10-Bridges-From-Surname-In-Thailand

คุณเคยสังเกตหรือไม่ว่า เวลาขับรถไปไหนมาไหน มักจะมีชื่อถนน ชื่อสะพาน ที่หลายคนอาจสงสัย ว่ามันมีที่มาอย่างไร?

นับตั้งแต่ในอดีตที่บ้านเราเริ่มจะสร้างถนน สร้างสะพานข้ามคลองต่างๆ กันอย่างจริงจังในรัชกาลที่ 4, รัชกาลที่ 5 มาจนถึงปัจจุบัน ก็จะมีการใช้พระนาม นาม หรือชื่อ-นามสกุล ของสามัญชน หรือบุคคลสำคัญ ที่อาจจะเป็นผู้บริจาคที่ดินอุทิศให้ หรือบริจาคเงินอุทิศให้ เพื่อประโยชน์ของประชาชนโดยทั่วไปในการสัญจร หรือดำรงอยู่ในตำแหน่งหน่วยงานที่รับผิดชอบในการสร้าง

หากใครที่อยากขายรถคันเดิม แบบได้เงินเร็วไว ไม่ต้องเสียเวลาประเมินราคาขายเอง หรือต้องรอจนกว่าจะมีคนมาซื้อรถได้ Carro ขอแนะนำ Carro Express เรารับซื้อรถทุกแบบ ได้ที่ Link นี้ครับ https://th.carro.co/sell-car/express หรืออยากตีราคารถอีกครั้ง สามารถ Inbox สอบถามรายละเอียดได้ที่ Facebook CARRO Thailand

เวลาผ่านไปยาวนาน จนอาจทำให้คนลืมเลือนไปถึงที่มาที่ไปได้ Mr.Carro ขอนำความรู้ใหม่ๆ มาฝากกัน

สะพานเนาวจำเนียร

1. สะพานเนาวจำเนียร

สะพานเนาวจำเนียร เป็นสะพานข้ามคลองบางหลวงในทางหลวงแผ่นดินสายกรุงเทพฯ-นครปฐม (ปัจจุบัน คือ ช่วงถนนอินทรพิทักษ์ บรรจบกับถนนเพชรเกษม) ตั้งชื่อตามนามสกุลของนายมงคล เนาวจำเนียร ซึ่งเป็นผู้อำนวยการก่อสร้างสะพานนี้

นายมงคล เนาวจำเนียร (2447 – 2533) สำเร็จการศึกษาวิชาวิศวกรรมโยธาจากประเทศอังกฤษ เดิมนายมงคลรับราชการในกรมรถไฟ ต่อมาย้ายไปปฏิบัติราชการที่กรมทางหลวง และได้เป็นผู้อำนวยการก่อสร้างสะพานนี้

สะพานภาณุพันธุ์

2. สะพานภาณุพันธุ์

สะพานภาณุพันธุ์ เป็นสะพานที่อยู่ในย่าน Chinatown เป็นสะพานที่ข้ามคลองรอบกรุง ช่วงคลองโอ่งอ่างหรือคลองบางลำพู ตั้งอยู่ปลายสุดของถนนเยาวราช ตัดกับถนนพีระพงษ์ ถนนจักรเพชร และถนนมหาไชย

สร้างขึ้นเมื่อปี 2442 โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานนามให้ว่า “สะพานภาณุพันธุ์” เพื่อเป็นเกียรติแก่สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช องค์ผู้ทรงเป็นสมเด็จพระอนุชา อันเนื่องจากพระองค์ทรงประทับอยู่ ณ วังบูรพาภิรมย์ ที่อยู่ใกล้เคียง และเป็นต้นราชสกุล “ภาณุพันธุ์”

โดยระยะแรกเป็นสะพานโครงเหล็กเช่นเดียวกับสะพานในยุคนั้น ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างสะพานขึ้นใหม่ โดยมีโครงสร้างของคอนกรีตเสริมเข้าไป แต่ยังคงชื่อเดิมไว้

ปัจจุบัน ได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานระดับชาติ โดยอยู่ในความดูแลของกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่ปี 2547

สะพานเดชาติวงศ์

3. สะพานเดชาติวงศ์

สะพานเดชาติวงศ์ เป็นสะพานที่ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา เชื่อมถนนพหลโยธิน ที่หลักกิโลเมตรที่ 340 ก่อนเข้าสู่ใจกลางเมืองนครสวรรค์ ซึ่งกรมทางหลวงได้เริ่มก่อสร้างในปี 2485 และเปิดให้ใช้งานครั้งแรกในปี 2493

ซึ่งชื่อของสะพานนั้น มาจากนามสกุลของ พันตรี หม่อมหลวงกรี เดชาติวงศ์ อธิบดีกรมทางหลวงในสมัยนั้น

ในปัจจุบัน สะพานเดชาติวงศ์จะเปิดใช้งานเพียง 2 สะพาน คือ สะพานเดชาติวงศ์ 2 และ 3 ส่วนสะพานเดชาติวงศ์ 1 ทางจังหวัดนครสวรรค์เปิดไว้เป็น สะพานประวัติศาสตร์ ใช้ในการจัดงานต่างๆ ของจังหวัด หรือเปิดให้ใช้งานได้ในกรณีฉุกเฉิน เป็นต้น

สะพานธนะรัชต์

4. สะพานธนะรัชต์

สำหรับสะพานธนรัชต์ มาจากนามสกุลของ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ อดีตนายกรัฐมนตรี สร้างขึ้นเมื่อปี 2503 หลังจากเกิดไฟไหม้เมืองราชบุรี ซึ่งเคยเกิดเหตุไฟไหม้ใหญ่ด้วยกันถึง 2 ครั้ง ในปี 2499 และปี 2503

จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ จึงมีคำสั่งให้สร้างสะพานธนะรัชต์ขึ้น และเปิดใช้ในปี 2504 เนื่องจากตอนที่เกิดเหตุไฟไหม้ รถดับเพลิงเข้าไปยังพื้นที่ได้ลำบาก ไม่สามารถเข้าดับไฟได้ทันที รวมถึงเรือดับเพลิงซึ่งลอยลำเรืออยู่ริมแม่น้ำแม่กลอง ก็ไกลจากที่เกิดเหตุ

สะพานติณสูลานนท์

5. สะพานติณสูลานนท์

สะพานติณสูลานนท์ เป็นสะพานคอนกรีตที่ยาวที่สุดในประเทศไทย มีความยาวของสะพาน 2 ช่วงแรก 940 เมตร และ 1,700 เมตร ตามลำดับ รวมเป็น 2,640 เมตร ก่อสร้างขึ้นในสมัย ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

ในปี 2524 โดยรัฐบาลในยุคนั้น มีนโยบายพัฒนาจังหวัดสงขลา และ อำเภอหาดใหญ่ ให้เป็นเมืองหลัก โดยกรมทางหลวงเป็นเจ้าของโครงการ และบริษัทจากประเทศไต้หวัน เป็นผู้ก่อสร้าง เปิดใช้เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2527

ตัวสะพานอยู่ใน อ.เมืองสงขลา และ อ.สิงหนคร โดยเชื่อมเกาะยอ 2 ด้าน ระหว่างฝั่งบ้านน้ำกระจาย อ.เมืองสงขลา และบ้านเขาเขียว อ.สิงหนคร ถือเป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 408 ซึ่งเชื่อมต่อระหว่างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 414 กับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 407 (สงขลา-หาดใหญ่) ชาวจังหวัดสงขลานิยมเรียกสะพานนี้ติดปากว่า “สะพานป๋าเปรม” “สะพานติณ” หรือ “สะพานเปรม” นับเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งหนึ่งที่ขึ้นชื่อของจังหวัด

สะพานสารสิน

6. สะพานสารสิน

สะพานสารสิน เป็นสะพานที่เชื่อมระหว่างจังหวัดพังงากับจังหวัดภูเก็ต ตั้งชื่อตามนามสกุลของ นายพจน์ สารสิน ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ เริ่มสร้างครั้งแรกตั้งแต่ปี 2494 โดยให้บริษัทรับเหมาก่อสร้างมาสร้าง แต่มีปัญหาจึงหยุดไป

ต่อมาในปี 2508 จึงได้เริ่มลงมือก่อสร้างอีกครั้งโดยบริษัท Christiani & Nielsen (Thailand) Ltd. มีความยาวทั้งหมด 660 เมตร เปิดใช้งานได้ในวันที่ 7 กรกฎาคม 2510 ใช้งบประมาณทั้งหมด 28,770,000 บาท

สะพานวุฒิกุล

7. สะพานวุฒิกุล

สะพานวุฒิกุล เป็นสะพานข้ามแม่น้ำปิง ที่ อ.วังเจ้า จังหวัดตาก ในเส้นทางหลวงหมายเลข 104 ต่อเชื่อมทางหลวงหมายเลข 1 ตั้งเพื่อเป็นเกียรติแก่ นายอุทัย วุฒิกุล อธิบดีกรมทางหลวงท่านที่ 10 เป็นนายช่างใหญ่ผู้ควบคุมงาน

ตัวสะพานได้รับการสร้างใหม่อีกครั้งในปี 2496 โดยใช้สะพานโค้งคอนกรีตเสริมเหล็กแบบเดิม ช่วงประมาณ 50 เมตรเช่นเดิม เป็นแต่ว่าตัวตอม่อได้รับการออกแบบใหม่ เป็นตอม่อวางอยู่บนกลุ่มเสาเข็มแทน

ส่วนการก่อสร้างสะพานโค้งช่วง 50 เมตร มีเทคนิคพิเศษโดยการอัดแรงดันที่ยอดโค้ง ซึ่งก็เป็นวิธีช่วยลดแรงถีบของโค้งและบิดตัวพื้นสะพานให้โก่งขึ้น ช่วยให้คานรับพื้นสะพานรับน้ำหนักน้อยลง

สะพานพิบูลสงคราม

8. สะพานพิบูลสงคราม

สะพานพิบูลสงคราม แน่นอนเลยว่ามาจาก จอมพล ป.พิบูลสงคราม อดีตนายกรัฐมนตรีของไทยแน่นอน เป็นสะพานข้ามคลองบางซื่อ บนถนนประชาราษฏร์สาย 1 ซึ่งคาดว่าถือกำเนิดขึ้นพร้อมๆ กับถนนสายนี้

สำหรับสะพานแห่งนี้ ตั้งอยู่ใกล้กับอดีตที่ทำงานของ จอมพล ป.พิบูลสงคราม ที่เคยสังกัดอยู่ นั่นคือ กองพลทหารปีนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน (หรือ กรม ปตอ.)

สะพานเปี่ยมพงศ์สานต์

9. สะพานเปี่ยมพงศ์สานต์

สะพานเปี่ยมพงษ์สานต์ เป็นสะพานคอนกรีต ที่สร้างข้ามแม่น้ำระยองใกล้ๆ กับสะพานไม้ รถยนต์สามารถแล่นไปมาได้ เริ่มสร้างประมาณปี 2495 – 2497

ผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างสะพานนี้ก็คือ นายเสวตร เปี่ยมพงศ์สานต์ ในขณะนั้นดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง และเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรจังหวัดระยอง เพื่อเป็นเกียรติแก่ นายเสวตร เปี่ยมพงศ์สานต์ จึงตั้งชื่อสะพานนี้ว่า “สะพานเปี่ยมพงศ์สานต์”

สะพานเกิ๊ทเช

10. สะพานเกิ๊ทเช (Gottsche)

หลายคนงงแน่ ทำไมในไทย ถึงมีชื่อสะพานแปลกๆ แบบนี้ด้วย?

สะพานเกิ๊ทเช อยู่บนถนนทางรถไฟสายเก่าปากน้ำ ตรงแยกปากซอยถนนศิริราษฎร์ศรัทธา ซอย 1 ที่คอสะพานทั้งฝั่งซ้าย-ขวา จะมีแผ่นป้ายโลหะเล็กๆ (วงกลมในภาพ) ฝั่งซ้ายสลักอักษรไทยว่า ที.เอ. เกิ๊ทเช / 14-5-2425 / 1-1-2474 ส่วนที่ฝั่งขวา สลักเป็นอักษรอังกฤษว่า T.A. GOTTSCHE / 14-8-1882 / 1-4-1931

ย้อนไปเมื่อครั้งเริ่มมีการเดินรถไฟสายปากน้ำเมื่อ ร.ศ.112 หรือปี 2436 มีนายกลผู้ควบคุมรถไฟคนแรก เป็นชาวเดนมาร์ก ชื่อ T.A. Gottsche เป็นอดีตนายทหารคุมป้อมผีเสื้อสมุทร ได้เริ่มเข้าทำงานในบ้านเราเมื่อ 14-5-2425 และเกษียณอายุเมื่อ 1-1-2474 เป็นเวลาที่ทำงานในประเทศไทย 50 ปีเต็ม มีภรรยาเป็นคนไทยชาวปากน้ำ

ต่อมาได้รับพระราชทานชื่อและตำแหน่งเป็น ขุนบริพัตรโภคกิจ และได้รับนามสกุลพระราชทานเป็น คเชศะนันทน์ เนื่องจากคุณความดีที่ท่านทำไว้ให้ชาวปากน้ำ

เหล่าชาวบ้านจึงร่วมแรงร่วมใจกันสร้างสะพานเล็กๆ บริเวณใกล้ๆ บ้านพักของท่าน แล้วเรียกสะพานนี้ว่า สะพานเกิ๊ทเช

บางคนเห็นเวลาบนแผ่นโลหะระหว่างเวลาไทย กับเวลาฝรั่ง มันไม่ตรงกัน คือ เวลาที่เริ่มเข้ามาทำงาน ของไทยสลักว่า 14-5-2425 แต่ของฝรั่งสลักว่า 14-8-1882

ส่วนเวลาที่เกษียณของไทยสลักว่า 1-1-2474 ส่วนของฝรั่งสลักว่า 1-4-1931 จะเห็นว่าตรงตัวเลขหลักกลางที่เป็นตำแหน่งของเดือนมันไม่ตรงกัน นั่นเป็นเพราะแต่ก่อนเรานับเอาเดือนเมษายน (เดือนที่ 4) เป็นเดือนแรกของปีไทย เดือนที่สลักของไทยกับของฝรั่งก็เลยเหลื่อมกันอยู่ จริงแล้วมันคือเดือนเดียวกั

อันนี้แถมให้ …

สะพานพรหมโยธี

11. สะพานพรหมโยธี

สะพานแห่งนี้หลายคนลืมเลือนกันไปหมดแล้ว สำหรับ “สะพานพรหมโยธี” เป็นสะพานข้ามคลองสามเสน อยู่ช่วงระหว่างถนนราชวิถี และถนนดินแดง เป็นสะพานที่คาดว่าน่าจะมีในช่วงที่ จอมพล ป. พิบูลสงคราม สร้างทางด้วยดินลูกรังจากปลายถนนราชวิถีตัดกับถนนราชปรารภ ไปตามถนนดินแดง และสร้างต่อไปจนถึงบริเวณโรงเรียนพร้อมพรรณในปัจจุบัน

มีที่มาจากนามสกุลของ หลวงพรหมโยธี หรือ มังกร พรหมโยธี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม และอดีตรัฐมนตรี

สะพานปรีดี-ธำรง

12. สะพานปรีดี-ธำรง

สะพานแห่งนี้ เป็นการนำชื่อ และ นามสกุล ของ 2 บุคคลมารวมกัน โดยเป็นสะพานคอนกรีตข้ามแม่น้ำป่าสัก เข้าเกาะเมืองอยุธยา แห่งแรก สร้างขึ้นเมื่อปี 2483 สะพานยาว 168.60 เมตร สร้างเสร็จและเปิดใช้เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2486 ซึ่งตรงกับวันเกิดของ จอมพล.ป พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น

โดยมอบหมายให้นาวาเอก ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรมมาเป็นประธานพิธีเปิดสะพาน นายกรัฐมนตรีให้ชื่อสะพานนี้ว่า “สะพานปรีดี-ธำรง” เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ชาวอยุธยา ที่ได้เป็นผู้บริหารประเทศทั้งสองคน คือ นายปรีดี พนมยงค์ และพลเรือตรี หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์

Carro Express ขายรถกับคาร์โร อยากขายรถ ขายรถด่วน

สำหรับใครที่อยากขายรถคันเดิม ไปซื้อรถยนต์คันใหม่มาใช้ในช่วงนี้ มาขายรถกับทาง Carro Express สิ! คลิกเลยที่ https://th.carro.co/sell-car/express รับรองได้เงินเร็ว ไว ทันใจแน่นอน!

CARRO Automall

ส่วนใครสนใจจะซื้อรถมือสอง Carro แหล่งรวมรถมือสองคุณภาพเยี่ยมผ่านระบบออนไลน์ คุณสามารถจองรถได้ในเวลาเพียง 1 นาทีเท่านั้น! พร้อมคำนวณสินเชื่อและค่างวด ได้ภายในเว็บไซต์ทันที!

ซึ่ง Carro เรามีรถให้คุณเลือกมากมาย รถทุกคันผ่านการตรวจสภาพโดย Carro Certified อย่างละเอียดแบบ Double Check มากกว่า 160 จุด, การันตีคืนเงินภายใน 5 วัน, รับประกันเครื่องยนต์และเกียร์ 1 ปี, รับประกันไม่กรอไมล์ และไม่ประสบอุบัติเหตุหนัก ไฟไหม้ หรือน้ำท่วม พร้อมรับประกันคุณภาพรถ 1 ปี หรือ 30,000 กิโลเมตร!

อีกทั้งยังมีเทคโนโลยี “360 View & Sound Engine Analysis” เลือกชมรถยนต์เสมือนจริงออนไลน์รายแรกในไทย ทั้งภาพและเสียงในรูปแบบ 360 องศา รวมถึงมีเทคโนโลยีสนับสนุนฝ่ายขาย ทั้ง Digital Device ที่เชื่อมต่อกับ Digital Screen นำเสนอสิ่งที่ลูกค้าต้องการ และจัดการเรื่องเอกสารให้กับลูกค้าให้ตั้งแต่ต้นจนจบ บวกกับ Online Viewing Service ที่ลูกค้าสามารถวิดีโอคอล ตรวจสภาพรถยนต์คันที่สนใจได้แบบเรียลไทม์ ซื้อรถคุณภาพเยี่ยม ต้องที่ Carro สิ!

หรือถ้าหากคุณสนใจรถรุ่นไหนอยู่ แต่ยังหาที่ถูกใจไม่ได้ เรายินดีหาให้! เพียงกรอกชื่อ-เบอร์โทรศัพท์ และรถที่คุณสนใจ ไว้ที่ “รับการแจ้งเตือน” เมื่อมีรถที่คุณต้องการ Carro จะรีบติดต่อไปยังคุณทันที สอบถามรายละเอียดได้ที่ Facebook -> Carro Thailand โทร. 02-460-9380 หรือทาง Line @carrothai

แหล่งที่มาบางส่วนจาก: