Thailand-Car-Sales-Volume-2021

บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด แถลงสถิติการจำหน่ายรถยนต์ปี 2563 พร้อมคาดการณ์ตลาดรถยนต์ไทยปี 2564

สำหรับยอดขายรถยนต์รวมในประเทศไทยปี 2563 ที่ผ่านมา อุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศได้รับผลกระทบอย่างมากจากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลให้ยอดขายลดลง 21.4% โดยมียอดขายอยู่ที่ 792,146 คัน”

สถิติการขายรถยนต์ในประเทศปี 2563 ยอดขายปี 2563 เปลี่ยนแปลง

เทียบกับปี 2562

ปริมาณการขายรวม 792,146 คัน      -21.4%
รถยนต์นั่ง  274,789 คัน -31.0%
รถเพื่อการพาณิชย์ 517,357 คัน -15.1%
รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง) 409,463 คัน -16.8%
รถกระบะ 1 ตัน (ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง) 364,887 คัน -15.5%

https://www.toyota.co.th/media/news/gallery/bffd17b5144496bbe2c0fad20ecf7d2ef525d20b.jpg

สำหรับแนวโน้มตลาดรถยนต์ของปี 2564 คาดการณ์ว่า ในปีนี้จะเป็นปีที่ท้าทายอีกครั้งสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศไทย เนื่องจากยังคงต้องเผชิญกับหลายปัจจัย จากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 การพัฒนาวัคซีน และการเข้าถึงวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 รวมถึงแนวโน้มสภาวะเศรษฐกิจทั่วโลก และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐ ทั้งหมดนี้จะส่งผลต่อทิศทางอุตสาหกรรมยานยนต์

นอกจากนี้ ความเคลื่อนไหวต่างๆ ในภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ เช่น การออกผลิตภัณฑ์ใหม่ กิจกรรมทางการตลาด และกิจกรรมส่งเสริมการขายต่างๆ จะมีบทบาทสำคัญต่อการกระตุ้นยอดขายรถยนต์  ดังนั้น เมื่อพิจารณาปัจจัยต่างๆ เหล่านี้แล้ว จึงคาดการณ์ว่ายอดขายรถยนต์ในปี 2564 จะอยู่ที่ประมาณ 850,000 – 900,000 คัน เพิ่มขึ้น 7-14% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา

ประมาณการยอดขายรถยนต์ในประเทศปี 2564 ยอดขาย

ประมาณการปี 2564

เปลี่ยนแปลง

เทียบกับปี 2563

ปริมาณการขายรวม 850,000 900,000 คัน     + 7-14%
รถยนต์นั่ง 290,000 318,000 คัน + 5-15%
รถเพื่อการพาณิชย์ 560,000 582,000 คัน + 8-13%

สำหรับยอดขายโตโยต้า ในปี 2563 ยอดขายรวมลดลง 26.5% หรือคิดเป็นจำนวน 244,316 คัน อย่างไรก็ตาม แต่ยังมีส่วนแบ่งทางการตลาดเป็นอันดับ 1 หรือเท่ากับ 30.8% ของยอดขายรถยนต์ทั้งหมด เนื่องจากมีการแนะนำรถยนต์รุ่นใหม่ๆ อย่าง Corolla Cross, Yaris ATIV, Fortuner Legender, Hilux Revo และ Innova Crysta ส่งผลให้โตโยต้าสามารถรักษาส่วนแบ่งทางการตลาดได้

CARRO Automall แหล่งรวมรถมือสองคุณภาพเยี่ยม ผ่านการตรวจสภาพแบบ Double Check รับประกันพร้อมโอนทุกคัน
สถิติการขายรถยนต์ของโตโยต้าในปี 2563 ยอดขายปี 2563 เปลี่ยนแปลง

เทียบกับปี 2562

ส่วนแบ่งตลาด
ปริมาณการขายโตโยต้า 244,316 คัน      -26.5% 30.8%
รถยนต์นั่ง  68,152 คัน -42.1% 24.8%
รถเพื่อการพาณิชย์ 176,164 คัน -17.9% 34.1%
รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง) 149,635 คัน -21.9% 36.5%
รถกระบะ 1 ตัน (ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง) 129,893 คัน -21.5% 35.6%

สำหรับเป้าหมายของโตโยต้าในปี 2564 โตโยต้ามีเป้าหมายการขายอยู่ระหว่าง 280,000 – 300,000 คัน หรือคิดเป็นยอดขายที่เพิ่มขึ้น 15 – 23% จากปีที่ผ่านมา คิดเป็นส่วนแบ่งการตลาดที่ 33.3%

ปริมาณการขายรถยนต์ของโตโยต้าในปี 2564 ยอดขาย

ประมาณการปี 2564

เปลี่ยนแปลง

เทียบกับปี 2563

ส่วนแบ่งตลาด
ปริมาณการขายโตโยต้า 280,000 – 300,000 คัน      + 15-23% 33.0%
รถยนต์นั่ง    82,500 – 92,000 คัน      + 21-35% 29.0%
รถเพื่อการพาณิชย์ 197,500 – 208,000 คัน      + 12-18% 36.0%
รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง) 168,500 – 181,000 คัน      + 13-21% 38.0%
รถกระบะ 1 ตัน (ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง) 144,000 – 153,000 คัน      + 11-18% 38.0%

ด้านการส่งออกในปี 2563 โตโยต้าได้ส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปจำนวน 215,277 คัน ลดลง 18.7% ปริมาณการผลิตสำหรับการขายภายในประเทศ และการส่งออกมีจำนวนรวมทั้งสิ้น 442,822 คัน ลดลง 22.4% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา

ปริมาณการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป

และการผลิตของโตโยต้าปี 2563

ปริมาณปี 2563 เปลี่ยนแปลง

เทียบกับปี 2562

ปริมาณการส่งออก 215,277 คัน      -18.7%
ยอดผลิตรวมทั้งส่งออกและการขายในประเทศ 442,822 คัน -22.4%

ทั้งนี้สำหรับเป้าหมายการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปของโตโยต้าในปีนี้ คาดการณ์ว่าปริมาณการส่งออกจะอยู่ที่ 254,000 คัน เพิ่มขึ้น 18% จากปีที่แล้ว เนื่องจากความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นจากภูมิภาคหลัก เช่น เอเชียและโอเชียเนีย

ทั้งนี้โตโยต้าตั้งเป้าการผลิตรถยนต์อยู่ที่ 527,000 คัน หรือเพิ่มขึ้น 19% จากปี 2563 ซึ่งการคาดการณ์ดังกล่าว สอดคล้องกับเป้าหมายยอดขายของทั้งในระดับประเทศและระดับโลก

เป้าหมายการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป

และการผลิตของโตโยต้าปี 2564

ปริมาณปี 2564 เปลี่ยนแปลง

เทียบกับปี 2563

ปริมาณการส่งออก 254,000 คัน      18%
ยอดผลิตรวมทั้งส่งออกและการขายในประเทศ 527,000 คัน 19%

ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ เดือนธันวาคม 2563

  1.   ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 104,089 คัน เพิ่มขึ้น 11.3%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 33,197 คัน เพิ่มขึ้น 12.6% ส่วนแบ่งตลาด 31.9%
อันดับที่ 2 อีซูซุ
22,917 คัน เพิ่มขึ้น 45.3% ส่วนแบ่งตลาด 22.0%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 10,075 คัน เพิ่มขึ้น 5.6% ส่วนแบ่งตลาด 9.7%
  1. ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 38,130 คัน เพิ่มขึ้น 3.1%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 8,811 คัน ลดลง 12.6% ส่วนแบ่งตลาด 23.1%
อันดับที่ 2 ฮอนด้า 8,378 คัน เพิ่มขึ้น 22.4% ส่วนแบ่งตลาด 22.0%
อันดับที่ 3 มาสด้า 3,475 คัน ลดลง 3.1% ส่วนแบ่งตลาด  9.1%
  1. ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 65,959 คัน เพิ่มขึ้น 16.7%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 24,386 คัน เพิ่มขึ้น 25.7% ส่วนแบ่งตลาด 37.0%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 22,917 คัน เพิ่มขึ้น 45.3% ส่วนแบ่งตลาด 34.7%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 4,595 คัน เท่าเดิม ส่วนแบ่งตลาด  7.0%
  1. ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย 51,516 คัน เพิ่มขึ้น 14.4%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 21,566 คัน เพิ่มขึ้น 46.9% ส่วนแบ่งตลาด 41.9% 
อันดับที่ 2 อีซูซุ 20,123 คัน เพิ่มขึ้น 17.5% ส่วนแบ่งตลาด 39.1%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 4,595 คัน เท่าเดิม ส่วนแบ่งตลาด 8.9%

*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน: 7,512 คัน
อีซูซุ 2,806 คัน – โตโยต้า 2,709 คัน – มิตซูบิชิ 1,118 คัน – ฟอร์ด 856 คัน – นิสสัน 23 คัน 

  1. ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 44,004 คัน เพิ่มขึ้น 11.1%
อันดับที่ 1 อีซูซุ 18,760 คัน เพิ่มขึ้น 34.9% ส่วนแบ่งตลาด 42.6%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 17,414 คัน เพิ่มขึ้น 16.4% ส่วนแบ่งตลาด 39.6%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 3,739 คัน ลดลง 3.9% ส่วนแบ่งตลาด 8.5%

สถิติการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมกราคม – ธันวาคม 2563

  1. ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 792,146 คัน ลดลง 21.4%
อันดับที่ 1 โตโยต้า
244,316 คัน ลดลง 26.5% ส่วนแบ่งตลาด 30.8%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 181,194 คัน เพิ่มขึ้น 7.7% ส่วนแบ่งตลาด 22.9%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า
93,041 คัน ลดลง 26.1% ส่วนแบ่งตลาด 11.7%
  1. ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 274,789 คัน ลดลง 31.0%
อันดับที่ 1 ฮอนด้า 77,419 คัน ลดลง 19.5% ส่วนแบ่งตลาด 28.2%
อันดับที่ 2 โตโยต้า
68,152 คัน ลดลง 42.1% ส่วนแบ่งตลาด 24.8%
อันดับที่ 3 นิสสัน 27,120 คัน ลดลง 24.3% ส่วนแบ่งตลาด 9.9%
  1. ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 517,357 คัน ลดลง 15.1%
อันดับที่ 1 อีซูซุ 181,194 คัน เพิ่มขึ้น 7.7% ส่วนแบ่งตลาด 35.0%
อันดับที่ 2 โตโยต้า
176,164 คัน ลดลง 17.9% ส่วนแบ่งตลาด 34.1%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 35,046 คัน ลดลง 29.0% ส่วนแบ่งตลาด 6.8%
  1. ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย 409,463 คัน ลดลง 16.8%
อันดับที่ 1 อีซูซุ
168,467 คัน เพิ่มขึ้น 10.0% ส่วนแบ่งตลาด 41.1%
อันดับที่ 2 โตโยต้า
149,635 คัน ลดลง 21.9% ส่วนแบ่งตลาด 36.5%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ
35,046 คัน ลดลง 29.0% ส่วนแบ่งตลาด 8.6%

*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน : 44,576 คัน
โตโยต้า 19,742 คัน – มิตซูบิชิ 9,342 คัน – อีซูซุ 8,139 คัน – ฟอร์ด 5,343 คัน –  นิสสัน 1,338 คัน – เชฟโรเลต 672 คัน

  1. ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 364,887 คัน ลดลง 15.5%
อันดับที่ 1 อีซูซุ
160,328 คัน เพิ่มขึ้น 11.6% ส่วนแบ่งตลาด 43.9%
อันดับที่ 2 โตโยต้า
129,893 คัน ลดลง 21.5% ส่วนแบ่งตลาด 35.6%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ
25,704 คัน ลดลง 28.2% ส่วนแบ่งตลาด 7.0%

ขอขอบคุณข้อมูลจาก: