Drive-Safely-In-Flooding

ในช่วงนี้มีหลายพื้นที่ได้รับผลกระทบจากอิทธิพลของพายุโนอึล ซึ่งส่งผลให้หลายพื้นที่เกิดภัยน้ำท่วม มีน้ำท่วมสูง และเกิดน้ำท่วมขัง ต้องขับรถลุยน้ำท่วมตามที่เห็นในภาพข่าวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่างจังหวัด พายุถาโถมจนหลายเมือง หลายตำบลจมน้ำไปเรียบร้อยแล้ว ถึงขนาดต้องมีเจ้าหน้าที่รัฐเข้าไปส่งถุงยังชีพกัน เพราะว่าประชาชนติดอยู่ในบ้านไม่สามารถออกไปไหนได้

Drive-Safely-In-Flooding

ส่วนทางฝั่งคนกรุงเทพที่อยากจะร่วมด้วยช่วยกันเที่ยวเมืองไทย เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจการท่องเที่ยวให้หายซบเซาจากพิษของโควิด 19 หากจะเดินทางไปพื้นที่ต่างจังหวัดในช่วงเวลานี้ ก็อย่าลืมติดตามข่าวสารดีๆ ว่าพื้นที่ไหนที่ฝนตกหนักน้ำท่วมสูงมาก “รอระบาย” ก็ควรจะหลีกเลี่ยง เพราะในตอนขับหรือหลังขับรถลุยน้ำท่วมแล้ว สามารถสร้างความเสียหายให้กับรถอันเป็นที่รักของคุณได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าน้ำเข้าห้องเครื่องหรือห้องโดยสารแล้วละก็ ไม่แคล้วต้องเสียเงินซ่อมกันเป็นเรื่องใหญ่ได้

Roojai.com จึงอยากพาคุณไปดูวิธี “เอาตัวรอด” ให้กับรถของคุณเมื่อต้องเจอเส้นทางที่เปรียบเสมือนทะเลแบบนี้ จะต้องทำอย่างไร เพื่อให้รถของคุณขับผ่านน้ำท่วมได้โดยที่ไม่มีความเสียหายตามมา ตามไปดูกันเลย

ขับรถลุยน้ำท่วม ว่าแย่แล้ว ลุยฝนไปด้วย เครียดกว่าเดิมอีกสองเท่า

ช่วงนี้เราเข้าสู่หน้าฝนกันแบบเต็มตัวแล้ว ไม่ว่าจะเจอน้ำท่วมหรือไม่ แต่สิ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้แน่ๆ ก็คือสายฝนโปรยปราย ซึ่งในกรณีที่ไม่ได้ตกหนักมาก คุณก็ยังสามารถขับรถไปได้แบบชิลล์ๆ ไม่มีปัญหาอะไร แต่ถ้าเจอกับสายฝนโปรยปรายตกกระหน่ำเม็ดใหญ่ ๆ เปิดที่ปัดน้ำฝนเบอร์แรงสุดแล้วยังแทบไม่เห็นทาง วิสัยทัศน์ในการมองเห็นจะลดลงเป็นอย่างมาก แบบนี้ขับไปเครียดไปแน่นอน อีกทั้งมีความเป็นไปได้สูงมากที่ฝนตกหนักลักษณะนี้ จะทำให้คุณเจอกับน้ำท่วมด้วย เพราะน้ำมักจะระบายออกไปได้ไม่ทัน จนสุดท้ายถนนทุกสายกลายเป็นทะเลกรุงเทพดี ๆ นี่เอง

การขับรถภายใต้การมองเห็นที่จำกัด วิสัยทัศน์ไม่ดี จำเป็นต้องใช้สมาธิในการเพ่งท้องถนนเป็นอย่างมาก ยิ่งถ้าหากเจอน้ำท่วมซ้ำอีกด้วยแล้วล่ะก็ สามารถทำให้เครียดได้เลยทีเดียว เพราะมองทางก็ไม่เห็น จะขับต่อก็กลัว แต่จะหยุดรถกลางทางก็ไม่ได้ ดังนั้นคำแนะนำที่ดีที่สุดคือ พยายามอย่าขับรถฝ่าสายฝนที่ตกกระหน่ำไปไหนถ้าไม่จำเป็น รอจนฝนซาสักนิดแล้วค่อยเริ่มออกรถจะปลอดภัยกว่า หรือหาปั๊มน้ำมันใกล้ๆ เข้าไปพักรถก่อน เพื่อรอเวลาขับต่อไปนั่นเอง

อย่าลืมประเมินสถานการณ์

ในเมื่อหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็คงต้อง “ลุยน้ำ” กันไป โดยสิ่งที่คุณควรเตรียมตัว เริ่มจากขั้นตอนการประเมินสถานการณ์ก่อนเลย ซึ่งถ้าหากว่าน้ำสูงเกินที่จะลุยไปได้ ยังไงก็ต้องจอดรอเพียงอย่างเดียวเท่านั้น โดยการประเมินสถานการณ์เบื้องต้นนั้น จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนก็คือ ประเมินความสูงของน้ำ และ ประเมินความเตี้ยของรถคุณ

ต้องเข้าใจก่อนว่ารถคันอื่นวิ่งได้ไม่ได้หมายความว่ารถคุณจะวิ่งได้ด้วย สำหรับรถที่ได้เปรียบมากกว่าในการขับลุยน้ำท่วม ก็จะเป็นรถกระบะยกสูงหรือรถยนต์อเนกประสงค์ SUV หรือ PPV ต่างๆ โดยจะมีระดับความสูงจากพื้นถึงใต้ท้องรถเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 22 เซนติเมตร เปรียบเทียบกับรถเก๋งทั่วไป จะมีระดับความสูงจากพื้นถึงใต้ท้องรถอยู่ที่ประมาณ 14-15 เซนติเมตรเท่านั้นเอง ดังนั้นนอกจากคาดการณ์ว่าน้ำท่วมขังสูงแค่ไหนได้แล้ว ก็ต้องรู้ด้วยว่ารถของคุณมีระดับความสูงจากพื้นถึงใต้ท้องรถอยู่ที่เท่าไหร่อีกด้วย

Drive-Safely-In-Flooding

ขับรถลุยน้ำท่วม อย่างไรให้ปลอดภัยกับรถของคุณ

สำหรับระดับความสูงของน้ำท่วม ที่สามารถขับขี่และปลอดภัยอย่างแน่นอนก็คือ น้ำท่วมยังไม่ถึงใต้ท้องรถ หรือ ยังไม่ถึงขอบประตูรถ โดยข้อควรปฏิบัติให้รถลุยน้ำ ขับไปได้ มีดังนี้

  • ปิดแอร์

การเปิดแอร์เอาไว้จะทำให้พัดลมระบายความร้อนของหม้อน้ำทำงาน ซึ่งถ้าหากน้ำท่วมถึงพัดลมก็จะทำให้พัดลมตีน้ำกระจายไปทั่วห้องเครื่องได้ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้รถยนต์ดับ หรือถ้าเลวร้ายกว่านั้นอาจทำให้เกิดไฟฟ้าช็อตได้ ดังนั้นเมื่อมีความจำเป็นต้องขับรถในขณะน้ำท่วมก็ควรปิดแอร์ทุกครั้ง เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาในภายหลัง

  • ใช้เกียร์ต่ำ

การขับรถด้วยการใช้เกียร์ต่ำ เป็นสภาวะที่เครื่องยนต์ดับได้ยากที่สุด เนื่องจากใช้รอบเครื่องยนต์ 1,500-2,000 รอบ/นาที  โดยสำหรับรถธรรมาดาก็จะหมายถึงการใช้เกียร์ 1 หรือ 2 เท่านั้น ส่วนรถเกียร์ออโต้ก็คือการขับด้วยเกียร์ L นั่นเอง

  • รักษาความเร็วคงที่

เมื่อใช้เกียร์ต่ำแล้วก็ควรรักษาความเร็วสม่ำเสมอด้วย ไม่เร่งเครื่องหรือเปลี่ยนความเร็วกะทันหัน เนื่องจากจะทำให้เกิดกระแสน้ำวิ่งไปกระทบกับฟุตพาท แล้วเกิดการตีกลับของกระแสน้ำเข้าสู่รถได้

  • ให้รถคันหน้านำทางให้

โดยการขับรถทิ้งระยะห่างจากรถคันหน้าประมาณ 50 เมตร เพื่อที่คุณจะได้เห็นว่ารถคันหน้าที่กำลังวิ่งบนเส้นทางเดียวกันกับคุณอยู่นั้น สามารถวิ่งได้อย่างปลอดภัยหรือไม่ มีหลุมหรือสิ่งกีดขวางต่าง ๆ หรือเปล่า เพื่อที่คุณจะได้หลีกเลี่ยงได้ทันเวลานั่นเอง

  • หากเครื่องดับห้ามสตาร์ทเครื่องใหม่เด็ดขาด

กรณีเลวร้ายที่สุดก็คือ เมื่อตัดสินใจขับรถตอนน้ำท่วมไปแล้ว เกิดรถดับกลางทาง สิ่งที่คุณควรทำคือการเข็นรถเข้าข้างทาง โดยพยายามหาพื้นที่สูงเข้าไว้ เพื่อลดความเสี่ยงไม่ให้คลื่นน้ำที่เกิดจากรถยนต์คันอื่นไหลเข้าสู่รถของคุณ โดยคุณต้องไม่พยายามสตาร์ทรถใหม่เด็ดขาด เนื่องจากเสี่ยงที่จะทำให้น้ำไหลเข้าสู่เครื่องยนต์และทำให้เกิดความเสียหาย

  • หลีกเลี่ยงการ ขับรถลุยน้ำท่วม ในพื้นที่ที่คุณไม่คุ้นเคย

กรณีที่เป็นการขับรถไปในพื้นที่คุ้นเคยหรือเส้นทางที่คุณใช้เป็นประจำ คุณจะสามารถประเมินสถานการณ์ได้ง่ายกว่า ว่าควรจะเสี่ยงขับรถลุยน้ำไปดีหรือไม่ เนื่องจากคุณจะรู้ว่าถนนเส้นนั้น ๆ เป็นเส้นที่น้ำท่วมขังเป็นระยะทางสั้นๆ หรือว่าท่วมยาวทั้งเส้นร่วมสิบกิโล รวมไปถึงการที่เคยเห็นสภาพถนนตอนที่น้ำไม่ท่วม ว่ามีตรงไหนต้องระวังหรือมีถนนช่วงไหนไม่ดี จะช่วยให้คุณสามารถขับขี่ได้อย่างปลอดภัยกว่า

แต่ด้วยความจำเป็นที่ทำให้คุณต้องเดินทางไปยังพื้นที่ที่ไม่คุ้นเคย แล้วยังต้องไปเสี่ยงกับการขับรถน้ำท่วมบนถนนที่คุณไม่คุ้นเคยมาก่อน คุณจะไม่รู้เลยว่ายิ่งขับไปน้ำจะยิ่งท่วมสูงขึ้นหรือว่าจะลดลงนั่นเอง รวมทั้งทางข้างหน้ามีการก่อสร้างทาง หรือถนนมีหลุมมีบ่ออย่างไรบ้าง คุณก็ไม่สามารถรู้ได้เลย ถ้าเป็นไปได้เราอยากแนะนำให้คุณแวะหลบฝนหลบน้ำที่ปั๊มน้ำมันก่อนจะปลอดภัยกว่า

Drive-Safely-In-Flooding

เมื่อผ่านพ้นเส้นทางลุยน้ำวิบากมาแล้วต้องทำอย่างไร

หลังจากที่คุณรอดจากสถานการณ์หลังขับรถลุยน้ำท่วม ก็อย่าเพิ่งรีบจอดรถลงไปหาซื้อของกินมาฉลอง เพราะว่ายังมีข้อควรปฏิบัติที่คุณควรรู้ หลังจากฝ่าน้ำท่วมมาได้ คือ

  • หลังจากที่เพิ่งขับพ้นช่วงถนนที่น้ำท่วมสูง ให้ขับต่อไปโดยใช้ความเร็วต่ำ และให้ทำการไล่น้ำออกจากคาลิเปอร์-ผ้าเบรก โดยการเหยียบเบรกเบาๆ ย้ำๆ ไปเรื่อยๆ ตลอดระยะเวลาที่ขับด้วยความเร็วต่ำอีกสักระยะ ซึ่งจะช่วยไล่น้ำและความชื้นจากเครื่องยนต์ได้
  • ไม่หยุดพักรถและดับเครื่องโดยทันทีหลังจากที่เพิ่งลุยน้ำท่วมมาเสร็จ เนื่องจากมีความเป็นไปได้ที่จะทำให้น้ำที่ค้างอยู่ที่ท่อไอเสียย้อนกลับเข้าไปได้ รวมทั้งความชื้นที่ยังมีอยู่อาจทำให้เครื่องยนต์เสียหายได้ด้วย ที่สำคัญอีกอย่างก็อย่าลืมเช็ครถหลังลุยน้ำท่วมด้วย ว่ามีอะไรผิดปกติหรือเปล่า

รถลุยน้ำได้ แต่ก็ใช่ว่าจะเป็นระดับน้ำสูง จะขับรถลุยน้ำ จำเป็นต้องใช้สมาธิอย่างสูง เพื่อที่จะประคองรถให้ฝ่าน้ำท่วมไปได้อย่างปลอดภัยทั้งรถและคุณ อีกทั้งยังมีโอกาสที่คุณจะเจอทั้งสายฝนกระหน่ำและน้ำท่วมในเวลาเดียวกัน ซึ่งทำให้คุณต้องใช้สมาธิจดจ่อในการขับรถมากกว่าเดิม การรู้เท่าทันและการเตรียมตัวที่ดี จะช่วยให้คุณสามารถประคับประคองสถานการณ์ หรือขับรถไปถึงจุดหมายปลายทางได้ง่ายยิ่งขึ้น ง่ายเหมือนซื้อประกันภัยรถยนต์ออนไลน์ ที่ Roojai.com ไม่ซับซ้อน ราคาดี และเชื่อใจได้ มาพร้อมตัวเลือกที่หลากหลาย สามารถปรับแต่งแผนกรมธรรม์ได้ด้วยตัวคุณเอง เลือกความคุ้มครองที่ตอบโจทย์คุณได้มากที่สุด ที่สำคัญผ่อนสบายๆ ผ่านบัตรเครดิตหรือเดบิตได้นานสูงสุดถึง 10 งวด คลิกเช็คราคาออนไลน์ได้ตลอด 24 ชม. เลย

Bad-Result-For-Drive-Through-Water

พอเข้าสู่ช่วงเดือนหน้าฝนทีไร ก็คงหนีไม่พ้นกับปัญหา “ฝนตก รถติด” นอกจากจะสร้างความรำคาญใจและอันตรายแก่ผู้ใช้รถใช้ถนนแล้ว ยังเกิดผลเสียต่อรถของเราอีกด้วย โดยเฉพาะสถานการณ์จำเป็นที่ต้องขับรถลุยน้ำท่วมขัง หากคุณขับรถลุยน้ำไปนานๆ อาจจะทำให้รถพังเร็วกว่าที่คิดได้ แล้วปัญหานี้จะส่งผลเสียต่อรถของเรายังไงบ้าง มาอ่านกันเลยครับ

1. สภาพเครื่องยนต์ทำงานหนัก

แน่นอนเวลาขับรถลุยน้ำ พลังของมวลน้ำจะมาปะทะที่ตัวรถเรา จึงทำให้รถหนักและเคลื่อนตัวได้ช้าลง ยิ่งถ้าคุณเหยียบคันเร่งเพื่อที่จะเร่งเครื่อง ก็จะทำให้เครื่องยนต์ทำงานหนักหรือร้อนมากขึ้น ดังนั้น หากคุณขับรถลุยฝนไม่ถูกวิธี ท้ายที่สุดจะทำให้เครื่องยนต์ดูดน้ำเข้าไปในห้องเครื่อง และทำให้เครื่องยนต์พังนั่นเอง

Bad-Result-For-Drive-Through-Water

2. ผ้าเบรกเสื่อมสภาพไว

สำหรับระบบ “เบรก” ถือเป็นอีกหนึ่งจุดที่สำคัญมากๆ เมื่อเกิดน้ำท่วมอาจจะทำให้น้ำเข้าสู่การทำงานของเบรค แล้วทำให้เบรคเกิดอาการขัดข้องได้ง่าย ไม่เพียงเท่านั้นความชื้นของเบรคยังส่งผลให้เบรคมีประสิทธิภาพในการทำงานลดลง เช่น เบรคเป็นสนิม เบรคแล้วไม่อยู่ เบรคแล้วลื่น เป็นต้น ทางที่ดีเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุไม่คาดคิด หลังจากขับรถลุยน้ำแล้วอย่าลืมไล่ความชื่นด้วยการเหยียบเบรคเบาๆ มันก็จะช่วยให้ผ้าเบรคแห้ง และกลับมาเป็นปกติได้

3. ระบบไฟฟ้าในรถเสียหาย

เพราะน้ำกับไฟเป็นสิ่งไม่คู่กันอยู่แล้ว หากเราไม่ดูแลรถหลังจากขับรถลุยน้ำท่วม ก็อาจจะทำให้ระบบไฟฟ้าทั้งหมดภายในเครื่องเสียหายตามมาได้ครับ ไม่ว่าจะเป็นกล่องควบคุมไฟฟ้าภายในเครื่องยนต์ ระบบแอร์ เเบตเตอรี่รถยนต์ รวมถึงระบบต่างๆ ของเครื่องยนต์ ก็จะทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจร หรือรถสตาร์ทไม่ติดอีกด้วย

Bad-Result-For-Drive-Through-Water

4. รถพัง รถเป็นสนิม

นอกจากปัญหาฝนตกรถติด น้ำท่วมจะทำให้ระบบภายในเครื่องยนต์เสียหายแล้ว หากคุณไม่ล้างรถและเช็ดรถให้แห้งหลังจากขับรถลุยฝน ยังส่งผลให้รถภายนอกของคุณเป็นสนิม เสื่อมโทรมเร็วกว่าที่คิดด้วย เพราะคราบน้ำฝนจะกลายเป็นคราบฝังแน่น และทำลายสีรถได้ รวมถึงเศษฝุ่น เศษดิน เศษใบไม้ใบกิ่งไม้ ทั้งหมดนี้ก็จะทำให้รถของคุณดูเก่าเร็ว เกิดคราบสนิมเกาะบนผิวรถอีกด้วย

ดังนั้น หากเราไม่รู้จักดูแลรถหลังจากขับรถลุยฝน ก็จะยิ่งทำให้รถของคุณพัง และเสื่อมสภาพตามมาครับ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องยนต์ ระบบไฟฟ้าภายใน ระบบเบรค ระบบแอร์ ระบบท่อไอดี และสีของรถ ทางที่ดีเราควรหมั่นดูแลรักษาเครื่องยนต์ เพื่อให้รถสุดที่รักอยู่กับเราไปนานๆ

แล้วที่สำคัญเราอย่าลืมต่อประกันรถยนต์ให้ช่วยคุ้มครองรถจากอุบัติเหตุไม่คาดฝันด้วยนะ อย่างน้อยประกันรถยนต์จะช่วยดูแลเราในทุกการขับขี่มากขึ้น สบายใจได้เปราะหนึ่งเลยครับ

ขอบคุณข้อมูลจาก : frank.co.th ประกันที่รวดเร็ว เรียบง่าย และจริงใจกับคุณ

5 วิธีขับรถลุยน้ำท่วม

การขับรถลุยน้ำท่วม ต้องใช้ความระมัดระวัง

น้ำท่วม

          ในช่วงหน้าฝนแบบนี้ ข่าวคราวที่เราได้ยินกันบ่อยที่สุดอีกข่าวหนึ่ง นั่นก็คือข่าว “น้ำท่วม” ที่กำลังประสบอยู่ในหลายๆ จังหวัด และหลายคนก็ยังจำเป็นต้องใช้รถยนต์ ในสถานการณ์ที่กำลังน้ำท่วมในขณะนี้ ทาง Carro Thailand ขอแนะนำวิธีเตรียมตัวและขับรถลุยน้ำท่วม ได้อย่างปลอดภัย ครับ

น้ำท่วม

1. การขับรถเมื่อฝนตกใหม่ๆ ต้องใช้ความระมัดระวังมาก เพราะน้ำฝนและฝุ่นโคลน จะจับตัวกันกลายเป็นฟิล์มระหว่างยางกับพื้นถนน รถจะเกิดการลื่นเมื่อวิ่งผ่าน ควรขับรถผ่านด้วยความเร็วต่ำ จะทำให้รถเกาะถนนได้ดีขึ้น และควรถอนคันเร่งเมื่อขับรถผ่านแอ่งน้ำ พร้อมทั้งเปิดไฟหน้าไว้ รักษาความเร็วและรอบเครื่องยนต์ให้อยู่ในระดับเดียวกันอย่างสม่ำเสมอ ลดการใช้เบรก โดยการถอนคันเร่งเพื่อชลอให้รถลดความเร็วลงแทน

น้ำท่วม-6

2. กรณีที่จอดรถไว้ แล้วรถถูกน้ำท่วมในระดับสูงกว่าระดับเครื่องยนต์ สิ่งแรกที่ควรปฏิบัติ คือ ห้ามสตาร์ทรถเด็ดขาด เพราะอาจให้ระบบไฟฟ้า ภายในรถยนต์ช็อต เกิดความเสียหายได้ เบื้องต้นควรถอดขั้วแบตเตอรี่ออก รวมทั้งบริเวณแผงฟิวส์ รีเลย์ กล่อง ECU เพื่อไม่ให้ไฟเข้าไปเลี้ยงระบบต่างๆ ของรถ ก่อนจะนำรถเข้าศูนย์บริการเพื่อเปลี่ยนถ่ายของเหลวภายในระบบรถยนต์ทั้งหมด พร้อมทั้งตรวจเช็คระบบเบรก ช่วงล่าง และระบบไฟฟ้า

น้ำท่วม

3. หากขับรถลุยน้ำท่วมในระดับที่ไม่สูงนัก สามารถค่อยๆ ไปได้เรื่อยๆ สำหรับเกียร์ธรรมดา ควรใช้เกียร์ต่ำที่เกียร์ 1, 2 หากเกียร์อัตโนมัติที่ L หรือ D2 เป็นต้น จนกระทั่งถ้าระดับที่ผิวน้ำสูงถึงใต้ท้องรถจนได้ยินเสียงน้ำกระแทก ควรขับให้ช้าที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อหลีกเลี่ยงการสร้างคลื่นน้ำที่จะไปปะทะกับรถยนต์คันอื่น และการตกหลุมบ่อที่พื้นถนน โดยรักษาระดับจากรถคันหน้าไว้

น้ำท่วม

4. ห้ามเปิดแอร์เด็ดขาด ในขณะขับรถลุยน้ำ หากฝนหยุดตกก็เปิดกระจกรถขับลุยน้ำท่วมแทน เนื่องจากพัดลมไฟฟ้าของแอร์จะทำงาน อาจจะทำให้เครื่องยนต์ดับและไม่สามารถไปต่อได้ อีกทั้งอาจจะมีเศษขยะที่ลอยติดเข้ามากับน้ำ เข้าไปในระบบเครื่องยนต์ และสร้างความเสียหายกับตัวพัดลมไฟฟ้าได้ ในกรณีที่พัดลมไฟฟ้าดูดเอาสิ่งเศษขยะต่างๆ ที่ลอยมากับน้ำ

น้ำท่วม

5. หลังจากที่คุณขับรถลุยน้ำแล้ว แนะนำให้ล้างรถ ฉีดน้ำล้างช่วงล่างให้ทั่ว ใช้แปรงขนอ่อนๆ ขัดเอาเศษทราย เศษโคลนออก เป่าลมในห้องเครื่อง บริเวณแผงฟิวส์ หรือตามสายไฟจุดต่างๆ ที่คิดว่าน้ำเข้าถึง เพื่อไล่ความชื้นออก ตรวจดูระดับของเหลวต่างๆ ที่อยู่ในห้องเครื่องยนต์ ว่ามีน้ำเข้าไปเจือปนอยู่หรือไม่ เช็คลูกปืนล้อ และลองเหยียบคลัทช์ และย้ำเบรคเบาๆ เพื่อรีดน้ำและไล่ความชื้นออก เพื่อให้ผ้าเบรกรีดน้ำออกจากจานเบรก และเพื่อให้ไอน้ำจากจานเบรก ทั้งแบบดิสก์เบรก และดรัมเบรก ร้อนจนระเหยกลายเป็นไอ

Police-Flood

          แต่ในความเป็นจริงแล้ว รถยนต์ส่วนใหญ่ ถูกออกแบบมาให้เพื่อลุยน้ำได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น โดยรถยนต์ประเภทรถกระบะยกสูง รถ SUV ทั้งหลาย สามารถลุยน้ำได้สูงหน่อย (แต่ก็ไม่เกิน 80 ซม.) หากถ้าระดับน้ำมีความสูงมากกว่านั้น ก็ไม่ควรเสี่ยงอย่างยิ่งในการไปต่อครับผม

หลังขับรถลุยน้ำท่วมมา หากมีโอกาส ก็ควรนำรถไปให้ศูนย์บริการตรวจเช็ค หากรถมีอาการผิดปกติก็จะได้สามารถแก้ได้ทันการ ช่วยป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ ด้วยความปรารถนาดีจาก Carro Thailand ครับ

ขอขอบคุณภาพจาก มหัศจรรย์สกลนคร และ ศูนย์ควบคุมและสั่งการจราจร – บก.02