สิ่งที่คุณควรทำ-เมื่อจอดรถยนต์ทิ้งไว้!

มีรถยนต์ แต่จอดทิ้งไว้ ควรทำอย่างไร?

ความจำเป็นในการใช้งานรถของแต่ละคนไม่เหมือนกัน สำหรับบางคนที่ใช้งานรถยนต์แทบทุกวันก็คงไม่มีปัญหาอะไร เพราะว่าถ้ารถเกิดปัญหาอะไรขึ้น คุณจะรู้ได้ในทันที และสามารถส่งรถไปซ่อมก่อนจะนำมาขับอีกครั้ง แต่สำหรับรถยนต์ที่ไม่ค่อยได้ใช้งาน หากรถเกิดมีปัญหาขึ้น หรือมีอะไรเสีย คุณก็คงจะไม่ทราบว่ารถเป็นอะไร เพราะแทบจะไม่ได้ใช้รถเลย

ซึ่งการจอดรถทิ้งนานๆ หลายเดือน มีความเสี่ยงสูงที่จะทำให้รถยนต์ของคุณเกิดปัญหาขึ้นได้ ทำให้เวลานำกลับมาขับใช้งานใหม่ รถอาจจะเกิดอาการสั่นทั้งคัน จนอาจทำให้คุณตกใจ และคิดว่ารถเสีย เครื่องยนต์พัง ฯลฯ

แท้จริงแล้วสาเหตุหนึ่งที่ทำให้รถของคุณสั่นทั้งคัน เกิดจากยางรถยนต์นั่นเอง เพราะน้ำหนักของตัวรถจะกดทับยางรถยนต์ทั้ง 4 เส้น ในมุมเดิมเป็นระยะเวลานาน จนทำให้ยางเกิดการเปลี่ยนรูปทรง ไม่กลม เสียทรง แถมโครงสร้างยางยังเสียหาย และยุบอีกด้วย

จอดรถทิ้งไว้

แต่ถ้าคุณไม่อยากให้เหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้น ก่อนจะจอดรถทิ้งไว้ ให้คุณนำรถไปเติมลมยางเผื่อเอาไว้จากปกติที่เติมสัก 5 – 10 ปอนด์ และถ้าพอมีเวลาคุณควรไปขยับรถเดินหน้า-ถอยหลังบ้าง อาทิตย์ละ 2 – 3 ครั้งก็ยังดี เพื่อกระจายน้ำหนัก และเปลี่ยนมุมการกดทับไปยังจุดอื่นๆ บ้างนั่นเอง

ซึ่งการจอดรถที่ไว้นาน มันก็จะมีผลเสียเกิดขึ้นกับรถของคุณอย่างแน่นอน ถ้าต้องนำกลับมาใช้อีกครั้ง คุณควรที่จะหาเวลาเพื่อมาตรวจเช็กสภาพรถด้วย เช่น แบตเตอรี่ ของเหลวภายในรถ ฯลฯ และถ้าคุณอยากรู้วิธีเช็กรถเบื้องต้นสำหรับรถที่ไม่ค่อยได้ใช้งาน อ่านต่อ คลิก

แต่ถ้ารถที่ไม่ได้ใช้งาน คุณควรแจ้งกับกรมการขนส่งทางบกทุกแห่งทั่วประเทศ ซึ่งการดำเนินการไม่ยุ่งยาก มีความสะดวก และรวดเร็ว จะได้ไม่โดนการเรียกเก็บภาษีประจำปี เพราะเมื่อไม่ชำระภาษีรถเกิน 3 ปี ทะเบียนจะถูกระงับทันที โดยมีขั้นตอนตามนี้

กรณีแจ้งว่าไม่ได้ใช้งานรถ สามารถทำได้ใน 2 กรณี ได้แก่

1. แจ้งไม่ใช้รถชั่วคราว มีอายุ 2 ปี สำหรับรถชำรุด แต่สามารถซ่อมแซมเพื่อกลับไปใช้งานต่อได้
2. แจ้งไม่ใช้รถตลอดไป สำหรับรถหายหรือชำรุดจนไม่สามารถซ่อมแซมได้

ส่วนเอกสารที่ต้องใช้ มีดังนี้

1. ใบคู่มือจดทะเบียนรถ
2. สำเนาทะเบียนบ้าน และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
3. แผ่นป้ายทะเบียนรถ
4. แบบคำขอแจ้งไม่ใช้รถ กรอกรายการและลงลายมือชื่อ
5. หนังสือมอบอำนาจและบัตรประชาชนผู้รับมอบอำนาจ (ถ้ามี)

ขั้นตอนการดำเนินการ มีดังนี้

1. ยื่นคำขอแจ้งไม่ใช้รถ พร้อมหลักฐาน และแผ่นป้ายทะเบียนรถ
2. ชำระค่าธรรมเนียม
3.รั บใบเสร็จรับเงิน และใบคู่มือจดทะเบียนรถ

จอดรถทิ้งไว้

อัพเดต กรมการขนส่งทางบก ได้ขยายช่องทางการรับชำระภาษีรถ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนด้วยการชำระภาษีรถทั่วประเทศไทย

และในส่วนของ พ.ร.บ.รถยนต์ ได้ขยายช่องทางเพิ่มขึ้น เช่น การรับชำระผ่านห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี 13 สาขา, ห้างเซ็นทรัลรามอินทรา, ศูนย์การค้าพาราไดซ์พาร์ค ในวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 09.00-18.00 น.

การรับชำระภาษีรถที่ศูนย์บริการร่วมคมนาคม เชิงสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสินได้ทุกวันจันทร์-ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 08.30-15.30 น.

การรับชำระภาษีรถผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ที่เว็บไซต์ www.dlte-serv.in.th, ชำระภาษีรถผ่าน ตรอ., ผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิส เซเว่นอีเลฟเว่น กว่า 8,000 แห่งทั่วประเทศ

และชำระภาษี บนมือถือผ่านเครือข่าย AIS ซึ่งเจ้าของรถตาม พ.ร.บ.รถยนต์ และ พ.ร.บ.การขนส่งทางบกสามารถชำระภาษีรถได้ล่วงหน้า 3 เดือน ก่อนหมดเขตอายุภาษี และหากต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ ที่ Call Center 1584.

อ้างอิง กรมขนส่ง

อย่าให้แค่เรื่องการทำใบขับขี่ เป็นเรื่องยากสำหรับคุณ

เพราะปัจจุบันการทำใบขับขี่อาจใช้เวลาทั้งวัน หรือสองถึงสามวันโดยประมาณ เนื่องจากพื้นที่อบรมนั้นมีค่อนข้างจำกัด เมื่อเทียบกับปริมาณผู้ขับขี่ในประเทศบ้านเรา ทำให้รอคิวนานกลายเป็นเรื่องที่เสียเวลาอย่างมาก จนเกิดเป็นความขี้เกียจที่จะไปสอบ แต่สำหรับคนที่มีเวลาน้อยกังวลว่าจะไม่มีเวลาไปสอบใบขับขี่

ไม่ต้องกังวลเพราะทุกปัญหามีทางออกเสมอ เพราะกรมขนส่งมวลชนได้ร่วมมือกับหน่วยงานเอกชนต่างๆ มีการจัดอบรมเพื่อการสอบใบขับขี่ ลดปัญหารอคิวนานเป็นเดือน เพิ่มความสะดวกสบายมากขึ้น โดยมีสถานที่ที่อบรมเพื่อทำใบขับขี่ดังนี้

  • อบรมภาคทฤษฎี กับ สถาบันการศึกษา

รัฐบาลได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยชื่อดังอย่าง รามคำแหง, ธรรมศาสตร์ และราชภัฏสวนดุสิต เป็นต้น เพื่อเปิดอบรมกฏหมายจราจร ไม่จำเป็นต้องไปตามกรมขนส่งมวลชนเพียงอย่างเดียว นับเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับคนที่ไม่ชอบพื้นที่แออัดในกรมขนส่ง อีกทั้งสามารถย่นระยะเวลาในการทำใบขับขี่อีกด้วย แต่แน่นอนว่ามีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมบ้างเล็กน้อย มีรายละเอียด ดังนี้

  1. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เปิดอบรมทุกวันพฤหัสบดี ค่าธรรมเนียมการอบรม 500 บาท
  2. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดอบรมทุกวันเสาร์ ค่าธรรมเนียมอบรม 500 บาท
  3. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต อบรมสัปดาห์ละ 4 วัน วันพฤหัสบดี วันศุกร์ วันเสาร์ และวันอาทิตย์ ค่าธรรมเนียมอบรม 500 บาท
  4. มหาวิทยาลัยรามคำแหง อบรมเดือนละ 1 ครั้งในวันเสาร์ ค่าธรรมเนียมอบรม 400 บาท
  5. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา อบรมเดือนละ 2 ครั้ง วันเสาร์ต้นเดือน และวันอาทิตย์ที่ 3 ของเดือน ค่าธรรมเนียมอบรม 500 บาท
  6. วิทยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเษกกรุงเทพมหานคร อบรมสัปดาห์ละ 2 วัน ทุกวันพุธ และวันพฤหัสบดี ค่าธรรมเนียมอบรม 500 บาท
  • โรงเรียนสอนขับรถ

มีโรงเรียนสอนขับรถยนต์หลายที่ที่มีมาตรฐานได้ตามที่รัฐบาลกำหนด (จนถึงปัจจุบัน) สามารถเรียนขับรถแล้วอบรมต่อได้เลย ประหยัดเวลา ไม่ต้องจองคิว แต่ก็มีค่าใช้จ่ายค่อยข้างแพงกว่าปกติทั่วไปของการสอบทำใบขับขี่ และถึงแม้จะไม่ค่อยมีสาขาในกรุงเทพมากนัก แต่ก็กระจายไปทั่วทั้งประเทศ

ส่วนใครที่สนใจเรียนขับรถกับโรงเรียนสอนขับรถเอกชน ที่กรมการขนส่งทางบกรับรอง สามารถตรวจดูรายชื่อได้ที่ โรงเรียนสอนขับรถเอกชน

หรือ สำนักงานขนส่งจังหวัดที่โรงเรียนสอนขับรถตั้งสถานประกอบการอยู่ในเขตพื้นที่

หรือ กลุ่มมาตรฐานใบอนุญาตและโรงเรียนสอนขับรถ สำนักสวัสดิภาพการขนส่งทางบก หมายเลขโทรศัพท์ 0-2271-8888 ต่อ 6611.

หรือ สำนักงานขนส่งจังหวัดที่โรงเรียนสอนขับรถตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ หรือ กลุ่มมาตรฐานใบอนุญาตและโรงเรียนสอนขับรถ กรมการขนส่งทางบก 0 2271 8622-3

  • จองคิวออนไลน์

แม้ต้องไปอบรมการทำใบขับขี่ที่เดิม แต่ก็ประหยัดเวลาในการไปจองคิวที่กรมขนส่งมากขึ้น ถึงจะรู่ว่าการอบรมของคุณจะเกิดขึ้นในอีกสี่เดือนข้างหน้าแน่นอน แต่ข้อดีคือ รองรับทั้งใบอนุญาตขับรถยนต์, รถจักรยานยนต์ ทั้งผู้ที่ไม่เคยได้รับใบอนุญาตมาก่อน ซึ่งสามารถจองคิวอบรมของสำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-5 ผ่านระบบออนไลน์ได้เลย ที่นี้ หรือดาว์นโหลด คู่มือการใช้งาน จองคิวทำใบขับขี่กับ e-Booking

  • โรงเรียนการขนส่ง

กรมการขนส่งทางบกเปิดสูตรการฝึกหัดขับรถยนต์ โดยเปิดสอนทั้งภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ สถานที่เปิดสอนหลักสูตร ณ อาคาร 8 กรมการขนส่งทางบก โทร. 0-2271-8626 ดูรายละเอียดได้ที่ คลิก

  • อบรมเสริมความรู้ วันเสาร์-อาทิตย์

กรมการขนส่งทางบก จัดโครงการอบรมเสริมความรู้แก่ผู้ขอรับใบอนุญาตขับรถในวันเสาร์และอาทิตย์ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย โดยมีเอกชนร่วมสนับสนุนการนักขับรถปลอดภัย สถานที่อบรมจัดกันที่ กรมการขนส่งทางบก จตุจักร อาคาร 4 ชั้น 3 สามารถสมัครร่วมโครงการฯ ได้กับภาคเอกชนใจดีได้โดย รายละเอียด คลิก ซึ่งจะใช้ระยะเวลาในการอบรม และทดสอบรวม 2 วัน ประกอบด้วย

– วันเสาร์ เป็นการอบรมตามหลักสูตร ประมาณ 5 ชั่วโมงของกรมการขนส่งทางบกให้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายจราจร มารยาทในการขับรถ เทคนิคการขับขี่รถจักรยานยนต์อย่างปลอดภัยในสถานการณ์ต่างๆ การปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อเกิดอุบัติเหตุ และเข้ารับการทดสอบข้อเขียนระบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-exam)

– วันอาทิตย์ ทดสอบขับรถในสนามขับรถโดยมีเจ้าหน้าที่ควบคุม กำกับ ดูแลการอบรมทดสอบให้เป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัยและระเบียบเดียวกับการขอรับใบอนุญาตขับรถในวันเวลาราชการ

อบรมใบขัขขี่

 ตารางอบรมเสริมความรู้ให้กับผู้ขอรับใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์ เดือนมกราคม-กันยายน 2562

  • รุ่นที่ 230 วันที่ 19-20 มกราคม 2562
  • รุ่นที่ 231 วันที่ 26-27 มกราคม 2562
  • รุ่นที่ 232 วันที่ 16-17 มีนาคม 2562
  • รุ่นที่ 233 วันที่ 20-21 เมษายน 2562
  • รุ่นที่ 234 วันที่ 11-12 พฤษภาคม 2562
  • รุ่นที่ 235 วันที่ 15-16 มิถุนายน 2562
  • รุ่นที่ 236 วันที่ 20-21 กรกฏาคม 2562
  • รุ่นที่ 237 วันที่ 17-18 สิงหาคม 2562
  • รุ่นที่ 238 วันที่ 14-15 กันยายน 2562

หรือจะเดินทางไปที่สำนักงานขนส่งใกล้บ้านก็ได้เหมือนกัน แต่เพื่อความรวดเร็วแนะนำให้โทรสอบถาม หรือจองคิวไว้ก่อน จะสะดวกและประหยัดเวลาที่สุด

อย่างไรก็ตาม ทั้ง 5 วิธีก็มีทั้งข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป แต่อย่างน้อยก็ช่วยประหยัดเวลา และลดความน่าเบื่อหน่ายของการไปนั่งรอคิวอบรมใบขับขี่ที่กรมขนส่งได้มากจริงๆค่ะ

 

Source : กรมการขนส่งทางบก PR.DLT.News