When-Your-Friend-Crashes-Your-Car

เชื่อว่าคนมีรถหลาย ๆ คนต้องเคยเจอกับเหตุการณ์นี้ คือการที่มีคนใกล้ตัวที่สนิทชิดเชื้อกัน หรือเหล่าเพื่อนฝูงที่มาขอยืมรถยนต์ไปใช้งาน ด้วยความสนิทก็อาจจะให้ไปโดยไม่ได้คิดอะไร แต่ถ้าเกิดเพื่อนของคุณดันโชคไม่ดี ขับรถยนต์ของคุณไปประสบอุบัติเหตุเข้า และเกิดความเสียหายขึ้นกับตัวรถ เจอแบบนี้เข้าไป เจ้าของรถยนต์อย่างคุณจะทำยังไงดี? แล้วประกันรถยนต์จะจ่ายเงินให้ไหมนะ

When-Your-Friend-Crashes-Your-Car

ประกันภัยรถยนต์คุ้มครองใครบ้าง?

ทุกครั้งที่มีการซื้อรถยนต์ใหม่ เจ้าของรถยนต์จะต้องทำประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ (พ.ร.บ.) และประกันภาคสมัครใจซึ่งก็คือประกันรถยนต์ชั้น 1, ชั้น 2 และชั้น 3 โดยต้องมาพิจารณากันตรงนี้ว่า รูปแบบของประกันภัยรถยนต์ที่เจ้าของรถยนต์ทำไว้เป็นแบบใด มีขอบเขตความคุ้มครองเท่าใด และคุ้มครองใครบ้าง โดยหลัก ๆ แล้ว จะแบ่งออกเป็นดังต่อไปนี้

ประกันรถยนต์แบบไม่ระบุชื่อผู้ขับขี่

หากเจ้าของรถยนต์ทำประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจแบบไม่ระบุชื่อผู้ขับขี่เอาไว้ ก็คือประกันจะคุ้มครองความรับผิดและความเสียหายอันจะเกิดขึ้นกับตัวรถยนต์ในระหว่างที่ใช้งานรถยนต์ ถึงแม้ว่าผู้ขับจะไม่ใช่เจ้าของรถยนต์ แต่ถ้าเป็นผู้ขับขี่ ณ ขณะนั้นโดยได้รับความยินยอมจากเจ้าของก่อนใช้งานรถยนต์แล้ว ก็จะอยู่ในขอบเขตความคุ้มครองของประกันในรูปแบบนี้

โดยทางบริษัทฯ จะชดเชยค่าเสียหายของตัวรถยนต์ตามเงื่อนไขที่กำหนด ถึงแม้ว่าเพื่อนจะยืมรถไปขับ ก็ยังสามารถรับความคุ้มครองจากประกันได้

ประกันภัยรถยนต์แบบระบุชื่อผู้ขับขี่

หากเจ้าของรถยนต์ทำประกันภัยแบบระบุชื่อผู้ขับขี่ ซึ่งเป็นประกันที่มีรูปแบบการคุ้มครองความรับผิดและความเสียหายของรถยนต์ในกรณีที่เกิดเหตุกับรถยนต์ในขณะที่มีผู้ที่ถูกระบุชื่อไว้ในกรมธรรม์เป็นผู้ขับรถยนต์เท่านั้น

โดยการทำประกันแบบระบุชื่อ จะสามารถระบุชื่อผู้ขับขี่ลงในกรมธรรม์ได้ถึง 2 คน กรณีที่มีเพื่อนยืมรถไปแล้วขับชน หากเพื่อนไม่ใช่เจ้าของชื่อที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ ก็จะไม่ได้รับความคุ้มครองหรือเงินชดเชยจากจากประกันรูปแบบนี้

When-Your-Friend-Crashes-Your-Car

ถ้าเพื่อนเอารถไปขับ แต่ไม่มีใบขับขี่?

ถ้าเพื่อนที่ยืมรถยนต์ไปขับ ไม่มีใบอนุญาตขับขี่ แล้วขับรถยนต์ของคุณไปเกิดอุบัติเหตุ ก็จะมีความผิดฐานไม่มีใบขับขี่ รัฐจะเป็นผู้เสียหาย ไม่ใช่คู่กรณี แต่ถ้ารถยนต์ของเราเป็นฝ่ายถูกชน เจ้าของรถยนต์สามารถเรียกร้องค่าเสียหายจากคู่กรณีได้ แต่ถ้าเรา(หรือเพื่อนที่ยืมรถไปขับ) เป็นฝ่ายผิด ก็ต้องพิจารณาแยกเป็นกรณีดังต่อไปนี้

ไม่เคยสอบใบขับขี่มาก่อน ไม่มีใบขับขี่

หากผู้ขับไม่มีใบขับขี่มาก่อน บริษัทประกันจะคุ้มครองเฉพาะความเสียหายของบุคคลภายนอก หรือ ความเสียหายของตัวรถยนต์เท่านั้น

มีใบขับขี่ แต่ไม่ได้พกมาด้วย/หมดอายุ/ถูกยึด

หากเพื่อนที่ยืมรถยนต์ไปมีใบขับขี่ แต่อาจจะไม่ได้พกมาด้วย หรือใบขับขี่หมดอายุ-ถูกยึด กรณีนี้ประกันภัยรถยนต์แบบไม่ระบุชื่อผู้ขับ จะให้ความคุ้มครองและชดเชยค่าเสียหายให้ตามเงื่อนไข

อย่างไรก็ตาม การขับขี่ยานยนต์โดยไม่มีใบอนุญาตขับขี่ เป็นการทำผิดกฎหมายจราจร ไม่ควรปฏิบัติเป็นอย่างยิ่ง เพราะมีความเสี่ยงอุบัติเหตุสูง และถ้าถูกจับได้ก็จะมีความผิดและโดนปรับได้

นอกจากประกันภัยรถยนต์ แล้วเพื่อนที่ยืมรถยนต์ไปขับ ต้องรับผิดชอบอะไรไหม?

นอกเหนือจากความคุ้มครองจากประกันภัยรถยนต์แล้ว หากเรารู้สึกว่ารถยนต์เกิดความเสียหายมาก ก็สามารถเจรจาต่อรองเพื่อให้เพื่อนรับผิดชอบค่าเสียหายได้

หรือในกรณีที่เพื่อนนำรถไปชนจนไม่สามารถเคลมได้ คู่กรณีก็สามารถยื่นเรื่องฟ้องร้องทางแพ่งและทางอาญาที่ตัวของเพื่อนคนนั้นได้เช่นกัน

หากคู่กรณีเป็นฝ่ายขับมาชน เจ้าของรถยนต์ก็ต้องเป็นผู้ไปเรียกร้องค่าชดเชยจากคู่กรณีและต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เป็นส่วนต่างเอง แต่สามารถเจรจาให้เพื่อนที่ยืมรถไปขับเป็นผู้จ่ายเงินส่วนนั้นแทนได้

ดูเหมือนว่า ขั้นตอนการขอเคลมต่างๆ จากประกันภัยรถยนต์ ในกรณีนี้ ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เพราะมีบุคคลอื่นเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยนั่นเอง เชื่อว่าถ้าเจอแบบนี้เข้าไป ก็คงจะปวดหัวไม่น้อยเลยทีเดียว เพราะฉะนั้น ก่อนที่จะตัดสินใจให้ใครยืมรถยนต์ไปใช้ ให้คิดไตร่ตรองให้ดี หรือสังเกตพฤติกรรมการขับขี่ของคนคนนั้นให้ดีเสียก่อน หากรู้สึกว่ามีความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์สูง ก็อย่าให้ยืมเลยดีกว่า เพราะมันอาจจะไม่คุ้ม

Claim-Car-Insurance-From-Flood-Damage

ช่วงนี้พวกเราคงต้องเผชิญพายุดีเปรสชั่นกันอย่างต่อเนื่อง ซึ่งแน่นอนว่าฝนตกแบบนี้คงเป็นเรื่องที่สร้างความลำบากใจให้ใครต่อใครหลายคน รวมไปถึงเพื่อน ๆ ที่อาศัยอยู่ในตัวเมือง เกิดน้ำท่วมทีไรมักจะพบกับปัญหาน้ำท่วม น้ำขัง ซึ่งส่งต่อผลเสียต่อรถยนต์ของเรา ถ้าเกิดกรณีน้ำท่วมรถเรา สามารถเคลมประกันได้ไหม ให้ masii บอกคำตอบเพื่อน ๆ กันดีกว่า

ถ้าน้ำท่วมรถเราจะเคลมประกันได้ไหม

Claim-Car-Insurance-From-Flood-Damage

บางครั้งที่ฝนตกหนัก ๆ ก็อาจส่งผลให้เกิดน้ำท่วมขังบนท้องถนน หรือท่วมบ้านเรือนที่พักอาศัย ซึ่งน้ำท่วมนี้ถือว่าเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติ ซึ่งจัดให้อยู่ในความคุ้มครองประเภทภัยธรรมชาติ สำหรับประเภทประกันภัยที่ครอบคลุมภัยธรรมชาตินั้น มีดังนี้

  • ประกันรถยนต์ชั้น 1
  • ประกันรถยนต์ชั้น 2+ (บางกรมธรรม์)
  • ประกันรถยนต์ชั้น 3+ (บางกรมธรรม์)

น้ำท่วมรถแบบไหนถึงสามารถเคลมประกันได้

Claim-Car-Insurance-From-Flood-Damage

น้ำท่วมรถขณะจอดอยู่ที่บ้านหรือลานจอดรถ

ในกรณีแบบนี้คือการจอดรถอยู่ที่บ้าน จอดที่ลานจอดรถ แล้วมีพายุฝนตกหนักติดต่อกันหลายวันจนเกิดน้ำท่วม น้ำป่าไหลหลาก ไม่สามารถย้ายรถได้ทัน

น้ำท่วมขณะเดินทางบนท้องถนน

รถติดอยู่บนท้องถนนขณะที่ฝนตก น้ำก็ท่วม ติดมาอยู่หลายชั่วโมงจนเกิดน้ำท่วมขังทำให้รถยนต์ของเพื่อน ๆ เกิดความเสียหาย สามารถแจ้งเคลมประกันได้เช่นกัน

น้ำท่วมรถแบบไหนที่ไม่สามารถเคลมประกันได้

Claim-Car-Insurance-From-Flood-Damage

ตั้งใจขับผ่านเส้นทางน้ำท่วม

กรณีเพื่อน ๆ ทราบอยู่แล้วว่าบริเวณพื้นที่ข้างหน้าที่เราจะต้องขับรถผ่านนั้นมีน้ำท่วม แต่ก็ยังขับรถลุยน้ำท่วมไป จนทำให้รถยนต์เกิดความเสียหาย เช่น น้ำเข้าห้องเครื่อง เครื่องยนต์ดับ ฯลฯ แบบนี้จะไม่สามารถเคลมประกันได้ เพราะมีเจตนาที่ชัดเจน

น้ำท่วมรถนอกอาณาเขต

กรณีต้องขับรถไปต่างประเทศ เช่น ขับรถไปประเทศเพื่อนบ้านแล้วเกิดเหตุการณ์น้ำท่วม จะไม่สามารถเคลมประกันได้ เพราะว่ารถยนต์ของเพื่อน ๆ ประสบเหตุนอกประเทศไทยซึ่งถือว่าอยู่นอกอาณาเขตที่ให้ความคุ้มครองนั่นเอง

เมื่อเพื่อน ๆ ทราบกันแล้วว่าหากน้ำท่วมแบบนี้ กรณีไหนที่สามารถเคลมประกันได้ และกรณีไหนที่ไม่สามารถเคลมประกันได้ ก็หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับทุกคนในช่วงนี้พายุหน้าฝนนี้ สุดท้ายใครที่มองหาประกันรถยนต์ สามารถ คลิกที่นี่ เพื่อเช็กเบี้ยประกันได้ทันที

ขอขอบคุณบทความดี ๆ จาก www.masii.com

Masii-Auto-Insurance-And-Secondhand-Car

หากพูดถึงรถยนต์มือสอง แน่นอนว่าหลายๆ คน ก็มักจะเลือกซื้อใช้ เพราะเนื่องจากมีราคาที่ถูกกว่ารถยนต์มือหนึ่งป้ายแดงอย่างเห็นได้ชัดเจน และรวมไปถึงเรื่องของคุณภาพ และสภาพรถยนต์มือสองทั่วไปในปัจจุบัน ก็คงสภาพได้ดีด้วยอีกด้วย ดังนั้น ไม่แปลกใจเท่าไรที่เพื่อนๆ หลายคนเลือกใช้รถยนต์มือสองกันมากขึ้น

Carro-Masii-Auto-Insurance-And-Secondhand-Car

ใช้รถมือสอง ประกันรถยนต์ยังจำเป็นอยู่ไหม?

แน่นอนว่าอาจจะมีเพื่อนๆ หลายคนที่มักมีความคิดว่าการซื้อรถยนต์มือสองคือการซื้อขาย หรือใช้รถยนต์ต่อจากคนอื่น ดังนั้นเราไม่จำเป็นต้องมีประกันรถยนต์ก็ได้เหมือนกัน อาจจะดูเป็นความคิดที่ไม่สมเหตุสมผลสักเท่าไรนัก แต่เชื่อสิว่ายังมีคนคิดแบบนี้อยู่จริงๆ นะ ทางมาสิ ขอแนะนำให้เพื่อนๆ พักความเชื่อเหล่านี้เอาไว้ก่อน

เราอยากจะบอกว่ากับเพื่อนๆ ทุกคนว่า ประกันภัยรถยนต์ยังถือว่าเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นอย่างมากสำหรับเพื่อนๆ ที่มีรถยนต์เป็นของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นมือหนึ่งป้ายแดงหรือมือสองก็ตาม เพราะหน้าที่หลักของการทำประกันรถยนต์ คือ การคุ้มครองทั้งตัวเราและรถยนต์ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ เกิดเหตุที่ไม่คาดคิด เห็นไหมว่า มันไม่เกี่ยวกันเลยว่าต้องเป็นรถยนต์มือหนึ่งอย่างเดียวที่ควรทำ รถยนต์ใดๆ ก็สามารถทำประกันรถยนต์ได้ทั้งนั้น

แต่สำหรับเพื่อนๆ ที่ซื้อรถมือสองมาใช้งาน แล้วพบว่าไม่รู้ว่า เราควรจะเลือกทำประกันรถมือสองประเภทไหนดีถึงจะเหมาะสม วันนี้ มาสิ มีคำแนะนำดีๆ มาฝากกัน ไปดูกันว่า รถมือสอง ทำประกันรถยนต์แบบไหนดี

Carro-Masii-Auto-Insurance-And-Secondhand-Car

ประกันภัยรถยนต์ชั้น 1

สำหรับเพื่อนๆ คนไหนที่มีอายุรถมือสองที่ไม่เก่ามากนัก และใช้งานเป็นประกันทางเราขอแนะนำให้ทำประกันชั้น 1 ไปเลยเพราะว่า จะให้ความคุ้มครองที่มากกว่าชั้นอื่นๆ นอกเหนือจากค่ารักษาพยาบาล เงินชดเชยต่างๆ แต่ยังครอบคลุมไปถึงการคุ้มครองกรณีรถชนไม่มีคู่กรณีอีกด้วยนะ เช่น รถชนต้นไม้ ชนกำแพง เป็นต้น

ประกันภัยรถยนต์ชั้น 2+

สำหรับเพื่อนๆ ที่อยากประหยัดค่าเบี้ยประกันน้อยลง ประกันรถยนต์ชั้น 2+ เป็นตัวเลือกที่เหมาะมากสำหรับรถมือสอง โดยเฉพาะหากรถมือสองมีอายุมากกว่า 3 ปีขึ้นไป สำหรับความคุ้มครองนั้นจะใกล้เคียงกับประกันรถยนต์ชั้น 1 เลย แตกต่างตรงกันที่ชั้น 2+ จะชดเชยความเสียหายกรณีรถชนที่มีคู่กรณีเท่านั้น

ประกันภัยรถยนต์ชั้น 3+

ประหยัดได้เพิ่มขึ้นด้วยเบี้ยประกันที่ถูกลง แต่ความคุ้มครองสำหรับชั้น 3+ นั้นไม่ได้แตกต่างกับชั้น 1 และ 2+ โดยเฉพาะรถมือสองที่มีอายุมากกว่า 5 ปีขึ้นไป ประกันชั้นนี้จะเหมาะกับรถของเพื่อนๆ เลย สำหรับความคุ้มครองจะแตกต่างตรงที่ไม่ครอบคลุมถึงรถหาย และไฟไหม้รถ

เพียงเท่านี้ทาง มาสิ ก็หวังว่าเพื่อนๆ ที่มีรถมือสองอยู่น่าจะทราบและหาได้แล้วว่ารถยนต์ของเราเหมาะกับประกันรถยนต์ชั้นไหน หากใครสนใจหรือมองหาประกันรถยนต์ สามารถโทรเข้ามาสอบถามเบี้ยได้เลยที่ 02-710-3100 หรือ คลิกที่นี่ เพื่อเปรียบเทียบประกันรถยนต์

ขอขอบคุณบทความดีๆ จาก www.masii.com

Claim-Car-Insurance-About-Flood

ช่วงนี้ หลายต่อหลายพื้นที่ของประเทศไทย ก็อยู่ในช่วงฤดูมรสุม โดนพายุฝนกระหน่ำกันไปถ้วนหน้า ถ้าท่านใดสามารถขนข้าวของ ขนรถหนีน้ำได้ทัน ก็ถือว่าโชคดีไป แต่บางหลายอาจจะขนข้าวขนของ ขนรถหนีไม่ทัน (เช่น รถจอดอยู่ชั้นใต้ดินของคอนโดมิเนียม) โดนน้ำท่วมไปต่อหน้าต่อตาเลยทีเดียว นับเป็นความสูญเสียที่มหาศาล ทั้งทรัพย์สินและที่อยู่อาศัย

สำหรับประกันภัยรถยนต์บางชนิด เช่น ประกันภัยชั้น 1 ที่มีครอบคลุมไปถึงภัยธรรมชาติ หรือประกันภัยแบบพิเศษ อาทิเช่น ประกันภัยชั้น 2+ และ 3+ เป็นต้น หากรถใครที่มีประกันภัยชนิดดังกล่าว ก็จะช่วยลดความกังวลในการจ่ายค่าซ่อมไปได้บ้าง

Claim-Car-Insurance-About-Flood

หากรถโดนน้ำท่วมแล้ว (แล้วรถมีประภันภัย เช่น ชั้น 1) จะมีวิธีเคลมประกันได้อย่างไร กรณีน้ำท่วมรถ

1. แจ้งเคลมกับบริษัทประกันภัย ให้มาตรวจสอบความเสียหายที่เกิดขึ้น หรือถ้าไม่สะดวกก็ถ่ายรูปรถยนต์รอบๆ รถเอาไว้ ตอนที่เกิดน้ำท่วมเพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐาน

2. บริษัทประกันภัยก็จะติดต่อนัดหมายผู้เอาประกันภัย เพื่อเข้าไปตรวจสอบรถยนต์คันที่เสียหาย หรือาจจะขอนัดคุณไปดูว่า รถคันที่เสียหายตอนนี้ จอดอยู่ ณ สถานที่แห่งใด ก่อนจะลากรถไปยังอู่ซ่อมรถ หรือศูนย์บริการ เพื่อทำการตรวจสอบสภาพรถ

3. อู่หรือศูนย์บริการ ก็จะทำการประเมินความเสียหาย ประเมินรายการจัดซ่อม ซึ่งสามารถตัดสินออกได้เป็นอีก 2 แบบ ได้แก่

  • กรณีรถยนต์เสียหายอย่างสิ้นเชิง (หรือ Total Loss) คือ ส่วนใหญ่บริษัทประกันภัย จะประเมินมูลค่าความเสียหายที่ 70% ของมูลค่ารถคันนั้น ซึ่งหากพิจารณาจากความเสียหาย ในกรณีนี้คือ รถจมน้ำท่วมมิดคัน หรือ ท่วมเกินช่วงคอนโซลหน้า ซึ่งจะสร้างความเสียหายให้กับทั้งห้องโดยสาร
    หากบริษัทประกันภัยพิจารณาแล้วว่า รถยนต์คันดังกล่าว ไม่คุ้มที่จะซ่อมให้กลับมาสภาพเดิมได้ ซึ่งรวมถึงเครื่องยนต์ ก็จะชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ให้ตามทุนประกันภัยที่ได้ระบุไว้ในกรมธรรม์ โดยเจ้าของรถหรือผู้รับผลประโยชน์ ต้องโอนกรรมสิทธิ์ (คืนซากรถ) ให้กับบริษัทประกันภัย และกรมธรรม์ฉบับดังกล่าวก็ถือเป็นอันสิ้นสุดความคุ้มครองไป
  • กรณีรถยนต์เสียหายบางส่วน (หรือ Partial Loss) คือ รถยนต์ไม่เสียหายมากนัก สามารถซ่อมให้กลับมาใช้งานได้ตามเดิม บริษัทประกันภัยก็จะพิจารณาให้เป็นลักษณะความเสียหายบางส่วนเท่านั้น ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการประเมินของบริษัทประกันภัยด้วย ซึ่งมีรายละเอียดตามนี้

 

OIC-Repair-method-of-each-water-level-rank

 

ระดับ A น้ำท่วมถึงพื้นรถยนต์ ประเมินค่าซ่อม 8,000-10,000 บาท มีรายการที่ต้องดำเนินการ 15 รายการ เช่น ตรวจสอบแบ็ตเตอรี่ (ถอดขั้ว/ตรวจสอบน้ำกลั่น/ไฟ-ชาร์ท) ทำความสะอาดตัวรถ ล้าง-อัด-ฉีด ขัดสี ถอดเบาะนั่ง หน้า-หลัง ถอดคอนโซลกลาง (คันเกียร์) ถอดพรมในเก๋ง-ซักล้าง-ตาก-อบแห้ง ถอดคันเร่ง (รถที่ควบคุมด้วยระบบไฟฟ้าและเซ็นเซอร์)

ถอดลูกยางอุดรูพื้นรถและทำความสะอาด ล้างทำความสะอาดห้องเครื่อง-เป่าแห้ง ตรวจสอบทำความสะอาดระบบเบรก 4 ล้อ/ผ้าเบรก ทำความสะอาดสายไฟ-ปลั๊กไฟด้วยน้ำยาเคมีภัณฑ์ ตรวจสอบชุดท่อพักไอเสีย (แคทธาเรติค)

ระดับ B น้ำท่วมถึงเบาะนั่ง ประเมินค่าซ่อม 15,000 -20,000 บาท มีรายการที่ต้องดำเนินการ 26 รายการ โดยเพิ่มเติมจาก 15 รายการในระดับ A คือ การถ่ายน้ำมันเครื่อง-เกียร์-เฟืองท้าย กรองน้ำมันเครื่อง-กรองอากาศ-กรองเบนซิน-กรองโซล่า ตรวจระบบจุดระเบิด หัวเทียน จานจ่าย หัวฉีด ตรวจสอบชุดเพลาขับ

ถอดทำความสะอาดแผงประตูทั้ง 4 บาน ตรวจชุดสวิทซ์สตาร์ท-กล่องควบคุมไฟ- กล่องฟิวส์ ถอดทำความสะอาดไล่ความชื้นระบบเข็มขัดนิรภัย ถอดทำความสะอาดชุดมอเตอร์ยกกระจกไฟฟ้า ตรวจสอบทำความสะอาดเบาะ ถอดทำความสะอาด (ไดสตาร์ทและไดชาร์จ) เพื่อไล่ความชื้น

Claim-Car-Insurance-About-Flood

ระดับ C น้ำท่วมถึงส่วนล่างของคอนโซลหน้า ประเมินค่าซ่อม 25,000-30,000 บาท มีรายการที่ต้องดำเนินการ 39 รายการ โดยเพิ่มเติมจาก ระดับ A และ B คือ ตรวจสอบชุดอีโมไรท์เซอร์/ระบบ GPS (ที่ติดมากับรุ่นรถ) ตรวจสอบไล่น้ำออกจากเครื่องยนต์ ท่อไอดี ห้องเผาไหม้ ตรวจสอบลูกปืนไดชาร์ท ลูกรอก ตรวจสอบทำความสะอาดระบบไฟส่องสว่าง (ไฟหน้า-ท้าย-เลี้ยว) ตรวจเช็คระบบขับเลี้ยวไฟฟ้า

ถอดตรวจเช็คตู้แอร์ มอเตอร์ โบวเวอร์ เซ็นเซอร์ ถอดหน้าปัดเรือนไมล์ เกจ์ ถอดตรวจเช็คระบบไฟฟ้าและสายไฟขั้วต่างๆ ตรวจเช็คระบบเครื่องเสียง-วิทยุ-แอมป์-ลำโพง ตรวจเช็คระบบเบรก (ABS) ตรวจชุดหม้อลมเบรก/ แม่ปั้มบน-ล่าง ตรวจสอบลูกปืนล้อ-ลูกหมาก-ลูกยางต่างๆ ผ้าหลังคา/แมกกะไลท์

ระดับ D น้ำท่วมถึงส่วนบนของคอนโซลหน้า ประเมินค่าซ่อมเริ่มต้นที่ 30,000 บาท ขึ้นไป มีรายการที่ต้องดำเนินการ 40 รายการ โดยเพิ่มเติมจาก ระดับ A – C มา 1 รายการ คือ ทำสี (กรณีสีรถได้รับความเสียหาย) ซึ่งในกรณีนี้ทางบริษัทผู้รับประกันภัยอาจพิจารณาคืนทุนประกันภัยให้กับผู้เอาประกันภัยก็ได้

และระดับ E รถยนต์จมน้ำทั้งคัน ซึ่งในกรณีนี้ บริษัทผู้รับประกันภัยจะคืนทุนประกันภัย ให้กับผู้รับประกันภัยสถานเดียว

Claim-Car-Insurance-About-Flood

โดยที่บริษัทประกันภัย จะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด เช่น ค่าทำความสะอาดภายในรถ ซักเบาะ พรม ขัดสี ทำความสะอาดต่างๆ ซึ่งคุณสามารถนำหลักฐานไปเคลมประกันภัยได้เช่นกัน

และเมื่อรถซ่อมเสร็จนำกลับมาใช้ ถ้าพบปัญหาจากระบบต่างๆ ของตัวรถ ที่เป็นสาเหตุเกิดจากตอนถูกน้ำท่วม ก็สามารถแจ้งบริษัทประกันภัยได้ทันที เพื่อเคลมความเสียหายต่อเนื่องครับ

CARRO-MSIG-Insurance-Promotion-2020

หากรถของคุณที่ใช้งานในช่วงนี้ ต้องเสี่ยงกับการเจอน้ำท่วมบ่อยๆ ไม่ว่าจะขับรถไปเจอ หรือจอดรถไว้อยู่กับที่ ก็ลองทำประกันภัยชั้น 2+ (Safe Guard 2+) หรือ 3+ (Safe Guard 3+) ของทาง MSIG Insurance ดูสิ เพราะว่าประกันภัยดังกล่าวมี Cover เรื่องซ่อมรถกรณีรถถูกน้ำท่วมเพิ่มเติมด้วย คลิกเลยที่ ซื้อประกันภัยรถยนต์ CARRO X MSIG ประกันภัย อีกทั้งช่วงนี้ยังมี ฟรี! บริการช่วยเหลือฉุกเฉิน 24 ชั่วโมง ทั่วประเทศอีกด้วย

ส่วนใครที่อยากขายรถที่ถูกน้ำท่วมมา ไม่ว่าจะเป็นรถบ้าน รถมือสอง ก็สามารถปรึกษากับทางเราดูก่อนได้ เพียงแค่คุณขายรถคันเดิมกับ CARRO ได้ ง่ายๆ ได้เงินไว! กับ CARRO Express เพียงแค่คลิก https://th.carro.co/sell-car/express หรือสามารถ Inbox มาขอรายละเอียดได้ที่ Facebook CARRO Thailand

หรือจะ Add Line สอบถามรายละเอียดได้ที่ @Carrothailand หรือคลิกที่นี่ครับ —> เพิ่มเพื่อน

หากท่านใดอ่านแล้วยังมีข้อสงสัย หรือมีปัญหาไม่ได้รับความเป็นธรรม ในการเคลมประกันภัยจากบริษัทประกันภัย ก็สามารถติดต่อได้ที่ สายด่วน คปภ. 1186 ครับผม

แหล่งที่มา :

Carro x Frank - จะให้ดี... ควรต่อประกันรถตอนไหน

มีรถยนต์ก็ต้องดูแล! ต้องเทคแคร์อย่าให้ขาดทั้งน้ำมัน ทั้งซ่อมบำรุง ทั้งเติมลมยาง และอื่นๆ มากมาย และที่ลืมไม่ได้เลยคือการต่อประกันรถยนต์เพิ่มความคุ้มครองนอกเหนือจาก พ.ร.บ.รถยนต์

ถามว่าเราควรต่อประกันรถยนต์ตอนไหน ?

คงต้องตอบตรงๆ ว่า มีให้เลือกต่อประกันรถยนต์หลายช่วงเวลาตามนี้

1. ต่อล่วงหน้า 3 เดือนก่อนหมดอายุ
2. ต่อล่วงหน้า 1 เดือนก่อนหมดอายุ
3. ต่อล่วงหน้า 1 วันก่อนหมดอายุ

และเพื่อชาว CARRO ให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ เพนกวิน Frank.co.th โบรกเกอร์ประกันภัยออนไลน์ขออธิบายตามนี้ครับ!!

Car-Insurance-For-New-Driver

1. ต่อประกันรถล่วงหน้า 3 เดือน

คงต้องบอกว่า “หากกลัวลืม!!” และต้องการความดูแลต่อเนื่อง
เราสามารถต่อประกันรถยนต์ล่วงหน้า 3 เดือนก่อนประกันหมดอายุ

สำหรับการต่อประกันล่วงหน้ามีข้อดียังไงบ้าง ?

  • มีเวลาได้พิจารณาเงื่อนไขที่ดีที่สุด
  • มีเวลาอ่านข้อตกลง และเปรียบเทียบเบี้ยประกันภัยที่ต้องการ
  • มีเวลาผ่อนจ่ายยาว ๆ สบาย ๆ ไม่ตึงมือ
  • มีเวลาเคลมรถยนต์และนำเข้าซ่อมก่อนต่อประกันกับที่ใหม่
  • และที่สำคัญคือมีความคุ้มครองต่อเนื่อง

ดังนั้น การต่อประกันภัยล่วงหน้า 3 เดือนนั้น เหมาะสำหรับคนขี้ลืมและเหมาะกับคนที่ต้องการเปลี่ยนบริษัทฯ ประกันรถยนต์เป็นบริษัทใหม่ แนะนำให้ซื้อประกันล่วงหน้าเลย หากใครเงินไม่พออยากได้ประกันชั้น 1 บางโบรกเกอร์มีผ่อน 0% ให้เลือกด้วยนะ

What-Is-Excess-In-Insurance

2. ต่อประกันรถล่วงหน้า 1 เดือน

ไม่มากไม่น้อยครับสำหรับช่วงเวลา 1 เดือน สำหรับคนที่ต้องการต่อประกันกับเจ้าใหม่ เมินบริษัทฯ เดิม เรายังมีเวลาได้หายใจหายคอดูเบี้ยประกันภัย เทียบความคุ้มครอง เลือกทุนประกัน และมองหาบริการเสริมอื่นๆ จากโบรกเกอร์ออนไลน์เจ้าดังทั้งหลายที่พร้อมให้บริการ

ข้อดีของการต่อประกันรถล่วงหน้า 1 เดือน คือ

  • ไม่ต้องจ่ายเงินล่วงหน้านานเกินไป
  • มีเวลาเคลมรอยรอบคัน หรือเคลมแห้งซ่อมกับประกันเจ้าเดิม
  • รับความคุ้มครองต่อเนื่อง (แต่ต้องตัดสินใจในทันนะ)

Old-Car-Over-7-Years-With-Insurance

3. ต่อประกันรถล่วงหน้า 1 วันก่อนหมดอายุ

ถ้าเลือกเพลินเกินห้ามใจ อันนี้ก็ดีอันโน้นก็ดี ตัดใจไม่ได้สักที อันนี้ก็ต้องบอกว่าอาจเสี่ยงหน่อย ๆ ครับ สำหรับการซื้อล่วงหน้า 1 วันก่อนหมดอายุ เพราะประกันรถยนต์บางเจ้าอาจจะต้องใช้เวลาตรวจสอบรถยนต์ก่อนรับประกันก็มี และอาจจะมีระยะเวลาดำเนินการอยู่บ้างครับ

อ่านมาถึงตรงนี้เลือกได้หรือยังครับ ? ว่าต่อประกันรถยนต์ล่วงหน้าแบบไหนเหมาะกับเรา ?

ขอบคุณข้อมูลจาก Frank.co.th ประกันที่รวดเร็ว เรียบง่าย และจริงใจกับคุณ

ขอขอบคุณภาพประกอบจาก จส.100

Old-Car-Over-7-Years-With-Insurance

ปัจจุบันนี้ รถมือสองในบ้านเราก็จัดได้ว่ามีจำนวนมาก (ซึ่งย้อนเวลาไปหลายปีก่อน รถพวกนี้ก็คือรถใหม่นั่นล่ะ) ซึ่งก็มีหลายคันที่อายุเกิน 7 ปีขึ้นไปแล้ว โดยปกติแล้วถ้าซื้อมาใช้ตั้งแต่ตอนยังเป็นป้ายแเดง ก็จะมีประกันภัยชั้น 1 ติดรถมาด้วย ซึ่งโดยปกติ ถ้าคุณต่อประกันภัยชั้น 1 กับบริษัทเดิมอย่างต่อเนื่อง และมีประวัติที่ดี ก็อาจจะต่อประกันภัยชั้น 1 ได้นานถึง 10 ปี หรือมากกว่านั้นก็ยังได้ …

ข้อดีและข้อเสียของประกันภัยชั้น 1 อย่างที่รู้ๆ กัน นั่นคือ ให้ความคุ้มครองมาก เช่น กรณีรถถูกชนแล้วหนี ซึ่งประกันภัยประเภทอื่นไม่คุ้มครอง แถมยังได้ส่วนลดทุกปี ถ้าคุณใช้รถเก๋งมือสองแบบ Compact Car ทั่วไป บางทีจ่ายค่าเบี้ยประกันไม่ถึง 1 หมื่นบาท ด้วยซ้ำ ถ้าประวัติการเคลมของคุณมีน้อยๆ นะ แต่ค่าเบี้ยประกันภัยที่ค่อนข้างสูงเช่นกัน

Old-Car-Over-7-Years-With-Insurance

แต่รถมือสองหลายคัน อาจจะไม่ได้ต่อประภันภัยชั้น 1 มานานแล้ว เมื่อเราไปซื้อรถมือสองมาจากรถบ้าน หรือรถเต็นท์ แล้วอยากที่จะทำประกันภัยชั้น 1 ก็ลำบากซะแล้ว เพราะบริษัทประกันภัย จะรับทำประกันภัยชั้น 1 กับรถยนต์ที่อายุไม่เกิน 7 ปีเท่านั้น

ประกันภัยชั้น 2+ และ 3+ จึงเกิดขึ้นมาเพื่อรองรับจุดนี้ เหมาะสำหรับรถมือสองที่มีอายุเกิน 4 ปีขึ้น ไป เพราะอะไร? ลองดูคุณสมบัติกัน …

Old-Car-Over-7-Years-With-Insurance

ความคุ้มครองประกันภัยรถยนต์ชั้น 2+

ประกันรถยนต์ชั้น 2+ ให้ความคุ้มครองใกล้เคียงกับประกันชั้น 1 ต่างกันเพียงคุ้มครองแค่อุบัติเหตุ ที่เกิดจากการชนของ “รถยนต์” เท่านั้น (ซึ่ง ถ้ามีมอเตอร์ไซค์ หรือพาหนะอื่นๆ มาชน จะไม่ได้รับความคุ้มครอง) ราคาเบี้ยประกันไม่แพงมาก เหมาะสำหรับคนที่มีเคลมน้อยๆ

สำหรับความคุ้มครอง แยกออกมาได้เป็นข้อๆ ดังนี้

– ความเสียหายต่อตัวรถ เฉพาะกรณีชนกับพาหนะทางบก
– ชีวิตและร่างกายบุคคลภายนอก รวมถึงผู้โดยสารในรถยนต์เอาประกันภัย
– ทรัพย์สินบุคคลภายนอก
– การประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล ค่ารักษาพยาบาล และการประกันตัวผู้ขับขี่
– การสูญหายและไฟไหม้ตัวรถ
– ภัยธรรมชาติ หรือ ภัยก่อการร้าย

Old-Car-Over-7-Years-With-Insurance

ความคุ้มครองประกันภัยรถยนต์ชั้น 3+

ประกันรถยนต์ชั้น 3+ ถือว่าคุ้มค่ามาก เหมาะสำหรับรถเก่าๆ หรือคนที่ไม่ได้ขับรถบ่อยๆ เท่าไหร่ เพราะเป็นประกันภัยที่เน้นจ่ายเฉพาะเราขับไปชนคนอื่นเป็นหลัก อีกทั้งถ้ารถคุณมีประวัติดี ไม่เคยเคลม เวลาต่อประกันภัย ก็ยังได้ส่วนลดประวัติอีกด้วย และเบี้ยประกันภัยก็ไม่แพงมาก

สำหรับความคุ้มครอง แยกออกมาได้เป็นข้อๆ ดังนี้

– ความเสียหายต่อตัวรถ เฉพาะกรณีชนกับพาหนะทางบก
– ชีวิตและร่างกายบุคคลภายนอก รวมถึงผู้โดยสารในรถยนต์เอาประกันภัย
– ทรัพย์สินบุคคลภายนอก
– การประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล ค่ารักษาพยาบาล และการประกันตัวผู้ขับขี่

ก็ขึ้นอยู่กับความต้องการของคุณแล้วล่ะครับ ถ้าจะเลือกทำประกันภัยแบบไหน เอาตามงบที่มี หรือเอาตามเงื่อนไขความคุ้มครอง ล้วนแล้วดีทั้งหมดครับ

—–

ขอขอบคุณภาพประกอบจาก จส.100