รวมอัตราค่าเดินทางของคนกรุงเทพ

ระบบขนส่งสาธารณะในกรุงเทพ พร้อมใจกันขึ้นราคา เช็คราคาได้ที่นี่!

ทางเลือกการเดินทางของคนในเมืองกรุงนั้นมีมากมาย แต่ถ้าใครไม่มีรถยนต์ หรือมอเตอร์ไซค์ส่วนตัว คงต้องพึ่งบริการของรถสาธารณะในรูปแบบต่างๆ เพื่อโดยสารไปทำงาน หรือทำธุระต่างๆ ที่มีค่าใช้จ่ายสูง หรือถ้าถูกก็คุณภาพแย่ ใช้เวลาเดินทางนาน เสียเวลาและโอกาสในชีวิตไป

และตอนนี้ ปัญหาที่เกิดจากราคาน้ำมันแพง และภาวะเงินเฟ้อ ก็ทำให้ขนส่งสาธารณะในกรุงเทพมหานคร พร้อมใจกันปรับขึ้นราคาใหม่สูงขึ้นกันถ้วนหน้า ทำให้แต่ละคนมีภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทางเพิ่มขึ้น เดือดร้อนทุกหย่อมหญ้า แม้บางคนจะพยายามลดค่าใช้จ่าย ด้วยการตื่นเช้าเผื่อเวลาการเดินทาง แต่ก็พบว่า “ค่าใช้จ่ายหมวดค่าเดินทาง” ยังสูงถึงเกือบ 30% ของรายได้

ดังนั้น Carro จะมา Update ค่าเดินทางของระบบขนส่งมวลชนทุกรูปแบบทั่วกรุงเทพฯ ประจำปี 2565 กันครับ ไปดูกันเลย …

รถเมล์ ขสมก.

รถเมล์

รถเมล์ ขสมก. มีรถวิ่งบริการในเส้นทางต่างๆ รวม 348 เส้นทาง มีจำนวนรถทั้งสิ้น 7,478 คัน (ยอด ณ ธันวาคม 2564) แยกเป็นรถ ขสมก. รถธรรมดา 1,520 คัน รถปรับอากาศ 1,365 คัน และมีรถของบริษัทเอกชนที่ร่วมวิ่งบริการกับ ขสมก. รถร่วมบริการ รถธรรมดา 186 คัน รถร่วมบริการ รถปรับอากาศ 82 คัน รถมินิบัส 320 คัน รถเล็กในซอย 1,800 คัน รถตู้โดยสารปรับอากาศ 2,129 คัน และรถตู้ CNG เชื่อมต่อท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ 76 คัน

อัตราค่ารถเมล์ในปัจจุบัน

ประเภทรถ สีของรถ อัตราค่าโดยสาร เวลาบริการ
รถธรรมดา
ครีม- แดง
8 บาท ตลอดสาย (กะสว่างเพิ่ม 1.50 บาท)
04:00 – 24:00 น.
รถทางด่วน
ครีม – แดง
10 บาท ตลอดสาย
05:00 – 23:00 น.
รถบริการตลอดคืน
ครีม – แดง
9.50 บาท ตลอดสาย
23:00 – 05:00 น.
รถร่วมบริการ
ชมพู, ส้ม
10 บาท ตลอดสาย
05:00 – 22:00 น.
รถปรับอากาศ
ครีม-น้ำเงิน
12, 14, 16, 18, 20 บาท (ตามระยะทาง) ทางด่วนเพิ่มค่าบริการ 2 บาท
05:00 – 23:00 น.
รถปรับอากาศ(ยูโรทู)
เหลือง-ส้ม
13, 15, 17, 19, 21, 23, 25 บาท (ตามระยะทาง) ทางด่วนเพิ่มค่าบริการ 2 บาท
05.00 – 23.00 น.
รถปรับอากาศ ใช้ก๊าซ  NGV / ไฟฟ้า
ฟ้า, น้ำเงิน
15, 20, 25 บาท (ตามระยะทาง) ทางด่วนเพิ่มค่าบริการ 2 บาท
05.00 – 23.00 น.
สำหรับรถเมล์ ขสมก. สามารถใช้ “บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ” หรือบัตรคนจน จ่ายเงินค่ารถเมล์แทนเงินสดได้
ไทยสมายล์บัส TSB

เงื่อนไขการยกเว้นหรือลดหย่อนค่าโดยสาร:

ผู้ได้รับการยกเว้นค่าโดยสาร

  1. ผู้ตรวจการขนส่ง
  2. พระภิกษุ สามเณร
  3. แม่ชี(ที่ถือหนังสือรับรองการบวชจากสำนักปฏิบัติธรรมพร้อมบัตรประจำตัวประชาชน)
  4. บุรุษไปรษณีย์ในเครื่องแบบ (ขณะปฏิบัติหน้าที่)
  5. ผู้ถือบัตรประจำตัวพนักงานองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
  6. ผู้ถือบัตรหรือเหรียญตราของทางราชการ ที่ระบุไว้ว่ามีสิทธิยกเว้นค่าโดยสารประจำทาง
ผู้ได้รับการลดหย่อนค่าโดยสารครึ่งราคา

ผู้โดยสารที่ใช้บริการรถเมล์ของ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ มีสิทธิได้รับการลดหย่อนค่าโดยสารได้ในอัตราครึ่งราคา สำหรับบุคคลดังต่อไปนี้

  1. คนตาบอด ที่มีหนังสือรับรองของสมาคมคนตาบอด
  2. ทหาร ตำรวจ ในเครื่องแบบ
  3. ผู้ถือบัตรหรือเหรียญตราของทางราชการ ที่มีระเบียบระบุไว้ว่ามีสิทธิได้รับการลดหย่อนค่าโดยสาร รถประจำทางครึ่งราคา เสียค่าโดยสารครึ่งราคา
  4. ผู้สูงอายุตามพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พุทธศักราช 2546 แสดงบัตรประจำตัวประชาชนเมื่อมาใช้บริการรถโดยสาร ประจำทางขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพและรถของผู้ ประกอบการที่เดินรถร่วมกับองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
  5. ผู้พิการทุกประเภท ได้แก่ คนพิการที่เห็นเป็นประจักษ์ หรือคนพิการที่ถือบัตรสมาชิกสมาคมคนพิการสมาคม ใดสมาคมหนึ่ง ในเส้นทางรถโดยสารประจำทาง หมวด 1 ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทาง ต่อเนื่องและหมวด 4 กรุงเทพมหานคร

ตั๋วรายสัปดาห์ - ตั๋วเดือน ขสมก.

เงื่อนไขการใช้ตั๋วรายสัปดาห์และรายเดือน

ผู้ซื้อตั๋วรายสัปดาห์และรายเดือน (เฉพาะรถหมวด 1) โดยมีเงื่อนไขการใช้ตั๋ว ดังนี้

  1. ผู้ซื้อตั๋วรายสัปดาห์ และรายเดือนสามารถใช้เดินทางไปกับรถขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ทุกสาย (ยกเว้นรถเอกชนร่วมบริการ) ไม่จำกัดจำนวนเที่ยวภายในวันที่ที่กำหนดไว้ในตั๋ว
  2. ผู้ซื้อตั๋วรายสัปดาห์และรายเดือนของรถธรรมดา ไม่สามารถเดินทางด้วยรถปรับอากาศได้
  3. ผู้ซื้อตั๋วรายสัปดาห์และรายเดือนของรถปรับอากาศ สามารถเดินทางด้วยรถธรรมดาได้ด้วย
  4. ผู้ซื้อตั๋วรายสัปดาห์และรายเดือน สามารถใช้บริการได้กับรถทุกชนิดที่องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ จัดให้มีบริการอยู่ในปัจจุบัน โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมเพิ่ม (รถบริการบนทางด่วน รถบริการตลอดคืน)
เงื่อนไขการใช้บัตรเดือนสำหรับนักเรียน นิสิต นักศึกษา

บัตรล่วงหน้าอิเล็กทรอนิกส์ประเภทรายเดือนสำหรับนักเรียน นิสิต นักศึกษา (เฉพาะรถหมวด 1) โดยมีเงื่อนไขการใช้บัตร ดังนี้

  1. นักเรียน นิสิต นักศึกษาในเครื่องแบบ หรือแสดงบัตรประจำตัวนักเรียน นิสิต นักศึกษา
  2. ใช้เดินทางได้กับรถองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพทุกสาย (ยกเว้นรถเอกชนร่วมบริการ) ไม่จำกัดจำนวนเที่ยว ภายในวันที่ที่กำหนดไว้ในบัตร
  3. บัตรเดือนรถธรรมดาไม่สามารถเดินทางด้วยรถปรับอากาศได้
  4. บัตรเดือนรถปรับอากาศสามารถเดินทางด้วยรถธรรมดาได้ด้วย
  5. สามารถใช้บริการได้กับรถทุกลักษณะ ที่องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพจัดให้มีบริการอยู่ในปัจจุบัน โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมเพิ่ม (รถบริการบนทางด่วน รถบริการตลอดคืน)

รถตู้ร่วมบริการ ขสมก.

รถตู้

คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง อนุมัติปรับเพิ่มอัตราค่าโดยสารรถประจำทางรถทัวร์รถตู้ กิโลเมตรละ 5 สตางค์ เริ่มตั้งแต่วันที่ 4 กรกฎาคม 2565

สำหรับคนที่โดยสารรถตู้บ่อยๆ คุณสามารถเช็คราคา ที่ประกาศไว้ในเว็บไซต์กรมการขนส่งทางบกได้เลย

รถไฟฟ้า BTS

รถไฟฟ้า BTS

BTS ได้ประกาศปรับขึ้นราคาค่าโดยสาร มีผลตั้งแต่ 1 ต.ค. 60 นี้เป็นต้นไป หลังผ่านมา 4 ปียังไม่เคยปรับขึ้นค่าโดยสารเลย โดยจะปรับขึ้นสถานีละ 1-2 บาทเท่านั้น สามารถคำนวณค่าโดยสารได้ที่นี่

ราคาค่าโดยสาร BTS สายสีเขียว มีอัตราค่าโดยสารดังนี้

  • 1 สถานี ราคา 16 บาท
  • 2 สถานี ราคา 23 บาท
  • 3 สถานี ราคา 26 บาท
  • 4 สถานี ราคา 30 บาท
  • 5 สถานี ราคา 33 บาท
  • 6 สถานี ราคา 37 บาท
  • 7 สถานี ราคา 40 บาท
  • 8 สถานีถึง 15 สถานี ราคา 44 บาท
  • 16 สถานีขึ้นไป ราคา 59 บาท

ส่วนอัตราค่าโดยสาร BTS ในส่วนต่อขยายสายสีเขียว (ของ กทม. และ รฟม. ในอนาคต) มีราคาอยู่ที่ 15 บาท และถ้าต้องการโดยสารเข้าเขตสัมปทานของ BTS จะต้องบวกราคาตามระยะทางแต่ละสถานีไป 3-4 บาท

รวมจุดพักรถ ที่จอดรถฟรี ค่าผ่านทางฟรี พร้อมส่วนลด ต้อนรับเทศกาลปีใหม่ 2565

รถไฟฟ้า MRT

อัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล หรือ รถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน ร่วมกับ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BEM) ในฐานะผู้รับสัมปทาน จะคงอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน ในราคาเดิม เริ่มต้นที่ 17 บาท สูงสุด 42 บาท สามารถคำนวณค่าโดยสารได้ที่นี่

พร้อมส่วนลดพิเศษสำหรับเด็กและผู้สูงอายุ 50% และสำหรับนักเรียน นักศึกษา 10 % ของอัตราค่าโดยสารบุคคลทั่วไป ต่อเนื่องไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565

ซึ่งจากเดิม การปรับอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ตามดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ที่กำหนดในสัญญาสัมปทาน จากปัจจุบันอัตราค่าโดยสารเริ่มต้นที่ 17 ถึง 42 บาท เป็น 17 ถึง 43 บาท โดยเพิ่มขึ้น 1 บาท สำหรับการเดินทางสถานีที่ 6 9 11 และ 12 ซึ่งจะมีผลตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคม 2565 เป็นต้นไปนั้น

แต่เพื่อเป็นการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ประชาชน และลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชนในภาวะค่าครองชีพสูง จึงได้คงอัตราค่าโดยสารไว้ก่อน

สำหรับ ค่าโดยสารรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน ปัจจุบันเริ่มต้นที่ 17 บาท โดยมีอัตราสูงสุดตั้งแต่ 12 สถานีขึ้นไปอยู่ที่ 42 บาท

รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง รฟท.

รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง (SRTET)

เปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 05.30 น.-24.00 น. ให้บริการตามตารางเวลาเดินรถปกติ โดยให้บริการรถไฟจำนวน 8 ขบวน อัตราค่าโดยสารเริ่มต้น 12 บาท สูงสุดไม่เกิน 42 บาท

รถไฟฟ้า Airport Rail Link

สำหรับรถไฟฟ้า Airport Link (หรือ ARL = Airport Rail Link) ยังคงอัตราค่าโดยสารไว้เริ่มต้นที่ 15 บาท สูงสุดไม่เกิน 45 บาท สามารถคำนวณค่าโดยสารได้ที่นี่

เรือด่วนเจ้าพระยา

เรือด่วนเจ้าพระยา ประกาศปรับขึ้นอัตราค่าโดยสารเรือธงส้ม ธงเหลือง ธงเขียว ขึ้น 1 บาทจากอัตราเดิมทุกประเภท ยกเว้นเรือปรับอากาศธงแดง เหตุราคาน้ำมันดีเซลพุ่งขึ้นสูงอย่างต่อเนื่อง เริ่ม 15 มิ.ย. นี้

พร้อมแจ้งการเปลี่ยนแปลงเวลาการให้บริการเรือโดยสาร ตั้งแต่วันศุกร์ที่ 1 กรกฎาคม 2565 เป็นต้นไป

ธงส้ม ค่าโดยสาร 16 บาทตลอดสาย ให้บริการทุกวัน

จากนนทบุรี จันทร์-ศุกร์ 06.00-18.10 น.
*เรือโรงเรียน นนทบุรี-สร้อยทอง 7.00 น.
*เรือเสริม พระราม 5-พรานนก 06.45 | 07.05 น.
เสาร์และหยุดนักขัตฤกษ์ 07.30-17.00 น.
อาทิตย์ 09.00-17.00 น.

จากวัดราชสิงขร จันทร์-ศุกร์ 06.00-18.10 น.
เสาร์และหยุดนักขัตฤกษ์ 08.30-17.30 น.
อาทิตย์ 10.30-17.30 น.

ธงเหลือง ค่าโดยสาร 21 บาทตลอดสาย ให้บริการ จันทร์-ศุกร์
จากนนทบุรี 06.00-08.05 น. 8 เที่ยว
จากสาทร 16.35-19.05 น. 8 เที่ยว

ธงเขียว ค่าโดยสาร ปากเกร็ด-นนทบุรี 14 บาท, นนทบุรี-สาทร 21 บาท, ปากเกร็ด-สาทร 33 บาท ให้บริการ จันทร์-ศุกร์
จากปากเกร็ด 06.00-07.50 น. 5 เที่ยว
จากสาทร 15.50-17.45 น. 5 เที่ยว

ธงแดง ค่าโดยสาร 30 บาทตลอดสาย (ราคาปกติ 50 บาท) ให้บริการ จันทร์-ศุกร์
จากนนทบุรี 06.15 | 06.50 | 07.10 | 07.25 น.
จากสาทร 16.05 | 16.25 | 17.00 | 17.30 น.

เรือคลองแสนแสบ

เรือคลองแสนแสบ

ส่วนเรือคลองแสนแสบ ขึ้นค่าโดยสารระยะละ 1 บาท จากราคาเดิมแต่ละระยะ 10 ,12 ,14 , 16 ,18 ,20 บาท ส่งผลให้ค่าโดยสารเริ่มต้นคือ 11 – 21 บาท ตั้งแต่ 1 กรกฏาคม 2565

บริษัท ครอบครัวขนส่ง (2002) จำกัด ผู้ให้บริการเดินเรือโดยสารคลองแสนแสบ ปรับค่าโดยสารเพิ่มอีก 1 บาท ตามระยะทาง เพื่อให้สอดคล้องกับประกาศ กรมเจ้าท่า เรื่องกำหนดอัตราค่าโดยสารเรือกลเดินประจำทางในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ตามช่วงราคาน้ำมันดีเซล 29.01-31 บาท/ลิตร แต่ปัจจุบัน น้ำมันดีเซลราคาพุ่งสูงถึงลิตรละ 34.94 บาท อีกทั้ง สภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันที่อัตราเงินเฟ้อพุ่งสูงขึ้น ค่าครองชีพฝืดเคือง จึงไม่สามารถแบกรับภาระต้นทุนจำนวนมาก

เรือข้ามฟาก

เรือข้ามฟาก

เรือข้ามฟาก ปรับขึ้นราคาค่าโดยสารเที่ยวละ 50 สตางค์ มีผลเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2565 เป็นต้นไป

1. เรือข้ามฟาก ท่าเรือบางศรีเมือง-ท่าน้ำนนทบุรี ปรับราคาเป็น 4 บาท/เที่ยว

2. เรือข้ามฟาก ท่าเรือวัดระฆัง-ท่าเรือวังหลัง ปรับราคาเป็น 4 บาท/เที่ยว

3. เรือข้ามฟาก ท่าเรือท่ารถไฟ-ท่าพระจันทร์ ปรับราคาเป็น 4 บาท/เที่ยว

4. เรือข้ามฟาก ท่าเรือวังหลัง-ท่าพรานนก ปรับราคาเป็น 4 บาท/เที่ยว

5. เรือข้ามฟาก ท่าเรือท่าเตียน-วัดอุรณ ปรับราคาเป็น 4.50 บาท/เที่ยว

6. เรือข้ามฟาก ท่าน้ำราชวงศ์-ดินแดง ปรับราคาเป็น 4 บาท/เที่ยว

7. เรือข้ามฟาก ท่าน้ำสี่พระยา-ท่าเรือคลองสาน ปรับราคาเป็น 5 บาท/เที่ยว

8. เรือข้ามฟาก ท่าเรือโอเรียนเต็ล-ท่าเรือวัดสุวรรณ ปรับราคาเป็น 4.50 บาท/เที่ยว

รถไฟ รฟท.

รถไฟ

ในวันที่ 21 สิงหาคม 2560 ที่ผ่านมา รถไฟได้มีการประกาศขอปรับขึ้นราคาค่าโดยสาร โดยปรับเพิ่มขึ้นเฉพาะรถรุ่นใหม่ 115 คัน จำนวน 8 ขบวน ในอัตรา 15-20% หรือเพิ่มขึ้น 150-200 บาทต่อเที่ยว ใน 4 เส้นทาง คือ ดังนี้

เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่-กรุงเทพฯ

เส้นทางกรุงเทพฯ-อุบลราชธานี-กรุงเทพฯ

เส้นทางกรุงเทพฯ- หนองคาย-กรุงเทพฯ

เส้นทางกรุงเทพฯ-หาดใหญ่-กรุงเทพฯ

จึงไม่มีการปรับขึ้นอะไรใดๆ ในช่วงเวลานี้อีก

ส่วนค่าโดยสาร รฟท. สำหรับผู้สูงอายุ 60 ปี ขึ้นไป จะมีลดราคาในวันที่ 1 มิ.ย.- 30 ก.ย. ของทุกปี เพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 และประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ที่กำหนดให้หน่วยงานรับผิดชอบในการดำเนินการตามประกาศกระทรวงคมนาคม ฉบับลงวันที่ 1 กันยายน 2547

โดยให้แต่ละหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการคุ้มครอง การส่งเสริม และการสนับสนุนแก่ผู้สูงอายุในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งสาธารณะ

1. หลักเกณฑ์การลดค่าโดยสารครึ่งราคา
1.1 ช่วงลดราคา ลดให้เฉพาะช่วงระหว่างเดือนมิถุนายน-กันยายน ทุกปี
1.2 ผู้ที่ได้รับสิทธิ ได้แก่ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป เฉพาะคนไทยหรือผู้มีสัญชาติไทยเท่านั้น

2. การลดค่าโดยสาร
2.1 ลดให้เฉพาะค่าโดยสาร คิดครึ่งราคาของอัตราปกติทุกชั้นตลอดทางทุกสาย ส่วนค่าธรรมเนียมต่างๆ ไม่ลดให้
2.3 หลักฐานที่ใช้แสดงขอลดค่าโดยสารประเภทผู้สูงอายุ ได้แก่บัตรประจำตัวประชาชน หรือเอกสารแสดงตัวบุคคลที่ทางราชการออกให้ โดยมีรูปถ่าย ชื่อ นามสกุล อายุ เดือนปีเกิด ซึ่งสามารถใช้เป็นหลักฐานคำนวณอายุได้ เช่น บัตรประจำตัวประชาชน ใบขับขี่ หรือหนังสือเดินทางไปต่างประเทศ

3. การคำนวณอายุผู้สูงอายุ
3.1 ให้คำนวณจากเดือนและปีที่เกิด ถึงเดือนและปีปัจจุบันเป็นเกณฑ์ เช่น ผู้ที่เกิดวันที่ 31 พฤษภาคม 2495 มีสิทธิลดค่าโดยสารฯ ได้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2565 เป็นต้นไป (ไม่ต้อนับวันเกิด)

เป็นอย่างไรกันบ้าง กับอัตราค่าเดินทางของรถสาธารณะในรูปแบบต่างๆ ทั่วกรุงเทพ โดยรวมแล้วบางบริการขึ้นมาเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่บางบริการก็ขึ้นหลักหลายสิบบาท หากนานๆครั้งใช้ก็ดูไม่แพงขึ้นสักเท่าไร แต่หากต้องใช้ไปและกลับทุกวัน คงกระทบต่อผู้ใช้อยู่ไม่น้อยเลย แต่สำหรับใครที่มีรถยนต์ส่วนตัวและต้องใช้บริการทางด่วน จึงอยากรู้ ‘การทางพิเศษแห่งประเทศไทย’ มีการปรับขึ้นหรือไม่ อ่านต่อที่นี่

Carro Express ขายรถกับคาร์โร อยากขายรถ ขายรถด่วน

สำหรับใครที่อยากขายรถคันเดิม ไปซื้อรถยนต์คันใหม่ มาขายรถกับทาง Carro Express สิ! คลิกเลยที่ https://th.carro.co/sell-car/express รับรองได้เงินเร็ว ไว ทันใจแน่นอน!

Carro Automall ตลาดรถ

ส่วนใครเบื่อใช้บริการระบบขนส่งมวลชนแล้ว สนใจจะซื้อรถมือสองมาขับ Carro แหล่งรวมรถมือสองคุณภาพเยี่ยมผ่านระบบออนไลน์ คุณสามารถจองรถได้ในเวลาเพียง 1 นาทีเท่านั้น! พร้อมคำนวณสินเชื่อและค่างวด ได้ภายในเว็บไซต์ทันที!

ซึ่ง Carro เรามีรถให้คุณเลือกมากมาย รถทุกคันผ่านการตรวจสภาพโดย Carro Certified อย่างละเอียดแบบ Double Check มากกว่า 160 จุด, การันตีคืนเงินภายใน 5 วัน, รับประกันเครื่องยนต์และเกียร์ 1 ปี, รับประกันไม่กรอไมล์ และไม่ประสบอุบัติเหตุหนัก ไฟไหม้ หรือน้ำท่วม พร้อมรับประกันคุณภาพรถ 1 ปี หรือ 30,000 กิโลเมตร!

อีกทั้งยังมีเทคโนโลยี “360 View & Sound Engine Analysis” เลือกชมรถยนต์เสมือนจริงออนไลน์รายแรกในไทย ทั้งภาพและเสียงในรูปแบบ 360 องศา รวมถึงมีเทคโนโลยีสนับสนุนฝ่ายขาย ทั้ง Digital Device ที่เชื่อมต่อกับ Digital Screen นำเสนอสิ่งที่ลูกค้าต้องการ และจัดการเรื่องเอกสารให้กับลูกค้าให้ตั้งแต่ต้นจนจบ บวกกับ Online Viewing Service ที่ลูกค้าสามารถวิดีโอคอล ตรวจสภาพรถยนต์คันที่สนใจได้แบบเรียลไทม์ ซื้อรถคุณภาพเยี่ยม ต้องที่ Carro สิ!

หรือถ้าหากคุณสนใจรถรุ่นไหนอยู่ แต่ยังหาที่ถูกใจไม่ได้ เรายินดีหาให้! เพียงกรอกชื่อ-เบอร์โทรศัพท์ และรถที่คุณสนใจ ไว้ที่ “รับการแจ้งเตือน” เมื่อมีรถที่คุณต้องการ Carro จะรีบติดต่อไปยังคุณทันที สอบถามรายละเอียดได้ที่ Facebook -> Carro Thailand โทร. 02-460-9380 หรือทาง Line @carrothai

10-Very-Old-SRT-Train-Locomotive

พูดถึงเรื่องรถไฟไทยในบ้านเรา หลายคนอาจคาดไม่ถึงว่า มีประวัติอันยาวนานมากๆ ตั้งแต่ยุคก่อนรัชกาลที่ 5 ซะอีก

ในปี 2398 รัฐบาลสหราชอาณาจักร ให้ Sir John Bowring (เซอร์ จอห์น เบาริง) ผู้สำเร็จราชการเกาะฮ่องกง ที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นอัครราชทูตผู้มีอำนาจเต็ม พร้อมด้วย Mr. Harry Smith Parkes (มิสเตอร์ แฮรี่ สมิท ปาร์ค) กงสุลเมืองเอ้หมึง เป็นอุปทูต เดินทางโดยเรือรบหลวงอังกฤษ เข้ามาเจรจาขอแก้ไขสนธิสัญญาทางราชไมตรีฉบับที่รัฐบาลอังกฤษที่อินเดีย ทำไว้กับรัฐบาลสยามเมื่อ 20 มิถุนายน 2369

พร้อมกับอัญเชิญพระราชสาส์น และเครื่องราชบรรณาการของสมเด็จพระนางวิคตอเรีย แห่งสหราชอาณาจักร ทูลเกล้าฯ ถวาย รัชกาลที่ 4 ด้วย อาทิ รถไฟจำลองย่อส่วนจากของจริง ประกอบด้วย รถจักรไอน้ำ และรถพ่วงครบขบวน เดินบนรางด้วยแรงไอน้ำแบบเดียวกับรถใหญ่ที่ใช้อยู่ในอังกฤษ (ขณะนี้รถไฟเล็ก เก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ)

แต่รถไฟในบ้านเรา กว่าจะได้กำเนิดขึ้นจริงๆ ก็ในยุคของรัชกาลที่ 5 เนื่องมาจากนโยบายขยายอาณานิคมของอังกฤษและฝรั่งเศส แผ่มาครอบคลุมบริเวณแหลมอินโดจีน จึงต้องสร้างทางรถไฟขึ้นในประเทศเพื่อติดต่อกับมณฑลชายแดนก่อนอื่น เพื่อสะดวกแก่การปกครอง ตรวจตราป้องกันการรุกราน และเปิดภูมิประเทศให้ประชาชนพลเมืองเข้าบุกเบิกพื้นที่

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระราชทานพระบรมราชานุมัติให้กระทรวงโยธาธิการ ว่าจ้าง Mr. G. Murray Campbell (จี. มูเร แคมป์เบลล์) สร้างทางรถไฟหลวงจากกรุงเทพฯ – นครราชสีมา เป็นสายแรก เป็นทางขนาดกว้าง 1.435 เมตร และได้เสด็จพระราชดำเนินประกอบพระราชพิธีกระทำพระฤกษ์ เริ่มสร้างทางรถไฟ ณ บริเวณย่านสถานีกรุงเทพ เมื่อ 9 มีนาคม 2434

จนกระทั่งแล้วเสร็จในปี 2443 รัชกาลที่ 5 จึงได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดการเดินรถสายนี้ เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2443

แต่หลายคนมักชอบพูดถึงว่า รถไฟไทย (โดยเฉพาะตัวรถจักร) ใช้มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นความเชื่อผิดๆ และออกไปแนวทางเสียดสีมากกว่า MR.CARRO จึงขอพาไปดูรถไฟของ รฟท. ที่ยังมีใช้การในปัจจุบันกัน ว่ายังมีเหลือใช้งานกันได้อยู่กี่รุ่นบ้าง

Davenport-500

1. Davenport 500HP

รถจักรดีเซลไฟฟ้า Davenport รุ่น 500 แรงม้า การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้นำเข้ามาใช้งานเมื่อปี 2507 จำนวน 30 คัน หมายเลข 511 – 540 สร้างโดย บริษัท Davenport Locomotive Works ประเทศสหรัฐอเมริกา ราคาคันละ 1,164,816.56 บาท (ในตอนนั้น)

ใช้เครื่องยนต์ Caterpillard.397 500 แรงม้า น้ำหนักกดเพลา 12 ตัน การจัดวางล้อแบบ Bo-Bo วิ่งบนทางขนาดทาง 1 เมตร ทำความเร็วได้สูงสุด 82 กม./ชม.

มิติตัวรถยาว 9,893.2 มม. กว้าง 2,801.15 มม. สูง 3,848.1 มม. น้ำหนัก 48,124 กิโลกรัม

ปัจจุบันถูกตัดบัญชีไปเกือบหมดแล้ว จอดทิ้งอยู่ตามโรงรถจักร และในพื้นที่โรงงานรถไฟ คงและมีเหลือใช้งานสับเปลี่ยน ภายในย่านสถานีใหญ่ๆ ตามต่างจังหวัดเพียงไม่กี่คัน โดยคันที่ยังวิ่งได้ อาทิหมายเลข 527 เป็นต้น

GE-GEK

2. GE UM12C (GEK)

รถจักรดีเซลไฟฟ้า GE รุ่น UM12C หรือ GEK การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้นำเข้ามาใช้งานเมื่อปี 2507 จำนวน 40 คัน หมายเลข 4001 – 4040 สร้างโดย บริษัท General Electric ประเทศสหรัฐอเมริกา ราคาคันละ 4,590,384.30 บาท (ในตอนนั้น)

เครื่องยนต์ตอนแรกนั้นใช้ KT38-L ภายหลังเปลี่ยนเป็นเครื่องยนต์ Cummins KT38-L ขนาด 38,000 ซีซี. 12 สูบ 2 เครื่องยนต์ 1320 แรงม้า ที่ 1,985 รอบ/นาที น้ำหนักกดเพลา 12.5 ตัน การจัดวางล้อแบบ Co-Co วิ่งบนทางขนาดทาง 1 เมตร ทำความเร็วได้สูงสุด 103 กม./ชม. (แต่ถูกกำหนดไว้ที่ 90 กม./ชม.)

มิติตัวรถยาว 16,288 มม. กว้าง 2,794 มม. สูง 3,753 มม. น้ำหนัก 86,500 กิโลกรัม *ปัจจุบัน 70.178 ตัน (เมื่อจอดนิ่ง) / 75.00 ตัน (ขณะทำขบวน)

และรุ่นที่สอง (ปี 2509) รถจักรหมายเลข 4041 – 4050 โดยทางสหรัฐอเมริกาจัดหามาทดแทนรถจักรดีเซลไฮดรอลิก Plymouth ที่การรถไฟฯ ได้รับมอบจากอเมริกามาก่อนหน้านี้ 10 คัน ซึ่งทางอเมริกาจะนำรถจักร Plymouth ไปใช้ต่อที่ประเทศเวียดนามใต้

รถจักรดีเซลไฟฟ้า GE ปัจจุบันยังคงใช้งานทำขบวนรถโดยสารของ รฟท. อยู่ แม้ว่าจะมีอายุการใช้งาน 50 กว่าปีแล้วก็ตาม แต่ก็ยังใช้งานได้ดี ทั้งทำขบวนรถโดยสาร รถสินค้า หรือรถสับเปลี่ยน โดยคงเหลือใช้การได้ทั้งหมด 45 คัน และตัดบัญชีไป 5 คัน

Krupp

3. Krupp (KP)

รถจักรดีเซลไฮดรอลิก Krupp การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้นำเข้ามาใช้งานเมื่อปี 2512 จำนวน 30 คัน หมายเลข 3101 – 3130 สร้างโดย บริษัท Krupp ประเทศเยอรมนี ราคาคันละ 4,530,907.06 บาท (ในตอนนั้น)

เครื่องยนต์ตอนแรกนั้นใช้ MB.835D6 (MTU) 12 สูบ 2 เครื่องยนต์ 1500 แรงม้า การจัดวางล้อแบบ Bo-Bo วิ่งบนทางขนาดทาง 1 เมตร ทำความเร็วได้สูงสุด 90 กม./ชม.

มิติตัวรถยาว 12,800 มม. กว้าง 2,800 มม. สูง 3,875 มม. น้ำหนัก 55,000 กิโลกรัม

สำหรับความพิเศษของรถจักร Krupp ด้วยการทำงานแบบดีเซลไฮดรอลิค ทำให้สามารถวิ่งลุยน้ำท่วมทางรถไฟที่สูงเกินกว่า 10 ซม. ได้ ปัจจุบันเหลือวิ่งได้แค่เพียงคันเดียว คือหมายเลข 3118 เนื่องจากปัญหาการซ่อมแซม อะไหล่ที่หายาก ทำให้รถจักรรุ่นนี้ ถูกตัดบัญชีไปจนเกือบหมด และบางส่วนถูกขายให้บริษัทก่อสร้างทางรถไฟของประเทศมาเลเซีย ซื้อไปซ่อมแซมใช้งานต่อ

Alsthom-ALS

4. Alsthom AD24C (ALS)

รถจักรดีเซลไฟฟ้า Alsthom รุ่น AD24C หรือ ALS (ย่อมาจาก Alsthom France) การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้นำเข้ามาใช้งานเมื่อเดือนกรกฎาคม – ธันวาคม 2517 (หมายเลข 4101 – 4130) และมกราคม – มิถุนายน 2518 (หมายเลข 4131 – 4154) จำนวน 54 คัน หมายเลข 4101 – 4154 สร้างโดย บริษัท Alsthom Atlantique ประเทศฝรั่งเศส ราคาคันละ 11,060,252.11 บาท (ในตอนนั้น) ซึ่งเป็นการจัดซื้อเพื่อทดแทนรถจักรไอน้ำ ที่กำลังทยอยปลดระวาง

เครื่องยนต์ตอนแรกนั้นใช้ SEMT Pielstick 16PA4V185VG ขนาด 70,000 ซีซี. 16 สูบ เครื่องยนต์เดียว ให้แรงม้าสูงสุด 2,400 แรงม้า ที่ 1,500 รอบ/นาที น้ำหนักกดเพลา 13.75 ตัน การจัดวางล้อแบบ Co-Co วิ่งบนทางขนาดทาง 1 เมตร ทำความเร็วได้สูงสุด 95 กม./ชม.

ภายหลังเปลี่ยนเป็นเครื่องยนต์หลากหลายแบบ เริ่มตั้งแต่ของ Ganz ตอนหลังจึงเปลี่ยนมาเป็น MTU 16V4000R41R, Caterpillar 3516BHD แต่ก็ยังมีคันที่ใช้เครื่องยนต์เดิมอยู่เพียงไม่กี่คัน

มิติตัวรถยาว 16,258 มม. กว้าง 2,800 มม. สูง 3,880 มม. น้ำหนักตัวรถ 77.50 ตัน (เมื่อจอดนิ่ง) / 82.50 ตัน (ขณะทำขบวน)

รุ่นนี้นับได้ว่าเป็นรถจักรรุ่นยอดนิยมมากที่สุดของ รฟท. เพราะมีการสั่งผลิตถึง 4 ครั้งด้วยกัน และเป็นที่นิยมในการใช้งานแทบทุกรูปแบบ ตั้งแต่การทำขบวนรถธรรมดา รถเร็ว รถด่วน หรือรถสินค้า รถน้ำมัน เป็นต้น

Alsthom-AHK

5. Alsthom AD24C (AHK)

รถจักรดีเซลไฟฟ้า Alsthom รุ่น AD24C หรือ AHK (ย่อมาจาก Alsthom Henshel Krupp) การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้นำเข้ามาใช้งานเมื่อปี 2523 – 2524 จำนวน 30 คัน หมายเลข 4201 – 4230 สร้างโดย บริษัท Alsthom, Henschel/Krupp ประเทศฝรั่งเศส และเยอรมนี โดยได้รับลิขสิทธิ์โครงประธาน (แชสซีส์) จาก Alsthom ราคาคันละ 23,541,744.98 บาท (ในตอนนั้น)

สำหรับมิติตัวรถ และรายละเอียดเครื่องยนต์ เหมือนกัน Alsthom (ALS) ทุกอย่าง เพียงแต่องค์ประกอบตัวรถภายนอก มีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อยในบางจุดเท่านั้น เช่น ด้านหน้ามีช่องเกี่ยวให้เครนยก เข้าบริเวณด้านใน พร้อมทำความเร็วได้สูงสุดเป็น 100 กม./ชม. และบางคันได้เป็นไปใช้เครื่องยนต์ของ MTU 16V4000R41R และ Caterpillar 3516BHD

Alsthom-ALD

6. Alsthom AD24C (ALD)

รถจักรดีเซลไฟฟ้า Alsthom รุ่น AD24C หรือ ALD (ย่อมาจาก Alsthom Atlantique Dynamic Brake) การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้นำเข้ามาใช้งานเมื่อปี 2526 จำนวน 9 คัน หมายเลข 4301 – 4309 สร้างโดย บริษัท Alsthom Atlantique ประเทศฝรั่งเศส ราคาคันละ 26,919,211.15 บาท (ในตอนนั้น)

สำหรับมิติตัวรถ และรายละเอียดเครื่องยนต์ เหมือนกัน Alsthom (ALS) ทุกอย่าง เพียงแต่องค์ประกอบตัวรถภายนอก มีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อยในบางจุดเท่านั้น เช่น ด้านหน้ามีช่องเกี่ยวให้เครนยก ติดตั้งออกบริเวณด้านนอก และบางคันได้เป็นไปใช้เครื่องยนต์ของ Caterpillar 3516BHD

Alsthom-ADD

7. Alsthom AD24C (ADD)

รถจักรดีเซลไฟฟ้า Alsthom รุ่น AD24C หรือ ADD (ย่อมาจาก Alsthom Atlantique Dynamic & Dual) การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้นำเข้ามาใช้งานเมื่อปี 2528 จำนวน 20 คัน หมายเลข 4401 – 4420 สร้างโดย บริษัท Alsthom Atlantique ประเทศฝรั่งเศส ราคาคันละ 42,387,625.24 บาท (ในตอนนั้น)

สำหรับมิติตัวรถ และรายละเอียดเครื่องยนต์ เหมือนกัน Alsthom (ALS) ทุกอย่าง เพียงแต่องค์ประกอบตัวรถภายนอก มีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อยในบางจุดเท่านั้น เช่น ด้านหน้าบริเวณแค็บ มีราวเหล็กติดตั้ง และบางคันได้เป็นไปใช้เครื่องยนต์ของ MTU 16V4000R41R และ Caterpillar 3516BHD

Hitachi-HID

8. Hitachi 8FA-36C (HID)

รถจักรดีเซลไฟฟ้า Hiatchi รุ่น 8FA-36C หรือ HID (ย่อมาจาก Hitachi DualBrake) มีจำนวน 22 คัน หมายเลข 4501 – 4522 สร้างโดย บริษัท Hitachi ที่โรงงาน Mito ประเทศญี่ปุ่น ราคาคันละ 75,059,743 บาท (ในตอนนั้น)

เริ่มทำการสร้างรถในสายการผลิตของโรงงานประมาณ เดือนตุลาคม 2535 กำหนดแล้วเสร็จครบถ้วนประมาณเดือนตุลาคม 2536 และรถจักร 4 คันแรก (4501 – 4504) กำหนดส่งเรือถึงประเทศไทยประมาณเดือน กรกฎาคม 2536

เครื่องยนต์เป็นแบบ KTTA50-L ขนาด 8,000 ซีซี. 16 สูบ 2 เครื่องยนต์ 1,430 แรงม้า ที่ 1,800 รอบ/นาที (ปัจจุบันได้มีการลด Stage Turbo เหลือแค่ 1250 แรงม้า X 2 และเปลี่ยนรหัสเครื่องยนต์เป็น KTA-50L เหมือน GEA) น้ำหนักกดเพลา 15 ตัน การจัดวางล้อแบบ Co-Co วิ่งบนทางขนาดทาง 1 เมตร ทำความเร็วได้สูงสุด 100 กม./ชม.

มิติตัวรถยาว 19,900 มม. กว้าง 2,780 มม. สูง 3,870 มม. น้ำหนัก 86.50 ตัน (เมื่อจอดนิ่ง) / 90.00 ตัน (ขณะทำขบวน)

รถจักรดีเซลไฟฟ้า Hitachi ปัจจุบันยังคงใช้งานทำขบวนรถโดยสาร และขบวนรถสินค้าของ รฟท. อยู่ โดยปัจจุบันถูกตัดบัญชีไป 1 คัน

GE-GEA

9. GE CM22-7i (GEA)

รถจักรดีเซลไฟฟ้า GE รุ่น CM22-7i หรือ GEA (ย่อมาจาก General Electric Airbrake) การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้นำเข้ามาใช้งานเมื่อปี 2538 จำนวน 38 คัน หมายเลข 4523 – 4560 สร้างโดย บริษัท General Electric Transportation Systems ประเทศสหรัฐอเมริกา ราคาคันละ 54,350,498 บาท (ในตอนนั้น)

เครื่องยนต์ใช้ของ Cummins KTA50-L ขนาด 5,000 ซีซี. 16 สูบ 2 เครื่องยนต์ 1,250 แรงม้า ที่ 1,800 รอบ/นาที X 2 น้ำหนักกดเพลา 15 ตัน การจัดวางล้อแบบ Co-Co วิ่งบนทางขนาดทาง 1 เมตร ทำความเร็วได้สูงสุด 100 กม./ชม.

มิติตัวรถยาว 19,355 มม. กว้าง 2,820 มม. สูง 3,635 มม. น้ำหนัก 80.60 ตัน (จอดนิ่ง) / 86.50 ตัน (ขณะทำขบวน)

รถจักรดีเซลไฟฟ้า GE ปัจจุบันยังคงใช้งานทำขบวนรถโดยสาร และรถสินค้าของ รฟท. มีตัดบัญชีไป 2 คัน

CSR-Qishuyan-U20

10. CSR Qishuyan U20 (SDA3)

รถจักรดีเซลไฟฟ้า CSR Qishuyan รุ่น U20 (SDA3) การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้สั่งรถจักรจากประเทศจีนเป็นครั้งแรก และนำเข้ามาใช้งานเมื่อเดือนมกราคม 2558 (หมายเลข 5101 – 5102) และเมษายน-มิถุนายน 2558 (หมายเลข 5103 – 5120) จำนวน 20 คัน หมายเลข 5101 – 5120 สร้างโดย บริษัท CRRC Qishuyan ประเทศจีน

ซึ่ง รฟท. ได้ลงนามจัดซื้อกับทาง บริษัท ป่าไม้สันติ จำกัด (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ซานโฟโก้อินเตอร์เนชันแนล จำกัด) เมื่อวันที่ 25 มิ.ย. 2556 มูลค่า 3,300 ล้านบาท!

เครื่องยนต์ใช้ของ Caterpillar C175-16 ACERT ขนาด 5,000 ซีซี. 16 สูบ 2 เครื่องยนต์ 3,800 แรงม้า (ใช้จริง 3,200 แรงม้า) น้ำหนักกดเพลา 20 ตัน การจัดวางล้อแบบ Co-Co วิ่งบนทางขนาดทาง 1 เมตร ทำความเร็วได้สูงสุด 120 กม./ชม.

มิติตัวรถยาว 20,490 มม. กว้าง 2,836 มม. สูง 4,000 มม. น้ำหนัก 120 ตัน

ปัจจุบันนับว่าเป็นรถจักรดีเซลรุ่นล่าสุดของ รฟท. ที่ใช้งานอยู่ในขณะนี้ เน้นใช้ในการขนสินค้าเป็นหลัก แต่ก็มีปัญหาตรงที่อะไหล่รอนาน ใช้เวลาซ่อมนาน ทั้งที่อยู่ในระยะรับประกัน เจอปัญหากำลังลากจูงต่ำ ปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงชำรุด หรือ Traction Motor Pinion ชำรุด เป็นต้น

*หมายเหตุ 10 อันดับ รถไฟใช้งานนานสุดของ รฟท. เป็นข้อมูล ณ เดือนกันยายน 2563

Carro Express ขายรถกับคาร์โร อยากขายรถ ขายรถด่วน

ถ้าเบื่อรอรถไฟแล้ว อยากซื้อรถใหม่ แต่มีงบไม่พอ หรืออยากขายรถเก่าออกแบบไวที่สุด ได้เงินเร็วที่สุด เพื่อนำเงินไปโปะรถคันใหม่ ก็ให้ CARRO เป็นผู้ช่วยมืออาชีพของคุณ … มาขายรถกับทาง CARRO Express ได้ที่ https://th.carro.co/sell-car/express

CARRO Automall แนะนำ Toyota Fortuner ยอดรถอเนกประสงค์ ลุยได้ทุกฤดู!

หรืออยากซื้อรถมือสองสภาพเยี่ยม ราคาสบายๆ และมั่นใจได้ในเรื่องคุณภาพทุกคัน CARRO Automall แหล่งรวมรถมือสองคุณภาพเยี่ยมผ่านระบบออนไลน์ ตอบโจทย์คุณด้วยคอนเซปต์ “click.buy.drive.” คุณสามารถจองรถออนไลน์ ได้ในเวลา 1 นาที!

ซึ่ง CARRO Automall เรามีรถให้คุณเลือกมากมาย รถทุกคันผ่านการตรวจสภาพโดย CARRO Certified อย่างละเอียดแบบ Double Check มากกว่า 160 จุด, การันตีคืนเงินภายใน 5 วัน, รับประกันเครื่องยนต์และเกียร์ 1 ปี, รับประกันไม่กรอไมล์ และไม่ประสบอุบัติเหตุหนัก ไฟไหม้ หรือน้ำท่วม พร้อมรับประกันคุณภาพรถ 1 ปี หรือ 30,000 กิโลเมตร!

อีกทั้งยังมีเทคโนโลยี “360 View & Sound Engine Analysis” เลือกชมรถยนต์เสมือนจริงออนไลน์รายแรกในไทย ทั้งภาพและเสียงในรูปแบบ 360 องศา รวมถึงมีเทคโนโลยีสนับสนุนฝ่ายขาย ทั้ง Digital Device ที่เชื่อมต่อกับ Digital Screen นำเสนอสิ่งที่ลูกค้าต้องการ และจัดการเรื่องเอกสารให้กับลูกค้าให้ตั้งแต่ต้นจนจบ บวกกับ Online Viewing Service ที่ลูกค้าสามารถวิดีโอคอล ตรวจสภาพรถยนต์คันที่สนใจได้แบบเรียลไทม์ ซื้อรถคุณภาพเยี่ยม ต้องที่ CARRO Automall สิ!

หรือถ้าหากสนใจรถรุ่นไหนอยู่ แต่ยังหาที่ถูกใจไม่ได้ เรายินดีหาให้! เพียงแค่กรอกเบอร์โทรศัพท์ ชื่อยี่ห้อ / รุ่นรถ ที่คุณต้องการก็ได้เช่นกันครับ อีกทั้งยังสามารถ Inbox เข้ามาสอบถามรายละเอียดได้ที่ Facebook -> CARRO Automall Thailand โทร. 02-508-8690 หรือทาง Line @carroautomall ครับ

รูป และแหล่งที่มาบางส่วนจาก:

Check-Ticket-Bus-Train-Airplane-COVID-19-Affectation

จากสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้มีการยกเลิกวันหยุดช่วงเทศกาลสงกรานต์หลังมีคำสั่งให้เลื่อนวันหยุดสงกรานต์เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อไวรัสโควิด-19 ที่กำลังระบาด ณ ตอนนี้

วันนี้เรามาเช็กวิธีเลื่อนตั๋วรถไฟ , รถทัวร์ เครื่องบิน กันนะคะ

รถทัวร์

ทาง บขส. ได้ออกมาตรการพิเศษ ดูแลผู้โดยสารที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และการเลื่อนวันหยุดสงกรานต์ โดยจะขยายระยะเวลาการให้เลื่อนตั๋วเดินทางเพิ่มเป็น 90 วัน จากปกติให้ 30 วัน

นอกจากนี้ยังเปิดให้ผู้โดยสารที่ไม่ประสงค์จะเดินทางสามารถขอคืนตั๋วได้ฟรีไม่มีค่าธรรมเนียม จากปกติที่ต้องเสียค่าธรรมเนียม 10% ของราคาตั๋ว

วิธีการเลื่อนต้องนำตั๋วหรือสลิปการชำระเงินมาขอเลื่อนต่อพนักงานขายตั๋วก่อนรถออกเป็นเวลา 1 วัน มิเช่นนั้นถือว่าสละสิทธิ์ และถ้าเลื่อนการเดินทางแล้ว ไม่สามารถคืนตั๋วได้

ส่วนกรณียกเลิกตั๋วนั้น ผู้โดยสารที่จองตั๋วระหว่างวันที่ 1-30 เมษายน 2563 มีความประสงค์จะคืนค่าตั๋ว สามารถติดต่อได้ที่ช่องจำหน่ายตั๋ว บขส.
ทั่วประเทศตั้งแต่ 25 มีนาคม 2563 เป็นต้นไป

รถไฟ

เบื้องต้นทาง รฟท. ได้จัดเตรียมอำนายความสะดวกเรื่องค่าธรรมเนียมการคืนตั๋วหรือเลื่อนตั๋วช่วงเทศกาลสงกรานต์ไว้แล้ว ซึ่งปัจจุบันตั๋วโดยสารช่วงเทศกาลสงกรานต์ถูกจองเต็มหมดแล้ว

เครื่องบิน

ทางเฟซบุ๊ก Thai Airways ได้อำนวยความสะดวกโดยยกเว้นค่าธรรมเนียมในการเปลี่ยนแปลงการเดินทางเส้นทางระหว่างประเทศ สำหรับบัตรโดยสารราคาปกติและราคาพิเศษที่ออกในประเทศไทย และเดินทางด้วยเที่ยวบินของการบินไทย (TG) และเที่ยวบินร่วมกับสายการบินไทยสมายล์ (WE) โดยผู้โดยสาร สามารถติดต่อดำเนินการต่อไปนี้ภายในวันที่ 15 ธันวาคม 2563

การเปลี่ยนแปลงเที่ยวบิน

  • สามารถเปลี่ยนแปลงเที่ยวบินโดยไม่มีค่าธรรมเนียมสำหรับเส้นทางเดิมหรือรหัสชั้นโดยสาร (RBD) เดิม **ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจำนวนที่นั่งว่างแต่ละเที่ยวบินของวันที่จะเดินทาง
  • ในกรณีที่รหัสชั้นเดินทางที่ระบุบนบัตรโดยสารเดิมไม่มีที่ว่างในเที่ยวบินที่ต้องการเปลี่ยน ผู้โดยสารจะต้องชำระส่วนต่างราคาและภาษี (ถ้ามี)

การเปลี่ยนแปลงเส้นทางบิน

  • สามารถเปลี่ยนแปลงเส้นทาง โดยชำระส่วนต่างราคาและภาษี (ถ้ามี) และยกเว้นค่าธรรมเนียมการเปลี่ยนแปลงผู้เดินทาง
  • สำหรับบัตรโดยสารที่ยังไม่ได้ใช้เดินทาง สามารถเปลี่ยนชื่อผู้เดินทางได้ 1 ครั้ง มีค่าธรรมเนียม 3,000 บาท

การคืนบัตรโดยสาร

  • สามารถคืนบัตรโดยสารตามเงื่อนไขของบัตรโดยสาร

ช่วงนี้ต้องดูแลสุขภาพกันด้วยนะคะ หากคุณต้องการขายรถด่วนให้ CARRO ช่วยได้ขายให้ภายใน 24 ชั่วโมง และได้ราคาดี และหากต้องการรถยนต์ใหม่ ป้ายแดง โปรแรงๆ สามารถดูโปรโมชั่นได้ที่ https://www.siamcardeal.com/ หรือสามารถ Inbox สอบถามโปรโมชั่นรถใหม่และข่าวสารได้ที่ Facebook Siamcardeal

หรือ Add Line เพื่อรับโปรโมชั่นต่างๆ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม @siamcardeal
Inbox : http://m.me/siamcardeal
Line : https://line.me/R/ti/p/@siamcardeal

5-Tips-Driving-Through-A-Railroad-Crossing

อีกข่าวหนึ่งที่มีให้เห็นกันตามโลกโซเชียลกันอยู่เสมอๆ อีกหนึ่งข่าว ที่อาจจะไม่ได้เกิดขึ้นกันบ่อยมากนัก แต่มันก็อยู่ใกล้ตัวของคนขับรถอยู่มากพอสมควร กับข่าวรถไฟชนกับรถยนต์ หรือชนคนก็ตาม

หลายคนอาจไม่รู้ว่า ทางรถไฟนั้น มีจุดตัดเสมอระดับทางรถไฟ-รถยนต์ ที่ทั้งถูกต้อง และเป็นทางลักผ่าน ทางตัดผ่าน (Illegal Crossing) ที่ชุมชนแถบริมทางรถไฟ ทำขึ้นมา ซึ่งอาจจะเป็นของเอกชน หรือผู้อยู่อาศัยแถวนั้น หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล “แต่ไม่ได้ขออนุญาตทำทางตัดผ่าน จากการรถไฟแห่งประเทศไทย หรือไม่ได้รับอนุญาตจากการรถไฟแห่งประเทศไทย”

5-Tips-Driving-Through-A-Railroad-Crossing

ทำให้เกิดอุบัติเหตุมากถึงร้อยละ 87 ซึ่งเป็นอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบริเวณจุดตัดทางรถไฟที่ไม่มีเครื่องกั้น ซึ่งส่วนใหญ่ของอุบัติเหตุ มีสาเหตุจากความไม่คุ้นเคยและความไม่ชำนาญเส้นทางของคนขับ รวมถึงการขาดทักษะในการขับรถผ่านเส้นทาง

MR.CARRO มีข้อมูลดีๆ จากการรถไฟแห่งประเทศไทย มาแนะนำทุกท่านเมื่อจำเป็นต้องขับรถผ่านทางรถไฟกันครับ

5-Tips-Driving-Through-A-Railroad-Crossing

1. หยุดรถให้ห่างจากทางรถไฟไม่น้อยกว่า 5 เมตร

ไม่ว่าตรงนั้น จะมีเครื่องกั้นทาง หรือเครื่องหมายหรือเสียงสัญญาณระวังรถไฟหรือไม่ก็ตาม เพื่อความปลอดภัยต้องดูให้แน่ใจว่า จะไม่มีรถไฟวิ่งผ่าน หรือรถไฟวิ่งผ่านไปแล้ว ถึงจะค่อยขับรถผ่านไปได้

2. ห้ามขับรถแซงขึ้นหน้ารถคันอื่นภายในระยะ 30 เมตร ก่อนถึงทางเดินรถที่ตัดข้ามทางรถไฟ

5-Tips-Driving-Through-A-Railroad-Crossing

3. ถ้าต้องจอดรถ ควรจอดรถในระยะไม่ต่ำกว่า 15 เมตร ก่อนถึงทางรถไฟ

4. หากเห็นป้ายสัญลักษณ์ ต้องหยุด!

หากเห็นป้ายสัญลักษณ์ เช่น ป้ายหยุด ป้ายเตือนรูปกากบาท “ระวังรถไฟ” ป้ายทรงสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนสีอำพัน มีรูปรถจักรไอน้ำและรั้วกั้น ให้ชะลอความเร็ว และจอดดูซ้าย-ขวา ให้แน่ใจว่าไม่มีรถไฟแล่นผ่านมา เมื่อเห็นว่าปลอดภัยจึงขับผ่านไปได้

5. ถ้ารถคันที่ติดฟิล์มกรองแสงเข้มมาก ให้เปิดกระจกรถดูก่อนจะขับผ่านไป!

รถในยุคปัจจุบันส่วนใหญ่ มักติดฟิล์มกรองแสงชนิดเข้มมาก จนอาจทำให้มองเห็นไม่ชัดในเวลากลางคืน จึงต้องใช้ความระมัดระวังเพิ่มมากขึ้น ขณะขับรถข้ามทางรถไฟ เพื่อความปลอดภัยกรณีขับรถทางตัดผ่านที่ไม่มีเครื่องกั้น ให้เปิดกระจกรถซ้าย-ขวา ดูให้แน่ใจว่าไม่มีรถไฟมา แล้วค่อยขับรถผ่านไป

สำหรับป้ายเตือนหรือป้ายสัญญาณจราจรติดตั้งอยู่บริเวณจุดตัดทางรถไฟ ผู้ขับรถ รวมไปถึงผู้เดินเท้า ต้องทำความเข้าใจความหมายของป้ายหรือสัญลักษณ์ต่างๆ ไว้ด้วยเพื่อความปลอดภัย ซึ่งแต่ละป้ายจะมีความหมายว่าอย่างไรบ้าง มาดูกัน

5-Tips-Driving-Through-A-Railroad-Crossing

1. ป้ายทางข้ามทางรถไฟมีเครื่องกั้นทาง จะมีลักษณะเป็นรูปรั้วกั้น อยู่บนพื้นป้ายสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนสีเหลืองอำพัน หมายถึงทางรถไฟที่มีเครื่องกั้นทางปิดกั้น

2. ป้ายทางข้ามทางรถไฟไม่มีเครื่องกั้นทาง เป็นรูปหัวรถจักรไอน้ำ อยู่บนพื้นป้ายสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนสีเหลืองอำพันเช่นกัน หมายถึง ป้ายทางข้างหน้ามีทางรถไฟตัดผ่านและไม่มีเครื่องกั้นทาง ให้ขับรถช้าๆ และสังเกตดูรถไฟทั้งซ้าย-ขวา ถ้ามีรถไฟกำลังจะผ่านมาให้หยุดรอให้ห่างจากทางรถไฟอย่างน้อย 5 เมตร แล้วรอจนกว่ารถไฟนั้นผ่านไปแล้ว จึงเคลื่อนรถต่อไปได้

3. ป้ายหยุด เป็นป้ายรูปแปดเหลี่ยมสีแดง มีข้อความ “หยุด” หมายถึงว่ารถทุกชนิดต้องหยุดเมื่อเห็นป้ายนี้ เมื่อเห็นว่าปลอดภัยแล้วจึงขับรถต่อไปได้อย่างปลอดภัย

4. ป้ายกากบาท “ระวังรถไฟ” ป้ายเตือนว่าเป็นจุดตัดทางรถไฟเสมอระดับรถยนต์ จะมีรถไฟแล่นผ่านทางรถไฟบริเวณนี้ ให้ระวัง และชลอความเร็ว

5-Tips-Driving-Through-A-Railroad-Crossing

และนี่ก็เป็นเคล็ดไม่ลับ ในการขับรถยนต์ข้ามทางรถไฟอย่างปลอดภัยแล้วล่ะครับ ยิ่งในตอนกลางคืน ยิ่งต้องระวังระวังมากขึ้นครับ แม้ว่ารถจักรแต่ละคัน จะมีไฟหน้าที่ส่องสว่างได้ไกลมากก็ตาม แต่คนขับรถปัจจุบันมักติดฟิล์มกรองแสงที่เข้มมาก จนอาจจะไม่ทันสังเกตกันได้ครับ

แหล่งที่มาจาก:

Travel-The-Golden-Mount-And-Wat-Saket

ช่วงนี้ก็เข้าสู่หน้าหนาวกันแล้ว เป็นธรรมดาของวัดหลายๆ วัด ก็จะจัดกิจกรรมรื่นเริงต่างๆ กันมากมาย โดยหลายคนมักจะนึกถึงงานวัดสุดคลาสสิกอย่าง “งานนมัสการพระบรมสารีริกธาตุ” หรือ “งานภูเขาทอง” หรือ “งานวัดภูเขาทอง” ที่จัดกันประจำทุกปี ณ บริเวณพระบรมบรรพต หรือ ภูเขาทอง และลานพระวิหาร ของวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร

สำหรับ “วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร” หรือที่คุ้นหูกันในชื่อ “วัดสระเกศ” เป็นวัดโบราณในสมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมชื่อว่า “วัดสะแก”

ต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์และขุดคลองรอบพระอาราม แล้วพระราชทานนามใหม่ว่า “วัดสระเกศ” ซึ่งแปลว่า ชำระพระเกศา เนื่องจากพระองค์เคยประทับทำพิธีพระกระยาสนาน (อาบน้ำ) เมื่อเสด็จกรีธาทัพกลับจากกัมพูชามาปราบจลาจลในกรุงธนบุรี และเสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติในปี 2325

งานวัดภูเขาทอง-2562

โดยปกติของงานวัดภูเขาทอง มักจะจัดคาบเกี่ยวกับช่วงเทศกาลลอยกระทง โดยจัดงานกัน 10 วัน 10 คืน ซึ่งในปีนี้จัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 4 – 13 พ.ย. 2562

โดยปีนี้ (2562) ยังมีพิธีอัญเชิญผ้าแดงห่มองค์พระบรมบรรพต (ภูเขาทอง) ซึ่งเป็นการร่วมจารึก ชื่อ-สกุล ลงบนผ้าแดง แล้วอัญเชิญผ้าแดงไปห่มองค์พระบรมบรรพต (ภูเขาทอง) ในวันขึ้น 8 ค่ำ เดือน 12 ในเวลา 6.00 น. ของเช้าวันที่ 4 พฤศจิกายน จากนั้นตั้งแต่เวลา 7.00 – 24.00 น. ของวันที่ 4 – 13 พฤศจิกายน 2562 ก็จะเป็นงานสมโภชองค์พระบรมสารีริกธาตุ

สำหรับใครที่สนใจอยากไปเที่ยว “งานวัดภูเขาทอง” Mr.Carro ก็จะมาแนะนำ 5 วิธีเดินทางไปงาน ซึ่งก็มีหลากหลาย ตามความสะดวกครับ

MRT-Blue-Line

รถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) มาภูเขาทอง สะดวกที่สุดอีกหนึ่งวิธี นั่นคือ ลงสถานีสามยอด (BL30) แล้วเดินไปตามถนนเจริญกรุง เข้าถนนวรจักร ต่อรถเมล์สาย 8, 37 หรือ 48 หรือจะต่อรถตุ๊กๆ ไป ก็ถึงงานภูเขาทองได้ …

BTS-Skytrain

รถไฟฟ้าบีทีเอส (BTS) มาภูเขาทอง เพียงลงที่สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ แล้วต่อรถเมล์สาย 47 หรือ 48 ก็มาที่งานได้เช่นกัน …

SRT-Train

รถไฟ รฟท. ไม่ว่าคุณจะมาจากขบวนไหน สายตะวันออก, สายเหนือ หรือสายอีสาน ให้ลงรถไฟที่ “ป้ายหยุดรถยมราช” (เฉพาะขบวนรถที่จอดเท่านั้น โปรดตรวจสอบขบวนรถที่คุณโดยสารมาอีกครั้ง ว่าจอดหรือไม่)

เมื่อลงรถไฟแล้ว ให้เดินไปยังป้ายรถเมล์ถนนหลานหลวง สามารถต่อรถเมล์ได้หลายสาย ตามรายละเอียดด้านล่าง

BMTA-Bus

รถเมล์ (Bus) ที่ผ่านรอบๆ วัดสระเกศราชวรวิหาร หรือภูเขาทอง

จากถนนจักรพรรดิพงษ์
– สาย 8, 15, 37, 47, 49

จากถนนบำรุงเมือง
– สาย 15, 47, 48, 508

จากถนนหลานหลวง
– สาย 2, 44, 59, 60, 79, 183, 511

จากถนนมหาไชย
– สาย 56

วิธีสุดท้าย … ถ้าขับรถมาเอง

ต้องขอบอกก่อนว่าในย่านตัวเมืองชั้นใน ที่จอดรถจะหายากมากๆ ยิ่งดึก คนยิ่งมาเยอะ ส่วนใหญ่ต้องจอดรถในบริเวณวัดสระเกศ หรือบริเวณริมถนนย่านนั้น แต่ก็ต้องดูด้วยว่า จุดนั้น ห้ามจอดรถหรือไม่

ถ้าคุณอยากขายรถคันเดิม เปลี่ยนรถใหม่ ขายรถด่วน เพื่อรับเงินก้อนไปใช้ สามารถขายรถคันเก่ากับ Carro ได้ ง่ายๆ ได้เงินไว! กับ Carro Express เพียงแค่คลิก https://th.carro.co/sell-car/express หรือสามารถ Inbox มาขอรายละเอียดได้ที่ Facebook Carro Thailand

หรือจะ Add Line สอบถามรายละเอียดได้ที่ @Carrothailand หรือคลิกที่นี่ครับ —> เพิ่มเพื่อน