เหตุผลที่รถทุกคันต้องต่อ พ.ร.บ. รถยนต์

ทำไมต้องทำ พ.ร.บ.รถ?

แน่นอนว่าการขับขี่รถยนต์บนท้องถนน เราไม่มีทางรู้เลยว่าเหตุร้ายจะเกิดขึ้นกับเราเมื่อไหร่ ดังนั้น ปฏิเสธไม่ได้ว่ารถใหม่หรือรถยนต์มือสอง และรถคันไหน ๆ ก็ต้องมี พ.ร.บ. ติดรถทุกคัน

ซึ่งมีชื่อเต็ม ๆ ว่า “พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ” (Compulsory Third Party Insurance) เพราะเป็นประกันรถยนต์ภาคบังคับที่กฎหมายจราจรบัญญัติให้ทุกคันต้องทำเพื่อให้ต่อภาษีรถยนต์ประจำปีหรือที่รู้จักกันดีในชื่อว่าป้ายวงกลมนั้นแหละ ว่าแต่ะ พ.ร.บ. ยังมีข้อดีอะไรบ้างนั้น ? เราจะเล่าให้ฟัง

  1. พ.ร.บ. รถยนต์ มีไว้ต่อภาษีประจำปี หรือป้ายวงกลม

ไหน ๆ เราก็ต้องจ่ายเงินทุกปี ๆ ก็ต้องรู้ประโยชน์ของ พ.ร.บ. รถยนต์กันบ้างล่ะ ต้องยอมรับว่าคำว่า พ.ร.บ. รถจะเป็นคำคุ้นชินกันเป็นอย่างดี แต่ถ้าระบุความหมายจริง ๆ โดยอ้างอิงข้อมูลจากพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถปี 2535 ระบุว่า “รถทุกชนิดต้องทำ พ.ร.บ. ก่อนจึงจะต่อทะเบียนรถได้”

แม้ว่าการต่อ พ.ร.บ. จะเป็นเรื่องง่ายที่ทำได้เอง แต่ก็เป็นเรื่องที่ต้องใส่ใจ เพราะอาจจะลืมวันขาดต่อได้เช่นกัน แนะนำจดรายละเอียดไว้ให้ดี เพราะหากรถยนต์คันไหนขาดต่อ หรือไม่มี พ.ร.บ. มีความผิดตามกฎหมายจราจรอาจมีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท

 

  1. ช่วยค่ารักษาพยาบาลเบื้องต้นกรณีเกิดอุบัติเหตุ

เพราะอุบัติเหตุเป็นสิ่งที่ไม่มีใครคาดฝันและไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น สิ่งที่คุณต้องรู้เลย คือการต่อพ.ร.บ. เป็นสวัสดิการขั้นพื้นฐานหากเกิดอุบัติเหตุ คือ ดูแลความเสียหายต่อชีวิต ซึ่งจะช่วยดูแลคุณเบื้องต้นหากเกิดการบาดเจ็บ เช่น ค่ายา, ค่าบริการทางการแพทย์, ค่าห้องพัก, ค่าพาหนะนำผู้บาดเจ็บไปสถานพยาบาล และค่าอุปกรณ์รักษา สามารถเบิกค่ารักษาได้ตามจริง (สำรองจ่ายก่อน) แต่ไม่เกินคนละ 30,000 บาท โดยต้องเตรียมเอกสารไปที่บริษัทกลางประกันภัย ดังนี้

  • ใบแจ้งความบันทึกประจำวัน
  • ใบรับรองแพทย์/ใบเสร็จรักษาพยาบาล
  • สำเนาบัตรประชาชนของผู้ประสบอุบัติเหตุ

หลังจากติดต่อยื่นเอกสารกับบริษัทกลางประกันภัยแล้ว คุณจะได้รับเงินชดเชยตามสิทธิภายใน 7 วันทำการ จ่ายเป็นเงินสด หรือโอนจ่ายเงินเข้าบัญชีธนาคาร ฯลฯ และต้องแจ้งใช้สิทธิภายใน 180 วันหลังจากเกิดเหตุครับ

 

  1. จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นกรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวร

หากประสบอุบัติเหตุถึงขั้นเสียชีวิต พ.ร.บ.จะช่วยจ่ายค่าเยียวยากรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวรโดยจะได้รับเงินคนละ 35,000 บาท ในกรณีรักษาตัวในโรงพยาบาล แล้วเสียชีวิตลงในภายหลังก็จะได้รับค่าชดเชยรวมกัน [30,000 บาท (ข้อ2) +35,000 บาท (ข้อ 3)] คนละไม่เกิน 65,000 บาทซึ่งต้องนำใบมรณะบัตร และหลักฐานอื่น ๆ มายื่นด้วย หากผู้ใดยื่นคำขอรับค่าเสียหายอันเป็นเท็จ จะมีความผิดตามกฎหมาย มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ  

 

  1. จ่ายสินไหมทดแทน เมื่อพิสูจน์ได้ว่า “ผู้เคลมเป็นฝ่ายถูก”

กรณีที่คุณเป็นฝ่ายถูกหลังจากการพิสูจน์หลักฐานแล้ว พบว่า คุณเป็นฝ่ายถูกต้องไม่ได้ทำผิดกฎหมาย จะได้รับค่าสินไหมทดแทน หรือค่าทำขวัญ ได้แก่

  • รักษาพยาบาลจากอาการบาดเจ็บ 80,000 บาทต่อคน
  • กรณีเสียชีวิตหรือพิการจากอุบัติเหตุดังกล่าว พิจารณาตามเกณฑ์ จะได้รับค่าสินไหมทดแทน 200,000 – 300,000 บาทต่อคน
  • รับค่าชดเชยหากเป็นผู้ป่วยใน 200 บาทต่อวัน แต่ไม่เกิน 20 วัน (รวมไม่เกิน 4,000 บาท)
  • วงเงินคุ้มครองรวมกันสูงสุดไม่เกิน 304,000 บาท
  • วงเงินคุ้มครองรถยนต์ไม่เกิน 7 ที่นั่ง 5 ล้านบาท/ครั้ง
  • วงเงินคุ้มครองรถยนต์เกิน 7 ที่นั่ง 10 ล้านบาท/ครั้ง

อย่างไรก็ดี พ.ร.บ. จะให้ความคุ้มครองเฉพาะตัวบุคคลเท่านั้น และใช้เวลาเบิกจ่ายประมาณ 7 วัน มิได้คุ้มครองความเสียหายส่วนทรัพย์สินหรือส่วนรถยนต์แต่อย่างใด

หลังจากอ่านบทความนี้ เราหวังว่าคุณคงได้คำตอบของคำถามที่ว่า “ทำไมต้องทำ พ.ร.บ.รถกันแล้วนะครับ”และสนใจต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ออนไลน์ง่าย ๆ เพียงปลายนิ้วสัมผัส ต่อกับ frank.co.th ได้เลย รับเอกสารทันทีภายใน 3 นาที ไม่ต้องรอให้ยุ่งยาก ไม่ต้องออกบ้านให้เสียเวลา พร้อมยื่นจดภาษีประจำปีได้เล้ย!!

 

ข้อมูลจาก frank.co.th

พ.ร.บ. รถยนต์, ประกัน รถยนต์, ประกันภัย, ประกันรถยนต์ชั้น 1, ประกันรถยนต์ชั้น 2, ประกันรถยนต์ชั้น 3

ทำความเข้าใจเกี่ยวกับ พ.ร.บ. และประกันรถยนต์

คงจะมีหลายๆคน ที่ยังไม่รู้ว่า พ.ร.บ. คืออะไร หรือย่อมาจากอะไร และก็ยังไม่รู้ด้วยว่าเรามีความจำเป็นต้องจ่ายเงินค่า พ.ร.บ. ร่วมกับประกันรถยนต์หรือไม่? หรือเราสามารถซื้อแค่ พ.ร.บ. หรือประกันชั้น 1 อย่างใดอย่างหนึ่งได้ไหม?

ในบทความนี้ Carro จะช่วยให้คุณทำความเข้าใจเกี่ยวกับ พ.ร.บ. และประกันรถยนต์ในรูปแบบต่างๆ กันอย่างมากขึ้นค่ะ

พ.ร.บ. ย่อมาจาก พระราชบัญญัติ ซึ่ง พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ หรือพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ

เป็นกฎหมายที่บังคับให้รถทุกคันที่จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบกจะ “ต้องทำ” และมีไว้เป็นหลักประกันให้กับคนในรถทุกคัน หรือผู้ที่ใช้รถใช้ถนนว่าจะได้รับสิทธิความคุ้มครองจากเงินกองกลางที่รถทุกคันได้ทำ พ.ร.บ. ว่า จะได้รับความคุ้มครอง/เงินค่ารักษาพยาบาลจากการเกิดอุบัติเหตุ หรือการประสบภัยจากรถในรูปแบบต่าง ๆ ได้อย่างทันท่วงที

พ.ร.บ.-รถยนต์,-ประกัน-รถยนต์

ในด้านวงเงินคุ้มครองที่ผู้ประสบภัยจะได้รับ มีการกำหนดไว้อย่างชัดเจนว่าจะมีความคุ้มครองในรูปแบบใด ๆ บ้าง ซึ่งการฝ่าฝืนไม่ทำ พ.ร.บ. นี้ จะทำให้มีปัญหาในการต่อภาษีรถ และยังผิดกฎหมายอีกด้วย เพราะกฎหมายได้บังคับให้ทำ พ.ร.บ. ไว้เป็นขั้นพื้นฐาน เพื่อให้มั่นใจว่าจะมีการคุ้มครองและให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ที่ประสบภัยจากรถที่ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตได้อย่างทันท่วงที และเป็นหลักประกันให้กับโรงพยาบาลที่รับผู้ประสบภัยเข้าดูแล ว่าจะได้รับค่ารักษาพยาบาลด้วยเช่นกัน

ส่วนประกันชั้น 1, 2, 3, 2+ หรือ 3+ จะเรียกว่า “ประกันภาคสมัครใจ” เพราะเป็นการซื้อประกันเพิ่มเติมจากความคุ้มครองที่ได้รับจาก พ.ร.บ. ในกรณีที่เราเป็นต้นเหตุให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สิน พ.ร.บ. จะช่วยคุ้มครองเท่าที่กฎหมายกำหนด แต่ถ้าความเสียหายมีมาก ผู้ที่ทำให้เกิดความเสียหายจะเป็นผู้ที่ต้องรับผิดชอบ ซึ่งประกันภาคสมัครใจ จะเข้ามาช่วยรับผิดชอบในส่วนนี้นั่นเอง

 

ประกันภาคสมัครใจ แบ่งออกเป็น 5 ประเภท ดังนี้

พ.ร.บ.-รถยนต์,-ประกัน-รถยนต์

 

  • ประกันชั้น 1 จะให้ความคุ้มครองที่ครอบคลุมมากที่สุด คือ จะรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นกับบุคคลในรถ และบุคคลภายนอก รวมถึงความเสียภายที่เกิดขึ้นต่อรถยนต์ที่เอาประกันภัย รวมถึงกรณีเกิดไฟไหม้และการสูญหายด้วย
  • ประกันชั้น 2 จะรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นกับบุคคลในรถ และบุคคลภายนอก รวมถึงความเสียหายที่เกิดกับรถยนต์จากการเกิดไฟไหม้และการสูญหาย
  • ประกันชั้น 2+ จะรับผิดชอบต่อความเสียหายในกรณีเดียวกับประกันชั้น 2 แต่เพิ่มความรับผิดต่อในส่วนของความเสียหายต่อตัวรถยนต์คันเอาประกันภัย แต่เฉพาะกรณีที่ชนกับยานพาหนะทางบกเท่านั้น และจำเป็นต้องมีคู่กรณีด้วย
  • ประกันชั้น 3 จะรับผิดชอบต่อความเสียหายทีเกิดขึ้นกับบุคคลภายนอก และความเสียหายที่เกิดกับรถยนต์จากการเกิดไฟไหม้และการสูญหาย
  • ประกันชั้น 3+ จะรับผิดชอบต่อความเสียหายในกรณีเดียวกับประกันชั้น 3 แต่คุ้มครองรถยนต์คันเอาประกันภัยในวงเงินจำกัด และเฉพาะกรณีที่ชนกับยานพาหนะทางบกเท่านั้น

 

จะเห็นได้ว่า ประกันภาคสมัครใจมีหลายรูปแบบรวมทั้งค่าบริการที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับประเภทของความคุ้มครองว่าจะคุ้มครองความเสียหายมากน้อยแค่ไหนนั่นเอง  

ซึ่งไม่ว่าคุณจะเลือกทำประกันภัยรถยนต์จากบริษัทใดก็ตาม ทั้งการทำประกันภาคบังคับ ก็คือ พ.ร.บ. และการทำประกันภาคสมัครใจ สิ่งสำคัญก็คือ คุณต้องทำความเข้าใจเรื่อง “สิทธิประโยชน์และหน้าที่ของเรา” ตามสัญญาประกันภัยให้ละเอียด เพื่อจะได้ทราบเงื่อนไขและความคุ้มครองที่คุณจะได้รับว่าคุ้มค่าหรือไม่ และป้องกันปัญหายุ่งยากที่จะเกิดขึ้นในภายหลังค่ะ

พ ร บ รถยนต์

“ พ.ร.บ.รถยนต์ ” ของดีที่อยู่ในมือคุณ

อย่างในบทความที่แล้ว  “ประกันภัยรถยนต์ตาม พ.ร.บ. เรื่องใกล้ตัวที่ควรรู้” เราได้เขียนอธิบายเกี่ยวกับ ค่าเสียหายเบื้องต้นที่คุณจะได้รับเมื่อเกิดอุบัติเหตุในกรณีต่างๆไปแล้ว ซึ่งยังมีการสำรองจ่าย และรายละเอียดอื่นๆอีก ที่ใครหลายควรรู้ และศึกษาเอาไว้เบื้องต้น เพื่อเวลายามเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ จะได้ไม่เกิดกรณีชนแล้วหนี เพราะสาเหตุมาจากไม่มีตังจ่ายค่าเสียหายต่างๆ นั้นเอง

ดังนั้น Carro จะมาอธิบายต่ออย่างคราวๆต่อ ให้คุณเข้าได้ง่ายสุดๆ ดังนี้

พรบ

เกิดกรณีเจ้าของรถไม่ทำ พ.ร.บ. หรือประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ แต่สร้างความเสียหายกับผู้ประสบภัย ใครจ่าย ?

คำตอบคือ เจ้าของรถจึงมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายนั้นเอง เพราะกฎหมายกำหนดให้เจ้าของรถมีหน้าที่ต้องทำ พ.ร.บ. แต่เจ้าของรถฝ่าฝืนไม่ทำประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ

ถ้าผู้ประสบภัยได้รับบาดเจ็บโดยเจ้าของรถ เจ้าของรถต้องเป็นคนจ่ายค่ารักษาพยาบาล หรือถ้าเสียชีวิตต้องรับผิดชอบค่าปลงศพ อย่างน้อยต้องไม่ต่ำกว่าจำนวนที่กฎหมายกำหนดไว้

หากได้รับน้อยกว่าที่ควรได้รับ ผู้ประสบภัย หรือทายาทโดยธรรมของผู้ประสบภัย สามารถมาขอรับส่วนที่ยังขาดได้จากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย โดยเป็นการจ่ายให้ก่อนแล้วจะเรียกเก็บเงินตามจริงภายหลังกับเจ้าของรถเอง  ซึ่งเจ้าของรถต้องจ่ายตามจริง รวมทั้งเพิ่มในอัตราร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าเสียหายเบื้องต้น ที่จ่ายจากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย เพื่อเข้าสมทบอีกต่างหาก


การสำรองจ่าย เป็นอย่างไร ?

หลักการสำรองจ่ายใช้ในกรณีที่รถยนต์ตั้งแต่สองคันขึ้นไปชนกัน และรถทุกคันได้จัดให้มีการประกันภัยตามกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ บริษัทจะสำรองจ่ายให้แก่ผู้ประสบภัย ซึ่งไม่ว่าจะโดยสารมาในรถ หรือกำลังจะขึ้น หรือกำลังลงจากรถที่เอาประกันภัยรถยนต์ไว้กับบริษัท ดังนี้

  1. ค่ารักษาพยาบาลตามใบเสร็จรับเงิน ไม่เกิน 80,000 บาท ต่อหนึ่งคน สำหรับกรณีได้รับบาดเจ็บ
  2. ค่าทดแทน หรือค่าปลงศพ เป็นจำนวนเงิน 300,000 บาท ต่อหนึ่งคน สำหรับกรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพอย่างถาวร
  3. ค่ารักษาพยาบาล ค่าทดแทน หรือค่าปลงศพ รวมกันไม่เกิน 300,000 บาท ต่อหนึ่งคน

สำหรับ ผู้ประสบภัยที่เป็นบุคคลภายนอกรถ บริษัทและผู้รับประกันภัยอื่นจะร่วมกันสำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาล ค่าทดแทนหรือค่าปลงศพ โดยเฉลี่ยฝ่ายละเท่าๆ กัน

พรบ

ค่าสินไหมทดแทน (ส่วนเกินค่าเสียหายเบื้องต้น)  คืออะไร

ค่าชดใช้เพื่อทดแทนความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ทรัพย์สิน หรือแก่บุคคล อันเนื่องมาจากการละเมิด หรือการผิดสัญญา รวมทั้งทรัพย์สินที่ต้องคืนให้แก่ผู้เสียหายด้วย.

  1. กรณีที่ผู้ประสบภัยได้รับบาดเจ็บ แต่ไม่ถึงกับสูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพอย่างถาวร บริษัทจะจ่ายค่ารักษาพยาบาล และค่าเสียหายอย่างอื่นที่ผู้ประสบภัย สามารถเรียกร้องได้ตามมูลละเมิดของความเสียหายที่แท้จริงแต่ไม่เกิน 80,000 บาท ต่อหนึ่งคน
  2. กรณีได้รับความเสียหายต่อร่างกาย หรืออนามัยในกรณีใดกรณีหนึ่ง หรือหลายกรณี ตามดังต่อไปนี้ บริษัทจะจ่ายเต็มตามจำนวนเงินคุ้มครองสูงสุด 300,000 บาท ต่อหนึ่งคน

(ก) ตาบอด

(ข) หูหนวก

(ค) เป็นใบ้หรือเสียความสามารถในการพูด หรือลิ้นขาด

(ง) สูญเสียอวัยวะสืบพันธุ์

(จ) เสียแขน ขา มือ เท้า นิ้ว

(ฉ) เสียอวัยวะอื่นใด

(ช) จิตพิการอย่างติดตัว

(ซ) ทุพพลภาพอย่างถาวร

  1. กรณีเสียชีวิต บริษัทจะจ่ายเต็มตามจำนวนเงินคุ้มครองสูงสุด 300,000 บาท ต่อหนึ่งคน
  2. ในกรณีที่เข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลในฐานะคนไข้ใน บริษัทจะจ่ายค่าชดเชยรายวัน วันละ 200 บาท จำนวนรวมกันไม่เกิน 20 วัน เป็นค่าเสียหายที่เพิ่มขึ้น นอกเหนือจากความคุ้มครองที่กล่าวมาแล้ว

พรบ

 

อย่างไรก็ตาม การไม่เกิดอุบัติเหตุเป็นเรื่องที่ดีที่สุดอยู่แล้ว แต่หากเมื่อมันเกิดขึ้นแล้ว หลังจากเกิดเหตุต้องทำเรื่องเพื่อเรียกร้องค่าชดเชยกับบริษัทประกันภัยภายใน 180 วันเท่านั้นนะ เพราะถ้าเกินจากนี้กฎหมายไม่คุ้มครองแล้ว และเราก็ไม่สามารถเรียกร้องอะไรได้เลยจากบริษัทประกันภัยรถยนต์ ดังนั้นรู้เรื่องแบบนี้ อย่าลืม ! รักษาสิทธิที่เราควรจะได้กันด้วยนะ

 

Source : oic.or.th , ประกันภัยรถยนต์ไทย.com