Caution-7-Button-In-Cars

รถยนต์รุ่นใหม่ๆ ในปัจจุบัน มักมีระบบอำนวยความสะดวกในรูปแบบปุ่มกดหรือระบบสัมผัส ซึ่งบางปุ่มเกี่ยวข้องกับระบบความปลอดภัยของรถ ที่ค่อนข้างมากมาย และมีวิธีใช้ที่แตกต่างกันไป

ดังนั้นเพื่อความปลอดภัย ทางกระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) จึงขอเตือน 7 ปุ่มในรถ หากเผลอกดหรือใช้งานไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอันตราย ได้แก่

1.ปุ่มเปิดไฟสูง

Headlight-Lamp

ปุ่มเปิดไฟสูง สถานการณ์ที่ควรใช้ เมื่อขับรถผ่านเส้นทางที่มืดมาก จะช่วยให้มองเห็นเส้นทางชัดเจนขึ้น หรือส่งสัญญาณเตือนให้ผู้ขับรถคันอื่นเพิ่มความระมัดระวังอันตรายจากการเปิดไฟสูงค้าง ไฟสูงมีลำแสงเข้มและพุ่งตรงไปด้านหน้า ทำให้ผู้ขับรถคันอื่นสายตาพร่ามัว ก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้

2.ปุ่มปิดการทำงานของถุงลมนิรภัย

Airbag-On-Off-Switch

ปุ่มปิดการทำงานของถุงลมนิรภัย ควรใช้ กรณีติดตั้งเบาะนั่งนิรภัยเด็กบริเวณเบาะด้านหน้า เพื่อป้องกันถุงลมนิรภัยทำงานกรณีประสบอุบัติเหตุ ถุงลมนิรภัยจะพองตัวและพุ่งกระแทกใส่เด็ก ทำให้ขาดอากาศหายใจ และได้รับบาดเจ็บรุนแรงมากขึ้น อันตรายจากการปิดปุ่ม กรณีประสบอุบัติเหตุจากการชนด้านหน้า ถุงลมนิรภัยจะไม่ทำงาน ทำให้ผู้ขับขี่และผู้โดยสารด้านหน้า ได้รับบาดเจ็บรุนแรงมากขึ้น

3.ปุ่มไฟตัดหมอก

Fog-Lamp-Button

ปุ่มไฟตัดหมอก ควรใช้ เมื่อขับรถผ่านเส้นทางที่มีฝนตกหนัก หรือหมอกลงจัด รวมถึงการขับรถในช่วงกลางคืนหลังฝนตก หรือถนนมีน้ำเฉอะแฉะ เพื่อลดการสะท้อนของแสงไฟหน้ารถกับพื้นถนน จะช่วยให้มองเห็นเส้นทางชัดเจนขึ้น อันตรายจากการเปิดไฟตัดหมอกค้างไว้ แสงไฟตัดหมอกจะส่องสว่างได้ในระยะไกล ทำให้ผู้ขับรถคันอื่นสายตาพร่ามัว ก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้

4.ปุ่มเบรกมือไฟฟ้า

Parking-Brake-Button

ปุ่มเบรกมือไฟฟ้า ควรใช้ เหมาะสำหรับจอดรถบริเวณทางลาดชัน จะช่วยให้ล้อล็อคอยู่กับที่ และป้องกันรถไหล ก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ หากเปิดใช้ในขณะขับขี่ ระบบเบรกมือจะทำงานทันที แม้จะมีวงจรปลดล็อคอัตโนมัติในขณะที่ล้อหมุน แต่อาจทำให้ผู้ขับขี่ตกใจ จึงเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ

5.ปุ่มเปิดกระโปรงหน้ารถ

Bonnet-Button

ปุ่มเปิดกระโปรงหน้ารถ ควรใช้ เมื่อต้องตรวจสอบเครื่องยนต์ หรือรถมีอาการผิดปกติ อาทิ การเติมน้ำหล่อเย็น การเปลี่ยนสายพานหรือแบตเตอรี่ การเติมน้ำมันเบรก โดยดับเครื่องยนต์และจอดรถในบริเวณที่ปลอดภัย พร้อมดึงเบรกมือ เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ กรณีลืมปิดปุ่มเปิดกระโปรงหน้ารถ เมื่อขับรถด้วยความเร็วสูง แรงลมปะทะจะทำให้สลักยึดฝากระโปรงหลุด ส่งผลให้ฝากระโปรงเปิด และบดบังทัศนวิสัยในการมองเห็นเส้นทาง จึงเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ

6.ปุ่มเปิดกระโปรงท้ายรถ

Trunk-Open

ปุ่มเปิดกระโปรงท้ายรถ ควรใช้ กรณีต้องจัดเก็บสิ่งของไว้บริเวณกระโปรงท้ายรถ และควรปิดให้สนิททุกครั้งหลังใช้งาน กรณีปิดกระโปรงท้ายรถไม่สนิท ในขณะรถวิ่ง อาจทำให้สิ่งของที่อยู่บริเวณกระโปรงท้ายรถร่วงหล่นกีดขวางช่องทาง ส่งผลให้รถที่วิ่งตามหลังมา ต้องหักหลบกะทันหัน จึงเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ แต่หากลืมปิดฝากระโปรงท้ายรถขณะจอดรถเป็นเวลานาน อาจทำให้แบตเตอรี่หมดได้

7.ปุ่มระบบป้องกันล้อหมุนฟรี

VSC-VSA-ESP-Button

ปุ่มระบบป้องกันล้อหมุนฟรี (ระบบ ESP/VSC/VSA ที่แล้วแต่ผู้ผลิตรถแต่ละค่ายจะเรียก) ควรใช้ในขณะที่รถออกตัวหรือเหยียบคันเร่งบนเส้นทางเปียกลื่นหรือทางลูกรัง จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทรงตัวของรถ และป้องกันล้อหมุนฟรี ส่งผลให้รถมีการทรงตัวที่สมดุลในทุกเส้นทาง

กรณีปิดระบบ เมื่อขับรถผ่านเส้นทางที่เปียกลื่นหรือเป็นทางลูกรัง อาจทำให้รถมีอาการปัดหรือลื่นไถล จึงเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายที่รุนแรงมากขึ้น ในทางกลับกัน กรณีขับรถผ่านทางโคลน หรือออกจากหล่มโคลน การปิดระบบจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเลื่อนรถออกจากหล่ม

ทั้งนี้ การใส่ใจเรียนรู้ระบบการทำงานของรถ โดยเฉพาะปุ่มต่างๆ ในรถที่เกี่ยวข้องกับระบบอำนวยความสะดวก และความปลอดภัย จะช่วยลดอันตรายและความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ….

10-Car-Equipment-Less-In-This-Time

รถยนต์ในปัจจุบัน มีเทคโนโลยีที่พัฒนาก้าวหน้าไปไกลจากในอดีตมาก อุปกรณ์ติดรถบางอย่าง ที่เคยจำเป็นในอดีต แม้ว่าในการใช้งาน จะต้องออกแรงกันเป็นหลัก แต่มันก็ให้ความทนทาน และไม่ต้องพึ่งพิงระบบไฟฟ้า ในการทำงาน

รถยุค 70 รถยุค 80 สิ่งของจำเป็นเหล่านี้ยังได้รับความนิยม แต่พอมาจนถึงรถยุค 90 จวบจนในปัจจุบัน อาจจะหมดความสำคัญ ถูก Disrupt ออกไปจนแทบจะไม่มี หรือหายไปจากในรถยนต์แล้ว ก็มีอยู่หลายอย่าง …

ทาง CARRO ขอรวบรวม 10 อุปกรณ์ติดรถ ที่กำลังจะสูญพันธ์ มาให้ท่านผู้อ่านได้ทราบกันครับ

10-Car-Equipment-Less-In-This-Time

1. กระจกมือหมุน

ถือเป็น 1 ในอุปกรณ์ติดรถที่สำคัญมาตั้งแต่อดีต “กระจกมือหมุน” อาศัยการทำงานแบบกลไกเป็นหลัก พอถึงในยุคที่มีกระจกไฟฟ้าแล้ว ก็จะเหลือแต่รถยนต์รุ่นล่างๆ ที่ยังติดตั้งกระจกหน้าต่างมือหมุนมาให้เป็นอุปกรณ์มาตรฐาน แม้จะดูว่าโบราณ และบางทีต้องเอี้ยวตัวไปเปิด (ฝั่งด้านคนนั่ง) ซึ่งไม่สะดวกเอาซะเลย

แต่ก็ได้เรื่องความทนทาน เวลาไม่ได้สตาร์ทรถ ก็ยังสามารถหมุนกระจกได้ รวมถึงเวลาฉุกเฉิน ก็ยังสามารถหมุนกระจกได้ และดูแลรักษาง่าย ใช้งานได้ยาวนาน จนกว่ารถจะพัง หรือรางหมุนกระจกด้านใน สนิมกินหมดซะก่อน

10-Car-Equipment-Less-In-This-Time

2. ที่จุดบุหรี่

ในอดีตรถยุคก่อนมักจะติดที่จุดบุหรี่ มาให้คู่กับที่เขี่ยบุหรี่ เพราะการสูบบุหรี่ในสมัยก่อนถือเป็นเรื่องธรรมดา แต่ช่วง 20 กว่าปีที่ผ่านมา ผู้คนเริ่มตระหนักถึงพิษภัยของบุหรี่มากขึ้น

ทำให้บรรดาค่ายรถต่างๆ เริ่มเปลี่ยนที่จุดบุหรี่ มาเป็นช่องเสียบปลั๊กไฟขนาด 12V พร้อมกับฝาพลาสติกปิดตรงจุดจ่ายไฟ แทนที่จุดบุหรี่ ส่วนที่เขี่ยบุหรี่ ก็เปลี่ยนเป็นที่เก็บเศษสตางค์ไปแทน

10-Car-Equipment-Less-In-This-Time

3. เกียร์ธรรมดา

รถเกียร์ธรรมดา ปัจจุบันยังได้รับความนิยมในประเทศแถบยุโรป เนื่องจากความทนทาน ประหยัด ขับในเมืองเล็กๆ หรือขึ้นเขาลงเขาได้สนุก ต่างจากประเทศในแถบเอเชีย ที่หลายประเทศรถติดอันดับโลก หรือรถติดมากๆ ในช่วงเวลาเร่งด่วน

ทำให้เกียร์ธรรมดา มีเฉพาะในรถรุ่นล่างๆ กับรถกระบะเท่านั้น เพราะการขับรถเกียร์ธรรมดา ผู้คนไม่นิยมแล้ว เนื่องจากขับค่อนข้างยาก สำหรับคนที่ยังไม่ชำนาญ และกรุงเทพฯ ขึ้นชื่อว่ารถติดอันดับต้นๆ ของโลก การขับรถเกียร์ธรรมดาตอนรถติดๆ ต้องเหยียบคลัทช์กันแทบตลอดเวลา เล่นซะขาซ้ายน่องโป่งข้างเดียวซะก่อน

10-Car-Equipment-Less-In-This-Time

4. วิทยุติดรถยนต์แบบ 1 DIN

DIN ย่อมาจาก Deutsches Institut fur Normung (ในภาษาอังกฤษ คือ German Institute for Standardization) ซึ่งอาจจะไม่ได้เกี่ยวข้องกับเครื่องเสียงโดยตรงนัก แต่ DIN มีกำหนดมาตรฐานของเครื่องเสียงของเยอรมนีเอาไว้ด้วย (มาตรฐาน “DIN 75490”) เลยกลายเป็นคำยอดฮิตสำหรับเรียกวิทยุติดรถยนต์ไป

วิทยุ 1 DIN หรือ EURO-DIN จะมีขนาดของวิทยุกว้าง 180 มม. สูง 50 มม. ราวๆ ประมาณนี้ บวกลบนิดหน่อย ในอดีตจะเป็นวิทยุ FM/AM พร้อมช่องใส่เทปคาสเซท หรือ CD แต่ในปัจจุบัน ก็ปรับเปลี่ยนเป็นช่องเสียบ USB และ AUX แทน

แต่วิทยุติดรถยนต์ปัจจุบัน แทบทั้งหมดในท้องตลาดจะเป็นแบบ 2 DIN มีทั้งแบบปุ่มกด และแบบจอสัมผัส หรือวิทยุรูปทรง Built-In เข้ากับตัวคอนโซลรถ จำหน่ายหรือติดตั้งมาจากโรงงาน ทำให้วิทยุติดรถ 1 DIN แบบเก่า ที่เคยนิยมมาตั้งแต่ในรถยุค 80 และรถยุค 90 เริ่มน้อยลงจากในรถยนต์รุ่นใหม่ที่ออกมาจากโรงงานมากขึ้นเรื่อยๆ

10-Car-Equipment-Less-In-This-Time

5. ยางอะไหล่แบบกระทะเหล็ก และล้อแม็ก

แม้ว่ายางอะไหล่แต่เดิมนั้น ส่วนใหญ่มักใช้แบบกระทะเหล็กขนาดเดียวกับล้อรถ แต่รถราคาแพงหน่อย ก็จะเป็นล้อแม็กลายเดียวกับที่ติดมากับตัวรถ

แต่เพราะยางอะไหล่ แค่ใช้งานชั่วคราว แต่การลดต้นทุน รวมถึงการเพิ่มเนื้อที่เก็บสัมภาระท้ายรถได้มากขึ้น บริษัทรถจึงเริ่มนิยมใช้ยาวหน้าแคบ และล้อกะทะเหล็กขนาดบาง สำหรับเป็นยางอะไหล่ แถมช่วยให้น้ำหนักด้านท้ายรถเบาลง

แต่ในปัจจุบัน ชุดปะยางสำเร็จรูป ที่กำลังมาแทนที่ยางอะไหล่ และได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ

10-Car-Equipment-Less-In-This-Time

6. คิ้วกันกระแทกรอบคัน

ในอดีต รถส่วนใหญ่มักนิยมประดับตัวรถ ด้วยคิ้วกันแทกบริเวณด้านหน้า ด้านข้างตัวรถ และด้านหลัง อาจจะทำจากวัสดุเช่น ยาง โครเมียม หรือสแตนเลส เป็นต้น เพื่อกันกระแทกเวลาเลี้ยวหรือเปิดประตู เพื่อป้องกันตัวถังเป็นรอยหรือโดนเบียด และดูสวยงาม หรูหรา

แต่ในปัจจุบัน รถส่วนใหญ่ไม่นิยมติดคิ้วกันกระแทกให้แล้ว เน้นการเล่นเส้นสายด้านข้างของตัวรถมากกว่า

10-Car-Equipment-Less-In-This-Time

7. เบรกมือ

ในอดีต เบรกมือนั้นมักติดตั้งอยู่บริเวณด้านใต้พวงมาลัยรถ เป็นก้านสำหรับดึงเข้า-ออก ดังเห็นได้จากรถกระบะในอดีตหลายๆ รุ่น หรือเบรกแบบใช้เท้าเหยียบ (รถอเมริกันสมัยก่อนนิยมใช้) พอช่วงประมาณต้นยุค 70 เป็นต้นมา เบรกมือเริ่มนิยมติดตั้งบริเวณระหว่างกึ่งกลางเบาะคู่หน้า พร้อมก้านดึงและปุ่มสำหรับกด เพื่อใช้ปลดล็อก

แต่ในปัจจุบัน รถหลายรุ่นเริ่มนิยมใช้เบรกมือไฟฟ้า เพราะใช้งานได้สะดวกมากยิ่งขึ้น แต่เบรกมือรถยนต์ในรูปแบบเก่า ยังคงมีติดตั้งอยู่แต่ก็เริ่มน้อยลงเรื่อยๆ

10-Car-Equipment-Less-In-This-Time

8. เสาอากาศไฟฟ้า

นับตั้งแต่ยุค 50 ที่วิทยุเริ่มแพร่หลายในรถยนต์ เสาอากาศไฟฟ้าก็ถือเป็น 1 ในออพชั่นที่รถยนต์หรูหราจากทั่วโลกนิยมติดตั้งมาให้บริเวณหน้ารถ หรือท้ายรถ จนถึงในยุค 2000 เสาอากาศไฟฟ้าในรถยนต์ก็เริ่มลดบทบาทลง

เนื่องจากมีการพัฒนาเสาอากาศแบบเป็นเส้นฝังอยู่ในกระจก รวมไปถึงมีเสาอากาศขนาดเล็ก (ซึ่งมีทั้งแบบเป็นยาง หรือแบบครีบหูฉลาม ติดตั้งบนหลังคา) มาแทนที่ เสาอากาศไฟฟ้าในรถยนต์รุ่นใหม่ๆ จึงค่อยๆ หายไป

10-Car-Equipment-Less-In-This-Time

9. กระจกมองข้าง ปรับจากภายในรถ

ในยุคที่กระจกมองข้างยังเป็นแบบธรรมด้า ธรรมดา ผู้ใช้รถต้องซื้อมาติดเอง (เพราะสมัยก่อน รถยนต์ส่วนใหญ่ ไม่มีกระจกมองข้างติดตั้งมาให้) เวลาจะปรับจะพับ ก็ใช้มือนี่ล่ะครับ ปรับกับกะระยะมุมมองเอา

ถ้ากระจกมองข้างติดบริเวณมุมล้อหน้า (ยอดฮิตในรถญี่ปุ่นช่วงยุค 60 ถึงต้นยุค 80) ก็ต้องทั้งกะทั้งเล็งเป็นพิเศษหน่อย ในช่วงปลายยุค 70 กระจกมองข้างปรับไฟฟ้า เริ่มเข้ามานิยมในรถยนต์รุ่นหรูหรา กับรถรุ่นท็อป ต่อมาจึงกลายเป็นอุปกรณ์มาตรฐานที่ติดรถกันไปแล้วทุกยี่ห้อ (บางรุ่น ก็มีแค่ปรับด้วยไฟฟ้าอย่างเดียว เวลาพับ ต้องใช้มือพับ)

เหลือแต่ในรถยนต์รุ่นล่างๆ ที่ยังใช้กระจกมองข้าง แบบมีก้านปรับจากภายในรถ แต่ก็มีให้เห็นน้อยลงเรื่อยๆ

10-Car-Equipment-Less-In-This-Time

10. ล้อแม็ก 13 นิ้ว และ 14 นิ้ว

ย้อนไปดูรถยุค 80 เป็นยุคที่ล้อแม็กติดรถ เริ่มมีให้เห็นกันมากขึ้น มากกว่าล้อกระทะเหล็กและฝาครอบล้อ โดยล้อแม็กในขณะนั้นส่วนมากก็จะเป็นลายแบบเรียบๆ ง่ายๆ หรือเน้นแนวเหลี่ยม ล้อซี่ลวด หรือล้อกล้วยเป็นหลัก และส่วนใหญ่มีขนาดแค่ 13 นิ้ว

ล้อแม็กยี่ห้อฮิตๆ หน่อยในยุคนั้น เท่าที่เห็นก็มี Tom’s, Enkai, Dunlop, Lenso, Speedstar, Bridgestone Zona, Watanabe, Hayashi, Kosei, Yachiyoda, RG, Rial, Cromodora หรือ BBS เป็นต้น

ทำให้ล้อแม็กขนาด 14 นิ้ว ยังมีติดรถเป็นอุปกรณ์มาตรฐานให้เห็นอยู่เฉพาะในรุ่นเล็กๆ และรุ่นย่อยล่างๆ เท่านั้น

ดูอุปกรณ์รถย้อนยุคแต่ละคันกันไปแล้ว ถ้าใครอยากเล่นรถยุค 70 รถยุค 80 รถยุค 90 ที่คนเล่นรถเก่าชอบ ก็ลองมาปรึกษาดูได้ครับ

หากช่วงนี้ใครต้องการซื้อรถมือสองคุณภาพเยี่ยม ผ่านการตรวจสภาพได้มาตรฐาน รับประกันพร้อมโอนทุกคัน หรือหารถมือสองรุ่นที่ต้องการ สามารถเข้ามาดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ CARRO Automall > https://th.carro.co/buy-car หรือโทร. 02-508-8690 หรือจะ Inbox มาสอบถามก็ได้เช่นกัน ที่ Facebook CARRO Automall – รถบ้านมือสอง ถ้าสะดวก Add Line ก็ที่ @carroautomall

ส่วนถ้าคุณอยากขายรถด่วน เพื่อไปซื้อรถคันใหม่ หรือรับเงินก้อนไปใช้สามารถขายรถคันเก่า หรือตีราคารถกับทาง CARRO ได้ ง่ายๆ ได้เงินไว! กับ CARRO Express เพียงแค่คลิก https://th.carro.co/sell-car/express หรือสามารถ Inbox มาขอรายละเอียดได้ที่ Facebook CARRO Thailand

หรือจะ Add Line สอบถามรายละเอียดได้ที่ @Carrothai หรือคลิกที่นี่ —> เพิ่มเพื่อน