EV-Car-And-Annual-Tax-In-Thailand

ในเวลานี้ หากใครที่ยังใช้รถยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงเป็นตัวขับเคลื่อนอยู่ ปกติก็ต้องเสียภาษีรถยนต์ประจำปีกันตามปกติ แต่ก็มีคำถามกันมามากเลยว่า ถ้าเป็น “รถยนต์ไฟฟ้า” (หรือรถ EV) ต้องเสียภาษีรถยนต์ประจำปีเท่าไหร่กันล่ะ?

วันนี้ MR.CARRO มีคำตอบเกี่ยวกับ รถยนต์ไฟฟ้า (รถ EV) ตั้งแต่ค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียน การจ่ายเสียภาษีรถยนต์ในแต่ละปี มาฝากกันครับ

สำหรับค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนรถยนต์ไฟฟ้า ต่างจากรถยนต์ทั่วไป ในการดำเนินการจดทะเบียนกรณีรถเก๋ง กระบะ ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ไฟฟ้า จะจัดเก็บค่าธรรมเนียมและภาษีประจำปี ในอัตราดังนี้

  • ค่าธรรมเนียม ได้แก่ คำขอ 5 บาท
  • ค่าแผ่นป้ายทะเบียน แผ่นละ 100 บาท 2 แผ่นป้าย รวมเป็น 205 บาท
  • ค่าใบคู่มือจดทะเบียนรถ 100 บาท
  • ค่าตรวจสภาพ 50 บาท

รวมทั้งหมด 355 บาท

MG-ZS-2020

และสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า (รถ EV) ในส่วนของอัตราภาษีรถประจำปี หากเป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง คิดอัตราภาษีตามน้ำหนักของรถ ซึ่งเป็นอัตราเดียวกับที่ใช้ในการจดทะเบียนรถกระบะ ซึ่งจะถูกกว่าภาษีรถยนต์ไม่เกิน 7 ที่นั่ง ที่ใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิง

แต่ถ้าเป็นรถประเภทอื่นๆ นอกเหนือไปจากรถนั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง เช่น รถตู้ รถบรรทุก การจัดเก็บภาษีตามน้ำหนักรถ แต่หาร 2 ซึ่งจะทำให้เสียภาษีถูกกว่าครึ่งหนึ่งครับ

นอกจากนี้ หากเป็นรถที่จดทะเบียนมาแล้ว 5 ปี จะได้รับการลดหย่อนภาษีประจำปีในปีต่อๆ ไป ดังนี้

  • ปีที่ 6 ร้อยละ 10
  • ปีที่ 7 ร้อยละ 20
  • ปีที่ 8 ร้อยละ 30
  • ปีที่ 9 ร้อยละ 40
  • ปีที่ 10 และปีต่อๆ ไป ร้อยละ 50

ทีนี้ก็กระจ่างกันถึงเรื่องภาษีรถยนต์ไฟฟ้าที่จะต้องจ่ายกันในแต่ละปีแล้วนะครับ และอย่าลืมเตรียมเงินไว้ต่อภาษีรถกันทุกปีนะครับผม

ส่วนใครที่อยากขายรถ เพื่ออยากลองรถยนต์ไฟฟ้าคันใหม่มาใช้ดูบ้าง CARRO เรารับซื้อรถของคุณ สามารถเข้าไปเช็คราคา ตีราคาขายรถก่อนได้ โดยใส่ข้อมูลรถของคุณที่นี่เลย กับ CARRO Express > https://th.carro.co/sell-car/express หรือโทร. 02-508-8425

หรือใครจะ Inbox มาสอบถามก็ได้เช่นกัน ที่ Facebook CARRO Thailand หรือสะดวก Add Line ก็ที่ @Carrothailand หรือคลิกที่นี่ครับ —> เพิ่มเพื่อน

Shopping-Tire-For-Nation

ช็อปช่วยชาติ 2561 – 2562 เลือกยางรถยนต์แบบไหน ถึงจะได้ลดหย่อนภาษี

สินค้า-ช็อปช่วยชาติ

เป็นที่รู้กันละครับว่า เศรษฐกิจตอนนี้ มันช่างฝืดเคืองเสียยิ่งกะไร การจับจ่ายใช้สอยก็ไม่คล่องตัวเอาซะเลย รัฐบาลโดยกระทรวงการคลัง จึงต้องหามาตรการต่างๆ ออกมากระตุ้นเศรษฐกิจ หนึ่งในนั้นก็คือ “ช็อปช่วยชาติ” ที่ทำต่อเนื่องกันมาหลายปี

โดยในปีนี้ เริ่มขึ้นในระหว่างวันที่ 15 ธ.ค. 2561 – 16 ม.ค. 2562 ซึ่งปีนี้เงื่อนไขการซื้อของ มีการเปลี่ยนแปลงต่างจากปีที่แล้วมากพอสมควร มีอะไรบ้าง เรามาดูกัน …

Tire

เงื่อนไขแรก การซื้อสินค้าตั้งแต่วันที่ 15 – 31 ธันวาคม 2561 ใช้ลดหย่อนภาษีปี 2561 เท่านั้น หากคุณซื้อสินค้าบริการตั้งแต่ 1 มกราคม – 16 มกราคม 2562 ใช้ลดหย่อนภาษีปี 2562 (สามารถใช้สิทธิ์เพียงปีใดปีหนึ่ง 15,000 บาท หรือเลือกใช้สิทธิทั้ง 2 ปีภาษีรวมกัน แต่ต้องไม่เกิน 15,000 บาท)

เงื่อนไขที่สอง ปีนี้กำหนดสินค้าเอาไว้แค่ 3 หมวด เท่านั้น ได้แก่ ยางรถยนต์, หนังสือ (รวม E-Book) และสินค้า OTOP (โอทอป) อย่างอื่นไม่ร่วมด้วยนะครับ

ทีนี้ เรามาดูกันว่า จะเลือกยางรถยนต์อย่างไร ให้ได้ลดหย่อนภาษีคืน และคุ้มค่าเงินคุณ …

ซื้อยางรถยนต์แบบไหน ถึงจะได้ลดหย่อนภาษี?

คูปองยาง-ช็อปช่วยชาติ

คูปองยาง สำคัญ! ถ้าไม่มี ลดหย่อนภาษีไม่ได้!

ต้องเป็นยางรถยนต์, ยางรถจักรยานยนต์, ยางจักรยาน หรือยางประเภทใดก็ได้ ที่ผลิตในประเทศไทยเท่านั้น และต้องเป็นยางที่มีส่วนผสมยางพาราภายในประเทศเท่านั้น และต้องซื้อจากผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งได้ซื้อวัตถุดิบยางจากการยางแห่งประเทศไทย

โดยยางที่เข้าข่ายลดหย่อนภาษีนั้น ต้องมีคูปองจากสรรพากรมาพร้อมกับยางด้วย จำไว้เลยนะครับว่า ถ้าไม่มีคูปอง คุณจะไม่สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ ซึ่งคูปอง 1 ใบ ต่อล้อยาง 1 เส้น โดยค่าบริการเปลี่ยน หรือซ่อมยางรถยนต์ ไม่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้

สำหรับยางรถยนต์ และยางรถจักรยานยนต์ จริงๆ แล้ว เกือบทุกยี่ห้อผลิตในประเทศไทย แต่จะมีแค่ยี่ห้อ Otani, Maxxis, Deestone, ND Rubber และ IRC เท่านั้น ที่เข้าร่วมในโครงการ “ช็อปช่วยชาติ” นี้

ตารางลดหย่อนภาษี-ช็อปช่วยชาติ

เงินได้สุทธิ, อัตราภาษี และค่าลดหย่อน (ภาพจาก https://taxteller.blogspot.com/)

หลักฐานที่ใช้ยื่นลดหย่อนภาษี

คุณต้องมีใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป ตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฏากร ซึ่งจะต้องมีการระบุข้อความดังนี้

1. คำว่า “ใบกำกับภาษี” ต้องเห็นได้เด่นชัด

2. ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ออกใบกำกับภาษี

3. ชื่อ ที่อยู่ ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ

4. หมายเลขลำดับของใบกำกับภาษี และหมายเลขลำดับของเล่ม (ถ้ามี)

5. ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณ และมูลค่าของสินค้าหรือของบริการ

6. จำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่คำนวณจากมูลค่าของสินค้าหรือของบริการ โดยให้แยกออกจากมูลค่าของสินค้าหรือ ของบริการให้ชัดแจ้ง

7. วัน เดือน ปี ที่ออกใบกำกับภาษี

8. ข้อความอื่นที่อธิบดีกำหนด เช่น คำว่าเอกสารออกเป็นชุด สำเนาใบกำกับภาษี ฯลฯ

กรมสรรพากร-ช็อปช่วยชาติ

ถ้าหากใครที่กำลังจะเปลี่ยนยางรถยนต์ในช่วงนี้ ถือเป็นโอกาสอันดี แต่ก็ต้องเลือกยางรถยนต์ที่อยู่ในเงื่อนไขที่กำหนดด้วยนะครับ เดี๋ยวเลือกผิดไป หรือเลือกร้านที่ไม่ได้ร่วมกับทางช็อปช่วยชาติ ไม่ได้ลดหย่อนภาษีคืนนะครับ จะบอกให้ …

สำหรับผู้ที่มีข้อสงสัย สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์สารนิเทศสรรพากร โทร. 1161 หรือที่ http://www.rd.go.th/ กรมสรรพากร เต็มที่ เต็มใจ ให้ประชาชน

Buy-Secondhand-Cars-And-Vat

เรื่อง “ภาษี” ถ้าคนที่ไม่คุ้นชิน มักจะมีอะไรที่ชวนให้งงอยู่เสมอ … แม้กระทั่งการซื้อ-ขายรถ ก็เช่นกัน เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้ว ถ้าหากคุณซื้อรถมือหนึ่งจากโชว์รูม ไม่ว่าจะจ่ายด้วยเงินสด หรือจะผ่อนดาวน์ก็แล้วแต่ ล้วนถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย หรือ “VAT 7%” ด้วยกันทั้งสิ้น

แต่ถ้าซื้อรถมือสองล่ะ บางคนบอกว่า ฉันซื้อมา ไม่เห็นต้องเสียภาษีอะไรเลย แต่บางคนก็บอกว่าซื้อมาแล้ว ต้องเสียภาษี VAT 7% ด้วย!

CARRO จะมาเล่าให้ฟังครับ ว่าทำไม ซื้อรถมือสอง ถึงมีทั้งคนที่ต้องเสียภาษี และไม่ต้องเสียภาษี ครับ.

Buy-Secondhand-cars-And-VAT-Tax

VAT (Value Added Tax) คือ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่ปัจจุบันเราจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่มอยู่ในอัตราคงที่ 7% (ซึ่งคำนวณมาจากภาษีมูลค่าเพิ่ม 6.3% + ภาษีท้องถิ่น 0.7%) เกิดขึ้นเมื่อมีการซื้อขาย จะกี่ครั้งก็ตาม ผู้ขายจะต้องมีหน้าที่นำเงินส่ง กรมสรรพากร ครับ

ซื้อรถมือสอง หากคุณซื้อรถระหว่าง “บุคคลธรรมดา” ในกรณีนี้ “ไม่ต้องเสียภาษี”

เพราะจัดว่า บุคคลธรรมดา ได้ขายสินค้าที่เป็นทรัพย์สินสิ่งของใช้ส่วนตัว หากการขายรถดังกล่าว ไม่ได้กระทำไปในทางธุรกิจหรือวิชาชีพ ก็ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ส่วนคนที่ซื้อรถไปก็เสียแต่ค่าโอนรถ + ค่าอากรแสตมป์แค่นั้นครับ

และในส่วนของ ผู้ขายรถ (ที่เป็นบุคคลธรรมดา) ทางกรมสรรพากร กำหนดให้ผู้มีเงินได้ได้รับยกเว้น ไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ประจำปี ตามมาตรา 42 (9) แห่งประมวลรัษฎากร ก็คือ ขายรถได้เท่าไหร่ รับเงินเข้ากระเป๋าลูกเดียว ไม่ต้องจ่ายภาษีครับ

กรณีที่คุณซื้อกับเต็นท์รถ บริษัท หรือจากบุคคลที่ใช้ในการประกอบกิจการและเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม อันนี้ล่ะครับ ที่ “ต้องเสียภาษี”

เช่น เต็นท์รถที่คุณไปซื้อ เขาจดทะเบียนในรูปแบบบริษัทจำกัด หรือในรูปแบบ ห้างหุ้นส่วนจำกัด, ห้างหุ้นส่วนสามัญ และ ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ซึ่งราคารถที่เขาลงประกาศนั้น หากมีการลงบัญชีเข้าในบริษัทแล้ว ก็ย่อมรวมภาษีมูลค่าเพิ่ม (หรือ VAT 7%) เข้าไปเรียบร้อยแล้วนั่นเอง …

Buy-Secondhand-cars-And-VAT-Tax

ยกตัวอย่างเช่น รถมือสองที่คุณกำลังจะซื้อราคา 400,000 บาท บวกกับ VAT 7% ของราคารถเท่ากับ 28,000 บาท ดังนั้นราคาตัวรถจริงๆ ที่คุณจะต้องจ่าย นั่นคือ 400,000 + 28,000 = 428,000 บาท

ไม่ว่าจะซื้อสด หรือซื้อผ่อน ก็ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มครับ แต่โดยมากแล้ว ทางเต็นท์ก็จะมีวิธีการจัดการเอา เราก็อาจไม่ต้องเสียภาษีครับ

หรือยกเว้นว่า เป็นรถฝากขาย เต็นท์รถจะให้ผู้ฝากขายรถโอนลอย เมื่อมีคนมาซื้อไป หรือรถบ้าน ที่ผู้ซื้อผู้ขายตกลงไปซื้อกันเอง อย่างนี้ไม่เสียภาษี

Buy-Secondhand-cars-And-VAT-Tax

อีกกรณีหนึ่ง รถที่เต็นท์ไปประมูลมาจากบริษัทประมูล เขาบวกภาษีมูลค่าเพิ่มมาเรียบร้อยแล้ว พอทางเต็นท์นำรถมาขาย เขาจึงต้องบวกภาษีมูลค่าเพิ่มเข้าไปอีกต่อหนึ่ง เท่ากับว่า รถคันนี้เสียภาษีมาแล้วสองต่อ ทำให้ราคาสุทธิแพงขึ้น ถ้าเทียบกับซื้อต่อจากบุคคลธรรมดา

ถ้าหากนำรถไปจัดไฟแนนซ์ด้วยแล้ว ก็ยังต้องเสีย VAT 7% เพิ่มอีกเช่นกันครับ

ส่วนใครที่อยากขายรถ หรือมีเพื่อนฝูงกำลังหาที่ขายรถอยู่ CARRO เรารับซื้อรถของคุณ สามารถเข้าไปเช็กราคา ตีราคาขายรถก่อนได้ โดยใส่ข้อมูลรถของคุณที่นี่เลย กับ CARRO Express > https://th.carro.co/sell-car/express หรือโทร. 02-508-8425

หรือใครจะ Inbox มาสอบถามก็ได้เช่นกัน ที่ Facebook CARRO Thailand หรือสะดวก Add Line ก็ที่ @Carrothailand หรือคลิกที่นี่ครับ —> เพิ่มเพื่อน

ช็อปช่วยชาติ-2560

ซ่อมรถ

เชื่อว่ามนุษย์เงินเดือน และผู้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหลายๆ ท่าน คงได้ทราบข่าวของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ “ช็อปช่วยชาติ” จากทางรัฐบาลกันแล้ว ซึ่งจะเริ่มต้นขึ้นในระหว่างวันที่ 11 พ.ย.- 3 ธ.ค. 2560 โดยในเงื่อนไขดังกล่าว ก็คงถูกใจ “ขาช็อป” กันไม่น้อย และที่สำคัญ “ค่าซ่อมรถ” ยังสามารถนำค่าใช้จ่ายในการหักลดหน่อยภาษีได้อีกด้วย

ถือเป็นโอกาสดี สำหรับคนใช้รถที่ถึงเวลาต้องเปลี่ยนของใหญ่ๆ พอดี ทีนี้เรามาดูกันว่า จะซ่อมรถอย่างไร ให้ได้ลดหย่อนภาษีสูงสุดถึง 15,000 บาทครับ

ตรวจเช็คตามระยะกิโลเมตร หรือซ่อมรถ

Maintenance-Car

อันนี้ถือว่าเป็นสิ่งที่ต้องปฏิบัติอยู่แล้วสำหรับคนใช้รถ การตรวจเช็คบำรุงรักษาตามระยะที่ศูนย์บริการกำหนดไว้ มันก็ต้องสิ่งที่ต้องจ่าย อาทิเช่น การเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง น้ำมันเกียร์ น้ำมันเบรก น้ำมันคลัตช์ น้ำมันเฟืองท้าย เปลี่ยนแบตเตอรี่ เป็นต้น (การเปลี่ยนถ่ายน้ำมันต่างๆ ในรถยนต์ ที่ไม่ได้ใช้เป็นเชื้อเพลิงขับเคลื่อน แบบ น้ำมันเบนซิน, น้ำมันดีเซล หรือแก๊ส LPG, NGV สามารถนำไปหักลดหย่อนภาษีได้)

ในส่วนของรถที่เข้าซ่อมหรือเปลี่ยนชิ้นส่วนอะไหล่ พร้อม “ชำระค่าบริการ” ตั้งแต่ช่วงเวลาระหว่างวันที่ 11 พ.ย.- 3 ธ.ค. 2560 และซ่อมแล้วเสร็จภายในวันที่ 3 ธ.ค. 2560 จึงจะนำมาใช้หักลดหย่อนภาษีได้ อ่อ … อู่หรือศูนย์บริการที่เข้าใช้บริการนั้น ต้อง “ออกใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบ” ได้ด้วยนะครับ

Tire

เปลี่ยนยางรถยนต์

ถือเป็นโอกาสทองของรถยนต์ที่ยางรถยนต์หัวเริ่มล้านแล้ว สมมติว่า หากคุณยางรถยนต์ขนาด 16 นิ้ว หมดทั้ง 4 เส้น ราคาก็ตกประมาณหนึ่งหมื่นกว่าบาทได้ ซึ่งหากคุณจะใช้โปรโมชั่น ผ่อนยาง 0% ก็สามารถนำไปหักลดหย่อนภาษีได้ด้วยเช่นกัน

Mazda3-Sedan

แต่งรถ

โอกาสทองของคนชอบแต่งรถ มาถึงแล้ว … สำหรับสินค้าอุปกรณ์ตกแต่งรถยนต์ หรือล้อแม็ก ก็เข้าข่ายได้หักลดหย่อนภาษีเช่นกันครับ

ซ่อมรถ

สำหรับ “ช็อปช่วยชาติ 2560” ต้องใช้หลักฐานอะไรบ้าง สำหรับยื่นลดหย่อนภาษี โดยคุณต้องมีใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป ตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฏากร ซึ่งจะต้องมีการระบุข้อความดังนี้

1. คำว่า “ใบกำกับภาษี” ต้องเห็นได้เด่นชัด

2. ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ออกใบกำกับภาษี

3. ชื่อ ที่อยู่ ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ

4. หมายเลขลำดับของใบกำกับภาษี และหมายเลขลำดับของเล่ม (ถ้ามี)

5. ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณ และมูลค่าของสินค้าหรือของบริการ

6. จำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่คำนวณจากมูลค่าของสินค้าหรือของบริการ โดยให้แยกออกจากมูลค่าของสินค้าหรือ ของบริการให้ชัดแจ้ง

7. วัน เดือน ปี ที่ออกใบกำกับภาษี

8. ข้อความอื่นที่อธิบดีกำหนด เช่น คำว่าเอกสารออกเป็นชุด สำเนาใบกำกับภาษี ฯลฯ

ซ่อมรถ

สุดท้ายนี้ Carro ขอบอกอีกครั้ง เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับรถยนต์ ที่ไม่สามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้ นั่นคือ ค่าน้ำมัน (ที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงขับเคลื่อน), ค่าก๊าซ LPG, NGV สำหรับเติมพาหนะ, ค่าประกันภัยรถยนต์ รวมถึงค่าเช่าซื้อ, ผ่อน หรือดาวน์รถยนต์/มอเตอร์ไซค์ ก็ไม่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้นะครับ