Toyota-Soluna-King-Rama-9

Toyota-Soluna-King-Rama-9

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร) นอกจากจะทรงมีพระปรีชาสามารถในทุกๆ ด้าน ยังมีสิ่งหนึ่งที่คนในวงการ “อุตสาหกรรมยานยนต์” น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ และสถิตอยู่ในใจคนโตโยต้าตราบนิจนิรันดร์

หลายๆ คน คงเคยเห็นภาพของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงขับรถ Toyota Soluna (โตโยต้า โซลูน่า) สีฟ้า ทะเบียน 1ด-0956 กรุงเทพมหานคร

Toyota-Soluna-ในหลวง-รัชกาลที่9

เรื่องนี้ นายนินนาท ไชยธีรภิญโญ รองประธานกรรมการ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด เคยให้สัมภาษณ์สารสภาวิศวกรรม ฉบับเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2550 และนายวิเชียร เอมประเสริฐสุข รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ให้สัมภาษณ์ในวาระครบ 50 ปี ที่โตโยต้าทำธุรกิจในประเทศไทย

หลังจากที่รัฐบาลประกาศลอยตัวค่าเงินบาทเมื่อวันที่ 2 ก.ค. 2540 ได้เกิดวิกฤตฟองสบู่แตก บริษัทไฟแนนซ์ล้ม ผู้คนตกงานมากมาย จากนั้นในเดือน พ.ย. ปีเดียวกัน ก็เกิดข่าวลือว่าทางโตโยต้า ประเทศญี่ปุ่น จะประกาศปิดโรงงานที่เกตเวย์ เตรียมเลิกจ้างพนักงานกว่า 5,500 คน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ท่านทรงเป็นห่วงว่าราษฎรของพระองค์จะตกงาน จึงทรงมีพระราชดำริขอซื้อรถยนต์โตโยต้าโซลูน่าเพื่อให้คนไทยได้มีงานทำ จนกลายมาเป็นรถยนต์ฝีมือของคนไทยซึ่งเป็นราษฎรของพระองค์ท่าน

จึงรับสั่งให้เลขานุการส่วนพระองค์แจ้งว่า พระองค์ทรงมีพระราชประสงค์สั่งซื้อ รถ Toyota Soluna 1 คัน โดยให้พนักงานที่ทำนั้นไม่ต้องเร่งรีบ ใช้มือทำก็ได้ ไม่ต้องใช้เครื่องจักร เพื่อที่พนักงานโตโยต้าคนไทยจะได้มีงานทำนานๆ โดยหลังจากที่โตโยต้าทราบ จึงตั้งใจทำให้รถมีอะไรพิเศษ โดยติดชื่อรุ่นและเลขเป็นแบบไทย ไม่เคยทำมาก่อนในรถยนต์รุ่นไหน

ซึ่งเมื่อรถยนต์คันดังกล่าวนั้นแล้วเสร็จ ก็ได้มีการนำไปถวายพระองค์ ในช่วงเดือนธันวาคม 2540 พระองค์ทรงพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ 600,000 บาท ให้กับทางโตโยต้า แต่ทางโตโยต้านั้นไม่ขอไม่รับเงินนั้นไว้

Toyota-Expo-2017-Soluna

Model รถยนต์ Toyota Soluna ที่ทาง Toyota จัดทำขึ้นเป็นพิเศษ

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระราชดำริใหม่ว่า ให้นำเงินนั้นไปตั้ง “โรงสีข้าว” เพื่อช่วยเหลือชาวนาละแวกใกล้เคียงโรงงานผลิตรถ เพราะโตโยต้ามีการบริหารจัดการที่ดี จึงควรตั้งโรงสีข้าวตัวอย่างขึ้นเอง แล้วขายข้าวที่ได้จากโรงสีในราคาสวัสดิการให้แก่พนักงานหรือชาวบ้าน และขายผลพลอยได้ เช่น แกลบและรำ ให้แก่เกษตรกรชุมชนที่เลี้ยงหมู ดังนั้นทั้งหมดนี้จึงเป็นที่มาของ “โรงสีข้าวรัชมงคล” ที่ดำเนินการต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบันนั่นเอง

Toyota-Soluna-Catalogue-1

Toyota Soluna จากโครงการรถ AFC (Affordable Family Car) ซึ่งเป็นรถยนต์ที่วิจัยและพัฒนา และเริ่มต้นผลิตในไทยเป็นแห่งแรก คันแรกออกจากสายการผลิตเป็นทางการ ในวันที่ 7 ธันวาคม 2539 และโตโยต้า ได้แถลงข่าวความคืบหน้าของรถยนต์รุ่นนี้ ที่ โรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ ในวันที่ 9 ธันวาคม 2539

คำว่า “Soluna” นั้น มาจากการนำคำว่า “Sol” ซึ่งมาจากคำว่า “Solar” แปลว่า ดวงอาทิตย์ กับคำว่า “Lunar” แปลว่า พระจันทร์ มารวมกัน

Toyota Soluna เปิดตัวสู่สื่อมวลชนในวันที่ 28 มกราคม 2540 และเปิดตัวสู่สาธารณชนในวันที่ 31 มกราคม 2540 มาพร้อม Slogan “Great Journey การเดินทางที่ยิ่งใหญ่” และมี โด๋ว-มรกต โกมลบุตร เป็นพรีเซ็นเตอร์ในช่วงแรก เพียง 3 วันของงานเปิดตัว ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ได้ใบสั่งจองที่มากเป็นประวัติการณ์ถึง 28,765 ใบ (15,335 ใบ ในงานเปิดตัว และ 13,430 ใบ จากดีลเลอร์)

Toyota-Soluna-Thai

มาพร้อมเครื่องยนต์ขนาด 1.5 ลิตร รหัส 5A-FE แบบ 4 สูบ DOHC 16 วาล์ว ให้แรงม้าสูงสุด 95 แรงม้า ที่ 5,600 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 126 นิวตัน-เมตร ที่ 4,800 รอบ/นาที ส่งกำลังผ่านเกียร์ธรรมดา 5 สปีด และเกียร์อัตโนมัติ 3 สปีด

Toyota-Soluna-Thai

Toyota-Soluna-Thai

ในเดือนพฤษภาคม 2541 Soluna ยังมีรุ่นพิเศษที่สร้างความฮืฮฮาด้วย “Soluna Special Version” (โซลูน่า สเปเชี่ยล เวอร์ชั่น) มีชื่อเป็นภาษาไทยและเลขไทย ติดที่ฝากระโปรงหลัง เป็นรุ่นแรกในโลกของรถโตโยต้า ที่ติดชื่อรุ่นรถและตัวเลขเครื่องยนต์เป็นภาษาท้องถิ่น

ที่มาจากจากการที่รถยนต์โตโยต้า โซลูน่า ได้รับรางวัลรถยอดเยี่ยมแห่งปี 1998 ในประเภทเครื่องยนต์ไม่เกิน 1.5 ลิตร ในการประกวดรถยนต์ยอดเยี่ยมแห่งปี 1998 โดยการตัดสินจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของสมาคมและสถาบันการศึกษาทางวิศวกรรมศาสตร์ และสื่อมวลชน

Toyota-Soluna-Thai

โตโยต้าจึงฉลองโอกาสแห่งความภาคภูมิใจนี้ด้วยการออกรุ่น “โซลูน่า สเปเชี่ยล เวอร์ชั่น” ที่ผลิตขึ้นเจำนวนจำกัด 600 คัน โดยเน้นความสปอร์ต และเพียบพร้อมด้วยอุปกรณ์ตกแต่งมากกว่ารุ่นพื้นฐาน

Toyota-Soluna-Thai

เริ่มจากชุดอุปกรณ์ตกแต่งสไตล์สปอร์ตตลอดคัน จำนวน 12 รายการ และมีสัญลักษณ์รุ่นเป็นภาษาไทย ที่เปิดประตูด้านข้าง กระจกมองข้างและคิ้วกันกระแทกสีเดียวกับตัวรถ ล้อแม็กพร้อมยางขนาด 175/65 R14 สปอยเลอร์หลังพร้อมไฟเบรก นอกจากนี้ยังเพิ่มคิ้วบังลมด้านหลังเพื่อป้องกันแสงแดดและคิ้วบังลมด้านข้างป้องกันละอองฝน

Toyota-Soluna-Thai

หลังจากปรับโฉมไมเนอร์เชนจ์ในปี 2542 ปรับหน้าตาใหม่ กันชนใหม่ ไฟท้ายใหม่ หรือที่บรรดาเต็นท์รถมือสองเรียกกันว่า “ไฟท้ายหยดน้ำ” ก่อนจะเลิกจำหน่ายไปในเดือนพฤศจิกายน 2545

ต่อมา โตโยต้า โซลูน่า ในรุ่นถัดไปจึงพัฒนาเป็น โซลูน่า วีออส (Soluna Vios) และชื่อของ “Soluna” ก็หายไปจากตลาดจริงๆ ในเดือนตุลาคม 2548 โดยเป็น Toyota Vios (โตโยต้า วีออส) จวบจนปัจจุบัน

แหล่งที่มา: