Carro-Frank-Motorcycle-And-Road-Accident-Victims-Protection-Act

เคยสงสัยไหมว่า? ทำไมรถมอเตอร์ไซค์ทุกคันถึงต้องต่อ พ.ร.บ. มอเตอร์ไซค์ด้วยนะ ทั้งๆ ที่เราก็ขับรถดีอยู่แล้ว จนแทบไม่ได้เคลมเลยก็เสียเงินทิ้งเปล่าๆ แถมยังเสียเวลามานั่งต่อพ.ร.บ.รถมอเตอร์ไซค์ทุกปีด้วย ซึ่งวันนี้เราจะพาทุกคนมาไขข้อสงสัยกันว่า ถ้าเกิดคุณไม่มีพรบรถมอเตอร์ไซค์จะเป็นอย่างไรบ้าง เรามีคำตอบให้แล้ว

Motorcycle-And-Road-Accident-Victims-Protection-Act

1. หากเป็นฝ่ายผิด ต้องจ่ายค่ารักษาให้คู่กรณีเอง

แน่นอนเราทำผิดเราก็ต้องรับผิดชอบความเสียหายเอง สมมติว่าถ้าคุณเกิดขับรถไปชนคู่กรณีแล้วทำให้คู่กรณีได้รับบาดเจ็บจน เราจะจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้คู่กรณีเองทั้งหมดโดยไม่รวมกับค่าซ่อมรถ แต่หากคุณไม่มีเงินจ่ายค่ารักษาให้กับคู่กรณีก็สามารถขอเบิกกับกองทุนผู้ประสบภัยได้ไม่เกิน 15,000 บาทตามจริง แล้วคุณจะต้องจ่ายเงินคืนกับกองทุนพร้อมจ่ายค่าขอเบิกเพิ่มเติมด้วย

2. เมื่อบาดเจ็บเอง ก็ต้องจ่ายเองด้วย

แต่ถ้าคุณเป็นฝ่ายโชคร้ายซะเองล่ะ สมมติว่าจู่ๆ วันหนึ่งเราขับรถไปชนกับต้นไม้จนได้รับบาดเจ็บ รวมถึงผู้โดยสารที่อยู่ในรถด้วย ก็จะต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลเอง ตั้งแต่เริ่มการรักษาจนถึงออกจากโรงพยาบาลเลย ด้วยเหตุนี้เองผู้ขับขี่จะต้องมีพรบรถมอเตอร์ไซค์ เพื่อให้ช่วยคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลกับเรา โดยไม่ว่าคุณจะเป็นฝ่ายผิดหรือฝ่ายถูก เราจะได้รับการชดเชยค่ารักษาพยาบาลเบื้องต้น 30,000 บาทต่อคน

Motorcycle-And-Road-Accident-Victims-Protection-Act

3. ไม่ได้ความคุ้มครองกรณีพิการหรือเสียชีวิต

หากเกิดอุบัติเหตุรถชนกัน ก็ย่อมมีคนได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตอยู่แล้ว ดังนั้น ถ้าเราไม่มีพ.ร.บ.มอเตอร์ไซค์ จะไม่ได้รับความคุ้มครองกรณีสูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพอย่างถาวร ค่ากะโหลกศีรษะเทียม รวมถึงกรณีเสียชีวิต ทำให้เป็นภาระให้กับคนที่อยู่ข้างหลังเราได้

4. โดนเจ้าหน้าที่ตำรวจจับปรับได้

เพราะทางกฎหมายบังคับให้เจ้าของรถทุกคันทำพรบ หรือต่อพ.ร.บ.อยู่แล้ว อันนี้เลือกจ่ายเองไม่ได้นะครับ ต้องจ่ายตามกฎหมายเท่านั้น แต่ถ้าคุณฝ่าฝืนไม่มีพ.ร.บ.รถมอเตอร์ไซค์จะต้องจ่ายค่าปรับไม่เกิน 10,000 บาท เอาเป็นว่าถ้าไม่อยากเสียค่าปรับฟรีๆ ก็อย่าลืมต่อพรบล่วงหน้ากันด้วยนะ สำหรับใครที่กลัวว่าจะลืมต่อพ.ร.บ. เราสามารถต่อต่อพ.ร.บ.ล่วงหน้าได้ 3 เดือน หรือประมาณ 90 วันก่อนพ.ร.บ.จะหมดอายุ

Motorcycle-And-Road-Accident-Victims-Protection-Act

5. ถ้าไม่มีพ.ร.บ. ก็ต่อภาษีรถไม่ได้

ทุกครั้งก่อนที่เราจะต่อภาษีรถ (ป้ายวงกลม) จะต้องต่ออายุพ.ร.บ.ก่อน ก็คือหากเกิดคุณไม่มีพ.ร.บ.มอเตอร์ไซค์ก็ไม่สามารถต่อภาษีรถได้ แล้วถ้าไม่ได้ต่อภาษีประจำปีก็จะต้องเสียค่าปรับอีกไม่เกิน 1,000 บาท พร้อมเตรียมเสียค่าปรับในการชำระภาษีภายหลัง 1% ต่อเดือนด้วย ไม่เพียงแค่นั้นยังส่งผลให้ป้ายทะเบียนรถมอเตอร์ไซค์ถูกระงับการใช้งาน แถมยังเสียเวลาอีกด้วย

เอาเป็นว่า เพื่อนๆ อย่าลืมเช็กอายุพ.ร.บ.กันด้วยนะ หากใกล้จะหมดอายุแล้วก็ต้องรีบนำไปต่อ เพราะทางพ.ร.บ.จะเข้ามาช่วยคุ้มครองแก่ชีวิตและค่ารักษาพยาบาลให้ ถึงแม้เราจะเป็นฝ่ายผิดหรือฝ่ายถูกก็จะได้รับความชดเชยเบื้องต้นทันที นอกจากนี้เราสามารถซื้อประกันรถมอเตอร์ไซค์ เพื่อเพิ่มความคุ้มครองแก่ตัวรถและทรัพย์สินได้ด้วย เผื่อเกิดอุบัติเหตุไม่คาดฝันกับรถของเรา เช่น รถชน รถสูญหาย รถไฟไหม้ ประกันรถมอเตอร์ไซค์ก็จะช่วยลดความเสี่ยงค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้ ไม่ต้องกังวลอีกต่อไป

ขอบคุณข้อมูลจาก : frank.co.th ประกันที่รวดเร็ว เรียบง่าย และจริงใจกับคุณ

ชนแล้วหนี

ปรับกฎใหม่ “ชนแล้วหนี” เพิ่มความผิดเป็น 2 คดี
ต้องโทษอาญา โดนทั้งจำทั้งปรับ

พูดถึงปัญหาที่สังคมไทยเจอมาอย่างยาวนานบนท้องถนน และยังแก้ปัญหาไม่ได้นั่นก็คือ ปัญหาการจราจรที่หนาแน่นในกรุงเทพฯ รวมถึงเขตปริมณฑลที่ทุกคนได้รับผลกระทบ แม้ทางภาครัฐหรือทางตำรวจจราจร ได้พยายามวางแผนเพื่อขจัดปัญหาเหล่านี้ แต่ยังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร และปัญหาที่มาคู่กัน กับการเป็นประเทศที่มีการจราจรหนาแน่นเป็นอันดับต้นๆของโลกก็คือ การเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน ซึ่งประเทศไทยก็ไม่น้อยหน้า ยังคงอยู่ในลิสท์สถิติสูงสุดติดอันดับโลกเช่นกัน (ซึ่งก็ไม่ดีเท่าไหร่นัก)

ชนแล้วหนี พรบ. จราจร กฎหมาย พรบ.

วันนี้ เราจะมาพูดถึงอุบัติเหตุบนถนน (กรณียอดฮิต) ที่บางคนอาจเคยประสบพบเจอกับตัวเอง หรือเห็นในข่าวบ่อยๆ ซึ่งกรณีนี้มักก่อให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ไปทั่วประเทศ เกี่ยวกับความเหลื่อมล้ำทางสังคม เนื่องจากผู้ได้รับความเสียหายมักไม่ได้รับความเป็นธรรมที่มากพอ นั่นก็คือ กรณี “ชนแล้วหนี” จากหลายคดีดังที่ทุกวันนี้ก็ยังไม่รู้ว่าจะมีจุดจบอย่างไร และคำถามนานัปการที่สังคมมีต่อกฎหมาย ทำให้ในปัจจุบันมีการปรับเปลี่ยนกฏหมายในกรณี “ชนแล้วหนี” ให้มีโทษหนักมากขึ้นตาม พรบ.จราจรทางมาตรา 78 ที่บัญญัติไว้ว่า

“ผู้ขับรถในทางซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินจะต้องหยุดรถให้ความช่วยเหลือ พร้อมทั้งแสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ใกล้เคียงทันที ไม่ว่าจะเป็นความผิดของผู้ขับขี่หรือไม่ก็ตาม”

ชนแล้วหนี, พรบ. จราจร, กฎหมาย, พรบ.

ซึ่งถ้าเกิดอุบัติเหตุขึ้นแล้ว เราปฏิบัติตาม พ.ร.บ.จราจรทางมาตรา 78 ก็ไม่ต้องกลัวว่าเราจะต้องโทษ เพราะต้องมาพิจารณาหาสาเหตุของอุบัติเหตุอีกที เพื่อหาฝ่ายผิด หลังจากนั้นจึงเข้าสู่กระบวนการทางกฎหมาย ที่จะมีประกันภัยรถยนต์เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยในส่วนของการจ่ายค่าสินไหมทดแทน แต่ถ้าหากหลบหนีแล้วโดนจับได้ หรือเข้ามอบตัวเองในภายหลัง ก็จะมีบทลงโทษ ดังนี้

“พ.ร.บ.จราจรทางมาตรา 160 ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 78 ​ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับตั้งแต่ 2,000 บาทถึง 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าการไม่ปฏิบัติตามมาตรา 78 เป็นเหตุให้บุคคลอื่นได้รับอันตรายสาหัส หรือเสียชีวิต​ ผู้ไม่ปฏิบัติตามต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับตั้งแต่ 5,000 บาท ถึง 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”

โดยบทลงโทษนี้ จะแยกจากคดีที่เกิดอุบัติเหตุอีกคดีนึง หรืออธิบายง่าย​ๆ ว่าถ้าเราชนแล้วหนี เราจะมีคดีติดตัวเพิ่มมาอีก 1 คดีฟรีๆ! ซึ่งหากเกิดอุบัติเหตุขึ้นจริงๆ สิ่งที่เราควรทำคือ “อย่าหนี” เพราะความผิดฐานขับรถประมาทนั้น ผู้ทำผิดไม่ใช่อาชญากร เราจึงควรอยู่รับผิดชอบสิ่งที่เกิดขึ้น ซึ่งดีกว่าการหลบหนีแน่นอน ยิ่งถ้าในอุบัติเหตุมีผู้เสียชีวิต เราก็จะต้องหลบหนีถึง 15 ปีเลยทีเดียว รวมถึงอาจจะเจอข้อหาอื่น​ๆ เพิ่มอีกด้วย แต่หากเราเลือกจะอยู่และให้ความช่วยเหลือผู้ได้รับบาดเจ็บ มอบตัวเพื่อสู้คดี ผลลัพธ์ที่ตามมาอาจจะไม่ร้ายแรงอย่างที่คิดเพราะบางคดีอาจยอมความกันได้ หรือ ศาลมีการลดโทษให้ตามความถูกต้องเหมาะสม

ชนแล้วหนี พรบ. จารจร

แต่จะดีที่สุดคือ การไม่ต้องตกอยู่ในสถานการณ์ “ชนแล้วหนี” ไม่ว่าในฐานะใดก็ตาม ซึ่งทุกนสามารถป้องกันได้ ด้วยการเตรียมร่างกายให้พร้อมขับขี่ มีสติอยู่ตลอดเวลา แต่หากผู้อ่านพบเจอเหตุการณ์หรืออุบัติเหตุเช่นนี้ Carro หวังว่าผู้อ่าน จะมีสติ รับมือ และจัดการกับสิ่งที่เกิดขึ้นได้โดยสูญเสียน้อยที่สุด ขับขี่ปลอดภัยค่ะ