เรื่องน่ารู้ ขั้นตอนการตรวจสภาพรถตามมาตรฐานคาร์โร 160 จุด

หากใครที่เคยติดตามอ่านบทความต่างๆ ของ Carro (คาร์โร) เกี่ยวกับการแนะนำรถมือสองมาก่อนหน้า ก็จะเห็นได้ว่าเรามักให้ความสำคัญกับการดูรถมือสอง ที่รถต้องได้รับการตรวจสภาพโดยละเอียดมาเป็นอันดับแรกเสมอ เพื่อที่คุณจะได้เลือกรถคันที่สภาพสมบูรณ์ พร้อมใช้งานที่สุด และไม่ก่อให้เกิดปัญหาจุกจิก หลังจากที่ซื้อรถมือสองคันที่ใช่ของคุณมาแล้ว

ส่วนถ้าหากใครไม่มีความเชี่ยวชาญพอ หรือไม่มีความรู้ในการดูรถยนต์มือสอง การให้ผู้เชี่ยวชาญให้คำแนะนำ ตรวจสภาพรถให้ หรือเลือกรถคันที่มีสภาพสมบูรณ์ พร้อมใช้งานและส่งมอบให้คุณเลือก ก็เป็นทางเลือกที่ตอบโจทย์ในยุค New Normal เช่นกัน

โดยการซื้อรถมือสองจาก Carro ต้องขอบอกก่อนเลยว่าพิเศษมากๆ เนื่องจากรถยนต์ที่จำหน่ายโดย Carro ได้รับการตรวจสภาพรถจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน “ทุกคัน” มากถึง 160 จุด! ซึ่งทาง Carro ยินดีรับประกันสภาพเครื่องยนต์และเกียร์ให้ถึง 1 ปีเต็ม พร้อมทั้งยินดีคืนเงินภายใน 5 วัน และรับประกันคาร์โรไม่กรอไมล์ ไม่ประสบอุบัติเหตุหนัก ไฟไหม้ หรือน้ำท่วม คุณจึงอุ่นใจได้ว่า ซื้อรถจากทาง Carro ไป มั่นใจ สภาพรถดีเยี่ยมแน่นอน

สำหรับ Carro เราตรวจสภาพรถ 160 จุด อย่างไร และจุดใดบ้างนั้น มาดูตามขั้นตอนด้านล่างได้เลยครับ …

เรื่องน่ารู้ ขั้นตอนการตรวจสภาพรถตามมาตรฐานคาร์โร 160 จุด

สภาพภายนอกรถ

  • ตรวจสอบสภาพตัวถังรถโดยรวม เริ่มตั้งแต่สภาพสีรถยนต์ตามจุดต่างๆ ด้วยการใช้เครื่องมือวัดความหนาของสีรถบนตัวถัง ว่ามีความต่างกันหรือไม่ หรือมีจุดใดเคยทำสีมาแล้วบ้าง ตรวจดูรอยลักยิ้ม รอบบุบ ครูด ว่ามีหรือไม่ ส่วนบริเวณกันชนหน้า-หลัง ฝากระโปรงหน้า ประตูทุกบาน ฝากระโปรงท้าย มีช่องไฟที่เสมอกันหรือไม่ รวมไปถึงบริเวณเส้นข้างตัวรถ เป็นต้น
  • ตรวจสอบตามตะเข็บต่างๆ รอยปั๊ม รอยอาร์ค ทั้งในบริเวณด้านในห้องเครื่อง, ด้านในประตูของแต่ละบาน หรือแม้แต่ฝากระบะท้ายก็ตาม

ตัวถัง และ กันชน

  • ขอบยางประตูรถยนต์ (ทุกบาน)
  • ที่เปิดประตูรถยนต์
  • กันชนหน้า
  • บังโคลนหน้า (ซ้าย)
  • ประตูหน้า (ขวา)
  • แผงประตูหน้า (ขวา)
  • ประตูหน้า (ซ้าย)
  • แผงประตูหน้า (ซ้าย)
  • ฝากระโปรงหน้า, แผ่นกันความร้อน, และค้ำฝากระโปรง
  • บังโคลนหน้า (ขวา)
  • ฝากระโปรงหลัง
  • บังโคลนหลังขวา
  • บังโคลนหลังซ้าย
  • กันชนท้าย
  • ประตูหลัง (ขวา)
  • แผงประตูหลัง (ขวา)
  • ประตููหลัง (ซ้าย)
  • แผงประตูหลัง (ซ้าย)
  • สเกิร์ตข้าง (ซ้าย)
  • สเกิร์ตข้าง (ขวา)
  • สภาพตัวถังโดยรวม

ฝากระโปรง และ ตะแกรง

  • กระจังหน้ารถ
  • ซ้นรูฟ / มูนรูฟ
  • เปิดประทุน
  • ระบบการเปิดฝากระโปรงหน้า

กระจก และ หน้าต่าง

  • กระจกบังลมหน้า
  • กระจกบังลมหลัง
  • กระจกประตูหน้า (ซ้าย)
  • กระจกประตูหน้า (ขวา)
  • กระจกประตูหลัง (ขวา)
  • กระจกประตูหลัง (ซ้าย)
  • กระจกมุมหลัง (ซ้าย)
  • กระจกมุมหลัง (ขวา)
  • สวิตซ์ปัดน้ำฝนหลัง
  • สวิตซ์ปัดน้ำฝนกระจกหน้า
  • ใบปัดน้ำฝนด้านหน้าและด้านหลัง
  • ชุดควบคุมกระจกไฟฟ้า
  • กระจกมองข้างด้านซ้าย
  • กระจกมองข้างด้านขวา
  • กระจกมองหลัง
  • ที่บังแดดด้านหน้า, กระจกส่องหน้า และ ไฟส่องสว่าง

ไฟภายนอก

  • ไฟหน้า (ซ้าย)
  • ไฟหน้า (ขวา)
  • ไฟข้างรถ
  • ไฟท้าย (ซ้าย)
  • ไฟท้าย (ขวา)
  • ไฟฉุกเฉิน
  • ไฟสัญญาณเตือน
  • ระบบไฟตัดหมอก
  • ไฟ Daytime Running Light
  • ระบบปรับไฟ สูง/ต่ำ
  • ระบบไฟ เปิด/ปิด อัตโนมัติ

ชุดล้อ

  • ยางอะไหล่
  • เครื่องมือแม่แรง
  • ขอบล้อ
  • ศูนย์ล้อ
  • ฝาครอบล้อแม๊ก และครอบดุมล้อ

เรื่องน่ารู้ ขั้นตอนการตรวจสภาพรถตามมาตรฐานคาร์โร 160 จุด

สภาพภายในรถ

  • ตรวจสอบสภาพแผงคอนโซล แผงข้างประตูด้านในรถ ฝาครอบชุดสวิทช์กระจกไฟฟ้า และแผงคอนโซลกลาง ตรวจเช็คหมุดยึดต่างๆ มีงานประกอบที่เรียบร้อยตามแบบโรงงาน หรือมีร่องรอยการถอด งัด รอยขีดข่วน หรือทำสีใหม่หรือไม่ พร้อมเช็คฟังก์ชั่นต่างๆ ในรถ ว่าทำงานได้ครบถ้วนหรือไม่
  • เคยติดแก๊ส LPG/NGV มาหรือไม่ โดยตรวจสอบจากด้านท้าย ว่าเคยมีรอยเจาะที่พื้นรถ พื้นยางอะไหล่รถ ว่าเคยเดินท่อมาหรือไม่ รวมถึงท่อทางเดินต่างๆ ในห้องเครื่องยนต์

เครื่องเสียง และ ระบบสัญญาณเตือน

  • ระบบเครื่องเล่นและวิทยุ
  • ลำโพง
  • สัญญาณกันขโมย
  • กล้องถอยหลัง
  • เสาอากาศ

ระบบปรับอากาศ และ ระบบทำความเย็น

  • แผงควบคุมระบบแอร์
  • ชิ้นส่วนที่เกี่ยวข้องกับระบบแอร์
  • การทำงานของระบบทำความเย็น
  • ช่องแอร์ด้านหน้า
  • ช่องแอร์ด้านหลัง
  • การทำงานของระบบไล่ฝ้า
  • ชุดพักแขนกลางและคอนโซลกลาง

พรมรองพื้น ปูพื้น แผงและเบาะ

  • พรมหรือแผ่นยางรองพื้น
  • พรมในห้องโดยสาร
  • แผงประตูหน้า (ขวา)
  • แผงประตูหน้า (ซ้าย)
  • แผงประตูหลัง (ขวา)
  • แผงประตูหลัง (ซ้าย)
  • แผงครอบเสา A (ขวา)
  • แผงครอบเสา A (ซ้าย)
  • แผงครอบเสากลาง (ขวา)
  • แผงครอบเสากลาง (ซ้าย)
  • แผงครอบเสา C (ขวา)
  • แผงครอบเสา C (ซ้าย)
  • ช่องเก็บของด้านหน้า
  • ช่องเก็บของด้านหน้า
  • เบาะหน้ารวมถึงเบาะไฟฟ้า
  • เบาะหลังรวมถึงเบาะไฟฟ้า
  • เบาะพับ
  • ปรับเบาะอุ่น
  • ปรับเบาะเย็น
  • เบาะ และ พนักพิงศีรษะ
  • ผ้าหลังคา
  • แผงบังสัมภาระ, แผงลำโพงหลัง

สิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ (ภายใน)

  • นาฬิกา
  • ช่องจ่ายไฟ – 12V / ที่เขี่ยบุหรี่
  • ช่องจ่ายไฟ – USB Port / ที่เขี่ยบุหรี่
  • พวงมาลัยเพาเวอร์
  • ชุดควบคุมบนพวงมาลัย
  • สภาพพวงมาลัย
  • การปรับระดับของพวงมาลัย
  • การวัดเลขระยะไมล์
  • ไฟหลังคา, ไฟกลางและไฟส่องแผนที่
  • ที่เขี่ยบุหรี่
  • ชุดเบรคมือ
  • หัวเกียร์
  • แตร
  • ไฟสัญญาณเตือน
  • ระบบครูซคอนโทรล
  • ระบบความจำสถานะผู้ขับขี่
  • แผงควบคุมคอลโซล
  • ระบบ Paddle Shift

ความปลอดภัย

  • เข็มขัดนิรภัย
  • ถุงลมนิรภัย

ระบบล็อค และ แผงควบคุม

  • ระบบเซ็นทรัลล็อค
  • รีโมตเปิดท้ายรถ
  • ระบบปุ่มกดสตาร์ท
  • ฝาถังน้ำมัน

ช่องเก็บสัมภาระ

  • ไฟส่องสัมภาระด้านท้าย
  • แผงครอบสัมภาระด้านท้าย
  • ถาดท้าย

เรื่องน่ารู้ ขั้นตอนการตรวจสภาพรถตามมาตรฐานคาร์โร 160 จุด

ช่วงล่าง

  • วิเคราะห์สภาพช่วงล่าง ปีกนก แขนต่างๆ ลูกหมาก โช๊คอัพ สปริง ยางเบ้าโช๊ค อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานหรือไม่ มีจุดรั่วซึม หรือยุบหรือไม่ ทั้ง 4 ล้อ
  • สภาพยางรถยนต์ ความหนาของดอกยาง สภาพเนื้อยาง มีร่องรอยบาดบวม แตกตำหรือไม่
  • สภาพความหนาของชุดจานเบรก ความหนาของผ้าเบรก สภาพท่ออ่อนเบรกทั้ง 4 ล้อ รวมไปถึงกระปุกน้ำมันเบรก

ของเหลว

  • น้ำมันเบรก
  • น้ำมันเกียร์
  • การรั่วซึมของน้ำมันเกียร์
  • น้ำมันพวงมาลัยพาวเวอร์
  • น้ำยากระปุกฉีดกระจกหน้า
  • น้ำมันเครื่อง
  • การรั่วซึมของน้ำมันเครื่อง

ระบบหล่อเย็น

  • กระปุกพักน้ำหล่อเย็น
  • น้ำยาหล่อเย็น
  • หม้อน้ำ

ระบบไฟฟ้า

  • สายไฟและกล่องฟิวส์
  • ฝาครอบเครื่องยนต์
  • แบตเตอรี่

ระบบไอเสีย

  • ระบบไอเสีย

ช่วงล่าง

  • ระบบปั๊มพวงมาลัยเพาเวอร์
  • แร็คพวงมาลัย, กันโคลงและยางหุ้ม
  • ระบบคันชักคันส่ง
  • ปีกนกและลูกหมากปลายแร็ค
  • เหล็กกันโคลง

ยาง

  • ยางหน้า (ซ้าย)
  • ยางหน้า (ขวา)
  • ยางหลัง (ซ้าย)
  • ยางหลัง (ขวา)

เรื่องน่ารู้ ขั้นตอนการตรวจสภาพรถตามมาตรฐานคาร์โร 160 จุด

ห้องเครื่องยนต์

  • สภาพห้องเครื่องยนต์ สภาพคานหน้าของเดิมหรือไม่ หรือร่องรอยการงัด หรือตอก เปลี่ยน แผ่นแสดงรายละเอียดรถ หรือไม่ หรือมีการทำสีในจุดที่ไม่ควรทำสีหรือไม่ พร้อมตรวจสอบรอยตะเข็บต่างๆ หรือรูระบายน้ำ มีถูกปิดหรือทำสีทับไปหรือไม่
  • ทดสอบการทำงานของเครื่องยนต์ ต้องเดินเรียบ นิ่ง ได้มาตรฐานใกล้เคียงกับรถใหม่ บิดกุญแจแล้วต้องสตาร์ทติดทันที
  • ตรวจเช็คระบบไฟภายในรถ ฟิวส์ต่างๆ จากเครื่องวัด
  • ระบบแอร์ คอมเพรสเซอร์แอร์ แผงคอนเดนเซอร์ ตู้แอร์ อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานหรือไม่ พร้อมเช็ครั่ว เช็คน้ำยาแอร์
  • สภาพชุดสายพานต่างๆ ทั้งสายพานไทม์มิ่ง สายพานแอร์ สายพานพวงมาลัยเพาเวอร์ (ถ้ามี) และสายพานเครื่องยนต์ เป็นต้น
  • ชุดกล้องมองถอยหลัง กล้องหน้ารถ เซ็นเตอร์เปิด-ปิด ฝากระโปรงท้าย
  • ตรวจสอบน้ำมันเครื่อง, น้ำมันเกียร์, น้ำมันเบรก, น้ำมันคลัทช์, น้ำมันพวงมาลัยเพาเวอร์ (ถ้ามี) และน้ำมันเฟืองท้าย
  • สภาพหม้อน้ำ น้ำยาหล่อเย็น หม้อพักน้ำ และแบตเตอรี่รถยนต์
  • สภาพใบปัดน้ำฝน มอเตอร์ปัดน้ำฝน ที่ฉีดน้ำล้างกระจก ที่ฉีดน้ำไฟหน้า มอเตอร์ปัดน้ำฝน สภาพพร้อมใช้งานหรือไม่

เอกสารของรถ

  • ตรวจดูคู่มือรถ, Book Service สมุด/คูปอง เข้ารับบริการจากผู้ผลิต, คู่มือรับประกันระบบแอร์รถยนต์, เอกสารประกันภัย, พรบ. และเล่มทะเบียนรถ เพื่อประเมินว่าเจ้าของรถคนเดิม ดูแลรถมาอย่างไรบ้าง พร้อมตรวจสอบเลขไมล์รถยนต์ว่ามีกรอไมล์มาหรือไม่

เรื่องน่ารู้ ขั้นตอนการตรวจสภาพรถตามมาตรฐานคาร์โร 160 จุด

ทดสอบขับขี่บนถนน

การนำรถออกไปทดลองขับ พร้อมตรวจสอบสภาพรถ ด้วยการทดลองฟังเสียงดูว่ามีเสียงยุกยิก เสียงดัง จากจุดใดจุดหนึ่งหรือไม่ การตอบสนองของเครื่องยนต์ เกียร์ เบรก ช่วงล่าง พวงมาลัย หรือมีความผิดปกติอะไรของตัวรถหรือไม่ ทั้งช่วงความเร็วต่ำและความเร็วสูง

เครื่องยนต์

  • การสตาร์ทของเครื่องยนต์
  • เสียงผิดปกติในขณะเครื่องยนต์ทำงาน
  • การทำงานขณะรอบเดินเบา
  • อัตราเร่งของเครื่องยนต์
  • สายพานเครื่องยนต์
  • ยางแท่นเครื่องและเกียร์

ช่วงล่างและระบบกันสะเทือน

  • ความหนาของผ้าเบรก
  • แป้นเบรก
  • ระบบเบรก และ ท่อระบบเบรก
  • ระบบกันสะเทือนและโช๊ค
  • ระบบบังคับเลี้ยว
  • เสียงช่วงล่าง
  • ชุดเกียร์

ชุดคลัตช์และระบบส่งกำลัง

  • การทำงานของคลัตช์
  • ระบบเกจ์วัดและแผงหน้าปัด
  • การเปลี่ยนเกียร์สามารถทำงานได้อย่างปกติ
  • เสียงผิดปกติจากการทำงานของชุดเกียร์และระบบขับเคลื่อน
  • ระบบขับเคลื่อน 4 ล้อ
  • การทำงานของเพลาขับและชุดส่งกำลัง

เรื่องน่ารู้ ขั้นตอนการตรวจสภาพรถตามมาตรฐานคาร์โร 160 จุด

การตรวจสภาพโดยรวม

  • รถไม่มีอุบัติเหตุหนัก
  • รถไม่มีไฟไหม้
  • รถไม่มีรอยน้ำท่วม

CARRO Automall

ส่วนใครที่กำลังมองหารถคันที่ใช่ มาใช้งานในช่วงหน้าฝนนี้ เราขอย้ำอีกครั้งว่า Carro จัดเต็มทั้งราคาและคุณภาพ ให้ทุกท่านสามารถเป็นเจ้าของรถคุณภาพดี ราคาโดนใจ และอุ่นใจไปอีกขั้น เพราะผ่านการตรวจสอบรถยนต์ทั้งคัน 160 จุดอย่างละเอียด จากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เรายังรับประกันเครื่องยนต์และเกียร์ 1 ปี รับประกันไม่กรอไมล์ และรับประกันไม่ประสบอุบัติเหตุหนัก ไฟไหม้ หรือน้ำท่วม อีกด้วย! และเรายังมีบริการสินเชื่อรถยนต์จาก Genie เพื่อคุณอีกด้วย

เลือกชม ซื้อรถ หรือจองรถออนไลน์ของ Carro ผ่านหน้าตลาดรถ (คลิกที่นี่) หรือติดต่อผ่าน Inbox ใน Fanpage Carro Thailand

หรือคุณสามารถเลือกชมรถด้วยตนเองได้ที่ Carro Automall สาขาใกล้บ้านท่านได้แล้ววันนี้ ทั้งสาขาดอนเมือง สาขาศรีนครินทร์ และสาขาเกษตรนวมินทร์ เปิดบริการทุกวัน ตั้งแต่ 9.30 – 18.30 น.

Carro Automall สาขาดอนเมือง

Carro Automall สาขาดอนเมือง ตั้งอยู่ ณ 292 ถ.วิภาวดีรังสิต แขวงสนามบิน เขตดอนเมือง กรุงเทพฯ 10210 โทร. 02-508-8690

Carro Automall สาขาศรีนครินทร์

Carro Automall สาขาสวนหลวง ตั้งอยู่ ณ 37/91 ซ.ศรีนครินทร์ 55 (ซอยพรีเมียร์ 1 แยก 1) (ติดฝั่งสวนหลวง ร.9) ถ.ศรีนครินทร์ แขวงหนองบอน เขตประเวศ กรุงเทพฯ 10250 โทร. 02-508-8690

Carro Automall สาขาเกษตรนวมินทร์

และ Carro Automall สาขาเกษตรนวมินทร์ ตั้งอยู่ ณ ตลาดรถยนต์มอเตอร์ สแควร์ 289/5 บล็อก H2 ถ.ประเสริฐมนูกิจ (แยกไฟแดงนวลจันทร์ตัดใหม่ ตลาดรถไฟนวลจันทร์เก่า) เขตบึงกุ่ม กรุงเทพฯ 10230 โทร. 02-508-8690

รวมถึงศูนย์บริการลูกค้า Carro Customer Experience Center

สาขา Lotus’s บางกะปิ ชั้น 2 เลขที่ 3109 ถ. ลาดพร้าว แขวงคลองจั่น เขตโลตัสบางกะปิ กรุงเทพฯ 10240

ดูเส้นทาง

สาขา Lotus’s ศรีนครินทร์ ชั้น 1 เลขที่ 9 หมู่ที่ 6 ตำบลบางเมืองใหม่ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ

ดูเส้นทาง

สาขา Lotus’s พระราม 1 ชั้น 3 เลขที่ 31 ถ.พระราม1 แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

ดูเส้นทาง

สาขา Lotus’s บางใหญ่ ชั้น 1 เลขที่ 90 หมู่ 5 ตำบลบางคูเวียง อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี 11130

ดูเส้นทาง

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Facebook -> Carro Thailand โทร. 02-460-9380 หรือทาง Line @Carrothai ครับ

5 เหตุผลสำคัญ ที่คนสมัยนี้ ถึงไม่เลือกขับรถเกียร์ธรรมดา

คุณเคยสังเกตกันบ้างไหมครับ รถยนต์ในบ้านเราตอนนี้ โดยเฉพาะรถเก๋งมือสอง ที่ขายกันตามท้องตลาด 70-80% มักจะเป็นรถยนต์เกียร์อัตโนมัติกันหมดแล้ว ส่วน “เกียร์ธรรมดา” นั้น รถยนต์นั่งที่เป็นเกียร์ธรรมดา มีตัวเลือกให้เลือกกันน้อยมากตามความนิยม เหลืออยู่เพียงแค่ Eco-Car 7-8 รุ่นเท่านั้น ที่เน้นราคาประหยัด หรือขายกลุ่มวัยรุ่นเอาไปแต่งซิ่งหน่อยๆ และรถกระบะ ที่ส่วนใหญ่ยังเป็นเกียร์ธรรมดา เนื่องจากการดูแลรักษาง่ายกว่า และความทนทานในการใช้งาน

อ่านเพิ่มเติม >> 7 อันดับ รถเกียร์ธรรมดาป้ายแดง ที่ค่ายรถยังผลิตขายในปี 2021

อ่านเพิ่มเติม >> 5 สิ่ง ที่คนขับรถ “เกียร์ธรรมดา” ต้องจำให้ขึ้นใจ!

ถ้าเป็นสมัยก่อน ใครจะหัดขับรถ ก็จะต้องเริ่มหัดขับเกียร์ธรรมดากันก่อน (เอาแค่ย้อนไปสัก 30 ปีก่อน รถเกียร์อัตโนมัติ เวลานั้นยังมีราคาแพง และมีตัวเลือกน้อย ในยุครถเกียร์ธรรมดายังเป็นใหญ่) แล้วค่อยไปขับเกียร์ออโต้ แต่มันก็มีข้อดีที่ขับเกียร์ออโต้เป็นเลย ไม่ต้องเสียเวลาไปหัดขับกันอีกรอบ

เอาล่ะ เรามาดูกันว่า 5 เหตุผลสำคัญ ที่คนสมัยนี้ ถึงไม่เลือกขับรถเกียร์ธรรมดากันครับ

5 เหตุผลสำคัญ ที่คนสมัยนี้ ถึงไม่เลือกขับรถเกียร์ธรรมดา

1. กลัวเครื่องดับเวลาออกตัว

อันนี้จัดว่าเป็นความกลัวของคนที่เพิ่งเริ่มหัดขับรถด้วยเกียร์ธรรมดาเลยก็ว่าได้ เจอกันทุกคน ผมเองก็เคยเป็น สืบเนื่องจากการ “ปล่อยคลัทช์ไม่สัมพันธ์กับจังหวะของคันเร่ง” ซึ่งต้องใช้เวลาทำความคุ้นเคยกันพอสมควร เพราะถ้าออกตัวรถไม่สัมพันธ์กัน เครื่องยนต์ก็จะดับ ถ้าเจอรถติดๆ เวลาออกตัว เครื่องดับมันเป็นสิบรอบ จนรถคันหลังเบื่อเลย …

ทางที่ดีถ้าคุณเพิ่งหัดขับรถด้วยเกียร์ธรรมดา เวลาจะออกตัว แนะนำว่าให้เหยียบคลัทช์ไว้ก่อนจนสุด เข้าเกียร์ 1 แล้วเติมคันเร่งลงไปเยอะหน่อย (ห้ามเหยียบคันเร่งจนสุดนะ) ก่อนจะค่อยๆ ผ่อนเท้าออกจากคลัทช์เบาๆ (คำเตือน ห้ามปล่อยเท้าออกจากคลัทช์โดยทันที! เพราะรถอาจพุ่งกระชากไปชนกับคันหน้าได้!)

สำหรับคนที่เพิ่งหัดขับรถใหม่ๆ อาจจะกลัวตรงจุดนี้ เมื่อคุณฝึกใช้เวลาจับจังหวะไปได้จนชำนาญ เลี้ยงคลัทช์เป็น รู้ระยะการปล่อยคลัทช์ของรถ ออกตัวรถได้ ไม่ดับ ขับรถออกตัวได้นุ่มนวล แค่นี้ก็ถือว่าผ่าน

2. ทางชัน คอสะพาน

อีกหนึ่งในจุดที่คนขับรถเกียร์ธรรมดา (โดยเฉพาะมือใหม่ทั้งหลาย) กลัว นั่นคือการเจอรถติดบนคอสะพาน หรือทางชันๆ ในลานจอดรถตามห้าง โอ้โห ยิ่งในกรุงเทพฯ ดินแดนรถติดระดับโลกด้วย บางทีรถติดกันในห้างเป็นชั่วโมงก็มี

คนขับรถเกียร์ธรรมดาถ้าทักษะไม่มากพอ บางทีการออกตัวอาจรถไหลไปชนกันคันท้ายได้ ทางที่ดี ผมแนะนำให้ใช้ “เบรกมือ” ดึงไว้เลยกันรถไหล จะได้ไม่ต้องเหยียบเบรกค้างไว้นานๆ ให้เมื่อย หรือมาเลี้ยงคลัทช์ เหยียบคากันจนคลัทช์ไหม้ …

พอจะออกตัวรถ ก็ให้เหยียบคลัทช์เข้าเกียร์ตามปกติ แล้วก็ปฏิบัติตามข้อ 1 ก่อนจะปลดเบรกมือลง แล้วออกตัวไป แค่นี้ก็ไม่ต้องกลัวรถไหลแล้ว

5 เหตุผลสำคัญ ที่คนสมัยนี้ ถึงไม่เลือกขับรถเกียร์ธรรมดา

3. เมื่อย และคุยโทรศัพท์ลำบาก

การขับรถเกียร์ธรรมดา ยิ่งถ้าเจอรถติดๆ คุณจะต้องเหยียบคลัทช์เข้าเกียร์บ่อยๆ ถ้าต้องขับรถกระบะ หรือรถยุโรปรุ่นเก่าๆ ที่คลัทช์มักแข็งๆ เหมาะกับพวกเท้าหนักๆ หน่อย เหยียบกันจนปวดเข่า ปวดขาซ้าย น่องโป่งเลยทีเดียว

อีกทั้งการคุยโทรศัพท์ขณะขับรถ (แบบไม่ใช้แฮนด์ฟรี) ยังลำบาก เพราะต้องใช้มือซ้ายในการเปลี่ยนเกียร์ตลอด

4. มีแต่รุ่นเริ่มต้น

ถ้าใครจะเล่นรถเกียร์ธรรมดาป้ายแดงในเวลานี้ บอกได้เลยว่ามีแต่รุ่นเริ่มต้นเท่านั้น ที่เป็นเกียร์ธรรมดา ส่วนรุ่น Top หรือรุ่นรอง Top ล้วนแล้วเป็นเกียร์อัตโนมัติทั้งนั้น

ความที่อยากรถได้เกียร์ธรรมดาป้ายแดงรุ่น Top ออพชั่นเยอะๆ เลยต้องหายไปด้วย เพราะว่าไม่มีค่ายรถในบ้านเราผลิตขายสักเจ้า ซึ่งต่างจากรถยนต์ที่ขายในแถบยุโรป ยังมีเกียร์ MT รุ่นท็อปให้เลือกกันอีกเยอะ

5 เหตุผลสำคัญ ที่คนสมัยนี้ ถึงไม่เลือกขับรถเกียร์ธรรมดา

5. ราคามือสองตก

เนื่องจากรถเกียร์ธรรมดาได้รับความนิยมน้อยลงมาก ซึ่งก็ส่งผลให้ราคามือสองตกลงมาด้วย และขายยากหน่อย โดยเฉพาะรถเก๋ง หรือรถ Eco-Car ที่เป็นเกียร์ธรรมดา ราคาหายไปจากรุ่นที่เป็นเกียร์อัตโนมัติราวๆ 20-30% เลยทีเดียว

แต่กรณีนี้ สำหรับรถเกียร์ธรรมดาแบบ SUV, รถกระบะ หรือรถสปอร์ต รถคลาสสิค รถดังในตำนาน อาจไม่มีผลในเรื่องราคาตกนัก เพราะคนที่เล่นรถเหล่านี้ ส่วนหนึ่งต้องขับเกียร์ธรรมดากันเป็นอยู่แล้ว และรถเหล่านี้เป็นประเภทสายลุย สายซิ่ง สายชอบ สายคลาสสิค มีคุณค่า ได้ขับแบบเกียร์ธรรมดา ยังดูดีกว่าขับเกียร์ออโต้ด้วยซ้ำ

สำหรับใครที่อยากขายรถคันเดิมตอนนี้ หรือกำลังตัดสินใจจะซื้อรถป้ายแดงอยู่พอดี แต่งบไม่พอ! มาขายรถกับ CARRO Express สิ! Inbox มาขอรายละเอียดได้ที่ Facebook -> CARRO Thailand และ Add Line สอบถามรายละเอียดได้เช่นกัน ที่ @carrothai

อีกหนึ่งบริการใหม่! CARRO Automall แหล่งรวมรถมือสองคุณภาพเยี่ยม ผ่านการตรวจสภาพแบบ Double Check รับประกันพร้อมโอนทุกคัน ฟรี! ค่าจัดโอน มีให้เลือกชมเพียบ เปิดบริการทุกวัน อยากซื้อรถคุณภาพเยี่ยม มาซื้อกับ CARRO Automall สิ!

หรือสนใจรถรุ่นไหนอยู่ แต่ยังหาที่ถูกใจไม่ได้ เรายินดีหาให้! เพียงแค่กรอกเบอร์โทรศัพท์ ชื่อยี่ห้อ / รุ่นรถ ที่คุณต้องการก็ได้เช่นกันครับ อีกทั้งยังสามารถ Inbox เข้ามาสอบถามรายละเอียดได้ที่ Facebook -> CARRO Automall – รถบ้านมือสอง โทร. 02-508-8690 หรือทาง Line @carroautomall

5-Things-To-Use-Manual-Transmission

ในอดีต รถเกียร์ธรรมดา จัดได้ว่าเป็นรถธรรมดาสามัญ ที่มีอยู่ในบ้านเราทั่วไป (และทั่วโลก) ไม่ใช่ของแปลกอะไร และคนที่ขับรถเป็นกันแทบทุกคนในอดีต ต่างก็เรียนหัดขับรถจากรถเกียร์ธรรมดากันทั้งนั้น

ซึ่งเกียร์ธรรมดา ก็จะมีแยกออกไปได้อีก ทั้ง เกียร์บริเวณคอพวงมาลัย หรือ “เกียร์คอ” มักจะมีเฉพาะในรถรุ่นเก่ามากๆ หรือรถตู้ในอดีตบางรุ่น ที่คนเล่นรถ Retro Car ชอบรถเก่า ยังคงถวิลหา และเกียร์บริเวณแผงคอนโซลกลาง หรือ “เกียร์กระปุก” ที่ปัจจุบัน จะมีให้เลือกกันทั้ง 5 สปีด และ 6 สปีด

มาจนถึงในโลกยุคปัจจุบัน ที่เทคโนโลยีของรถเกียร์อัตโนมัติก้าวล้ำไปมาก และปัญหารถติดที่มากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้รถยนต์เกียร์ธรรมดา “แทบถูกลืม” ไปจากคนใช้รถยุคใหม่ โดยมีเหลือไว้เฉพาะในรถกระบะ รถตู้ รถสปอร์ต หรือรถเก๋ง กับรถ Eco-Car รุ่นถูกสุดเท่านั้น

หากใครอยากที่จะลองขับเกียร์ธรรมดาให้คล่อง และเกียร์ไม่พังไว ต้องอ่าน 5 สิ่งนี้กันก่อน …

5-Things-To-Use-Manual-Transmission

1. อย่ากระแทก หรือเข้าเกียร์แรงๆ

คุณเคยสังเกตคนขับรถเมล์ เวลาเข้าเกียร์ไหมล่ะ? เสียงดังครืดคราดมาเลย นั่นเป็นเพราะเฟืองซินโครเมชในเกียร์สึก ทำให้เกียร์เข้ายาก อันเนื่องมาจากการเข้าเกียร์ไม่ตรงร่องบ้างล่ะ เข้าเกียร์แรงๆ บ้างล่ะ

การเข้าเกียร์ที่ถูกต้อง คือ ควรใช้ “ข้อมือ” ช่วย จะช่วยให้เข้าเกียร์ตามตำแหน่งที่เยื้องกันได้ง่าย เช่น จาก 2-3, 4-5 หรือ 5-4, 3-2 เป็นต้น อย่าเกร็งแขนและข้อมือ เพราะจะเข้าเกียร์ผิดตำแหน่ง หรือเข้าเกียร์ได้ยาก

ยิ่งเกียร์ธรรมดาในรถรุ่นใหม่ๆ เข้าง่ายกว่ารถสมัยก่อนมาก แถมคลัทช์ก็นิ่ม (ถ้าคลัทช์แข็งๆ ก็จะประมาณรถกระบะ) แต่สิ่งสำคัญที่ควรจำไว้ เวลาขับรถบนถนน “ห้ามมองเกียร์” นะครับ!

5-Things-To-Use-Manual-Transmission

2. เลี้ยงคลัทช์ให้ดี เครื่องจะไม่ดับ

เป็นเรื่องที่คนขับรถเกียร์ธรรมดาตอนหัดขับ เป็นกันทุกคน นั่นคือ “ออกตัวแล้วเครื่องดับ” ไม่ใช่เรื่องแปลกหรอกครับ ผมเองก็เคยทำเช่นนี้

คือเรื่องแบบนี้ต้อง “ทำความคุ้นเคย” กับรถ และหมั่น “ฝึกฝน” บ่อยๆ แรกๆ อาจจะยาก แต่บ่อยครั้งเข้าเดี๋ยวก็ชิน เพื่อออกรถให้นุ่นนวล มีจังหวะ ไม่ออกตัวกระชาก จับระยะการปล่อยคลัทช์ให้สัมพันธ์กันกับคันเร่ง ซึ่งในรถแต่ละรุ่น ระยะคลัทช์ตื้นลึกไม่เท่ากัน

บางคนบอก ถ้ากลัวออกตัวแล้วเครื่องดับ ก็ให้เหยียบคันเร่งลึกๆ แช่คลัทช์ไว้แล้วค่อยๆ ถอนคลัทช์ก่อนออกตัวรถ ซึ่งก็ทำได้ แต่มันก็จะกินน้ำมัน หรือหากถอนคลัทช์เร็วไป รถอาจพุ่งไปข้างหน้าได้ครับ

5-Things-To-Use-Manual-Transmission

3. รถติดบนทางชัน ต้องใช้เบรกมือ

การขับรถเกียร์ธรรมดา แล้วต้องจอดคาบนทางชัน เป็นอะไรที่ทำให้มือใหม่ เหงื่อตกเหงื่อแตกกันมาก นั่นคือ “รถติดบนสะพาน” หรือบนลานจอดรถในห้าง หลายคนกลัวตอนออกตัว แล้วรถจะไหลไปชนกับคันหลัง

ไม่ต้องกลัวครับ กรณีรถติดอยู่บนคอสะพาน ให้ดึงเบรกมือไว้ก่อนเลย พอจังหวะจะออกตัว ให้เหยียบคลัทช์ เข้าเกียร์ 1 ค่อยๆ เหยียบคันเร่ง แล้วค่อยๆ ปล่อยคลัทช์ จนรู้สึกว่ารถเริ่มออกตัวได้ ก็ค่อยๆ ปลดเบรกมือลง

5-Things-To-Use-Manual-Transmission

4. อย่าเลี้ยงคลัทช์จนเคยชิน

บางคนติดนิสัยชอบเหยียบคลัทช์แช่ไว้นานๆ แต่การวางเท้าไว้ที่คลัทช์นานๆ นั้น ไม่เป็นผลดีนัก เพราะเหมือนมีน้ำหนักกดไว้อยู้ ทำให้คลัทช์นั้นทำงานตลอด จะทำให้คลัทช์สึกหรอเร็ว และรถกินน้ำมันมากขึ้น

ทางที่ดี เมื่อเข้าเกียร์ เหยียบคลัทช์ ออกตัวรถเรียบร้อยแล้ว ควรวางขาไว้ที่ “แป้นพักเท้า” บริเวณมุมซ้ายสุดนะครับ (แบบในรูป) เพื่อความสบายของเท้า และจะช่วยตรึงและดันให้ร่างกายให้แนบสนิท ติดกับตัวเบาะ ทำให้ขับรถได้สบายขึ้น ไม่เมื่อยขาท่อนบน และช่วยให้กล้ามเนื้อแผ่นหลัง รับแรงสั่นสะเทือนจากช่วงล่างของรถน้อยลง เมื่อนั่งนานๆ จะได้ไม่ปวดหลัง และปวดขาท่อนบน

5-Things-To-Use-Manual-Transmission

5. เปลี่ยนเกียร์ที่ความเร็วเหมาะสม

การเปลี่ยนเกียร์ที่เหมาะสม คุณควรศึกษาจากคู่มือรถของคุณดูก่อนนะครับว่า เขาออกแบบให้เกียร์แต่ละเกียร์นั้น ทำความเร็วสูงสุดได้เท่าไหร่ ช่วงความเร็วที่เหมาะสมในการเปลี่ยนเกียร์ อยู่ที่เท่าไหร่ ซึ่งในรถแต่ละรุ่นไม่เท่ากัน แต่ถ้าใครไม่มีคู่มือรถ ก็อาศัยดูวัดรอบ หรือถ้าไม่มีวัดรอบ ก็อาศัยเงี่ยหูฟังเสียงเครื่องยนต์คำรามเอา ว่าดังพอที่จะเปลี่ยนเกียร์ถัดไปได้หรือยัง

เรื่องกำลังของรถก็มีส่วน หากขับรถเกียร์ธรรมดา เครื่องเบนซิน ก็อาจจะใช้รอบเครื่องที่สูงหน่อย แล้วค่อยเปลี่ยนเกียร์ (เพราะหากเปลี่ยนเกียร์ตอนรอบเครื่องต่ำ รถก็จะสั่นและอืด กับกินน้ำมันมากขึ้น) ส่วนถ้าใครขับรถเกียร์ธรรมดา เครื่องดีเซล ก็สามารถเปลี่ยนในรอบต่ำได้เลย เพราะเครื่องยนต์ดีเซล จะมีแรงบิดที่ค่อนข้างสูง

5-Things-To-Use-Manual-Transmission

สำหรับใครที่ยังไม่คุ้นเคยกับรถ เพื่อความคุ้นเคย ควรฝึกจำตำแหน่งเกียร์ให้ดีก่อน ด้วยการลองเข้าเกียร์แต่ละจังหวะ (ห้ามสตาร์ทรถนะครับ) เพราะตำแหน่งเกียร์ในรถยุโรป เกียร์ “R” จะอยู่ตำแหน่งเดียวกับเกียร์ “1” ในรถหลายๆ รุ่น หลายคนอาจไม่คุ้นเคย ใส่เกียร์ผิด! (ด้วยเหตุนี้ รถหลายรุ่น จึงออกแบบมาให้มีสลักสำหรับดึงขึ้นบริเวณคันเกียร์ เพื่อป้องกันการเข้าเกียร์ R)

อย่าลืม! ใส่เกียร์ว่างทุกครั้งเวลาจอดรถ และเมื่อขึ้นไปนั่งขับรถ ให้ขยับเกียร์ก่อนเลย ว่าอยู่ที่เกียร์ว่างหรือเปล่า ทำให้เป็นนิสัย เพื่อป้องกันการสตาร์ทรถแล้ว รถกระชากไปข้างหน้าได้ แค่นี้คุณก็ขับรถเกียร์ธรรมดาได้อย่างสนุกแล้วล่ะครับ

สำหรับใครที่อยากขายรถคันเดิมตอนนี้ หรือกำลังตัดสินใจจะซื้อรถป้ายแดงอยู่พอดี แต่งบไม่พอ!  มาขายรถกับ CARRO Express สิ! หรือจะ Inbox มาขอรายละเอียดได้ที่ Facebook -> CARRO Thailand และ Add Line สอบถามรายละเอียดได้เช่นกัน ที่ @carrothai

และอีกหนึ่งบริการใหม่! CARRO Automall แหล่งรวมรถมือสองคุณภาพเยี่ยม ผ่านการตรวจสภาพแบบ Double Check รับประกันพร้อมโอนทุกคัน ฟรี! ค่าจัดโอน มีให้เลือกชมเพียบ เปิดบริการทุกวัน อยากซื้อรถคุณภาพเยี่ยม มาซื้อกับ CARRO Automall สิ!

หรือสนใจรถรุ่นไหนอยู่ แต่หาไม่ได้ สามารถสั่งตามออเดอร์ได้ที่นี้ > https://th.carro.co/buy-car หรือโทร. 02-508-8690 อีกทั้งยัง Inbox เข้ามาสอบถามก็ได้เช่นกันได้ที่ Facebook -> CARRO Automall – รถบ้านมือสอง หรือทาง Line เชิญเลยครับที่ @carroautomall

Find-Noises-In-Your-Car-Part-2

มาหาเสียง (ในรถยนต์) ช่วงโค้งสุดท้าย กันต่อดีกว่าครับ!

ช่วงนี้ก็เรียกได้ว่า น่าจะเป็นสัปดาห์ของการหาเสียง (ในรถยนต์) ช่วงโค้งสุดท้ายแล้วครับ เพราะเดือนหน้าเราก็ต้องเตรียมพร้อมรถยนต์ สำหรับใช้ในการเดินทางช่วงหยุดยาว หรือในช่วงเทศกาลสงกรานต์แล้วล่ะครับ

หาเสียงในรถยนต์ ยิ่งหาเจอได้เร็วเท่าไหร่ ก็ยิ่งดี เพราะ “เสียง” ที่ว่านี้ อาจจะทำให้รถคุณพังกลางทาง หรือเสียเงินซ่อมกันบานปลายเลยก็ได้ ไปอ่านกันต่อครับ …

Differential

1. เสียงหอน (ที่ไม่ใช่คืนหมาหอน)

เสียงหอน … บางทีขับรถไปแล้ว มีเสียงหอนดังออกมาจากเพลาขับ หรือเฟืองท้าย ยิ่งขับเร็วเสียงยิ่งดัง อาจจะมาจากลูกปีนล้อแตก หรือเพลากลาง เพลาขับมีปัญหา และเฟืองท้ายมีปัญหา ต้องไล่สาเหตุดูเป็นจุดๆ ไป ถ้าต้นเสียงเกิดที่ด้านหน้ารถ ก็สันนิษฐานว่าเป็นที่ลูกปืนท้ายเกียร์ หรือเป็นที่ลูกปืนเพลากลาง ที่เรียกกันว่า “ยอย” หรือ “กากบาทเพลากลาง”

แต่ถ้ามาจากด้านท้าย ให้ถอดเฟืองท้ายออกมาเช็ก ว่ามาจากเฟืองเดือยหมู, เฟืองบายสี, เฟืองดอกจอก และเฟืองข้าง ทีเดียวไปเลย ถ้ามีเสียงหอน ลองปรับตั้งระยะห่างของเฟืองท้ายทั้ง 2 ใหม่ ให้ชิดเข้าไป ตรวจสอบการรั่วซึมของซีล ประเก็น ถ้าหมดสภาพก็เปลี่ยนใหม่ ก่อนจะเปลี่ยนน้ำมันเฟืองท้ายใหม่ ถ้าลูกปืนหน้าเฟืองท้ายชำรุด ก็จัดการเปลี่ยนลูกปืนใหม่ซะ

Toyota-Steering-Wheel

2. กุกๆ กักๆ ที่คอพวงมาลัย

กุกๆ กักๆ ที่คอพวงมาลัย … เสียงดังกึกกักที่คอพวงมาลัย อาจมาจากลูกปืนคอพวงมาลัยแตก ตัวรองแกนพวงมาลัยแตก หรือจารบีลูกปีนแห้ง ทางที่ดีตรวจเช็กลูกปีน, ตัวรองแกนพวงมาลัย หรืออัดจารบีตลับลูกปืนใหม่ แม้ว่าช่วงแรกจะไม่มีผลอะไร นอกจากเกิดความรำคาญเวลาหมุนพวงมาลัย แต่อาจจะกลายเป็นเสียมากขึ้น จนพวงมาลัยรถควบคุมรถไม่ได้ก็เป็นไปได้

Manual-Transmission

3. เปลี่ยนเกียร์แล้วมีเสียงดัง

เปลี่ยนเกียร์แล้วมีเสียงดัง … เสียงดังที่เกิดจากตัวเกียร์ เกิดจากนอกห้องเกียร์ เป็นเสียงแตกเสียงคราง หรือเสียงหอน ลองตรวจลูกปีนเกียร์ และเช็กน้ำมันเกียร์ ว่าเปลี่ยนถ่ายไปตั้งแต่เมื่อไหร่ ดูสภาพสีของน้ำมันเกียร์ ตรวจดูว่ายังมีน้ำมันเกียร์อยู่เต็มหรือไม่ เพราะมันอาจจะรั่วซึมหายไป เมื่อชุดเฟืองเกียร์กระทบกัน เสียงโลหะกระทบกัน มันก็ต้องมีเสียงดัง ต้องรีบซ่อมแซม ไม่อย่างนั้นจะได้เปลี่ยนเกียร์ใหม่ทั้งลูก …

อีกกรณีหนึ่ง อาจจะเกิดขึ้นได้จากการเหยียบคลัทช์ไม่สุดแล้วเข้าเกียร์ หรือการใส่เกียร์ไม่ตรงตำแหน่งเกียร์ (ในรถเกียร์ธรรมดา) ครับ

Tire-Setting

4. เวลาเลี้ยว เสียงดังจากยาง

เวลาเลี้ยว เสียงดังจากยาง … เวลาเลี้ยวรถแล้วเกิดเสียงดังเอี๊ยดๆ จากยาง มักได้ยินบ่อยๆ เวลาไปจอดรถบนพื้นผิวค่อนข้างลื่น อาจเกิดจากเนื้อยางเสื่อมสภาพ หรือถ้าหากยางยังดี อาจเกิดจากช่วงล่างหลวมก็เป็นไปได้

Catalytic-Converter

5. หลังดับเครื่อง

หลังดับเครื่อง … หลังจากดับเครื่องรถยนต์แล้ว คุณอาจได้ยินเสียงก๊องแก๊ง มาจากใต้ท้องรถ นั่นเป็นเสียงการทำงานของ Catalytic Converter ในระบบท่อไอเสีย ซึ่งเป็นเสียงการทำงานปกติอยู่แล้ว เสียงดังกล่าวอาจดังนานกว่าปกติ หากใช้รถด้วยความเร็วสูง หรือใช้เครื่องยนต์รอบจัดเป็นระยะเวลานาน แต่เสียงนี้ ไม่ได้เป็นความผิดปกติอันใดครับ …

เมื่อรับทราบอาการดังกล่าวได้แล้ว ว่ามาจากสาเหตุไหน อย่าลืมเอารถไปเข้าศูนย์บริการ หรืออู่ซ่อมรถ ให้ช่างผู้ชำนาญการตรวจดูให้แน่ชัด แล้วเตรียมเสียเงินไว้ด้วย แต่ถ้าเสียงบางอย่างไม่มีผลใดๆ ต่อตัวรถ คุณก็สบายใจได้ …

ถ้าคุณตัดสินใจอยากขายรถคันเดิม เพื่อไปซื้อรถคันใหม่ หรือรับเป็นเงินก้อนไปใช้ สามารถขายรถคันเดิมกับ CARRO ได้ ง่ายๆ ได้เงินไว! กับ CARRO Express เพียงแค่คลิก https://th.carro.co/sell-car/express หรือสามารถ Inbox มาขอรายละเอียดได้ที่ Facebook CARRO Thailand

หรือจะ Add Line สอบถามรายละเอียดได้ที่ @Carrothailand หรือคลิกที่นี่ครับ —> เพิ่มเพื่อน

Find-Noises-In-Your-Car-Part-1

หาเสียง (ในรถยนต์) กุกๆ กักๆ …. คุณรำคาญมากน้อยแค่ไหน? เวลาขับรถ

ช่วงนี้ บรรยากาศทางการเมืองในบ้านเรา กำลังร้อนแรง ต่างฝ่ายต่างออกมาหาเสียงกันเป็นแถว บางคนก็มาตามมารยาทสากล ตามข้อเท็จจริง แต่บางพรรคบางพวก ก็เล่นด้วยวิธีเดิมๆ บอกว่าจะทำนู่นทำนี่ได้สารพัดบ้างล่ะ โจมตีฝ่ายตรงข้าม เตะสกัด สาดโคลน แบบเดิมๆ ก็มีไม่เคยเปลี่ยน …

แต่นั่นมันเป็นการหาเสียงทางการเมือง! ซึ่งในบทความนี้ เราจะมาพูดถึงการหาเสียง (ในรถยนต์) ต่างหาก!

หาเสียงในที่นี้ ยิ่งหากคุณหาเจอได้เร็วเท่าไหร่ มันก็จะเป็นผลดีสำหรับคุณมากขึ้นเท่านั้น เพราะ “เสียง” ที่ว่านี้ อาจจะทำให้รถคุณพังกลางทาง หรือเสียเงินซ่อมกันบานปลายเลยก็ได้ …

Find-Noises-In-Your-Car

เสียงที่เกิดจากรถยนต์ ไม่ว่าจะมาจากเครื่องยนต์ หรือระบบอะไรก็แล้วแต่ เป็นความผิดปกติได้ทั้งนั้น บางเสียงก็อาจจะเป็นเรื่องปกติของการทำงานในตัวรถเอง หรือบางเสียง ก็อาจจะเกิดจากความไว (ของหู) ในแต่ละคน ที่ได้ยิน รับรู้ ไม่เหมือนกัน

เสียงจากเครื่องยนต์ เป็นสิ่งที่หาได้ไม่ยาก หากเป็นช่างซ่อมรถที่เจนจัดกับการซ่อมรถมานักต่อนัก มักหาที่มาของเสียงได้ไม่ยาก จะด้วยการฟังหูเปล่า หรือฟังด้วยเครื่องฟัง ที่คล้ายๆ หูฟังของหมอนั่นล่ะครับ เริ่มต้นตั้งแต่ …

Start-Button

1. สตาร์ทรถ

สตาร์ทรถ … หากสตาร์ทรถแล้วมีเสียงดังเอี๊ยดๆ สีกัน ภายในห้องเครื่อง เมื่อคุณเร่งความเร็วรอบเครื่องยนต์ขึ้น เสียงจะลดระดับเบาลงไป แต่ก็ยังมีอยู่จนเครื่องร้อนได้ที่ แล้วถึงจะเงียบไป

อาการแบบนี้ ส่วนใหญ่เกิดจากสายพานต่างๆ หรือตัวดันสายพาน ลูกรอกสายพาน ที่หมดอายุการใช้งาน เสียหาย หรือเสื่อมสภาพ

Air-Condition

2. เปิดแอร์

เปิดแอร์ … เมื่อสตาร์ทรถได้สักพัก พอเปิดแอร์แล้วได้ยินเสียงดังแกรกๆ อาการแบบนี้ ก็คาดไว้ก่อนเลยว่า น่าจะมาจากคอมเพรสเซอร์แอร์, ลูกรอกแอร์ หน้าคลัทช์คอมแอร์ หรือสายพานแอร์ ก็เป็นไปได้ทั้งนั้น

Brake

3. เหยียบเบรก

เหยียบเบรก … เมื่อเหยียบเบรกไปแล้ว ไม่ว่าจะเหยียบเบาหรือแรง มีเสียงดังวิ้งๆ หรือครืดๆ ให้ก้มดูจานเบรกที่ล้อ ดูผ้าเบรกเป็นอันดับแรก เพราะผ้าเบรกหมด จนขูดจานเบรกเป็นรอย แล้วดูว่าจานเบรกนั้น มีรอยขูดหนาบางแค่ไหน เตรียมเสียเงินเปลี่ยนผ้าเบรกใหม่ได้

หรือถ้าจานเบรกมีรอยเส้นหนักๆ หน่อย ก็อาจจะต้องเจียรจานเบรก หรือเปลี่ยนจานเบรกใหม่

Rack-Steering-Wheel

4. เลี้ยวซ้ายสุด-ขวาสุด มีเสียงดัง

เลี้ยวซ้ายสุด-ขวาสุด มีเสียงดัง … ลองตรวจเช็กดูช่วงล่าง ตั้งแต่ แร็คพวงมาลัย ยางหุ้มเพลา ลูกหมากปีกนก คันชักคันส่ง ฯลฯ เพราะมันอาจหมดอายุการใช้งาน เสียหายจากการกระแทกบ่อยๆ หรือหัวเพลาหลวม หัวเพลาแตก!

และก็เป็นไปได้ ที่ตัวปั้มพวงมาลัยเพาเวอร์ รั่วหรือแรงไม่พอ ลองดูว่ามีน้ำมันเพาเวอร์รั่วซึมหรือไม่

Rubber-Speed-Humps

5. วิ่งผ่านเนินลูกระนาด … หน้าเด้ง ท้ายเด้ง!

วิ่งผ่านเนินลูกระนาด … หน้าเด้ง ท้ายเด้ง! … อาการนี้ดูโช๊คอัพได้เลย เพราะไม่มีความหนืด ในการดูดซับแรงกระแทกอีกแล้ว หากอาการไม่หนักก็ซ่อม อัดน้ำมันเข้าไปใหม่ แต่ถ้าทำไปใช้งานได้สักพัก มันรั่วอีก ก็ลงทุนเปลี่ยนใหม่จะดีกว่า

วิธีเช็ก ใช้ไฟฉายส่องเข้าไปที่ซุ้มล้อ ตรวจดูว่ามีน้ำมันซึมออกมาจากกระบอกโช๊คอัพหรือไม่ แล้วใช้ฝ่ามือทั้งสองมือ กดลงไปบริเวณด้านที่มีโช๊คอัพเหนือล้อ ถ้าหนืด กดแล้วจะนิ่ง ไม่ยุบง่ายๆ แต่ถ้าโช๊คอัพหมดสภาพแล้ว กดแล้วปล่อยมือ รถยังเด้งดึ๋งต่อเลย!

เมื่อรับทราบอาการดังกล่าวได้แล้ว ว่ามาจากสาเหตุไหน ทางที่ดี คุณควรขับรถเข้าศูนย์บริการ หรืออู่ซ่อมรถ ให้ช่างผู้ชำนาญการตรวจดูให้แน่ชัด แล้วเตรียมเสียเงินไว้ด้วยเทอญ …

ถ้าคุณตัดสินใจอยากขายรถคันเดิม เพื่อไปซื้อรถคันใหม่ หรือรับเป็นเงินก้อนไปใช้ สามารถขายรถคันเดิมกับ CARRO ได้ ง่ายๆ ได้เงินไว! กับ CARRO Express เพียงแค่คลิก https://th.carro.co/sell-car/express หรือสามารถ Inbox มาขอรายละเอียดได้ที่ Facebook CARRO Thailand

หรือจะ Add Line สอบถามรายละเอียดได้ที่ @Carrothailand หรือคลิกที่นี่ครับ —> เพิ่มเพื่อน

วิธีดูรถมือสอง กับ 7 อุปกรณ์พื้นฐานที่ผู้ซื้อควรรู้

เมื่อผู้ซื้อไปดูรถจริงแล้วต้องมีจุดที่ต้องพิจารณาเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจรถ บทความนี้ทาง CARRO จะนำเสนอในส่วนของอุปกรณ์พื้นฐานสำคัญ

ในการใช้งานรถ ซึ่งถ้าจะซื้อมือสองดีๆ มาใช้สัก 1 คัน อุปกรณ์พื้นฐานเหล่านี้ต้องใช้งานได้ดี เพื่อให้ผู้ที่ซื้อนำรถไปใช้งานในชีวิตประจำวันได้อย่างราบรื่น ไม่ต้องไปเสียเวลาเก็บงานภายหลัง หรือไปเสียกลางทางซะก่อนครับ

วิธีดูรถมือสอง กับ 7 อุปกรณ์พื้นฐานที่ผู้ซื้อควรรู้

1. ไฟส่องสว่างและไฟสัญญาณต้องติดครบ

ไฟหน้า ไฟเลี้ยว ไฟเบรค และไฟแจ้งเตือนต่างๆ ภายในรถ เป็นสิ่งสำคัญในเวลาขับขี่รถยนต์ ซึ่งไฟหน้า ไฟเลี้ยว และไฟเบรค จำเป็นมาก สำหรับการขับขี่ส่วนไฟแจ้งเตือนต่างๆ ภายในรถ เป็นการแจ้งเตือนเพื่อบอกผู้ขับขี่ถึงสถานะของตัวรถ ว่ามีอะไรที่ผิดปกติในส่วนของเครื่องยนต์ หรือตัวรถหรือไม่

Tips :: ไฟเตือนต่างๆ โดยเฉพาะเตือนความร้อนเครื่องยนต์สำคัญมาก (โดยเฉพาะรถรุ่นใหม่ๆ ที่ไม่มีมาตรวัดความร้อน) ถ้าใช้งานไม่ได้ อาจส่งผลรุนแรงต่อเครื่องยนต์ อาจทำให้เจ้าของรถต้องเสียเงินค่าถึงขั้นยกเครื่องใหม่ได้

2. ยางรถยนต์ต้องอยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งาน

ลักษณะยางรถยนต์ ที่ควรอยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งาน ดอกยางต้องลึก หน้ายางต้องไม่มีรอยบาดบวมแตกตำ ดูปีผลิตไม่ให้เก่าเกินอายุการใช้งาน โดยอายุการใช้งานของยาง ดีที่สุดไม่ควรเกิน 2 ปี เพราะฉะนั้น ก่อนตัดสินใจเปลี่ยนยางใหม่ ควรดูสภาพยางเดิมก่อนนำรถไปใช้งาน

Tips :: ยางรถยนต์ เป็นสิ่งที่ควรอยู่ในลำดับต้นๆ ของรายการสิ่งที่ควรจะเปลี่ยน หลังจากซื้อรถมาแล้ว กรณีที่หน้ายางเริ่มบางมาก จนถึงจุดวัดสามเหลี่ยม หรือเริ่มมีเนื้อยางล่อน มีอาการยางบวมให้เห็น ก็ควรรีบไปเปลี่ยนยางใหม่ดีกว่า เพราะถ้าเจอพื้นถนนลื่นๆ อาจต้องใช้ท้ายรถคันหน้าเป็นที่หยุดรถแทน

วิธีดูรถมือสอง กับ 7 อุปกรณ์พื้นฐานที่ผู้ซื้อควรรู้

3. แอร์ต้องเย็น!!

ใช้รถในเมืองไทย เครื่องปรับอากาศ หรือแอร์ติดรถยนต์ เป็นสิ่งสำคัญที่สุด ลองทดสอบเปิดแอร์ และดูว่า “เย็นฉ่ำ” หรือไม่ย้ำว่าต้อง “เย็นฉ่ำ” และแรงลมต้องแรง ใช้งานได้ทุกระดับ เป็นไปด้วยควรเช็คไปถึงระบบแอร์ เช่น ตู้แอร์ คอมเพรสเซอร์แอร์ คอยล์ร้อน ท่อทางเดินน้ำยาแอร์ พัดลมแอร์ ฯลฯ สภาพต้องพร้อมใช้งาน ไม่มีรั่ว ซึม หรือกำลังอัดตก

Tip :: เมื่อดูรถมือสอง ลองสตาร์ทรถและเปิดแอร์ เปิดที่ระดับแรงสุด ของแอร์เพื่อดูการทำงาน เอามืออังที่ช่องลม ว่ามีลมแอร์ออกปกติหรือไม่ หรือมีกลิ่นหรือเปล่า ยิ่งถ้าซื้อรถมือสองอายุมากๆ หรือรถมือสองสภาพแย่ๆ หน่อย ส่วนมากระบบแอร์มักจะมีปัญหา

4. พวงมาลัยจะช่วยบอกทุกอย่าง

พวงมาลัย เป็นอุปกรณ์ที่เป็นจุดเชื่อมโยงระหว่างคนขับและช่วงล่างของรถ เมื่อได้ทดลองขับไม่ต้องขับเร็ว ให้ค่อยๆ ขับ เพื่อให้สามารถสังเกตุพฤติกรรมของรถได้ หามีเสียง ก๊อกแก๊กจากช่วงล่างนั้นแสดงว่าช่วงล่างอาจหลวม ทำให้สะท้านมาถึงพวงมาลัยได้ หรือเลี้ยงซ้าย-ขวาสุด แล้วมีเสียงดังแต๊กๆ นั่นก็อาจมีอาการที่เพลาขับรั่วซึม หรือยางหุ้มเพลาขับขาดได้เช่นกัน

Tips :: เวลาลองรถ อย่าลองโดยการขับเร็ว เพราะไม่รู้เลยว่ารถที่ลองขับนั้น อยู่ในสภาพสมบูรณ์มากแค่ไหน อาจเป็นอันตรายได้

วิธีดูรถมือสอง กับ 7 อุปกรณ์พื้นฐานที่ผู้ซื้อควรรู้

5. ลองเข้าเกียร์

สำหรับรถเกียร์ธรรมดา ลองเข้าเกียร์และสังเกตให้ดีจังหวะที่รถเริ่มเคลื่อนที่ ว่ารถมีอาการสั่น กระตุกหรือไม่ หรือว่าเวลาเปลี่ยนเกียร์ นั้นเข้าเกียร์ยากนั้น แสดงว่าเกียร์เริ่มจะมีปัญหาแล้ว

ถ้าเป็นเกียร์ออโต้ วิธีสังเกตง่ายๆ คือ อาการของรถเมื่อเหยียบเบรกและเข้าเกียร์ D ไว้ถ้ารถมีอาการกระตุกเหมือนจะดับ หรือสั่นๆ หรือต้องรอสักพักถึงจะออกตัวได้ นั้นแสดงว่าเกียร์เริ่มจะมีปัญหาแล้วแหละ

Tips :: ส่วนของเกียร์เป็นส่วนสำคัญและแพง!! ถ้าได้รถที่มีปัญหาเรื่องเกียร์มา อาจต้องเตรียมเงินไว้ซ่อมที่แพงกว่าอะไหล่ส่วนอื่นๆ เพราะฉะนั้น ทดสอบเรื่องเกียร์ให้ดีก่อนตัดสินใจซื้อ

6. ทดสอบระบบเบรก

อุปกรณ์ที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของรถยนต์ คือระบบเบรกของรถ ที่จะซื้อควรมีการทดสอบการทำงานของเบรกว่าใช้งานได้ปกติหรือไม่ โดยการทดลองขับ ช้าๆ และลองย้ำเบรกเบาๆ ถ้าเบรกอยู่ หยุดสนิทก็แสดงว่าเบรกยังอยู่ในสภาพดี แต่ถ้าเยรกแล้วมีเสียงดังเอี้ยดอ๊าด นั่นหมายถึงจานเบรกเริ่มสึกเป็นรอยมาก หรือผ้าเบรกเริ่มหมด จนเหมือนกับเหล็กสีกัน ถ้ามีก็ต้องเตรียมงบไว้เจียรจานเบรก เปลี่ยนจานเบรก หรือเปลี่ยนผ้าเบรกใหม่

นอกจากนี้ควรจะก้มดูที่ระบบเบรกที่ล้อทั้งสี่ล้อด้วย ว่าความหนาของผ้าเบรกเหลือเท่าไหร่ (ในกรณีของดรัมเบรกล้อหลัง เช็คยากหน่อย เพราะต้องถอดล้อแกะดุมออกมาดู) มีรอยรั่วซึมของน้ำมันเบรกตามท่ออ่อนหรือไม่ เพราะถ้ามีก็แสดงว่าเบรกมีปัญหา

Tips :: ราคาเบรกรถยนต์ ราคาอะไหล่ อาจจะไม่สูงเท่าราคาอุปกรณ์อื่นๆ แต่การเลือกรถที่มีระบบเบรกที่สมบูรณ์มากที่สุดด้วยวิธีการตรวจสอบง่ายๆ จะเป็นวิธีที่ดีที่สุด

วิธีดูรถมือสอง กับ 7 อุปกรณ์พื้นฐานที่ผู้ซื้อควรรู้

7. สตาร์ทติดง่ายๆ และเครื่องยนต์ต้องนิ่งเงียบ

การสตาร์ทเครื่องเพื่อดูสิ่งผิดปกติต่างๆ ของอุปกรณ์ ในรถแต่ละกัน แค่บิดกุญแจสตาร์ททีเดียว แล้วเครื่องยนต์สามารถติดได้ทันที น้้นแสดงว่าระบบไฟที่ถูกจ่ายมาจากแบตเตอรี่ มายังไดสตาร์ทเพื่อสตาร์ท ยังอยู่ในสภาพที่ดีใช้งานได้

ไม่ต้องบิดกุญแจลากยาวๆ กว่าจะติด เมื่อเครื่องยนต์ติดแล้วก็ให้ไปดูที่เครื่องยนต์ขณะทำงานอยู่ ว่าเครื่องยนต์เดินเรียบนิ่งหรือไม่ มีอาการสะดุด มีรอบเครื่องไม่นิ่ง ตอนติดเครื่องไว้หรือเปล่า

Tips :: เครื่องยนต์อาจมีบางอย่างผิดปกติ อาจต้องมีการซ่อมแก้ไขภายหลังจากซื้อไปแล้ว เพราะฉะนั้นเลือกรถที่อยู่ในสภาพสมบูรณ์ เครื่องยนต์เดินเรียบ นิ่ง ดีที่สุด อย่าเสี่ยงที่จะซื้อรถแล้วไปซ่อมดีกว่า เว้นเสียแต่ว่าคุณเป็นสายนักปั้นรถเก่า ฮ่า ฮ่า

ทั้งหมดนี้เป็นแค่เพียงส่วนหนึ่งของ วิธีการเลือกซื้อรถมือสอง เพื่อให้ได้รถมือสองคุณภาพ อุปกรณ์พื้นฐานในการขับขี่ เพื่อการใช้งานอย่างปลอดภัย และไม่ต้องซ่อมนู่นนี่กันอยู่เรื่อย เมื่อตัดสินใจซื้อรถมาแล้ว

แต่ส่วนสำคัญของการซื้อรถมือสองอีกอย่างคือการ ตรวจสภาพรถ ที่โครงสร้างว่าเคยมีการชนหนักมาหรือไม่ ตรงส่วนนี้อาจจำเป็นต้องพึ่งผู้เชี่ยวชาญที่มีให้บริการ ตรวจสภาพรถยนต์ เพราะช่างผู้เชี่ยวชาญ จะทราบว่า ตรวจสภาพรถ ตรวจอะไรบ้าง ที่สำคัญและจะช่วยให้ท่านได้รถมือสองคุณภาพดี

แต่ทุกปัญหาเหล่านี้ ถ้าคุณไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญรถยนต์ แต่อยากซื่้อรถมือสองสักคัน ไม่ต้องห่วงเลย เพราะ “CARRO Automall” แหล่งรวมรถมือสองคุณภาพเยี่ยมผ่านระบบออนไลน์ พร้อมตอบโจทย์คุณด้วยคอนเซปต์ “click.buy.drive.” คุณสามารถจองรถออนไลน์ ได้ในเวลาเพียง 1 นาทีเท่านั้น!

รถทุกคันผ่านการตรวจสภาพแบบ Double Check และยังมีเทคโนโลยี “360 View & Sound Engine Analysis” ให้คุณเลือกชมรถยนต์เสมือนจริงออนไลน์รายแรกในไทย ทั้งภาพและเสียงในรูปแบบ 360 องศา พร้อมรับประกันคุณภาพรถนานถึง 2 ปี หรือ 20,000 กิโลเมตร! อีกทั้งยังการันตีความพึงพอใจ คืนเงินได้ภายใน 5 วันอีกด้วย! เรามีรถให้คุณเลือกชมเพียบ เปิดบริการทุกวัน ซื้อรถคุณภาพเยี่ยม ต้องที่ CARRO Automall สิ!

หรือถ้าหากสนใจรถรุ่นไหนอยู่ แต่ยังหาที่ถูกใจไม่ได้ เรายินดีหาให้! เพียงแค่กรอกเบอร์โทรศัพท์ ชื่อยี่ห้อ / รุ่นรถ ที่คุณต้องการก็ได้เช่นกันครับ อีกทั้งยังสามารถ Inbox เข้ามาสอบถามรายละเอียดได้ที่ Facebook -> CARRO Automall Official โทร. 02-508-8690 หรือทาง Line @carroautomall ครับ

ส่วนใครที่อยากขายรถคันเดิม ไปซื้อรถคันใหม่ มาขายรถคันเดิมกับ CARRO Express สิ! Inbox มาขอรายละเอียดได้ที่ Facebook -> CARRO Thailand และ Add Line สอบถามรายละเอียดได้เช่นกัน ที่ @carrothai