King-Rama-10-Royal-Cars

ในช่วงแห่งการเฉลิมฉลองพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 นับเป็นช่วงแห่งความปลื้มปิติของเหล่าพสกนิกรชาวไทย ในการขึ้นเป็น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ของ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณฯ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 อย่างสมบูรณ์ตามโบราณราชประเพณี ซึ่งจะเกิดขึ้นระหว่างวันที่ 4 – 6 พฤษภาคม 2562 ณ พระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

และเนื่องด้วย พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณฯ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดด้านการทหารและการบินเป็นพิเศษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการบิน ซึ่งพระองค์ทรงใฝ่รู้ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ และในส่วนของรถยนต์และเครื่องยนต์กลไก พระองค์ก็ทรงโปรดมากๆ เช่นเดียวกัน

CARRO จึงขอนำเสนอถึง “รถยนต์พระที่นั่ง” ของ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณฯ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทั้งในอดีตและปัจจุบัน เท่าที่ค้นหามาได้ ให้ทุกท่านได้รับชมกันครับ

Daimler-DE36

1. Daimler DE36

Daimler DE36 (เดมเลอร์ ดีอี36) พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณฯ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงรำลึกถึงพระราชบิดา ด้วยการทรงนำรถยนต์พระที่นั่ง Daimler DE36 Landaulette มีเลข Chassis เลขตัวถัง 51747 ส่วนตัวถังรถผลิตโดย Hooper แห่ง Westminster ซึ่งผลิตด้วยมือ เป็นรุ่นฐานล้อยาว มีกระจกแบ่งระหว่างคนขับและผู้โดยสาร ใช้เครื่องยนต์แบบ V8 ขนาด 5.5 ลิตร 150 แรงม้า ส่งกำลังผ่านเกียร์กึ่งอัตโนมัติแบบคันบังคับไฟฟ้า 4 สปีด

ซึ่งเป็นรถยนต์พระที่นั่ง “อย่างเป็นทางการ” คันแรกในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (หมายเลขทะเบียน “ร.ย.ล. 1”) กลับมาประจำการในฐานะรถยนต์พระที่นั่งทรงอีกครั้งในรอบ 40 กว่าปี หลังจากปลดประจำการ

Delahaye-GFA-180

2. Delahaye G.F.A. 180

Delahaye G.F.A. 180 (เดอลาเฮย์ จีเอฟเอ 180) ปี 1953 เดิมเป็นรถพระที่นั่งของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงใช้ แต่ภายหลัง พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณฯ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงนำออกมาใช้งานในพิธีต่างๆ บ้าง

ผลิตเมื่อปี 2496 ตัวถังแบบลีมูซีน (หมายเลขแชสซีส์ 825018) ตัวถังผลิตโดย Henri Chapron (หมายเลขตัวถัง 6961) ตัวรถผลิตโดย Société Des Automobiles Delahaye มีหน้าต่างกระจกกั้นพระที่นั่งตอนหน้า และตอนหลัง กระจกหน้าต่างแบบไฮดรอลิก และหน้าต่างรับแดด (ซันรูฟ) บนหลังคา ส่งกำลังผ่านเกียร์ 4 สปีด

Rolls-Royce-Phantom-Limousine-De-Ville

3. Rolls-Royce Phantom Limousine De Ville

Rolls-Royce Phantom Limousine De Ville (โรลส์-รอยซ์ แฟนทอม ลิมูซีน เดอวิลล์) ปี พ.ศ. 2482 (หมายเลขแชสซีส์ 3DL 158) ผลิตที่โรงงานโรลส์-รอยส์ ในเมืองดาร์บี ใช้เครื่องยนต์แบบ V12 (หมายเลขเครื่อง W98 H) มีจานจ่าย 2 ชุด ส่งกำลังผ่านเกียร์ธรรมดา 5 สปีด

ลงเรือที่เซาท์แธมตัน เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2482 เจ้าของเดิมคือ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา ต่อมา สมเด็จพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณฯ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงนำออกมาใช้งานในพิธีต่างๆ บ้าง

Volvo-264-TE

4. Volvo 264 TE

Volvo 264 TE (วอลโว่ 264 ทีอี) รุ่นนี้ ออกแบบโดย “Bertone” เครื่องยนต์รหัส B27E ขนาด 2.7 ลิตร แบบ V6 OHC ให้แรงม้าสูงสุด 140 แรงม้า ที่ 6,000 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 21.0 กก.-ม. ที่ 3,000 รอบ/นาที ถ่ายทอดกำลังผ่านเกียร์อัตโนมัติ 3 สปีด ทำความเร็วได้กว่า 165 กม./ชม.

บริษัท สวีเดนมอเตอร์ส จำกัด มอบหมายให้นายวันนิวัติ ศรีไกรวิน และนางจุไรรัตน์ ศรีไกรวิน เป็นผู้แทนของบริษัทฯ น้อมเกล้าฯ ถวาย สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ (พระอิสริยยศในขณะนั้น) ป้ายทะเบียน ร.ย.ล. 14

Mercedes-Benz-450-SEL-6.9

5. Mercedes-Benz 450 SEL 6.9

Mercedes-Benz 450 SEL 6.9 (เมอร์เซเดส-เบนซ์ 450 เอสอีแอล 6.9) รถยนต์พระที่นั่ง ป้ายทะเบียน ร.ย.ล. 10 (ปัจจุบัน ทะเบียน 1ด-0106 กรุงเทพมหานคร)

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร (พระอิสริยยศในขณะนั้น) ทรงอภิเษกสมรส กับ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรชายาฯ ในวันพระราชพิธีอภิเษกสมรส พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระราชทานรถยนต์ Mercedes-Benz 450 SEL 6.9 เครื่องยนต์ขนาด 6.9 ลิตร เป็นของขวัญ

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร โปรดรถพระราชทานคันนี้มาก ในระหว่างทรงศึกษาที่โรงเรียนเสนาธิการทหารบก ทรงขับรถคันนี้ เสด็จพระราชดำเนินต่างจังหวัดอยู่เสมอ ทรงขับจากกรุงเทพฯ ถึงนราธิวาส และจากกรุงเทพฯ ถึงอุดรธานี พิษณุโลก และ ลำปาง

Rolls-Royce-Corniche-Convertible

6. Rolls-Royce Corniche Convertible

Rolls-Royce Corniche Convertible (โรลส์-รอยซ์ คอร์นิช คอนเวอร์ติเบิ้ล) เป็นรถที่พสกนิกรหลายท่านคุ้นตาในอดีต เพราะเป็นรถที่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9) ใช้ทรงงานมากที่สุดอีกรุ่น แต่พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณฯ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ทรงมีใช้งานด้วยเช่นกัน

Rolls-Royce-Silver-Spur-Limousine

7. Rolls-Royce Silver Spur Limousine

Rolls-Royce Silver Spur (โรลส์-รอยซ์ ซิลเลอร์ สเพอร์) นับเป็นรถลิมูซีน ที่คุ้นตาพสกนิกรมากที่สุดอีกหนึ่งรุ่น เพราะใช้ในงานพระราชพิธีบ่อยครั้ง ซึ่งเป็นรถประจำของพระบรมวงศานุวงศ์หลายพระองค์ และเป็นหนึ่งในรถยนต์พระที่นั่ง ที่ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณฯ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประทับนั่งเป็นประจำ

ขอขอบคุณภาพจาก

Toyota-Soluna-King-Rama-9

Toyota-Soluna-King-Rama-9

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร) นอกจากจะทรงมีพระปรีชาสามารถในทุกๆ ด้าน ยังมีสิ่งหนึ่งที่คนในวงการ “อุตสาหกรรมยานยนต์” น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ และสถิตอยู่ในใจคนโตโยต้าตราบนิจนิรันดร์

หลายๆ คน คงเคยเห็นภาพของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงขับรถ Toyota Soluna (โตโยต้า โซลูน่า) สีฟ้า ทะเบียน 1ด-0956 กรุงเทพมหานคร

Toyota-Soluna-ในหลวง-รัชกาลที่9

เรื่องนี้ นายนินนาท ไชยธีรภิญโญ รองประธานกรรมการ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด เคยให้สัมภาษณ์สารสภาวิศวกรรม ฉบับเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2550 และนายวิเชียร เอมประเสริฐสุข รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ให้สัมภาษณ์ในวาระครบ 50 ปี ที่โตโยต้าทำธุรกิจในประเทศไทย

หลังจากที่รัฐบาลประกาศลอยตัวค่าเงินบาทเมื่อวันที่ 2 ก.ค. 2540 ได้เกิดวิกฤตฟองสบู่แตก บริษัทไฟแนนซ์ล้ม ผู้คนตกงานมากมาย จากนั้นในเดือน พ.ย. ปีเดียวกัน ก็เกิดข่าวลือว่าทางโตโยต้า ประเทศญี่ปุ่น จะประกาศปิดโรงงานที่เกตเวย์ เตรียมเลิกจ้างพนักงานกว่า 5,500 คน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ท่านทรงเป็นห่วงว่าราษฎรของพระองค์จะตกงาน จึงทรงมีพระราชดำริขอซื้อรถยนต์โตโยต้าโซลูน่าเพื่อให้คนไทยได้มีงานทำ จนกลายมาเป็นรถยนต์ฝีมือของคนไทยซึ่งเป็นราษฎรของพระองค์ท่าน

จึงรับสั่งให้เลขานุการส่วนพระองค์แจ้งว่า พระองค์ทรงมีพระราชประสงค์สั่งซื้อ รถ Toyota Soluna 1 คัน โดยให้พนักงานที่ทำนั้นไม่ต้องเร่งรีบ ใช้มือทำก็ได้ ไม่ต้องใช้เครื่องจักร เพื่อที่พนักงานโตโยต้าคนไทยจะได้มีงานทำนานๆ โดยหลังจากที่โตโยต้าทราบ จึงตั้งใจทำให้รถมีอะไรพิเศษ โดยติดชื่อรุ่นและเลขเป็นแบบไทย ไม่เคยทำมาก่อนในรถยนต์รุ่นไหน

ซึ่งเมื่อรถยนต์คันดังกล่าวนั้นแล้วเสร็จ ก็ได้มีการนำไปถวายพระองค์ ในช่วงเดือนธันวาคม 2540 พระองค์ทรงพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ 600,000 บาท ให้กับทางโตโยต้า แต่ทางโตโยต้านั้นไม่ขอไม่รับเงินนั้นไว้

Toyota-Expo-2017-Soluna

Model รถยนต์ Toyota Soluna ที่ทาง Toyota จัดทำขึ้นเป็นพิเศษ

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระราชดำริใหม่ว่า ให้นำเงินนั้นไปตั้ง “โรงสีข้าว” เพื่อช่วยเหลือชาวนาละแวกใกล้เคียงโรงงานผลิตรถ เพราะโตโยต้ามีการบริหารจัดการที่ดี จึงควรตั้งโรงสีข้าวตัวอย่างขึ้นเอง แล้วขายข้าวที่ได้จากโรงสีในราคาสวัสดิการให้แก่พนักงานหรือชาวบ้าน และขายผลพลอยได้ เช่น แกลบและรำ ให้แก่เกษตรกรชุมชนที่เลี้ยงหมู ดังนั้นทั้งหมดนี้จึงเป็นที่มาของ “โรงสีข้าวรัชมงคล” ที่ดำเนินการต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบันนั่นเอง

Toyota-Soluna-Catalogue-1

Toyota Soluna จากโครงการรถ AFC (Affordable Family Car) ซึ่งเป็นรถยนต์ที่วิจัยและพัฒนา และเริ่มต้นผลิตในไทยเป็นแห่งแรก คันแรกออกจากสายการผลิตเป็นทางการ ในวันที่ 7 ธันวาคม 2539 และโตโยต้า ได้แถลงข่าวความคืบหน้าของรถยนต์รุ่นนี้ ที่ โรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ ในวันที่ 9 ธันวาคม 2539

คำว่า “Soluna” นั้น มาจากการนำคำว่า “Sol” ซึ่งมาจากคำว่า “Solar” แปลว่า ดวงอาทิตย์ กับคำว่า “Lunar” แปลว่า พระจันทร์ มารวมกัน

Toyota Soluna เปิดตัวสู่สื่อมวลชนในวันที่ 28 มกราคม 2540 และเปิดตัวสู่สาธารณชนในวันที่ 31 มกราคม 2540 มาพร้อม Slogan “Great Journey การเดินทางที่ยิ่งใหญ่” และมี โด๋ว-มรกต โกมลบุตร เป็นพรีเซ็นเตอร์ในช่วงแรก เพียง 3 วันของงานเปิดตัว ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ได้ใบสั่งจองที่มากเป็นประวัติการณ์ถึง 28,765 ใบ (15,335 ใบ ในงานเปิดตัว และ 13,430 ใบ จากดีลเลอร์)

Toyota-Soluna-Thai

มาพร้อมเครื่องยนต์ขนาด 1.5 ลิตร รหัส 5A-FE แบบ 4 สูบ DOHC 16 วาล์ว ให้แรงม้าสูงสุด 95 แรงม้า ที่ 5,600 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 126 นิวตัน-เมตร ที่ 4,800 รอบ/นาที ส่งกำลังผ่านเกียร์ธรรมดา 5 สปีด และเกียร์อัตโนมัติ 3 สปีด

Toyota-Soluna-Thai

Toyota-Soluna-Thai

ในเดือนพฤษภาคม 2541 Soluna ยังมีรุ่นพิเศษที่สร้างความฮืฮฮาด้วย “Soluna Special Version” (โซลูน่า สเปเชี่ยล เวอร์ชั่น) มีชื่อเป็นภาษาไทยและเลขไทย ติดที่ฝากระโปรงหลัง เป็นรุ่นแรกในโลกของรถโตโยต้า ที่ติดชื่อรุ่นรถและตัวเลขเครื่องยนต์เป็นภาษาท้องถิ่น

ที่มาจากจากการที่รถยนต์โตโยต้า โซลูน่า ได้รับรางวัลรถยอดเยี่ยมแห่งปี 1998 ในประเภทเครื่องยนต์ไม่เกิน 1.5 ลิตร ในการประกวดรถยนต์ยอดเยี่ยมแห่งปี 1998 โดยการตัดสินจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของสมาคมและสถาบันการศึกษาทางวิศวกรรมศาสตร์ และสื่อมวลชน

Toyota-Soluna-Thai

โตโยต้าจึงฉลองโอกาสแห่งความภาคภูมิใจนี้ด้วยการออกรุ่น “โซลูน่า สเปเชี่ยล เวอร์ชั่น” ที่ผลิตขึ้นเจำนวนจำกัด 600 คัน โดยเน้นความสปอร์ต และเพียบพร้อมด้วยอุปกรณ์ตกแต่งมากกว่ารุ่นพื้นฐาน

Toyota-Soluna-Thai

เริ่มจากชุดอุปกรณ์ตกแต่งสไตล์สปอร์ตตลอดคัน จำนวน 12 รายการ และมีสัญลักษณ์รุ่นเป็นภาษาไทย ที่เปิดประตูด้านข้าง กระจกมองข้างและคิ้วกันกระแทกสีเดียวกับตัวรถ ล้อแม็กพร้อมยางขนาด 175/65 R14 สปอยเลอร์หลังพร้อมไฟเบรก นอกจากนี้ยังเพิ่มคิ้วบังลมด้านหลังเพื่อป้องกันแสงแดดและคิ้วบังลมด้านข้างป้องกันละอองฝน

Toyota-Soluna-Thai

หลังจากปรับโฉมไมเนอร์เชนจ์ในปี 2542 ปรับหน้าตาใหม่ กันชนใหม่ ไฟท้ายใหม่ หรือที่บรรดาเต็นท์รถมือสองเรียกกันว่า “ไฟท้ายหยดน้ำ” ก่อนจะเลิกจำหน่ายไปในเดือนพฤศจิกายน 2545

ต่อมา โตโยต้า โซลูน่า ในรุ่นถัดไปจึงพัฒนาเป็น โซลูน่า วีออส (Soluna Vios) และชื่อของ “Soluna” ก็หายไปจากตลาดจริงๆ ในเดือนตุลาคม 2548 โดยเป็น Toyota Vios (โตโยต้า วีออส) จวบจนปัจจุบัน

แหล่งที่มา:

รถพระที่นั่งของในหลวงรัชกาลที่9

รถยนต์ยี่ห้อใดบ้าง ที่ในหลวงรัชกาลที่ ๙ ทรงเลือกใช้เดินทาง

     คนรุ่นใหม่อาจไม่เคยเฝ้ารับเสด็จ จึงอาจไม่เคยเห็นรถยนต์ของในหลวงรัชกาลที่ ๙ ทำให้ภาพเหล่านี้หาดูยากขึ้นทุกวัน คาร์โร จึงขอนำเสนอยี่ห้อรถยนต์พระที่นั่งของในหลวงรัชกาลที่ ๙ พร้อมกับเรื่องราวของการใช้งาน จำนวน ๖ คัน เพื่อให้คนรุ่นใหม่ หรือเด็กๆ รุ่นต่อไป ได้ศึกษากัน


 

รถพระที่นั่งของในหลวง

1. Mercedes Maybach 62

มายบัคองค์นี้ ทรงใช้เป็นรถยนต์พระที่นั่งสำหรับงานพิธีต่างๆ ที่เป็นทางการ โดยรถพระที่นั่งคันนี้มาแทนที่ ร.ย.ล. ๑ คันก่อน (ภาพล่าง) คือ Rolls – Royce Phantom VI ซึ่งทรงใช้งานอย่างยาวนานร่วม ๓๐ ปี

รถพระที่นั่งของในหลวง

ภาพนี้คือ Phantom VI ซึ่งถูกนำมาใช้เป็นรถยนต์พระที่นั่งเป็นครั้งสุดท้ายในปี พ.ศ. ๒๕๔๗


 

รถพระที่นั่งของในหลวง

2. Cadillac DTS

เป็นรถที่ทรงใช้ในพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนและสวนสนามของทหารรักษาพระองค์ ตัวรถผ่านการดัดแปลงให้เป็นรถเปิดประทุนเพื่อความสะดวกในการประกอบพิธี ดังที่เห็นได้จากในภาพ


 

รถพระที่นั่งของในหลวง

3. Mercedes Benz S600L (W220)

เป็นรถเบนซ์เอสคลาสสีครีม หมายเลขทะเบียน ร.ย.ล.๙๐๑ พระองค์ทรงใช้ในราชการเป็นประจำ แต่ในปัจจุบัน
ใช้ในงานเฉพาะกิจส่วนพระองค์ หรือไม่ได้มีการออกงานใหญ่ๆ

นอกจากรถพระที่นั่งซึ่งใช้ในกิจการของพระราชวังดังที่ได้ยกมา ๓ องค์เบื้องต้นแล้ว ยังมีรถอีก ๒ องค์ที่ในหลวงรัชกาลที่ ๙ ทรงจัดซื้อด้วยทรัพย์ส่วนพระองค์ ดังนี้


 

รถพระที่นั่งของในหลวง

4. Toyota Soluna

เป็นรถที่ทรงขับด้วยพระองค์เอง และทรงใช้ทรัพย์ส่วนของพระองค์ในการจัดซื้อ ทำให้ป้ายทะเบียนอยู่ในหมวด ด

รถพระที่นั่งคันนี้มีที่มาที่ไป คือเป็นรถที่ทรงพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ให้บริษัทโตโยต้าเป็นจำนวนเงิน ๖๐๐,๐๐๐ บาท แต่ทางโตโยต้าขอปฏิเสธ ไม่รับพระราชทานเงินนั้น พระองค์จึงทรงบริจาคเงินส่วนนี้ให้ตั้งโรงสีขาวเพื่อช่วยเหลือชาวนา ซึ่งได้กลายมาเป็นบริษัทข้าวรัชมงคลในปัจจุบัน


 

5. Volkswagen Transporter

รถยนต์พระที่นั่งองค์นี้มีนามเรียกขานว่า “เจมส์ บอนด์” เป็นรถตู้สีเทาอมฟ้าปี ๒๕๔๑ ที่มีความสมถะ และเรียบง่าย

ส่วนเหตุผลที่มีการเลือกรถพระที่นั่งคันนี้มาใช้ในพิธีอัญเชิญพระบรมศพ ได้มีผู้ให้คำตอบไว้ว่า คือเป็นรถที่พระองค์ทรงโปรด ด้านในรถจะเรียบง่ายมาก แทบไม่มีอะไรเลย นอกจากวิทยุเดิมๆ ที่ติดมากับรถ แล้วก็จะมีโต๊ะเล็กๆไว้ทรงงาน สภาพของรถจะมีนายช่างประจำตัว คอยซ่อมแซมให้ตลอด


 

รถพระที่นั่งของในหลวง

6. Mercedes Benz 300SL Gullwing 1955 

รถยนต์องค์นี้เข้าประจำการเพื่อเป็นพระราชพาหนะในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เมื่อวันที่ ๘ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๙๘

เป็นรถยนต์ที่จอมพล ป.พิบูลสงคราม น้อมเกล้าฯ ถวายในหลวงรัชกาลที่ ๙ ในสมัยนั้น แล้วได้มีการเปลี่ยนทะเบียนจาก ๑ด๐๐๑๐ ไปเป็น ๑ด๑๑๑๐ ในภายหลัง

ซึ่งรถยนต์องค์นี้ได้มีการเปิดให้นิตรสารทั้งใน และต่างประเทศมีโอกาสได้เก็บภาพ รวมถึงทำประวัติไว้อย่างงดงาม รถยนต์องค์นี้ถือว่าเป็นซูเปอร์คาร์ในสมัยนั้นเลยก็ว่าได้ เป็นรถยนต์ที่มีประสิทธิภาพที่สูง และมีเพียง ๘ คันในประเทศไทย

ส่วนรถยนต์องค์นี้ถือว่าเป็นองค์ที่สภาพสมบูรณ์ที่สุดในประเทศไทย และยังคงเป็นรถที่สมบูรณ์มากที่สุดในโลกเช่นเดียวกัน ได้ใช้งานไปเพียง ๒,๐๒๑ กิโลเมตร ด้วยอายุถึง ๕๗ ปี ท่านทรงรัก และดูแลรถยนต์องค์นี้อย่างดี


 

 

ข้อมูลจากผู้ใช้เฟซบุ๊ก : นุสรา ชั้นบุญ