พ.ร.บ

แต่งรถเลี่ยงความผิด พ.ร.บ.

หลายคนอาจยังไม่รู้ว่ารถที่คุณซื้อมานั้นสามารถดัดแปลงได้ แต่ต้องทำให้ถูกหลัก พ.ร.บ. ในบทความนี้ CARRO เลยนำวิธีแต่งรถดี ๆ ไม่ให้ผิดหลัก พ.ร.บ. มาฝากกัน

หลายคนอาจจะยังไม่ทราบว่าการที่ได้เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์รถคันนั้นอย่างถูกต้องตามกฎหมาย แต่ถ้าคุณได้ทำการดัดแปลงรถ ไม่ว่าจะส่วนหนึ่งส่วนใดก็ตาม นอกเหลือจากกฎ พ.ร.บ จราจรกำหนดไว้ ก็จะถือว่าคุณได้ทำผิดกฎหมายโดยทันที !

แต่ก็ไม่ใช่ว่านักซิ่งรถทั้งหลาย หรือว่าใครก็ตามที่อยากจะแต่งรถนั้นไม่มีสิทธิ์ที่จะเปลี่ยนแปลงรถได้เลย เพราะว่าคุณมีสิทธิที่จะแต่งรถได้แบบถูกกฎหมาย แต่จะถูกกฎหมายได้อย่างไรนั้น ในบทความนี้จะมาบอก 5 วิธีที่จะทำให้คุณสามารถแต่งรถได้โดยไม่ผิดกฎหมาย

พ.ร.บ

1. โหลดเตี้ยได้ แต่ต้องไม่เกิน 40 เซนติเมตร

สำหรับสาวกรถซิ่งที่ชอบโหลดรถให้ต่ำและเตี้ย การันตีว่าคุณสามารถโหลดรถให้เตี้ยได้ แต่ต้องไม่เกิน 40 เซนติเมตรเท่านั้น เพราะถ้าหากมีความสูงน้อยกว่านี้ ก็จะผิดกฎหมายทันที โดยความสูงที่ว่านี้จะมีการวัดจากกึ่งกลางไฟหน้า ไปจนถึงระดับพื้นถนน

2. ยกสูงได้ แต่ต้องไม่เกิน 135 เซนติเมตร

ถ้าหากคุณไม่ชอบโหลดรถเตี้ย แต่อยากโหลดรถให้สูงขึ้น สำหรับนำไปใช้ในจุดประสงค์ใดก็แล้วแต่ ก็สามารถโหลดรถให้สูงได้ แต่ว่าก็ต้องไม่เกิน 135 เซนติเมตร เพราะถ้าหากมีความสูงมากกว่านี้ ก็ถือว่าเป็นการผิดกฎหมาย ดังนั้นผู้ที่ต้องการยกรถให้สูง ก็ต้องทำการวัดให้ดี โดยใช้หลักเกณฑ์การวัดจากกึ่งกลางไฟหน้า ไปจนถึงระดับพื้นถนน

3. สามารถติดไฟซีนอนได้ แต่ต้องเลือกสีให้ถูกต้อง และมีองศาตกกระทบที่ถูกต้อง

สำหรับคนที่ชอบติดไฟซีนอน ก็สามารถติดได้แบบไม่ผิดกฎหมาย แต่จะติดไฟซีนอนได้แค่ สีขาว และสีเหลืองอ่อนเท่านั้น สำหรับสีอื่นๆ อาทิ สีเขียว สีส้ม สีม่วง ก็ไม่ได้ทั้งนั้น ดังนั้นถ้าหากใครจะคิดจะติดไฟซีนอน ก็อย่าลืมเลือกใช้สีที่ถูกกฎหมาย แต่ถ้าหากติดแล้ว เมื่อนำเข้าเครื่องทดสอบโคมไฟ ลำแสงจะต้องตกเป็นแนวระนาบไม่น้อยกว่า 2 องศา

พ.ร.บ

4. เปลี่ยนฝากระโปรงได้ แต่ต้องสีเดียวกับตัวรถ

หากใครเบื่อสีเดิมๆ ของตัวรถ อยากจะเพิ่มสีสันให้กับรถของคุณ ก็สามารถเปลี่ยนสีฝากระโปรงรถได้ แต่มีข้อห้ามว่า ต้องไม่เกิน 50% ของสีรถทั้งคัน หรือถ้าหากใครต้องการที่จะเปลี่ยนทั้งหน้าฝากระโปรงหน้า และฝากระโปรงหลัง แนะนำว่าไม่ควรทำ เพราะถ้าหากคุณเปลี่ยนทั้งสองอย่างนี้พร้อมกัน จะถือว่าผิดกฎหมายทันที

5. ล้อแมกซ์เปลี่ยนให้ใหญ่ได้ แต่ห้ามเกินขนาด

คนที่ชอบเปลี่ยนล้อแมกซ์ สามารถเลือกล้อแมกซ์ที่มีขนาดใหญ่กว่าของเดิมได้ โดยไม่ผิดกฎหมาย เนื่องจากตามกฎหมาย ไม่มีการระบุขนาดล้อรถยนต์ เพราะการเปลี่ยนล้อแมกช์นั้นไม่ได้เป็นตัวเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุ แต่ถ้าหากล้อแมกซ์ที่คุณติดตั้งใหม่นั้นมีขนาดที่ใหญ่มากจนเกินออกมานอกบังโคลนรถหลายนิ้ว หรือตามการพิจารณาของเจ้าหน้าที่ ก็จะถือว่าผิดกฎหมายทันที

พ.ร.บ

ซึ่งหลัก 5 ข้อนี้ ก็จะช่วยให้คุณสามารถตรวจสอบรถมือสองที่เพิ่งซื้อมาได้ด้วยเช่นกัน เพราะถ้าหากรถคันนั้นมีการดัดแปลงมาโดยไม่ถูกหลัก พ.ร.บ. ก็จะทำให้ไม่สามารถโอนรถได้โดยสมบูรณ์นั่นเอง (สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ ที่นี่)

พ ร บ รถยนต์

“ พ.ร.บ.รถยนต์ ” ของดีที่อยู่ในมือคุณ

อย่างในบทความที่แล้ว  “ประกันภัยรถยนต์ตาม พ.ร.บ. เรื่องใกล้ตัวที่ควรรู้” เราได้เขียนอธิบายเกี่ยวกับ ค่าเสียหายเบื้องต้นที่คุณจะได้รับเมื่อเกิดอุบัติเหตุในกรณีต่างๆไปแล้ว ซึ่งยังมีการสำรองจ่าย และรายละเอียดอื่นๆอีก ที่ใครหลายควรรู้ และศึกษาเอาไว้เบื้องต้น เพื่อเวลายามเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ จะได้ไม่เกิดกรณีชนแล้วหนี เพราะสาเหตุมาจากไม่มีตังจ่ายค่าเสียหายต่างๆ นั้นเอง

ดังนั้น Carro จะมาอธิบายต่ออย่างคราวๆต่อ ให้คุณเข้าได้ง่ายสุดๆ ดังนี้

พรบ

เกิดกรณีเจ้าของรถไม่ทำ พ.ร.บ. หรือประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ แต่สร้างความเสียหายกับผู้ประสบภัย ใครจ่าย ?

คำตอบคือ เจ้าของรถจึงมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายนั้นเอง เพราะกฎหมายกำหนดให้เจ้าของรถมีหน้าที่ต้องทำ พ.ร.บ. แต่เจ้าของรถฝ่าฝืนไม่ทำประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ

ถ้าผู้ประสบภัยได้รับบาดเจ็บโดยเจ้าของรถ เจ้าของรถต้องเป็นคนจ่ายค่ารักษาพยาบาล หรือถ้าเสียชีวิตต้องรับผิดชอบค่าปลงศพ อย่างน้อยต้องไม่ต่ำกว่าจำนวนที่กฎหมายกำหนดไว้

หากได้รับน้อยกว่าที่ควรได้รับ ผู้ประสบภัย หรือทายาทโดยธรรมของผู้ประสบภัย สามารถมาขอรับส่วนที่ยังขาดได้จากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย โดยเป็นการจ่ายให้ก่อนแล้วจะเรียกเก็บเงินตามจริงภายหลังกับเจ้าของรถเอง  ซึ่งเจ้าของรถต้องจ่ายตามจริง รวมทั้งเพิ่มในอัตราร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าเสียหายเบื้องต้น ที่จ่ายจากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย เพื่อเข้าสมทบอีกต่างหาก


การสำรองจ่าย เป็นอย่างไร ?

หลักการสำรองจ่ายใช้ในกรณีที่รถยนต์ตั้งแต่สองคันขึ้นไปชนกัน และรถทุกคันได้จัดให้มีการประกันภัยตามกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ บริษัทจะสำรองจ่ายให้แก่ผู้ประสบภัย ซึ่งไม่ว่าจะโดยสารมาในรถ หรือกำลังจะขึ้น หรือกำลังลงจากรถที่เอาประกันภัยรถยนต์ไว้กับบริษัท ดังนี้

  1. ค่ารักษาพยาบาลตามใบเสร็จรับเงิน ไม่เกิน 80,000 บาท ต่อหนึ่งคน สำหรับกรณีได้รับบาดเจ็บ
  2. ค่าทดแทน หรือค่าปลงศพ เป็นจำนวนเงิน 300,000 บาท ต่อหนึ่งคน สำหรับกรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพอย่างถาวร
  3. ค่ารักษาพยาบาล ค่าทดแทน หรือค่าปลงศพ รวมกันไม่เกิน 300,000 บาท ต่อหนึ่งคน

สำหรับ ผู้ประสบภัยที่เป็นบุคคลภายนอกรถ บริษัทและผู้รับประกันภัยอื่นจะร่วมกันสำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาล ค่าทดแทนหรือค่าปลงศพ โดยเฉลี่ยฝ่ายละเท่าๆ กัน

พรบ

ค่าสินไหมทดแทน (ส่วนเกินค่าเสียหายเบื้องต้น)  คืออะไร

ค่าชดใช้เพื่อทดแทนความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ทรัพย์สิน หรือแก่บุคคล อันเนื่องมาจากการละเมิด หรือการผิดสัญญา รวมทั้งทรัพย์สินที่ต้องคืนให้แก่ผู้เสียหายด้วย.

  1. กรณีที่ผู้ประสบภัยได้รับบาดเจ็บ แต่ไม่ถึงกับสูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพอย่างถาวร บริษัทจะจ่ายค่ารักษาพยาบาล และค่าเสียหายอย่างอื่นที่ผู้ประสบภัย สามารถเรียกร้องได้ตามมูลละเมิดของความเสียหายที่แท้จริงแต่ไม่เกิน 80,000 บาท ต่อหนึ่งคน
  2. กรณีได้รับความเสียหายต่อร่างกาย หรืออนามัยในกรณีใดกรณีหนึ่ง หรือหลายกรณี ตามดังต่อไปนี้ บริษัทจะจ่ายเต็มตามจำนวนเงินคุ้มครองสูงสุด 300,000 บาท ต่อหนึ่งคน

(ก) ตาบอด

(ข) หูหนวก

(ค) เป็นใบ้หรือเสียความสามารถในการพูด หรือลิ้นขาด

(ง) สูญเสียอวัยวะสืบพันธุ์

(จ) เสียแขน ขา มือ เท้า นิ้ว

(ฉ) เสียอวัยวะอื่นใด

(ช) จิตพิการอย่างติดตัว

(ซ) ทุพพลภาพอย่างถาวร

  1. กรณีเสียชีวิต บริษัทจะจ่ายเต็มตามจำนวนเงินคุ้มครองสูงสุด 300,000 บาท ต่อหนึ่งคน
  2. ในกรณีที่เข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลในฐานะคนไข้ใน บริษัทจะจ่ายค่าชดเชยรายวัน วันละ 200 บาท จำนวนรวมกันไม่เกิน 20 วัน เป็นค่าเสียหายที่เพิ่มขึ้น นอกเหนือจากความคุ้มครองที่กล่าวมาแล้ว

พรบ

 

อย่างไรก็ตาม การไม่เกิดอุบัติเหตุเป็นเรื่องที่ดีที่สุดอยู่แล้ว แต่หากเมื่อมันเกิดขึ้นแล้ว หลังจากเกิดเหตุต้องทำเรื่องเพื่อเรียกร้องค่าชดเชยกับบริษัทประกันภัยภายใน 180 วันเท่านั้นนะ เพราะถ้าเกินจากนี้กฎหมายไม่คุ้มครองแล้ว และเราก็ไม่สามารถเรียกร้องอะไรได้เลยจากบริษัทประกันภัยรถยนต์ ดังนั้นรู้เรื่องแบบนี้ อย่าลืม ! รักษาสิทธิที่เราควรจะได้กันด้วยนะ

 

Source : oic.or.th , ประกันภัยรถยนต์ไทย.com