Monk-And-Novice-In-Buddhist-Driving-Car

พอถึงวันพระใหญ่ทีไร ก็มักจะมีส่งภาพในโลกโซเชียล แชร์รูป หรือคลิปวิดีโอ ที่มีพระขับรถ หรือขี่มอเตอร์ไซค์ คนถามเข้ามากันหลายคนเลยว่า “พระสามารถขับรถได้หรือไม่” ซึ่งเอาจริงๆ ผมเองก็เห็นมีทั้งสามเณร และพระภิกษุ ขับรถกันมานานแล้วในต่างจังหวัด ซึ่งรถบางคันก็อาจจะเป็นของพระ (ที่ครอบครองไว้ตั้งแต่ก่อนบวช) เอง หรือรถที่ญาติโยมถวายให้วัด

พระบางรูปอาจจะมีความจำเป็นในการต้องใช้รถยนต์ เนื่องจากวัดค่อนข้างห่างไกลจากหมู่บ้าน หรือตัวเมือง เช่น ต้องเดินทางไปศึกษาเล่าเรียน หรือไปรักษาอาการอาพาธที่โรงพยาบาล เป็นต้น

และระบบขนส่งสาธารณะในต่างจังหวัด ก็มีจำกัดมาก ไม่มีรถแท็กซี่ รถเมล์ รถไฟ ให้เดินทางระยะไกลๆ ได้ การจะพึ่งพาญาติโยมบางทีอาจติดธุระ หรือไปส่งไม่ได้ พระขับรถยนต์ก็อาจเป็นทางออกอย่างหนึ่ง ที่ช่วยให้ไม่ลำบากในการเดินทาง

แต่ก็ยังมีคำถามที่ฆราวาสสงสัยกันอยู่เสมอ MR.CARRO เลยขอหาคำตอบมาเล่าให้ฟัง และจะบอกว่า “พระภิกษุสงฆ์” สามารถขับรถได้ครับ!

Monk-And-Novice-In-Buddhist-Driving-Car

ถ้าหากจะดูสภาวะของสังคมในยุคปัจจุบัน พระภิกษุสงฆ์ หรือสามเณร ก็น่าจะขับรถยนต์ได้ ซึ่งไม่ถือเป็นการผิดพระธรรมวินัย (ซึ่งในยุคพุทธกาล รถยนต์ก็ยังไม่มี ในพระธรรมวินัยก็ไม่มีบัญญัติกฎไว้ชัดเจน) ซึ่งในอดีต พระสงฆ์ที่จารึกแสวงบุญ หรือไปเผยแผ่ศาสนาตามที่ต่างๆ ก็มีพาหนะส่วนตัวต่างๆ ในการเดินทาง เช่น ขี่ม้า หรือพายเรือ ซึ่งก็ไม่ต่างจากการขับรถยนต์ หรือขี่รถมอเตอร์ไซค์ ในยุคปัจจุบัน

แต่ก็ต้องดูความเหมาะสม ความจำเป็นด้วย ถ้าทางที่ดี ก็หาคุณโยมมาช่วยขับให้นั่งดีกว่าครับ

ในส่วนของใบขับขี่ กรณีพระสงฆ์สามารถต่อใบขับขี่ได้เช่นเดียวกัน ถ้ามีหลักเกณฑ์หรือคุณสมบัติตรงตามการทำใบขับขี่รถยนต์ ของกรมการขนส่งทางบก ซึ่งไม่มีข้อห้ามพระภิกษุสงฆ์ หรือสามเณร ทำใบขับขี่หรือต่ออายุใบขับขี่รถยนต์

ในส่วนของฆราวาสที่บวชเป็นพระ แล้วใบขับขี่หมดอายุพอดี สามารถทำใหม่ได้ครับ โดยใช้ชื่อพระ และรูปถ่ายในชุดพระภิกษุสงฆ์ หรือพระบางรูปอาจจะบวชสักระยะ แล้วลาสิกขาออกมาเป็นฆราวาสตามเดิม ก็ค่อยไปต่อใบขับขี่ทีหลังได้ครับ

ภาพจาก เรื่องเล่าเช้านี้

ด้าน นายณรงค์ ทรงอารมณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) เปิดเผยเมื่อปี 2563 ที่ผ่านมาว่า ที่ประชุมมหาเถรสมาคม (มส.) มีมติให้แจ้งไปยังสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ให้ดำเนินการกับพระภิกษุสามเณรที่ขับขี่รถยนต์ รถจักรยานยนต์ โดยบังคับใช้กฎหมายเช่นเดียวกับประชาชนทั่วไป เนื่องจากที่ผ่านมา ตำรวจเมื่อพบพระภิกษุ-สามเณร ขับรถยนต์ และจักรยานยนต์ ส่วนใหญ่จะไม่ดำเนินคดี อย่างมากก็จะส่งให้เจ้าคณะปกครอง ทำการตักเตือนเท่านั้น

เพื่อมีมาตรการป้องกันเหตุการณ์ในลักษณะดังกล่าว ทั้งนี้ที่ประชุม มส. มีมติรับทราบ และให้ พศ. ดำเนินการ ดังนี้

1.แจ้งเจ้าคณะจังหวัดทั้ง 2 ฝ่าย ทราบ เพื่อแจ้งเจ้าคณะผู้ปกครองใกล้ชิดตามลำดับ สอดส่อง ดูแล กำชับให้พระภิกษุสามเณรปฏิบัติเอื้อเฟื้อต่อพระธรรมวินัย กฎหมายบ้านเมือง และจารีตประเพณี

2.แจ้งมติ มส. นี้ ไปยังสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในการตรวจตรา การขับขี่รถยนต์ และจักรยานยนต์ของพระภิกษุสามเณรเยี่ยงประชาชนทั่วไป

เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจตรวจพบพระภิกษุสามเณรขับขี่รถยนต์ รถจักรยานยนต์ จะสามารถบังคับใช้กฎหมายจราจรได้เช่นเดียวกับประชาชนทั่วไปได้ทันที ซึ่งถ้าหากพบการฝ่าฝืน ทำผิดกฎจราจร ตำรวจสามารถบังคับใช้กฎหมายจราจรได้อย่างเคร่งครัด กรณีอุบัติเหตุ ขับรถชนผู้อื่นเสียชีวิต เข้าขั้นอาบัติปาราชิก ขาดจากความเป็นสงฆ์ และไม่สามารถกลับมาบวชใหม่ได้ด้วย

ซึ่งถ้าจะว่ากันตามตรงแล้ว พระภิกษุสงฆ์ หรือสามเณร สามารถขับรถได้ แต่ต้องมีความจำเป็นจริงๆ เท่านั้นครับ เพราะทางโลกจะโลกะวัชชะเอา แต่เราก็ต้องควรมีโยนิโสมนสิการครับ! เจริญพร …

หากช่วงนี้ใครต้องการซื้อรถมือสองคุณภาพเยี่ยม ผ่านการตรวจสภาพได้มาตรฐาน รับประกันพร้อมโอนทุกคัน หรือหารถมือสองรุ่นที่ต้องการ สามารถเข้ามาดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ CARRO Automall > https://th.carro.co/buy-car หรือโทร. 02-508-8690 หรือจะ Inbox มาสอบถามก็ได้เช่นกัน ที่ Facebook CARRO Automall – รถบ้านมือสอง ถ้าสะดวก Add Line ก็ที่ @carroautomall

แต่ถ้าใครจำเป็นต้องใช้เงินเยอะ ก็เอารถที่ไม่ขับแล้ว มาขายรถที่ CARRO สิ! เรารับซื้อรถของคุณ สามารถเข้าไปเช็กราคา ตีราคาขายรถได้ โดยใส่ข้อมูลรถของคุณที่นี่เลย CARRO Express > https://th.carro.co/sell-car/express หรือโทร. 02-508-8425

หรือใครจะ Inbox มาสอบถามก็ได้เช่นกัน ที่ Facebook CARRO Thailand หรือสะดวก Add Line ก็ที่ @Carrothai หรือคลิกที่นี่ค่ะ —> เพิ่มเพื่อน

แหล่งที่มาบางส่วนจาก: