6-Danger-Items-Not-Keep-In-Car

หลายคนที่ต้องใช้งานรถยนต์กันเป็นประจำ บางทีก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องจอดรถทิ้งไว้กลางแดด เพราะแค่หาที่จอดรถก็จะยากแสนยากแล้ว ซึ่งปกติแล้วการจอดรถกลางแดดโดยปิดกระจกทุกบาน ความร้อนภายในรถจะพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว หากจอดรถกลางแดดในวันที่อากาศร้อนจัดทะลุ 37°C อุณหภูมิภายในรถอาจสูงถึง 60°C เลยทีเดียว ซึ่งถือเป็นระดับความร้อนแม้แต่คนยังไม่สามารถทนได้

ยิ่งช่วงนี้มีข่าวบ่อย ไม่ว่าจะเป็นการเก็บโทรศัพท์มือถือ สเปรย์น้ำหอม หรือ Power Bank ไว้ในรถ แล้วจอดรถทิ้งไว้กลางแดดจัดๆ จนเกิดเรื่องระเบิดขึ้นมาบ้าง ไฟไหม้หน้ารถบ้าง ก็ตามที …

ดังนั้น สิ่งของอันตราย หากจัดเก็บไม่ถูกวิธี เมื่อได้รับความร้อนอาจทำให้เกิดระเบิด หรือเพลิงไหม้ ก่อให้เกิดอันตรายได้ เพื่อความปลอดภัย คาร์โร จึงรวบรวม 6 สิ่งที่ไม่ควรเก็บไว้ในรถขณะจอดกลางแดด เพื่อป้องกันไม่ให้รถเกิดความเสียหาย ซึ่งมีอะไรบ้าง? ไปดูกันเลย

ไฟแช็ค

1. ไฟแช็ก

หากวางไว้บนคอนโซลรถและถูกแสงแดดที่มีความร้อนสูงกระทบเป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดการระเบิด ซึ่งจะส่งผลให้กระจกรถยนต์แตกร้าว หรืออาจเสี่ยงต่อการเกิดเพลิงไหม้ได้

สีสเปรย์

2. กระป๋องสเปรย์

เมื่อถูกความร้อนจะทำให้วัตถุ สารเคมี และแก๊สในกระป๋องขยายตัว จึงเกิดประกายไฟหรือระเบิดได้

Powerbank

3. แบตเตอรี่สำรอง

สารลิเธียมในแบตเตอรี่สำรอง (หรือ Power Bank) เป็นโลหะที่ไวต่อปฏิกิริยาทางเคมี เมื่อได้รับความร้อน อาจทำให้เกิดการลัดวงจร ส่งผลให้เกิดการระเบิดได้

iPhone

4. โทรศัพท์มือถือ

ความร้อนทำให้วงจรภายในโทรศัพท์ได้รับความเสียหาย และแบตเตอรี่โทรศัพท์เกิดการระเบิด โดยเฉพาะหากเปิดใช้งาน จะทำให้ความร้อนสูงขึ้น จึงเสี่ยงต่อการระเบิดได้

น้ำแข็งแห้ง

5. น้ำแข็งแห้ง

เมื่อน้ำแข็งแห้งระเบิดจะกลายเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ทำให้ผู้ที่อยู่ในห้องโดยสารหมดสติ เพื่อความปลอดภัย ควรเก็บไว้ในภาชนะที่มีช่องระบายอากาศ แยกจากห้องโดยสาร หากเก็บในห้องโดยสาร ควรเปิดกระจกรถ เพื่อระบายอากาศออกสู่ภายนอก

แผ่นยางกันลื่น-มือถือ

6. แผ่นยางกันลื่น

แผ่นยางกันลื่นสำหรับวางโทรศัพท์ ที่มักวางไว้เหนือแผงคอนโซล แม้ว่าจะไม่เกิดการระเบิดเหมือนข้ออื่นๆที่ผ่านมา แต่อาจละลายติดไปกับคอนโซลได้ หากได้รับความร้อนเป็นเวลานาน

เชื่อว่าหลายคนอาจนึกไม่ถึงว่าสิ่งของเหล่านี้ สามารถทำให้เกิดความเสียหายได้ และนอกจากจะทำให้สิ่งของเสียหายแล้ว ยังทำให้ผู้ที่อยู่ในห้องโดยสารเสี่ยงต่อการได้รับอันตรายอีกด้วย

Carro Express ขายรถกับคาร์โร อยากขายรถ ขายรถด่วน

สำหรับใครที่อยากขายรถคันเดิม ไปซื้อรถยนต์คันใหม่ มาขายรถกับทาง CARRO Express ได้ที่  https://th.carro.co/sell-car/express วิธีการขายรถในแบบยุคใหม่ ง่าย สะดวก รวดเร็ว ได้ราคา อีกทั้งยังลงขายได้ “ฟรี!” พร้อมรับเงินสดกลับบ้านทันที ภายใน 24 ชั่วโมง!

Carro Automall / คาร์โร ออโต้มอลล์

แต่ถ้าหากช่วงนี้ใครอยากเปลี่ยนรถคันใหม่ มาใช้แทนที่รถคันเดิม CARRO Automall แหล่งรวมรถมือสองคุณภาพเยี่ยมผ่านระบบออนไลน์ พร้อมตอบโจทย์คุณด้วยคอนเซปต์ “click.buy.drive.” คุณสามารถจองรถออนไลน์ ได้ในเวลาเพียง 1 นาทีเท่านั้น!

รถทุกคันผ่านการตรวจสภาพแบบ Double Check มากกว่า 200 จุด และยังมีเทคโนโลยี “360 View & Sound Engine Analysis” ให้คุณเลือกชมรถยนต์เสมือนจริงออนไลน์รายแรกในไทย ทั้งภาพและเสียงในรูปแบบ 360 องศา พร้อมรับประกันคุณภาพรถนานถึง 1 ปี หรือ 30,000 กิโลเมตร! อีกทั้งยังการันตีความพึงพอใจ คืนเงินได้ภายใน 5 วันอีกด้วย! เรามีรถให้คุณเลือกชมเพียบ เปิดบริการทุกวัน ซื้อรถคุณภาพเยี่ยม ต้องที่ CARRO Automall สิ!

หรือถ้าหากสนใจรถรุ่นไหนอยู่ แต่ยังหาที่ถูกใจไม่ได้ เรายินดีหาให้! เพียงแค่กรอกเบอร์โทรศัพท์ ชื่อยี่ห้อ / รุ่นรถ ที่คุณต้องการก็ได้เช่นกันครับ อีกทั้งยังสามารถ Inbox เข้ามาสอบถามรายละเอียดได้ที่ Facebook -> CARRO Automall Official โทร. 02-508-8690 หรือทาง Line @carroautomall ครับ

นอนในรถ

นอนในรถ อาจตายได้อันตรายจากก๊าซพิษ!
ควรดับเครื่องยนต์ก่อนนอน

สำหรับคนที่ขับรถอยู่ทุกวัน คงจะมีบางครั้งที่คุณรู้สึกง่วงจนต้องแวะเข้าปั้มเพื่อล้างหน้าล้างตาและหากาแฟดื่ม หรือบางคนที่ง่วงจริงๆ ก็ถึงขั้นนอนในรถกันเลยทีเดียว ซึ่งก็ไม่ผิดอะไรที่คุณจะนอนในรถ เพราะถ้าคุณง่วงมากๆ แล้วฝืนขับรถต่อไป ก็อาจจะ “หลับใน” จนเกิดอันตรายได้

นอนในรถเครดิตรูป : www.trthaber.com

แต่ “การนอนในรถ” ถ้านอนผิดวิธี ก็อันตรายไม่แพ้หลับในเช่นกัน! เนื่องจากการสตาร์ตเครื่องยนต์และเปิดแอร์ทิ้งไว้ เครื่องยนต์จะปล่อยก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ซึ่งเป็นก๊าซพิษออกมาในขณะที่รถยนต์จอดอยู่กับที่ และระบบแอร์ก็จะดูดอากาศจากด้านนอกเข้ามาในรถตอนเราหลับ เท่ากับว่าตอนนั้นเรากำลังสูดควันพิษจากก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์เข้าไป

แรกเริ่มจะทำให้มีอาการปวดศีรษะ อ่อนเพลีย อาเจียน เมื่อได้รับปริมาณมาก ก็จะไม่รู้สึกตัว ระบบหายใจล้มเหลว และเสียชีวิตในที่สุด เพราะร่างกายขาดออกซิเจนนั่นเอง เห็นหรือยังว่า “การนอนในรถ” ถ้านอนสุ่มสี่สุ่มห้ามันอันตรายกว่าที่คุณคิด

ด้วยความเป็นห่วงจาก Carro ในบทความนี้ เราจึงรวบรวมวิธี “การนอนในรถ” อย่างถูกต้อง เมื่อคุณจำเป็นต้องพักหรือนอนในรถจริงๆ เท่านั้น (รู้แล้วบอกต่อจะดีมาก)

 

1.เลือกทำเลที่จอด : เลือกที่จอดรถที่ปลอดภัย ไม่กีดขวางทางจราจร ไม่อันตราย มีพื้นที่จอดอย่างเหมาะสม ไม่ติดร่องน้ำหรือคูคลองมากเกินไป ตรงนั้นต้องไม่มีเครื่องจักรทำงาน โดยเฉพาะเวลากลางคืนที่จอดต้องไม่เปลี่ยว มีแสงสว่างเพียงพอ

 

2.ห้ามเปิดแอร์ : เพราะก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์จะเข้าไปแทนที่ก๊าซออกซิเจนในรถ ทำให้เราเสียชีวิตได้ แต่ถ้าเป็นตอนรถวิ่งเปิดแอร์ได้ปกติ เพราะมีอากาศหมุนเวียนตลอดเวลา

 

3.ลดกระจกลง : ลดกระจกลงเล็กน้อย ถ้าอยู่ในที่ไม่คุ้นเคย แต่ถ้าบริเวณนั้นปลอดภัยก็เปิดกระจกได้เต็มที่ หรือเปิดประตูให้ลมผ่านเข้าตลอดเลยก็ยังได้

 

4.ล็อครถให้ดี : สำหรับที่ที่ไม่ปลอดภัย หรือไม่คุ้นเคย ก่อนที่คุณจะนอน คุณจะต้องตรวจสอบความปลอดภัยว่าล็อกรถดีหรือยัง เพราะอาจถูกชิงทรัพย์หรือขโมยทรัพย์สินได้

5.เปิดพัดลม แต่ไม่ต้องเปิดแอร์ : พัดลมจากแอร์สามารถเปิดได้ แม้ไม่เปิดแอร์ แค่คุณบิดกุญแจเพื่อเปิดระบบไฟ เพื่อช่วยให้มีอากาศถ่ายเทในรถตลอดเวลา

 

ทั้งหมดนี้ ก็คือ 5 วิธีปฎิบัติง่ายๆ ที่คุณควรทำ “ก่อนจะนอนในรถ” เพื่อจะได้นอนพักอย่างปลอดภัย และขับขี่ต่อได้โดยไม่หลับใน และไม่เสี่ยงอันตรายกับก๊าซพิษค่ะ

Dangerous-Road-At-Songkran-2018

47 เส้นทางสุดอันตรายทั่วประเทศ ที่ต้องขับรถด้วยความระวัง ในช่วงสงกรานต์ 2561

กรมทางหลวง เตรียมรองรับการเดินทางของประชาชนในช่วงสงกรานต์ 2561 ด้วยนโยบาย One Transport โดยตั้งเป้าลดจำนวนอุบัติเหตุใน 77 เส้นทางที่ถูกคัดเลือกมา โดยเป็นของกรมทางหลวง 47 เส้นทาง, ทางหลวงชนบท 30 เส้นทาง โดยคัดเลือกจากพื้นที่นำร่อง ภายใต้ความร่วมมือระหว่างกระทรวงคมนาคม กับ Ministry of Land, Infrastructure, Transport and Tourism (MLIT) แห่งประเทศญี่ปุ่น จำนวน 8 เส้นทาง เส้นทางที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุดในช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2560 จำนวน 24 สายทาง เส้นทางที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุดในรอบปี 2560 จำนวน 5 เส้นทาง เส้นทางเข้าสู่แหล่งท่องเที่ยวที่ประชาชนนิยมท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลสงกรานต์ จำนวน 10 เส้นทาง

Highway

โดยเส้นทางดังกล่าวที่ถูกเลือก จะมีการเพิ่มความปลอดภัย เช่น ตั้งเต๊นท์อำนวยการในพื้นที่, เสริมป้าย Vinyl เตือนและรณรงค์เป็นระยะ, ติดตั้งป้ายเตือนถนนลื่นทุก 200 เมตร, ตั้งจุดเฝ้าระวังและตรวจความเร็วและคนเมาสุรา, ติดตั้งไฟกระพริบให้ลดความเร็ว เป็นต้น

Highway

เส้นทางอันตราย 47 เส้นทาง โดยกรมทางหลวง ประกอบด้วย

ลำดับที่ 1 ทางหลวงหมายเลข 1 ตอนโนนปอแดง – ปากดง ระหว่าง กม. 386–394 จ.กำแพงเพชร

ลำดับที่ 2 ทางหลวงหมายเลข 1 ตอนวังม่วง – แม่เชียงรายบน ระหว่าง กม. 535–540 จ.ตาก

ลำดับที่ 3 ทางหลวงหมายเลข 4 ตอนหนองหมู – ห้วยยาง ระหว่าง กม. 276+813-295 จ.ประจวบคีรีขันธ์

ลำดับที่ 4 ทางหลวงหมายเลข 4 ตอนน้ำรอด-พ่อตาหินช้าง ระหว่าง กม. 425-440 จ.ชุมพร

ลำดับที่ 5 ทางหลวงหมายเลข 4 ตอนเขาพับผ้า – พัทลุง ระหว่าง กม. 1158+1163 จ.พัทลุง

ลำดับที่ 6 ทางหลวงหมายเลข 12 ตอนกลางสะพานมิตรภาพแม่สอด – แม่ละเมา ระหว่าง กม. 1-6 จ.ตาก

ลำดับที่ 7 ทางหลวงหมายเลข 22 ตอนสูงเนิน – ท่าแร่ ระหว่าง กม. 161-167 จ.สกลนคร

ลำดับที่ 8 ทางหลวงหมายเลข 22 ตอนกุรุคุ – นครพนม ระหว่าง กม. 235-240 จ.นครพนม

ลำดับที่ 9 ทางหลวงหมายเลข 33 ตอนบางปะหัน – โคกแดง ระหว่าง กม. 49-62 จ.อยุธยา

ลำดับที่ 10 ทางหลวงหมายเลข 41 ตอนถ้ำพรรณรา – ทุ่งสง ระหว่าง กม. 264-271 จ.นครศรีธรรมราช

ลำดับที่ 11 ทางหลวงหมายเลข 41 ตอนสี่แยกโพธิ์ทอง – พัทลุง ระหว่าง กม. 377-382+616 จ.พัทลุง

ลำดับที่ 12 ทางหลวงหมายเลข 43 ตอนนาหม่อม – จะนะ ระหว่าง กม. 270-320 จ.สงขลา

ลำดับที่ 13 ทางหลวงหมายเลข 101 ตอนร้องกวาง – สวนป่า ระหว่าง กม. 283-290 จ.แพร่

ลำดับที่ 14 ทางหลวงหมายเลข 118 ตอนท่าก๊อ – ดงมะดะ ระหว่าง กม. 132+139 จ.เชียงราย

ลำดับที่ 15 ทางหลวงหมายเลข 205 ตอนโคกสวาย – ขท.นครราชสีมาที่ 1 ระหว่าง กม. 204+209 จ.นครราชสีมา

ลำดับที่ 16 ทางหลวงหมายเลข 212 ตอนย้อมพัฒนา – นาโพธิ์ ระหว่าง กม. 406-411 จ.มุกดาหาร

ลำดับที่ 17 ทางหลวงหมายเลข 212 ตอนหนองยอ – อุบลราชธานี ระหว่าง กม. 568-574 จ.อุบลราชธานี

ลำดับที่ 18 ทางหลวงหมายเลข 224 ตอนพะโค – หนองสนวน ระหว่าง กม. 90-95 จ.นครราชสีมา

ลำดับที่ 19 ทางหลวงหมายเลข 226 ตอนหัวทะเล – หนองกระทิง ระหว่าง กม. 15+20 จ.นครราชสีมา

ลำดับที่ 20 ทางหลวงหมายเลข 304 ตอนดอนขวาง – โพธิ์กลาง ระหว่าง กม. 272-278 จ.นครราชสีมา

ลำดับที่ 21 ทางหลวงหมายเลข 402 ตอนหมากปรก – เมืองภูเก็ต ระหว่าง กม. 30-35 จ.ภูเก็ต

ลำดับที่ 22 ทางหลวงหมายเลข 1084 ตอนป่าแดง – หาดชะอม ระหว่าง กม. 5-14 จ.นครสวรรค์

ลำดับที่ 23 ทางหลวงหมายเลข 2044 ตอนร้อยเอ็ด – หนองดง ระหว่าง กม. 0+184-5 จ.ร้อยเอ็ด

ลำดับที่ 24 ทางหลวงหมายเลข 3395 ตอนวัฒนานคร – โคคลาน ระหว่าง กม. 82-87 จ.สระแก้ว

ลำดับที่ 25 ทางหลวงหมายเลข 2 ตอนสระบุรี – ตาลเดี่ยว ระหว่าง กม. 0-5 จ.สระบุรี

ลำดับที่ 26 ทางหลวงหมายเลข 4 ตอนปากท่อ – สระพัง ระหว่าง กม. 123-133 จ.สมุทรสงคราม

ลำดับที่ 27 ทางหลวงหมายเลข 35 ตอนสะพานขึ้นแม่น้ำท่าจีน-ยาโคก ระหว่าง กม. 4-5 จ.สมุทรสาคร

ลำดับที่ 28 ทางหลวงหมายเลข 41 ตอนเกาะมุกข์ – ควนรา ระหว่าง กม. 118-132 จ.สุราษฎร์ธานี

ลำดับที่ 29 ทางหลวงหมายเลข 101 ตอนแยกบ้านฝ้าย – ร้องกวาง ระหว่าง กม. 252–257 จ.แพร่

ลำดับที่ 30 ทางหลวงหมายเลข 1 ตอนพาน – สันทรายหลวง ระหว่าง กม. 916-922 จ.เชียงราย

ลำดับที่ 31 ทางหลวงหมายเลข 1 ตอนแม่คำ – กลางสะพานแม่น้ำสาย ระหว่าง กม. 972-976 จ.เชียงราย

ลำดับที่ 32 ทางหลวงหมายเลข 3 ตอนชลบุรี – ศรีราชา ระหว่าง กม. 98-103 จ.ชลบุรี

ลำดับที่ 33 ทางหลวงหมายเลข 4 ตอนคลองหวะ – พังลา ระหว่าง กม. 1258+642-1263 จ.สงขลา

ลำดับที่ 34 ทางหลวงหมายเลข 12 ตอนเข็กน้อย – แยกอนุสาวรีย์พ่อขุนผาเมือง ระหว่าง กม.340–348 จ.เพชรบูรณ์

ลำดับที่ 35 ทางหลวงหมายเลข 217 ตอนวารินทร์ชำราบ – พิบูลมังสาหาร ระหว่าง กม. 22-37 จ.อุบลราชธานี

ลำดับที่ 36 ทางหลวงหมายเลข 323 ตอนแยกปากกิเลน – น้ำตกไทรโยคใหญ่ ระหว่าง กม. 110–115 จ.กาญจนบุรี

ลำดับที่ 37 ทางหลวงหมายเลข 401 ตอนบางกุ้ง – เขาหัวช้าง ระหว่าง กม. 175–180 จ.สุราษฎร์ธานี

ลำดับที่ 38 ทางหลวงหมายเลข 1009 ตอนจอมทอง – ดอยอินทนนท์ ระหว่าง กม. 0+5 จ.เชียงใหม่

ลำดับที่ 39 ทางหลวงหมายเลข 4030 ตอนถลาง – หาดราไวย์ ระหว่าง กม. 26-28+290 และ 29+790-32 จ.ภูเก็ต

สำดับที่ 40 ทางหลวงหมายเลข 2 ตอนขอนแก่น – หินลาด ระหว่าง กม. 343-354 จ.ขอนแก่น

ลำดับที่ 41 ทางหลวงหมายเลข 4 ตอน สระพระ –ห้วยทรายใต้ ระหว่าง กม. 187-193 จ.เพชรบุรี

ลำดับที่ 42 ทางหลวงหมายเลข 11 ตอนบึงหลัก-หนองเขียว ระหว่าง กม. 346-351 จ.อุตรดิตถ์

ลำดับที่ 43 ทางหลวงหมายเลข 12 ตอนน้ำดุก – ห้วยซ้ำมะคาว ระหว่าง กม. 372-375 จ.เพชรบูรณ์

ลำดับที่ 44 ทางหลวงหมายเลข 32 ตอนไชโย – สิงห์ใต้ ระหว่าง กม. 78-83+900 จ.อ่างทอง

ลำดับที่ 45 ทางหลวงหมายเลข 340 ตอนสาลี – สุพรรณบุรี ระหว่าง กม. 55-60 จ.สุพรรณบุรี

ลำดับที่ 46 ทางหลวงหมายเลข 3312 ตอนลำลูกกา – คลองใน ระหว่าง กม. 19-21 จ.นครนายก

ลำดับที่ 47 ทางหลวงหมายเลข 4029 ตอนกระทู้ – ป่าตอง ระหว่าง กม 0.-3+236 จ.ภูเก็ต

โดยอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบนเส้นทางดังกล่าว มีหลายสาเหตุ อาทิ การขับรถเร็ว, หลับใน, เมาสุรา, ตัดหน้าในระยะกระชั้นชิด, ฝ่าฝืนเครื่องหมายจราจร เป็นต้น