Carro-Driving-On-Road-Shoulder

ปัญหาที่แก้ไม่ได้ของสังคมไทย คือ การขับรถที่ไร้ระเบียบวินัย

Driving-On-Road-Shoulder

เวลาคุณขับรถบนทางด่วนช่วงเวลาเร่งด่วน ขับรถออกต่างจังหวัดช่วงเทศกาล คุณเคยสังเกตไหมครับว่า ที่ไหล่ทาง มักจะมีรถยนต์จำนวนมาก วิ่งคร่อมไหล่ทางบ้าง วิ่งในไหล่ทางบ้างล่ะ เพื่อที่จะไปปาด เบียดข้างหน้า หรือแซงข้างหน้า เป็นประจำ ทำให้รถติดมากขึ้น หรือเกะกะกีดขวางการจราจรของรถกู้ภัย หรือรถพยาบาล

ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นว่า ประเทศเรา หย่อนยานและละเลยในการปฏิบัติตามกฎจราจรมากๆ เป็นปัญหาที่ชาตินี้ ไม่มีทางแก้ไขและปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมได้ซะที

ซึ่งก็ก่อให้เกิดอุบัติเหตุมาหลายต่อหลายครั้งแล้ว (ซึ่งไม่กี่วันก่อน ก็เพิ่งเกิดบนทางด่วนมาหมาดๆ) ก่อให้เกิดความสูญเสียในชีวิต และทรัพย์สินเป็นจำนวนมาก

Driving-On-Road-Shoulder

แก้ปัญหาไม่ได้ ก็วางแบริเออร์น้ำ ซะเลย …

พ.ร.บ. จราจรทางบกฯ พ.ศ. 2522 มาตรา 103 ระบุว่า ทางใดที่มีทางเท้า หรือไหล่ทาง อยู่ข้างทางเดินรถ ให้คนเดินเท้าเดินบนทางเท้าหรือไหล่ทาง ถ้าทางนั้นไม่มีทางเท้าอยู่ข้างทางเดินรถ ให้เดินริมทางด้านขวาของตน

… แสดงให้เห็นว่า บนถนนทั่วไป กฎหมายกำหนดให้ไหล่ทาง เป็นทางสำหรับคนเดินเท้า หรือสำหรับจักรยานปั่น ไม่ใช่ให้รถวิ่ง แต่บางที เจ้าหน้าที่ตำรวจจราจร ก็เรียกรถให้ไปวิ่งไหล่ในทางเพื่อระบายรถได้ ซึ่งก็ไม่ใช่ว่าใครก็ตาม จะเปิดเลนพิเศษเข้าไปวิ่งในไหล่ทางได้ตามอำเภอใจ

แม้จะมีตำรวจ โบกให้รถเข้าไปวิ่งในไหล่ทาง ในช่วงเวลาเร่งด่วน ก็ต้องระมัดระวังรถที่จอดอยู่ จักรยานที่ปั่นอยู่ หรือคนที่เดินสัญจรไปมา เพราะหากเกิดอุบัติเหตุขึ้น รถที่วิ่งไหล่ทางย่อมเป็นฝ่ายผิด เพราะฝ่าฝืนกฎจราจรเข้าวิ่งช่องทางที่ไม่ได้จัดไว้สำหรับเป็นทางเดินรถ แม้จะมีเจ้าหน้าที่ตำรวจโบกให้เข้าใช้ได้ก็ตาม

และสำหรับบนทางด่วน จะตีเส้นทึบไหล่ทางตลอดแนวห้ามรถเข้าไปวิ่ง ยกเว้นกรณีรถจอดเสีย หรือเกิดอุบัติเหตุ อนุญาตให้นำรถเข้าไปจอดชั่วคราวได้เพื่อความปลอดภัยและไม่ให้กีดขวางการจราจร … แต่ตำรวจทางด่วน ก็โบกรถให้รถสามารถเข้าไปวิ่งในไหล่ทางได้ ในช่วงเวลาเร่งด่วนด้วยเช่นกัน

Driving-On-Road-Shoulder

ภาพจาก Fanpage ลิงรู้เรื่อง

ด้าน พล.ต.ต.จิรพัฒน์ ภูมิจิตร รอง ผบช.น. ได้ชี้แจงว่า ไหล่ทางไม่ใช่ช่องทางเดินรถ แต่เป็นช่องทางสำหรับจอดรถกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน ไม่ว่ารถเสีย รถชน หรือเป็นช่องทางสำหรับรถพยาบาล รถฉุกเฉินที่จะนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาล แต่ปัจจุบันกลับพบว่ามีประชาชนที่ใช้ทางด่วนเข้าไปวิ่งไหล่ทางเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุกับรถที่จอดเสียบ่อยครั้ง

จน บช.น. ต้องหารือกับ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เพื่อกำหนดมาตรการดูแลและป้องกันอุบัติเหตุ ไม่ว่าจะเป็นการบังคับใช้กฎหมายกับผู้ฝ่าฝืนวิ่งบนไหล่ทาง เพราะตามกฎหมายจราจรระบุ ไว้ชัดเจนว่า ห้ามรถเข้าไปวิ่งไหล่ทาง หากฝ่าฝืนเข้าไปวิ่งจะถือเป็นการกระทำความผิดฝ่าฝืนเครื่องหมายบนพื้นที่ มีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท

ขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก