคาดเข็มขัดนิรภัย ส่วนคนขับรถตู้ไม่ได้คาดเข็มขัดนิรภัย
  4. คนขับรถเก๋งขับรถด้วยความเร็วสูง ส่วนรถตู้ขับช้า ๆ จึงถูกชนอย่างแรง

 

19. สมมติว่า นาย ก. มีโปรแกรมขับรถตู้พาครอบครัวจากกรุงเทพฯไปท่องเที่ยวจังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยออกเดินทางในเวลา 02.00 น. คาดว่าจะไปถึงจังหวัดแม่ฮ่องสอนในเวลาประมาณ 20.00 น. เมื่อขับรถติดต่อกันเป็นเวลา 12 ชั่วโมง ปรากฏว่ารถเสียหลักแฉลบลงข้างทางชนต้นไม้ เป็นเหตุครอบครัวของนาย ก.ได้รับบาดเจ็บหลายคน ท่านพอจะสันนิษฐานได้หรือไม่ว่า อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นเนื่องมาจากสาเหตุใด

  1. นาย ก. หลับในขณะขับรถ
  2. นาย ก. และคนในครอบครัวของนาย ก. หลับใน
  3. นาย ก. ไม่ชำนาญเส้นทาง
  4. ข้อ ก. และ ข้อ ค. ถูก

 

20. ข้อใดเป็นสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงที่สุดที่เกิดขึ้นกับรถที่ขับช่องขวาสุด

  1. ถูกรถในช่องทางขับข้ามเกาะกลางมาชนประสานงา
  2. ขับชนท้ายรถคันที่ขับอยู่ข้างหน้า
  3. ขับชนท้ายรถที่กำลังเลี้ยวกลับรถ
  4. หลบรถที่ขับตัดหน้าลงข้างทาง

 

21. เมื่อท่านจะขับรถผ่านบริเวณที่เป็นสี่แยกเล็ก ๆ ดังรูป ท่านคาดการณ์ว่าจะมีเหตุการณ์ใดบ้างที่เกิดขึ้นกับท่าน
ข้อสอบ ใบขับขี่, สถานการณ์อันตราย

  1. น่าจะมีรถพุ่งออกจากซอยซ้ายมือมาตัดหน้าท่าน
  2. น่าจะมีรถพุ่งออกจากซอยขวามือเลี้ยวขวาตัดหน้าท่าน
  3. น่าจะมีรถสวนฝั่งตรงข้ามท่านเลี้ยวขวาตัดหน้าท่าน
  4. เป็นไปได้ทุกข้อ

ขอบคุณข้อมูลจาก: Driving license Quiz

เฉลย
1. 1
2. 2
3. 1
4. 2
5. 4
6. 4
7. 2
8. 3
9. 2
10. 4
11. 4
12. 4
13. 3
14. 1
15. 1
16. 2
17. 1
18. 3
19. 4
20. 3
21. 4

ติวเข้ม 52 ข้อสอบที่ควรรู้ก่อนไปทำใบขับขี่

อ่านข้อสอบครบ ทำใบขับขี่ผ่านแน่นอน

สำหรับใครที่กำลังไปสอบทำใบขับขี่ ทำใบขับขี่ออนไลน์ ทำใบขับขี่ใหม่ หรือต้องการต่ออายุใบขับขี่ อยากทดสอบความรู้ด้านกฏจราจร ก่อนไปต่อใบขับขี่ 2564 มาลองทำข้อสอบกันก่อน จะไปผ่านง่ายๆ และไม่ต้องเสียเวลาไปสอบใหม่กันค่ะ

1) การขับรถผ่านทางร่วมทางแยกต้องปฏิบัติอย่างไร
ก. ปฏิบัติตามสัญญาณไฟจราจรหรือกฎจราจรอย่างเคร่งครัด
ข. เมื่อพบป้ายเตือนทางร่วมทางแยกให้ขับรถด้วยความเร็วปกติ
ค. หากไม่มีสัญญาณไฟจราจร ให้รถคันที่ใหญ่กว่าผ่านทางร่วมทางแยกไปก่อน
ง. เมื่อพบป้ายเตือนสัญญาณไฟบริเวณทางร่วมทางแยกให้ขับรถไปตามปกติ

2) ผู้ขับขี่ต้องการเลี้ยวรถต้องปฏิบัติอย่างไร
ก. ชะลอรถและเปิดไฟเลี้ยวก่อนถึงทางเลี้ยวไม่น้อยกว่า 30 เมตร
ข. เปิดไฟเลี้ยวก่อนถึงทางเลี้ยว 20 เมตร
ค. หยุดรถเพื่อเตรียมตัวเลี้ยว
ง. เร่งความเร็วก่อนเลี้ยว

3) การหยุดรถบริเวณทางแยกผู้ขับขี่ต้องปฏิบัติอย่างไร
ก. ยุดทับเส้นแนวหยุด
ข. หยุดหลังเส้นแนวหยุด
ค. หยุดเลยเส้นแนวหยุด
ง. หยุดเลยป้ายหยุด

4) บริเวณใดห้ามแซง
ก. ทางตรง
ข. ทางที่ปลอดภัย
ค. ทางโล่ง
ง. ทางโค้งรัศมีแคบ

5) การจอดรถต้องจอดให้ห่างจากขอบทางไม่เกินกี่เซนติเมตร
ก. ห่างไม่เกิน 35 เซนติเมตร
ข. ห่างไม่เกิน 30 เซนติเมตร
ค. ห่างไม่เกิน 25 เซนติเมตร
ง. ห่างไม่เกิน 40 เซนติเมตร

6) การขับรถแซงรถคันหน้าต้องแซงด้านขวามือ ยกเว้นกรณีใดที่สามารถแซงด้านซ้ายมือได้
ก. เมื่อรถที่จะถูกแซงกำลังเลี้ยวขวา หรือให้สัญญาณว่าจะเลี้ยวขวา
ข. แซงรถคันอื่นทางด้านซ้ายในทางเดินรถช่องทางเดียว
ค. แซงรถคันอื่นในช่องทางขวาของรถที่ถูกแซง
ง. แซงรถคันอื่นทางด้านซ้ายขณะรถวิ่งบนสะพาน

7) รถในข้อใดที่สามารถนำมาใช้ในทางได้
ก. รถที่ไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียนของทางราชการกำหนด
ข. รถที่จดทะเบียน และเสียภาษีแล้ว
ค. รถที่ขาดต่อภาษี
ง. รถที่แจ้งเลิกใช้ตลอดไป

8) รถในข้อใด ห้ามนำมาใช้ในทาง
ก. รถที่มีสภาพไม่มั่นคงแข็งแรง
ข. รถที่ติดแผ่นป้ายทะเบียนของทางราชการกำหนด
ค. รถที่จดทะเบียนและเสียภาษีแล้ว
ง. รถที่อุปกรณ์ส่วนควบครบถ้วน

9) เขตปลอดภัย หมายความว่าอย่างไร
ก. พื้นที่มีเครื่องหมายแสดงไว้ให้ผู้ขับขี่เห็นว่าปลอดภัยขับต่อไปได้
ข. เขตที่ผู้ขับขี่สามารถนำรถผ่านเข้าไปได้
ค. พื้นที่ในทางเดินรถที่มีเครื่องหมายแสดงไว้ให้เห็นได้ชัดเจนทุกเวลาสำหรับ ให้คนเดินเท้าที่ข้ามทางหยุดรอ หรือให้คนที่ขึ้นหรือลงจากรถหยุดรอก่อนจะข้ามทางต่อไป
ง. เขตที่คนเดินเท้าสามารถข้ามทางได้โดยไม่ต้องหยุดรอ

10) รถในข้อใดที่สามารถนำมาใช้ในทางเดินรถได้
ก. รถที่มีเสียงดังกว่าเกณฑ์ที่ทางราชการกำหนด
ข. รถที่มีสิ่งลากถูไปบนทางเดินรถ
ค. รถที่มีล้อไม่ใช่ยาง
ง. รถที่มีเสียงเครื่องยนต์ดังในระดับ 80 เดซิเบล

11) สัญญาณจราจรไฟสีแดงที่ทำเป็นรูปกากบาทเฉียงอยู่เหนือช่องเดินรถ ห้ามมิให้ผู้ขับขี่ขับรถอย่างไร
ก. จอดรถในช่องเดินรถนั้น
ข. หยุด และจอดรถในช่องเดินรถนั้น
ค. ขับรถในช่องเดินรถนั้น
ง. หยุดรถในช่องเดินรถนั้น

12) เมื่อพนักงานจราจรยืน และเหยียดแขนซ้ายออกไปเสมอระดับไหล่ ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถมาจากทางด้านไหนของพนักงานจราจรจะต้องหยุดรถ

ก. ด้านข้าง
ข. ด้านหน้าและด้านหลัง
ค. ด้านหลัง
ง. ด้านหน้า

13) เมื่อพนักงานจราจรยืน และเหยียดแขนขวาท่อนล่างตั้งฉากกับแขนท่อนบน และตั้งฝ่า มือขึ้น ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถมาจากทางด้านไหนของพนักงานจราจรจะต้องหยุดรถ

ก. ด้านหลัง
ข. ด้านหน้า และด้านหลัง
ค. ด้านหน้า 
ง. ด้านข้าง และด้านหลัง

14) การขับรถผ่านทางร่วมทางแยกที่มีสัญญาณจราจรไฟกระพริบสีแดง.ผู้ขับขี่ต้องปฏิบัติอย่างไร
ก. หยุดรถหลังเส้นให้รถหยุด เมื่อเห็นว่าปลอดภัย และไม่เป็นการกีดขวางการจราจรจึงให้ขับรถต่อไปด้วยความระมัดระวัง
ข. ลดความเร็วของรถลง และผ่านทางเดินรถนั้นไปด้วยความระมัดระวัง
ค. จอดรถด้วยความระมัดระวัง
ง. เพิ่มความเร็วของรถและผ่านทางเดินรถนั้นไปโดยเร็ว

15) การขับรถผ่านทางร่วมทางแยกที่มีสัญญาณจราจรไฟกระพริบสีเหลือง.ผู้ขับขี่ต้องปฏิบัติอย่างไร
ก. ลดความเร็วของรถลง และผ่านทางเดินรถนั้นไปด้วยความระมัดระวัง
ข. หยุดรถหลังเส้นให้รถหยุด เมื่อเห็นว่าปลอดภัย และไม่เป็นการกีดขวางการจราจรจึงขับรถต่อไปด้วยความระมัดระวัง
ค. จอดรถ
ง. เพิ่มความเร็วของรถ และผ่านทางเดินรถนั้นไปโดยเร็ว

16) ผู้ขับขี่ต้องขับรถในทางเดินรถด้านซ้าย ยกเว้นกรณีใดสามารถเดินรถทางขวาหรือ ล้ำกึ่งกลางของทางเดินรถได้
ก. ไม่มีรถสวนทางมา
ข. ทางเดินรถกว้างมาก
ค. ด้านซ้ายของทางเดินรถมีสิ่งกีดขวาง
ง. ทางเดินรถมีน้ำท่วมขัง

17) การให้สัญญาณด้วยแขน โดยผู้ขับขี่ยื่นแขนขวาตรงออกไปนอกตัวรถเสมอระดับไหล่และโบกมือขึ้นลงหลาย ครั้ง.หมายถึงผู้ขับขี่นั้นต้องการอะไร

ก. หยุดรถ
ข. เลี้ยวขวา
ค. จะลดความเร็วของรถ
ง. จอดรถ

18) ผู้ขับขี่ต้องขับรถให้ห่างจากรถคันหน้าเท่าไร
ก. ในระยะที่จะสามารถหยุดรถได้โดยปลอดภัยเมื่อมีความจำเป็น
ข. ไม่น้อยกว่า 2 เมตร
ค. ไม่น้อยกว่า 1 เมตร
ง. ไม่น้อยกว่า 3 เมตร

19) ผู้ขับขี่ต้องการจะเลี้ยวซ้ายต้องขับรถในช่องเดินรถด้านซ้ายก่อนถึงทางเลี้ยวกี่เมตร
ก. ไม่น้อยกว่า 15 เมตร
ข. ไม่น้อยกว่า 20 เมตร
ค. ไม่น้อยกว่า 25 เมตร
ง. ไม่น้อยกว่า 30 เมตร

20) ผู้ขับขี่ต้องเปิดไฟหน้าหรือไฟท้ายรถ ให้รถคันอื่นเห็นได้ในระยะไม่น้อยกว่าเท่าใด
ก. 150 เมตร
ข. 100 เมตร
ค. 60 เมตร
ง. 120 เมตร

21) ในการขับรถสวนทางกัน ผู้ขับขี่ต้องปฏิบัติอย่างไร
ก. แซงเข้าไปในช่องเดินรถประจำทางได้
ข. ให้ขับรถชิดด้านซ้าย
ค. ในทางที่มีสิ่งกีดขวางอยู่ข้างหน้าไม่ต้องหยุดรอให้รถที่สวนมาผ่านไปได้
ง. ในทางแคบที่ไม่อาจสวนกันได้ ผู้ขับรถคันที่เล็กกว่า ต้องหยุดชิดด้านซ้ายให้รถคันที่ใหญ่กว่าไปก่อน

22) ห้ามมิให้ผู้ขับขี่รถแซงเพื่อขึ้นหน้ารถคันอื่นขณะที่มีหมอก.ฝุ่น ฝน หรือควัน จนไม่อาจเห็นทางข้างหน้าได้ในระยะ เท่าใด
ก. 60 เมตร
ข. 90 เมตร
ค. 70 เมตร
ง. 80 เมตร

23) บริเวณใดห้ามขับรถแซงรถคันอื่น
ก. ทางโค้งรัศมีแคบ
ข. ในกรณีที่ทางเดินรถด้านซ้ายมีสิ่งกีดขวาง
ค. 150 เมตร จากทางร่วมทางแยก
ง. แซงด้านซ้ายในขณะที่มีรถรอเลี้ยวขวา

24) บริเวณใดสามารถกลับรถได้
ก. ทางเดินรถที่มีเครื่องหมายห้ามกลับรถ
ข. บริเวณบนสะพาน
ค. ระยะ 150 เมตร จากทางราบของเชิงสะพาน
ง. เขตปลอดภัย

25) เมื่อผู้ขับขี่พบเครื่องหมาย “เลี้ยวซ้ายผ่านตลอด” ผู้ขับขี่ควรปฏิบัติอย่างไร?
ก. ลดความเร็วของรถลงและเลี้ยวซ้ายผ่านไปได้ทันที
ข. หยุดรอจนกว่าจะได้รับสัญญาณไฟเขียวจึงเลี้ยวซ้ายไปได้
ค. หยุดรอให้คนข้ามถนนและรถที่มาจากทางด้านขวามือขับผ่านไปก่อนแล้วจึงเลี้ยวซ้ายผ่านไป
ง. เลี้ยวซ้ายผ่านไปได้ทันที

26) ผู้ใดไม่มีหน้าที่ให้สัญญาณจราจรตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก.พ.ศ.2522
ก. ผู้ขับขี่รถยนต์
ข. พนักงานจราจร
ค. ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์
ง. คนเดินเท้า

27) ผู้ขับขี่ปฏิบัติตามข้อใดไม่ถูกต้อง
ก. ลดความเร็วเมื่อถึงวงเวียน
ข. ลดความเร็วเมื่อถึงที่คับขัน
ค. จอดรถบริเวณทางร่วมทางแยก
ง. ลดความเร็วเมื่อเห็นคนกำลังข้ามทาง

28) บริเวณใดแซงได้
ก. ทางร่วมทางแยก
ข. สะพานเดินรถทางเดียว
ค. ทางโค้งรัศมีแคบ
ง. บนพื้นทางที่มีเครื่องหมายจราจรให้แซงได้

29) เมื่อจะเปลี่ยนช่องทางหรือแซงรถทุกครั้งต้องปฏิบัติอย่างไร
ก. รีบเปลี่ยนช่องทางโดยเร็ว
ข. ต้องให้สัญญาณไฟหรือสัญญาณแตร
ค. แซงขึ้นหน้าแล้วเหยียบเบรกทันที
ง. รีบเร่งเครื่องแซงโดยเร็ว

30) บริเวณใดจอดรถได้
ก. ที่มีป้ายห้ามหยุดรถ
ข. ในอุโมงค์
ค. ทางร่วมทางแยก
ง. ลานจอดรถในห้างสรรพสินค้า

31) การขับรถตามข้อใดปฏิบัติได้ถูกต้อง
ก. ขับรถลักษณะผิดปกติวิสัย
ข. แซงรถในอุโมงค์
ค. ขับรถในลักษณะกีดขวางการจราจร
ง. ขับรถเร็วไม่เกินอัตราที่กฎหมายกำหนด

32) เมื่อถึงทางรถไฟและมีรถไฟกำลังแล่นผ่าน ผู้ขับขี่ต้องปฏิบัติอย่างไร
ก. หยุดรถให้ห่างจากทางรถไฟไม่น้อยกว่า 5 เมตร
ข. ขับรถผ่านไปโดยเร็ว
ค. ให้เสียงสัญญาณแตรเตือนและขับผ่านไปได้
ง. หยุดรอสัญญาณไฟและเปิดไฟฉุกเฉิน

33) บริเวณใดใช้สัญญาณเสียงแตรได้
ก. โรงเรียน
ข. สถานที่ราชการ
ค. สวนสาธารณะ
ง. โรงพยาบาล

34) เมื่อเกิดอุบัติเหตุผู้ขับขี่หลบหนีจะมีผลอย่างไร
ก. ไม่มีผล เพราะไม่ใช่ฝ่ายผิด
ข. ให้สันนิษฐานว่าผู้นั้นเป็นผู้กระทำผิด
ค. มีผลให้เป็นฝ่ายถูก
ง. จะได้รับการกันไว้เป็นพยาน

35) สัญญาณเสียงแตรใช้ได้เมื่อใด
ก. ใช้ได้เมื่อรถคันหน้าขับช้า
ข. ใช้ได้ตามสะดวก
ค. ใช้ตลอดเวลา
ง. ใช้ได้เมื่อจำเป็นเพื่อป้องกันอุบัติเหตุ

36) ขณะขับขี่รถต้องเว้นระยะห่างรถคันหน้าเท่าใด
ก. ในระยะที่ปลอดภัย
ข. 13 เมตร
ค. 50 เมตร
ง. 3 ช่วงตัวรถ

37) ก่อนเลี้ยวรถต้องเข้าช่องทางที่จะเลี้ยวและเปิดไฟเลี้ยวก่อนเลี้ยวรถไม่น้อยกว่ากี่เมตร
ก. 3 เมตร
ข. 30 เมตร
ค. 10 เมตร
ง. 15 เมตร

38) ผู้ขับรถที่ดื่มสุราเมื่อวัดระดับแอลกอฮอล์ในลมหายใจจะต้องไม่เกินเท่าใด
ก. ไม่เกิน 60 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์
ข. ไม่เกิน 70 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์
ค. ไม่เกิน 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์
ง. ไม่เกิน 80 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์

39) ขณะขับรถตรวจพบแอลกอฮอล์ในร่างกายเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดมีโทษอย่างไร
ก. จำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับตั้งแต่ 1,000 ถึง 50,000 บาท
ข. จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับตั้งแต่ 5,000 ถึง 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ค. ปรับไม่เกิน 5,000 บาท
ง. ปรับไม่เกิน 10,000 บาท

40) ในเขตกรุงเทพ เขตเมืองพัทยา หรือเขตเทศบาล ต้องขับรถด้วยความเร็วเท่าไร
ก. ไม่เกิน 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ข. ไม่เกิน 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ค. ไม่เกิน 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ง. ไม่เกิน 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

41) นอกเขตกรุงเทพ เขตเมืองพัทยา หรือเขตเทศบาล ต้องขับรถด้วยความเร็วเท่าไร
ก. ไม่เกิน 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ข. ไม่เกิน 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ค. ไม่เกิน 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ง. ไม่เกิน 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

42) ในการให้สัญญาณไฟเลี้ยว จะต้องให้ผู้ขับรถคันอื่นเห็นได้ในระยะเท่าไร
ก. ไม่น้อยกว่า 10 เมตร
ข. ไม่น้อยกว่า 15 เมตร
ค. ไม่น้อยกว่า 60 เมตร
ง. ไม่น้อยกว่า 30 เมตร

43) ผู้ขับขี่ซึ่งจะเลี้ยวรถจะต้องให้สัญญาณมืออย่างไร
ก. ให้สัญญาณมือด้วยมือซ้ายเท่านั้น
ข. ให้สัญญาณมือได้ทั้งมือซ้ายและมือขวา
ค. ไม่ต้องให้สัญญาณมือใด ๆ ทั้งสิ้น
ง. ให้สัญญาณมือด้วยมือขวาเท่านั้น

44) บริเวณทางร่วมทางแยก และมีเครื่องหมายห้ามกลับรถแต่เจ้าพนักงานจราจรอนุญาตให้กลับรถได้ผู้ขับขี่ ต้องปฏิบัติอย่างไร
ก. กลับรถได้
ข. กลับรถได้ถ้าไม่มีเครื่องหมายห้ามกลับรถ
ค. กลับรถไม่ได้
ง. กลับรถได้ถ้าไม่ใช่ทางร่วมทางแยก

45) ผู้ขับขี่ต้องการกลับรถต้องปฏิบัติอย่างไร
ก. ขับรถช่องทางไหนก็ได้
ข. ดูป้ายจราจรที่อนุญาตให้กลับรถและเข้าช่องทางให้ถูกต้อง
ค. เข้าช่องทางที่มีลุกศรบนพื้นถนนให้ตรงไป
ง. กลับรถที่บริเวณเส้นทะแยงเหลือง

46) ข้อใดปฏิบัติถูกต้อง
ก. รถจักรยานยนต์ต้องขับในช่องเดินรถด้านซ้ายสุด
ข. รถบรรทุกคนโดยสารต้องขับในช่องเดินรถด้านขวาสุด
ค. รถบรรทุกสิ่งของต้องขับในช่องเดินรถด้านขวาสุด
ง. การเปลี่ยนช่องเดินรถไปทางด้านขวาหรือซ้ายไม่ต้องดูกระจกด้านซ้ายหรือขวา

47) ในช่องทางเดินรถตั้งแต่สองช่องทางขึ้นไปในทิศทางเดียวกัน ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ ต้องปฏิบัติอย่างไร
ก. ต้องขับรถชิดด้านขวาสุด
ข. ต้องขับรถชิดด้านซ้ายสุด
ค. ต้องขับรถคล่อมเส้นแบ่งช่องทางเดินรถ
ง. ต้องขับรถอยู่ในช่องทางที่ให้ขับตรงไป

48) ผู้ใดได้รับยกเว้นไม่ต้องสวมหมวกนิรภัยขณะโดยสารรถจักรยานยนต์
ก. ภิกษุ สามเณร
ข. คนโดยสาร
ค. เด็ก
ง. คนขับรถ

49) ข้อใดเปิดไฟฉุกเฉินได้ถูกต้อง
ก. รถเสียหรือรถเกิดอุบัติเหตุ
ข. เปิดได้ตลอดเวลา
ค. มีหมอก
ง. ผ่านทางแยก

50) ในการบรรทุกสิ่งของ.ผู้ขับขี่ต้องปฏิบัติอย่างไร
ก. บรรทุกได้กว้างกว่าความกว้างของตัวรถข้างละ 1 เมตร
ข. บรรทุกยื่นพ้นตัวรถด้านหลังไม่เกิน 2.50 เมตร
ค. บรรทุกสูงโดยวัดจากสิ่งของที่บรรทุกได้เกิน 5 เมตร
ง. บรรทุกยื่นพ้นตัวรถด้านหน้าไม่เกิน 2.50 เมตร

51) การลากจูงรถที่ไม่สามารถใช้พวงมาลัยหรือเบรกได้ควรทำอย่างไร
ก. ใช้คนดันไป
ข. ใช้รถดันไป
ค. ใช้สายพ่วงลากจูงไป
ง. ใช้วิธีการยกหน้าหรือยกท้ายลากไป

52) รถที่มีความเร็วช้า ผู้ขับขี่จะต้องปฏิบัติอย่างไร
ก. ขับรถได้ทั้งด้านซ้ายและด้านขวา
ข. ขับรถชิดขอบด้านขวา
ค. ขับรถที่บริเวณไหล่ทาง
ง. ขับรถชิดขอบด้านซ้าย

สำหรับใครที่ทำใบขับขี่ใหม่ ทำใบขับขี่ออนไลน์ หรือต่ออายุใบขับขี่ สอบใบขับขี่ผ่าน แต่ว่ามีรถคันเดิมอยู่แล้ว กำลังตัดสินใจจะซื้อรถคันใหม่ แต่งบไม่พอ! มาขายรถกับ CARRO Express สิ! หรือจะ Inbox มาขอรายละเอียดได้ที่ Facebook -> CARRO Thailand และ Add Line สอบถามรายละเอียดได้เช่นกัน ที่ @carrothai

อีกหนึ่งบริการใหม่! CARRO Automall แหล่งรวมรถมือสองคุณภาพเยี่ยม ผ่านการตรวจสภาพแบบ Double Check รับประกันพร้อมโอนทุกคัน ฟรี! ค่าจัดโอน มีให้เลือกชมเพียบ เปิดบริการทุกวัน อยากซื้อรถคุณภาพเยี่ยม มาซื้อกับ CARRO Automall สิ!

หรือสนใจรถรุ่นไหนอยู่ แต่ยังหาที่ถูกใจไม่ได้ เรายินดีหาให้! เพียงแค่กรอกเบอร์โทรศัพท์ ชื่อยี่ห้อ / รุ่นรถ ที่คุณต้องการก็ได้เช่นกันครับ อีกทั้งยังสามารถ Inbox เข้ามาสอบถามรายละเอียดได้ที่ Facebook -> CARRO Automall – รถบ้านมือสอง โทร. 02-508-8690 หรือทาง Line @carroautomall

ขอบคุณข้อมูลจาก: Driving license Quiz

อ่านต่อในหมวดอื่นๆ

ติวเข้ม 78 ข้อสอบ ทำใบขับขี่ พร้อมเฉลย

สำหรับใครที่กำลังไปสอบทำใบขับขี่ ทำใบขับขี่ออนไลน์ ทำใบขับขี่ใหม่ หรือต้องการต่ออายุใบขับขี่ อยากทดสอบความรู้ด้านกฏจราจร ก่อนไปต่อใบขับขี่ 2564 มาลองทำข้อสอบกันก่อน จะไปผ่านง่ายๆ และไม่ต้องเสียเวลาไปสอบใหม่กันค่ะ

ข้อสอบใบขับขี่ หมวดกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ จำนวนข้อสอบทั้งหมด 78 ข้อ ดังนี้

1) ในขณะขับรถ ผู้ขับขี่ต้องมีเอกสารใดใช้คู่กับใบอนุญาตขับรถ
ก. บัตรประจำตัวประชาชน
ข. สำเนาทะเบียนบ้าน
ค. สำเนาภาพถ่ายใบคู่มือจดทะเบียนรถ
ง. บัตรประกันสังคม

2) ผู้ขับรถกระทำผิดตามกฎหมายจราจรทางบก และได้รับใบสั่งจากเจ้าพนักงานจราจรต้องไปติดต่อชำระค่าปรับภายในกี่วัน
ก. 10 วัน
ข. 7 วัน
ค. 15 วัน
ง. 30 วัน

3) เมื่อใบอนุญาตขับรถสูญหาย หรือชำรุดต้องยื่นขอรับใบแทนต่อนายทะเบียนภายในกี่วัน
ก. 20 วัน
ข. 30 วัน
ค. 15 วัน
ง. 45 วัน

4) ผู้ขับรถไม่มีใบอนุญาตขับรถ มีความผิดอย่างไร
ก. จำคุกไม่เกิน 1 ปี
ข. จำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ค. ปรับไม่เกิน 2,000 บาท
ง. ปรับไม่เกิน 5,000 บาท

5) ใบอนุญาตขับรถชนิดชั่วคราวมีอายุกี่ปี
ก. 1 ปี
ข. 2 ปี
ค. 3 ปี
ง. 4 ปี

6) ผู้ขับรถใช้ใบอนุญาตขับรถที่สิ้นอายุมีความผิดอย่างไร
ก. ปรับไม่เกินห้าพันบาท
ข. จำคุกไม่เกินสามเดือน
ค. ปรับไม่เกินสองพันบาท
ง. จำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน

7) รถที่ไม่เสียภาษีประจำปีภายในกำหนดจะต้องเสียเงินเพิ่มเท่าใด
ก. ร้อยละ 1 ต่อเดือน
ข. ร้อยละ 1 ต่อปี
ค. ร้อยละ 10 ต่อเดือน
ง. ร้อยละ 20 ต่อปี

8) การโอนรถต้องแจ้งต่อนายทะเบียนภายในกี่วัน
ก. 15 วัน
ข. 45 วัน
ค. 20 วัน
ง. 30 วัน

9) การเปลี่ยนสีรถต้องแจ้งต่อนายทะเบียนภายในกี่วัน
ก. 7 วัน
ข. 10 วัน
ค. 15 วัน
ง. 20 วัน

10) การต่ออายุใบอนุญาตขับรถส่วนบุคคล (5 ปี) สามารถต่อก่อนล่วงหน้าได้เท่าใด
ก. 3 เดือน
ข. 4 เดือน
ค. 6 เดือน
ง. 5 เดือน

11) รถยนต์ที่มีอายุครบกี่ปีต้องนำไปตรวจสภาพรถก่อนเสียภาษีประจำปี
ก. 5 ปี
ข. 6 ปี
ค. 3 ปี
ง. 7 ปี

12) การย้ายรถต้องแจ้งต่อนายทะเบียนภายในกี่วัน
ก. 30 วัน
ข. 15 วัน
ค. 25 วัน
ง. 20 วัน

13) รถจักรยานยนต์ที่มีอายุครบกี่ปี ต้องนำไปตรวจสภาพรถก่อนเสียภาษีประจำปี
ก. 1 ปี
ข. 3 ปี
ค. 2 ปี
ง. 5 ปี

14) ตาม พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ.2522 “รถ” หมายความว่า
ก. รถยนต์ รถจักรยานยนต์ รถพ่วง.รถบดถนน รถแทรกเตอร์ และรถอื่นที่กำหนดในกฎกระทรวง 
ข. รถยนต์ รถจักรยานยนต์ รถพ่วง.
ค. รถยนต์ รถจักรยานยนต์ รถพ่วง.รถบดถนน รถแทรกเตอร์
ง. รถยนต์ รถจักรยานยนต์ รถพ่วง.รถแทรกเตอร์

15) ตาม พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ.2522 “รถยนต์” หมายความว่า
ก. รถสาธารณะ รถยนต์บริการ และรถยนต์ส่วนบุคคล รถแท็กซี่
ข. รถสาธารณะ รถยนต์บริการ และรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล
ค. รถจักรยานยนต์สาธารณะ รถยนต์บริการ และรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล
ง. รถสาธารณะ รถยนต์บริการ และรถยนต์ส่วนบุคคล

16) ตาม พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ.2522 “รถจักรยานยนต์” หมายความว่า
ก. รถที่เดินรถกำลังเครื่องยนต์หรือกำลังไฟฟ้าและมีล้อไม่เกินสองล้อ ถ้ามีถ่วงข้างมีล้ออีกไม่เกินหนึ่งล้อ 
ข. รถที่เดินรถกำลังเครื่องยนต์หรือกำลังไฟฟ้าและมีล้อไม่เกินสองล้อ
ค. รถที่เดินรถกำลังเครื่องยนต์มีล้อไม่เกินสองล้อ
ง. รถที่เดินรถกำลังเครื่องยนต์หรือกำลังไฟฟ้าและมีล้อเกินสองล้อ

17) ข้อใดไม่ใช่ “รถยนต์รับจ้างสาธารณะ”
ก. รถแท็กซี่
ข. รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล
ค. รถจักรยานยนต์รับจ้างสาธารณะ
ง. รถสามล้อรับจ้างสาธารณะ

18) ตาม พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ.2522 “รถยนต์บริการ” หมายความว่า
ก. รถยนต์ให้เช่าซึ่งบรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคน
ข. รถยนต์บรรทุกคนโดยสารซึ่งบรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคน
ค. รถยนต์บรรทุกคนโดยสารหรือให้เช่าซึ่งบรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคน
ง. รถยนต์บรรทุกคนโดยสารหรือให้เช่าซึ่งบรรทุกคนโดยสารเกินเจ็ดคน

19) ข้อใดคือ “รถยนต์ส่วนบุคคล”
ก. รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล
ข. รถแท็กซี่
ค. รถสามล้อรับจ้างสาธารณะ
ง. รถยนต์ป้ายแดง

20) รถที่นำมาใช้บนถนนต้องมีลักษณะอย่างไร
ก. รถที่โคมไฟหน้าไม่ติด
ข. รถที่มีเสียงดัง 90 เดซิเบล A
ค. รถที่มีควันดำ 55 เปอร์เซ็นต์
ง. รถที่จดทะเบียนและชำระภาษีเรียบร้อยแล้ว

21) รถที่สามารถนำมาจดทะเบียนต้องมีลักษณะอย่างใด
ก. รถต้องมีอุปกรณ์ส่วนควบถูกต้อง และผ่านการตรวจสภาพรถ
ข. รถต้องมีอุปกรณ์ส่วนควบถูกต้อง
ค. รถที่ซื้อจากศูนย์จำหน่ายรถทั่วไป
ง. รถที่ผ่านการตรวจสภาพรถจาก.สภานตรวจภาพรถเอกชน

22) รถต่อไปนี้ได้รับการยกเว้นไม่ต้องจดทะเบียน
ก. รถของสำนักพระราชวังที่จดทะเบียน และมีเครื่องหมายตามระเบียบที่เลขาธิการพระราชวังกำหนด
ข. รถสำหรับเฉพาะพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ค. รถของกรมตำรวจที่จดทะเบียน และมีเครื่องหมายตามระเบียบที่อธิบดีกำหนด
ง. ทุกข้อถูกต้อง

23) รถต่อไปนี้ได้รับการยกเว้นไม่ต้องจดทะเบียน
ก. รถที่ผู้ผลิตหรือประกอบเพื่อจำหน่ายหรือที่ผู้นำเข้าเพื่อจำหน่าย ผลิต ประกอบหรือนำเจ้า และยังมิได้จำหน่ายให้แก่ผู้อื่น
ข. รถที่เจ้าของรถแจ้งการไม่ใช้รถ
ค. รถจักรยานยนต์นำมาใช้ในหมู่บ้าน
ง. ข้อ ก. และ ข. ถูกต้อง

24) รถต่อไปนี้ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม เว้นแต่ค่าธรรมเนียมแผ่นป้ายทะเบียนรถ
ก. รถพยาบาลที่มิใช่เป็นรถสำหรับรับจ้าง
ข. รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล
ค. รถดับเพลิง
ง. ข้อ ก. และ ค. ถูกต้อง

25) รถต่อไปนี้ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม เว้นแต่ค่าธรรมเนียมแผ่นป้ายทะเบียนรถ
ก. รถตู้ส่วนบุคคล
ข. รถของมูลนิธิ
ค. รถของวัด
ง. รถของกระทรวง.ทบวง.กรม เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด สุขาภิบาล กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา และราชการส่วนท้องถิ่นที่เรียกชื่ออย่างอื่น ทั้งนี้ เฉพาะรถที่มิได้ใช้ในทางการค้าหรือกำไร

26) รถต่อไปนี้ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม เว้นแต่ค่าธรรมเนียมแผ่นป้ายทะเบียนรถ
ก. รถบดถนนของเอกชน
ข. รถบดของรัฐวิสาหกิจ
ค. รถแทรกเตอร์ของเอกชน
ง. รถแทรเตอร์ส่วนบุคคล

27) รถต่อไปนี้ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม เว้นแต่ค่าธรรมเนียมแผ่นป้ายทะเบียนรถ
ก. รถของสภากาชาดไทย
ข. รถแทรกเตอร์ของรัฐวิสาหกิจ
ก. รถของบุคคลในคณะผู้แทนทางการทูต
ง. ถูกทุกข้อ

28) รถต่อไปนี้ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม เว้นแต่ค่าธรรมเนียมแผ่นป้ายทะเบียนรถ
ก. รถดับเพลิงของ.อบต.
ข. รถตู้ส่วนบุคคล
ค. รถตู้รับจ้าง
ง. รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล

29) ประสงค์จดทะเบียนรถต้องยื่นคำขอที่ใด
ก. ยื่นคำขอต่อนายทะเบียนที่สำนักงานขนส่งจังหวัดทุกแห่ง
ข. ยื่นคำขอต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่ที่ตนมีภูมิลำเนา
ค. ยื่นคำขอต่อนายทะเบียนที่กรมการขนส่งทางบก
ง. ยื่นคำขอต่อนายทะเบียนตามสถานที่ตั้งที่จำหน่ายรถนั้น ๆ

30) รถที่จดทะเบียนแล้ว หากประสงค์จะเปลี่ยนสีรถต้องดำเนินการอย่างไร
ก. ดำเนินการเปลี่ยนสีได้ทันที
ข. แจ้งนายทะเบียนภายใน 15 วัน
ค. แจ้งนายทะเบียนภายใน 30 วัน
ง. แจ้งนายทะเบียนภายใน 7 วัน

31) หากประสงค์เปลี่ยนแปลงตัวถังรถต้องดำเนินการอย่างไร
ก. เปลี่ยนแปลงแล้ว จึงจะมาดำเนินการที่สำนักงานขนส่ง
ข. ขออนุญาตนายทะเบียน ตามภูมิลำเนาที่จดทะเบียนรถ
ค. ต้องแจ้งเปลี่ยนแปลงภายใน 15 วัน
ง. ไม่ต้องแจ้งการเปลี่ยนแปลงเพราะไม่ใช่สาระสำคัญของตัวรถ

32) ผู้ตรวจการตาม พ.ร.บ. รถยนต์ คือใคร
ก. เจ้าหน้าที่กรมการขนส่งทางบก.ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมแต่งตั้ง
ข. เจ้าหน้าที่กรมการขนส่งทางบก
ค. เจ้าหน้าที่ บริษัทขนส่ง.จำกัด
ง. เจ้าหน้าที่กรมการขนส่งทางบก.และเจ้าหน้าที่ตำรวจ

33) หากประสงค์จะย้ายรถ เจ้าของรถต้องแจ้งย้ายรถต่อนายทะเบียนภายในกี่วัน
ก. 30 วัน
ข. 7 วัน
ค. 15 วัน
ง. 60 วัน

34) กรณีเจ้าของรถมีภารกิจไม่สามารถมาดำเนินแจ้งย้ายรถต่อนายทะเบียนภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด ข้อใดถูกต้อง
ก. มีความผิด ต้องชำระค่าปรับแจ้งย้ายเกินกำหนด
ข. ไม่เสียค่าปรับ เนื่องจากจำเป็น
ค. รถไม่สามารถแจ้งย้ายได้
ง. ผิดทุกข้อ

35) หากประสงค์จะโอนรถเจ้าของรถต้องแจ้งโอนรถต่อนายทะเบียนภายในกี่วัน
ก. 60 วัน
ข. 25 วัน
ค. 30 วัน
ง. 15 วัน

36) กรณีเจ้าของรถมีภารกิจไม่สามารถมาดำเนินแจ้งโอนรถต่อนายทะเบียนภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด ข้อใดถูกต้อง
ก. ไม่เสียค่าปรับ เนื่องจากจำเป็น
ข. มีความผิด ต้องชำระค่าปรับโอนเกินกำหนด
ค. รถไม่สามารถแจ้งย้ายได้
ง. ผิดทุกข้อ

37) ข้อใดผิด
ก. รถยนต์ส่วนบุคคล นำมาใช้รับจ้างได้
ข. รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล ห้ามนำมาใช้ในการรับจ้างบรรทุกผู้โดยสาร
ค. รถจักรยานยนต์สาธารณะ ใช้เพื่อการรับจ้างบรรทุกผู้โดยสาร
ง. รถจักรยานยนต์สาธารณะ ใช้ในกิจการส่วนตัวได้

38) นาย ก.นำรถจักรยานยนต์สาธารณะของตนเองรับส่งภรรยาไปตลาดได้หรือไม่อย่างไร
ก. ได้ เพราะภรรยานาย ก.เป็นคนในครอบครัว
ข. ได้ เพราะรถจักรยานยนต์สาธารณะสามารถนำมาใช้กิจการส่วนตัวของเจ้าของรถได้
ค. ไม่ได้ เพราะรถจักรยานยนต์สาธารณะต้องนำมารับจ้างเท่านั้น
ง. ไม่ได้ เพราะ รถจักรยานยนต์สาธารณะห้ามใช้ในกิจการส่วนบุคคลของเจ้าของรถ

39) รถประเภทใดต่อไปนี้ใช้รับจ้างบรรทุกคนโดยสารได้
ก. รถจักรยานยนต์สาธารณะ
ข. รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล
ค. รถยนต์ส่วนบุคคล
ง. รถตู้ส่วนบุคคล

40) รถยนต์ ไว้เพื่อขายหรือเพื่อซ่อม (ป้ายแดง) ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ ขับได้ในช่วงเวลาใด
ก. ขับได้ตั้งแต่เวลา 08.00 น. ถึง.16.00 น.
ข. ขับได้ตลอดเวลา
ค. ห้ามขับเพราะยังไม่ได้เสียภาษี
ง. ขับได้ระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นจนถึงพระอาทิตย์ตก

41) รถที่ไม่ได้เสียภาษีภายในเวลาที่กำหนดต้องชำระเงินเพิ่มร้อยละเท่าใด
ก. ร้อยละ 1 บาทต่อเดือน
ข. ร้อยละ 1 บาทต่อปี
ค. ร้อยละ 10 บาทต่อเดือน
ง. ร้อยละ 10 บาทต่อปี

42) รถที่ค้างชำระภาษีประจำปีติดต่อกันครบสามปี จะมีผลตามกฎหมายอย่างใด
ก. ทะเบียนระงับ
ข. สามารถนำรถไปตรวจสภาพและต่อภาษีประจำปีได้
ค. สามารถกระทำได้ตามข้อ 1 และ 2
ง. สามารถนำรถไปแจ้งไม่ใช้ตลอดไปและจดทะเบียนใหม่ได้

43) ข้อใดถูกต้อง
ก. รถยนต์อายุการใช้งานครบ 5 ปี ประสงค์จะต่อภาษีประจำปีต้องนำรถไปตรวจที่สถานตรวจสภาพเอกชน
ข. รถยนต์อายุการใช้งานครบ 7 ปี ประสงค์จะต่อภาษีประจำปีต้องนำรถไปตรวจที่สถานตรวจสภาพเอกชน
ค. รถจักรยานยนต์อายุการใช้งานครบ 7 ปี ประสงค์จะต่อภาษีประจำปีต้องนำรถไปตรวจที่สถานตรวจสภาพเอกชน
ง. รถยนต์อายุการใช้งานครบ 10 ปี ประสงค์จะต่อภาษีประจำปีต้องนำรถไปตรวจที่สถานตรวจสภาพเอกชน

44) ข้อใดถูกต้อง
ก. รถจักรยานยนต์อายุการใช้งานครบ 5 ปี ประสงค์จะต่อภาษีประจำปีต้องนำรถไปตรวจที่สถานตรวจสภาพเอกชน
ข. รถยนต์อายุการใช้งานครบ 5 ปี ประสงค์จะต่อภาษีประจำปีต้องนำรถไปตรวจที่สถานตรวจสภาพเอกชน
ค. รถจักรยานยนต์อายุการใช้งานครบ 7 ปี ประสงค์จะต่อภาษีประจำปีต้องนำรถไปตรวจที่สถานตรวจสภาพเอกชน
ง. รถยนต์อายุการใช้งานครบ 10 ปี ประสงค์จะต่อภาษีประจำปีต้องนำรถไปตรวจที่สถานตรวจสภาพเอกชน

45) ข้อใดถูกต้องในขณะขับรถ
ก. ผู้ขับรถต้องมีสำเนาใบอนุญาตขับรถ และใบคู่มือจดทะเบียนรถ
ข. ผู้ขับรถต้องมีใบอนุญาตขับรถ และใบคู่มือจดทะเบียนรถ
ค. ผู้ขับรถต้องมีใบอนุญาตขับรถ และสำเนาภาพถ่ายใบคู่มือจดทะเบียนรถ
ง. ผู้ขับรถต้องมีสำเนาใบอนุญาตขับรถ และสำเนาใบคู่มือจดทะเบียนรถ

46) ข้อใดถูกต้อง
ก. ใบอนุญาตขับรถยนต์สาธารณะ ใช้แทน ใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลได้
ข. ใบอนุญาตขับรถยนต์สาธารณะ ใช้แทน ใบอนุญาตขับรถยนต์ส่วนบุคคลได้
ค. ใบอนุญาตขับรถยนต์สาธารณะ ใช้แทน ใบอนุญาตขับรถยนต์สามล้อส่วนบุคคลได้
ง. ใบอนุญาตขับรถยนต์สามล้อสาธารณะ ใช้แทน ใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลได้

47) ข้อใดถูกต้อง
ก. ใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์สาธารณะ ใช้แทน ใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลได้
ข. ใบอนุญาตขับรถยนต์สามล้อสาธารณะ ใช้แทน ใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลได้
ค. ใบอนุญาตขับรถยนต์สาธารณะ ใช้แทน ใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลได้
ง. ใบอนุญาตขับรถยนต์สาธารณะ ใช้แทน ใบอนุญาตขับรถยนต์สามล้อส่วนบุคคลได้

48) ข้อใดถูกต้อง
ก. ใบอนุญาตขับรถยนต์สามล้อสาธารณะ ใช้แทน ใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลได้
ข. ใบอนุญาตขับรถยนต์สาธารณะ ใช้แทน ใบอนุญาตขับรถยนต์สามล้อส่วนบุคคลได้
ค. ใบอนุญาตขับรถยนต์สาธารณะ ใช้แทน ใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลได้
ง. ใบอนุญาตขับรถยนต์สามล้อสาธารณะ ใช้แทน ใบอนุญาตขับรถยนต์สามล้อส่วนบุคคลได้

49) ใบอนุญาตขับรถส่วนบุคคลชั่วคราวมีอายุกี่ปี
ก. 1 ปี
ข. 2 ปี
ค. 3 ปี
ง. 5 ปี

50) หากประสงค์จะเปลี่ยนประเภทใบอนุญาตขับรถยนต์ส่วนบุคคลชั่วคราวเป็นประเภทส่วนบุคคลชนิด 5 ปี ข้อใดถูกต้อง
ก. สามารถเปลี่ยนได้ล่วงหน้า 30 วัน
ข. สามารถเปลี่ยนได้ล่วงหน้า 60 วัน
ค. สามารถเปลี่ยนได้ล่วงหน้า 1 เดือน
ง. สามารถเปลี่ยนได้ล่วงหน้า 3 เดือน

51) ใบอนุญาตขับรถส่วนบุคคลชนิด 5 ปีต่ออายุล่วงหน้ากี่เดือน
ก. 1 เดือน
ข. 3 เดือน
ค. 4 เดือน
ง. 6 เดือน

52) นาย ก.เกิดที่จังหวัดเชียงใหม่ ประสงค์ขอรับใบอนุญาตขับรถยนต์ส่วนบุคคลชั่วคราว จะต้องไปดำเนินการที่ใด
ก. สำนักงานขนส่งจังหวัด และสำนักงานขนส่งจังหวัดสาขา ทุกแห่ง
ข. สำนักงานขนส่งจังหวัดเชียงใหม่ ยกเว้น กรุงเทพมมหานคร
ค. สำนักงานขนส่งจังหวัดเชียงใหม่ ยกเว้น สำนักงานขนส่งจังหวัดยะลา สาขาอำเภอเบตง
ง. ผิดทุกข้อ

53) ผู้ขอรับใบอนุญาตขับรถยนต์ชั่วราวต้องมีอายุกี่ปี
ก. ไม่ต่ำกว่า 15 ปี บริบูรณ์
ข. ไม่ต่ำกว่า 16 ปี บริบูรณ์
ค. ไม่ต่ำกว่า 17 ปี บริบูรณ์
ง. ไม่ต่ำกว่า 18 ปี บริบูรณ์

54) นายชาย พิการไม่มีนิ้วมือข้างซ้าย ประสงค์ขอรับใบอนุญาตขับรถยนต์ชั่วคราวได้หรือไม่
ก. ไม่ได้ เพราะ นายชายเป็นผู้มีร่างกายพิการ
ข. ไม่ได้ เพราะ ขัดต่อระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ค. ได้ เพราะ หากนายชายมีบัตรผู้พิการ
ง. ได้ เพราะ ไม่เป็นผู้มีร่างกายพิการจนเป็นที่เห็นได้ว่าไม่สามารถขับรถได้

55) บุคคลในข้อต่อไปนี้บุคคลใดสามารถขอรับใบอนุญาตขับรถได้
ก. นายชาย ไม่เป็นผู้มีร่างกายพิการจนเป็นที่เห็นได้ว่าไม่สามารถขับรถได้
ข. นางหญิงเป็นบุคคลวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือน
ค. นายดำ เป็นผู้อยู่ระหว่างถูกยึดใบอนุญาต
ง. นางแดง เป็นวัณโรค

56) นายแดง.ประสงค์ขอรับใบอนุญาตขับรถยนต์สาธารณะ ข้อใดถูกต้อง
ก. นายแดงไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือน
ข. นายแดง ต้องได้รับใบอนุญาตขับรถมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี
ค. นายแดง ไม่เป็นผู้มีร่างกายพิการจนเป็นที่เห็นได้ว่าไม่สามารถขับรถได้
ง. ถูกทุกข้อ

57) ผู้ขอรับใบอนุญาตขับรถยนต์สาธารณะต้องมีคุณสมบัติอย่างไร
ก. ต้องรู้จักถนนและทางหลวงในจังหวัดที่ขอรับใบอนุญาตขับรถพอสมควร
ข. อายุครบ 20 ปีบริบูรณ์
ค. มีประสบการณ์ในการขับรถมาแล้วอย่างน้อย 5 ปี
ง. ต้องมีใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์และใบอนุญาตขับรถยนต์

58) ข้อใดถูกต้อง
ก. มีสัญชาติไทย
ข. ต้องรู้จักถนนและทางหลวงในจังหวัดที่ขอรับใบอนุญาตขับรถพอสมควร
ค. ไม่เป็นผู้ติดสุรายาเมาหรือยาเสพติดให้โทษ
ง. ถูกทุกข้อ

59) หากปรากฏภายหลังว่าเป็นผู้ขาดคุณสมบัติในการขอรับใบอนุญาตขับรถ ท่านจะปฏิบัติอย่างไร
ก. แจ้งให้นายทะเบียนเพื่อเพิกถอนใบอนุญาตและนำใบอนุญาตขับรถที่ถูกเพิกถอนส่งคืนกรมการขนส่งทางบก
ข. แจ้งให้นายทะเบียนเพื่อเพิกถอนใบอนุญาต
ค. ใช้ใบอนุญาตขับรถนั้นต่อไป
ง. นำใบอนุญาตขับรถที่ถูกเพิกถอนส่งคืน

60) กรณีถูกพักใช้ใบอนุญาตขับรถมีสิทธิอุทธรณ์ได้ภายในกี่วัน
ก. 30 วัน
ข. 15 วัน
ค. 45 วัน
ง. 60 วัน

61) กรณีถูกเพิกถอนใบอนุญาตขับรถมีสิทธิอุทธรณ์ได้ภายในกี่วัน
ก. 45 วัน
ข. 30 วัน
ค. 15 วัน
ง. 60 วัน

62) กรณีถูกพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับรถมีสิทธิอุทธรณ์ได้ภายในกี่วัน
ก. 15 วัน
ข. 30 วัน
ค. 60 วัน
ง. 90 วัน

63) ผู้ได้รับใบอนุญาตขับรถที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตขับรถต้องส่งคืนใบอนุญาตขับรถให้แก่นายทะเบียนภายในกี่วัน
ก. 30 วัน
ข. 15 วัน
ค. 60 วัน
ง. 90 วัน

64) ใบอนุญาตขับรถสูญหายต้องแจ้งนายทะเบียนภายในกี่วันนับแต่วันทราบเหตุนั้น
ก. 15 วัน
ข. 30 วัน
ค. 60 วัน
ง. 90 วัน

65) ใบอนุญาตขับรถชำรุดในสาระสำคัญต้องแจ้งนายทะเบียนภายในกี่วันนับแต่วันทราบเหตุนั้น
ก. 30 วัน
ข. 15 วัน
ค. 60 วัน
ง. 90 วัน

66) เมื่อกระทำผิดตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ และได้รับคำสั่งผู้ตรวจการรถยนต์ให้ไปรายงานตัวผู้ขับรถจะต้องไปรายงานตัว ต่อนายทะเบียนภายในกี่วัน
ก. 7 วัน
ข. 3 วัน
ค. 10 วัน
ง. 15 วัน

67) กรณีใดผู้ขับรถยนต์สาธารณะสามารถปฎิเสธไม่รับจ้างบรรทุกคนโดยสารได้
ก. ผู้โดยสารเป็นบุคคลวิกลจริต
ข. ผู้โดยสารเมาสุรา
ค. ผู้โดยสารนำทุเรียนส่งกลิ่นขึ้นมาบนรถ
ง. ถูกทุกข้อ

68) ผู้ขับรถยนต์สาธารณะต้องปฏิบัติอย่างไร
ก. พาผู้โดยสารไปยังสถานที่ที่ว่าจ้างตามเส้นทางที่ตกลงกันไว้
ข. ไม่สูบบุหรี่

ก. พาผู้โดยสารไปยังสถานที่ที่ว่าจ้างตามเส้นทางที่สั้นที่สุด
ง. ถูกทุกข้อ

67) ผู้ขับรถสาธารณะต้องปฏิบัติตนอย่างไร
ก. เปิดวิทยุเสียงดังเพื่อให้ผู้โดยสารฟังแก้เครียด
ข. พูดคุยเสียงดังรบกวนผู้อื่น
ค. ไม่ทำตนน่ารำคาญ
ง. สูบบุหรี่แก้เครียดเวลารถติด

68) ผู้ขับรถสาธารณะต้องปฏิบัติตนอย่างไร
ก. สูบบุหรี่แก้เครียดเวลารถติด
ข. พูดคุยเสียงดัง
ค. ใส่เสื้อยืดขับรถ
ง. ไม่กล่าววาจาไม่สุภาพ เสียดสี

69) ผู้ขับรถสาธารณะต้องปฏิบัติตนอย่างไร
ก. ไม่ก้าวร้าว ดูหมิ่นผู้โดยสาร
ข. พูดคุยเสียงดัง
ค. ใส่เสื้อยืดขับรถ
ง. สูบบุหรี่แก้เครียดเวลารถติด

70) ผู้ขับรถสาธารณะต้องปฏิบัติตนอย่างไร
ก. สูบบุหรี่แก้เครียดเวลารถติด
ข. ตักเตือนผู้โดยสารเมื่อแต่งกายไม่สุภาพ
ค. ใส่เครื่องแบบพนักงานขับรถในเส้นทางที่เจ้าหน้าที่ตั้งด่านตรวจประจำ
ง. ไม่ดื่มสุราของมึนเมา

71) ผู้ขับรถสาธารณะต้องปฏิบัติตนอย่างไร
ก. เปิดวิทยุเสียงดังเพื่อให้ผู้โดยสารฟังแก้เครียด
ข. ไม่เสพยาเสพติดให้โทษ
ค. จอดรถตามความต้องการข้องผู้ดดยสาร
ง. สูบบุหรี่แก้เครียดเวลารถติด

72) ผู้ขับรถสาธารณะต้องปฏิบัติตนอย่างไร
ก. ไม่เสพวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท
ข. ขับด้วยความเร็วเมื่อผู้โดยสารเร่งรีบ
ค. ตามใจผู้โดยสารเพื่อให้ถึงจุดหมายให้เร็วที่สุด
ง. สูบบุหรี่แก้เครียดเวลารถติด

73) ผู้ขับรถสาธารณะต้องปฏิบัติตนอย่างไร
ก. ชวนผู้โดยสารคุยเพื่อความเป็นกันเอง
ข. เมื่อง่วงก็ขออนุญาตผู้โดยสารจอดนอน
ค. ไม่ขับรถในขณะหย่อนความสามารถ
ง. แจกหมายเลขโทรศัพท์เพื่อหาลูกค้า

74) ผู้ใดขับรถโดยไม่ได้รับใบอนุญาตขับรถมีโทษอย่างไร
ก. จำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 
ข. ปรับไม่เกิน 1,000 บาท
ค. จำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ง. ปรับไม่เกิน 2,000 บาท

75) ผู้ใดขับรถโดยใบอนุญาตขับรถสิ้นอายุมีโทษอย่างไร
ก. ปรับไม่เกิน 1,000 บาท
ข. จำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ค. จำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ง. ปรับไม่เกิน 2,000 บาท

76) นาย ก.ใช้รถยนต์มาแล้วเป็นปีที่ 6 ประสงค์จะเสียภาษีรถประจำปีต้องใช้เอกสารใดในการชำระภาษีรถ
ก. ใบรับรองการผ่านตรวจสภาพเอกชน , พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ, คู่มือจดทะเบียนรถ
ข. ใบรับรองการผ่านตรวจสภาพเอกชน , พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
ค. ใบรับรองการผ่านตรวจสภาพเอกชน, คู่มือจดทะเบียนรถ
ง. ใบรับรองการผ่านตรวจสภาพเอกชน , พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ, สำเนาคู่มือจดทะเบียนรถ

77) เมื่อรถทะเบียนระงับ หากประสงค์จะจดทะเบียนรถใหม่ต้องนำรถไปตรวจสภาพรถที่ใด
ก. สำนักงานขนส่งจังหวัดในภูมิลำเนาที่ประสงค์จดทะเบียนรถ
ข. สถานตรวจสภาพเอกชนในภูมิลำเนาที่ประสงค์จดทะเบียนรถ
ค. สำนักงานขนส่งจังหวัดหรือสาขาในภูมิลำเนาที่ประสงค์จดทะเบียนรถ
ง. ไม่สามารถจดทะเบียนรถได้เนื่องจากทะเบียนระงับแล้ว

78) ประกันภัยชนิดใดใช้ประกอบการต่ออายุภาษีประจำปี
ก. ประกันภัยชนิด 1
ข. ประกันภัยชนิด 2
ค. ประกันภัยชนิด 3
ง. ประกันภัยชนิด คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ

สำหรับใครที่ทำใบขับขี่ใหม่ ทำใบขับขี่ออนไลน์ หรือต่ออายุใบขับขี่ สอบใบขับขี่ผ่าน แต่ว่ามีรถคันเดิมอยู่แล้ว กำลังตัดสินใจจะซื้อรถคันใหม่ แต่งบไม่พอ! มาขายรถกับ CARRO Express สิ! หรือจะ Inbox มาขอรายละเอียดได้ที่ Facebook -> CARRO Thailand และ Add Line สอบถามรายละเอียดได้เช่นกัน ที่ @carrothai

อีกหนึ่งบริการใหม่! CARRO Automall แหล่งรวมรถมือสองคุณภาพเยี่ยม ผ่านการตรวจสภาพแบบ Double Check รับประกันพร้อมโอนทุกคัน ฟรี! ค่าจัดโอน มีให้เลือกชมเพียบ เปิดบริการทุกวัน อยากซื้อรถคุณภาพเยี่ยม มาซื้อกับ CARRO Automall สิ!

หรือสนใจรถรุ่นไหนอยู่ แต่ยังหาที่ถูกใจไม่ได้ เรายินดีหาให้! เพียงแค่กรอกเบอร์โทรศัพท์ ชื่อยี่ห้อ / รุ่นรถ ที่คุณต้องการก็ได้เช่นกันครับ อีกทั้งยังสามารถ Inbox เข้ามาสอบถามรายละเอียดได้ที่ Facebook -> CARRO Automall – รถบ้านมือสอง โทร. 02-508-8690 หรือทาง Line @carroautomall

ขอบคุณข้อมูลจาก: Driving license Quiz

อ่านต่อในหมวดอื่นๆ

เอกสาร-ใบขับขี่

การจัดเตรียมเอกสารต่อใบขับขี่

สำหรับคนที่เคยต่อใบขับขี่มาหลายครั้งอาจจะยังพอจำได้ว่าเอกสารที่ต้องเตรียมมีอะไรบ้าง แต่ 5 ปีต่อหนึ่งครั้งก็อาจจะมีหลงมีลืมกันไปบ้าง วันนี้ CARRO จึงขอเสนอวิธีการต่อใบขับขี่ทีละขั้นตอนง่ายๆ ดังนี้

ต่อใบขับขี่ล่วงหน้าได้ 60-90 วัน

สำหรับผู้ที่ใบขับขี่ใกล้หมดอายุสามารถขอต่อใบขับขี่ล่วงหน้าได้ โดยผู้ที่ถือใบอนุญาตขับรถชั่วคราว 1 ปี สามารถขอต่ออายุล่วงหน้าก่อนใบขับขี่หมดอายุไม่เกิน 60 วัน และจะได้รับเป็นใบอนุญาตขับรถชั่วคราว 5 ปี

ส่วนผู้ที่มีใบอนุญาตขับรถชนิด 5 ปี สามารถต่ออายุล่วงหน้าก่อนหมดอายุได้ไม่เกิน 90 วัน และจะได้รับเป็นใบอนุญาตขับขี่ชนิด 5 ปี เช่นเดิมค่ะ

เอกสาร ต่อ ใบขับขี่

การขอรับใบขับขี่รถส่วนบุคคลชนิด 5 ปี จากเดิมแบบชั่วคราว 2 ปี

หลักฐานที่ต้องเตรียม

1.ใบขับขี่ส่วนบุคคลเดิมแบบชั่วคราว 1 ปี
2.บัตรประชาชนตัวจริง และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน 1 ฉบับ (เซ็นสำเนาถูกต้อง พร้อมระบุเบอร์โทรศัพท์ติดต่อ)

  • กรณีชาวต่างชาติ ให้ยื่นใบสำคัญบัตรประจำตัวคนต่างด้าว หรือหนังสือเดินทาง (Passport) พร้อมสำเนา และใบสำคัญถิ่นที่อยู่หรือใบอนุญาตการทำงาน (Work Permit) ซึ่งยังไม่สิ้นอายุพร้อมสำเนา

3.ใบรับรองแพทย์ (ออกก่อนยื่นคำขอไม่เกิน 1 เดือน) ดูตัวอย่าง ใบรับรองแพทย์ที่ถูกต้อง

สำหรับใครที่อบรมข้างนอกมาแล้วสามารถนำ ใบรับรองการอบรม (กรณีผู้ทำการอบรมนอกกรมขนส่ง) มาประกอบด้วย

ส่วนขั้นตอนดำเนินการอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม คลิก > https://th.carro.co/blog/driving-license/

หากใบขับขี่หมดอายุเกิน 1 ปี แต่ไม่เกิน 3 ปี ต้องเข้ารับการทดสอบข้อเขียน แต่หากหมดอายุเกิน 3 ปีขึ้นไป จะต้องเข้ารับการอบรม, ทดสอบข้อเขียน และทดสอบขับรถใหม่ทั้งหมด

 

การขอรับใบขับขี่รถส่วนบุคคลชนิด 5 ปี จากเดิมชนิด 5 ปี

หลักฐานที่ต้องเตรียม

1.ใบขับขี่ส่วนบุคคลเดิมชนิด 5 ปี
2.บัตรประชาชนตัวจริง

ส่วนขั้นตอนดำเนินการอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม คลิก > https://th.carro.co/blog2/driving-license/

หากใบขับขี่หมดอายุเกิน 1 ปี แต่ไม่เกิน 3 ปี ต้องเข้ารับการทดสอบข้อเขียน แต่หากหมดอายุเกิน 3 ปีขึ้นไป จะต้องเข้ารับการทดสอบข้อเขียนใหม่, การสอบขับรถใหม่ และเพิ่มใบรับรองแพทย์

 

อัตราค่าธรรมเนียมต่อใบอนุญาตขับรถยนต์ชั่วคราว 5 ปี

ค่าธรรมเนียม: 500 บาท
ค่าถ่ายรูปและพิมพ์บัตร: 100 บาท
ค่าคำขอ: 5 บาท
รวมทั้งสิ้น: 605 บาท

ระยะเวลาการดำเนินการต่อใบอนุญาตขับขี่จะเสร็จสิ้นภายในวันเดียว ยกเว้นกรณีใบขับขี่เดิมหมดอายุเกิน 3 ปีขึ้นไป จะต้องเข้ารับการอบรมและทดสอบตามที่กำหนดด้วย

เครดิตข้อมูล: auto.sanook.com,กรมการขนส่งทางบก

Police-Can-Seize-Driver-License

เรื่องนี้มีการถกเถียงกันมานานแล้ว สำหรับ “ใบขับขี่” หรือ “ใบอนุญาตขับรถ” ที่ต้องเป็นของคู่กายนักขี่ หรือนักบิดกันทุกคน หากเมื่อเจ้าพนักงานตำรวจ ต้องการขอตรวจใบขับขี่ เมื่อคุณทำผิดกฎจราจร หรือ ตรวจวัดแอลกอฮอล์ อะไรก็แล้วแต่ คุณต้องแสดงให้ตำรวจดู …

แต่หลายท่านอาจทราบกันไปแล้วว่า พ.ร.บ.จราจรทางบก (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2562 ที่ได้ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาตั้งแต่เมื่อเดือนสิงหาคม 2562 ที่ผ่านมา มีผลบังคับใช้ในวันที่ 20 ก.ย. 2562 มีบางมาตราที่บัญญัติ ให้ยกเลิกความในมาตราเดิม และบัญญัติใหม่ โดยมีสาระสำคัญในการใช้อำนาจของเจ้าพนักงานจราจร นั่นหมายถึง ตำรวจยังสามารถ “ยึด” และ “ไม่ยึด” ใบขับขี่ของคุณได้อยู่

แต่เงื่อนไขว่า ตำรวจสามารถยึดได้ เพราะอะไร และยึดใบขับขี่ไม่ได้ เพราะเหตุใดนั้น มาอ่านคำตอบกัน …

Police-Can-Seize-Driver-License

พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 140

มาตรา 140

เมื่อปรากฏแก่เจ้าพนักงานจราจร ไม่ว่าพบด้วยตนเอง หรือโดยการใช้เครื่องอุปกรณ์ หรือโดยวิธีการอื่นใดว่า ผู้ขับขี่ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้หรือตามกฎหมายอื่นอันเกี่ยวกับรถหรือการใช้ทาง ที่เป็นความผิดที่มีโทษปรับสถานเดียว หรือมีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนและมีโทษปรับ เจ้าพนักงานจราจรจะว่ากล่าวตักเตือนหรือออกใบสั่งให้ผู้ขับขี่ผู้นั้นชำระค่าปรับตามที่เปรียบเทียบก็ได้

ในกรณีเจ้าพนักงานจราจรที่ออกใบสั่งไม่พบตัวผู้ขับขี่ ให้ติด ผูก หรือแสดงใบสั่งไว้ที่รถที่ผู้ขับขี่สามารถเห็นได้ง่าย หากไม่สามารถติด ผูก หรือแสดงใบสั่งไว้ที่รถได้ไม่ว่าด้วยเหตุใด ให้ส่งใบสั่งพร้อมด้วยพยานหลักฐานโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปยังภูมิลำเนาของเจ้าของรถหรือผู้ครอบครองรถเพื่อให้ชำระค่าปรับภายในระยะเวลาที่กำหนดในใบสั่งนั้น ทั้งนี้ ตามระเบียบที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติกำหนด

ให้นำความในวรรคสองมาใช้บังคับกับกรณีที่เจ้าพนักงานจราจรพบการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้หรือตามกฎหมายอื่นอันเกี่ยวกับรถหรือการใช้ทาง แต่ไม่อาจทราบตัวผู้ขับขี่ด้วยโดยอนุโลม

เกณฑ์การกำหนดจำนวนค่าปรับตามที่เปรียบเทียบและแบบของใบสั่งตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติประกาศกำหนด

Police-Can-Seize-Driver-License

มาตรา 140/2

ในกรณีที่เจ้าพนักงานจราจรได้ว่ากล่าวตักเตือนหรือออกใบสั่งให้ผู้ขับขี่ผู้ใด ตามมาตรา 140 แล้ว หากเจ้าพนักงานจราจรเห็นว่าผู้ขับขี่ผู้นั้นอยู่ในสภาพที่หากให้ขับรถต่อไป อาจเป็นอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สินของตนเองหรือผู้อื่น ให้เจ้าพนักงานจราจรมีอำนาจ ยึดใบอนุญาตขับขี่ของผู้ขับขี่ดังกล่าว หรือบันทึกการยึดใบอนุญาตขับขี่ด้วยวิธีการทางข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ หรือระงับการใช้รถเป็นการชั่วคราวเพื่อมิให้ผู้นั้นขับรถ และให้เจ้าพนักงานจราจรคืนใบอนุญาตขับขี่หรือยกเลิกการบันทึกการยึดใบอนุญาตขับขี่ด้วยวิธีการทางข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ หรือยอมให้ผู้ขับขี่ขับรถได้ เมื่อผู้ขับขี่น้ันอยู่ในสภาพที่สามารถขับรถต่อไปได้หรือเมื่อเจ้าพนักงานจราจรแน่ใจว่าผู้ขับขี่จะไม่ขับรถ ในขณะที่อยู่ในสภาพดังกล่าว ทั้งนี้ ตามระเบียบที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติและอธิบดีกรมการขนส่งทางบกร่วมกันกำหนด

มาตรา 150

“ผู้ใด
(1) ไม่ปฏิบัติตามระเบียบหรือประกาศที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติกำหนดตามมาตรา 8 วรรคสอง หรือมาตรา 14 วรรคสอง
(2) ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติกำหนดตามมาตรา 13 วรรคสอง
(3) ไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 18
(4) ขัดคำสั่งหัวหน้าเจ้าพนักงานจราจร ซึ่งสั่งตามมาตรา 113 หรือ
(5) ขัดคำสั่งเจ้าพนักงานจราจรซึ่งสั่งตามมาตรา 140/2 หรือมาตรา 140/3 วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท

ในการแสดงใบอนุญาตขับขี่ในขณะขับรถ มาตรา 31/1 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.จราจรทางบก (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2562 บัญญัติว่า “ในขณะขับรถในทางเดินรถ ผู้ขับขี่ต้องมีใบอนุญาตขับขี่อยู่กับตัวและต้องแสดงต่อเจ้าพนักงานจราจรเมื่อขอตรวจ ในกรณีที่ผู้ขับขี่แสดงใบอนุญาตขับขี่ด้วยวิธีการทางข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ หรือสำเนาภาพถ่ายใบอนุญาตขับขี่ตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด ให้ถือว่าผู้ขับขี่มีใบอนุญาตขับขี่อยู่กับตัวตามวรรคหนึ่งแล้ว

ดังนั้นการแสดงใบอนุญาตขับขี่ในขณะขับรถ ผู้ขับขี่สามารถแสดงใบอนุญาตขับขี่ด้วยวิธีข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ หรือสำเนาภาพถ่ายใบอนุญาตขับขี่ได้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ

Police-Can-Seize-Driver-License

ส่วนใบขับขี่ เป็น “ทรัพย์สิน” ที่คนอื่นไม่สามารถเอาไปได้โดยไม่มีสิทธิ ย่อมมีความผิดในฐานลักทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๓๓๔ ซึ่งวางหลักว่า “ผู้ใดเอาทรัพย์ของผู้อื่นไป ย่อมมีความผิดฐานลักทรัพย์” โดยการเอาไปในที่นี้ ต้องเป็นการเอาไปโดยไม่มีสิทธิ หรือไม่มีอำนาจตามกฎหมาย ดังนั้น หากผู้เอาไปซึ่งทรัพย์สินมีสิทธิหรืออำนาจตามกฎหมาย ผู้เอาไป ย่อมไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์

ตามกฎหมายไทย เจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ย่อมเป็นผู้ที่มีอำนาจแห่งกรรมสิทธิ์ในการจำหน่าย จ่าย โอน ทรัพย์สิน รวมถึงทำลายทรัพย์สินนั้นได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๓๓๖ บัญญัติไว้ว่า

“มาตรา ๑๓๓๖ ภายในบังคับแห่งกฎหมาย เจ้าของทรัพย์สินมีสิทธิใช้สอยและจำหน่ายทรัพย์สินของตนและได้ซึ่งดอกผลแห่งทรัพย์สินนั้น กับทั้งมีสิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ และมีสิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้นโดยมิชอบด้วยกฎหมาย”

Police-Can-Seize-Driver-License

สรุป

ตำรวจ ยังสามารถใช้อำนาจในการขอเรียกดูใบขับขี่ได้ ตามมาตรา 140 และมาตรา 140/2 ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ ซึ่งจะทำได้ 2 ทาง คือ

1) ตักเตือน

2) ออกใบสั่งค่าปรับตามข้อหา

ส่วนใบขับขี่ เป็นดุลยพินิจของตำรวจ ซึ่งอาจจะเรียกเก็บ ในกรณีที่คุณไม่พร้อมสำหรับการชับรถ (แต่ต้องออกใบสั่งก่อนยึดด้วย)

ตำรวจ จะบันทึกข้อมูลความผิดเขียนลงใบสั่ง แล้วส่งต้นขั้วไปสถานีตำรวจที่ออกใบสั่ง เพื่อทำการตัดแต้มผู้ขับรถ โดยใบขับขี่จะมีทั้งหมด 12 แต้ม ถ้าถูกตัดครบ 12 แต้ม จะถูกพักใช้ใบขับขี่ 90 วัน ผู้ขับขี่ต้องไปอบรมการขับขี่ และสอบอีกครั้ง ที่กรมการขนส่งทางบก

ถ้าผ่านจะได้รับ 12 แต้มคืน ภายใน 3 ปี แต่ถ้าผู้ขับขี่ถูกพักใช้ใบขับขี่ถึงครั้งที่ 3 จะทำให้ถูกพักใช้ใบขับขี่ 1 ปี ระหว่าง 1 ปีนี้ ถ้าทำผิดอีกเป็นครั้งที่ 4 จะถูกเพิกถอนใบขับขี่ทันที และถ้าหากผู้ขับขี่ไปทำใบขับขี่ใหม่ ก็จะเป็นการผิดกฎหมายอีกด้วย

ส่วนใครที่อยากขายรถ หรือมีเพื่อนฝูงกำลังหาที่ขายรถอยู่ CARRO เรารับซื้อรถของคุณ สามารถเข้าไปเช็กราคา ตีราคาขายรถก่อนได้ โดยใส่ข้อมูลรถของคุณที่นี่เลย กับ CARRO Express > https://th.carro.co/sell-car/express หรือโทร. 02-508-8425

หรือใครจะ Inbox มาสอบถามก็ได้เช่นกัน ที่ Facebook CARRO Thailand หรือสะดวก Add Line ก็ที่ @Carrothailand หรือคลิกที่นี่ครับ —> เพิ่มเพื่อน

ขอขอบคุณภาพ และข้อมูลบางส่วนจาก

อย่าให้แค่เรื่องการทำใบขับขี่ เป็นเรื่องยากสำหรับคุณ

เพราะปัจจุบันการทำใบขับขี่อาจใช้เวลาทั้งวัน หรือสองถึงสามวันโดยประมาณ เนื่องจากพื้นที่อบรมนั้นมีค่อนข้างจำกัด เมื่อเทียบกับปริมาณผู้ขับขี่ในประเทศบ้านเรา ทำให้รอคิวนานกลายเป็นเรื่องที่เสียเวลาอย่างมาก จนเกิดเป็นความขี้เกียจที่จะไปสอบ แต่สำหรับคนที่มีเวลาน้อยกังวลว่าจะไม่มีเวลาไปสอบใบขับขี่

ไม่ต้องกังวลเพราะทุกปัญหามีทางออกเสมอ เพราะกรมขนส่งมวลชนได้ร่วมมือกับหน่วยงานเอกชนต่างๆ มีการจัดอบรมเพื่อการสอบใบขับขี่ ลดปัญหารอคิวนานเป็นเดือน เพิ่มความสะดวกสบายมากขึ้น โดยมีสถานที่ที่อบรมเพื่อทำใบขับขี่ดังนี้

  • อบรมภาคทฤษฎี กับ สถาบันการศึกษา

รัฐบาลได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยชื่อดังอย่าง รามคำแหง, ธรรมศาสตร์ และราชภัฏสวนดุสิต เป็นต้น เพื่อเปิดอบรมกฏหมายจราจร ไม่จำเป็นต้องไปตามกรมขนส่งมวลชนเพียงอย่างเดียว นับเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับคนที่ไม่ชอบพื้นที่แออัดในกรมขนส่ง อีกทั้งสามารถย่นระยะเวลาในการทำใบขับขี่อีกด้วย แต่แน่นอนว่ามีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมบ้างเล็กน้อย มีรายละเอียด ดังนี้

  1. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เปิดอบรมทุกวันพฤหัสบดี ค่าธรรมเนียมการอบรม 500 บาท
  2. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดอบรมทุกวันเสาร์ ค่าธรรมเนียมอบรม 500 บาท
  3. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต อบรมสัปดาห์ละ 4 วัน วันพฤหัสบดี วันศุกร์ วันเสาร์ และวันอาทิตย์ ค่าธรรมเนียมอบรม 500 บาท
  4. มหาวิทยาลัยรามคำแหง อบรมเดือนละ 1 ครั้งในวันเสาร์ ค่าธรรมเนียมอบรม 400 บาท
  5. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา อบรมเดือนละ 2 ครั้ง วันเสาร์ต้นเดือน และวันอาทิตย์ที่ 3 ของเดือน ค่าธรรมเนียมอบรม 500 บาท
  6. วิทยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเษกกรุงเทพมหานคร อบรมสัปดาห์ละ 2 วัน ทุกวันพุธ และวันพฤหัสบดี ค่าธรรมเนียมอบรม 500 บาท
  • โรงเรียนสอนขับรถ

มีโรงเรียนสอนขับรถยนต์หลายที่ที่มีมาตรฐานได้ตามที่รัฐบาลกำหนด (จนถึงปัจจุบัน) สามารถเรียนขับรถแล้วอบรมต่อได้เลย ประหยัดเวลา ไม่ต้องจองคิว แต่ก็มีค่าใช้จ่ายค่อยข้างแพงกว่าปกติทั่วไปของการสอบทำใบขับขี่ และถึงแม้จะไม่ค่อยมีสาขาในกรุงเทพมากนัก แต่ก็กระจายไปทั่วทั้งประเทศ

ส่วนใครที่สนใจเรียนขับรถกับโรงเรียนสอนขับรถเอกชน ที่กรมการขนส่งทางบกรับรอง สามารถตรวจดูรายชื่อได้ที่ โรงเรียนสอนขับรถเอกชน

หรือ สำนักงานขนส่งจังหวัดที่โรงเรียนสอนขับรถตั้งสถานประกอบการอยู่ในเขตพื้นที่

หรือ กลุ่มมาตรฐานใบอนุญาตและโรงเรียนสอนขับรถ สำนักสวัสดิภาพการขนส่งทางบก หมายเลขโทรศัพท์ 0-2271-8888 ต่อ 6611.

หรือ สำนักงานขนส่งจังหวัดที่โรงเรียนสอนขับรถตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ หรือ กลุ่มมาตรฐานใบอนุญาตและโรงเรียนสอนขับรถ กรมการขนส่งทางบก 0 2271 8622-3

  • จองคิวออนไลน์

แม้ต้องไปอบรมการทำใบขับขี่ที่เดิม แต่ก็ประหยัดเวลาในการไปจองคิวที่กรมขนส่งมากขึ้น ถึงจะรู่ว่าการอบรมของคุณจะเกิดขึ้นในอีกสี่เดือนข้างหน้าแน่นอน แต่ข้อดีคือ รองรับทั้งใบอนุญาตขับรถยนต์, รถจักรยานยนต์ ทั้งผู้ที่ไม่เคยได้รับใบอนุญาตมาก่อน ซึ่งสามารถจองคิวอบรมของสำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-5 ผ่านระบบออนไลน์ได้เลย ที่นี้ หรือดาว์นโหลด คู่มือการใช้งาน จองคิวทำใบขับขี่กับ e-Booking

  • โรงเรียนการขนส่ง

กรมการขนส่งทางบกเปิดสูตรการฝึกหัดขับรถยนต์ โดยเปิดสอนทั้งภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ สถานที่เปิดสอนหลักสูตร ณ อาคาร 8 กรมการขนส่งทางบก โทร. 0-2271-8626 ดูรายละเอียดได้ที่ คลิก

  • อบรมเสริมความรู้ วันเสาร์-อาทิตย์

กรมการขนส่งทางบก จัดโครงการอบรมเสริมความรู้แก่ผู้ขอรับใบอนุญาตขับรถในวันเสาร์และอาทิตย์ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย โดยมีเอกชนร่วมสนับสนุนการนักขับรถปลอดภัย สถานที่อบรมจัดกันที่ กรมการขนส่งทางบก จตุจักร อาคาร 4 ชั้น 3 สามารถสมัครร่วมโครงการฯ ได้กับภาคเอกชนใจดีได้โดย รายละเอียด คลิก ซึ่งจะใช้ระยะเวลาในการอบรม และทดสอบรวม 2 วัน ประกอบด้วย

– วันเสาร์ เป็นการอบรมตามหลักสูตร ประมาณ 5 ชั่วโมงของกรมการขนส่งทางบกให้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายจราจร มารยาทในการขับรถ เทคนิคการขับขี่รถจักรยานยนต์อย่างปลอดภัยในสถานการณ์ต่างๆ การปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อเกิดอุบัติเหตุ และเข้ารับการทดสอบข้อเขียนระบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-exam)

– วันอาทิตย์ ทดสอบขับรถในสนามขับรถโดยมีเจ้าหน้าที่ควบคุม กำกับ ดูแลการอบรมทดสอบให้เป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัยและระเบียบเดียวกับการขอรับใบอนุญาตขับรถในวันเวลาราชการ

อบรมใบขัขขี่

 ตารางอบรมเสริมความรู้ให้กับผู้ขอรับใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์ เดือนมกราคม-กันยายน 2562

  • รุ่นที่ 230 วันที่ 19-20 มกราคม 2562
  • รุ่นที่ 231 วันที่ 26-27 มกราคม 2562
  • รุ่นที่ 232 วันที่ 16-17 มีนาคม 2562
  • รุ่นที่ 233 วันที่ 20-21 เมษายน 2562
  • รุ่นที่ 234 วันที่ 11-12 พฤษภาคม 2562
  • รุ่นที่ 235 วันที่ 15-16 มิถุนายน 2562
  • รุ่นที่ 236 วันที่ 20-21 กรกฏาคม 2562
  • รุ่นที่ 237 วันที่ 17-18 สิงหาคม 2562
  • รุ่นที่ 238 วันที่ 14-15 กันยายน 2562

หรือจะเดินทางไปที่สำนักงานขนส่งใกล้บ้านก็ได้เหมือนกัน แต่เพื่อความรวดเร็วแนะนำให้โทรสอบถาม หรือจองคิวไว้ก่อน จะสะดวกและประหยัดเวลาที่สุด

อย่างไรก็ตาม ทั้ง 5 วิธีก็มีทั้งข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป แต่อย่างน้อยก็ช่วยประหยัดเวลา และลดความน่าเบื่อหน่ายของการไปนั่งรอคิวอบรมใบขับขี่ที่กรมขนส่งได้มากจริงๆค่ะ

 

Source : กรมการขนส่งทางบก PR.DLT.News

 

 

ใบขับขี่

กรมการขนส่งทางบก เตรียมออกใบขับขี่โฉมใหม่รูปแบบ Smart card
ยกระดับสู่มาตราฐานสากล มีความไฉไลอย่างไรบ้างมาดูกัน

 

ใบอนุญาตขับรถแบบใหม่ จะเป็นบัตรพลาสติกที่มีความทนทานกว่าแบบเดิม มีความปลอดภัยน่าเชื่อถือมากขึ้น ด้วยจัดเก็บข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์อย่าง แทบข้อมูลแม่เหล็ก และเทคโนโลยี QR Code ซึ่งรองรับการเชื่อมโยงข้อมูลผ่านระบบ GPS Tracking เป็นเครื่องมือในการใช้บันทึกข้อมูลการขับรถทุกประเภทตามที่กรมการขนส่งทางบกประกาศบังคับใช้แล้ว

 

 

นอกจากนี้ ใบขับขี่ยังปรากฏข้อมูลของเจ้าของบัตร ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษควบคู่กัน สามารถนำไปใช้ขับขี่ได้ในประเทศสมาชิกอาเซียน ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ บรูไน เวียดนาม ลาว พม่า และกัมพูชา โดยไม่ต้องทำใบอนุญาตขับรถสากลตามความตกลงร่วมกัน

 

 

อย่างไรก็ตาม ในระยะแรกของการเตรียมปรับรูปแบบใบขับขี่สู่มาตรฐานสากล กรมการขนส่งทางบกได้กำหนดยกเลิกการออกใบอนุญาตขับรถรูปแบบกระดาษ ตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคม 60 เป็นต้นไป โดยประชาชนจะได้รับใบอนุญาตขับรถ Smart card รูปแบบที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม 100 บาท

ดังนั้น กรณีที่ขอรับใบอนุญาตขับรถยนต์ชั่วคราว จากอัตราเดิมคือ 305 บาท จะเสียเฉพาะค่าธรรมเนียมและค่าคำขอรวม 205 บาท กรณีเป็นใบอนุญาตขับรถยนต์ส่วนบุคคล จากอัตราเดิมคือ 605 บาท จะเสียเฉพาะค่าธรรมเนียมและค่าคำขอรวม 505 บาท

ซึ่งตั้งแต่วันที่ 4 กันยายน 2560 เป็นต้นไป กรมการขนส่งทางบกจะเริ่มดำเนินการออกใบขับขี่ Smart card รูปแบบใหม่ ที่มีเทคโนโลยี QR Code ให้แก่ผู้ขอรับใบอนุญาตขับรถทั้งตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์และกฎหมายว่าด้วยกรมการขนส่งทางบก เพียงรูปแบบเดียว

ทั้งนี้ ใบขับขี่ทั้งรูปแบบกระดาษและสมาร์ทการ์ดที่ออกก่อนวันที่ 4 กันยายน 2560 จะยังคงสามารถใช้งานได้ตามกำหนดอายุการใช้งานของใบอนุญาตนั้น แต่หากชำรุด สูญหาย หรือขอออกบัตรใหม่ หลังวันที่ 4 กันยายน 2560 เป็นต้นไป จะได้รับใบอนุญาตขับขี่รูปแบบใหม่ที่มี QR Code เท่านั้น

 

 

Source : thairath.co.th