MG-With-Consumer-And-Towed-Car

หลายปีมาแล้ว กับกระแสในโซเชียลมีเดีย ซึ่งมีทั้งตามกลุ่ม Facebook ต่างๆ หรือบรรดาเพจอวย เพจแซะ หรือเพจรวมปัญหาของรถต่างๆ ที่ออกมาพูดถึงรถยนต์หลายยี่ห้อ ที่มีปัญหากันไม่รู้จักจบสิ้น จนไปถึงการรวมตัวของผู้ใช้รถ ไปประท้วงกันถึงหน้าสำนักงานของผู้ผลิตกันเลยทีเดียว

ซึ่งหลายต่อหลายคน อุตส่าห์ขายรถคันเดิม หรือเก็บเงินซื้อรถป้ายแดง เพื่อหวังจะได้ขับรถใหม่ ไม่ต้องซ่อมอะไรมากมาย เป็นความภาคภูมิใจที่กว่าจะเก็บเงินซื้อมาได้ แต่กลับกลายเป็นว่า รถมือหนึ่งแท้ๆ กลับมีปัญหาความบกพร่องของตัวรถมาก จนแทบอยากจะขายรถกันอีกรอบ

ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ “MG” (เอ็มจี) รถน้องใหม่มาแรงเชื้อชาติอังกฤษ สัญชาติจีน (ภายใต้การกุมบังเหียนของ SAIC-CP ในขณะนี้) ที่ได้ชื่อว่าเป็น “ขวัญใจรถยก” ซึ่งแลดูขัดกับความขายดีของ MG ZS ในขณะนี้ ที่ราคาตัวรถ ความสวยงามของตัวรถ กับออพชั่นของรถ ที่คุ้มค่าคุ้มราคามากๆ

แต่ทำไมผู้บริโภคถึงว่างั้น? เราไปดูกัน …

โดยปกติแล้ว ปัญหาใหญ่ๆ ของรถป้ายแดง ส่วนมากจะมากับเหตุผลของคุณภาพ หรือหลุด QC ซึ่งมีเป็นกันแทบทุกค่าย เป็นเรื่องปกติ ขึ้นอยู่กับว่าการรับมือของแต่ละค่าย จะทำได้มากน้อยแค่ไหน ซึ่งจะขอแบ่งออกเป็น 3 ข้อหลักๆ ครับ

MG-With-Consumer-And-Towed-Car

ขอขอบคุณภาพจากคุณ Hanny Man

ปัญหาตัวรถ และการขับขี่

เนื่องจากเป็นแบรนด์น้องใหม่ เพิ่งทำตลาดจริงๆ จังๆ ในบ้านเราได้ไม่กี่ปี การรับมือในด้านคุณภาพการผลิต อะไหล่ บริการหลังการขาย แม้ว่าจะทำอย่างสุดความสามารถแล้วก็ตาม แต่ก็ยังพบกับความบกพร่องของตัวรถ ซึ่งอาจจะทำให้ผู้บริโภคเกิดความไม่สบายใจ

หลายปัญหาที่ “ผู้บริโภค” หลายคนมักพูดถึง รู้สึกกังวล หรือกลัว ในหลากหลายอาการ เช่นในตัว MG ZS อาทิ

MG-With-Consumer-And-Towed-Car

ขอขอบคุณภาพจากคุณ Yui Kio

  • มีฝ้า หรือหยดน้ำในไฟหน้า หลังจากขับรถฝ่าฝนตก

การแก้ไขปัญหา : เข้าศูนย์บริการ เพื่อใส่ซองกันชื้นในโคมไฟ แต่ถ้าแก้ไขด้วยวิธีการใส่ซองกันชื้นแล้วยังไม่ได้ผล ทางศูนย์บริการ จะทำการเคลมไฟหน้าใหม่ให้ และใส่ซองกันชื้นเพิ่มเติมให้เช่นกัน

วิธีการเคลม : ถ่าย Clip VDO ตอนขึ้นฝ้า และถ่ายให้เห็นป้ายทะเบียน พร้อมภาพถ่ายนิ่งไฟหน้าที่ขึ้นฝ้า แล้วนำเข้าศูนย์ เพื่อให้ศูนย์แก้ไข

  • เหยียบเบรกแล้วรอบเครื่องยนต์พุ่งเอง ขณะเข้าเกียร์ D และจังหวะชลอรถ

การแก้ไขปัญหา : เข้าศูนย์บริการเพื่อปิด ระบบ Idle Boost หรือการทำงานของระบบชดเชยรอบเครื่องยนต์ เมื่อรอบเครื่องเดินเบา

  • อาการอืด ในช่วงความเร็ว 50-70 กม./ชม.

การแก้ไขปัญหา : เข้าศูนย์บริการ เพื่อทำการ Update แก้ไข ECM (Engine Control Module) หรือ กล่อง ECU นั่นเอง ทั้งนี้หลังจากการแก้ไขเสร็จสิ้น ปัญหาในการออกตัวดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

  • ไฟเตือนเบรคมือ, รถลื่นไถล, พวงมาลัยมีน้ำหนักมากขึ้น อย่างเห็นได้ชัด

การแก้ไขปัญหา : ปัญหานี้เกิดจาก Ground (กราวด์) หลวม (Ground คือ สายไฟที่เชื่อมต่อระบบไฟฟ้าภายในรถยนต์ทั้งหมด)

เข้าศูนย์บริการเพื่อแก้ไขให้ Ground ขันให้แน่น ทั้งนี้จากข้อมูลพบว่า มีผู้ใช้บางรายเกิดปัญหาขึ้นอีก หลังจากการแก้ไขปัญหาในครั้งแรกได้เช่นกัน

  • ขึ้นสัญลักษณ์เบรคมือ, และรถลื่นไถล และมีอาการขณะเข้าเกียร์แล้ว รถเดินสะดุดร่วมด้วย

การแก้ไขปัญหา : ปัญหานี้เกิดระบบไฟฟ้าในรถลัดวงจร (ถอดปลั๊กอุปกรณ์ภายในรถที่มีไฟเลี้ยงอยู่อย่างกระทันหัน) แล้วกระทบกระเทือนไปถึงกล่อง ECU จึงเกิดการอ่านค่าบางอย่างผิดเพื้ยนไป ทำให้กล่อง ECU เกิด Code Error ต้องเข้าศูนย์บริการเพื่อลบ Code ที่มีปัญหาดังกล่าว (ข้อมูลจากผู้ใช้บางรายแจ้งว่า ECU หาระบบ ABS ไม่เจอ)

  • พวงมาลัยมีเสียงเกิดขึ้นขณะเลี้ยว

การแก้ไขปัญหา : เข้าศูนย์บริการ แจ้งเครมแกนพวงมาลัย จากข้อมูลผู้ใช้ล่าสุด หลังจากผู้ใช้บางรายเข้าไปเปลี่ยนแกนพวงมาลัยมาแล้วนั้นพบว่าปัญหาดังกล่าวได้เกิดขึ้นอีก ปัญหาจึงไปตกอยู่ที่ Supplier อะไหล่ของชิ้นนี้อาจมีปัญหา

ดังนั้น อาจจะต้องทำเดินเรื่องเครมอะไหล่ชิ้นนี้หลายครั้ง จนกว่าทางบริษัท MG Thailand จะดำเนินการแก้ปัญหาการผลิตอะไหล่ชิ้นนี้ ให้มีคุณภาพที่ดีขึ้น

MG-With-Consumer-And-Towed-Car

ขอขอบคุณภาพจากคุณ Boonyaratdit Boonyarat

  • เมื่อหักพวงมาลัยโดยรถไม่เคลื่อนที่ มีเสียงดัง

สาเหตุปัญหาจากผู้ใช้งานจริง

ตอนออกจากปากซอย จะมีเนินเล็กๆ ระบบจะทำการล็อคล้อให้เพื่อให้รถไหล แต่ก็มีหักพวงมาลัยรอไว้แล้ว พอได้จังหวะก็เร่งเครื่องยนต์เพื่อออกรถ ระบบมันก็จะคลายล็อค หลังจากนั้นมาก็เจอปัญหาว่า พอหักพวงมาลัยโดยไม่เคลื่อนรถ จะมีเสียงดังกึก ดังมาก

การแก้ไขปัญหา : นำรถเข้าศูนย์บริการ ช่างทำการอัดจารบีให้ในจุดที่มีปัญหา (เครดิต @ลูกเจี๊ยบน้อย)

  • ปิดประตูรถยาก หรือใช้แรงมากกว่าปรกติ

สาเหตุ และการแก้ไขปัญหา : จากข้อมูลพบว่ารถที่ผลิตในบางล็อต อาจมีการเสื่อมสภาพของลูกยางตามขอบประตู ก่อนระยะเวลาที่ควรจะเป็น หรือเป็นปัญหาของคุณภาพยางที่ไม่ได้มาตรฐาน หรือผิดสเป็คไป แก้ไขได้ด้วยการนำรถเข้าศูนย์บริการเพื่อเปลี่ยนใหม่

  • คอมเพรสเซอร์แอร์เสีย, ตัดการทำงาน, แอร์ไม่เย็น

การแก้ไขปัญหา : เข้าศูนย์บริการ เพื่อใส่ชิ้นส่วนที่เรียกว่า ไดโอด เพื่อทำหน้าที่เรียงกระแสไฟ และกันไฟย้อน กระชาก ทำให้ยืดอายุการใช้งานของคอมเพรสเซอร์แอร์

สำหรับปัญหาของรถ MG ดังกล่าวนี้ หากรถคุณมีปัญหา สามารถนำรถเข้าแก้ไขที่ศูนย์บริการได้ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ (แต่อาจจะเสียเวลาหน่อย) เพราะเป็นปัญหาที่เกิดจากการผลิตรถยนต์ หรือชิ้นส่วนของ Supplier ที่ส่งให้กับทาง MG อีกที

MG-With-Consumer-And-Towed-Car

ปัญหาอะไหล่

หลายต่อหลายเคส ที่ผู้ใช้ MG ขับไปประสบอุบัติเหตุมา จะชนอะไรก็แล้วแต่ หรือการรอเปลี่ยนอะไหล่ชิ้นส่วนที่บกพร่อง เมื่อนำรถเข้าศูนย์บริการแล้ว กลับต้องใช้เวลารอนานกว่ารถตลาดทั่วไป นานกันไปจนถึงตั้งแต่ 1-3 เดือนเลยก็มี จนลูกค้าบางท่าน โทรไปจี้ทุกฝ่าย สอบถามตั้งแต่เซลล์ บริษัทประกัน และอู่ซ่อมรถ ก็ยังต้องรอ …

ซึ่งอะไหล่หลายอย่างที่ไม่มีผลิตในไทย อาจจะต้องรอนำเข้าจากต่างประเทศ การรออะไหล่นานหลายสัปดาห์ในปัจจุบันก็อาจจะเป็นเรื่องที่ “ผู้บริโภค” ไม่ประทับใจนัก หรืออาจจะเป็นความผิดพลาดทางการประสานงาน เช่น บริษัทประกันภัยอนุมัติช้า กว่าอู่จะทำเรื่องมาที่ศูนย์ ศูนย์เบิกของล่าช้า ช้าไปช้ามา เลยต้องรอหลายเดือน

MG-With-Consumer-And-Towed-Car

ปัญหาศูนย์บริการ

ปัญหาการซ่อมของศูนย์บริการ ซ่อมไม่จบ มีบ้างครับ เหมือนช่างไม่เก่ง หาสาเหตุไม่เจอ

ก่อนหน้านั้น MG จะมีปัญหาเรื่องศูนย์บริการที่น้อย แต่รถมีปัญหาหลายคันมาก ทำให้รถรับบริการเป็นจำนวนมากและต้องรอคิดยาว แต่ปัจจุบัน ศูนย์บริการ MG มีมากขึ้นในหลายๆ พื้นที่ ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด อาจจะแก้ปัญหาเรื่องศูนย์บริการน้อยลงไปได้บ้าง

ซึ่งศูนย์บริการที่ลูกค้าชม มีอยู่หลายที่ที่ให้บริการดี แต่ศูนย์บริการหลายที่ก็มีปัญหา มีลูกค้าด่ากันอยู่บ่อยๆ ถ้าอยากรู้ว่าศูนย์ไหน ก็คงต้องเข้ากลุ่ม Facebook ไปติดตามกันดู

สำหรับปัญหาต่างๆ ที่รวบรวมมาในครั้งนี้ มิได้เป็นการโจมตีรถแต่อย่างใด แต่เป็นเสียงของ “ผู้บริโภค” ที่ให้ความเชื่อมั่นและความไว้วางใจในการใช้รถ MG ทั้งนี้ ก็เป็นการรวบรวมปัญหา เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถแก้ปัญหาได้เองไปก่อนเฉพาะหน้า ไม่ต้องเป็น “ขวัญใจรถยก” กันเสมอไป

ก็ได้แต่หวังว่า ทาง MG Thailand ก็คงจะมีมาตรการในการรับมือ และแก้ปัญหา กันต่อไป ให้สมกับการรับประกันคุณภาพ 4 ปี/120,000 กม. ครับผม!

MG-With-Consumer-And-Towed-Car

ถ้าคุณตัดสินใจอยากขายรถคันเดิม เพื่อไปซื้อรถคันใหม่ หรือรับเป็นเงินก้อนไปใช้ สามารถขายรถคันเดิมกับ Carro ได้ ง่ายๆ ได้เงินไว! กับ Carro Express เพียงแค่คลิก https://th.carro.co/sell-car/express หรือสามารถ Inbox มาขอรายละเอียดได้ที่ Facebook Carro Thailand

หรือจะ Add Line สอบถามรายละเอียดได้ที่ @Carrothailand หรือคลิกที่นี่ครับ —> เพิ่มเพื่อน

แหล่งที่มา:

Car-Breakdown-On-Expressway

รถเสียบนทางด่วน ไม่ต้องตกใจ! โทรแจ้ง 1543 แล้วรอให้เจ้าหน้าที่มาช่วย

บริการพิเศษ เพื่อคุณคนพิเศษ

บริการพิเศษ เพื่อคุณคนพิเศษ

Posted by การทางพิเศษแห่งประเทศไทย on Wednesday, October 2, 2013

เรื่องราวบนท้องถนนนั้น เป็นเรื่องที่สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา โดยเฉพาะรถเก่า (หรือรถใหม่บางรุ่นก็ตาม) ซึ่งบางทีขับไปอยู่ๆ ก็เกิดเสีย ขัดข้องขึ้นมาได้ หรืออาจจะเกิดอุบัติเหตุ น้ำมันหมด ยางแตก ก็ตาม …

Car-Breakdown-On-Expressway

ภาพจาก Twitter pritcha

แต่ถ้าเกิดบนถนนธรรมดา ก็ไม่เท่าไหร่ แต่ดันไปเสีย ยางแตก หรือน้ำมันหมด บนทางด่วนนี่สิ! โชคร้ายเหมือนถูกหวย 90 ล้าน (แต่เป็นหวยปลอม) เลย เพราะจะต้องระวังกับเหตุที่จะเกิดขึ้นมาเพิ่มด้วย!

แต่ทุกปัญหาย่อมมีทางออก Carro ขอแนะนำหากรถเสียบนทางด่วน ต้องทำอย่างไร? เพื่อไม่ให้เกิดอุบัติเหตุซ้ำซ้อน ครับ.

Car-Breakdown-On-Expressway

  • เมื่อรู้ว่ารถเกิดปัญหาบนทางด่วน ไม่ว่าจะเหตุใดก็ตาม ตั้งสติให้ดี เเล้วนำรถเข้าชิดไหล่ทางด้านซ้ายของถนน เปิดไฟฉุกเฉินให้เรียบร้อย
  • โทรเเจ้ง 1543 EXAT Call Center สายด่วนการทางพิเศษแห่งประเทศไทย แจ้งเรื่อง เเจ้งพิกัดรถของคุณ สาเหตุอาการของรถ มีคนป่วยหรือบาดเจ็บในรถหรือไม่ หากต้องการรถลาก ควรเเจ้งเจ้าหน้าที่ให้พร้อม
  • หากโทรศัพท์มือถือแบตเตอรี่ดันหมด ให้เดินชิดไหล่ทางที่สุด หาโทรศัพท์ฉุกเฉินบนทางด่วน ที่ถูกติดตั้งไว้ทุกๆ 500 – 1,000 เมตร วิธีใช้ เพียงแค่กดปุ่ม ก็จะมีเจ้าหน้าที่รับสายที่ปลายทาง ให้แจ้งพิกัดหลัก กม. ของรถที่จอดเสียอยู่ โดยดูตัวเลขได้จากขอบทางฝั่งซ้ายเเละขวา แจ้งสาเหตุอาการของรถ และกลับไปนั่งรอในรถของท่าน เพื่อรอให้เจ้าหน้าที่ส่งทีมมาช่วยเหลือ
  • เปิดไฟสัญญาณฉุกเฉินไว้ตลอดเวลา

ขอบคุณข้อมูลจาก : การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) กระทรวงคมนาคม
– Pantip เมื่อผมยางแตกบนทางด่วน