Caution-7-Button-In-Cars

รถยนต์รุ่นใหม่ๆ ในปัจจุบัน มักมีระบบอำนวยความสะดวกในรูปแบบปุ่มกดหรือระบบสัมผัส ซึ่งบางปุ่มเกี่ยวข้องกับระบบความปลอดภัยของรถ ที่ค่อนข้างมากมาย และมีวิธีใช้ที่แตกต่างกันไป

ดังนั้นเพื่อความปลอดภัย ทางกระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) จึงขอเตือน 7 ปุ่มในรถ หากเผลอกดหรือใช้งานไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอันตราย ได้แก่

1.ปุ่มเปิดไฟสูง

Headlight-Lamp

ปุ่มเปิดไฟสูง สถานการณ์ที่ควรใช้ เมื่อขับรถผ่านเส้นทางที่มืดมาก จะช่วยให้มองเห็นเส้นทางชัดเจนขึ้น หรือส่งสัญญาณเตือนให้ผู้ขับรถคันอื่นเพิ่มความระมัดระวังอันตรายจากการเปิดไฟสูงค้าง ไฟสูงมีลำแสงเข้มและพุ่งตรงไปด้านหน้า ทำให้ผู้ขับรถคันอื่นสายตาพร่ามัว ก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้

2.ปุ่มปิดการทำงานของถุงลมนิรภัย

Airbag-On-Off-Switch

ปุ่มปิดการทำงานของถุงลมนิรภัย ควรใช้ กรณีติดตั้งเบาะนั่งนิรภัยเด็กบริเวณเบาะด้านหน้า เพื่อป้องกันถุงลมนิรภัยทำงานกรณีประสบอุบัติเหตุ ถุงลมนิรภัยจะพองตัวและพุ่งกระแทกใส่เด็ก ทำให้ขาดอากาศหายใจ และได้รับบาดเจ็บรุนแรงมากขึ้น อันตรายจากการปิดปุ่ม กรณีประสบอุบัติเหตุจากการชนด้านหน้า ถุงลมนิรภัยจะไม่ทำงาน ทำให้ผู้ขับขี่และผู้โดยสารด้านหน้า ได้รับบาดเจ็บรุนแรงมากขึ้น

3.ปุ่มไฟตัดหมอก

Fog-Lamp-Button

ปุ่มไฟตัดหมอก ควรใช้ เมื่อขับรถผ่านเส้นทางที่มีฝนตกหนัก หรือหมอกลงจัด รวมถึงการขับรถในช่วงกลางคืนหลังฝนตก หรือถนนมีน้ำเฉอะแฉะ เพื่อลดการสะท้อนของแสงไฟหน้ารถกับพื้นถนน จะช่วยให้มองเห็นเส้นทางชัดเจนขึ้น อันตรายจากการเปิดไฟตัดหมอกค้างไว้ แสงไฟตัดหมอกจะส่องสว่างได้ในระยะไกล ทำให้ผู้ขับรถคันอื่นสายตาพร่ามัว ก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้

4.ปุ่มเบรกมือไฟฟ้า

Parking-Brake-Button

ปุ่มเบรกมือไฟฟ้า ควรใช้ เหมาะสำหรับจอดรถบริเวณทางลาดชัน จะช่วยให้ล้อล็อคอยู่กับที่ และป้องกันรถไหล ก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ หากเปิดใช้ในขณะขับขี่ ระบบเบรกมือจะทำงานทันที แม้จะมีวงจรปลดล็อคอัตโนมัติในขณะที่ล้อหมุน แต่อาจทำให้ผู้ขับขี่ตกใจ จึงเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ

5.ปุ่มเปิดกระโปรงหน้ารถ

Bonnet-Button

ปุ่มเปิดกระโปรงหน้ารถ ควรใช้ เมื่อต้องตรวจสอบเครื่องยนต์ หรือรถมีอาการผิดปกติ อาทิ การเติมน้ำหล่อเย็น การเปลี่ยนสายพานหรือแบตเตอรี่ การเติมน้ำมันเบรก โดยดับเครื่องยนต์และจอดรถในบริเวณที่ปลอดภัย พร้อมดึงเบรกมือ เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ กรณีลืมปิดปุ่มเปิดกระโปรงหน้ารถ เมื่อขับรถด้วยความเร็วสูง แรงลมปะทะจะทำให้สลักยึดฝากระโปรงหลุด ส่งผลให้ฝากระโปรงเปิด และบดบังทัศนวิสัยในการมองเห็นเส้นทาง จึงเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ

6.ปุ่มเปิดกระโปรงท้ายรถ

Trunk-Open

ปุ่มเปิดกระโปรงท้ายรถ ควรใช้ กรณีต้องจัดเก็บสิ่งของไว้บริเวณกระโปรงท้ายรถ และควรปิดให้สนิททุกครั้งหลังใช้งาน กรณีปิดกระโปรงท้ายรถไม่สนิท ในขณะรถวิ่ง อาจทำให้สิ่งของที่อยู่บริเวณกระโปรงท้ายรถร่วงหล่นกีดขวางช่องทาง ส่งผลให้รถที่วิ่งตามหลังมา ต้องหักหลบกะทันหัน จึงเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ แต่หากลืมปิดฝากระโปรงท้ายรถขณะจอดรถเป็นเวลานาน อาจทำให้แบตเตอรี่หมดได้

7.ปุ่มระบบป้องกันล้อหมุนฟรี

VSC-VSA-ESP-Button

ปุ่มระบบป้องกันล้อหมุนฟรี (ระบบ ESP/VSC/VSA ที่แล้วแต่ผู้ผลิตรถแต่ละค่ายจะเรียก) ควรใช้ในขณะที่รถออกตัวหรือเหยียบคันเร่งบนเส้นทางเปียกลื่นหรือทางลูกรัง จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทรงตัวของรถ และป้องกันล้อหมุนฟรี ส่งผลให้รถมีการทรงตัวที่สมดุลในทุกเส้นทาง

กรณีปิดระบบ เมื่อขับรถผ่านเส้นทางที่เปียกลื่นหรือเป็นทางลูกรัง อาจทำให้รถมีอาการปัดหรือลื่นไถล จึงเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายที่รุนแรงมากขึ้น ในทางกลับกัน กรณีขับรถผ่านทางโคลน หรือออกจากหล่มโคลน การปิดระบบจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเลื่อนรถออกจากหล่ม

ทั้งนี้ การใส่ใจเรียนรู้ระบบการทำงานของรถ โดยเฉพาะปุ่มต่างๆ ในรถที่เกี่ยวข้องกับระบบอำนวยความสะดวก และความปลอดภัย จะช่วยลดอันตรายและความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ….

Trick-To-Close-Trunk-Room-Car

เคยสังเกตไหมครับว่า บางคน เวลาจะเปิด-ปิด อะไรก็ตาม มักจะกระทำด้วยการออกแรงเยอะๆ เช่น ปิดประตูรถ หรือปิดฝากระโปรงท้ายรถ เพื่อให้มั่นใจว่า เป็นการปิดอย่างสนิทเรียบร้อยแล้ว ความจริงแล้วถูก แต่ไม่ถูกต้อง 100% นัก เพราะอาจกลายเป็นการทำให้เกิดความเสียหายขึ้นมาได้

Trick-To-Close-Trunk-Room-Car

ในขณะที่ฝากระโปรงท้ายรถถูกปิด อากาศจำนวนหนึ่ง จะถูกอัดเข้าไปในห้องเก็บของท้ายรถ ลักษณะดังกล่าวจะทำให้เกิดแรงต้าน ดังนั้นบ่อยครั้งที่คุณจะความรู้สึกว่า ต้องออกแรงมากกว่าปกติ เพื่อปิดฝากระโปรงท้ายรถ

การออกแรงปิดฝากระโปรงท้ายรถอย่างรุนแรง อาจก่อให้เกิดความเสียหายกับชุดกุญแจ ตัวล็อกท้ายรถ และอาจทำให้ กรวยลำโพงวิทยุ ได้รับความเสียหาย เพราะลำโพงวิทยุถูกติดตั้งอยู่บริเวณด้านหลังเบาะครับ

Trick-To-Close-Trunk-Room-Car

การปิดฝากระโปรงท้ายอย่างถูกวิธี คือ โน้มฝากระโปรงท้ายรถลงมาเบาๆ อย่างช้าๆ เมื่อปลายฝากระโปรงห่างจากกันชนประมาณ 20 ซม. ให้ใช้มือกดตรงกึ่งกลางของฝากระโปรงท้ายรถลงไป ซึ่งจะทำให้ฝากระโปรงท้ายรถ ปิดสนิทโดยไม่ก่อให้เกิดความเสียหายใดๆ ครับ

กรณีที่ฝากระโปรงท้ายรถของคุณเปิด-ปิด ด้วยระบบไฟฟ้า อันนี้สบายครับ แค่กดปุ่มปิดตรงขอบด้านในฝากระโปรงท้าย ไม่ต้องออกแรงอะไรทั้งสิ้น ก็ปิดให้เองเรียบร้อยครับ

ส่วนใครที่อยากขายรถ เพื่อไปซื้อรถคันใหม่มาใช้เร็วๆ นี้ CARRO เรารับซื้อรถของคุณ สามารถเข้าไปเช็คราคา ตีราคาขายรถก่อนได้ โดยใส่ข้อมูลรถของคุณที่นี่เลย กับ CARRO Express > https://th.carro.co/sell-car/express หรือโทร. 02-508-8425

หรือใครจะ Inbox มาสอบถามก็ได้เช่นกัน ที่ Facebook CARRO Thailand หรือสะดวก Add Line ก็ที่ @Carrothailand หรือคลิกที่นี่ครับ —> เพิ่มเพื่อน