5-Things-For-Home-EV-Charging-Station

ทุกวันนี้ เราคงปฏิเสธไม่ได้แล้วล่ะครับว่า “รถยนต์ไฟฟ้า” เริ่มจะกลายมาเป็นปัจจัยที่ 5 ในชีวิตคุณ โดยรถยนต์ไฟฟ้า ที่ถึงแม้ว่าในตอนนี้จะมีหลายรุ่น ที่ราคาเริ่มต้นไม่ถึงล้าน เป็นเจ้าของกันได้ง่ายๆ แล้วก็ตาม (อ่านเพิ่มเติม >> 10 อันดับ รถยนต์ไฟฟ้า (รถEV) ราคาถูกสุดในไทย ปี 2021)

นอกจากข้อดีหลายๆ อย่าง ที่เรารู้กัน เช่น การขับขี่ที่เงียบสงบ ไม่มีเสียงดังจากเครื่องยนต์ ขับรถฟังเพลงเพราะๆ สบายหู ไม่ต้องง้อน้ำมันเชื้อเพลิง อีกทั้งมอเตอร์ไฟฟ้า ให้พลังแรงกว่ารถน้ำมันด้วยซ้ำไป จอดรถเปิดแอร์นอนก็ได้ อีกทั้งลดการซ่อมบำรุง รวมถึงน้ำมันเครื่อง น้ำมันเกียร์ ฯลฯ ไปได้เยอะ และเนื้อที่ใช้สอยก็เยอะขึ้นด้วย

โลกเปลี่ยน เทคโนโลยี​เปลี่ยน นั่นล่ะครับ … ถ้าหากคุณคิดจะเป็นเจ้าของรถยนต์ไฟฟ้าสักคัน ก็จะได้พบกับข้อดีมากมายขนาดนี้

MR.CARRO จะมาเล่าให้ฟังเพิ่มเติมด้วยว่า “บ้าน” หรือ “นิวาสสถาน” ที่คุณอาศัยอยู่ ก็ต้องให้ความสำคัญด้วยไม่แพ้กัน! โดย 5 สิ่ง ที่คุณต้องเตรียมพร้อม หรือติดตั้งปรับปรุงอุปกรณ์รองรับ เกี่ยวกับระบบไฟฟ้าภายในบ้านของคุณ ก่อนใช้รถยนต์ไฟฟ้านั้น จะมีอะไรบ้าง … ไปอ่านกันเลยครับ

5-Things-For-Home-EV-Charging-Station

ภาพจาก การไฟฟ้านครหลวง

1. มิเตอร์ไฟฟ้า

ปกติแล้ว ตามบ้านของเราจะใช้มิเตอร์ไฟฟ้า หรือเรียกกันติดปากว่า “มิเตอร์ไฟ” ที่การไฟฟ้ามักจะมาจดบันทึกการใช้งานว่าใช้ไปปริมาตรเท่าไหร่ ก่อนจะส่งบิลมาเก็บตังค์ทุกเดือน ซึ่งถ้าหากคุณใช้รถยนต์ไฟฟ้า หรือรถยนต์แบบ Plug-In Hybrid (รถปลั๊กอินไฮบริด) แล้ว ก็ควรเลือกมิเตอร์ไฟฟ้าที่มีแอมป์ที่เหมาะสม ให้รองรับกับรถยนต์ไฟฟ้าของคุณ

สำหรับมิเตอร์ไฟฟ้า แบ่งออกได้เป็นหลายประเภท ได้แก่

  • มิเตอร์ไฟสำหรับบ้านอยู่อาศัย
  • มิเตอร์ไฟสำหรับกิจการขนาดเล็ก
  • มิเตอร์ไฟสำหรับกิจการขนาดกลาง
  • มิเตอร์ไฟสำหรับกิจการขนาดใหญ่
  • มิเตอร์ไฟสำหรับกิจการเฉพาะอย่าง
  • มิเตอร์ไฟสำหรับองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร
  • มิเตอร์ไฟสำหรับกิจการสูบน้ำเพื่อการเกษตร
  • มิเตอร์ไฟสำหรับผู้ใช้ไฟชั่วคราว

ส่วนมิเตอร์ไฟสำหรับบ้านอยู่อาศัย ยังแบ่งออกได้เป็นอีกหลายประเภท อาทิ

  • ขนาดมิเตอร์ 5(15) เฟส 1 ขนาดการใช้ไฟฟ้า ไม่เกิน 10 แอมแปร์
  • ขนาดมิเตอร์ 15(45) เฟส 1 ขนาดการใช้ไฟฟ้า 11-30 แอมแปร์
  • ขนาดมิเตอร์ 30(100) เฟส 1 ขนาดการใช้ไฟฟ้า 31-75 แอมแปร์
  • ขนาดมิเตอร์ 50(150) เฟส 1 ขนาดการใช้ไฟฟ้า 76-100 แอมแปร์
  • ขนาดมิเตอร์ 15(45) เฟส 3 ขนาดการใช้ไฟฟ้า ไม่เกิน 30 แอมแปร์
  • ขนาดมิเตอร์ 30(100) เฟส 3 ขนาดการใช้ไฟฟ้า 31-75 แอมแปร์
  • ขนาดมิเตอร์ 50(150) เฟส 3 ขนาดการใช้ไฟฟ้า 76-100 แอมแปร์
  • ขนาดมิเตอร์ 200 เฟส 3 ขนาดการใช้ไฟฟ้า 101-200 แอมแปร์
  • ขนาดมิเตอร์ 400 เฟส 3 ขนาดการใช้ไฟฟ้า 201-400 แอมแปร์

ตามปกติ มิเตอร์ไฟของบ้านพักอาศัยทั่วไปจะเป็นแบบ 15(45) 1 เฟส (1P) หมายถึง มิเตอร์ขนาด 15 แอมป์ (A) และตัวเลข 45 (A) อันนี้หมายถึงค่าพิกัดกระแสสูงสุด ที่มิเตอร์ไฟจะสามารถรองรับได้ในช่วงเวลาหนึ่ง (ต่อเนื่องกันไม่เกิน 3 ชั่วโมง)

รถยนต์ไฟฟ้า / รถยนต์แบบ Plug-In Hybrid จะกินกระแสไฟฟ้าขณะชาร์จ 8A ถึง 16A ต่อเนื่องจนกว่าแบตเตอรี่จะเต็ม ดังนั้นมิเตอร์ไฟฟ้าควรมีขนาดไม่น้อยกว่า 30 แอมป์ (A)

ซึ่งบ้านใครที่ใช้งานรถยนต์ไฟฟ้า / รถยนต์แบบ Plug-In Hybrid และต้องการชาร์จไฟภายในบ้านด้วย ก็ลงทุนเปลี่ยนขนาดมิเตอร์ใหญ่ขึ้นเป็น 30 (100) เฟส 1 (หรือเฟส 3 ก็ได้) ไปเลย เพื่อป้องกันการใช้ไฟฟ้าจนเกิดขีดจำกัดนั่นเอง

5-Things-For-Home-EV-Charging-Station

ภาพจาก การไฟฟ้านครหลวง

2. สายไฟฟ้า (สายเมนเข้าบ้าน) และ Main Circuit Breaker (MCB) หรือ ลูกเซอร์กิตเบรกเกอร์

เปลี่ยนสายเมน และลูกเซอร์กิต (MCB) : สำหรับสาย Main ของเดิมใช้ขนาด 16 ตร.มม. ต้องปรับให้มีขนาดใหญ่ขึ้นเป็น 25 ตร.มม. และเปลี่ยนลูกเซอร์กิต(MCB) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ป้องกันร่วมกับตู้ MDB ที่แต่เดิมรองรับได้สูงสุด 45(A) เปลี่ยนเป็น 100(A) หรือพูดให้เข้าใจง่ายก็คือ ขนาดมิเตอร์ ขนาดสายเมน และขนาดลูกเซอร์กิต (MCB) ต้องสอดคล้องกัน

5-Things-For-Home-EV-Charging-Station

3. ตู้ควบคุมไฟฟ้า (MDB)

ตรวจสอบภายในตู้ว่ามีพื้นที่เหลือให้ติดตั้งตู้ควบคุมไฟฟ้า (MDB) (Main Distributor Board หรือ Circuit Breaker) อีก 1 ช่องรึเปล่า? เพราะการชาร์จไฟของรถยนต์ไฟฟ้า หรือรถยนต์แบบ Plug-In Hybrid จะต้องติดตั้ง Circuit Breaker เพิ่ม แยกใช้งานกับเครื่องไฟฟ้าอื่นๆ แต่ถ้าไม่มีก็ติดตู้ควบคุมย่อยแยกต่างหากอีก 1 ตู้

5-Things-For-Home-EV-Charging-Station

4. เครื่องตัดไฟรั่ว

เครื่องตัดไฟรั่ว (Earth-Leakage Circuit Breaker) หรือ Residual Current Devices = RCD จะทำหน้าที่ตรวจจับไฟฟ้ารั่ว ไม่ว่าจะเกิดจากฟ้าฝ่า การใช้ไฟเกินความพอดี หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าในบ้านมีสภาพเก่า สายไฟเก่าๆ อาจจะทำให้ไฟฟ้าเกิดการลัดวงจร หรือไฟดูดผู้ใช้งานขึ้นมาได้ ซึ่งช่วยปกป้องชีวิตและทรัพย์สินของคุณ โดยมีทั้งแบบตรวจจับแรงดัน และแบบตรวจจับกระแส

ซึ่งเครื่องตัดไฟรั่วจะตัดไฟที่ไหลผ่าน ในกรณีที่พบว่ามีกระแสไฟฟ้าบางส่วนรั่วหายไป เช่น รั่วไหลลงไปในดิน ผ่านร่างกายมนุษย์ หรือรั่วผ่านฉนวนที่ชำรุดของอุปกรณ์ไฟฟ้า เป็นต้น
เครื่องตัดไฟรั่วที่ใช้ป้องกันไฟดูด ต้องมีคุณสมบัติและการใช้งาน ดังนี้
  • ต้องมีพิกัดขนาดกระแสไฟฟ้ารั่วไม่เกิน 30 mA
  • ต้องตัดไฟได้ภายในระยะเวลา 0.04 วินาที เมื่อมีไฟรั่วขนาด 5 เท่าของพิกัด (=150 mA) และต้องเป็นไปตามมาตรฐาน มอก. 909

ซึ่งการใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพ ควรติดตั้งระบบสายดินด้วย แต่กรณีที่คุณติดตั้งสายชาร์จไฟฟ้า ที่มีระบบตัดไฟภายในตัวอยู่แล้ว ก็ไม่ต้องติดตั้งเครื่องตัดไฟรั่วเพิ่มครับ

5-Things-For-Home-EV-Charging-Station

ภาพจาก การไฟฟ้านครหลวง

5. หัวชาร์จไฟฟ้า (EV Socket)

หัวชาร์จไฟฟ้า ตามการออกแบบของผู้ผลิตรถยนต์แต่ละค่าย มักจะทำไม่เหมือนกัน แต่สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 แบบหลักๆ คือ

1. หัวชาร์จฯ แบบเร็ว Quick Charger

เป็นการชาร์จแบบเร็วด้วยไฟฟ้ากระแสตรง (DC Charging) สามารถชาร์จแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า จาก 0 – 80% ได้ในเวลาประมาณ 40-60 นาที (ขึ้นอยู่กับความจุพลังงานแบตเตอรี่ กิโลวัตต์-ชั่วโมง) เหมาะสำหรับชาร์จตามจุดพักรถต่างๆ ที่ต้องใช้ความรวดเร็ว และต้องเดินทางต่อ ซึ่งประเภทหัวชาร์จของ Quick Charger ได้แก่ CHAdeMo (ย่อมาจาก CHArge de Move), GB/T และ CCS (ย่อมาจาก Combined Charging System)

สำหรับหัวชาร์จแบบ DC นี้ จะเป็นหัวชาร์จที่ใช้กับสถานีชาร์จไฟรถยนต์ไฟฟ้า

5-Things-For-Home-EV-Charging-Station

ภาพจาก การไฟฟ้านครหลวง

2. การชาร์จฯ แบบธรรมดา แบบ Double Speed Charge (เครื่องชาร์จ Wall Box / EV Charger)

อันนี้คือการชาร์จแบบธรรมดาด้วยไฟฟ้ากระแสสลับ (AC Charging) ซึ่งการชาร์จในบ้านอยู่อาศัยจะเป็นแบบนี้ มีทั้งแบบสายชาร์จแบบพกพา และเครื่องชาร์จแบบติดผนัง ใช้ระยะเวลาชาร์จนานหน่อย อยู่ที่ประมาณ 5 – 7 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับกำลังไฟของเครื่องชาร์จ Wall Box, ขนาดของแบตเตอรี่ และสเปคของรถ

การชาร์จด้วยตู้ชาร์จติดผนัง สามารถทำได้รวดเร็วกว่าการต่อจากเต้ารับภายในบ้านโดยตรง โดยหัวชาร์จที่ใช้แบ่งออกเป็น 2 แบบ

  • Type 1 เป็นหัวชาร์จที่ใช้กับรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศญี่ปุ่น
  • Type 2 เป็นหัวชาร์จที่นิยมใช้กับรถยนต์ไฟฟ้าในแถบทวีปยุโรป

ทั้งนี้การติดตั้งตู้ชาร์จติดผนัง มิเตอร์ไฟของบ้านที่ติดตั้งต้องสามารถรองรับกระแสไฟฟ้าขั้นต่ำ 30 (100)A

สำหรับการเสียบชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าจะเป็นชนิด 3 รู (มีสายต่อหลักดิน) ต้องทนกระแสไฟฟ้าได้ต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 16(A) แต่รูปทรงอาจจะปรับตามรูป แบบปลั๊กของรถยนต์แต่ละรุ่น

สุดท้ายนี้ การติดตั้งจุดชาร์จไฟรถยนต์ไฟฟ้าภายในบ้าน ต้องเดินวงจรสายไฟแยกออกมาจ่างหาก ควรจะได้รับการติดตั้งจากข่างผู้ชำนาญงานเท่านั้น และห้ามนำสายชาร์จแบบพกพา ไปต่อกับเต้ารับเดิมที่มีอยู่แล้วในบ้าน เนื่องจากระบบไฟฟ้าเดิม ไม่ได้ออกแบบมาให้รองรับกับการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า

5-Things-For-Home-EV-Charging-Station

ค่าไฟหน่วยละเท่าไหร่ (Update จากการไฟฟ้านครหลวง ปี 2564)

อัตราปกติปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าไม่เกิน 150 หน่วยต่อเดือน

ค่าพลังงานไฟฟ้า
15 หน่วย (กิโลวัตต์ชั่วโมง) แรก (หน่วยที่ 1 – 15) หน่วยละ 2.3488 บาท
10 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 16 – 25) หน่วยละ 2.9882 บาท
10 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 26 – 35) หน่วยละ 3.2405 บาท
65 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 36 – 100) หน่วยละ 3.6237 บาท
50 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 101 – 150) หน่วยละ 3.7171 บาท
250 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 151 – 400) หน่วยละ 4.2218 บาท
เกินกว่า 400 หน่วย (หน่วยที่ 401 เป็นต้นไป) หน่วยละ 4.4217 บาท
ค่าบริการ (บาท/เดือน) : 8.19

อัตราปกติปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าเกินกว่า 150 หน่วยต่อเดือน

ค่าพลังงานไฟฟ้า
150 หน่วย (กิโลวัตต์ชั่วโมง) แรก (หน่วยที่ 1 – 150) หน่วยละ 3.2484 บาท
250 หน่วยต่อไป ( หน่วยที่ 151 – 400 ) หน่วยละ 4.2218 บาท
เกินกว่า 400 หน่วย (หน่วยที่ 401 เป็นต้นไป) หน่วยละ 4.4217 บาท
ค่าบริการ (บาท/เดือน) : 38.22

อัตราตามช่วงเวลาของการใช้ (Time of Use Tariff : TOU Tariff)

ค่าพลังงานไฟฟ้า (บาท/หน่วย) ค่าบริการ (บาท/เดือน)
On Peak Off Peak
1.3.1 แรงดัน 12 – 24 กิโลโวลต์ 5.1135 2.6037 312.24
1.3.2 แรงดันต่ำกว่า 12 กิโลโวลต์ 5.7982 2.6369 38.22

On Peak

  • เวลา 09.00 – 22.00 น. วันจันทร์ – วันศุกร์

Off Peak

  • เวลา 22.00 – 09.00 น. วันจันทร์ – วันศุกร์
  • เวลา 00.00 – 24.00 น. วันเสาร์ – วันอาทิตย์ วันแรงงานแห่งชาติ วันหยุดราชการตามปกติ (ไม่รวมวันพืชมงคลและวันหยุดชดเชย)

ข้อกำหนดเกี่ยวกับอัตราค่าไฟฟ้า

  • อัตราค่าไฟฟ้าข้างต้น เป็นอัตราที่เรียกเก็บรายเดือน ที่ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม
  • ค่าไฟฟ้า ที่เรียกเก็บ ในแต่ละเดือน ประกอบด้วย ค่าไฟฟ้าตามอัตราค่าไฟฟ้าฐาน และ ค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้า โดย อัตโนมัติ (Ft) โดยมีการเรียกเก็บ Ft ทุกเดือน แยกเป็นรายการในใบเรียกเก็บเงินค่าไฟฟ้า ทั้งนี้ Ft ที่เรียกเก็บจะปรับเปลี่ยน ทุกๆ 4 เดือน โดยกำหนดให้ Ft เป็นอัตราคงที่ต่อหน่วยการใช้พลังงานไฟฟ้า

** อัตราค่าไฟฟ้าใหม่นี้เริ่มใช้ตั้งแต่ค่าไฟฟ้า ประจำเดือนพฤศจิกายน 2561 เป็นต้นไป**

5-Things-For-Home-EV-Charging-Station

สงสัยเพิ่มเติม ถามการไฟฟ้า

กรุงเทพฯ สมุทรปราการ และนนทบุรี ติดต่อ การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) โทร. 1130 หรือคลิกเว็บไซต์ การไฟฟ้านครหลวง หรือ Fanpage การไฟฟ้านครหลวง MEA

ส่วนต่างจังหวัด ติดต่อ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) โทร. 1129 หรือคลิกเว็บไซต์ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค หรือ Fanpage การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค PEA

หากช่วงนี้ ใครอยากเปลี่ยนไปใช้รถยนต์ไฟฟ้า และกำลังหาที่ขายรถคันเดิมอยู่ เอารถคันเดิมของคุณกับทาง CARRO สิ รับรองได้ราคาดีที่สุด ราคาที่คุณพอใจ พร้อมปิดการขายภายใน 24 ชั่วโมง! กับ CARRO Express แค่คลิก -> https://th.carro.co/sell-car/express หรือจะ Inbox มาขอรายละเอียดได้ที่ Facebook -> CARRO Thailand และ Add Line สอบถามรายละเอียดได้เช่นกัน ที่ @carrothai

และอีกหนึ่งบริการใหม่! CARRO Automall แหล่งรวมรถมือสองคุณภาพเยี่ยม ผ่านการตรวจสภาพแบบ Double Check รับประกันพร้อมโอนทุกคัน ฟรี! ค่าจัดโอน มีให้เลือกชมเพียบ ซื้อรถ คลิก -> https://th.carro.co/taladrod/allcar/carro 

หรือสนใจรถรุ่นไหนอยู่ แต่หาไม่ได้ สามารถสั่งตามออเดอร์ได้ที่นี้ > https://th.carro.co/buy-car หรือโทร. 02-508-8690 อีกทั้งยัง Inbox เข้ามาสอบถามก็ได้เช่นกันได้ที่ Facebook -> CARRO Automall – รถบ้านมือสอง หรือทาง Line เชิญเลยครับที่ @carroautomall

ขอขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก