10 ทางม้าลายอันตรายใน กทม. ที่ต้องระวัง!

หลายท่านคงได้เห็นกับข่าวอันน่าเศร้าลสดกันไปแล้ว ที่ ส.ต.ต. นรวิชญ์ บัวดก ขี่รถจักรยานยนต์บิ๊กไบค์ชนคุณหมอกระต่าย หรือ พญ.วราลัคน์ สุภวัตรจริยากุล ขณะเดินข้ามถนนตรงทางม้าลายจนถึงแก่ความตายบนถนนพญาไท ที่สร้างความสูญเสียอย่างไม่สามารถประเมินค่าได้ สร้างความสะเทือนใจให้คนไทยทั้งประเทศ

จนกลายเป็นที่พูดถึงในสังคมไทยอย่างมาก ถึงเรื่องที่ผู้บังคับใช้กฎหมาย ทำผิดกฎหมายหลายอย่างเสียเอง รวมไปถึงการบังคับใช้กฎหมายอันย่อหย่อน และอีกหลายๆ ปัญหาที่ตามมามากมาย รวมไปถึงประสบการณ์ของผู้ที่ใช้ทางม้าลาย

ถึงแม้ว่าทาง กทม. และบางจังหวัด ได้รีบรับฟังเสียงประชาชน (หรือรีบผักชีโรยหน้า?) ปรับปรุงลักษณะทางกายภาพของทางม้าลายในแต่ละจุดกันใหญ่ ตั้งแต่ทาสีขาว ทาสีแดงให้สังเกตง่ายขึ้น ตัดต้นไม้ที่ขึ้นรก ปรับปรุงสัญญาณไฟ หรือไฟกระพริบ ไฟส่องสว่าง หรือทาสีเพิ่มลูกระนาด ให้รถวิ่งมาแล้วรู้สึกสะเทือนก่อนจะถึงทางม้าลาย เป็นต้น

10 ทางม้าลายอันตรายในกรุงเทพ คนข้ามถนน ต้องระวัง! / ถนนพญาไท

แต่เท่าที่พบ หลายสี่แยกไฟแดง รถจักรยานยนต์ก็ยังคงจอดทับทางม้าลาย หรือรถยนต์ และรถจักรยานยนต์ ไม่ยอมจอดให้คนข้ามทางม้าหลายเช่นเคย หรือฝ่าฝืนกฎจราจรจำนวนมาก จนเกิดอุบัติเหตุซ้ำแล้วซ้ำเล่า เช่น แยกอโศกมนตรี ถึงแม้จะนำกล้อง AI มาใช้ในพื้นที่จับปรับบริเวณทางม้าลาย ก็ยังพบคนทำผิดกฎจราจรมากกว่า 25,000 ครั้ง

แม้ว่าในบางครั้ง คนข้ามถนน และถนน อาจจะเป็นต้นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุเพิ่มขึ้นด้วยก็ตาม เช่น เล่นโทรศัพท์มือถือระหว่างเดินข้ามถนน หรือคิดจะข้ามก็รีบวิ่งตัดหน้ารถเลย หรือขับรถมาในเลนขวาสุด แต่มีรถเลนกลางบังคนข้ามถนนในมุมซ้ายอยู่ เป็นต้น

เรามาดูกันดีกว่า ว่า 10 ทางม้าลายอันตรายในกรุงเทพ ที่คนข้ามทางม้าลายข้ามได้ยากเย็น จะมีถนนเส้นไหนบ้าง ทั้งจากประสบการณ์ตรง และจากชาวโซเชียลเล่ากันมา ไปอ่านและระวังตอนข้ามถนนได้เลยครับ

10 ทางม้าลายอันตรายในกรุงเทพ คนข้ามถนน ต้องระวัง! / ถนนอโศกมนตรี

1. ถนนอโศกมนตรี

ถนนอโศกมนตรี จัดได้ว่าเป็นถนนที่มีรถยนต์วิ่งจอแจมากที่สุดสายหนึ่งของกรุงเทพฯ ทั้งรถยนต์ และรถจักรยานยนต์ อีกทั้งช่วงกลางถนน ไม่มีพื้นที่สำหรับให้คนข้ามได้ยืนหยุดรอรถอีกฝั่ง ทำให้ข้ามถนนได้ลำบากอีกหนึ่งเส้น

เฉกเช่นเดียวกับที่เราเห็นคลิปแชร์ในสังคมออนไลน์ ที่เจอทั้งรถบีบแตรไล่ รวมถึงต้องระวังหลังอีกต่างหาก แถมยังมีรถทะลึ่ง ใช้ทางม้าลายเป็นที่กลับรถอีกต่างหาก

ซึ่งหากย้อนไปเมื่อปี 2557 บริเวณถนนอโศกมนตรี ก็เกิดเหตุรถฝ่าไฟแดงพุ่งชนพนักงานสาวแกรมมี่ ขณะข้ามทางม้าลายจนเสียชีวิต บริเวณหน้าตึกแกรมมี่มาแล้ว

ยิ่งในเวลากลางคืน ช่วงนี้ถนนอโศกมนตรีค่อนข้างโล่ง เนื่องจากผับบาร์รอบๆ ยังปิดอยู่เยอะ ทำให้รถสามารถใช้ความเร็วได้มาก หลายคันไม่หยุดให้คนข้ามทางม้าลาย ขับผ่านเลย แม้ว่าสัญญาณไฟข้ามถนนจะเป็นสีเขียวก็ตาม!

10 ทางม้าลายอันตรายในกรุงเทพ คนข้ามถนน ต้องระวัง! / ถนนประดิษฐ์มนูธรรม

2. ถนนประดิษฐ์มนูธรรม

ถ้าใครเคยขับรถบนถนนประดิษฐ์มนูธรรม ตั้งแต่ช่วงลาดพร้าว ไปจนถึงรามอินทรา จะสังเกตได้เลยว่าทางม้าลายสำหรับให้คนข้ามถนน มีน้อยมาก และสะพานลอยสำหรับให้คนข้าม ก็มีน้อยมากเช่นกัน

ซึ่งคนข้ามถนนเส้นเลียบด่วนนี้ ต่างบอกเป็นเสียงเดียวกันเลยว่า อันตรายและรอนานมาก และมีรถยนต์วิ่งมาตลอด หรือวิ่งมาอย่างเร็ว จนหาช่วงข้ามได้ลำบากมาก ต้องวัดใจกันเลยทีเดียว

10 ทางม้าลายอันตรายในกรุงเทพ คนข้ามถนน ต้องระวัง! / ถนนราชดำริ

3. ถนนราชดำริ

ถนนราชดำริ สถานที่ยอดฮิตของนักท่องเที่ยว เพราะเป็นย่านที่มีศูนย์การค้า และโรงแรมรวมตัวอยู่มากมาย รวมถึงอยู่ใกล้สถานที่ค้าส่งสินค้าอย่างประตูน้ำอีกด้วย จึงมีผู้คนจอแจมากเป็นพิเศษ

แม้ว่าตรงสี่แยกราชประสงค์ จะมีทางเดินแบบ Skywalk แล้ว ช่วงหน้าห้างเซ็นทรัลเวิล์ด เชื่อมต่อกับ เกษรพลาซ่า และ Big C ราชดำริ ก็มีสะพานลอยข้ามถนนอยู่แล้วถึงสองจุด จึงไม่ค่อยมีปัญหาจากคนเดินข้ามถนนเท่าไหร่ แต่ก็ข้ามได้ลำบาก เพราะไม่มีทางม้าลาย และถนนหลายเลนข้ามลำบาก

แต่จุดที่คนชอบข้ามถนนกันมาก นั่นก็คือ ช่วงสี่แยกประตูน้ำ ตรงสะพานเฉลิมโลก ซึ่งก่อนหน้านั้นจุดนี้ไม่มีทางม้าลายสำหรับข้าม ต้องข้ามถนนแบบเสี่ยงตาย มีรถวิ่งมาตลอดทั้งสองฝั่ง ฝั่งนึงหยุด ฝั่งนึงก็พุ่งมา หลายครั้งที่รถยนต์, รถจักรยานยนต์ ไม่หยุดจอดให้คนข้าม จนมีข่าวเกิดอุบัติเหตุหลายต่อหลายครั้ง

จนต้องทำทางม้าลายขึ้นมาถาวร แต่ก็ต้องข้ามถนนแบบเสี่ยงตายเหมือนเดิม

10 ทางม้าลายอันตรายในกรุงเทพ คนข้ามถนน ต้องระวัง! / ถนนเพลินจิต

4. ถนนเพลินจิต

จุดนี้ก็จัดเป็นย่านท่องเที่ยวเช่นกัน มีทั้งศูนย์การค้า อาคารสำนักงาน รวมไปถึงโรงพยาบาล ก็ขึ้นชื่อเรื่องข้ามถนนลำบาก แม้ว่าจะมีสัญญาณไฟข้ามถนนอยู่รอบด้าน

ด้วยสภาพความจอแจของรถยนต์ รถจักรยานยนต์ ทำให้คนข้ามถนนที่จอแจมาก ต้องเสียเวลายืนรอข้ามกันนานมาก ยิ่งเป็นจุดข้ามถนนฝั่งเกษรพลาซ่า เมื่อมีสัญญานไฟเขียวให้คนข้ามถนนได้ ก็ดันเป็นจังหวะของรถที่มาจากถนนราชดำริ ได้ไฟเขียวให้เลี้ยวซ้ายได้วิ่งมาตรงนี้พอดี

ทำให้การข้ามถนนโดยมีสัญญานให้คนข้าม ก็ดูไม่มีความปลอดภัยเลย หลายครั้งที่มีคนข้ามถนน แล้วถูกรถชนตรงนี้!

10 ทางม้าลายอันตรายในกรุงเทพ คนข้ามถนน ต้องระวัง! / ถนนชิดลม

5. ถนนชิดลม

ใครจะไปคิดล่ะว่า ถนนเส้นเล็กๆ คั่นกลางระหว่างถนนราชดำริ กับถนนวิทยุ อย่าง “ถนนชิดลม” นี้ จะมีปัญหาเรื่องการข้ามถนนเหมือนกัน!

ปกติ ถ้าเป็นช่วงรถติดแหง็กๆ ตอนเช้า ตอนเย็น ก็พอจะเดินข้ามถนนได้อย่างไม่ยากเย็นนัก แต่ขณะที่รถโล่งๆ ทีนี้ล่ะลำบากหน่อย เพราะรถยนต์ที่วิ่งลงมาจากสะพานชิดลม มักใช้ความเร็วสูง และไม่ยอมชะลอหรือเบรกให้คนข้ามถนนอยู่เป็นประจำ

10 ทางม้าลายอันตรายในกรุงเทพ คนข้ามถนน ต้องระวัง! / ถนนราชปรารภ

6. ถนนราชปรารภ

ถนนราชปรารภ ในย่านประตูน้ำ ก็จัดว่าเป็นถนนที่มีคนใช้รถเป็นจำนวนมาก รวมไปถึงนักท่องเที่ยว พ่อค้าแม่ค้าที่จอแจด้วยเช่นกัน

แต่ถนนสายนี้ ก็มีจุดที่ข้ามถนนได้ยากอยู่หลายจุด นับตั้งแต่ช่วงแยกจตุรทิศ ที่จะมีรถมากันอยู่ตลอดเวลา หรือแม้แต่จะข้ามถนนในยุดอื่นก็ลำบาก เพราะไม่มีเกาะกลางถนนให้ยืนรอรถอีกฝั่งนั่นเอง หรือช่วงมุมถนนรางน้ำ เป็นต้น

10 ทางม้าลายอันตรายในกรุงเทพ คนข้ามถนน ต้องระวัง! / ถนนพระรามที่ 4

7. ถนนพระรามที่ 4

ถนนพระรามที่ 4 มีหลายช่วงอยู่เหมือนกันที่ข้ามถนนได้ลำบาก อาทิ ช่วงตลาดคลองเตย ที่คนนิยมข้ามถนน สะดวกกว่าข้ามสะพานลอย โดยเฉพาะคนที่ต้องหิ้วของเยอะๆ ออกมาจากตลาดคลองเตย เห็นได้ประจำ

และช่วงแยกเกษมราษฏร์ ที่ตำรวจมักจะปล่อยไฟเขียวกับถนนพระรามที่ 4 ขาไปพระโขนงนานมาก รวมถึงปล่อยให้ไฟเขียวรถเลี้ยวขวาเข้าถนนเกษมราษฏร์ด้วย

ทำให้คนที่จะข้ามถนน ต้องไปยืนคาอยู่ที่บริเวณเกาะกลางถนนนานพอสมควร และยังมีพุ่มไม้ที่ค่อนข้างสูง บังคนที่จะข้ามถนนอีกด้วย

10 ทางม้าลายอันตรายในกรุงเทพ คนข้ามถนน ต้องระวัง! / ถนนลาดพร้าว

8. ถนนลาดพร้าว

ถนนลาดพร้าว อันนี้ก็จัดเป็นถนนที่มีรถยนต์คับคั่งเหมือนกัน แต่บางจุดก็ขึ้นชื่อว่าข้ามถนนได้ยาก และอันตรายอยู่ …

ถนนลาดพร้าวตอนต้น ช่วงตั้งแต่ห้าแยกลาดพร้าว – สี่แยกรัชดา-ลาดพร้าว เมื่อรถที่วิ่งลงมาจากสะพานตรงห้าแยกลาดพร้าว มักใช้ความเร็วสูงหากรถโล่ง ทำให้คนเดินข้ามถนนได้ลำบาก ยิ่งสะพานลอยแต่ละจุดที่อยู่ค่อนข้างห่างกันพอสมควร และไม่มีทางม้าลายบนถนนด้วย ตอนข้ามต้องวัดใจกันเลยทีเดียว

10 ทางม้าลายอันตรายในกรุงเทพ คนข้ามถนน ต้องระวัง! / ถนนราชดำเนินกลาง

9. ถนนราชดำเนินกลาง

ถนนที่จัดได้ว่าสวยที่สุดแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ อย่าง ถนนราชดำเนินกลาง ก็จะไม่ใช่ว่าไม่มีปัญหาเรื่องคนข้ามถนนตรงทางม้าลาย แต่จุดนี้กลับเป็นจุดที่ไฟเขียวให้คนข้ามถนนได้ และไฟเขียวให้รถข้ามมาได้ด้วย!

ทางม้าลายบริเวณแยกอนุสรณ์สถาน​ 14​ ตุลา​ หากต้องการข้ามไปฝั่งหอสมุดเมืองกรุงเทพมหานคร​ พบว่า​ เมื่อสัญญาณไฟคนข้ามเป็นสีเขียว แต่ก็ยังข้ามไม่ได้​ เพราะมีรถเลี้ยวซ้ายจาก​ ถ.ตะนาว​ มาตลอดเวลา​!

แถมเมื่อถึงเกาะกลางแล้วยังต้องระวังรถด้านซ้ายมือด้วย เนื่องจากสัญญาณไฟบนถนนราชดำเนินกลาง ไฟเขียวให้รถเลี้ยวขวาเข้าถนนตะนาวได้ ช่างลำบากยากเย็น

10 ทางม้าลายอันตรายในกรุงเทพ คนข้ามถนน ต้องระวัง! / ถนนราชวิถี

10. ถนนราชวิถี

ถนนราชวิถี จัดเป็นถนนที่มีรถค่อนข้างเยอะแทบจะตลอดทั้งวัน อีกทั้งยังเป็นย่านที่มีคนป่วย หรือผู้สูงอายุมากันเยอะ เพราะมีโรงพยาบาลใหญ่ๆ อยู่หลายโรงพยาบาล

และทางม้าลายหลายจุด เช่น หน้าโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า มักจะมีผู้สูงอายุข้ามกันอยู่เสมอ ทำให้คนขับรถหลายคนมักหงุดหงิด หรือรอคนข้ามถนนช้าจนรถติด จึงไม่ค่อยยอมจอดให้คนข้ามถนนไป

เป็นอย่างไรบ้างครับ ใครที่เคยมีโอกาสข้ามถนนใน 10 เส้นทางนี้ มาบอกเล่าประสบการณ์กันได้นะครับ

ถ้าจะให้ทางม้าลายในไทยใช้แล้วปลอดภัย คงต้องทำไม้กั้นแบบทางรถไฟครับ

Carro Express ขายรถกับคาร์โร อยากขายรถ ขายรถด่วน

แต่ถ้าใครอยากขายรถคันเดิม ไปซื้อรถยนต์ไฟฟ้าคันใหม่ มาขายรถกับทาง CARRO Express ได้ที่  https://th.carro.co/sell-car/express หรือถ้าหากต้องการซื้อรถคุณภาพเยี่ยม CARRO เราก็มีพร้อมให้คุณเลือกอย่างมากมายด้วยเช่นกัน พร้อมรับประกันสูงสุดถึง 1 ปี หรือ 30,000 กิโลเมตร กับ CARRO Automall ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://th.carro.co/taladrod/

Carro Automall / คาร์โร ออโต้มอลล์

หากใครอยากซื้อรถมือสองสภาพเยี่ยม ราคาสบายๆ และมั่นใจได้ในเรื่องของความสะอาดทุกคัน CARRO Automall แหล่งรวมรถมือสองคุณภาพเยี่ยมผ่านระบบออนไลน์ ตอบโจทย์คุณด้วยคอนเซปต์ “click.buy.drive.” คุณสามารถจองรถออนไลน์ ได้ในเวลา 1 นาที!

ซึ่งรถของ CARRO Automall เรามีให้คุณเลือกมากมาย รถทุกคันผ่านการตรวจสภาพอย่างละเอียดแบบ Double Check มากกว่า 200 จุด รวมไปถึงการการปรับสภาพ (Car Reconditioning) ด้วยทีมช่างมืออาชีพ ที่ผ่านการผึกอบรมตามมาตรฐานคาร์โรกว่า 40 คน พร้อมให้บริการลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว กว่า 20 คัน/วัน

อีกทั้งยังมีเทคโนโลยี “360 View & Sound Engine Analysis” เลือกชมรถยนต์เสมือนจริงออนไลน์รายแรกในไทย ทั้งภาพและเสียงในรูปแบบ 360 องศา รวมถึงมีเทคโนโลยีสนับสนุนฝ่ายขาย ทั้ง Digital Device ที่เชื่อมต่อกับ Digital Screen นำเสนอสิ่งที่ลูกค้าต้องการ และจัดการเรื่องเอกสารให้กับลูกค้าให้ตั้งแต่ต้นจนจบ บวกกับ Online Viewing Service ที่ลูกค้าสามารถวิดีโอคอล ตรวจสภาพรถยนต์คันที่สนใจได้แบบเรียลไทม์

เรารับประกันคุณภาพรถ 1 ปี หรือ 30,000 กิโลเมตร! (CARRO Quality Assurance) อีกทั้งยังการันตีความพึงพอใจ คืนเงินได้ภายใน 5 วันอีกด้วย! ซื้อรถคุณภาพเยี่ยม กับ CARRO Automall สิ!

หรือถ้าหากสนใจรถรุ่นไหนอยู่ แต่ยังหาที่ถูกใจไม่ได้ เรายินดีหาให้! เพียงแค่กรอกเบอร์โทรศัพท์ ชื่อยี่ห้อ / รุ่นรถ ที่คุณต้องการก็ได้เช่นกันครับ อีกทั้งยังสามารถ Inbox เข้ามาสอบถามรายละเอียดได้ที่ Facebook -> CARRO Automall Thailand โทร. 02-508-8690 หรือทาง Line @carroautomall ครับ

รวม 7 ปัญหาบนท้องถนนแบบ “ไทยสไตล์”

ประเทศไทย เป็นประเทศที่มีสถิติการเกิดอุบัติเหตุบนถนนสูงสุดระดับโลก สาเหตุก็มาจากหลายๆ ปัญหาของผู้ใช้รถใช้ถนน ทั้งการไม่เคารพกฎหมาย ความประมาท ความใจร้อนจนเกิดการทะเลาะวิวาท, อุบัติเหตุ ฯลฯ ซึ่งปัญหาพวกนี้แก้ไขได้ หากคุณมีสติในการขับรถ เคารพกฎจราจร มีน้ำใจแก่ผู้ร่วมทาง

ในบทความนี้ CARRO จึงรวมสาเหตุหลักๆ ที่เป็นปัญหาบนท้องถนนบ้านเรามาให้ผู้อ่านทราบ เพื่อที่จะได้รับรู้และรับมือกับปัญหาเหล่านี้ได้อย่างถูกต้องค่ะ

รวมปัญหาบนท้องถนนแบบ “ไทยสไตล์”

ภาพจาก lavanont

1. ไม่เคารพกฎจราจร

นี่เป็นสาเหตุหลักๆ ที่ทำให้รถติดหรือเกิดอุบัติเหตุทั้งหมดบนท้องถนน อย่างเช่น การขับรถฝ่าไฟแดงที่พบเห็นกันอยู่บ่อยๆ และการละเลยป้ายเตือนข้างทาง รวมถึงคนที่ขับรถโดยไม่รู้กฎจราจรอีกด้วย

ซึ่งตามหลักกฎหมาย คุณจะไม่สามารถอ้างได้ว่าไม่รู้กฎหมาย ดังนั้น หากไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์เศร้าสลด หรือต้องเสียค่าปรับ ก็ควรศึกษาเกี่ยวกับกฎจราจรให้ดี และขับขี่รถอย่างถูกกฎ

รวมปัญหาบนท้องถนนแบบ “ไทยสไตล์”

ภาพจาก FM91 Trafficpro

2. ขับรถเร็วและชอบแซง

คนไทยชอบใจร้อนตามอากาศ และมีนิสัยชอบขับรถเร็วและขับแซงรถคันอื่นๆ จึงทำให้เกิดเหตุการณ์รถชนหรือแหกโค้งพลิกคว่ำบนถนนบ่อยๆ ซึ่งในแต่ละปีนั้น มีการสูญเสียที่เกิดจากการขับรถด้วยความใจร้อนและประมาทแบบนี้ไม่น้อยเลยทีเดียว และถ้าคุณไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ ก็ควรขับรถด้วยความใจเย็น มีสติ หรือไม่ขับแซงรถคันอื่นๆ เป็นอันขาด

รวมปัญหาบนท้องถนนแบบ “ไทยสไตล์”

ภาพจาก โปรแกรมเมอร์ @watcharate

3. จอดล้ำเส้นทางม้าลาย / ไม่จอดให้คนข้ามทางม้าลาย

เป็นปัญหาที่พบเห็นได้ทุกวัน นั่นก็คือ รถจักรยานยนต์จอดล้ำและกีดขวางทางม้าลาย เกิดจากการขับรถมาจอดเป็นคันแรก เพื่อให้สามารถออกตัวก่อน ซึ่งทำให้ล้ำเส้นหยุด แต่ขณะเดียวกันรถยนต์ก็ไปจอดช่องรถจักรยานยนต์ ทำให้รถจักรยานยนต์ต้องจอดเลยเส้น นี่ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดรถติดและปัญหาอื่นตามมา ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวเป็นพฤติกรรมที่เป็นอันตราย และอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ด้วยค่ะ

รวมปัญหาบนท้องถนนแบบ “ไทยสไตล์”

ภาพจาก นู๋ปู กู้ภัยชาละวันพิจิตร

4. ไม่หลีกทางให้รถกู้ภัย

อีกปัญหาของสังคมไทยที่เป็นประเด็นข่าวอยู่บ่อยๆ นั่นคือ การขวางหรือไม่หลีกทางให้กับรถกู้ชีพ, กู้ภัยของมูลนิธิและรถฉุกเฉินโรงพยาบาล ส่วนสาเหตุไม่หลีกทางให้นั้น อาจมองกว้างๆ ได้ 2 ประเด็น คือ

  • บางคนอาจขับรถโดยเหม่อลอย ขับไปเรื่อยๆ ไม่ตั้งใจขับ หรืออาจเล่นโทรศัพท์ จนไม่ได้ยินเสียงสัญญาณไฟ
  • บางคนมีปมกับรถฉุกเฉิน เพราะเมืองไทยมีรถฉุกเฉินเยอะเกินไป ทำให้ความศักดิ์สิทธิ์ของสัญญาณไฟหายไป คนไม่เชื่อว่ารถจะไปกู้ภัยจริงๆ จึงไม่หลีกทางให้ ซึ่งหลายๆ ครั้งก็ทำให้เกิดการสูญเสียแบบที่ไม่น่าเกิด

รวมปัญหาบนท้องถนนแบบ “ไทยสไตล์”

5. คุยโทรศัพท์ในขณะขับรถ

แม้จะมีกฎหมายห้ามออกมา แต่ก็ยังมีคนที่ฝืนกฎและคุยโทรศัพท์ในขณะขับรถอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นอีกสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหารถติดและอุบัติเหตุบ่อยครั้ง เนื่องจากคุยโทรศัพท์จนเสียสมาธิในการขับรถ ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกัน ทุกครั้งที่ขับรถคุณต้องไม่คุยโทรศัพท์อย่างเด็ดขาด หากจำเป็นก็แนะนำให้จอดรถข้างทาง คุยธุระให้เสร็จแล้วค่อยขับรถต่อไป

รวมปัญหาบนท้องถนนแบบ “ไทยสไตล์”

ภาพจาก FM91 Trafficpro

6. เมาแล้วขับ

เป็นปัญหาโลกแตกที่หาทางแก้ไขกันมานาน แม้จะมีการรณรงค์ห้ามคนเมาแล้วขับอยู่เสมอ แต่ทุกวันนี้ ก็ยังมีคนที่เมาแล้วขับอยู่จำนวนมาก และปัญหาที่ตามมาก็คือ การเกิดอุบัติเหตุอย่างไม่คาดคิดจนทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บในแต่ละปีเป็นจำนวนมากเช่นกัน

เพราะฉะนั้นคุณควรพึงระลึกไว้เสมอว่า ไม่ควรขับขี่ในขณะที่กำลังเมาเป็นอันขาด ไม่ว่าจะเป็นรถจักรยานยนต์หรือรถยนต์ก็ตาม อย่างน้อยก็เซฟเรื่องความปลอดภัยของตัวเอง และจะได้ไม่สร้างความเดือดร้อนให้ผู้อื่นบนท้องถนนค่ะ

รวมปัญหาบนท้องถนนแบบ “ไทยสไตล์”

ภาพจาก JS100 Radio

7. ขับขี่รถย้อนศร

พฤติกรรมการขับขี่รถย้อนศรอาจพบเห็นไม่บ่อยนักสำหรับคนขับรถยนต์ แต่คนขี่รถมอเตอร์ไซค์มักมีพฤติกรรมที่มักง่ายเช่นนี้ และพบเห็นได้ค่อนข้างบ่อย ในถนนเส้นใหญ่ที่มีทางกลับรถในระยะไกล จึงเป็นสาเหตุที่ไม่อยากไปกลับรถและเลือกที่จะขี่รถย้อนศร ทำให้ในบางครั้งคนที่ใช้ท้องถนนในเลนที่ถูกต้องกลับต้องหักหลบ หรือมองไม่เห็นรถที่ย้อนศรมา ซึ่งอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นได้

Carro Express ขายรถกับคาร์โร อยากขายรถ ขายรถด่วน

แต่ถ้าใครอยากขายรถคันเดิม ไปซื้อรถยนต์ไฟฟ้าคันใหม่ มาขายรถกับทาง CARRO Express ได้ที่  https://th.carro.co/sell-car/express หรือถ้าหากต้องการซื้อรถคุณภาพเยี่ยม CARRO เราก็มีพร้อมให้คุณเลือกอย่างมากมายด้วยเช่นกัน พร้อมรับประกันสูงสุดถึง 1 ปี หรือ 30,000 กิโลเมตร กับ CARRO Automall ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://th.carro.co/taladrod/

Carro Automall / คาร์โร ออโต้มอลล์

หากใครอยากซื้อรถมือสองสภาพเยี่ยม ราคาสบายๆ และมั่นใจได้ในเรื่องของความสะอาดทุกคัน CARRO Automall แหล่งรวมรถมือสองคุณภาพเยี่ยมผ่านระบบออนไลน์ ตอบโจทย์คุณด้วยคอนเซปต์ “click.buy.drive.” คุณสามารถจองรถออนไลน์ ได้ในเวลา 1 นาที!

ซึ่งรถของ CARRO Automall เรามีให้คุณเลือกมากมาย รถทุกคันผ่านการตรวจสภาพอย่างละเอียดแบบ Double Check มากกว่า 200 จุด รวมไปถึงการการปรับสภาพ (Car Reconditioning) ด้วยทีมช่างมืออาชีพ ที่ผ่านการผึกอบรมตามมาตรฐานคาร์โรกว่า 40 คน พร้อมให้บริการลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว กว่า 20 คัน/วัน

อีกทั้งยังมีเทคโนโลยี “360 View & Sound Engine Analysis” เลือกชมรถยนต์เสมือนจริงออนไลน์รายแรกในไทย ทั้งภาพและเสียงในรูปแบบ 360 องศา รวมถึงมีเทคโนโลยีสนับสนุนฝ่ายขาย ทั้ง Digital Device ที่เชื่อมต่อกับ Digital Screen นำเสนอสิ่งที่ลูกค้าต้องการ และจัดการเรื่องเอกสารให้กับลูกค้าให้ตั้งแต่ต้นจนจบ บวกกับ Online Viewing Service ที่ลูกค้าสามารถวิดีโอคอล ตรวจสภาพรถยนต์คันที่สนใจได้แบบเรียลไทม์

เรารับประกันคุณภาพรถ 1 ปี หรือ 30,000 กิโลเมตร! (CARRO Quality Assurance) อีกทั้งยังการันตีความพึงพอใจ คืนเงินได้ภายใน 5 วันอีกด้วย! ซื้อรถคุณภาพเยี่ยม กับ CARRO Automall สิ!

หรือถ้าหากสนใจรถรุ่นไหนอยู่ แต่ยังหาที่ถูกใจไม่ได้ เรายินดีหาให้! เพียงแค่กรอกเบอร์โทรศัพท์ ชื่อยี่ห้อ / รุ่นรถ ที่คุณต้องการก็ได้เช่นกันครับ อีกทั้งยังสามารถ Inbox เข้ามาสอบถามรายละเอียดได้ที่ Facebook -> CARRO Automall Thailand โทร. 02-508-8690 หรือทาง Line @carroautomall ครับ

4-Tricks-Safe-Driving-At-Newyear

ในช่วงสิ้นปีแบบนี้ แน่นอนเทศกาลปีใหม่ ที่ใคร ๆ หลายคนต่างตั้งหน้าตั้งตารอ คงจะเป็นช่วงเวลาที่ดี และเป็นเวลาพักผ่อนหย่อนใจหลังจากที่เหน็ดเหนื่อยมาตลอดทั้งปี ส่วนใครที่กำลังมีแพลนที่จะเดินทางไกลเพื่อกลับบ้านไปหาคนที่เรารัก หรือเดินทางท่องเที่ยว ช่วงที่การจราจรหนาแน่นแบบนี้ masii เลยมี 4 เทคนิคขับรถเดินทางช่วงปีใหม่ ให้ถึงจุดหมายอย่างปลอดภัย มาฝากกัน

4 เทคนิคขับรถเดินทางช่วงปีใหม่ ให้ถึงจุดหมายอย่างปลอดภัย

4-Tricks-Safe-Driving-At-Newyear

1. ไม่ขับขี่เร็วเกินไป และควรเว้นระยะห่างจากรถคันหน้า

การที่เราเอาจิตใจไปอยู่ที่จุดหมายปลายทางแล้ว อาจจะทำให้อัตราความเร็วในการขับขี่รถยนต์ของเราเกินกว่ากำหนดเพื่อที่จะได้ถึงที่หมายอย่างรวดเร็ว แต่เพื่อน ๆ ทราบกันดีอยู่แล้วว่า การใช้ความเร็วเกินกว่าที่กำหนดนั้นจะทำให้เราเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติหตุบนท้องถนนได้ ในช่วงเทศกาลหยุดยาวปีใหม่แบบนี้ อัตราความเสี่ยงมักจะสูงขึ้น และควรเว้นระยะห่างจากรถคันหน้าให้มาก เพื่อให้เหลือพื้นที่สำหรับการเบรก หรือหักหลบกะทันหันนั่นเอง

4-Tricks-Safe-Driving-At-Newyear

2. ปฎิบัติตามกฎจราจร และป้ายจราจร

การปฎิบัติตามกฎจราจรเป็นสิ่งที่สำคัญ และจำเป็นอย่างมาก เพราะถ้าหากทำผิดกฎหมายจราจรแล้ว ไม่เพียงแต่จะโดนโทษปรับ หรือจำคุก แต่อาจจะส่งผลในการเป็นต้นเหตุของการเกิดอุบัติเหตุอีกด้วย ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยในช่วงเทศกาลปีใหม่ ควรขับขี่รถยนต์แบบเคารพกฎจราจรอย่างเคร่งครัด ไม่ฝ่าไฟแดง ไม่ขับรถเร็วเกินกำหนด รวมไปถึงการขับขี่รถยนต์อย่างมีมารยาท

4-Tricks-Safe-Driving-At-Newyear

3. เพิ่มความระมัดระวังเมื่อถึงเขตชุมชน

เมื่อขับขี่ถึงเขตชุมชนแล้ว ผู้ขับขี่ควรเพิ่มความระมัดระวังให้มากขึ้นกว่าเดิมเพราะเป็นพื้นที่ที่มีผู้คนสัญจรอยู่ค่อนข้างเยอะเป็นพิเศษ บางที่เป็นพื้นที่ตลาดที่มีคนเดินข้ามถนนไปมา หากใช้ความเร็วเกินกำหนดไปจะเสี่ยงต่อการเฉี่ยวชนได้ ทางที่ดีเมื่อถึงเขตชุมชน ควรใช้ความเร็วไม่เกิน 30 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เพื่อความปลอดภัยแก่ตัวเอง และคนรอบข้าง

4-Tricks-Safe-Driving-At-Newyear

4 หมั่นจอดพักเป็นระยะๆ

การขับขี่รถในช่วงปีใหม่นั้นอาจจะทำให้เพื่อน ๆ พบกับการจราจรที่ติดขัด บนท้องถนนเต็มไปด้วยรถยนต์ ทำให้การขับขี่เกิดความลำบาก รู้สึกเมื่อยล้าได้ง่ายขึ้น ดังนั้นการหมั่นจอดพักเป็นระยะๆ ลองแวะเข้าปั๊ม ยืดเส้นยืดสาย อาจจะลองแวะไปซื้อกาแฟดื่มแก้ง่วง หรือซื้อขนมของว่างรับประทานเพื่อจะได้มีแรงมากขึ้นแล้วค่อยลุยขับขี่กันใหม่

ทั้งหมดนี้คือ 4 เทคนิคขับรถเดินทางช่วงปีใหม่ ให้ถึงจุดหมายอย่างปลอดภัย ที่ มาสิ นำมาฝากให้เพื่อน ๆ หากใครที่ต้องขับขี่รถในช่วงปีใหม่นี้ อย่าลืมทำเทคนิคที่เรานำมาให้ไปใช้กันนะ ที่สำคัญอย่าลืมตรวจสภาพรถยนต์ให้พร้อมใช้งานด้วย และสุดท้ายการมีประกันรถยนต์ติดรถไว้จะช่วยให้เราอุ่นใจมากขึ้น ในทุกๆ ทริปการเดินทาง หากสนใจซื้อประกันรถยนต์ คลิกที่นี่

ขอขอบคุณบทความดี ๆ จาก www.masii.com

Carro-Driving-On-Road-Shoulder

ปัญหาที่แก้ไม่ได้ของสังคมไทย คือ การขับรถที่ไร้ระเบียบวินัย

Driving-On-Road-Shoulder

เวลาคุณขับรถบนทางด่วนช่วงเวลาเร่งด่วน ขับรถออกต่างจังหวัดช่วงเทศกาล คุณเคยสังเกตไหมครับว่า ที่ไหล่ทาง มักจะมีรถยนต์จำนวนมาก วิ่งคร่อมไหล่ทางบ้าง วิ่งในไหล่ทางบ้างล่ะ เพื่อที่จะไปปาด เบียดข้างหน้า หรือแซงข้างหน้า เป็นประจำ ทำให้รถติดมากขึ้น หรือเกะกะกีดขวางการจราจรของรถกู้ภัย หรือรถพยาบาล

ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นว่า ประเทศเรา หย่อนยานและละเลยในการปฏิบัติตามกฎจราจรมากๆ เป็นปัญหาที่ชาตินี้ ไม่มีทางแก้ไขและปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมได้ซะที

ซึ่งก็ก่อให้เกิดอุบัติเหตุมาหลายต่อหลายครั้งแล้ว (ซึ่งไม่กี่วันก่อน ก็เพิ่งเกิดบนทางด่วนมาหมาดๆ) ก่อให้เกิดความสูญเสียในชีวิต และทรัพย์สินเป็นจำนวนมาก

Driving-On-Road-Shoulder

แก้ปัญหาไม่ได้ ก็วางแบริเออร์น้ำ ซะเลย …

พ.ร.บ. จราจรทางบกฯ พ.ศ. 2522 มาตรา 103 ระบุว่า ทางใดที่มีทางเท้า หรือไหล่ทาง อยู่ข้างทางเดินรถ ให้คนเดินเท้าเดินบนทางเท้าหรือไหล่ทาง ถ้าทางนั้นไม่มีทางเท้าอยู่ข้างทางเดินรถ ให้เดินริมทางด้านขวาของตน

… แสดงให้เห็นว่า บนถนนทั่วไป กฎหมายกำหนดให้ไหล่ทาง เป็นทางสำหรับคนเดินเท้า หรือสำหรับจักรยานปั่น ไม่ใช่ให้รถวิ่ง แต่บางที เจ้าหน้าที่ตำรวจจราจร ก็เรียกรถให้ไปวิ่งไหล่ในทางเพื่อระบายรถได้ ซึ่งก็ไม่ใช่ว่าใครก็ตาม จะเปิดเลนพิเศษเข้าไปวิ่งในไหล่ทางได้ตามอำเภอใจ

แม้จะมีตำรวจ โบกให้รถเข้าไปวิ่งในไหล่ทาง ในช่วงเวลาเร่งด่วน ก็ต้องระมัดระวังรถที่จอดอยู่ จักรยานที่ปั่นอยู่ หรือคนที่เดินสัญจรไปมา เพราะหากเกิดอุบัติเหตุขึ้น รถที่วิ่งไหล่ทางย่อมเป็นฝ่ายผิด เพราะฝ่าฝืนกฎจราจรเข้าวิ่งช่องทางที่ไม่ได้จัดไว้สำหรับเป็นทางเดินรถ แม้จะมีเจ้าหน้าที่ตำรวจโบกให้เข้าใช้ได้ก็ตาม

และสำหรับบนทางด่วน จะตีเส้นทึบไหล่ทางตลอดแนวห้ามรถเข้าไปวิ่ง ยกเว้นกรณีรถจอดเสีย หรือเกิดอุบัติเหตุ อนุญาตให้นำรถเข้าไปจอดชั่วคราวได้เพื่อความปลอดภัยและไม่ให้กีดขวางการจราจร … แต่ตำรวจทางด่วน ก็โบกรถให้รถสามารถเข้าไปวิ่งในไหล่ทางได้ ในช่วงเวลาเร่งด่วนด้วยเช่นกัน

Driving-On-Road-Shoulder

ภาพจาก Fanpage ลิงรู้เรื่อง

ด้าน พล.ต.ต.จิรพัฒน์ ภูมิจิตร รอง ผบช.น. ได้ชี้แจงว่า ไหล่ทางไม่ใช่ช่องทางเดินรถ แต่เป็นช่องทางสำหรับจอดรถกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน ไม่ว่ารถเสีย รถชน หรือเป็นช่องทางสำหรับรถพยาบาล รถฉุกเฉินที่จะนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาล แต่ปัจจุบันกลับพบว่ามีประชาชนที่ใช้ทางด่วนเข้าไปวิ่งไหล่ทางเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุกับรถที่จอดเสียบ่อยครั้ง

จน บช.น. ต้องหารือกับ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เพื่อกำหนดมาตรการดูแลและป้องกันอุบัติเหตุ ไม่ว่าจะเป็นการบังคับใช้กฎหมายกับผู้ฝ่าฝืนวิ่งบนไหล่ทาง เพราะตามกฎหมายจราจรระบุ ไว้ชัดเจนว่า ห้ามรถเข้าไปวิ่งไหล่ทาง หากฝ่าฝืนเข้าไปวิ่งจะถือเป็นการกระทำความผิดฝ่าฝืนเครื่องหมายบนพื้นที่ มีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท

ขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก

Police-Can-Seize-Driver-License

เรื่องนี้มีการถกเถียงกันมานานแล้ว สำหรับ “ใบขับขี่” หรือ “ใบอนุญาตขับรถ” ที่ต้องเป็นของคู่กายนักขี่ หรือนักบิดกันทุกคน หากเมื่อเจ้าพนักงานตำรวจ ต้องการขอตรวจใบขับขี่ เมื่อคุณทำผิดกฎจราจร หรือ ตรวจวัดแอลกอฮอล์ อะไรก็แล้วแต่ คุณต้องแสดงให้ตำรวจดู …

แต่หลายท่านอาจทราบกันไปแล้วว่า พ.ร.บ.จราจรทางบก (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2562 ที่ได้ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาตั้งแต่เมื่อเดือนสิงหาคม 2562 ที่ผ่านมา มีผลบังคับใช้ในวันที่ 20 ก.ย. 2562 มีบางมาตราที่บัญญัติ ให้ยกเลิกความในมาตราเดิม และบัญญัติใหม่ โดยมีสาระสำคัญในการใช้อำนาจของเจ้าพนักงานจราจร นั่นหมายถึง ตำรวจยังสามารถ “ยึด” และ “ไม่ยึด” ใบขับขี่ของคุณได้อยู่

แต่เงื่อนไขว่า ตำรวจสามารถยึดได้ เพราะอะไร และยึดใบขับขี่ไม่ได้ เพราะเหตุใดนั้น มาอ่านคำตอบกัน …

Police-Can-Seize-Driver-License

พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 140

มาตรา 140

เมื่อปรากฏแก่เจ้าพนักงานจราจร ไม่ว่าพบด้วยตนเอง หรือโดยการใช้เครื่องอุปกรณ์ หรือโดยวิธีการอื่นใดว่า ผู้ขับขี่ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้หรือตามกฎหมายอื่นอันเกี่ยวกับรถหรือการใช้ทาง ที่เป็นความผิดที่มีโทษปรับสถานเดียว หรือมีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนและมีโทษปรับ เจ้าพนักงานจราจรจะว่ากล่าวตักเตือนหรือออกใบสั่งให้ผู้ขับขี่ผู้นั้นชำระค่าปรับตามที่เปรียบเทียบก็ได้

ในกรณีเจ้าพนักงานจราจรที่ออกใบสั่งไม่พบตัวผู้ขับขี่ ให้ติด ผูก หรือแสดงใบสั่งไว้ที่รถที่ผู้ขับขี่สามารถเห็นได้ง่าย หากไม่สามารถติด ผูก หรือแสดงใบสั่งไว้ที่รถได้ไม่ว่าด้วยเหตุใด ให้ส่งใบสั่งพร้อมด้วยพยานหลักฐานโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปยังภูมิลำเนาของเจ้าของรถหรือผู้ครอบครองรถเพื่อให้ชำระค่าปรับภายในระยะเวลาที่กำหนดในใบสั่งนั้น ทั้งนี้ ตามระเบียบที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติกำหนด

ให้นำความในวรรคสองมาใช้บังคับกับกรณีที่เจ้าพนักงานจราจรพบการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้หรือตามกฎหมายอื่นอันเกี่ยวกับรถหรือการใช้ทาง แต่ไม่อาจทราบตัวผู้ขับขี่ด้วยโดยอนุโลม

เกณฑ์การกำหนดจำนวนค่าปรับตามที่เปรียบเทียบและแบบของใบสั่งตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติประกาศกำหนด

Police-Can-Seize-Driver-License

มาตรา 140/2

ในกรณีที่เจ้าพนักงานจราจรได้ว่ากล่าวตักเตือนหรือออกใบสั่งให้ผู้ขับขี่ผู้ใด ตามมาตรา 140 แล้ว หากเจ้าพนักงานจราจรเห็นว่าผู้ขับขี่ผู้นั้นอยู่ในสภาพที่หากให้ขับรถต่อไป อาจเป็นอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สินของตนเองหรือผู้อื่น ให้เจ้าพนักงานจราจรมีอำนาจ ยึดใบอนุญาตขับขี่ของผู้ขับขี่ดังกล่าว หรือบันทึกการยึดใบอนุญาตขับขี่ด้วยวิธีการทางข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ หรือระงับการใช้รถเป็นการชั่วคราวเพื่อมิให้ผู้นั้นขับรถ และให้เจ้าพนักงานจราจรคืนใบอนุญาตขับขี่หรือยกเลิกการบันทึกการยึดใบอนุญาตขับขี่ด้วยวิธีการทางข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ หรือยอมให้ผู้ขับขี่ขับรถได้ เมื่อผู้ขับขี่น้ันอยู่ในสภาพที่สามารถขับรถต่อไปได้หรือเมื่อเจ้าพนักงานจราจรแน่ใจว่าผู้ขับขี่จะไม่ขับรถ ในขณะที่อยู่ในสภาพดังกล่าว ทั้งนี้ ตามระเบียบที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติและอธิบดีกรมการขนส่งทางบกร่วมกันกำหนด

มาตรา 150

“ผู้ใด
(1) ไม่ปฏิบัติตามระเบียบหรือประกาศที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติกำหนดตามมาตรา 8 วรรคสอง หรือมาตรา 14 วรรคสอง
(2) ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติกำหนดตามมาตรา 13 วรรคสอง
(3) ไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 18
(4) ขัดคำสั่งหัวหน้าเจ้าพนักงานจราจร ซึ่งสั่งตามมาตรา 113 หรือ
(5) ขัดคำสั่งเจ้าพนักงานจราจรซึ่งสั่งตามมาตรา 140/2 หรือมาตรา 140/3 วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท

ในการแสดงใบอนุญาตขับขี่ในขณะขับรถ มาตรา 31/1 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.จราจรทางบก (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2562 บัญญัติว่า “ในขณะขับรถในทางเดินรถ ผู้ขับขี่ต้องมีใบอนุญาตขับขี่อยู่กับตัวและต้องแสดงต่อเจ้าพนักงานจราจรเมื่อขอตรวจ ในกรณีที่ผู้ขับขี่แสดงใบอนุญาตขับขี่ด้วยวิธีการทางข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ หรือสำเนาภาพถ่ายใบอนุญาตขับขี่ตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด ให้ถือว่าผู้ขับขี่มีใบอนุญาตขับขี่อยู่กับตัวตามวรรคหนึ่งแล้ว

ดังนั้นการแสดงใบอนุญาตขับขี่ในขณะขับรถ ผู้ขับขี่สามารถแสดงใบอนุญาตขับขี่ด้วยวิธีข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ หรือสำเนาภาพถ่ายใบอนุญาตขับขี่ได้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ

Police-Can-Seize-Driver-License

ส่วนใบขับขี่ เป็น “ทรัพย์สิน” ที่คนอื่นไม่สามารถเอาไปได้โดยไม่มีสิทธิ ย่อมมีความผิดในฐานลักทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๓๓๔ ซึ่งวางหลักว่า “ผู้ใดเอาทรัพย์ของผู้อื่นไป ย่อมมีความผิดฐานลักทรัพย์” โดยการเอาไปในที่นี้ ต้องเป็นการเอาไปโดยไม่มีสิทธิ หรือไม่มีอำนาจตามกฎหมาย ดังนั้น หากผู้เอาไปซึ่งทรัพย์สินมีสิทธิหรืออำนาจตามกฎหมาย ผู้เอาไป ย่อมไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์

ตามกฎหมายไทย เจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ย่อมเป็นผู้ที่มีอำนาจแห่งกรรมสิทธิ์ในการจำหน่าย จ่าย โอน ทรัพย์สิน รวมถึงทำลายทรัพย์สินนั้นได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๓๓๖ บัญญัติไว้ว่า

“มาตรา ๑๓๓๖ ภายในบังคับแห่งกฎหมาย เจ้าของทรัพย์สินมีสิทธิใช้สอยและจำหน่ายทรัพย์สินของตนและได้ซึ่งดอกผลแห่งทรัพย์สินนั้น กับทั้งมีสิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ และมีสิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้นโดยมิชอบด้วยกฎหมาย”

Police-Can-Seize-Driver-License

สรุป

ตำรวจ ยังสามารถใช้อำนาจในการขอเรียกดูใบขับขี่ได้ ตามมาตรา 140 และมาตรา 140/2 ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ ซึ่งจะทำได้ 2 ทาง คือ

1) ตักเตือน

2) ออกใบสั่งค่าปรับตามข้อหา

ส่วนใบขับขี่ เป็นดุลยพินิจของตำรวจ ซึ่งอาจจะเรียกเก็บ ในกรณีที่คุณไม่พร้อมสำหรับการชับรถ (แต่ต้องออกใบสั่งก่อนยึดด้วย)

ตำรวจ จะบันทึกข้อมูลความผิดเขียนลงใบสั่ง แล้วส่งต้นขั้วไปสถานีตำรวจที่ออกใบสั่ง เพื่อทำการตัดแต้มผู้ขับรถ โดยใบขับขี่จะมีทั้งหมด 12 แต้ม ถ้าถูกตัดครบ 12 แต้ม จะถูกพักใช้ใบขับขี่ 90 วัน ผู้ขับขี่ต้องไปอบรมการขับขี่ และสอบอีกครั้ง ที่กรมการขนส่งทางบก

ถ้าผ่านจะได้รับ 12 แต้มคืน ภายใน 3 ปี แต่ถ้าผู้ขับขี่ถูกพักใช้ใบขับขี่ถึงครั้งที่ 3 จะทำให้ถูกพักใช้ใบขับขี่ 1 ปี ระหว่าง 1 ปีนี้ ถ้าทำผิดอีกเป็นครั้งที่ 4 จะถูกเพิกถอนใบขับขี่ทันที และถ้าหากผู้ขับขี่ไปทำใบขับขี่ใหม่ ก็จะเป็นการผิดกฎหมายอีกด้วย

ส่วนใครที่อยากขายรถ หรือมีเพื่อนฝูงกำลังหาที่ขายรถอยู่ CARRO เรารับซื้อรถของคุณ สามารถเข้าไปเช็กราคา ตีราคาขายรถก่อนได้ โดยใส่ข้อมูลรถของคุณที่นี่เลย กับ CARRO Express > https://th.carro.co/sell-car/express หรือโทร. 02-508-8425

หรือใครจะ Inbox มาสอบถามก็ได้เช่นกัน ที่ Facebook CARRO Thailand หรือสะดวก Add Line ก็ที่ @Carrothailand หรือคลิกที่นี่ครับ —> เพิ่มเพื่อน

ขอขอบคุณภาพ และข้อมูลบางส่วนจาก