Covid-19-Motivate-Electric-Car-Growth-Up-In-Thailand

เมื่อวันที่ 17 มิถุนายนที่ผ่านมา สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย ร่วมกับ อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ฯ จัดเสวนาออนไลน์เรื่อง “แนวโน้มและการปรับตัวอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าไทย หลังวิกฤต โควิด-19” เพื่อนำเสนอมุมมองของผู้ผลิต จากผู้บริหารค่ายรถชั้นนำ ซึ่งต่างนำเสนอเป็นเสียงเดียวกันว่า ภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าไทย หลังจากหมดโควิด-19 จะได้รับความสนใจจากผู้บริโภคมากขึ้น จึงต้องการให้รัฐบาลหันมาสนับสนุน

ในการสัมมนา มี ดร.ยศพงษ์ ลออนวล นายกสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทยและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ, กฤษฎา อุตตโมทย์ ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารกิจการองค์กร บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป ประเทศไทย, สมโภชน์ อาหุนัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) และสรรเพชญ ตั้งเสาวภาคย์ รองประธานสายงานวางแผนองค์กรและกลยุทธ์การตลาดและขาย บริษัท นิสสัน มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นวิทยากร

ภายในการสัมมนาออนไลน์ครั้งนี้ ทาง ดร.ยศพงษ์ ลออนวล นายกสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทยและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ เผยว่า ไวรัสโควิด-19 ที่เกิดขึ้น มีสิ่งที่มองเห็นได้อย่างชัดเจน นั่นคือ ปัญหาฝุ่น PM2.5 หายไป ส่วนหนึ่งมารถที่หายจากท้องถนนไปเยอะ

ซึ่งทำให้เห็นชัดเจนว่า รถยนต์ไฟฟ้ามีความสำคัญ ที่จะมาแก้ปัญหามลพิษบนท้องถนนของประเทศไทยในอย่างถาวร โดยอยากให้ประชาชนร่วมมือสนับสนุนการใช้รถยนต์ไฟฟ้าให้มากขึ้น เพื่อรักษามลภาวะสิ่งแวดล้อม

MINE-SPA1-2019

ด้าน สมโภชน์ อาหุนัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA เผยว่า หากภาครัฐมีการส่งเสริมการลงทุนที่ชัดเจน จะทำให้ค่ายรถยนต์ต่างๆ ลงทุนกับรถยนต์ไฟฟ้าในไทยมากขึ้น ซึ่งภาพรวมเศรษฐกิจตอนนี้ยังไม่ดีนัก ค่ายรถยนต์จึงจำเป็นต้องปรับการผลิต ซึ่งการลงทุนดังกล่าวจะช้าหรือเร็วคงต้องรอดูต่อไป

อีกทั้งสถานการณ์ราคาน้ำมันที่ปรับลดลงอย่างมากในช่วง COVID-19 หรือฝุ่น PM2.5 ลดลง ปัจจัยเหล่านี้เป็นมุมที่สะท้อนให้คนเร่งหันไปใช้พลังงานสะอาด หรือพลังงานไฟฟ้าในระยะยาวมากขึ้น

BMW-i8

ด้าน กฤษฎา อุตตโมทย์ ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารกิจการองค์กร บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป ประเทศไทย ชี้ให้เห็นว่า เมื่อผ่านพ้นวิกฤตโควิด-19 ไปแล้ว จะช่วยเร่งการเติบโตของยานยนต์ไฟฟ้ามากยิ่งขึ้น เนื่องจากค่ายรถยนต์ต่างมีเทคโนโลยี มีกลยุทธ์ใหม่ๆ ประกอบกับระบบสาธารณูปโภคในไทยที่เริ่มรองรับรถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น

โดยสิ่งที่จะกระตุ้นตลาดในไทยก็คือความต้องการซื้อ ภาครัฐต้องสร้างแรงจูงใจ เช่น การส่งเสริมการลดภาษีฯ การเพิ่มที่ชาร์จไฟฟ้าสาธารณะให้มากขึ้น จากปัจจุบันที่มีสถานีชาร์จประมาณ 500 สถานี 700 หัวจ่าย พร้อมทั้งขยายโมเดลรถยนต์ไฟฟ้า ไปยังระบบขนส่งสาธารณะ เช่น รถเมล์ เพื่อช่วยส่งเสริมอุตสาหกรรมทั้งหมด

Nissan-Leaf-2019

ขณะที่ สรรเพชญ ตั้งเสาวภาคย์ รองประธานสายงานวางแผนองค์กรและกลยุทธ์การตลาดและขาย บริษัท นิสสัน มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด เผยว่า ขณะนี้ Nissam (นิสสัน) ในประเทศญี่ปุ่นเองก็ยังไม่มีนโยบายชัดเจนว่า ญี่ปุ่นจะปรับตัวมีรถยนต์ไฟฟ้า 100 % เมื่อไร แต่ทาง Nissan มีเทคโนโลยี และมีรถยนต์ไฟฟ้า (BEV) ต้นแบบมานานแล้ว

อ่านเพิ่มเติม : Nissan Hypermini : รถ EV ของเล่นคนรวยรักษ์โลก ในยุค 2000

ซึ่งในประเทศไทย Nissan ขอนำเสนอระบบ e-Power ไปก่อน จนกว่ารัฐจะมีความชัดเจนในการสนับสนุนให้เกิดรถ BEV

ส่วนใครที่ฝันอยากจะเป็นเจ้าของรถยนต์ไฟฟ้าสักคัน ก็ลองขายรถคันเดิมแล้วเอาเงินไปซื้อรถยนต์ไฟฟ้ามาใช้ดู เพียงลงขายรถคันเดิมง่ายๆ ได้ที่ Link นี้เลย https://th.carro.co/sell-car/express ให้ราคาดี รับเงินไว ปิดการขายได้ใน 24 ชั่วโมง หรือสามารถ Inbox มาขอรายละเอียดได้ที่ Facebook Carro Thailand

หรือจะ Add Line สอบถามรายละเอียดได้ที่ @Carrothailand คลิกที่นี่ครับ —> เพิ่มเพื่อน

EV-Car-Thailand-From-Government

จะทำได้ไหม? หรือ ขายฝัน? เป็นสิ่งที่หลายคน กำลังคิดกันอยู่ ในระหว่างหาทางป้องกันตัวเองจากไวรัส COVID-19 ที่กำลังระบาดอยู่ในตอนนี้!

สำหรับ “รถยนต์ไฟฟ้า” ที่คณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ เตรียมชงมาตรการ “EV ประชารัฐ” ให้เจ้าของรถอายุ 10 ปี สามารถนำมาแลกซื้อรถยนต์ EV หรือ รถแบบ Plug-In Hybrid ได้ใหม่ โดยจะได้เงินสมทบมากถึง 1 แสนบาท ส่วนวินมอเตอร์ไซค์ รับซื้อรถเก่า 15,000 บาท ให้ค่าเปลี่ยนแบตเตอรี่อีก 30,000 บาท เคาะแคมเปญให้ดำเนินการภายในปี 2564-2566

คณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ (บอร์ดอีวี) เปิดประชุมนัดแรก มีรองนายกรัฐมนตรี สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เป็นประธาน พร้อมกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงการคลัง กระทรวงคมนาคม กระทรวงพลังงาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงผู้ทรงคุณวุฒิในอุตสาหกรรมยานยนต์

ร่วมหารือในมาตรการผลักดันให้เกิดการผลิตและการใช้รถยนต์-รถบัส-จักรยานยนต์ไฟฟ้า อย่างแพร่หลายหวังลดปัญหามลพิษ และ PM 2.5 โดยวางเป้าหมายผลิตรถ EV ให้ได้ 30% จากกำลังผลิต 2.5 ล้านคัน/ปี ในปี 2030

หนึ่งในมาตรการเร่งด่วนที่นำเสนอคือ โครงการ EV ประชารัฐ ใช้ดำเนินการระหว่างปี 2564-2566 โดยให้สิทธิประโยชน์ คือ รับซื้อรถยนต์เก่า (อายุ 10 ปี) สูงสุด 100,000 บาท/คัน เพื่อนำเงินไปแลกเป็น รถยนต์ไฟฟ้าคันใหม่ หวังให้เกิดการซื้อ-ขาย รถ Plug-In Hybrid (ปลั๊กอินไฮบริด) (หรือ PHEV) 25,000 คัน และ EV พลังงานไฟฟ้า 100% จำนวน 25,000 คัน

EV-Car-Thailand-From-Government

ในกลุ่มรถจักรยานยนต์ใช้ชื่อแคมเปญ “วินสะอาด” ระยะเวลาดำเนินโครงการตั้งแต่ปี ค.ศ. 2020-2023 เป้าหมายคือผู้ขี่รถจักรยานยนต์รับจ้างที่มีเสื้อวินเป็นชื่อตนเอง จำนวน 53,000 คัน ให้เปลี่ยนมาใช้ รถจักรยานยนต์ อีวี

สำหรับสิทธิประโยชน์คือ รับซื้อรถเก่า (10 ปี) 15,000 บาท/คัน และชดเชยดอกเบี้ยส่วนต่าง 10,000 บาท/คัน ภายในระยะเวลา 3 ปี และค่าเปลี่ยนแบตเตอรี่ 30,000 บาท/คัน ภายในระยะเวลา 6 ปี

MG-ZS-EV

แม้ว่าจะเป็นแนวคิดที่ดี แต่หลายฝ่ายยังไม่มั่นใจว่า แนวคิดนี้จะเป็นไปได้หรือไม่ บางคนบอกนำรถอายุมากกว่า 20 ปี ไปแลกเลย น่าจะคุ้ม เนื่องจากรถยนต์ที่มีอายุมากกว่า 10 ปีหลายคัน ก็ยังมีสภาพที่ดีและสมบูรณ์ ดังนั้นการใช้แนวคิดนี้อาจไม่ถูกใจเท่าไหร่นัก

เนื่องจากรถยนต์ไฟฟ้าแทบทั้งหมดล้วนมีราคาที่สูงมาก ราคาหนึ่งล้านบาทขึ้นไป การลดภาษีรถยนต์ไฟฟ้า หรือภาษีแบตเตอรี่ อาจเป็นทางเลือกที่น่าสนใจกว่า ในการกระตู้น หรือเป็นแรงจูงใจให้คนมาใช้รถยนต์ไฟฟ้า อีกทั้งสถานีชาร์จ แบตเตอรี่ และระบบรองรับต่างๆ ยังไม่พร้อมแบบในหลายๆ ประเทศ จึงทำให้การผลักดันรถยนต์รถยนต์ไฟฟ้าในไทย เป็นเรื่องท้าทายอย่างยิ่ง!

แล้วคุณล่ะครับ คิดเห็นอย่างไรกันบ้าง?

แหล่งที่มาจาก: