เรื่องน่ารู้ ขั้นตอนการตรวจสภาพรถตามมาตรฐานคาร์โร 160 จุด

หากใครที่เคยติดตามอ่านบทความต่างๆ ของ Carro (คาร์โร) เกี่ยวกับการแนะนำรถมือสองมาก่อนหน้า ก็จะเห็นได้ว่าเรามักให้ความสำคัญกับการดูรถมือสอง ที่รถต้องได้รับการตรวจสภาพโดยละเอียดมาเป็นอันดับแรกเสมอ เพื่อที่คุณจะได้เลือกรถคันที่สภาพสมบูรณ์ พร้อมใช้งานที่สุด และไม่ก่อให้เกิดปัญหาจุกจิก หลังจากที่ซื้อรถมือสองคันที่ใช่ของคุณมาแล้ว

ส่วนถ้าหากใครไม่มีความเชี่ยวชาญพอ หรือไม่มีความรู้ในการดูรถยนต์มือสอง การให้ผู้เชี่ยวชาญให้คำแนะนำ ตรวจสภาพรถให้ หรือเลือกรถคันที่มีสภาพสมบูรณ์ พร้อมใช้งานและส่งมอบให้คุณเลือก ก็เป็นทางเลือกที่ตอบโจทย์ในยุค New Normal เช่นกัน

โดยการซื้อรถมือสองจาก Carro ต้องขอบอกก่อนเลยว่าพิเศษมากๆ เนื่องจากรถยนต์ที่จำหน่ายโดย Carro ได้รับการตรวจสภาพรถจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน “ทุกคัน” มากถึง 160 จุด! ซึ่งทาง Carro ยินดีรับประกันสภาพเครื่องยนต์และเกียร์ให้ถึง 1 ปีเต็ม พร้อมทั้งยินดีคืนเงินภายใน 5 วัน และรับประกันคาร์โรไม่กรอไมล์ ไม่ประสบอุบัติเหตุหนัก ไฟไหม้ หรือน้ำท่วม คุณจึงอุ่นใจได้ว่า ซื้อรถจากทาง Carro ไป มั่นใจ สภาพรถดีเยี่ยมแน่นอน

สำหรับ Carro เราตรวจสภาพรถ 160 จุด อย่างไร และจุดใดบ้างนั้น มาดูตามขั้นตอนด้านล่างได้เลยครับ …

เรื่องน่ารู้ ขั้นตอนการตรวจสภาพรถตามมาตรฐานคาร์โร 160 จุด

สภาพภายนอกรถ

  • ตรวจสอบสภาพตัวถังรถโดยรวม เริ่มตั้งแต่สภาพสีรถยนต์ตามจุดต่างๆ ด้วยการใช้เครื่องมือวัดความหนาของสีรถบนตัวถัง ว่ามีความต่างกันหรือไม่ หรือมีจุดใดเคยทำสีมาแล้วบ้าง ตรวจดูรอยลักยิ้ม รอบบุบ ครูด ว่ามีหรือไม่ ส่วนบริเวณกันชนหน้า-หลัง ฝากระโปรงหน้า ประตูทุกบาน ฝากระโปรงท้าย มีช่องไฟที่เสมอกันหรือไม่ รวมไปถึงบริเวณเส้นข้างตัวรถ เป็นต้น
  • ตรวจสอบตามตะเข็บต่างๆ รอยปั๊ม รอยอาร์ค ทั้งในบริเวณด้านในห้องเครื่อง, ด้านในประตูของแต่ละบาน หรือแม้แต่ฝากระบะท้ายก็ตาม

ตัวถัง และ กันชน

  • ขอบยางประตูรถยนต์ (ทุกบาน)
  • ที่เปิดประตูรถยนต์
  • กันชนหน้า
  • บังโคลนหน้า (ซ้าย)
  • ประตูหน้า (ขวา)
  • แผงประตูหน้า (ขวา)
  • ประตูหน้า (ซ้าย)
  • แผงประตูหน้า (ซ้าย)
  • ฝากระโปรงหน้า, แผ่นกันความร้อน, และค้ำฝากระโปรง
  • บังโคลนหน้า (ขวา)
  • ฝากระโปรงหลัง
  • บังโคลนหลังขวา
  • บังโคลนหลังซ้าย
  • กันชนท้าย
  • ประตูหลัง (ขวา)
  • แผงประตูหลัง (ขวา)
  • ประตููหลัง (ซ้าย)
  • แผงประตูหลัง (ซ้าย)
  • สเกิร์ตข้าง (ซ้าย)
  • สเกิร์ตข้าง (ขวา)
  • สภาพตัวถังโดยรวม

ฝากระโปรง และ ตะแกรง

  • กระจังหน้ารถ
  • ซ้นรูฟ / มูนรูฟ
  • เปิดประทุน
  • ระบบการเปิดฝากระโปรงหน้า

กระจก และ หน้าต่าง

  • กระจกบังลมหน้า
  • กระจกบังลมหลัง
  • กระจกประตูหน้า (ซ้าย)
  • กระจกประตูหน้า (ขวา)
  • กระจกประตูหลัง (ขวา)
  • กระจกประตูหลัง (ซ้าย)
  • กระจกมุมหลัง (ซ้าย)
  • กระจกมุมหลัง (ขวา)
  • สวิตซ์ปัดน้ำฝนหลัง
  • สวิตซ์ปัดน้ำฝนกระจกหน้า
  • ใบปัดน้ำฝนด้านหน้าและด้านหลัง
  • ชุดควบคุมกระจกไฟฟ้า
  • กระจกมองข้างด้านซ้าย
  • กระจกมองข้างด้านขวา
  • กระจกมองหลัง
  • ที่บังแดดด้านหน้า, กระจกส่องหน้า และ ไฟส่องสว่าง

ไฟภายนอก

  • ไฟหน้า (ซ้าย)
  • ไฟหน้า (ขวา)
  • ไฟข้างรถ
  • ไฟท้าย (ซ้าย)
  • ไฟท้าย (ขวา)
  • ไฟฉุกเฉิน
  • ไฟสัญญาณเตือน
  • ระบบไฟตัดหมอก
  • ไฟ Daytime Running Light
  • ระบบปรับไฟ สูง/ต่ำ
  • ระบบไฟ เปิด/ปิด อัตโนมัติ

ชุดล้อ

  • ยางอะไหล่
  • เครื่องมือแม่แรง
  • ขอบล้อ
  • ศูนย์ล้อ
  • ฝาครอบล้อแม๊ก และครอบดุมล้อ

เรื่องน่ารู้ ขั้นตอนการตรวจสภาพรถตามมาตรฐานคาร์โร 160 จุด

สภาพภายในรถ

  • ตรวจสอบสภาพแผงคอนโซล แผงข้างประตูด้านในรถ ฝาครอบชุดสวิทช์กระจกไฟฟ้า และแผงคอนโซลกลาง ตรวจเช็คหมุดยึดต่างๆ มีงานประกอบที่เรียบร้อยตามแบบโรงงาน หรือมีร่องรอยการถอด งัด รอยขีดข่วน หรือทำสีใหม่หรือไม่ พร้อมเช็คฟังก์ชั่นต่างๆ ในรถ ว่าทำงานได้ครบถ้วนหรือไม่
  • เคยติดแก๊ส LPG/NGV มาหรือไม่ โดยตรวจสอบจากด้านท้าย ว่าเคยมีรอยเจาะที่พื้นรถ พื้นยางอะไหล่รถ ว่าเคยเดินท่อมาหรือไม่ รวมถึงท่อทางเดินต่างๆ ในห้องเครื่องยนต์

เครื่องเสียง และ ระบบสัญญาณเตือน

  • ระบบเครื่องเล่นและวิทยุ
  • ลำโพง
  • สัญญาณกันขโมย
  • กล้องถอยหลัง
  • เสาอากาศ

ระบบปรับอากาศ และ ระบบทำความเย็น

  • แผงควบคุมระบบแอร์
  • ชิ้นส่วนที่เกี่ยวข้องกับระบบแอร์
  • การทำงานของระบบทำความเย็น
  • ช่องแอร์ด้านหน้า
  • ช่องแอร์ด้านหลัง
  • การทำงานของระบบไล่ฝ้า
  • ชุดพักแขนกลางและคอนโซลกลาง

พรมรองพื้น ปูพื้น แผงและเบาะ

  • พรมหรือแผ่นยางรองพื้น
  • พรมในห้องโดยสาร
  • แผงประตูหน้า (ขวา)
  • แผงประตูหน้า (ซ้าย)
  • แผงประตูหลัง (ขวา)
  • แผงประตูหลัง (ซ้าย)
  • แผงครอบเสา A (ขวา)
  • แผงครอบเสา A (ซ้าย)
  • แผงครอบเสากลาง (ขวา)
  • แผงครอบเสากลาง (ซ้าย)
  • แผงครอบเสา C (ขวา)
  • แผงครอบเสา C (ซ้าย)
  • ช่องเก็บของด้านหน้า
  • ช่องเก็บของด้านหน้า
  • เบาะหน้ารวมถึงเบาะไฟฟ้า
  • เบาะหลังรวมถึงเบาะไฟฟ้า
  • เบาะพับ
  • ปรับเบาะอุ่น
  • ปรับเบาะเย็น
  • เบาะ และ พนักพิงศีรษะ
  • ผ้าหลังคา
  • แผงบังสัมภาระ, แผงลำโพงหลัง

สิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ (ภายใน)

  • นาฬิกา
  • ช่องจ่ายไฟ – 12V / ที่เขี่ยบุหรี่
  • ช่องจ่ายไฟ – USB Port / ที่เขี่ยบุหรี่
  • พวงมาลัยเพาเวอร์
  • ชุดควบคุมบนพวงมาลัย
  • สภาพพวงมาลัย
  • การปรับระดับของพวงมาลัย
  • การวัดเลขระยะไมล์
  • ไฟหลังคา, ไฟกลางและไฟส่องแผนที่
  • ที่เขี่ยบุหรี่
  • ชุดเบรคมือ
  • หัวเกียร์
  • แตร
  • ไฟสัญญาณเตือน
  • ระบบครูซคอนโทรล
  • ระบบความจำสถานะผู้ขับขี่
  • แผงควบคุมคอลโซล
  • ระบบ Paddle Shift

ความปลอดภัย

  • เข็มขัดนิรภัย
  • ถุงลมนิรภัย

ระบบล็อค และ แผงควบคุม

  • ระบบเซ็นทรัลล็อค
  • รีโมตเปิดท้ายรถ
  • ระบบปุ่มกดสตาร์ท
  • ฝาถังน้ำมัน

ช่องเก็บสัมภาระ

  • ไฟส่องสัมภาระด้านท้าย
  • แผงครอบสัมภาระด้านท้าย
  • ถาดท้าย

เรื่องน่ารู้ ขั้นตอนการตรวจสภาพรถตามมาตรฐานคาร์โร 160 จุด

ช่วงล่าง

  • วิเคราะห์สภาพช่วงล่าง ปีกนก แขนต่างๆ ลูกหมาก โช๊คอัพ สปริง ยางเบ้าโช๊ค อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานหรือไม่ มีจุดรั่วซึม หรือยุบหรือไม่ ทั้ง 4 ล้อ
  • สภาพยางรถยนต์ ความหนาของดอกยาง สภาพเนื้อยาง มีร่องรอยบาดบวม แตกตำหรือไม่
  • สภาพความหนาของชุดจานเบรก ความหนาของผ้าเบรก สภาพท่ออ่อนเบรกทั้ง 4 ล้อ รวมไปถึงกระปุกน้ำมันเบรก

ของเหลว

  • น้ำมันเบรก
  • น้ำมันเกียร์
  • การรั่วซึมของน้ำมันเกียร์
  • น้ำมันพวงมาลัยพาวเวอร์
  • น้ำยากระปุกฉีดกระจกหน้า
  • น้ำมันเครื่อง
  • การรั่วซึมของน้ำมันเครื่อง

ระบบหล่อเย็น

  • กระปุกพักน้ำหล่อเย็น
  • น้ำยาหล่อเย็น
  • หม้อน้ำ

ระบบไฟฟ้า

  • สายไฟและกล่องฟิวส์
  • ฝาครอบเครื่องยนต์
  • แบตเตอรี่

ระบบไอเสีย

  • ระบบไอเสีย

ช่วงล่าง

  • ระบบปั๊มพวงมาลัยเพาเวอร์
  • แร็คพวงมาลัย, กันโคลงและยางหุ้ม
  • ระบบคันชักคันส่ง
  • ปีกนกและลูกหมากปลายแร็ค
  • เหล็กกันโคลง

ยาง

  • ยางหน้า (ซ้าย)
  • ยางหน้า (ขวา)
  • ยางหลัง (ซ้าย)
  • ยางหลัง (ขวา)

เรื่องน่ารู้ ขั้นตอนการตรวจสภาพรถตามมาตรฐานคาร์โร 160 จุด

ห้องเครื่องยนต์

  • สภาพห้องเครื่องยนต์ สภาพคานหน้าของเดิมหรือไม่ หรือร่องรอยการงัด หรือตอก เปลี่ยน แผ่นแสดงรายละเอียดรถ หรือไม่ หรือมีการทำสีในจุดที่ไม่ควรทำสีหรือไม่ พร้อมตรวจสอบรอยตะเข็บต่างๆ หรือรูระบายน้ำ มีถูกปิดหรือทำสีทับไปหรือไม่
  • ทดสอบการทำงานของเครื่องยนต์ ต้องเดินเรียบ นิ่ง ได้มาตรฐานใกล้เคียงกับรถใหม่ บิดกุญแจแล้วต้องสตาร์ทติดทันที
  • ตรวจเช็คระบบไฟภายในรถ ฟิวส์ต่างๆ จากเครื่องวัด
  • ระบบแอร์ คอมเพรสเซอร์แอร์ แผงคอนเดนเซอร์ ตู้แอร์ อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานหรือไม่ พร้อมเช็ครั่ว เช็คน้ำยาแอร์
  • สภาพชุดสายพานต่างๆ ทั้งสายพานไทม์มิ่ง สายพานแอร์ สายพานพวงมาลัยเพาเวอร์ (ถ้ามี) และสายพานเครื่องยนต์ เป็นต้น
  • ชุดกล้องมองถอยหลัง กล้องหน้ารถ เซ็นเตอร์เปิด-ปิด ฝากระโปรงท้าย
  • ตรวจสอบน้ำมันเครื่อง, น้ำมันเกียร์, น้ำมันเบรก, น้ำมันคลัทช์, น้ำมันพวงมาลัยเพาเวอร์ (ถ้ามี) และน้ำมันเฟืองท้าย
  • สภาพหม้อน้ำ น้ำยาหล่อเย็น หม้อพักน้ำ และแบตเตอรี่รถยนต์
  • สภาพใบปัดน้ำฝน มอเตอร์ปัดน้ำฝน ที่ฉีดน้ำล้างกระจก ที่ฉีดน้ำไฟหน้า มอเตอร์ปัดน้ำฝน สภาพพร้อมใช้งานหรือไม่

เอกสารของรถ

  • ตรวจดูคู่มือรถ, Book Service สมุด/คูปอง เข้ารับบริการจากผู้ผลิต, คู่มือรับประกันระบบแอร์รถยนต์, เอกสารประกันภัย, พรบ. และเล่มทะเบียนรถ เพื่อประเมินว่าเจ้าของรถคนเดิม ดูแลรถมาอย่างไรบ้าง พร้อมตรวจสอบเลขไมล์รถยนต์ว่ามีกรอไมล์มาหรือไม่

เรื่องน่ารู้ ขั้นตอนการตรวจสภาพรถตามมาตรฐานคาร์โร 160 จุด

ทดสอบขับขี่บนถนน

การนำรถออกไปทดลองขับ พร้อมตรวจสอบสภาพรถ ด้วยการทดลองฟังเสียงดูว่ามีเสียงยุกยิก เสียงดัง จากจุดใดจุดหนึ่งหรือไม่ การตอบสนองของเครื่องยนต์ เกียร์ เบรก ช่วงล่าง พวงมาลัย หรือมีความผิดปกติอะไรของตัวรถหรือไม่ ทั้งช่วงความเร็วต่ำและความเร็วสูง

เครื่องยนต์

  • การสตาร์ทของเครื่องยนต์
  • เสียงผิดปกติในขณะเครื่องยนต์ทำงาน
  • การทำงานขณะรอบเดินเบา
  • อัตราเร่งของเครื่องยนต์
  • สายพานเครื่องยนต์
  • ยางแท่นเครื่องและเกียร์

ช่วงล่างและระบบกันสะเทือน

  • ความหนาของผ้าเบรก
  • แป้นเบรก
  • ระบบเบรก และ ท่อระบบเบรก
  • ระบบกันสะเทือนและโช๊ค
  • ระบบบังคับเลี้ยว
  • เสียงช่วงล่าง
  • ชุดเกียร์

ชุดคลัตช์และระบบส่งกำลัง

  • การทำงานของคลัตช์
  • ระบบเกจ์วัดและแผงหน้าปัด
  • การเปลี่ยนเกียร์สามารถทำงานได้อย่างปกติ
  • เสียงผิดปกติจากการทำงานของชุดเกียร์และระบบขับเคลื่อน
  • ระบบขับเคลื่อน 4 ล้อ
  • การทำงานของเพลาขับและชุดส่งกำลัง

เรื่องน่ารู้ ขั้นตอนการตรวจสภาพรถตามมาตรฐานคาร์โร 160 จุด

การตรวจสภาพโดยรวม

  • รถไม่มีอุบัติเหตุหนัก
  • รถไม่มีไฟไหม้
  • รถไม่มีรอยน้ำท่วม

CARRO Automall

ส่วนใครที่กำลังมองหารถคันที่ใช่ มาใช้งานในช่วงหน้าฝนนี้ เราขอย้ำอีกครั้งว่า Carro จัดเต็มทั้งราคาและคุณภาพ ให้ทุกท่านสามารถเป็นเจ้าของรถคุณภาพดี ราคาโดนใจ และอุ่นใจไปอีกขั้น เพราะผ่านการตรวจสอบรถยนต์ทั้งคัน 160 จุดอย่างละเอียด จากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เรายังรับประกันเครื่องยนต์และเกียร์ 1 ปี รับประกันไม่กรอไมล์ และรับประกันไม่ประสบอุบัติเหตุหนัก ไฟไหม้ หรือน้ำท่วม อีกด้วย! และเรายังมีบริการสินเชื่อรถยนต์จาก Genie เพื่อคุณอีกด้วย

เลือกชม ซื้อรถ หรือจองรถออนไลน์ของ Carro ผ่านหน้าตลาดรถ (คลิกที่นี่) หรือติดต่อผ่าน Inbox ใน Fanpage Carro Thailand

หรือคุณสามารถเลือกชมรถด้วยตนเองได้ที่ Carro Automall สาขาใกล้บ้านท่านได้แล้ววันนี้ ทั้งสาขาดอนเมือง สาขาศรีนครินทร์ และสาขาเกษตรนวมินทร์ เปิดบริการทุกวัน ตั้งแต่ 9.30 – 18.30 น.

Carro Automall สาขาดอนเมือง

Carro Automall สาขาดอนเมือง ตั้งอยู่ ณ 292 ถ.วิภาวดีรังสิต แขวงสนามบิน เขตดอนเมือง กรุงเทพฯ 10210 โทร. 02-508-8690

Carro Automall สาขาศรีนครินทร์

Carro Automall สาขาสวนหลวง ตั้งอยู่ ณ 37/91 ซ.ศรีนครินทร์ 55 (ซอยพรีเมียร์ 1 แยก 1) (ติดฝั่งสวนหลวง ร.9) ถ.ศรีนครินทร์ แขวงหนองบอน เขตประเวศ กรุงเทพฯ 10250 โทร. 02-508-8690

Carro Automall สาขาเกษตรนวมินทร์

และ Carro Automall สาขาเกษตรนวมินทร์ ตั้งอยู่ ณ ตลาดรถยนต์มอเตอร์ สแควร์ 289/5 บล็อก H2 ถ.ประเสริฐมนูกิจ (แยกไฟแดงนวลจันทร์ตัดใหม่ ตลาดรถไฟนวลจันทร์เก่า) เขตบึงกุ่ม กรุงเทพฯ 10230 โทร. 02-508-8690

รวมถึงศูนย์บริการลูกค้า Carro Customer Experience Center

สาขา Lotus’s บางกะปิ ชั้น 2 เลขที่ 3109 ถ. ลาดพร้าว แขวงคลองจั่น เขตโลตัสบางกะปิ กรุงเทพฯ 10240

ดูเส้นทาง

สาขา Lotus’s ศรีนครินทร์ ชั้น 1 เลขที่ 9 หมู่ที่ 6 ตำบลบางเมืองใหม่ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ

ดูเส้นทาง

สาขา Lotus’s พระราม 1 ชั้น 3 เลขที่ 31 ถ.พระราม1 แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

ดูเส้นทาง

สาขา Lotus’s บางใหญ่ ชั้น 1 เลขที่ 90 หมู่ 5 ตำบลบางคูเวียง อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี 11130

ดูเส้นทาง

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Facebook -> Carro Thailand โทร. 02-460-9380 หรือทาง Line @Carrothai ครับ

5 ฟีเจอร์เด่นใน "รถกระบะ" ยุคนี้ ที่ไม่ได้จำกัดแค่รถขนของอีกต่อไป!

รถกระบะ หรือ รถปิคอัพ หนึ่งในรูปแบบรถยอดนิยมที่ยังครองใจนักขับสายลุยอยู่เสมอมา ด้วยพื้นที่การบรรทุกของที่เหนือกว่าแต่ยังคงความแรงและความแข็งแกร่งได้อย่างเต็มที่เช่นเดียวกับรถ SUV แต่มีราคาที่ย่อมเยาลงกว่ามาก ทำให้หลายคนเลือกที่จะใช้งานรถกระบะสำหรับทุกงานด้านการขับขี่ การขนส่ง การเดินทางไกล หรือตะลุยไปในทุกเส้นทาง

รถกระบะ คือ ยานพาหนะที่ขึ้นชื่อในเรื่องของความทนทาน แข็งแกร่ง บึกบึน สามารถนำคุณตะลุยได้ในทุกเส้นทางแห่งการขับขี่ เพื่อให้รถกระบะคันโปรดของคุณเต็มไปด้วยประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จึงมีการคิดค้นรูปแบบของฟีเจอร์ใหม่ ๆ เพื่อนำมาเสริมประสิทธิภาพให้กับรถกระบะของคุณได้สามารถเค้นศักยภาพแฝงเพิ่มออกมาได้อย่างไม่รู้จบ มาดูกันว่าในปัจจุบันนี้ อะไรคือ 5 ฟีเจอร์สุดฮิตที่ใช้ในการตกแต่งรถกระบะเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานกันบ้าง รับรองว่าจะยกระดับรถของคุณให้หล่อเฟี้ยวและเต็มประสิทธิภาพอย่างสูงสุดทั้งรถกระบะทั่วไปและรถกระบะไฟฟ้า

5 ฟีเจอร์เด่นใน "รถกระบะ" ยุคนี้ ที่ไม่ได้จำกัดแค่รถขนของอีกต่อไป!

1. ชุดล้อยาง

นับเป็นอุปกรณ์เสริมหล่อให้กับรถกระบะฮิตที่คิดถึงกันเป็นอันดับแรก เรียกว่าพอออกมาจากโชว์รูมได้ไม่ทันไร เจ้าของรถทุกคนต้องรีบวิ่งไปเปลี่ยนชุดยางกันก่อนเลยก็ว่าได้ เพราะยางรถที่ได้มากับการซื้อรถนั้นจะเป็นยางรถแบบมาตรฐานมีคุณภาพและประสิทธิภาพที่ดีอยู่ แต่ในเรื่องของการทำงานหรือการขับขี่เฉพาะทางยังไม่อาจตอบโจทย์ได้ ดังนั้น การมองหาชุดล้อที่เหมาะสมต่อการขับขี่จึงเป็นฟีเจอร์เด่นที่คอรถกระบะทุกคนต้องถามหาก่อนสิ่งอื่นใด

สำหรับชุดล้อรถกระบะนั้น มีทั้งแมกซ์รถกระบะที่ต้องดูว่าทำจากวัสดุชนิดไหน โดยต้องมีน้ำหนักเบา สวยงาม และเพิ่มการยึดเกาะระหว่างการขับขี่ได้เป็นอย่างดี และต้องมาพร้อมกับยางคุณภาพสูง โดยจะต้องมีการพิจารณาจากดอกยางที่ต้องมีความเหมาะสมกับสภาพท้องถนน ซึ่งทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับรัศมีวงยางที่เหมาะสมต่อขนาดตัวรถอีกด้วย เพื่อให้ทั้งการประหยัดน้ำมัน และการยึดเกาะถนนได้ดีที่สุด

2. ชุดกันชนโครเมียมรอบคัน

อีกหนึ่งฟีเจอร์เด่นที่ต้องบอกว่า บางคนมองหาเอาไว้ก่อนที่จะ ออกรถกระบะ เลยก็ว่าได้ นั่นคือชุดกัน

ชนรอบคันรถที่มีความโดดเด่นทั้งความสวยงามและความแข็งแรงแบบรอบด้าน นับตั้งแต่ ดันชนหน้า กันชนท้าย รวมไปถึง สเกิร์ต ด้านข้างที่มาทั้งรูปแบบของกันชน กันกระแทก หรือเป็นรูปแบบอุปกรณ์อเนกประสงค์ที่ทำออกมาเป็นบันไดสำหรับปีนขึ้นลงรถได้อีกด้วย นับได้ว่าเป็นฟีเจอร์เด็ดที่มีคุณสมบัติครบรอบด้าน ทั้งในเรื่องของความปลอดภัยจากการเฉี่ยวชนพร้อมทั้งการประดับตกแต่งยานยนต์ที่สร้างความสวยงามให้รถกระบะของคุณอีกด้วย

โดยชุดกันชนเหล่านี้ มันทำมาด้วยวัสดุโลหะผสมอัลลอยด์ ที่มีน้ำหนักเบา แต่เหนียวแน่นทนทาน ไม่เป็นสนิมง่าย โดยชุดโลหะที่นิยมนำมาทำเป็นชุดกันชนนั้นมีทั้งโลหะผสม อลูมิเนียมผสม รวมไปถึง แม็กนีเซียมผสมที่มีน้ำหนักเบาแต่มีความทนทานที่สูงมาก ขึ้นอยู่กับงบประมาณของคุณสำหรับการติดตั้ง แต่ถึงกระนั้น การมองหาชุดกันชนที่ออกแบบมาอย่างลงตัวย่อมหมายถึงความคุ้มค่า คุ้มราคา ที่คุณสามารถสัมผัสได้

5 ฟีเจอร์เด่นใน "รถกระบะ" ยุคนี้ ที่ไม่ได้จำกัดแค่รถขนของอีกต่อไป!

3. ชุดช่วงล่างและโช๊คอัพ

นับเป็นอีกหนึ่งฟีเจอร์เด็ดที่น่าสนใจอย่างมาก เนื่องจากว่ารถกระบะที่ออกมาจากโชว์รูมใหม่ ๆ นั้น มันมีความแข็งของแหนบและโครงสร้างช่วงหลัง แม้ว่าการใช้วิ่งเดินทางไกลเพื่อการบรรทุกยังสามารถทำได้ดี แต่อาการกระเด้งกระดอนที่เกิดขึ้นขณะที่วิ่งรถเปล่าเป็นความแข็งกระด้างที่คอรถกระบะทุกคนรู้เป็นอย่างดีว่าทางแก้มีอยู่เพียงทางเดียวเท่านั้นคือการเปลี่ยนชุดช่วงล่างของรถเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการขับขี่ปลอดภัยและการยึดเกาะถนนได้อย่างดีเยี่ยม

5 ฟีเจอร์เด่นใน "รถกระบะ" ยุคนี้ ที่ไม่ได้จำกัดแค่รถขนของอีกต่อไป!

แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนยางใหม่ก็ตาม แต่ปัญหาที่ตามมาคือสมดุลของรถที่เปลี่ยนไป ดังนั้นการมองหาช่วงล่างที่เต็มไปด้วยประสิทธิภาพสูง สามารถเพิ่มมุมองศาการเข้าโค้งพร้อมกับรักษาการยึดเกาะถนนเอาไว้ได้จึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง อุปกรณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงในฟีเจอร์นี้ได้แก่ โช๊คอัพ แหนบปีกนก รวมไปถึงตัวปรับองศาการเอียง ก้อนยางเล็ก ๆ ที่เพิ่มประสิทธิภาพการยึดเกาะและการถ่ายเทน้ำหนักของรถให้เกิดความสมดุลระหว่างการขับขี่นั่นเอง

4. ชุดยกสำหรับการบรรทุก

ถือเป็นฟีเจอร์ใหม่ล่าสุดที่คอรถกระบะรุ่นใหม่หลายคนที่ต้องทำงานด้านการบรรทุกเลือกดัดแปลงพื้นที่การบรรทุกสินค้าเพื่อให้ได้ประโยชน์ในการขนส่งอย่างมากที่สุด สำหรับการปรับกระบะหลังเพื่อการบรรทุกที่สามารถพบเห็นได้บ่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็นชุดลิฟต์ยกขึ้นลงสำหรับการลำเลียงสินค้า ชุดดัมฟ์หลังกระบะสำหรับการขนสิ่งของที่ต้องอาศัยการเทขึ้นลงได้สะดวก แม้กระทั่งระบบเครนสำหรับการยกสินค้าก็ถือได้ว่าเป็นฟีเจอร์ที่คุณสามารถเลือกติดตั้งไปพร้อม ๆ กับการปรับแต่งโครงสร้างของรถเพื่อการทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

5 ฟีเจอร์เด่นใน "รถกระบะ" ยุคนี้ ที่ไม่ได้จำกัดแค่รถขนของอีกต่อไป!

แต่การปรับแต่งในรูปแบบนี้จำเป็นต้องหาช่างผู้ชำนาญงานมาช่วยออกแบบและทำการติดตั้งโดยไม่ทำให้โครงสร้างของรถผิดไปซึ่งจะส่งปัญหาต่อสมดุลของรถผิดไปจากปกติ แทนที่จะได้รถกระบะเครื่องแรง ประสิทธิภาพสูงเหมาะกับการทำงาน กลายเป็นต้องเสียรถที่ต้องใช้ในการทำงานเพราะสมดุลของรถเสียไปอย่างที่ไม่ควรจะเป็นนั่นเอง

5. ชุดวินซ์สำหรับการเดินทางไกล

สำหรับการทำงานในพื้นที่ที่ห่างไกลจากตัวเมืองออกไป ฟีเจอร์เด็ดที่คอรถกระบะ ต้องมีไว้ไม่ว่าจะเป็นรถกระบะน้ำมัน หรือรถกระบะไฟฟ้านั่นคือ ชุดวินซ์ นั่นเอง ชุดวินซ์ที่กล่าวถึงนี้คือ ชุดรอกไฟฟ้า สลิง และ ตัวล็อก ซึ่งถือเป็นอุปกรณ์ที่มีความจำเป็นอย่างมากสำหรับการขับขี่ในพื้นที่คับขัน เหมาะสำหรับนักขับขาลุยที่ชื่นชอบการผจญภัยในเส้นทางพิเศษไม่ว่าจะเป็นทางลาดชัน หรือเขาสูง การมีชุดวินซ์เหล่านี้ไว้ติดรถนอกจากจะใช้ในการชักลากรถของตัวเองแล้ว ยังสามารถนำมาประยุกต์ใช้เพื่อการให้ความช่วยเหลือรถคันอื่นได้

หลักการพิจารณาชุดวินส์ที่ดีคือความแรงของระบบชักรอกไฟฟ้าที่ต้องมีพลังเพียงพอต่อการดึงรถออกมาจากพื้นที่คับขัน พร้อมทั้งสายสลิงและหูล็อกที่ต้องทนแรงเค้นได้มากพอ นับได้ว่าเป็นฟีเจอร์สุดสำคัญสำหรับการขับรถในพื้นที่พิเศษเช่นนี้

5 ฟีเจอร์เด่นใน "รถกระบะ" ยุคนี้ ที่ไม่ได้จำกัดแค่รถขนของอีกต่อไป!

ขับขี่ปลอดภัย มั่นใจได้มากขึ้นกับประกันภัยรถกระบะ

เพื่อให้การขับขี่รถกระบะของคุณเต็มไปด้วยประสิทธิภาพสูงสุด พร้อมกับการขับขี่ปลอดภัยที่มากที่สุด การมองหา ประกันรถยนต์ ที่สามารถครอบคลุมการดูแลรถของคุณได้อย่างเต็มประสิทธิภาพคือทางเลือกที่ดีที่สุด ซึ่งหนึ่งในผู้ให้บริการที่มีรูปแบบการประกันภัยรถยนต์หลากหลายรูปแบบคือ รู้ใจ ผู้นำด้านประกันภัยออนไลน์ของประเทศไทย ที่ให้บริการด้านประกันภัยรถยนต์ รวมถึงประกันภัยรถกระบะด้วย ให้คุณได้เลือกปรับแผนความคุ้มครองได้หลากหลายตามต้องการ ในราคาเบี้ยที่ “รู้ใจกว่า ประหยัดกว่า”

ให้รถกระบะขับเคลื่อนไปด้วยพลังและประสิทธิภาพที่สูงที่สุดต้องมองหา 5 ฟีเจอร์เด็ดสำหรับรถกระบะที่แฟนรถกระบะพันธุ์แท้ต้องไม่พลาด การติดตั้งอุปกรณ์เหล่านี้อย่างครบถ้วนช่วยให้ประสิทธิภาพการใช้งานรถกระบะของคุณเต็มไปด้วยประสิทธิภาพ หมดยุคที่ว่าเป็นแค่รถสำหรับบรรทุกอีกต่อไป มีรถเท่ห์ ๆ ต้องไม่พลาดที่จะเลือกใช้กรมธรรม์ประกันรถยนต์สำหรับรถกระบะของคุณจากรู้ใจ ที่จะช่วยดูแลการเดินทางของคุณให้อบอุ่นและปลอดภัยไปในทุกเส้นทางการขับขี่

สามารถติดตามข่าวสารและโปรโมชั่นใหม่ๆ จากรู้ใจได้ทาง FB Fanpage: Roojai หรือ คลิก add Official Line ของเราไว้ได้เลย

ตั้งศูนย์ กับ ถ่วงล้อ

สวัสดีครับผม วันนี้จะมาไขข้อสงสัยให้กับเพื่อนๆหลายๆ คนยังมีความเข้าใจผิดว่า การตั้งศูนย์กับถ่วงล้อ คืออย่างอย่างเดียวกันไหม ไทร์บิดเลยอยากจะมาขออธิบายอีกว่าทั้งสองอย่างนี้คืออะไร และ มีความสำคัญอย่างไรกันบ้างครับ

ตั้งศูนย์ กับ ถ่วงล้อ

อย่างแรกเลย การถ่วงล้อ คือ การทำให้ล้อนั้นมีความสมดุลของน้ำหนักเท่ากันทั้งวง โดยจะทำเมื่อมีการถอดใส่ยางใหม่กับแม็กซ์ครับ ไม่ว่าจะมีการถอดเอามาปะซ่อม หรือเปลี่ยนจุ๊บยางก็ตาม ก็ควรจะมีการถ่วงใหม่ทุกครั้ง เนื่องจากตำแหน่งยางมีการเปลี่ยนตำแหน่งอาจทำให้น้ำหนักของยางทั้งวงไม่เหมือนเดิมได้ซึ่งจะทำให้เกิดอาการสั่นเมื่อใช้งาน

การถ่วงล้อ ไม่ว่ายางจุดสีแดงหรือสีเหลือง จะอยู่ที่จุดใดบนแม็กซ์ไม่มีผลต่อการใช้งานหลังถ่วงล้อเสร็จ เพราะ หลังจากถ่วงล้อเสร็จน้ำหนักของวงจะเท่ากันทั้งหมด แต่จุดเหลือแดงเป็นจุดที่ทำให้คนถ่วงนั้นทำงานได้ง่ายขึ้น และ ใช้ตะกั่วถ่วงได้น้อยลงเท่านั้น

ตั้งศูนย์ กับ ถ่วงล้อ

อย่างที่สองคือตั้งศูนย์ การตั้งศูนย์นั้นจะทำให้ศูนย์ล้ออยู่ในองศาที่ถูกต้องไม่แบะออกเกินไป หรือ ไม่หุบเกินไป ซึ่งจะทำให้การขับขี่ของรถเรานั้นสมบูรณ์มากที่สุดไม่ว่าจะเป็นการตั้งศูนย์ของมุมแคสเตอร์ และ แคมเบอร์ ปัญหาของศูนย์ล้อเมื่อมีปัญหาอาการที่จะบ่งชี้จะมีอยู่ สองอย่าง แรกคือมีอาการกินซ้ายหรือกินขวาเวลาขับขี่ สองอาการสึกของหน้ายางมีปัญหากินสึกไม่เท่ากันของ ขอบในหรือขอบนอก (กรณีที่ยางสึกเป็นลูกคลื่นนั้นจะเกิดปัญหาจากช่วงล่างที่ต้องเช็กแก้ไขก่อนและค่อยนำมาตั้งศูนย์)

ตั้งศูนย์ กับ ถ่วงล้อ

ซึ่งการตั้งศูนย์นั้น แล้วเปลี่ยนยางใหม่ต้องตั้งศูนย์ ถ่วงล้อไหม?? แน่นอนครับ สิ่งที่ต้องทำคือ ถ่วงล้อครับอย่างที่แจ้งเป็นข้างต้นเพราะหากล้อที่ใส่ยางใหม่มานั้นไม่มีความสมดุลในล้อทั้งวง เมื่อใช้งานก็จะเกิดอาการสั่นเมื่อใช้ความเร็วเยอะๆ เพราะเนื่องมาจากว่าล้อกลิ้งไม่กลมทั้งวงครับ

แต่ถ้าเพื่อนมาถามว่าแล้วตั้งศูนย์ละจำเป็นไหม ไทร์บิดต้องเรียนแจ้งก่อนว่าเมื่อเราเปลี่ยนยางเราถอดแมกซ์ออกจากดุมล้อ และ ใส่กลับเข้าไปที่เดิมเพราะฉะนั้น การเปลี่ยนยางใหม่จะไม่ได้กระทบกับช่วงล่าง และ ศูนย์ล้อเดิมเลยครับ ซึ่งจริงๆ แล้วศูนย์ล้อเนี่ยเป็นส่วนที่ถ้าไม่มีปัญหาก็ไม่ควรจะไปปรับแต่งหรือยุ่งกับมันครับ เพราะทุกครั้งที่ร้านแจ้งว่าตั้งศูนย์นั้นหมายถึงทางร้านจะทำการเช็กศูนย์ให้โดยขึ้นที่เครื่องและตรวจสอบแต่ส่วนมากแทบไม่ได้ปรับแต่งต้องทำอะไรกับศูนย์เท่าไหร่ครับ แต่ถ้ามีอาการหรือปัญหาเหมือนข้างต้นแน่นอนครับควรตั้งศูนย์แต่ก่อนจะตั้งศูนย์แน่นอนว่าต้องมีการบำรุงช่วงล่างหรือหาสาเหตุที่ให้แน่ชัดก่อนครับว่า ปัญหาที่ศูนย์เพี้ยนเกิดจากอะไร

ตั้งศูนย์ กับ ถ่วงล้อ

แต่ก็จะมีเคสที่เป็นปัญหาก็คือ เมื่อเปลี่ยนยางแล้วมีปัญหาการกินซ้ายและขวาทั้งๆที่ตั้งศูนย์แล้วก็ยังไม่หายส่วนมากเหตุการณ์แบบนี้ขอให้เพื่อนๆ เข้าใจว่าเหตุการณ์นี้จะเกิดขึ้นคือช่วงล่างมีปัญหา ไม่ว่าจะเป็นคันชักคันส่ง หรือว่าแร็คพวงมาลัยที่อยู่ด้านในที่มีปัญหามีโอกาสทำให้มีปัญหาการดึงซ้ายหรือดึงขวาเหมือนเดิมครับ

ตั้งศูนย์ กับ ถ่วงล้อ

และก็จะมีอีกปัญหาหนึ่งก็คือ เมื่อเปลี่ยนยางแล้วเส้นเก่าไม่เคยมีปัญหาการดึงซ้ายหรือขวา เลย แล้วทำไมเปลี่ยนยางเส้นใหม่แล้วมีปัญหากินขวากินซ้ายทั้งๆที่ศูนย์ล้อเดิมก็ไม่มีปัญหา อันนี้ผลมาจาก ยางเส้นเก่าที่ก่อนเปลี่ยนนั้นมีการสึกรับกับศูนย์ที่เพี้ยนไปแล้วจนถึงกระทั่งทำให้มีการวิ่งที่ตรง หรือ ไม่ว่าจะเป็นการตั้งศูนย์เพื่อรองรับกับยางที่สึกผิดปกติทั้งๆ ที่มีปัญหาการกินซ้ายกินขวาอยู่แล้ว พอมาเปลี่ยนยางใหม่ที่มีการสึกเรียบอยู่ทำให้ศูนย์ที่เคยเป็นอยู่นั้นเพี้ยนไปด้วยครับ 

เพราะฉะนั้นจริงๆ เรื่องของการเปลี่ยนยางนั้น ที่แน่ๆเราต้องถ่วงล้อแน่นอน ถ้าเกิดอาการสั่นให้เพื่อนๆไปถ่วงล้อใหม่ครับ แต่ถ้ากินซ้ายกินขวา สึกผิดปกติขอบด้านใน หรือด้านนอกอย่างเดียวก็ให้ไปเช็กเรื่องศูนย์ล้อครับ และอยากให้เพื่อนๆหมั่นเช็กช่วงล่าง และ แมกซ์ด้วยครับเมื่อมีปัญหาข้างต้นเกิดขึ้น แล้วเพื่อนๆ ก็จะพบปัญหาที่แท้จริงๆ ที่ทำให้เพื่อนๆเข้าใจว่า ไม่ใช่ปัญหาที่ยางมีปัญหาครับ เพื่อนๆสามารถที่จะอ่านบทความรู้ยางรถยนต์ เรามีรีวิวยางและบทความรู้ยานยนต์ได้อย่างครบถ้วนครับผม หรือสะดวกช้อปยาง & นัดหมายออนไลน์ที่ www.tiresbid.com ถ้าหากเพื่อนๆ มีข้อสงสัยเรื่องยางไม่แน่ใจว่ารถตัวเองใช้กับยางรุ่นไหนถึงเหมาะสม เราก็มีบริการที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเรื่องยางรถยนต์ที่คอยให้คำแนะนำ โดยสามารถติดต่อช่องทาง Line OA : @tiresbid (มี @ ด้วยนะครับ) โอกาสหน้ามีบทความอะไรใหม่ๆติดตามกันนะครับ

Threadbare-Tires-From-Quality

สวัสดีครับ เพื่อนชาวไทร์บิดทุกท่าน กลับมาอีกครั้งมีช่วงนี้เพื่อนๆหลายท่านชอบทักมาถามว่า ทำไมยางรุ่นนี้ไม่ค่อยดี รุ่นโน้นไม่ค่อยดี ยางสึกแปลกๆเป็นลูกคลื่น สึกด้านในบ้าง ทำไมยางรุ่นเก่าที่เคยใช้ไม่เคยเป็นเลย หรือบางท่านโทษว่ายางเป็นยางเก่า ไม่ใช่มาตรฐานโรงงานรึเปล่า

ซึ่งคำถามต่างๆ เหล่านี้ เป็นคำถามทีจอร์จ อยากจะพยายามทำความเข้าใจกับเพื่อนๆทุกท่านว่า โอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์ข้างต้นถามว่ามีโอกาสไหมก็ต้องบอกว่ามีบ้างแต่น้อยมากๆที่สาเหตุเกิดจากการผลิตที่ทำให้ยางสึกผิดปกติ เพราะฉะนั้นเรามาดูสาเหตุใหญ่ๆ กันดีกว่าว่า ยางที่สึกผิดปกตินั้นมีสาเหตุมาจากอะไรบ้าง เพื่อให้เพื่อนๆ จะได้รู้เหตุผลที่แท้จริงและทำไปดูแลรถและยางของเพื่อนๆ ครับ

Threadbare-Tires-From-Quality

ข้อแรกเลย เป็นเรื่องของการสึกร่องดอกยางด้านในหรือสึกร่องดอกยางด้านนอกโดยสึกเหมือนกันทั้งด้านซ้ายและขวาโดยจะพบเจออาการนี้ที่ยางคู่หน้าเป็นหลักอาจมีคู่หลังบ้าง ซึ่งอาการแบบนี้มีสาเหตุหลักๆ มาจากเรื่องของศูนย์ล้อ ซึ่งศูนย์ล้อนั้นจะสามารถตั้งได้สองแบบ ทั้งมุมโท กับ มุมแคมเบอร์ ซึ่งอาการที่เป็นข้อแรกนี้หลักๆ จะมาจากมุมโท ซึ่งมุมโทจะเป็นการที่หน้ายางนั้นกางออกมากเกินไป (เหมือนเป็ดเดินขาอ้าๆ) หรือ หุบมากเกินไป ซึ่งจะทำให้ยางถูกใช้งานมากด้านใดด้านหนึ่งและสึกผิดปกติสึกร่องดอกยางในหรือนอกด้านเดียวซึ่งการตั้งศูนย์จะทำให้ศูนย์โทนั้นพอดีกับการใช้งานของรถนั้นๆ

แต่ว่าก็มีอีกสองอย่างที่อยากจะบอกเพื่อนไว้ก็คือ รถยุโรป อาทิ รถเบนซ์ และ บีเอ็ม ส่วนมากจะมีปัญหานี้และยากที่จะแก้ไขเพราะว่ามุมล้อของรถประเภทนี้จะถูกให้การใช้งานที่เกาะถนนมากกว่าปกติเล็กน้อยโดยการทำมุมองศาทำให้อาการกินยางด้านในนั้นแก้ไขลำบาก และ อีกอย่างที่อยากจะบอกก็คือ เวลาเปลี่ยนยางใหม่จริงๆ แล้วไม่ได้กระทบกับศูนย์ล้อเดิมครับบางทีศูนย์ล้อเราไม่ได้เพี้ยน พอไปเปลี่ยนยางใหม่แล้วตั้งศูนย์ใหม่กลับเพี้ยนทำให้อาการกินยางเกิดขึ้นได้ครับ

ส่วนอีกมุมหนึ่งที่เรียกว่ามุมแคมเบอร์ครับ วิ่งเป็นอาการที่ล้อนั้นแบะออกมาเกินไป ซึ่งจะทำให้ยางสึกด้านในทั้งล้อซ้ายและล้อขวาเหมือนกัน และ อาจจะส่งผลทำให้การขับขี่เอียงไปด้านในด้านหนึ่งได้ด้วย ซึ่งอาการตั้งศูนย์จะช่วยแก้ปัญหานี้ได้ครับ

Threadbare-Tires-From-Quality

ข้อที่สองคือ ช่วงล่างครับ โดยจะแบ่งเป็นสองประเภทหลักๆ ก็คือประเภทของการที่ทำให้ยางนั้นวิ่งไม่กลมตลอดเวลาซึ่งอาการนี้จะส่งผลให้ดอกยางนั้นสึกเป็นลูกคลื่น และ อีกแบบหนึ่งคือการที่ยางในเส้นนั้นถูกกดทับน้ำหนักมากกว่าปกติครับ โดยอาการสึกแบบนี้จะที่ล้อใดล้อหนึ่งเท่านั้นไม่ได้เกิดเป็นคู่สะเท่าไหร่ (แต่มีโอกาสนะครับกรณีที่ช่วงล่างพังพร้อมกัน)

เรามาเริ่มที่อาการสึกที่เกิดเป็นลูกคลื่นและยางวิ่งไม่กลม ซึ่ง หลักๆแล้วอาการนี้จะมีลักษณะการสึกทั้งแบบทั้งหน้ายาง และ บริเวณไหล่ยางครับซึ่ง อาการจะเกิดจาก 1 โช้คอัพแตก หรือ ใช้งานไม่ได้ ซึ่งจะทำให้จังหวะในการซัพพอร์ตแรงกดทับนั้นไม่สม่ำเสมอ ซึ่งจะทำให้ยางนั้นมีการกดทับไม่สม่ำเสมอเช่นกัน และจะทำให้บางตำแหน่งถูกกดทับเยอะบางจุดกดทับน้อย พอเป็นทั้งรอบวงก็จะทำให้เกิดการสึกเป็นลูกคลื่นได้ โดยการสึกแบบนี้จะสึกแบบเต็มหน้ายาง รวมถึงหากลูกปืนเสียหายก็ส่งผลให้เกิดเป็นอาการลูกคลื่นได้เช่นกันเพราะว่ายางไม่สามารถหมุนได้กลมอย่างเต็มที่ และก็ส่วนสุดท้ายก็อาจจะเกิดจากเรื่องการถ่วงล้อหากถ่วงล้อได้ไม่ดีเกิดการไม่สมดุลของยาง เมื่อใช้งานไปนานๆอาจจะทำให้เกิดการสึกรอบวงที่ไม่เท่ากันโดยจะสึกแบบไม่เท่ากัน และ แต่ละตำแหน่งก็ไม่แน่ครับ

Threadbare-Tires-From-Quality

ประเภทการถูกกดทับซึ่ง อาการหลักๆ จะเกิดจากช่วงล่างของปลีกนกที่ชำรุดและเสียหายครับ ซึ่งอาการเมื่อปีกนกเสียหายยางด้านในจะถูกกดทับมากกว่าปกติจะทำให้ร่องยางด้านในนั้นสึกมากกว่าปกติ อาจจะเป็นที่ข้างใดข้างหนึ่งและถ้าประกอบกับช่วงล่างอื่นๆ อาจจะทำให้ร่องดอกยางด้านในมีอาการสึกและ สึกเป็นลูกคลื่นด้วย

ก็จะเป็นอาการสึกผิดปกติของยางที่อาจเกิดขึ้นได้โดยไม่เกี่ยวกับเรื่องของยางเลย แต่เป็นเรื่องของช่วงล่างและการดูแลศูนย์รถ ซึ่งอาการช่วงล่างจริงๆแล้วถ้าเรามีการหมั่นตรวจเช็คหรือคอยสังเกตอาการของรถก็จะทำให้ไม่ผลเสียหายต่อยางของเราครับ หากเพื่อนๆมีข้อสงสัยเรื่องยางสามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญยางรถยนต์ที่ Line Official : @tiresbid หรือเข้าอ่านบทความยางรถยนต์ฟรี มีบทความมากมายเกี่ยวกับยางที่ให้เพื่อนๆ อ่านครับ หรือช้อปเปรียบเทียบราคายางออนไลน์ใหม่คลิกเลย www.tiresbid.com ที่เดียวจบ กว่า 10 ยี่ห้อยางชั้นนำครับผม

Find-Noises-In-Your-Car-Part-2

มาหาเสียง (ในรถยนต์) ช่วงโค้งสุดท้าย กันต่อดีกว่าครับ!

ช่วงนี้ก็เรียกได้ว่า น่าจะเป็นสัปดาห์ของการหาเสียง (ในรถยนต์) ช่วงโค้งสุดท้ายแล้วครับ เพราะเดือนหน้าเราก็ต้องเตรียมพร้อมรถยนต์ สำหรับใช้ในการเดินทางช่วงหยุดยาว หรือในช่วงเทศกาลสงกรานต์แล้วล่ะครับ

หาเสียงในรถยนต์ ยิ่งหาเจอได้เร็วเท่าไหร่ ก็ยิ่งดี เพราะ “เสียง” ที่ว่านี้ อาจจะทำให้รถคุณพังกลางทาง หรือเสียเงินซ่อมกันบานปลายเลยก็ได้ ไปอ่านกันต่อครับ …

Differential

1. เสียงหอน (ที่ไม่ใช่คืนหมาหอน)

เสียงหอน … บางทีขับรถไปแล้ว มีเสียงหอนดังออกมาจากเพลาขับ หรือเฟืองท้าย ยิ่งขับเร็วเสียงยิ่งดัง อาจจะมาจากลูกปีนล้อแตก หรือเพลากลาง เพลาขับมีปัญหา และเฟืองท้ายมีปัญหา ต้องไล่สาเหตุดูเป็นจุดๆ ไป ถ้าต้นเสียงเกิดที่ด้านหน้ารถ ก็สันนิษฐานว่าเป็นที่ลูกปืนท้ายเกียร์ หรือเป็นที่ลูกปืนเพลากลาง ที่เรียกกันว่า “ยอย” หรือ “กากบาทเพลากลาง”

แต่ถ้ามาจากด้านท้าย ให้ถอดเฟืองท้ายออกมาเช็ก ว่ามาจากเฟืองเดือยหมู, เฟืองบายสี, เฟืองดอกจอก และเฟืองข้าง ทีเดียวไปเลย ถ้ามีเสียงหอน ลองปรับตั้งระยะห่างของเฟืองท้ายทั้ง 2 ใหม่ ให้ชิดเข้าไป ตรวจสอบการรั่วซึมของซีล ประเก็น ถ้าหมดสภาพก็เปลี่ยนใหม่ ก่อนจะเปลี่ยนน้ำมันเฟืองท้ายใหม่ ถ้าลูกปืนหน้าเฟืองท้ายชำรุด ก็จัดการเปลี่ยนลูกปืนใหม่ซะ

Toyota-Steering-Wheel

2. กุกๆ กักๆ ที่คอพวงมาลัย

กุกๆ กักๆ ที่คอพวงมาลัย … เสียงดังกึกกักที่คอพวงมาลัย อาจมาจากลูกปืนคอพวงมาลัยแตก ตัวรองแกนพวงมาลัยแตก หรือจารบีลูกปีนแห้ง ทางที่ดีตรวจเช็กลูกปีน, ตัวรองแกนพวงมาลัย หรืออัดจารบีตลับลูกปืนใหม่ แม้ว่าช่วงแรกจะไม่มีผลอะไร นอกจากเกิดความรำคาญเวลาหมุนพวงมาลัย แต่อาจจะกลายเป็นเสียมากขึ้น จนพวงมาลัยรถควบคุมรถไม่ได้ก็เป็นไปได้

Manual-Transmission

3. เปลี่ยนเกียร์แล้วมีเสียงดัง

เปลี่ยนเกียร์แล้วมีเสียงดัง … เสียงดังที่เกิดจากตัวเกียร์ เกิดจากนอกห้องเกียร์ เป็นเสียงแตกเสียงคราง หรือเสียงหอน ลองตรวจลูกปีนเกียร์ และเช็กน้ำมันเกียร์ ว่าเปลี่ยนถ่ายไปตั้งแต่เมื่อไหร่ ดูสภาพสีของน้ำมันเกียร์ ตรวจดูว่ายังมีน้ำมันเกียร์อยู่เต็มหรือไม่ เพราะมันอาจจะรั่วซึมหายไป เมื่อชุดเฟืองเกียร์กระทบกัน เสียงโลหะกระทบกัน มันก็ต้องมีเสียงดัง ต้องรีบซ่อมแซม ไม่อย่างนั้นจะได้เปลี่ยนเกียร์ใหม่ทั้งลูก …

อีกกรณีหนึ่ง อาจจะเกิดขึ้นได้จากการเหยียบคลัทช์ไม่สุดแล้วเข้าเกียร์ หรือการใส่เกียร์ไม่ตรงตำแหน่งเกียร์ (ในรถเกียร์ธรรมดา) ครับ

Tire-Setting

4. เวลาเลี้ยว เสียงดังจากยาง

เวลาเลี้ยว เสียงดังจากยาง … เวลาเลี้ยวรถแล้วเกิดเสียงดังเอี๊ยดๆ จากยาง มักได้ยินบ่อยๆ เวลาไปจอดรถบนพื้นผิวค่อนข้างลื่น อาจเกิดจากเนื้อยางเสื่อมสภาพ หรือถ้าหากยางยังดี อาจเกิดจากช่วงล่างหลวมก็เป็นไปได้

Catalytic-Converter

5. หลังดับเครื่อง

หลังดับเครื่อง … หลังจากดับเครื่องรถยนต์แล้ว คุณอาจได้ยินเสียงก๊องแก๊ง มาจากใต้ท้องรถ นั่นเป็นเสียงการทำงานของ Catalytic Converter ในระบบท่อไอเสีย ซึ่งเป็นเสียงการทำงานปกติอยู่แล้ว เสียงดังกล่าวอาจดังนานกว่าปกติ หากใช้รถด้วยความเร็วสูง หรือใช้เครื่องยนต์รอบจัดเป็นระยะเวลานาน แต่เสียงนี้ ไม่ได้เป็นความผิดปกติอันใดครับ …

เมื่อรับทราบอาการดังกล่าวได้แล้ว ว่ามาจากสาเหตุไหน อย่าลืมเอารถไปเข้าศูนย์บริการ หรืออู่ซ่อมรถ ให้ช่างผู้ชำนาญการตรวจดูให้แน่ชัด แล้วเตรียมเสียเงินไว้ด้วย แต่ถ้าเสียงบางอย่างไม่มีผลใดๆ ต่อตัวรถ คุณก็สบายใจได้ …

ถ้าคุณตัดสินใจอยากขายรถคันเดิม เพื่อไปซื้อรถคันใหม่ หรือรับเป็นเงินก้อนไปใช้ สามารถขายรถคันเดิมกับ CARRO ได้ ง่ายๆ ได้เงินไว! กับ CARRO Express เพียงแค่คลิก https://th.carro.co/sell-car/express หรือสามารถ Inbox มาขอรายละเอียดได้ที่ Facebook CARRO Thailand

หรือจะ Add Line สอบถามรายละเอียดได้ที่ @Carrothailand หรือคลิกที่นี่ครับ —> เพิ่มเพื่อน

Find-Noises-In-Your-Car-Part-1

หาเสียง (ในรถยนต์) กุกๆ กักๆ …. คุณรำคาญมากน้อยแค่ไหน? เวลาขับรถ

ช่วงนี้ บรรยากาศทางการเมืองในบ้านเรา กำลังร้อนแรง ต่างฝ่ายต่างออกมาหาเสียงกันเป็นแถว บางคนก็มาตามมารยาทสากล ตามข้อเท็จจริง แต่บางพรรคบางพวก ก็เล่นด้วยวิธีเดิมๆ บอกว่าจะทำนู่นทำนี่ได้สารพัดบ้างล่ะ โจมตีฝ่ายตรงข้าม เตะสกัด สาดโคลน แบบเดิมๆ ก็มีไม่เคยเปลี่ยน …

แต่นั่นมันเป็นการหาเสียงทางการเมือง! ซึ่งในบทความนี้ เราจะมาพูดถึงการหาเสียง (ในรถยนต์) ต่างหาก!

หาเสียงในที่นี้ ยิ่งหากคุณหาเจอได้เร็วเท่าไหร่ มันก็จะเป็นผลดีสำหรับคุณมากขึ้นเท่านั้น เพราะ “เสียง” ที่ว่านี้ อาจจะทำให้รถคุณพังกลางทาง หรือเสียเงินซ่อมกันบานปลายเลยก็ได้ …

Find-Noises-In-Your-Car

เสียงที่เกิดจากรถยนต์ ไม่ว่าจะมาจากเครื่องยนต์ หรือระบบอะไรก็แล้วแต่ เป็นความผิดปกติได้ทั้งนั้น บางเสียงก็อาจจะเป็นเรื่องปกติของการทำงานในตัวรถเอง หรือบางเสียง ก็อาจจะเกิดจากความไว (ของหู) ในแต่ละคน ที่ได้ยิน รับรู้ ไม่เหมือนกัน

เสียงจากเครื่องยนต์ เป็นสิ่งที่หาได้ไม่ยาก หากเป็นช่างซ่อมรถที่เจนจัดกับการซ่อมรถมานักต่อนัก มักหาที่มาของเสียงได้ไม่ยาก จะด้วยการฟังหูเปล่า หรือฟังด้วยเครื่องฟัง ที่คล้ายๆ หูฟังของหมอนั่นล่ะครับ เริ่มต้นตั้งแต่ …

Start-Button

1. สตาร์ทรถ

สตาร์ทรถ … หากสตาร์ทรถแล้วมีเสียงดังเอี๊ยดๆ สีกัน ภายในห้องเครื่อง เมื่อคุณเร่งความเร็วรอบเครื่องยนต์ขึ้น เสียงจะลดระดับเบาลงไป แต่ก็ยังมีอยู่จนเครื่องร้อนได้ที่ แล้วถึงจะเงียบไป

อาการแบบนี้ ส่วนใหญ่เกิดจากสายพานต่างๆ หรือตัวดันสายพาน ลูกรอกสายพาน ที่หมดอายุการใช้งาน เสียหาย หรือเสื่อมสภาพ

Air-Condition

2. เปิดแอร์

เปิดแอร์ … เมื่อสตาร์ทรถได้สักพัก พอเปิดแอร์แล้วได้ยินเสียงดังแกรกๆ อาการแบบนี้ ก็คาดไว้ก่อนเลยว่า น่าจะมาจากคอมเพรสเซอร์แอร์, ลูกรอกแอร์ หน้าคลัทช์คอมแอร์ หรือสายพานแอร์ ก็เป็นไปได้ทั้งนั้น

Brake

3. เหยียบเบรก

เหยียบเบรก … เมื่อเหยียบเบรกไปแล้ว ไม่ว่าจะเหยียบเบาหรือแรง มีเสียงดังวิ้งๆ หรือครืดๆ ให้ก้มดูจานเบรกที่ล้อ ดูผ้าเบรกเป็นอันดับแรก เพราะผ้าเบรกหมด จนขูดจานเบรกเป็นรอย แล้วดูว่าจานเบรกนั้น มีรอยขูดหนาบางแค่ไหน เตรียมเสียเงินเปลี่ยนผ้าเบรกใหม่ได้

หรือถ้าจานเบรกมีรอยเส้นหนักๆ หน่อย ก็อาจจะต้องเจียรจานเบรก หรือเปลี่ยนจานเบรกใหม่

Rack-Steering-Wheel

4. เลี้ยวซ้ายสุด-ขวาสุด มีเสียงดัง

เลี้ยวซ้ายสุด-ขวาสุด มีเสียงดัง … ลองตรวจเช็กดูช่วงล่าง ตั้งแต่ แร็คพวงมาลัย ยางหุ้มเพลา ลูกหมากปีกนก คันชักคันส่ง ฯลฯ เพราะมันอาจหมดอายุการใช้งาน เสียหายจากการกระแทกบ่อยๆ หรือหัวเพลาหลวม หัวเพลาแตก!

และก็เป็นไปได้ ที่ตัวปั้มพวงมาลัยเพาเวอร์ รั่วหรือแรงไม่พอ ลองดูว่ามีน้ำมันเพาเวอร์รั่วซึมหรือไม่

Rubber-Speed-Humps

5. วิ่งผ่านเนินลูกระนาด … หน้าเด้ง ท้ายเด้ง!

วิ่งผ่านเนินลูกระนาด … หน้าเด้ง ท้ายเด้ง! … อาการนี้ดูโช๊คอัพได้เลย เพราะไม่มีความหนืด ในการดูดซับแรงกระแทกอีกแล้ว หากอาการไม่หนักก็ซ่อม อัดน้ำมันเข้าไปใหม่ แต่ถ้าทำไปใช้งานได้สักพัก มันรั่วอีก ก็ลงทุนเปลี่ยนใหม่จะดีกว่า

วิธีเช็ก ใช้ไฟฉายส่องเข้าไปที่ซุ้มล้อ ตรวจดูว่ามีน้ำมันซึมออกมาจากกระบอกโช๊คอัพหรือไม่ แล้วใช้ฝ่ามือทั้งสองมือ กดลงไปบริเวณด้านที่มีโช๊คอัพเหนือล้อ ถ้าหนืด กดแล้วจะนิ่ง ไม่ยุบง่ายๆ แต่ถ้าโช๊คอัพหมดสภาพแล้ว กดแล้วปล่อยมือ รถยังเด้งดึ๋งต่อเลย!

เมื่อรับทราบอาการดังกล่าวได้แล้ว ว่ามาจากสาเหตุไหน ทางที่ดี คุณควรขับรถเข้าศูนย์บริการ หรืออู่ซ่อมรถ ให้ช่างผู้ชำนาญการตรวจดูให้แน่ชัด แล้วเตรียมเสียเงินไว้ด้วยเทอญ …

ถ้าคุณตัดสินใจอยากขายรถคันเดิม เพื่อไปซื้อรถคันใหม่ หรือรับเป็นเงินก้อนไปใช้ สามารถขายรถคันเดิมกับ CARRO ได้ ง่ายๆ ได้เงินไว! กับ CARRO Express เพียงแค่คลิก https://th.carro.co/sell-car/express หรือสามารถ Inbox มาขอรายละเอียดได้ที่ Facebook CARRO Thailand

หรือจะ Add Line สอบถามรายละเอียดได้ที่ @Carrothailand หรือคลิกที่นี่ครับ —> เพิ่มเพื่อน

Modify-Suspension

ดัดแปลงช่วงล่างต้องแจ้งขนส่งก่อนใช้งาน หากตรวจเจอว่าไม่แจ้ง ปรับสูงสุด 5,000 บาท

Modify-Suspension

            กรมการขนส่งทางบก แนะ การแก้ไขดัดแปลงระบบช่วงล่าง ทั้งระบบรองรับน้ำหนัก ระบบกันสะเทือน ระบบบังคับเลี้ยว หรือระบบขับเคลื่อน ต้องนำรถเข้าตรวจสภาพกับกรมการขนส่งทางบก และแก้ไขรายละเอียดลักษณะรถในใบคู่มือจดทะเบียนรถก่อนนำไปใช้งาน ต้องนำรถเข้าตรวจสภาพกับกรมขนส่งทางบกและแก้ไขรายละเอียดในคู่มือจดทะเบียนก่อนใช้งาน เพื่อความมั่นคงแข็งแรงและความปลอดภัยในการใช้งาน ฝ่าฝืนมีโทษปรับสูงสุด 5,000 บาท

Nissan-Navara

นายกมล บูรณพงศ์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางบก เปิดเผยว่า การแก้ไขดัดแปลงตัวรถหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของรถให้ผิดไปจากรายการที่จดทะเบียนไว้ โดยเฉพาะกรณีการแก้ไขดัดแปลงระบบช่วงล่าง ทั้งระบบรองรับน้ำหนัก การเสริมแหนบ ระบบกันสะเทือน ระบบบังคับเลี้ยว หรือระบบขับเคลื่อน ต้องนำรถเข้าตรวจสภาพกับกรมการขนส่งทางบก และแก้ไขรายละเอียดลักษณะรถในใบคู่มือจดทะเบียนรถก่อนนำไปใช้งาน

โดยแสดงหลักฐาน ได้แก่ การได้มาของอุปกรณ์ที่นำมาดัดแปลงรถ หรือบันทึกถ้อยคำรับรองว่าอุปกรณ์ดังกล่าวได้มาโดยถูกต้องและสุจริต เช่น ใบเสร็จค่าชิ้นส่วน อุปกรณ์ ค่าแรง และหนังสือรับรองความมั่นคงแข็งแรงและความปลอดภัยในการใช้รถ จากวิศวกรสาขาเครื่องกลหรือยานยนต์ หลักฐานประจำตัวเจ้าของรถ และใบคู่มือจดทะเบียนรถหรือสำเนา ในกรณีที่นายทะเบียนพิจารณาแล้วว่ารถนั้นปลอดภัยในเวลาใช้งาน จะบันทึกรายการในใบคู่มือจดทะเบียนรถไว้เป็นหลักฐาน ส่วนกรณีที่นายทะเบียนเห็นว่ารถที่แก้ไขดัดแปลงอุปกรณ์ส่วนควบดังกล่าวอาจก่อให้เกิดอันตรายในการใช้งาน ให้เจ้าของรถดำเนินการแก้ไขก่อนนำรถเข้าตรวจสภาพ

Leaf-Spring

ทั้งนี้ หากตรวจสอบพบการแก้ไขดัดแปลงตัวรถหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของรถให้ผิดไปจากรายการที่จดทะเบียนไว้ โดยไม่มีการนำรถไปให้นายทะเบียนตรวจสภาพและแก้ไขรายละเอียดลักษณะรถในใบคู่มือจดทะเบียนรถ เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ.2522 มาตรา 14 ต้องระวางโทษตามมาตรา 60 ปรับไม่เกิน 2,000 บาท

ส่วนกรณีเป็นรถที่จดทะเบียนตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.2522 หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถ ให้ผิดแผกแตกต่างในสาระสำคัญตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ต้องได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนก่อนดำเนินการ หากฝ่าฝืนมีความผิดตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 78 ต้องระวางโทษตามมาตรา 149 ปรับไม่เกิน 5,000 บาท