ต่อเติมโรงรถทาวน์เฮ้าส์ติดข้างบ้าน ผิดหรือไม่?

นับเป็นหนึ่งปัญหาโลกแตก ที่เพื่อนบ้านมักใช้เป็นเรื่องทะเลาะกันมานักต่อนักแล้ว สำหรับ “โรงรถ” ที่คนอยู่หมู่บ้านทาวน์เฮ้าส์ หรือทาวน์โฮม บางส่วนมักจะต่อเติมบ้านด้วยหลังคา หรือกันสาดออกมา ให้ปิดคลุมรถได้จนมิดทั้งคัน

แต่บางทีการต่อเติมบ้าน ก็อาจทำให้มีเรื่องผิดใจกับเพื่อนบ้านได้ เนื่องจากมีส่วนที่ยื่นล้ำ เกิน หรือรุกล้ำกินที่กำแพงบ้านออกไป หรือมีน้ำ เศษฝุ่นเศษขยะต่างๆ ไหลที่ลงในพื้นที่บ้านข้างเคียง ถ้าหนักกว่านั้นคือมีช่างก่อสร้างรุกล้ำเข้าไปก่อนอิฐฉาบปูน ทาสี ทิ้งขยะ ฯลฯ เป็นปัญหามากกว่าเดิมไปใหญ่

Mr.Carro จะมาเล่าให้ฟัง ว่าต่อเติมโรงรถบ้านทาวน์เฮ้าส์จนติดข้างบ้าน ผิดหรือไม่ …..

ต่อเติมโรงรถทาวน์เฮ้าส์ติดข้างบ้าน ผิดหรือไม่?

สำหรับการต่อเติมโรงรถ ทาวน์เฮาส์ ทาวน์โฮม ถ้าจะให้ตอบตามภาษากฎหมายแล้ว ก็คือผิดนะครับ

1. กรณีของบ้านทาวน์เฮ้าส์ ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 55 พ.ศ.2543 ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ข้อ 50 (1) นั้น กำหนดให้ ผนังของอาคารที่มีหน้าต่าง ประตู ช่องระบายอากาศหรือช่องแสง หรือระเบียงของอาคารต้องมีระยะห่างจากแนวเขตที่ดิน ผนังหรือระเบียงต้องอยู่ห่างเขตที่ดินไม่น้อยกว่า 2 เมตร แต่เนื่องจากเสาที่ไว้สำหรับรับโครงหลังคานั้นไม่ใช้ผนัง จึงสามารถตั้งในที่ดินของเราได้โดยไม่จำต้องมีระยะห่างจากแนวเขตที่ดินกว่า 2 เมตร จึงสามารถหลังคาต่อเติมให้คลุมบริเวณที่จอดรถภายในบ้านทาวน์เฮ้าส์ได้

2. ต่อมามีกฎกระทรวงฉบับที่ 68 พ.ศ. 2563 ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ได้เพิ่มนิยามคำว่า “แนวอาคาร” หมายความว่า แนวผนัง เสา หรือบันไดที่อยู่ด้านนอกสุดของอาคาร ยกเว้นบันไดหนีไฟภายนอกอาคารที่มีลักษณะโปร่ง” ดังนั้น เสาจึงถือเป็นแนวอาคารตามนิยามดังกล่าว ในการตั้งเสาเพื่อรับโครงหลังคาที่ต้องการต่อเติมจึงต้องเว้นระยะตามตามกฎกระทรวงฉบับที่ 55 พ.ศ.2543 ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ข้อ 50 (1) ด้วย เว้นแต่จะได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากเจ้าของที่ดินข้างเคียงด้านนั้น จึงจะเว้นระยะไว้เพียง 50 เซนติเมตรได้

ต่อเติมโรงรถทาวน์เฮ้าส์ติดข้างบ้าน ผิดหรือไม่?

การต่อเติมใดบ้าง ที่ไม่ต้องแจ้งเขต หรือหน่วยงานท้องถิ่น?

  • การเพิ่มหรือลดเนื้อที่ของพื้นชั้นใดชั้นหนึ่ง หรือเนื้อที่ของหลังคา รวมกันไม่เกิน 5 ตร.ม. และไม่มีการเพิ่มหรือลดจำนวนเสาหรือคาน ซึ่งหมายความว่า ถ้าเกินกว่า 5 ตร.ม. ก็ต้องขออนุญาต

ต่อเติมโรงรถทาวน์เฮ้าส์ติดข้างบ้าน ผิดหรือไม่?

หากต้องการคุณต้องการทำโรงรถจนชนชิดถึงแนวเขตที่ดิน (กำแพงบ้าน) ส่วนใหญ่มักเกินกว่า 5 ตร.ม. อันนี้ต้องขออนุญาตจากหน่วยงานท้องถิ่นแล้ว กรณีสร้างชิดติดกำแพงเพื่อนบ้าน ยังต้องมีขออนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากเพื่อนบ้านข้างๆ แล้ว ยังต้องจัดทำเป็นผนังทึบ และห้ามระบายน้ำลงในเขตเพื่อนบ้านด้วยครับ

มิฉะนั้นอาจเป็นเรื่องใหญ่ได้ หากเพื่อนบ้านไม่พอใจหรือไม่ยอม ไปฟ้องทางนิติบุคคลหรือทางเขต คุณอาจต้องเสียเวลามารื้อทิ้งในภายหลังได้

Carro Express ขายรถกับคาร์โร อยากขายรถ ขายรถด่วน

สำหรับใครที่อยากขายรถคันเดิม ไปซื้อรถยนต์คันใหม่ให้เหมาะกับโรงรถบ้านคุณ มาขายรถกับทาง Carro Express สิ! คลิกเลยที่ https://th.carro.co/sell-car/express รับรองได้เงินเร็ว ไว ทันใจแน่นอน!

Carro Automall ตลาดรถ

ส่วนใครสนใจจะซื้อรถมือสอง Carro แหล่งรวมรถมือสองคุณภาพเยี่ยมผ่านระบบออนไลน์ คุณสามารถจองรถได้ในเวลาเพียง 1 นาทีเท่านั้น! พร้อมคำนวณสินเชื่อและค่างวด ได้ภายในเว็บไซต์ทันที!

ซึ่ง Carro เรามีรถให้คุณเลือกมากมาย รถทุกคันผ่านการตรวจสภาพโดย Carro Certified อย่างละเอียดแบบ Double Check มากกว่า 160 จุด, การันตีคืนเงินภายใน 5 วัน, รับประกันเครื่องยนต์และเกียร์ 1 ปี, รับประกันไม่กรอไมล์ และไม่ประสบอุบัติเหตุหนัก ไฟไหม้ หรือน้ำท่วม พร้อมรับประกันคุณภาพรถ 1 ปี หรือ 30,000 กิโลเมตร!

อีกทั้งยังมีเทคโนโลยี “360 View & Sound Engine Analysis” เลือกชมรถยนต์เสมือนจริงออนไลน์รายแรกในไทย ทั้งภาพและเสียงในรูปแบบ 360 องศา รวมถึงมีเทคโนโลยีสนับสนุนฝ่ายขาย ทั้ง Digital Device ที่เชื่อมต่อกับ Digital Screen นำเสนอสิ่งที่ลูกค้าต้องการ และจัดการเรื่องเอกสารให้กับลูกค้าให้ตั้งแต่ต้นจนจบ บวกกับ Online Viewing Service ที่ลูกค้าสามารถวิดีโอคอล ตรวจสภาพรถยนต์คันที่สนใจได้แบบเรียลไทม์ ซื้อรถคุณภาพเยี่ยม ต้องที่ Carro สิ!

หรือถ้าหากคุณสนใจรถรุ่นไหนอยู่ แต่ยังหาที่ถูกใจไม่ได้ เรายินดีหาให้! เพียงกรอกชื่อ-เบอร์โทรศัพท์ และรถที่คุณสนใจ ไว้ที่ “รับการแจ้งเตือน” เมื่อมีรถที่คุณต้องการ Carro จะรีบติดต่อไปยังคุณทันที สอบถามรายละเอียดได้ที่ Facebook -> Carro Thailand โทร. 02-460-9380 หรือทาง Line @carrothai

แหล่งที่มาบางส่วนจาก:

พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมในกรุงเทพฯ ก่อนซื้อรถซื้อบ้าน ต้องรู้!

ขึ้นชื่อว่า “กรุงเทพฯ” เมืองหลวงของประเทศไทยแล้ว นับได้ว่าเป็นศูนย์รวมของทุกสิ่งมานานตั้งแต่หลายสิบปีก่อน ตั้งแต่มีทุ่งนา โรงงานอุตสาหกรรม ไปจนถึงมีบ้านเรือน หมู่บ้าน มีทางด่วน มีรถไฟฟ้า หรือมีชุมชนแออัดขนาดใหญ่ มีทั้งอยู่รวมกันและกระจายกัน ตั้งแต่ยุคก่อนที่จะมีผังเมืองด้วยซ้ำไป

พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมในกรุงเทพฯ ก่อนซื้อรถซื้อบ้าน ต้องรู้!

และปัญหายอดฮิตสุดๆ ของกรุงเทพฯ นั่นก็คือ “น้ำท่วม” นั่นเอง เพราะฝนตกหนักๆ หรือพายุเข้าทีไร เรื่องน้ำท่วมต้องมีบ้าง จะมากหรือน้อย ก็ขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่เดิม ว่าเป็นที่ราบลุ่ม เป็นโคก ดอน หนอง หรือบึง และระบบการบริหารจัดการน้ำ (เช่น เครื่องสูบน้ำเสีย หรือหากุญแจเครื่องสูบน้ำไม่เจอ) รวมไปถึงปัจจัยอื่นๆ เช่น ท่อระบายน้ำ ท่อตัน ไม่เคยลอกท่อ มีเศษขยะกีดขวางทางระบายน้ำ ฯลฯ

อ่านเพิ่มเติม >> ต้องรู้! วิธีดูรถน้ำท่วม จมน้ำ 5 จุด แบบง่ายๆ

อ่านเพิ่มเติม >> 3 วิธีเคลมประกันภัย เมื่อรถถูกน้ำท่วม

อ่านเพิ่มเติม >> 5 วิธีขับรถลุยน้ำท่วม ที่คุณต้องรู้!

ดังนั้น ก่อนที่คุณจะซื้อรถ ซื้อบ้าน ซื้อคอนโด ควรรู้ไว้หน่อยก็ดีว่าย่านไหนในกรุงเทพฯ เป็นพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม (หรือน้ำรอระบาย) เพื่อช่วยให้คุณเลือกรถได้ตรงกับลักษณะการใช้งาน หรือตกแต่งซ่อมแซมบ้าน ให้รับมือน้ำท่วมได้ทั้งปี

Mr.Carro รวบรวมข้อมูลพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมในกรุงเทพฯ มาให้อ่านกันครับ

พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมในกรุงเทพฯ ก่อนซื้อรถซื้อบ้าน ต้องรู้!

ภาพจาก Chairop Ch

เพราะอะไรกรุงเทพฯ ถึงน้ำท่วมบ่อย?

กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่ตั้งอยู่เหนืออ่าวไทยเพียง 30 กิโลเมตร ผู้เชี่ยวชาญคาดว่า ระดับน้ำทะเลในอ่าวไทยจะสูงขึ้น 19 – 29 ซม. ภายในปี 2050 เพราะโลกร้อนขึ้น

กรมทรัพยากรธรณี และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย เคยทำสำรวจช่วงปี 2521-2524 พบว่า มีแผ่นดินทรุดตัวมากกว่าปีละ 10 ซม. ขณะที่ การสำรวจของกรมแผนที่ทหาร พบว่าตลอดระยะเวลา 30 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521 – 2551 กรุงเทพมหานคร มีระดับการทรุดตัวสะสมมากกว่า 1 เมตร โดยมีการทรุดตัวสะสมประมาณปีละ 2-3 ซม.

ทำให้ระดับน้ำสูงขึ้น น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งเป็นแม่น้ำสายหลักผ่ากลางกรุงเทพฯ ก็สูงขึ้นตามไปด้วย รวมถึงการสูบน้ำบาดาลมาใช้ในอดีต ทำให้แผ่นดินทรุดลง และการถมคลองเป็นถนนจำนวนมาก จนไม่มีทางน้ำไหลออก

พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมในกรุงเทพฯ ก่อนซื้อรถซื้อบ้าน ต้องรู้!

ภาพจาก RT@Bbikinii

หลายคนที่ซื้อรถมาแล้ว แต่บ้านอยู่ในเขตพื้นที่ต่ำ หรือซอยที่เป็นหมู่บ้านยุคเก่า เจอถนนสายหลักสูงกว่าถนนในซอย ท่อระบายน้ำเล็ก แคบ หรือไม่เคยลอกท่อมานาน จนท่อตัน

และภัยธรรมชาติที่เกิดถี่ขึ้น รวมไปถึงที่ที่เคยเป็นพื้นที่รับน้ำ อย่างทุ่งนา ร่องสวน ป่า หายไป กลายเป็นป่าคอนกรีต (เช่น บ้าน และ คอนโดมิเนียม) แทน และส่วนมากโครงการที่สร้างใหม่ๆ ก็มักทำให้สูงกว่าถนน นี่ก็เป็นปัญหาหลักๆ ของน้ำท่วมในกรุงเทพฯ ที่ถนนต้องเป็นพื้นที่รับน้ำแทนนั่นเอง ….

พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมในกรุงเทพฯ ก่อนซื้อรถซื้อบ้าน ต้องรู้!

เลือกรถแบบไหน ลุยน้ำท่วมกรุงเทพฯ?

ตามปกติแล้ว รถ Eco-Car, รถเก๋ง, รถ Hatchback ที่เราๆ ท่านๆ ใช้งานกันเต็มบ้านเต็มเมือง จะมีระยะต่ำสุดจากพื้น (หรือ ความสูงใต้ท้องรถ) (Ground Clearance) อยู่ในระดับ 120 – 150 มม. (หรือ 12 – 15 ซม.) ซึ่งสามารถลุยน้ำได้ในระดับเกือบๆ ครึ่งล้อ หรือความลึกประมาณ 20 – 30 ซม. เท่านั้น แต่ถ้าลุยน้ำระดับสูงกว่านี้ ไม่ไหวแน่ๆ

สำหรับรถที่ลุยน้ำได้ ที่ดูเหมาะกับการใช้งานในพื้นที่ที่เสี่ยงน้ำท่วมบ่อย เราขอแนะนำรถประเภท รถกระบะ, รถ Crossover SUV หรือรถ SUV และ PPV ที่ออกแบบมาให้ยกสูงหน่อย ใช้ระบบขับเคลื่อนทั้ง 2 ล้อ และ 4 ล้อ ลุยน้ำได้ในระดับหนึ่ง เนื่องจากความอเนกประสงค์ในการใช้งานแล้ว ยังลุยน้ำท่วมได้ไหวอีกต่างหาก (แม้ว่ารถทุกคัน จะไม่ได้ออกแบบมาให้ลุยน้ำเป็นหลักก็ตาม)

โดยรถที่มีระยะต่ำสุดจากพื้น (หรือ ความสูงใต้ท้องรถ) (Ground Clearance) น้อยหรือมาก ก็มีผลต่อการลุยน้ำของรถรุ่นนั้นๆ ด้วย และรถที่ลุยน้ำได้ รวมไปถึงช่วงล่างหน้า เครื่องยนต์ ท่ออากาศ ไดชาร์จ และระบบไฟฟ้าที่ติดตั้งในห้องเครื่องยนต์ ล้วนมีผลต่อการลุยน้ำทั้งสิ้น

พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมในกรุงเทพฯ ก่อนซื้อรถซื้อบ้าน ต้องรู้!

ภาพจาก RT@Bee_Nidarat

รถกระบะ ที่เหมาะกับไว้ใช้ลุยน้ำท่วม อาทิ Toyota Hilux Revo (โตโยต้า ไฮลักซ์ รีโว่), Nissan Navara (นิสสัน นาวาร่า), Isuzu D-Max (อีซูซุ ดีแม็คซ์), Mitsubishi Triton (มิตซูบิชิ ไทรทัน), Mazda BT-50 (มาสด้า บีที-50), Ford Ranger (ฟอร์ด เรนเตอร์), MG Extender (เอ็มจี เอ็กซ์เทนเดอร์) หรือ Chevrolet Colorado (เชฟโรเลต โคโรลาโด้) เป็นต้น

รถ PPV ที่เหมาะกับไว้ใช้ลุยน้ำท่วม อาทิ Toyota Fortuner (โตโยต้า ฟอร์จูนเนอร์), Nissan Terra (นิสสัน เทอร์ร่า), Mitsubishi Pajero Sport (มิตซูบิชิ ปาเจโร่ สปอร์ต), Isuzu MU-X (อีซูซุ มิวเอ็กซ์), Ford Everest (ฟอร์ด เอเวอเรสต์) หรือ Chevrolet Trailblazer (เชฟโรเลต เทรลเบลเซอร์) เป็นต้น

พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมในกรุงเทพฯ ก่อนซื้อรถซื้อบ้าน ต้องรู้!

ภาพจาก Tuddao Dao

รถ Crossover SUV ที่เหมาะกับไว้ใช้ลุยน้ำท่วม อาทิ Toyota Corolla Cross (โตโยต้า โคโรลล่า ครอส), Nissan X-Trail (นิสสัน เอ็กซ์เทรล), Honda HR-V (ฮอนด้า เอชอาร์วี), Honda CR-V (ฮอนด้า ซีอาร์วี), Mazda CX-3 (มาสด้า ซีเอ็กซ์-3), Mazda CX-30 (มาสด้า ซีเอ็กซ์-30), Mazda CX-5 (มาสด้า ซีเอ็กซ์-5), Mazda CX-8 (มาสด้า ซีเอ็กซ์-8), MG ZS (เอ็มจี แซดเอส), MG HS (เอ็มจี เอชเอส), Subaru XV (ซูบารุ เอ็กซ์วี), Subaru Forester (ซูบารุ ฟอเรสเตอร์), Haval Jolion Hybrid SUV (ฮาวาล โจไลอ้อน), DFSK Glory 560 (ดีเอฟเอสเค กลอรี่ 560) หรือ DFSK Glory i-Auto (ดีเอฟเอสเค กลอรี่ ไอ-ออโต้) เป็นต้น

ส่วน รถ MPV หรือ Crossover MPV ที่เหมาะกับไว้ใช้ลุยน้ำท่วมได้ อาทิ Toyota Avanza (โตโยต้า อแวนซ่า), Toyota Innova (โตโยต้า อินโนว่า), Honda BR-V (ฮอนด้า บีอาร์วี), Mitsubishi Xpander (มิตซูบิชิ เอ็กซ์แพนเดอร์), Mitsubishi Xpander Cross (มิตซูบิชิ เอ็กซ์แพนเดอร์ ครอส), Suzuki Ertiga (ซูซูกิ เออร์ติก้า), Suzuki XL7 (ซูซูกิ เอ็กซ์แอล7) หรือ Chevrolet Spin (เชฟโรเลต สปิน) เป็นต้น

หรือจะเป็นรถ MPV, Crossover MPV หรือ SUV จากค่ายรถฝั่งยุโรปก็ได้เช่นกันครับ

พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมในกรุงเทพฯ ก่อนซื้อรถซื้อบ้าน ต้องรู้!

จุดไหนในกรุงเทพฯ น้ำท่วมอย่างบ่อย?

จากการสำรวจของสำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร พบว่า ในกรุงเทพฯ มีจุดเสี่ยงน้ำท่วมขัง จำนวน 12 จุด ในพื้นที่ 8 เขต ประกอบด้วย

พื้นที่ฝั่งพระนคร จำนวน 9 จุดใน 6 เขต

  • เขตจตุจักร ถนนรัชดาภิเษก บริเวณหน้าธนาคารกรุงเทพ
  • เขตบางซื่อ ถนนประชาราษฎร์สาย 2 บริเวณแยกเตาปูน
  • เขตหลักสี่ ถนนแจ้งวัฒนะ ช่วงจากคลองประปา ถึงคลองเปรมประชากร
  • เขตดุสิต ถนนราชวิถี บริเวณหน้าราชภัฏสวนดุสิตและเชิงสะพานกรุงธนบุรี
  • เขตราชเทวี ถนนพญาไท บริเวณหน้ากรมปศุสัตว์
  • เขตราชเทวี ถนนศรีอยุธยา บริเวณหน้า สน.พญาไท
  • เขตสาทร ถนนจันทน์ ช่วงจากซอยบำเพ็ญกุศล ถึงที่ทำการไปรษณีย์ยานนาวา
  • เขตสาทร ถนนสวนพลู ช่วงจากถนนสาทรใต้ ถึงถนนนางลิ้นจี่
  • เขตสาทร ถนนสาธุประดิษฐ์ บริเวณแยกตัดถนนจันทน์

พื้นที่ฝั่งธนบุรี จำนวน 3 จุดใน 2 เขต

  • เขตบางขุนเทียน ถนนบางขุนเทียน-ชายทะเล ช่วงจากถนนพระรามที่ 2 ถึงคลองสะแกงาม
  • เขตบางแค ถนนเพชรเกษม ช่วงจากคลองทวีวัฒนา ถึงคลองราชมนตรี
  • เขตบางแค ถนนหมู่บ้านเศรษฐกิจ ช่วงจากถนนเพชรเกษม ถึงวงเวียนกาญจนาภิเษก

พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมในกรุงเทพฯ ก่อนซื้อรถซื้อบ้าน ต้องรู้!

ส่วนจุดอื่นๆ ที่ไม่มีในการสำรวจของสำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร ฝนตกหนักๆ มักเกิดน้ำท่วม (น้ำรอการระบาย) ที่มีทั้งพื้นที่สาธารณะ ซอย ถนน และพื้นที่หมู่บ้าน หรือที่ส่วนบุคคล)

  • เขตห้วยขวาง ถนนสุทธิสารวินิจฉัย, ถนนประชาสุข, ถนนเทียมร่วมมิตร, ซอยทวีมิตร (พระราม 9 ซอย 7), ซอยศูนย์วิจัย
  • เขตคลองเตย ซอยสุขุมวิท 16, ซอยสุขุมวิท 22, ซอยสุขุมวิท 26, ซอยสุขุมวิท 38, ถนนพระรามที่ 4
  • เขตวัฒนา ถนนสุขุมวิท 21, ซอยสุขุมวิท 39, ซอยพร้อมศรี, ถนนสุขุมวิท 55, ถนนสุขุมวิท 63, ซอยสุขุมวิท 69, ถนนสุขุมวิท 71
  • เขตพระโขนง ซอยสุขุมวิท 62, ถนนสุขุมวิท 101/1, ถนนสุขุมวิท 103 (อุดมสุข)
  • เขตสวนหลวง ถนนสุขุมวิท 77, ซอยอ่อนนุช 39, ถนนพัฒนาการ, ซอยพัฒนาการ 28, ซอยพัฒนาการ 30
  • เขตประเวศ ซอยพัฒนาการ 69, ถนนเฉลิมพระเกียรติ ร.9
  • เขตดินแดง ซอยโพธิ์ปั้น
  • เขตจตุจักร ถนนพหลโยธิน (แยกรัชโยธิน-ลาดพร้าว), ถนนรัชดาภิเษก, ซอยรัชดาภิเษก 36, ซอยเสือใหญ่อุทิศ
  • เขตลาดพร้าว ถนนสุคนธ์สวัสดิ์
  • เขตบางกะปิ ถนนรามคำแหง, ซอยรามคำแหง 24, ซอยรามคำแหง 60, ถนนศรีนครินทร์
  • เขตวังทองหลาง ซอยลาดพร้าว 64
  • เขตบางนา ถนนศรีนครินทร์, ถนนสุขุมวิท 107
  • เขตบางเขน ถนนพหลโยธิน
  • เขตหลักสี่ ถนนวิภาวดีรังสิต, ถนนแจ้งวัฒนะ ช่วงหน้าศูนย์ราชการฯ กทม. – ห้าแยกปากเกร็ด
  • เขตบางกอกน้อย ถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้า ช่วงแยกบรมราชชนนี – หน้าห้างพาต้า

หากท่านใดมีข้อมูลเพิ่มเติม สามารถนำเสนอมาได้ครับ

พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมในกรุงเทพฯ ก่อนซื้อรถซื้อบ้าน ต้องรู้!

ภาพจาก RT@SuwitKittitien

จากข้อมูลของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย ได้เก็บข้อมูลตลอด 9 ปี (พ.ศ. 2548-2556) พบว่า หลายพื้นที่ในกรุงเทพฯ มีปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก โดยเฉพาะพื้นที่รอบนอก โดยมีรายละเอียดดังนี้

พื้นที่เสี่ยงอุทกภัยระดับ 1 พื้นที่ที่เกิดน้ำท่วมซ้ำซาก 7-9 ปี และพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยระดับ 2 พื้นที่ที่เกิดน้ำท่วมซ้ำซาก 5-6 ปี ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่รอบนอกกรุงเทพฯ ได้แก่

  • หนองจอก
  • คลองสามวา
  • ลาดกระบัง
  • มีนบุรี

และบางส่วนในเขต

  • สายไหม
  • บางเขน
  • คันนายาว

เอาเป็นว่า ไม่ว่าใครจะซื้อรถ หรือซื้อบ้านในกรุงเทพฯ ข้างต้น ก็ต้องพิจารณาเลือกทั้งบ้านทั้งรถดูกันละกันนะครับ

Carro Express ขายรถกับคาร์โร อยากขายรถ ขายรถด่วน

สำหรับใครที่อยากขายรถคันเดิม ไปซื้อรถยนต์คันใหม่ให้เหมาะกับบ้านของคุณ มาขายรถกับทาง Carro Express สิ! คลิกเลยที่ https://th.carro.co/sell-car/express รับรองได้เงินเร็ว ไว ทันใจแน่นอน!

Carro Automall ตลาดรถ

ส่วนใครสนใจจะซื้อรถมือสอง Carro แหล่งรวมรถมือสองคุณภาพเยี่ยมผ่านระบบออนไลน์ คุณสามารถจองรถได้ในเวลาเพียง 1 นาทีเท่านั้น! พร้อมคำนวณสินเชื่อและค่างวด ได้ภายในเว็บไซต์ทันที!

ซึ่ง Carro เรามีรถให้คุณเลือกมากมาย รถทุกคันผ่านการตรวจสภาพโดย Carro Certified อย่างละเอียดแบบ Double Check มากกว่า 160 จุด, การันตีคืนเงินภายใน 5 วัน, รับประกันเครื่องยนต์และเกียร์ 1 ปี, รับประกันไม่กรอไมล์ และไม่ประสบอุบัติเหตุหนัก ไฟไหม้ หรือน้ำท่วม พร้อมรับประกันคุณภาพรถ 1 ปี หรือ 30,000 กิโลเมตร!

อีกทั้งยังมีเทคโนโลยี “360 View & Sound Engine Analysis” เลือกชมรถยนต์เสมือนจริงออนไลน์รายแรกในไทย ทั้งภาพและเสียงในรูปแบบ 360 องศา รวมถึงมีเทคโนโลยีสนับสนุนฝ่ายขาย ทั้ง Digital Device ที่เชื่อมต่อกับ Digital Screen นำเสนอสิ่งที่ลูกค้าต้องการ และจัดการเรื่องเอกสารให้กับลูกค้าให้ตั้งแต่ต้นจนจบ บวกกับ Online Viewing Service ที่ลูกค้าสามารถวิดีโอคอล ตรวจสภาพรถยนต์คันที่สนใจได้แบบเรียลไทม์ ซื้อรถคุณภาพเยี่ยม ต้องที่ Carro สิ!

หรือถ้าหากคุณสนใจรถรุ่นไหนอยู่ แต่ยังหาที่ถูกใจไม่ได้ เรายินดีหาให้! เพียงกรอกชื่อ-เบอร์โทรศัพท์ และรถที่คุณสนใจ ไว้ที่ “รับการแจ้งเตือน” เมื่อมีรถที่คุณต้องการ Carro จะรีบติดต่อไปยังคุณทันที สอบถามรายละเอียดได้ที่ Facebook -> Carro Thailand โทร. 02-460-9380 หรือทาง Line @carrothai

แหล่งที่มาบางส่วนจาก:

เลือกที่จอดรถบ้านเดี่ยวอย่างไร ให้ดีที่สุด

วิถีชีวิตของคนเรา เมื่อมีเงินสักก้อน นอกจากจะซื้อรถป้ายแดง หรือรถมือสองมาใช้กันแล้ว แทบทุกคนย่อมอยากมีบ้านตามไปด้วย ซึ่งในการซื้อบ้านของเรา ปัจจัยหลักๆ ก็จะอยู่ที่ราคาเหมาะกับความสามารถในการผ่อนจ่ายของเรา

รวมไปถึงปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ อาทิ ทำเลที่ตั้ง โครงการหมู่บ้าน จำนวนยูนิต ค่าส่วนกลาง ระบบสาธารณูปโภค ระบบขนส่งมวลชน การรักษาความปลอดภัย น้ำท่วมมั้ย ฯลฯ ที่ต้องวิเคราะห์ให้ละเอียด ก่อนตัดสินใจซื้อบ้านหลังที่ต้องการ

เลือกที่จอดรถบ้านเดี่ยวอย่างไร ให้ดีที่สุด

สำหรับคนที่มีประสบการณ์ทำงานมาพอสมควร อยู่ในตำแหน่งที่มีฐานเงินเดือนสูง หรือมีอาชีพอิสระที่มีรายได้สูง ก็อาจจะเริ่มขยับขยายบ้าน จากที่เคยอยู่บ้านทาวน์เฮ้าส์ ทาวน์โฮม ก็มาซื้อบ้านเดี่ยวแทน ด้วยความต้องการพื้นที่ใช้สอยที่กว้างขึ้น เพื่อให้ลูกมีที่วิ่งเล่น ต้องการคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น (ตามราคาของบ้าน ซึ่งก็ช่วยกรองเพื่อนบ้านได้ในระดับหนึ่ง) หรือต้องการรวมญาติพี่น้องให้มาอยู่กันหลายๆ คน เป็นต้น

ซึ่งในแต่ทำเล ก็มีบ้านเดี่ยวให้เลือกกันหลากหลายแบบ เช่น บ้านแฝด บ้านที่ปลูกสร้างเอง เนื้อที่ของบ้านจะมีเนื้อที่ตั้งแต่ 40 – 50 ตารางวาหรือไป บางหลังก็ใหญ่โตระดับเป็นไร่ก็มี หลายคนอาจจะเลือกบ้านเดี่ยวในโครงการหมู่บ้าน เพราะมีนิติบุคคลคอยจัดการสิ่งต่างๆ หรือถ้าจะเลือกซื้อบ้านเดี่ยวมือสองก็ได้เช่นกัน

แน่นอนว่าถ้าคนซื้อบ้านมีรถแล้ว ก็ย่อมอยากออกแบบโรงรถให้สวยงาม และปลอดภัยต่อคนทุกวัย Mr.Carro จะมาเล่าให้ฟังว่า เลือกหรือสร้างโรงรถบ้านเดี่ยวอย่างไร ให้ใช้งานได้ดีที่สุด

เลือกที่จอดรถบ้านเดี่ยวอย่างไร ให้ดีที่สุด

รูปแบบของบ้านเดี่ยวนั้น บอกได้เลยว่ามีค่อนข้างหลากหลายมากๆ ตามความต้องการของผู้สร้าง และผู้ออกแบบ ขึ้นอยู่กับขนาดของที่ดินด้วยว่า จะสร้างออกมาให้เป็นแบบไหน ซึ่งบ้านเดี่ยว มีทั้งโรงรถที่เป็นแบบแยกออกไปเลยต่างหาก, โรงรถแบบรวมอยู่ในตัวบ้าน (อันนี้คล้ายกับบ้านแบบทาวน์โฮม หรือทาวน์เฮ้าส์) และโรงรถที่อยู่บริเวณด้านข้างของตัวบ้าน

แต่ถ้าเป็นโรงรถของบ้านระดับมหาเศรษฐี รวยจัดๆ ก็อาจจะลงทุนสร้างเป็นโรงรถติดแอร์ และประยุกต์เป็นห้องนั่งเล่น ห้องรับแขกไปด้วยในตัว หรือมีลิฟท์ยกรถเป็น 2 ชั้น เพิ่มเนื้อที่เก็บรถได้มากขึ้น ก็มีให้เห็นกัน

เลือกที่จอดรถบ้านเดี่ยวอย่างไร ให้ดีที่สุด

ภาพจาก บ้านดีระยอง

โรงรถ

หลักการสร้างโรงรถนั้น มักออกแบบให้สอดรับกับส่วนหน้าของบ้าน และมีทิศทางลมและแสงพัดผ่าน เพื่อระบายอากาศในที่จอดรถไปในตัว และมีแสงสว่างเข้า พื้นที่โปร่ง ป้องกันแขกที่ไม่ได้รับเชิญเข้ามาซ่อนได้ และก็ต้องมีหลังคากันสาดเพื่อบังแสงแดด สามารถจอดรถได้ตั้งแต่ 1-5 คัน หรือมากกว่านั้นตามขนาดของพื้นที่

โรงรถ ควรมีขนาดอย่างน้อย 2.5 x 5.0 เมตร/คัน แต่ในกรณีที่ใช้รถกระบะ, รถ SUV, รถ MPV หรือรถตู้ขนาดใหญ่ ก็ควรเพิ่มขนาดโรงรถเป็น 3 x 6 เมตร/คัน

เลือกที่จอดรถบ้านเดี่ยวอย่างไร ให้ดีที่สุด

วิธีสร้างโรงรถแบบตั้งเสาเหล็กรับน้ำหนักทั้งสองด้าน หรือแบบยึดกับตัวบ้านด้านหนึ่ง เพื่อความแข็งแรงของโครงสร้าง (ภาพจาก SGC Experience)

สำหรับหลังคาโรงจอดรถยอดนิยม นั่นคือแบบการตั้งเสาเข็ม เป็นรูปแบบที่ได้รับความนิยมที่สุด แต่ก็มีราคาแพงที่สุด เพราะต้องตั้งเสารับน้ำหนักหลังคาโรงจอดรถใหม่ทั้งหมด โดยไม่ยุ่งกับตัวบ้าน หากพื้นที่โรงรถมีโอกาสทรุดตัว ก็ต้องตอกเสาเข็มรับน้ำหนักด้วย และอาจมีประตูหรือผนังทึบ

หากพื้นที่เทปูนแล้ว ก็อาจตั้งเสาเหล็กรับน้ำหนักอย่างเดียวแทนเสาเข็มก็ได้ รวมถึงมีติดตั้งไฟและก๊อกน้ำ เพื่อความสะดวกในการทำความสะอาดรถ นอกจากนี้ เจ้าของบ้านอย่าลืมศึกษาข้อกฎหมายในการต่อเติม ก่อนออกแบบ และจ้างผู้รับเหมาด้วย กรณีที่ทำโรงรถไว้ด้านข้างของบ้าน (และมีรั้วกำแพงติดกับบ้านคนอื่น)

เลือกที่จอดรถบ้านเดี่ยวอย่างไร ให้ดีที่สุด

ภาพจาก Tai Phimjai

โรงจอดรถยอดนิยมอีกแบบ คือ มีเฉพาะเสารับน้ำหนักด้านหน้า และยึดด้านหลังเข้ากับโครงสร้างตัวบ้าน ซึ่งนิยมทำกันในบ้านเดี่ยวที่มีพื้นที่บริเวณหน้าบ้าน หรือด้านข้างของตัวบ้าน ราคาถูกกว่าการตั้งเสาใหม่ แต่ปัญหาอาจเกิดขึ้นได้ เมื่อโครงสร้างบ้านและพื้นที่จอดรถทรุดตัวไม่เท่ากัน จนอาจฉุดรั้งโครงสร้างบ้านและโรงรถเสียหายไปด้วย แต่ก็แก้ปัญหาได้ด้วยการใช้ตัวยึดแบบแกว่งตัวได้

และอีกแบบ อันนี้สำหรับบ้านเดี่ยว ที่รวมที่จอดรถไว้อยู่ในร่มเงาตัวบ้านอยู่แล้ว แต่ตัวรถยาวกว่าในส่วนของที่จอดรถ สามารถเจอแดดส่องผ่านมาโดนรถได้ เจ้าของบ้านอาจต่อเติมหลังคาโรงรถแบบกันสาดยื่นออกมาได้เช่นกัน (อ่านรายละเอียดของ หลังคา/กันสาด ต่อได้ในเนื้อหาด้านล่าง)

เลือกที่จอดรถบ้านเดี่ยวอย่างไร ให้ดีที่สุด

ภาพจาก Chonticha Jueychan

พื้นโรงรถ

กรณีที่คุณซื้อบ้านเดี่ยวมาแล้ว หรือซื้อบ้านมือสองมา อยากตกแต่งโรงรถเพิ่มเติม ก็สามารถทำได้ การทำทางลาด (Slope) สำหรับโรงรถนั้นจำเป็น กรณีที่ไม่ได้พื้นรอบบ้านต่ำกว่า หรือพอดีกับถนนส่วนกลาง ถ้าบ้านในโซนที่คุณอยู่ มีปัญหาเรื่องฝนตกหนักแล้วน้ำท่วมไว หรือบ่อย จนเข้ามาท่วมในบริเวณบ้านได้เมื่อฝนตกหนัก ก็ควรยกพื้นโรงรถให้สูงหน่อย

แต่ก็อาจพบปัญหาได้ ในส่วนบริเวณรอยต่อพื้นดินโรงรถ เมื่อเวลาผ่านไป ถ้าทำไม่ดี หรือรับน้ำหนักเยอะๆ บ่อยๆ มักเกิดการทรุดตัว ปูนแตกร้าว เวลาเดินเข้า-ออก อาจสะดุดหรืออันตรายได้

แต่ก็ไม่ควรทำที่จอดรถชันจนเกินไป เพราะอาจเกิดอุบัติเหตุขณะตอนเคลื่อนรถเข้าไปจอดในโรงรถ หรือระหว่างถอยเข้าไปจอดในบโรงรถได้ (เพราะขับรถขึ้นทางลาด รถต้องมีแรงส่งในการนำเข้าไปจอด อาจหรือเผลอเหยียบคันเร่งมากเกินไป จนพุ่งเข้าไปด้านใน หรือตัวบ้านได้นั่นเอง)

เลือกที่จอดรถบ้านเดี่ยวอย่างไร ให้ดีที่สุด

ภาพจาก กระเบื้องโรงรถ

พื้นปูโรงรถ

สำหรับพื้นที่ปูโรงรถในบ้านเดี่ยว จะบ้านใหม่หรือบ้านมือสอง ส่วนมากนิยมกันในหลายแบบด้วยกัน เช่น

  • ที่จอดรถคอนกรีตทั่วไป นับได้ว่าเป็นมาตรฐานของบ้านทั่วไทยก็ว่าได้ เพราะถูกและแข็งแรง บางโครงการอาจมีทั้งแบบผิวหยาบ แบบขัดมัน ดูแลรักษาง่าย แค่ผสมหิน ปูน ทราย ให้ได้มาตรฐาน สามารถไปตกแต่งเองเพิ่มเติมทีหลังได้ ไม่ว่าจะใช้ปูกระเบื้อง ปูหินอ่อน ปูกรวดล้าง ทรายล้าง ที่มีให้เลือกกันหลายเบอร์ เป็นต้น
  • ที่จอดรถคอนกรีตพิมพ์ลาย หรือแสตมป์คอนกรีต หลายคนอาจจะชอบความสวยงาม พื้นโรงรถมีลวดลาย ก็อาจจ้างช่างให้มาทำคอนกรีตพิมพ์ลาย ตกแต่งผิวหน้าคอนกรีต โดยช่างจะโรยผงสี (กรณีต้องการมีสีสัน) บนผิวหน้าคอนกรีตก่อนทำการพิมพ์ลาย จากนั้นนำแม่แบบมาพิมพ์ลาย ต่อกันจนครบทั้งหมด ให้เป็นลวดลายที่ดูเสมอกัน และมีลวดลายที่ช่วยกันลื่นเวลาเจอน้ำด้วย
  • ที่จอดรถปูกระเบื้องเซรามิก การเลือกกระเบื้องเซรามิกมาปูพื้นโรงรถ ควรเลือกกระเบื้องปูพื้นประเภทแกรนิตโต้ ที่มีผิวหยาบ มีลวดลาย เพราะกันลื่นได้ แถมแข็งแรง ทนทาน
  • ที่จอดรถปูกรวดล้างทรายล้าง ข้อดีคือ เหมาะสำหรับบ้านที่มีผู้สูงอายุ และเด็กๆ เพราะมีพื้นผิวขรุขระ ป้องกันการลื่นได้ แต่ข้อเสียก็มีเช่นกัน คือทำความสะอาดและซ่อมแซมยาก และตะไคร่ชอบขึ้น (ขัดกันเหนื่อยเลยแต่ละที) ที่สำคัญต้องเคลือบน้ำยาป้องกันการสะสมตะไคร่ ตามซอกเม็ดหินอย่างสม่ำเสมอ
  • ที่จอดรถปูหินแกรนิต มีราคาสูงและเป็นที่นิยม ด้วยความแข็งแรงสุดๆ ทนทาน ดูแลรักษาง่าย ผิวหยาบเรียบ เดินแล้วไม่ลื่น ควรเลือกหินแกรนิตที่มีความหยาบ และหนากว่าหินแกรนิตโดยทั่วไปประมาณ 3-4 นิ้ว เพื่อรองรับน้ำหนักของตัวรถได้มาก
  • บล็อกคอนกรีต จัดเป็นของยอดนิยมของคนมีบ้านเดี่ยว มีสนามหญ้าในบ้าน ผลิตจากคอนกรีตเคลือบสีผิวด้านบน ปัจจุบันมีการพิมพ์ลาย และผิวสัมผัสเลียนแบบธรรมชาติด้วย มีขนาดและรูปทรงหลากหลาย สามารถปูวางบนพื้นผิวทรายที่บดอัดแน่นได้เลย ง่ายต่อการติดตั้งและซ่อมแซม แต่มีจะต้องมีการทำขอบคันหิน และปูด้วย Geo Textile เพื่อป้องกันมิให้ทรายไหล

ส่วนวัสดุแบบอื่นๆ ที่ได้รับความนิยมลงไป เช่น พื้นยางปูพื้น, ลาดยางมะตอย หรือ อีพ๊อกซี่ เป็นต้น

เลือกที่จอดรถบ้านเดี่ยวอย่างไร ให้ดีที่สุด

ภาพจาก วุฒิพงษ์ ดารามาศ

หลังคา / กันสาด

การเลือกหลังคาโรงรถ โดยมากแล้ว บ้านเดี่ยวจะสร้างหลังคาโรงรถได้หลากหลาย แบบทรงเรียบ แบบหน้าจั่ว แบบเฉียง หรือทรงโค้งเทลาดมาด้านหน้า เพราะเวลาฝนตกน้ำจะได้ไหลมาลงไปที่รางระบายน้ำข้างหน้า ด้านข้าง หรือแขวนโซ่สแตนเลสให้น้ำไหลลงมาก็ได้

ทั้งนี้ การเลือกแบบหลังคาโรงรถก็ต้องดูลักษณะบ้านคุณด้วยว่า เป็นบ้านเดี่ยวแบบไหน? เช่น บ้านที่มีโรงรถแยกออกไปต่างหาก หรือบ้านที่มีโรงรถรวมอยู่ในตัวบ้าน หรืออยู่บริเวณด้านหน้า หรือด้านข้างของบ้าน

วัสดุปูหลังคาก็มีอยู่หลายแบบ ทั้งแบบสังกะสี แบบกระเบื้อง แบบสแตนเลส แบบเมทัลชีท แบบไวนิล แบบโพลีคาร์บอเนต ซึ่งมีข้อดีข้อเสียอย่างไร เรามาดูกัน …

เลือกที่จอดรถบ้านเดี่ยวอย่างไร ให้ดีที่สุด

ภาพจาก โซลาร์เซลล์ เพชรบุรี

  • หลังคาสังกะสี มีคุณสมบัติพื้นผิวมันเรียบ น้ำหนักเบา ราคาถูกจำหน่ายเป็นฟุต ราคาต่อฟุตแตกต่างกันตามสี และชั้นคุณภาพของสังกะสี ข้อดีคือราคาถูก ทนทาน สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ หรือยังนำไปใช้ประโยชน์อื่นๆ ได้ เช่น ใช้ทำฝาผนัง หรือทำรั้ว
    ส่วนข้อเสียของหลังคาสังกะสี คือ เมื่อใช้ไปนานๆ เจอแดดเจอฝนนานๆ มักขึ้นสนิม ผุ ไม่ทนต่อแรงลม เจอพายุมาทีปลิวไปหมดเลยก็มี และโรงรถร้อน เพราะหลังคาสังกะสีอมความร้อน กระจายความร้อนได้รวดเร็ว (วิธีแก้คือ รองด้วยฉนวนกันความร้อน หรือโฟมบุหลังคา) และเสียงดังมากเมื่อฝนตกหนัก
  • หลังคาเหล็กเมทัลชีท คือหลังคาที่เป็นแผ่นเหล็กเคลือบด้วย Aluzinc (อลูซิงค์) มีส่วนประกอบของ อะลูมิเนียม 55% และสังกะสี 45% เพื่อป้องกันการเกิดสนิม รีบจนเป็นแผ่นลอนบาง ข้อดี คือ กันสนิมได้ ติดตั้งได้ง่าย แข็งแรง ทำหลังคาโค้งได้ กันน้ำซึมได้เพราะเป็นแผ่นยาวไร้รอยต่อ มีหลายสีให้เลือก ราคาไม่แพง
    แต่ข้อเสียคือ อมความร้อน (วิธีแก้คือ รองด้วยฉนวนกันความร้อน หรือโฟมบุหลังคา) น้ำหนักมากกว่าหลังคาสังกะสี และเสียงดังเมื่อฝนตกหนัก
  • หลังคาสแตนเลส คือ เหล็กที่มีปริมาณคาร์บอนน้อยกว่า หรือต่ำกว่า 2% ของน้ำหนัก และมีส่วนผสมของโครเมียมอย่างน้อยที่สุด 5% ขึ้นไป หรือเรียกว่าเหล็กกล้าไร้สนิม ข้อดี คือ น้ำหนักเบา เคลื่อนย้ายง่าย ง่ายต่อการติดตั้ง ปลอดสนิม น้ำหนักเบา ทนความร้อน ส่วนข้อเสีย คือ ราคาสูง และไม่ทนทานเท่าหลังคาเหล็ก
  • หลังคากระเบื้อง เป็นหลังคาที่ทำมาจากไฟเบอร์ซีเมนต์ แข็งแรง อายุการใช้งานยาวนานกว่าวัสดุประเภทอื่นๆ รับแรงกระแทกดี (เช่น มีของหล่นใส่ ไม่บุบหรือแตก) ทนทาน เสียงไม่ดังเวลาฝนตกหนัก ซ่อมแซมง่าย แผ่นไหนรั่วแตกก็ถอดเปลี่ยนได้เลย ไม่ต้องเปลี่ยนยกแผงแบบประเภทอื่น
    แต่ข้อเสียก็มี คือ น้ำหนักมาก ต้องทำโครงสร้างโรงรถให้รับน้ำหนักได้ และปัญหารั่วซึมตามรอยต่อกระเบื้อง ต้องอัดกาวหรือเปลี่ยนเพื่อซ่อมแซมใหม่
  • หลังคาไวนิล เป็นหลังคาที่ทำมาจาก UPVC หรือ Unplasticised Poly Vinyl Chloride ข้อดี คือ ทนทานต่อแรงกระแทกได้ดี ยืดหยุ่น ป้องกันความร้อนได้ดี เก็บความเย็น น้ำหนักเบา ติดตั้งง่าย ฝนตกหนักเสียงไม่ดัง และติดไฟยาก ส่วนข้อเสีย คือ เมื่อใช้งานไปนานๆ หลังคาสีจะซีด และมีราคาสูง
  • หลังคาโพลีคาร์บอเนต เป็นหลังคาที่ทำมาจากพลาสติกแข็ง มีทั้งแบบแผ่นตันและแผ่นลูกฟูก ข้อดีคือ โปร่งแสง ทำให้บริเวณโรงรถไม่มืด มีน้ำหนักเบาแต่แข็งแรง ทนต่อสภาพอากาศ ดัดรูปทรงตามต้องการได้ และเวลาฝนตกเสียงไม่ดัง ส่วนข้อเสียคือราคาสูง เป็นรอยขีดข่วนง่าย ติดไฟได้เนื่องจากวัสดุพลาสติกค่อนข้างไวไฟ
  • หลังคาโซลาร์เซลล์ (Solar Cell) สำหรับบ้านรักษ์โลก และต้องการลดค่าไฟในแต่ละเดือน ยิ่งติดจำนวนขนาดใหญ่ และใช้ไฟฟ้ามาก ย่อมคืนทุนเร็วกว่าบ้านที่มีการใช้ไฟฟ้าน้อย ยิ่งเหมาะสำหรับบ้านที่ใช้ไฟในเวลากลางวัน เพราะผลิตไฟฟ้าได้แล้วใช้เลยจึงจะคุ้มค่ามากที่สุด (ระบบ On Grid) และในปัจจุบันระบบ Energy Storage สำหรับใช้ในบ้าน ยังมีค่าใช้จ่ายสูงมาก ทำให้จุดคุ้มทุนยิ่งนานขึ้นตามกันไป​​​​​​​

บางคนก็ไม่อยากได้หลังคาแบบทึบแสง อยากให้มีแสงส่องเข้ามาในโรงรถบ้าง ก็อาจจะเลือกหลังคาที่ใช้วัสดุแบบโปร่งแสงชนิดอื่นๆ เช่น ไฟเบอร์กลาส หรือโพลีคาร์บอเนต เป็นต้น

เลือกที่จอดรถบ้านเดี่ยวอย่างไร ให้ดีที่สุด

สำหรับใครที่กำลังเลือกตกแต่งโรงรถให้กับบ้านเดี่ยวหลังใหม่ หรือบ้านเดี่ยวหลังเดิมของคุณอยู่ ก็ลองนำไปพิจารณาดู ซึ่งขึ้นอยู่กับเงื่อนไขหลายด้าน ทั้งความชื่นชอบ ฟังก์ชั่นการใช้งาน กับงบประมาณที่ตั้งไว้ครับ เพื่อจะได้คุ้มค่าเงิน ที่ต้องจ่ายไปมากที่สุด และไม่มีปัญหาตามมาทั้งตัวเอง และเพื่อนบ้านในภายหลัง

Carro Express ขายรถกับคาร์โร อยากขายรถ ขายรถด่วน

สำหรับใครที่อยากขายรถคันเดิม ไปซื้อรถยนต์คันใหม่ให้เหมาะกับโรงรถบ้านคุณ มาขายรถกับทาง Carro Express สิ! คลิกเลยที่ https://th.carro.co/sell-car/express รับรองได้เงินเร็ว ไว ทันใจแน่นอน!

Carro Automall ตลาดรถ

ส่วนใครสนใจจะซื้อรถมือสอง Carro แหล่งรวมรถมือสองคุณภาพเยี่ยมผ่านระบบออนไลน์ คุณสามารถจองรถได้ในเวลาเพียง 1 นาทีเท่านั้น! พร้อมคำนวณสินเชื่อและค่างวด ได้ภายในเว็บไซต์ทันที!

ซึ่ง Carro เรามีรถให้คุณเลือกมากมาย รถทุกคันผ่านการตรวจสภาพโดย Carro Certified อย่างละเอียดแบบ Double Check มากกว่า 160 จุด, การันตีคืนเงินภายใน 5 วัน, รับประกันเครื่องยนต์และเกียร์ 1 ปี, รับประกันไม่กรอไมล์ และไม่ประสบอุบัติเหตุหนัก ไฟไหม้ หรือน้ำท่วม พร้อมรับประกันคุณภาพรถ 1 ปี หรือ 30,000 กิโลเมตร!

อีกทั้งยังมีเทคโนโลยี “360 View & Sound Engine Analysis” เลือกชมรถยนต์เสมือนจริงออนไลน์รายแรกในไทย ทั้งภาพและเสียงในรูปแบบ 360 องศา รวมถึงมีเทคโนโลยีสนับสนุนฝ่ายขาย ทั้ง Digital Device ที่เชื่อมต่อกับ Digital Screen นำเสนอสิ่งที่ลูกค้าต้องการ และจัดการเรื่องเอกสารให้กับลูกค้าให้ตั้งแต่ต้นจนจบ บวกกับ Online Viewing Service ที่ลูกค้าสามารถวิดีโอคอล ตรวจสภาพรถยนต์คันที่สนใจได้แบบเรียลไทม์ ซื้อรถคุณภาพเยี่ยม ต้องที่ Carro สิ!

หรือถ้าหากคุณสนใจรถรุ่นไหนอยู่ แต่ยังหาที่ถูกใจไม่ได้ เรายินดีหาให้! เพียงกรอกชื่อ-เบอร์โทรศัพท์ และรถที่คุณสนใจ ไว้ที่ “รับการแจ้งเตือน” เมื่อมีรถที่คุณต้องการ Carro จะรีบติดต่อไปยังคุณทันที สอบถามรายละเอียดได้ที่ Facebook -> Carro Thailand โทร. 02-508-8690 หรือทาง Line @carrothai

แหล่งที่มาบางส่วนจาก:

เลือกที่จอดรถบ้านทาวน์เฮ้าส์อย่างไร ให้ดีที่สุด

วิถีชีวิตของคนเรา เมื่อมีเงินสักก้อน นอกจากจะซื้อรถป้ายแดง หรือรถมือสองมาใช้กันแล้ว แทบทุกคนย่อมอยากมีบ้านตามไปด้วย ซึ่งในการซื้อบ้านของเรา ปัจจัยหลักๆ ก็จะอยู่ที่ราคาเหมาะกับความสามารถในการผ่อนจ่ายของเรา

รวมไปถึงปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ อาทิ ทำเลที่ตั้ง โครงการหมู่บ้าน จำนวนยูนิต ค่าส่วนกลาง ระบบสาธารณูปโภค ระบบขนส่งมวลชน การรักษาความปลอดภัย น้ำท่วมมั้ย ฯลฯ ที่ต้องวิเคราะห์ให้ละเอียด ก่อนตัดสินใจซื้อบ้านหลังที่ต้องการ

เลือกโรงรถบ้านทาวน์เฮ้าส์อย่างไร ให้ใช้งานได้ดีสุด

ซึ่งในแต่ทำเล แต่ละหมู่บ้าน ก็มีที่อยู่อาศัยให้เลือกกันหลากหลายแบบ เช่น บ้านทาวน์เฮ้าส์, บ้านทาวน์โฮม หรือบ้านเดี่ยว หลายคนอาจจะเลือกบ้านทาวน์เฮ้าส์ (หรือทาวน์โฮม) เพราะมีราคาไม่แพงมาก (รวมไปถึงเนื้อที่ตัวบ้านก็ไม่มาก ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 16 – 25 ตร.วา) ดูแลง่าย มีนิติบุคคลคอยจัดการสิ่งต่างๆ หรือถ้าจะเลือกซื้อบ้านมือสองก็ได้เช่นกัน

แน่นอนว่าถ้าคนซื้อบ้านมีรถแล้ว ก็ย่อมอยากออกแบบโรงรถให้สวยงาม และปลอดภัยต่อคนทุกวัย Mr.Carro จะมาเล่าให้ฟังว่า เลือกโรงรถบ้านทาวน์เฮ้าส์อย่างไร ให้ใช้งานได้ดีที่สุด

เลือกโรงรถบ้านทาวน์เฮ้าส์อย่างไร ให้ใช้งานได้ดีสุด

ตามปกติแล้ว โครงการหมู่บ้านส่วนใหญ่ มักจะออกแบบโรงรถให้เป็นบริเวณที่เปิดโล่ง หรือมีชานจากตัวบ้านบังตัวรถได้นิดหน่อย เพื่อให้เจ้าของบ้านตกแต่งเองเพิ่มเติม (เว้นเสียแต่ว่า คุณซื้อบ้านมือสองมาแล้วเจ้าของเดิมต่อเติม ตกแต่งไว้ให้แล้ว)

บ้านทาวน์เฮ้าส์ที่มีอยู่ในท้องตลาดปัจจุบัน มีหน้ากว้างที่ค่อนข้างหลากหลายตามการออกแบบ จัดวางพื้นที่ และราคาที่จะตั้งขาย มีตั้งแต่ความกว้างขั้นต่ำ (วัดจากเขตที่ดินบ้าน ที่กินเนื้อที่เข้าไปกำแพงบ้านประมาณ 20 ซม.) ตามกฎหมาย 4 เมตร ไปจนถึง 10 เมตร ก็มี ซึ่ง พรบ. ควบคุมอาคาร ปี 2522 ฉบับปรับปรุงปี 2558 ระบุว่า ช่องจอดรถขั้นต่ำ ต้องมีขนาดอย่างน้อย 2.4 X 5 เมตร)

เมื่อเทียบกับขนาดรถยนต์ที่ขายในบ้านเราส่วนใหญ่ ตัวรถจะมีความยาวอยู่ที่ประมาณตั้งแต่เกือบๆ 4 เมตร ไปจนถึงไม่เกิน 5 เมตรครึ่ง รวมไปถึงความกว้างของตัวรถ มักอยู่ที่ประมาณ 1.7 เมตร ไปจนถึงเกือบๆ 2 เมตร (กรณีรถคันใหญ่มาก) ซึ่งถ้าใครใช้รถหรูๆ หรือรถกระบะ รถ SUV คันใหญ่ๆ ก็ต้องหาบ้านที่หน้ากว้างๆ หน่อยละกัน เวลาเข้า-ออก รถ จะได้ไม่ลำบาก

เลือกโรงรถบ้านทาวน์เฮ้าส์อย่างไร ให้ใช้งานได้ดีสุด

บ้านทาวน์เฮ้าส์หน้ากว้าง มีพื้นที่ใช้สอยเท่าไหร่ จอดรถได้กี่คัน …

  • ทาวน์โฮมหน้ากว้าง 4 เมตร : จอดรถได้ 1 คันเท่านั้น พอเหลือพื้นที่ด้านข้างนิดหน่อย สำหรับเปิดประตูรถ เดิน หรือใช้วางสิ่งของที่เกี่ยวกับการดูแลรถ เช่น อุปกรณ์ เครื่องมือ หรือน้ำยาต่างๆ หรือจะใช้จอดมอเตอร์ไซค์ได้อีกคัน
  • ทาวน์โฮมหน้ากว้าง 5 – 5.7 เมตร : หมู่บ้านยุคใหม่หลายโครงการ นิยมออกแบบหน้ากว้างประมาณนี้มาก เพราะสามารถจอดรถได้ตั้งแต่ 1 หรือ 2 คัน แต่ถ้าคุณจอดรถเพียง 1 คัน ก็จะมีพื้นที่ใช้สอยมากขึ้น เปิดประตูรถได้กว้างขึ้น
  • ทาวน์โฮมหน้ากว้าง 6 – 7 เมตร : พื้นที่ขนาดนี้ ออกแบบมาให้จอดรถได้ 2 คัน หรือใช้จอดจักรยาน จอดมอเตอร์ไซค์เพิ่มเติมได้ แต่ถ้าจะเปิดประตูรถที่จอดติดกัน อาจจะเปิดได้ไม่กว้างนัก
  • ทาวน์โฮมหน้ากว้าง 8 – 10 เมตร : เป็นระยะความกว้างที่สุด จอดรถได้ 3 คัน พร้อมพื้นที่ทำกิจกรรมต่างๆ ได้อิสระมากขึ้น สำหรับสมาชิกหลายๆ คนในบ้าน ถ้าจอดรถเพียงแค่คันเดียว ก็เปิดประตูรถได้กว้างสุดๆ

เลือกโรงรถบ้านทาวน์เฮ้าส์อย่างไร ให้ใช้งานได้ดีสุด

ที่สำคัญ ต้องเลือกเนื้อที่ความลึกของที่จอดรถให้มากกว่าความยาวของรถคุณด้วย เพราะถ้าขับรถเข้าไปจอดในบ้านเรา ไม่มีพื้นที่เว้นระยะห่างหน้า-หลัง ของรถเลย ก็อาจใช้งานไม่สะดวกได้เช่นกันครับ เช่น การเปิดฝากระโปรงหน้ารถ หรือเปิดท้ายรถเพื่อหยิบของ

เลือกโรงรถบ้านทาวน์เฮ้าส์อย่างไร ให้ใช้งานได้ดีสุด

ภาพจาก Tai Phimjai

พื้นโรงรถ

กรณีที่คุณซื้อบ้านมาแล้ว หรือซื้อบ้านมือสองมา อยากตกแต่งโรงรถเพิ่มเติม ก็สามารถทำได้ การทำทางลาด (Slope) สำหรับโรงรถนั้นจำเป็น ในกรณีที่คุณอาจต้องล้างรถในบ้าน หรือพื้นที่ถนนส่วนกลางภายนอกเท่ากันหรือสูงกว่าตัวพื้นบ้าน จนน้ำสามารถเข้ามาท่วมในบ้านได้เมื่อฝนตกหนัก ก็ควรทำทางลาดให้สูงหน่อย

แต่ก็อาจพบปัญหาได้ ในส่วนบริเวณรอยต่อพื้นดินหน้าบ้าน หรือหน้าถนนที่ทางลาด เมื่อเวลาผ่านไป ถ้าทำไม่ดี หรือรับน้ำหนักเยอะๆ บ่อยๆ มักเกิดการทรุดตัว ปูนแตกร้าว เวลาเดินอาจสะดุดหรืออันตรายได้

แต่ก็ไม่ควรทำที่จอดรถชันจนเกินไป เพราะอาจเกิดอุบัติเหตุขณะตอนเคลื่อนรถเข้าไปจอดในบ้าน หรือระหว่างถอยเข้าไปจอดในบ้านได้ (เพราะขับรถขึ้นทางลาด รถต้องมีแรงส่งในการนำเข้าไปจอด อาจหรือเผลอเหยียบคันเร่งมากเกินไป จนพุ่งเข้าไปชนกำแพงบ้านได้นั่นเอง)

เลือกโรงรถบ้านทาวน์เฮ้าส์อย่างไร ให้ใช้งานได้ดีสุด

ภาพจาก Bank HomeNow

พื้นปูโรงรถ

สำหรับพื้นที่ปูโรงรถในบ้านทาวน์เฮ้าส์ ถ้าเป็นบ้านทาวน์เฮ้าส์ จะบ้านใหม่หรือบ้านมือสอง ก็มีให้เลือกด้วยกันหลายแบบด้วยกัน เช่น

  • ที่จอดรถคอนกรีตทั่วไป นับได้ว่าเป็นมาตรฐานของหมู่บ้านทั่วไทยก็ว่าได้ เพราะถูกและแข็งแรง บางโครงการอาจมีทั้งแบบผิวหยาบ แบบขัดมัน ดูแลรักษาง่าย แค่ผสมหิน ปูน ทราย ให้ได้มาตรฐาน สามารถไปตกแต่งเองเพิ่มเติมทีหลังได้ ไม่ว่าจะใช้ปูกระเบื้อง ปูหินอ่อน ปูกรวดล้าง ทรายล้าง ที่มีให้เลือกกันหลายเบอร์ เป็นต้น
  • ที่จอดรถคอนกรีตพิมพ์ลาย หรือแสตมป์คอนกรีต หลายคนอาจจะชอบความสวยงาม พื้นโรงรถมีลวดลาย ก็อาจจ้างช่างให้มาทำคอนกรีตพิมพ์ลาย ตกแต่งผิวหน้าคอนกรีต โดยช่างจะโรยผงสี (กรณีต้องการมีสีสัน) บนผิวหน้าคอนกรีตก่อนทำการพิมพ์ลาย จากนั้นนำแม่แบบมาพิมพ์ลาย ต่อกันจนครบทั้งหมด ให้เป็นลวดลายที่ดูเสมอกัน และมีลวดลายที่ช่วยกันลื่นเวลาเจอน้ำด้วย
  • ที่จอดรถปูกระเบื้องเซรามิก การเลือกกระเบื้องเซรามิกมาปูพื้นโรงรถ ควรเลือกกระเบื้องปูพื้นประเภทแกรนิตโต้ ที่มีผิวหยาบ มีลวดลาย เพราะกันลื่นได้ แถมแข็งแรง ทนทาน
  • ที่จอดรถปูกรวดล้างทรายล้าง ข้อดีคือ เหมาะสำหรับบ้านที่มีผู้สูงอายุ และเด็กๆ เพราะมีพื้นผิวขรุขระ ป้องกันการลื่นได้ แต่ข้อเสียก็มีเช่นกัน คือทำความสะอาดและซ่อมแซมยาก และตะไคร่ชอบขึ้น (ขัดกันเหนื่อยเลยแต่ละที) ที่สำคัญต้องเคลือบน้ำยาป้องกันการสะสมตะไคร่ ตามซอกเม็ดหินอย่างสม่ำเสมอ
  • ที่จอดรถปูหินแกรนิต มีราคาสูงและเป็นที่นิยม ด้วยความแข็งแรงสุดๆ ทนทาน ดูแลรักษาง่าย ผิวหยาบเรียบ เดินแล้วไม่ลื่น ควรเลือกหินแกรนิตที่มีความหยาบ และหนากว่าหินแกรนิตโดยทั่วไปประมาณ 3-4 นิ้ว เพื่อรองรับน้ำหนักของตัวรถได้มาก

ส่วนวัสดุแบบอื่นๆ ที่ได้รับความนิยมลงไปก็มีอย่างเช่น บล็อกหญ้า, บล็อกตัวหนอน, พื้นยางปูพื้น, ลาดยางมะตอย หรือ อีพ๊อกซี่ เป็นต้น

เลือกโรงรถบ้านทาวน์เฮ้าส์อย่างไร ให้ใช้งานได้ดีสุด

ภาพจาก บ้านมือสอง-สมุทรปราการ

หลังคา / กันสาด

การเลือกหลังคาโรงรถ โดยมากแล้ว บ้านทาวน์เฮ้าส์จะเลือกหลังคาโรงรถแบบทรงเรียบ หรือทรงโค้ง ให้เทลาดมาด้านหน้าถึงรั้วบ้าน หรือเลยออกไปบริเวณทางลาดหน้าบ้าน เพราะเวลาฝนตกน้ำจะได้ไหลมาลงไปที่รางระบายน้ำข้างหน้า หรือด้านหน้าบ้านตัวเอง ไม่ไปไหลลงที่ข้างบ้าน ซึ่งบางบ้านอาจจะติดตั้งผ้าใบกันฝนได้อีกด้วย

วัสดุปูหลังคาก็มีอยู่หลายแบบ ทั้งแบบสังกะสี แบบกระเบื้อง แบบสแตนเลส แบบเมทัลชีท แบบไวนิล แบบโพลีคาร์บอเนต ซึ่งมีข้อดีข้อเสียอย่างไร เรามาดูกัน …

  • หลังคาสังกะสี มีคุณสมบัติพื้นผิวมันเรียบ น้ำหนักเบา ราคาถูกจำหน่ายเป็นฟุต ราคาต่อฟุตแตกต่างกันตามสี และชั้นคุณภาพของสังกะสี ข้อดีคือราคาถูก ทนทาน สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ หรือยังนำไปใช้ประโยชน์อื่นๆ ได้ เช่น ใช้ทำฝาผนัง หรือทำรั้ว
    ส่วนข้อเสียของหลังคาสังกะสี คือ เมื่อใช้ไปนานๆ เจอแดดเจอฝนนานๆ มักขึ้นสนิม ผุ ไม่ทนต่อแรงลม เจอพายุมาทีปลิวไปหมดเลยก็มี และโรงรถร้อน เพราะหลังคาสังกะสีอมความร้อน กระจายความร้อนได้รวดเร็ว (วิธีแก้คือ รองด้วยฉนวนกันความร้อน หรือโฟมบุหลังคา) และเสียงดังมากเมื่อฝนตกหนัก
  • หลังคาเหล็กเมทัลชีท คือหลังคาที่เป็นแผ่นเหล็กเคลือบด้วย Aluzinc (อลูซิงค์) มีส่วนประกอบของ อะลูมิเนียม 55% และสังกะสี 45% เพื่อป้องกันการเกิดสนิม รีบจนเป็นแผ่นลอนบาง ข้อดี คือ กันสนิมได้ ติดตั้งได้ง่าย แข็งแรง ทำหลังคาโค้งได้ กันน้ำซึมได้เพราะเป็นแผ่นยาวไร้รอยต่อ มีหลายสีให้เลือก ราคาไม่แพง
    แต่ข้อเสียคือ อมความร้อน (วิธีแก้คือ รองด้วยฉนวนกันความร้อน หรือโฟมบุหลังคา) น้ำหนักมากกว่าหลังคาสังกะสี และเสียงดังเมื่อฝนตกหนัก
  • หลังคาสแตนเลส คือ เหล็กที่มีปริมาณคาร์บอนน้อยกว่า หรือต่ำกว่า 2% ของน้ำหนัก และมีส่วนผสมของโครเมียมอย่างน้อยที่สุด 5% ขึ้นไป หรือเรียกว่าเหล็กกล้าไร้สนิม ข้อดี คือ น้ำหนักเบา เคลื่อนย้ายง่าย ง่ายต่อการติดตั้ง ปลอดสนิม น้ำหนักเบา ทนความร้อน ส่วนข้อเสีย คือ ราคาสูง และไม่ทนทานเท่าหลังคาเหล็ก
  • หลังคากระเบื้อง เป็นหลังคาที่ทำมาจากไฟเบอร์ซีเมนต์ แข็งแรง อายุการใช้งานยาวนานกว่าวัสดุประเภทอื่นๆ รับแรงกระแทกดี (เช่น มีของหล่นใส่ ไม่บุบหรือแตก) ทนทาน เสียงไม่ดังเวลาฝนตกหนัก ซ่อมแซมง่าย แผ่นไหนรั่วแตกก็ถอดเปลี่ยนได้เลย ไม่ต้องเปลี่ยนยกแผงแบบประเภทอื่น
    แต่ข้อเสียก็มี คือ น้ำหนักมาก ต้องทำโครงสร้างโรงรถให้รับน้ำหนักได้ และปัญหารั่วซึมตามรอยต่อกระเบื้อง ต้องอัดกาวหรือเปลี่ยนเพื่อซ่อมแซมใหม่
  • หลังคาไวนิล เป็นหลังคาที่ทำมาจาก UPVC หรือ Unplasticised Poly Vinyl Chloride ข้อดี คือ ทนทานต่อแรงกระแทกได้ดี ยืดหยุ่น ป้องกันความร้อนได้ดี เก็บความเย็น น้ำหนักเบา ติดตั้งง่าย ฝนตกหนักเสียงไม่ดัง และติดไฟยาก ส่วนข้อเสีย คือ เมื่อใช้งานไปนานๆ หลังคาสีจะซีด และมีราคาสูง
  • หลังคาโพลีคาร์บอเนต เป็นหลังคาที่ทำมาจากพลาสติกแข็ง มีทั้งแบบแผ่นตันและแผ่นลูกฟูก ข้อดีคือ โปร่งแสง ทำให้บริเวณโรงรถไม่มืด มีน้ำหนักเบาแต่แข็งแรง ทนต่อสภาพอากาศ ดัดรูปทรงตามต้องการได้ และเวลาฝนตกเสียงไม่ดัง ส่วนข้อเสียคือราคาสูง เป็นรอยขีดข่วนง่าย ติดไฟได้เนื่องจากวัสดุพลาสติกค่อนข้างไวไฟ

เลือกโรงรถบ้านทาวน์เฮ้าส์อย่างไร ให้ใช้งานได้ดีสุด

ภาพจาก สืบพงษ์ เครือน้อย

บางคนก็ไม่อยากได้หลังคาแบบทึบแสง อยากให้มีแสงส่องเข้ามาในโรงรถบ้าง ก็อาจจะเลือกหลังคาที่ใช้วัสดุแบบโปร่งแสงชนิดอื่นๆ เช่น ไฟเบอร์กลาส หรือโพลีคาร์บอเนต เป็นต้น

สำหรับใครที่กำลังเลือกตกแต่งโรงรถให้กับบ้านหลังใหม่ หรือบ้านหลังเดิมของคุณอยู่ ก็ลองนำไปพิจารณาดู ซึ่งขึ้นอยู่กับเงื่อนไขหลายด้าน ทั้งความชื่นชอบ ฟังก์ชั่นการใช้งาน กับงบประมาณที่ตั้งไว้ครับ

Carro Express ขายรถกับคาร์โร อยากขายรถ ขายรถด่วน

สำหรับใครที่อยากขายรถคันเดิม ไปซื้อรถยนต์คันใหม่ให้เหมาะกับโรงรถบ้านคุณ มาขายรถกับทาง Carro Express สิ! คลิกเลยที่ https://th.carro.co/sell-car/express รับรองได้เงินเร็ว ไว ทันใจแน่นอน!

CARRO Automall

ส่วนใครสนใจจะซื้อรถมือสอง Carro แหล่งรวมรถมือสองคุณภาพเยี่ยมผ่านระบบออนไลน์ คุณสามารถจองรถได้ในเวลาเพียง 1 นาทีเท่านั้น! พร้อมคำนวณสินเชื่อและค่างวด ได้ภายในเว็บไซต์ทันที!

ซึ่ง Carro เรามีรถให้คุณเลือกมากมาย รถทุกคันผ่านการตรวจสภาพโดย Carro Certified อย่างละเอียดแบบ Double Check มากกว่า 160 จุด, การันตีคืนเงินภายใน 5 วัน, รับประกันเครื่องยนต์และเกียร์ 1 ปี, รับประกันไม่กรอไมล์ และไม่ประสบอุบัติเหตุหนัก ไฟไหม้ หรือน้ำท่วม พร้อมรับประกันคุณภาพรถ 1 ปี หรือ 30,000 กิโลเมตร!

อีกทั้งยังมีเทคโนโลยี “360 View & Sound Engine Analysis” เลือกชมรถยนต์เสมือนจริงออนไลน์รายแรกในไทย ทั้งภาพและเสียงในรูปแบบ 360 องศา รวมถึงมีเทคโนโลยีสนับสนุนฝ่ายขาย ทั้ง Digital Device ที่เชื่อมต่อกับ Digital Screen นำเสนอสิ่งที่ลูกค้าต้องการ และจัดการเรื่องเอกสารให้กับลูกค้าให้ตั้งแต่ต้นจนจบ บวกกับ Online Viewing Service ที่ลูกค้าสามารถวิดีโอคอล ตรวจสภาพรถยนต์คันที่สนใจได้แบบเรียลไทม์ ซื้อรถคุณภาพเยี่ยม ต้องที่ Carro สิ!

หรือถ้าหากคุณสนใจรถรุ่นไหนอยู่ แต่ยังหาที่ถูกใจไม่ได้ เรายินดีหาให้! เพียงกรอกชื่อ-เบอร์โทรศัพท์ และรถที่คุณสนใจ ไว้ที่ “รับการแจ้งเตือน” เมื่อมีรถที่คุณต้องการ Carro จะรีบติดต่อไปยังคุณทันที สอบถามรายละเอียดได้ที่ Facebook -> Carro Thailand โทร. 02-460-9380 หรือทาง Line @carrothai

แหล่งที่มาบางส่วนจาก:

ซื้ออะไรก่อนดี-ระหว่าง-บ้าน-กับ-รถ

ปัญหาโลกแตก สำหรับคนที่อยากจะมีทั้งรถ และ บ้าน ในเวลาเดียวกัน โดยเฉพาะบรรดามนุษย์เงินเดือน หรือเด็กจบใหม่ที่กำลังสร้างเนื้อสร้างตัว มีเงินเก็บได้ประมาณก้อนหนึ่ง หรือว่ามีแฟนแล้ว ก็อยากที่จะหาอะไรที่เป็นหลักประกันในชีวิต รวมไปถึงความสะดวกสบายในการเดินทางไปไหนมาไหนด้วย

แต่การจะซื้อทั้งบ้าน และรถ พร้อมๆ กัน มันก็จะดูหนักมากสำหรับใครหลายๆ คน ในภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ ยกเว้นเสียแต่ว่าคุณโชคดี มีฐานเงินเดือนที่สูงมากจริงๆ หรือฐานะทางบ้านดี (หรือ “รวย” ก็ได้) มีครอบครัวคอยช่วยผ่อน ช่วยอุดหนุนให้

และนี่ก็เป็นคำถามที่ผมได้ยินมาอย่างสม่ำเสมอ ตลอดเวลาระยะหลายปีมานี้ Mr.Carro จะมาอธิบายให้ฟัง ว่าการซื้อบ้าน หรือ ซื้อรถ อะไรควรซื้อก่อนหลังดี …

Car-VS-House-What-Should-I-Buy-First

1. เพราะ “รถ” มีแต่ “ลด”

ปกติแล้ว รถยนต์ เป็นทรัพย์สินที่มีการเสื่อมมูลค่าลงทุกปี ส่วนทางกับบ้าน หรืออสังหาริมทรัพย์อื่นๆ ที่แทบจะไม่มีการเสื่อมมูลค่า มีแต่เก็บไว้แล้วมูลค่าเพิ่มยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะซื้อไว้เพื่ออยู่อาศัย หรือซื้อไว้เพื่อเก็งกำไร ล้วนแล้วแต่มูลค่าเพิ่มทั้งสิ้น

แต่ในบางอาชีพ ที่อาจจะต้องใช้รถยนต์เป็นเครื่องมือทำมาหากิน เช่น ขับรถแท็กซี่, รถกระบะส่งของ, เซลส์แมน หรือจะขับ Grab Car อะไรก็สุดแท้แต่ … การมีรถไว้ใช้หาเงินได้ ถือเป็นเครื่องมือที่จำเป็น และทำให้ชีวิตคุณสะดวกสบายขึ้น อาจจะต้องมองตรงจุดนี้ด้วยเช่นกัน

และถ้าคุณมีรายได้น้อย ก็ควรจะซื้อรถ ก่อนซื้อบ้าน … แต่ถ้าคุณเป็นลูกคนรวย มีเงินเหลือเฟือ จะซื้อทั้งสองอย่างเลยก็ได้ ไม่มีใครว่า!

2. ผ่อนรถ น้อยกว่าผ่อนบ้าน

ทำไมถึงควรซื้อรถก่อนซื้อบ้าน ก็เพราะว่าการซื้อรถนั้น เราใช้เงินดาวน์ไม่มาก และก็ใช้เวลาผ่อนก็ไม่มาก (โดยส่วนใหญ่ ผ่อนกัน 4 – 7 ปี) ซึ่งต่างจากบ้าน, คอนโดมิเนียม หรือที่ดิน ที่เวลาทำสัญญาผ่อนแล้ว คุณก็จะต้องผ่อนต่อเนื่องไปเรื่อยๆ 25 – 30 ปี

การซื้อรถนั้น ยิ่งถ้าคุณวางดาวน์ไว้เยอะ หรือสามารถโปะค่างวดได้มากกว่าเดิม เงินต้นก็ยิ่งหมดเร็วขึ้นเท่านั้น … หรือจะเลือกซื้อรถมือสองก็ได้เช่นกัน

รถที่มีราคาถูกๆ อย่างรถราคาหลักหมื่นบาท ผมเชื่อว่าหลายๆ คน สามารถซื้อรถด้วยเงินสดได้เลยทันที โดยที่ไม่ต้องผ่อนด้วยซ้ำไป! แต่ก็ต้องลุ้นกับการเก็บงาน เตรียมเงินไว้ซ่อม เช่นเดียวกันกับการซื้อบ้านมือสอง ที่ก็ต้องเตรียมงบไว้ตกแต่ง หรือซ่อมแซมด้วยเช่นกัน

Car-VS-House-What-Should-I-Buy-First

3. การผ่อนรถ เครดิตมาถึงการซื้อบ้าน

ถ้าคุณมีประวัติการผ่อนชำระที่ดี นั่นคือเครดิตที่ช่วยให้คุณกู้เงินซื้อบ้านได้ง่ายขึ้น และได้วงเงินมากขึ้น เนื่องจากบริษัทไฟแนนซ์ จะส่งข้อมูลประวัติการชำระเงิน ให้กับทางเครดิตบูโรอีกที

4. ถามตัวเองว่าผ่อนไหวมั้ย

การที่จะผ่อนอะไรต่อมิอะไร ไม่ว่าจะเป็น รถ หรือ บ้าน ต้องถามฐานะทางการเงินของคุณก่อนว่า “ผ่อนไหวมั้ย” เพราะถ้าหากคุณตัดสินใจผ่อนอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว เกิดค้างค่างวด ผ่อนไม่ไหวขึ้นมา ก็อาจจะโดนยึดทั้งบ้าน ทั้งรถ ขายทอดตลาดได้ ยิ่งถ้าของที่คุณโดนยึดขายทอดตลาดไปแล้ว ขายได้ต่ำกว่าราคาประเมิน คุณก็จะต้องควักเงินใช้หนี้เพิ่มอีกด้วยครับ

สำหรับความสามารถในการผ่อนชำระ ถ้าคุณคิดจะซื้อบ้าน ต้องผ่อนไม่เกิน 40% ของเงินรายได้ต่อเดือน และสำหรับการผ่อนชำระค่างวดรถยนต์ ต้องไม่เกิน 30% ของรายได้ต่อเดือน แต่ถ้าจะซื้อทั้งบ้าน ทั้งรถ 2 อย่างพร้อมกัน การผ่อนชำระรวมกันต้องไม่เกิน 40% ของรายได้ต่อเดือน

เพราะนอกจากเงินผ่อนที่คุณต้องจ่ายทุกเดือนแล้ว อย่าลืมว่า มีค่าใช้จ่ายแอบแฝงตามมาตลอด เช่า ค่าน้ำมัน ค่าภาษี ค่าประกันภัย ค่าซ่อมบำรุง เป็นต้น

Car-VS-House-What-Should-I-Buy-First

5. ความจำเป็น

ความจำเป็น และความพร้อม นับว่าสำคัญมาก เพราะการซื้อรถสักคัน หรือบ้านสักหลัง (หรือจะผ่อนคอนโดมิเนียมก็เหมือนกัน) มีเงื่อนไขในการผ่อนชำระต้องต่อเนื่องยาวนานหลายปี ดูสิว่ามีเงินวางดาวน์เท่าไหร่ เงินเดือนในแต่ละเดือน รายรับเท่าไหร่ รายจ่ายเท่าไหร่ ถ้ามีลูกแล้ว ต้องจ่ายค่ากิน ค่าเทอมเท่าไหร่ ฯลฯ

เมื่อหักลบกลบค่าใช้จ่ายกินอยู่แล้ว จะเหลือเงินเท่าไหร่ ในการผ่อนรถ หรือ บ้าน บ้าง อันนี้สำคัญนะครับ

มาดูกันว่า เงินเดือนเท่าไหร่ ถึงจะได้วงเงินกู้สูงสุด และจำนวนเงินผ่อนต่องวดบ้าง …

เงินเดือน (บาท)

จำนวนเงินผ่อนต่องวด

วงเงินกู้สูงสุด

15,000 6,000 1,000,000
20,000 8,000 1,300,000
25,000 10,000 1,600,000
30,000 12,000 2,000,000
35,000 14,000 2,300,000
40,000 16,000 2,600,000
45,000 18,000 3,000,000
50,000 20,000 3,300,000
55,000 22,000 3,600,000
60,000 24,000 4,000,000
65,000 26,000 4,300,000
70,000 28,000 4,600,000
75,000 30,000 5,000,000
80,000 32,000 5,300,000
85,000 34,000 5,600,000
90,000 36,000 6,000,000
95,000 38,000 6,300,000
100,000 40,000 6,600,000

Car-VS-House-What-Should-I-Buy-First

ในยุคที่คนรุ่นใหม่ มีช่องทางในการหาเงินง่ายกว่าคนรุ่นเก่ามาก แต่ด้วยปัจจัยอะไรหลายๆ อย่าง ทั้งราคารถที่แพงขึ้น ราคาบ้านที่สูงขึ้น หรือเงินเฟ้อ ข้าวของขายยากขึ้น กำลังซื้อของผู้คนหายไปมาก ก็ทำให้คนรุ่นใหม่ หลายๆ คน ตอนนี้ ตั้งตัวได้ยากกว่าคนรุ่นเก่าด้วยเช่นกัน