6-Ways-To-Fix-Car-Black-Smoke

เมื่อพูดถึงเรื่องรถ “ควันดำ” หลายคนก็จะนึกถึงรถที่ใช้ “เครื่องยนต์ดีเซล” ของมาทันที! แล้วยิ่งตั้งแต่ช่วงต้นปีนี้ ที่ประเทศไทยประสบปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 ทำให้หน่วยงานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม กรมการขนส่งทางบก และตำรวจจราจร จึงออกตั้งด่านตรวจวัดควันดำกันทั่ว ซึ่งถ้าโดนจับก็ต้องเสียเวลา เสียค่าปรับ แถมถูกห้ามใช้รถอีก

6-Ways-To-Fix-Car-Black-Smoke

รถเมื่อใช้ไปได้สักระยะหนึ่ง มักจะมีปัญหาเรื่องควันดำ โดยเฉพาะรถเก่าที่มีการใช้งานมานาน ซึ่งนอกจากจะสร้างปัญหาให้กับผู้ใช้รถใช้ถนนคนอื่นๆ แล้ว ยังสร้างมลพิษให้กับสภาวะแวดล้อมของโลกอีกด้วย ซึ่งสาเหตุที่รถมีควันดำนั้นมีดังนี้

  1. เครื่องยนต์สึกหรอมาก เช่น ลูกสูบและกระบอกสูบ แหวนลูกสูบชำรุด
  2. ปั๊มฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงชำรุดและทำงานไม่ถูกต้อง หรือฉีดน้ำมันในจังหวะที่ไม่ถูกต้อง
  3. หัวฉีดน้ำมันแรงดันสูงที่จ่ายเข้าไปในห้องเผาไหม้ชำรุด
  4. กรองอากาศอุดตัน
  5. น้ำมันเครื่องมีอายุการใช้งานมาก
  6. เขม่าควันดำและฝุ่นละอองค้างอยู่ภายในท่อไอเสีย

6-Ways-To-Fix-Car-Black-Smoke

ภาพจาก กรมการขนส่งทางบก PR.DLT.News

และเมื่อพบว่ารถคุณเกิดควันดำอย่าได้นิ่งนอนใจ ควรรดำเนินการแก้ไข ดังนี้

1. ซ่อมแซมเครื่องยนต์ในส่วนที่สึกหรอ เช่น เปลี่ยนลูกสูบ แหวนลูกสูบ หรือ ทำการคว้านกระบอกสูบ แล้วเปลี่ยนลูกสูบให้ใหญ่ขึ้น
2. ทำการเช็กปั๊ม โดยนำเข้าศูนย์บริการ ทำการปรับแต่งปั๊มจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงเปลี่ยนชิ้นส่วนที่ชำรุดสึกหรอ รวมทั้งปรับแต่งหัวฉีดน้ำมันและเปลี่ยนชิ้นส่วนที่สึกหรอ รวมทั้งการปรับแต่งอัตราและจังหวะการฉีดน้ำมันให้ถูกต้องเป็นไปตามบริษัทผู้ผลิตกำหนด
3. เปลี่ยนไส้กรองอากาศใหม่ เพื่อให้เกิดการเผาไหม้ที่สมบรูณ์
4. เปลี่ยนน้ำมันเครื่องตามระยะเวลาที่บริษัทผู้ผลิตกำหนด
5. ปรับแต่งเครื่องยนต์ให้ทำงานถูกต้องตามระยะเวลาที่เหมาะสม
6. ทำการล้างท่อไอเสียโดยใช้น้ำหรือลมฉีดชะล้างเขม่า และฝุ่นละอองภายในท่อไอเสีย

มาตรฐานค่าควันดำจากท่อไอเสียของรถยนต์

ปกติแล้ว การวัดควันดำของรถยนต์ จะวัดกันจอดรถยนต์จอดอยู่กับที่ ซึ่งมีกำหนดไว้ไม่เกินร้อยละ 50 (เมื่อตรวจวัดด้วยเครื่องมือวัดควันดำระบบกระดาษกรอง) หรือไม่เกินร้อยละ 45 (เมื่อตรวจวัดด้วยเครื่องมือวัดควันดำระบบวัดความทึบแสง)

6-Ways-To-Fix-Car-Black-Smoke

ภาพจาก กรมการขนส่งทางบก PR.DLT.News

รถยนต์ที่ปล่อยควันดำ เกินค่ามาตรฐาน นอกจากโดนปรับแล้ว ยังจะถูกติดสติ๊กเกอร์ หรือพ่นสีที่หน้ากระจกรถว่า “ห้ามใช้ชั่วคราว” คือ คำสั่งห้ามใช้รถยนต์เป็นการชั่วคราว จนกว่าจะนำรถไปแก้ไขปรับปรุงเครื่องยนต์ให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์และมีควันดำเป็นไปตามมาตรฐาน ภายในกำหนด 30 วัน

และหากยังฝ่าฝืน ไม่นำรถยนต์ไปแก้ไขปรับปรุงเครื่องยนต์ให้มีควันดำลดลง ภายใน 30 วัน ก็จะถูกติดสติ๊กเกอร์ “ห้ามใช้เด็ดขาด” พร้อมบันทึกหมายเลขทะเบียนลงในคอมพิวเตอร์ เพื่อแจ้งไปยังนายทะเบียนของกรมขนส่งทางบกพิจารณาดำเนินการ และจะเคลื่อนย้ายรถยนต์ได้ ก็ต่อเมื่อได้รับการอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่เท่านั้น

ขอขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก กรมควบคุมมลพิษ