พ.ร.บ. รถยนต์, ประกัน รถยนต์, ประกันภัย, ประกันรถยนต์ชั้น 1, ประกันรถยนต์ชั้น 2, ประกันรถยนต์ชั้น 3

ทำความเข้าใจเกี่ยวกับ พ.ร.บ. และประกันรถยนต์

คงจะมีหลายๆคน ที่ยังไม่รู้ว่า พ.ร.บ. คืออะไร หรือย่อมาจากอะไร และก็ยังไม่รู้ด้วยว่าเรามีความจำเป็นต้องจ่ายเงินค่า พ.ร.บ. ร่วมกับประกันรถยนต์หรือไม่? หรือเราสามารถซื้อแค่ พ.ร.บ. หรือประกันชั้น 1 อย่างใดอย่างหนึ่งได้ไหม?

ในบทความนี้ Carro จะช่วยให้คุณทำความเข้าใจเกี่ยวกับ พ.ร.บ. และประกันรถยนต์ในรูปแบบต่างๆ กันอย่างมากขึ้นค่ะ

พ.ร.บ. ย่อมาจาก พระราชบัญญัติ ซึ่ง พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ หรือพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ

เป็นกฎหมายที่บังคับให้รถทุกคันที่จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบกจะ “ต้องทำ” และมีไว้เป็นหลักประกันให้กับคนในรถทุกคัน หรือผู้ที่ใช้รถใช้ถนนว่าจะได้รับสิทธิความคุ้มครองจากเงินกองกลางที่รถทุกคันได้ทำ พ.ร.บ. ว่า จะได้รับความคุ้มครอง/เงินค่ารักษาพยาบาลจากการเกิดอุบัติเหตุ หรือการประสบภัยจากรถในรูปแบบต่าง ๆ ได้อย่างทันท่วงที

พ.ร.บ.-รถยนต์,-ประกัน-รถยนต์

ในด้านวงเงินคุ้มครองที่ผู้ประสบภัยจะได้รับ มีการกำหนดไว้อย่างชัดเจนว่าจะมีความคุ้มครองในรูปแบบใด ๆ บ้าง ซึ่งการฝ่าฝืนไม่ทำ พ.ร.บ. นี้ จะทำให้มีปัญหาในการต่อภาษีรถ และยังผิดกฎหมายอีกด้วย เพราะกฎหมายได้บังคับให้ทำ พ.ร.บ. ไว้เป็นขั้นพื้นฐาน เพื่อให้มั่นใจว่าจะมีการคุ้มครองและให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ที่ประสบภัยจากรถที่ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตได้อย่างทันท่วงที และเป็นหลักประกันให้กับโรงพยาบาลที่รับผู้ประสบภัยเข้าดูแล ว่าจะได้รับค่ารักษาพยาบาลด้วยเช่นกัน

ส่วนประกันชั้น 1, 2, 3, 2+ หรือ 3+ จะเรียกว่า “ประกันภาคสมัครใจ” เพราะเป็นการซื้อประกันเพิ่มเติมจากความคุ้มครองที่ได้รับจาก พ.ร.บ. ในกรณีที่เราเป็นต้นเหตุให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สิน พ.ร.บ. จะช่วยคุ้มครองเท่าที่กฎหมายกำหนด แต่ถ้าความเสียหายมีมาก ผู้ที่ทำให้เกิดความเสียหายจะเป็นผู้ที่ต้องรับผิดชอบ ซึ่งประกันภาคสมัครใจ จะเข้ามาช่วยรับผิดชอบในส่วนนี้นั่นเอง

 

ประกันภาคสมัครใจ แบ่งออกเป็น 5 ประเภท ดังนี้

พ.ร.บ.-รถยนต์,-ประกัน-รถยนต์

 

  • ประกันชั้น 1 จะให้ความคุ้มครองที่ครอบคลุมมากที่สุด คือ จะรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นกับบุคคลในรถ และบุคคลภายนอก รวมถึงความเสียภายที่เกิดขึ้นต่อรถยนต์ที่เอาประกันภัย รวมถึงกรณีเกิดไฟไหม้และการสูญหายด้วย
  • ประกันชั้น 2 จะรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นกับบุคคลในรถ และบุคคลภายนอก รวมถึงความเสียหายที่เกิดกับรถยนต์จากการเกิดไฟไหม้และการสูญหาย
  • ประกันชั้น 2+ จะรับผิดชอบต่อความเสียหายในกรณีเดียวกับประกันชั้น 2 แต่เพิ่มความรับผิดต่อในส่วนของความเสียหายต่อตัวรถยนต์คันเอาประกันภัย แต่เฉพาะกรณีที่ชนกับยานพาหนะทางบกเท่านั้น และจำเป็นต้องมีคู่กรณีด้วย
  • ประกันชั้น 3 จะรับผิดชอบต่อความเสียหายทีเกิดขึ้นกับบุคคลภายนอก และความเสียหายที่เกิดกับรถยนต์จากการเกิดไฟไหม้และการสูญหาย
  • ประกันชั้น 3+ จะรับผิดชอบต่อความเสียหายในกรณีเดียวกับประกันชั้น 3 แต่คุ้มครองรถยนต์คันเอาประกันภัยในวงเงินจำกัด และเฉพาะกรณีที่ชนกับยานพาหนะทางบกเท่านั้น

 

จะเห็นได้ว่า ประกันภาคสมัครใจมีหลายรูปแบบรวมทั้งค่าบริการที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับประเภทของความคุ้มครองว่าจะคุ้มครองความเสียหายมากน้อยแค่ไหนนั่นเอง  

ซึ่งไม่ว่าคุณจะเลือกทำประกันภัยรถยนต์จากบริษัทใดก็ตาม ทั้งการทำประกันภาคบังคับ ก็คือ พ.ร.บ. และการทำประกันภาคสมัครใจ สิ่งสำคัญก็คือ คุณต้องทำความเข้าใจเรื่อง “สิทธิประโยชน์และหน้าที่ของเรา” ตามสัญญาประกันภัยให้ละเอียด เพื่อจะได้ทราบเงื่อนไขและความคุ้มครองที่คุณจะได้รับว่าคุ้มค่าหรือไม่ และป้องกันปัญหายุ่งยากที่จะเกิดขึ้นในภายหลังค่ะ