Play-Mobile-Phone-Near-Sighted

ทุกวันนี้ เป็นเรื่องที่ยากจะปฏิเสธว่า แทบทุกคนต้องมีโทรศัพท์มือถือ หรือสมาร์ทโฟนใช้ ซึ่งการใช้งานก็หลากหลายสารพัด บางคนใช้เพื่อธุรกิจ บางคนใช้เพื่อความบันเทิง หรือใช้เล่นเกมส์เป็นหลักก็มี ซึ่งบางคนติดมือถือมาก ละห่างนานเกินนาทีไม่ได้เลย

ไม่เว้นแม้กระทั่งก่อนนอน ก็ยังเล่นโทรศัพท์ในที่มืด ซึ่งทำให้เกิดความไม่สบายตามากกว่าการเล่นขณะเปิดไฟ เพราะต้องเพ่งมากกว่าปกติ และมีแสงสะท้อนเข้าตามากกว่าปกติ ทำให้ตาล้ามากขึ้น

แต่ก็มักจะมีคำถามมาเสมอๆ ว่า เล่นมือถือ สายตาสั้น อันนี้จริงหรือไม่? CARRO มีคำตอบมาฝากกันครับ

Play-Mobile-Phone-Near-Sighted

นายแพทย์เอกเทศ ชันซื่อ ผู้อำนวยการแพทย์ และจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ด้านการรักษาภาวะสายตาผิดปกติด้วยวิธีเลสิค และ ReLEx ให้คำแนะนำว่า คนที่เล่นมือถือ สายตาสั้น “สำหรับผู้ใหญ่ ไม่มีหลักฐาน แต่สำหรับเด็ก อาจมีผล”

ในผู้ใหญ่ ไม่มีข้อสรุปทางด้านวิทยาศาสตร์ที่บอกได้ชัดเจน 100% ว่าการใช้สายตาเยอะๆ จะทำให้มีการเปลี่ยนแปลงของสายตาโดยถาวรขึ้นมาได้ อาจมีสายตาสั้นแบบชั่วคราวเพิ่มขึ้นมาได้จากการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ หรือการเพ่ง เรียกว่า Accommodative Spasm ซึ่งหากได้พักสายตา อาการเกร็งนี้จะค่อยๆ หายไป ตอนนี้ยังไม่มีหลักฐานว่า Accommodative Spasm จะทำให้สายตาสั้นเพิ่มขึ้นโดยถาวร

แต่ในเด็ก การเล่นมือถืออาจมีผล การวิจัยสรุปได้ว่าเด็กที่ชอบใช้เวลาทำกิจกรรม Outdoors มีโอกาสเสี่ยงที่จะสายตาสั้นน้อยกว่าเด็กที่อยู่แต่ Indoors

อย่างไรก็ตาม การใช้สายตานาน ควรจะแบ่งย่อยเป็นช่วงสั้นๆ ต่อเนื่องกัน อย่างเช่น ทุกๆ 20 นาที นั่งพักมองไปไกลๆ หรือว่าหลับตาสัก 20 วินาที

Play-Mobile-Phone-Near-Sighted

ด้านนายแพทย์ฐาปนวงศ์ ตั้งอุไรวรรณ จักษุแพทย์โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า จ.นนทบุรี กล่าวว่า ปัญหาสายตาที่น่าห่วงขณะนี้ เป็นปัญหาจากการใช้เทคโนโลยีการสื่อสาร ประชาชนใช้สายตาในเรื่องนี้มาก

โดยเฉพาะในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี เด็กจะใช้สายตามาก จะทำให้สายตาสั้นเร็วกว่าปกติ ซึ่งมีทั้งสั้นเทียม หรือสั้นชั่วคราวและสั้นถาวร โดยอัตราการเกิดปัญหาสายตาสั้นขณะนี้เพิ่มขึ้นถึง 3 เท่าตัว ส่วนกลุ่มที่อายุเกิน 15 ปี จะไม่มีปัญหาสายตาสั้นเทียม แต่จะเกิดปัญหา เมื่อยล้า แสบตา ตาแห้ง มีอาการปวดศีรษะ หรือทำให้อาการปวดศีรษะไมเกรนกำเริบ

หากเป็นผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป ซึ่งเป็นวัยทำงาน ตามปกติสายตาจะเริ่มยาว หากใช้สายตามากกว่าปกติ จะเกิดอาการเมื่อยล้า ปวดตา ตาแดง แสบตามากขึ้น และสำหรับวัยหลังเกษียณ การเล่นไลน์ หรือคอมพิวเตอร์มาก จะมีอาการแสบตา ตาแห้ง ปวดตา อาการจะเป็นมากกว่าผู้ที่อายุน้อย เนื่องมาจากความเสื่อมการทำงานของอวัยวะที่เกิดตามวัย

การใช้คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ หรือแท็บเล็ตอย่างถูกวิธี มีข้อแนะนำดังนี้

1. พักสายตาทุก 30 นาที

2. กระพริบตาให้ได้ 4-6 ครั้ง/นาที ไม่ฝืนอ่านตัวอักษรที่มีขนาดเล็กมากจนเกินไป

3. เว้นระยะห่างจากหน้าจอประมาณ 30-40 เซนติเมตร

4. ปรับความสว่างของหน้าจอให้พอดีไม่มืดเกินไปหรือสว่างเกินไป

5. ไม่ใช้งานมือถือหากอยู่บนพาหนะที่มีความสั่นไหวทำให้มองจอได้ยาก

6. อากาศแห้งไม่ควรใช้สายตานานจนเกินไป และหากอยู่ในช่วงพักผ่อน ควรหาโอกาสทำสิ่งอื่นนอกจากเล่นมือถือ เพื่อลดการจ้องมองจอ เป็นต้น

ส่วนถ้าใครกำลังอยากขายรถคันเดิมในเวลานี้ เอารถคันเดิมของคุณกับทาง CARRO สิ ลงประกาศขายรถฟรี ได้ราคาที่คุณพอใจ พร้อมปิดการขายภายใน 24 ชั่วโมง! กับ CARRO Express แค่คลิก https://th.carro.co/sell-car/express หรือจะ Inbox สอบถามรายละเอียดได้ที่ Facebook CARRO Thailand

และ Add Line สอบถามรายละเอียดได้เช่นกัน ที่ @Carrothai คลิกที่นี่ —> เพิ่มเพื่อน

ขอบคุณแหล่งที่มาจาก:

Carro-Masii-5-Risky-Driving-Behaviors-Car-Accident

เชื่อไหมว่าสถิติการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนนั้นมีมากเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ มาตั้งแต่ต้นปี โดยสาเหตุหลักๆ จะมาจากพฤติกรรมของผู้ขับขี่เป็นหลักที่ไม่เคารพกฎหมาย และขาดวินัยในการขับขี่รถยนต์บนท้องถนน อีกทั้งการกระทำแบบนี้จะเพิ่มความเสี่ยงให้แก่ตัวผู้ขับขี่ และผู้ใช้รถใช้ถนนอีกด้วย เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ วันนี้ masii ได้นำ 5 พฤติกรรมเสี่ยงอุบัติเหตุ ที่ไม่น่าทำขณะขับรถมาเตือนเพื่อนๆ กัน ไปดูกันดีกว่าว่าจะมีอะไรบ้าง

5 พฤติกรรมเสี่ยงอุบัติเหตุ ที่ไม่ควรทำขณะขับรถ

5-Risky-Driving-Behaviors-Car-Accident

1. ฝ่าฝืนกฎจราจร

สาเหตุอันดับต้น ๆ ที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนนั้น โดยส่วนใหญ่จะมาจากการฝ่าฝืนกฎจราจร เช่น ฝ่าไฟแดงจราจร ขับรถย้อนศร และใช้ความเร็วที่เกินกำหนด เป็นต้น สิ่งเหล่านี้เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎจราจรทำให้เพิ่มอัตราความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนได้ ดังนั้นสิ่งที่ควรทำมากที่สุดสำหรับผู้ขับขี่คือ ผู้ขับขี่ควรปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด เพื่อลดโอกาสในการเกิดอุบัติเหตุนั่นเอง

2. เมาแล้วขับ

เมาแล้วขับรถ เป็นอีกหนึ่งพฤติกรรมที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ เช่นกัน ดังนั้นหากเพื่อนๆ หรือใครก็ตามที่รู้ตัวว่าดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จนมึนเมา ควรต้องพักการขับรถไว้ก่อน ควรหันมาใช้บริการขนส่งสาธารณะ หรือให้คนที่เราไว้วางไว้ใจมารับเราแทน เพราะการขาดสติ และมีอาการมึนเมานั้น ไม่ควรจะหันมาขับรถอย่างเด็ดขาด เพื่อความปลอดภัยของตัวเรา และผู้อื่น

5-Risky-Driving-Behaviors-Car-Accident

3. เล่นมือถือขณะขับรถ

มีหลายคนที่มักจะประมาทเวลาขับรถ โดยเฉพาะกับการเล่นโทรศัพท์มือถือขณะขับรถ เพราะคิดว่าขับรถมองทางสลับกับมองจอมือถือไปด้วยคงไม่เป็นไรหรอก แต่ความจริงแล้วนั้น พฤติกรรมนี้ถือเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุอันดับต้น ๆ เช่นกัน เพราะเนื่องจากเราจดจ่อกับมือถือมากกว่าขับรถ การกระทำนี้ทำให้ลดความสามารถในการควบคุมรถยนต์ จนทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ เช่น หากมีความจำเป็นต้องใช้โทรศัพท์ เราแนะนำว่าให้ใช้อุปกรณ์เสริมต่าง ๆ หรือจอดรถก่อนเพื่อคุยธุระให้เสร็จก่อนแล้วค่อยขับรถต่อไป

4. เอื้อมหยิบของในรถ

ไม่ว่าคุณจะมีความจำเป็นที่ต้องเอื้อมหยิบของในรถ ทั้งเบาะข้างๆ หรือเบาะหลัง ควรทำการจอดรถให้เรียบร้อยเสียก่อน อย่าเอื้อมตัวหรือมือไปหยิบของขณะที่กำลังขับรถเด็ดขาด เพราะแค่เสี้ยววินาทีที่เราหันไปมองของที่หยิบอยู่นั้น ก่อให้เกิดเหตุที่ไม่สามารถคาดฝันได้เช่นกัน อย่างไรก็ตาม ไม่ควรประมาท และควรจอดรถให้สนิทก่อนจะเอื้อมหยิบของ จะปลอดภัยที่สุด

5-Risky-Driving-Behaviors-Car-Accident

5. ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย

แม้ว่าการไม่คาดเข็มขัดนิรภัยจะยังไม่ใช่สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ แต่การคาดเข็มขัดนิรภัยก็เป็นสิ่งสำคัญมากๆ สำหรับผู้ขับขี่รถยนต์ทั้งหลายที่ไม่ควรละเลย ทางออกที่ดีที่สุด คือ การคาดเข็มขัดนิรภัยทุกๆ ครั้งก่อนออกเดินทางทั้งตัวผู้ขับขี่ และผู้โดยสาร เหตุผลที่ต้องคาดเข็มขัดนิรภัยก็เพื่อช่วยลดแรงกระแทกที่อาจเกิดกับตัวเราเมื่อเกิดอุบัติเหตุ โดยจะเป็นตัวฉุดรั้งไม่ให้เรากระเด็นออกจากเบาะ หรือตัวรถนั่นเอง

และทั้งหมดนี้คือ 5 พฤติกรรมเสี่ยงอุบัติเหตุ ที่ไม่ควรทำขณะขับรถที่ผู้ขับขี่ทุกคนควรรู้ เพื่อจะได้ช่วยกันลดความเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนได้ ที่สำคัญคือ การขับขี่อย่างปลอดภัย และมีสติ เคารพกฎจราจรหากใครอยากเพิ่มความอุ่นใจ สามารถ คลิกที่นี่ เพื่อซื้อประกันรถยนต์กับเว็บไซต์มาสิได้ง่ายๆ

ขอขอบคุณบทความดีๆ จาก www.masii.com