5-Tips-Driving-Through-A-Railroad-Crossing

อีกข่าวหนึ่งที่มีให้เห็นกันตามโลกโซเชียลกันอยู่เสมอๆ อีกหนึ่งข่าว ที่อาจจะไม่ได้เกิดขึ้นกันบ่อยมากนัก แต่มันก็อยู่ใกล้ตัวของคนขับรถอยู่มากพอสมควร กับข่าวรถไฟชนกับรถยนต์ หรือชนคนก็ตาม

หลายคนอาจไม่รู้ว่า ทางรถไฟนั้น มีจุดตัดเสมอระดับทางรถไฟ-รถยนต์ ที่ทั้งถูกต้อง และเป็นทางลักผ่าน ทางตัดผ่าน (Illegal Crossing) ที่ชุมชนแถบริมทางรถไฟ ทำขึ้นมา ซึ่งอาจจะเป็นของเอกชน หรือผู้อยู่อาศัยแถวนั้น หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล “แต่ไม่ได้ขออนุญาตทำทางตัดผ่าน จากการรถไฟแห่งประเทศไทย หรือไม่ได้รับอนุญาตจากการรถไฟแห่งประเทศไทย”

5-Tips-Driving-Through-A-Railroad-Crossing

ทำให้เกิดอุบัติเหตุมากถึงร้อยละ 87 ซึ่งเป็นอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบริเวณจุดตัดทางรถไฟที่ไม่มีเครื่องกั้น ซึ่งส่วนใหญ่ของอุบัติเหตุ มีสาเหตุจากความไม่คุ้นเคยและความไม่ชำนาญเส้นทางของคนขับ รวมถึงการขาดทักษะในการขับรถผ่านเส้นทาง

MR.CARRO มีข้อมูลดีๆ จากการรถไฟแห่งประเทศไทย มาแนะนำทุกท่านเมื่อจำเป็นต้องขับรถผ่านทางรถไฟกันครับ

5-Tips-Driving-Through-A-Railroad-Crossing

1. หยุดรถให้ห่างจากทางรถไฟไม่น้อยกว่า 5 เมตร

ไม่ว่าตรงนั้น จะมีเครื่องกั้นทาง หรือเครื่องหมายหรือเสียงสัญญาณระวังรถไฟหรือไม่ก็ตาม เพื่อความปลอดภัยต้องดูให้แน่ใจว่า จะไม่มีรถไฟวิ่งผ่าน หรือรถไฟวิ่งผ่านไปแล้ว ถึงจะค่อยขับรถผ่านไปได้

2. ห้ามขับรถแซงขึ้นหน้ารถคันอื่นภายในระยะ 30 เมตร ก่อนถึงทางเดินรถที่ตัดข้ามทางรถไฟ

5-Tips-Driving-Through-A-Railroad-Crossing

3. ถ้าต้องจอดรถ ควรจอดรถในระยะไม่ต่ำกว่า 15 เมตร ก่อนถึงทางรถไฟ

4. หากเห็นป้ายสัญลักษณ์ ต้องหยุด!

หากเห็นป้ายสัญลักษณ์ เช่น ป้ายหยุด ป้ายเตือนรูปกากบาท “ระวังรถไฟ” ป้ายทรงสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนสีอำพัน มีรูปรถจักรไอน้ำและรั้วกั้น ให้ชะลอความเร็ว และจอดดูซ้าย-ขวา ให้แน่ใจว่าไม่มีรถไฟแล่นผ่านมา เมื่อเห็นว่าปลอดภัยจึงขับผ่านไปได้

5. ถ้ารถคันที่ติดฟิล์มกรองแสงเข้มมาก ให้เปิดกระจกรถดูก่อนจะขับผ่านไป!

รถในยุคปัจจุบันส่วนใหญ่ มักติดฟิล์มกรองแสงชนิดเข้มมาก จนอาจทำให้มองเห็นไม่ชัดในเวลากลางคืน จึงต้องใช้ความระมัดระวังเพิ่มมากขึ้น ขณะขับรถข้ามทางรถไฟ เพื่อความปลอดภัยกรณีขับรถทางตัดผ่านที่ไม่มีเครื่องกั้น ให้เปิดกระจกรถซ้าย-ขวา ดูให้แน่ใจว่าไม่มีรถไฟมา แล้วค่อยขับรถผ่านไป

สำหรับป้ายเตือนหรือป้ายสัญญาณจราจรติดตั้งอยู่บริเวณจุดตัดทางรถไฟ ผู้ขับรถ รวมไปถึงผู้เดินเท้า ต้องทำความเข้าใจความหมายของป้ายหรือสัญลักษณ์ต่างๆ ไว้ด้วยเพื่อความปลอดภัย ซึ่งแต่ละป้ายจะมีความหมายว่าอย่างไรบ้าง มาดูกัน

5-Tips-Driving-Through-A-Railroad-Crossing

1. ป้ายทางข้ามทางรถไฟมีเครื่องกั้นทาง จะมีลักษณะเป็นรูปรั้วกั้น อยู่บนพื้นป้ายสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนสีเหลืองอำพัน หมายถึงทางรถไฟที่มีเครื่องกั้นทางปิดกั้น

2. ป้ายทางข้ามทางรถไฟไม่มีเครื่องกั้นทาง เป็นรูปหัวรถจักรไอน้ำ อยู่บนพื้นป้ายสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนสีเหลืองอำพันเช่นกัน หมายถึง ป้ายทางข้างหน้ามีทางรถไฟตัดผ่านและไม่มีเครื่องกั้นทาง ให้ขับรถช้าๆ และสังเกตดูรถไฟทั้งซ้าย-ขวา ถ้ามีรถไฟกำลังจะผ่านมาให้หยุดรอให้ห่างจากทางรถไฟอย่างน้อย 5 เมตร แล้วรอจนกว่ารถไฟนั้นผ่านไปแล้ว จึงเคลื่อนรถต่อไปได้

3. ป้ายหยุด เป็นป้ายรูปแปดเหลี่ยมสีแดง มีข้อความ “หยุด” หมายถึงว่ารถทุกชนิดต้องหยุดเมื่อเห็นป้ายนี้ เมื่อเห็นว่าปลอดภัยแล้วจึงขับรถต่อไปได้อย่างปลอดภัย

4. ป้ายกากบาท “ระวังรถไฟ” ป้ายเตือนว่าเป็นจุดตัดทางรถไฟเสมอระดับรถยนต์ จะมีรถไฟแล่นผ่านทางรถไฟบริเวณนี้ ให้ระวัง และชลอความเร็ว

5-Tips-Driving-Through-A-Railroad-Crossing

และนี่ก็เป็นเคล็ดไม่ลับ ในการขับรถยนต์ข้ามทางรถไฟอย่างปลอดภัยแล้วล่ะครับ ยิ่งในตอนกลางคืน ยิ่งต้องระวังระวังมากขึ้นครับ แม้ว่ารถจักรแต่ละคัน จะมีไฟหน้าที่ส่องสว่างได้ไกลมากก็ตาม แต่คนขับรถปัจจุบันมักติดฟิล์มกรองแสงที่เข้มมาก จนอาจจะไม่ทันสังเกตกันได้ครับ

แหล่งที่มาจาก: