ช่วงไม่กี่วันมานี้ ในโลกโซเชียลมีเดีย มีการถกเถียงกันอย่างดุเดือด ถึงการที่ กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ ตบเท้าหารือกรมสรรพสามิต 16 ธ.ค. นี้ เสนอตั้งกองทุนเก็บค่าธรรมเนียมกำจัดรถยนต์เก่า 10 ปี พร้อมให้สิทธิพิเศษผู้ใช้ซื้อรถใหม่ หวังกระตุ้นยอดขาย ลดมลพิษ …
แนวคิดนี้ เกิดขึ้นจากภาพรวมอุตสาหกรรมยานยนต์ ในช่วง 10 เดือน ที่ผ่านมา (ม.ค. -ต.ค.) ตัวเลขยอดขายตกลงมาก ทำได้เพียง 838,847 คัน ขยายตัว 0.6%
จนผู้คนออกมาโจมตี ทั้งฝ่ายเอกชนที่ต้องการให้รัฐบาลตั้งกองทุนเก็บค่าธรรมเนียมกำจัดรถยนต์เก่า 10 ปี และภาพลักษณ์ของรัฐบาลตอนนี้ที่เป็นอย่างไร ทุกคนก็รู้ๆ กันอยู่ เลยกลายเป็นกระแสของคนเล่นรถเก่า รักรถเก่า รักรถมือสอง ออกมาด่ารัฐบาลกันเป็นชุด

ถ้าคุณคิดอยากขายรถเก่ามาก ขยับมาซื้อรถใหม่ หรือรถมือสองที่ปีใหม่ขึ้นมาหน่อย เพราะไม่อยากรับภาระค่าใช้จ่ายที่ตามมาในอนาคต ก็นำรถมาขาย หรือตีราคารถ ที่ CARRO ง่ายๆ ได้เงินไว! กับ CARRO Express คลิกที่นี่ https://th.carro.co/sell-car/express หรือสามารถ Inbox มาขอรายละเอียดได้ที่ Facebook CARRO Thailand
หรือจะ Add Line สอบถามรายละเอียดได้ที่ @Carrothailand หรือคลิกที่นี่ —> 
แนวคิดของการเก็บภาษีรถเก่า อายุเกิน 10 ปี นั้น มีข้อดี ข้อเสีย อย่างไร MR.CARRO จะมาเล่าให้ฟัง

การจัดเก็บภาษีรถยนต์ประจำปี ของ กรมการขนส่งทางบก
แนวคิดในการจัดเก็บภาษีรถยนต์ ตั้งแต่ในยุคของกองทะเบียน กรมตำรวจ มาจนถึงยุคกรมการขนส่งทางบก ในอดีตนั้น จัดเก็บภาษีตามน้ำหนักรถยนต์ (ทั้งรถเก๋ง, รถกระบะ และรถตู้) ต่อมา ช่วงประมาณปี 2525 กรมการขนส่งทางบก จึงปรับรูปแบบการจัดเก็บภาษีของรถยนต์นั่ง (เฉพาะรถเก๋ง) ใหม่ ตาม พ.ร.บ. รถยนต์ พ.ศ. 2522 ที่เก็บตามความจุกระบอกสูบของเครื่องยนต์
ปัจจุบัน มีการจัดเก็บภาษี 4 ประเภทด้วยกัน คือดังนี้
1) จัดเก็บตามกระบอกสูบ ได้แก่ รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน
600 ซีซีแรก ซีซี ละ 0.50 บาท
601 – 1,800 ซีซีๆ ละ 1.50 บาท
เกิน 1,800 ซีซีๆ ละ 4.00 บาท
หากเป็นรถที่จดทะเบียนมาแล้ว 5 ปี ให้ได้รับการลดหย่อนภาษีประจำปีในปีต่อๆ ไป ดังนี้
– ปีที่ 6 ร้อยละ 10
– ปีที่ 7 ร้อยละ 20
– ปีที่ 8 ร้อยละ 30
– ปีที่ 9 ร้อยละ 40
– ปีที่ 10 และปีต่อๆ ไป ร้อยละ 50
2) จัดเก็บเป็นรายคัน ได้แก่ รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล รถจักรยานยนต์สาธารณะ รถพ่วง รถบดถนน รถแทรกเตอร์ที่ใช้ในการเกษตร
– รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล คันละ 100 บาท
– รถจักรยานยนต์สาธารณะ คันละ 100 บาท
– รถพ่วงของรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล คันละ 50 บาท
– รถพ่วงนอกจากข้อข้างต้น คันละ 100 บาท
– รถบดถนน คันละ 200 บาท
– รถแทรกเตอร์ที่ใช้ในการเกษตร คันละ 50 บาท
3) จัดเก็บตามน้ำหนัก ได้แก่ รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล รถยนต์รับจ้าง
น้ำหนักรถ (กิโลกรัม) |
รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน |
รถยนต์รับจ้างระหว่างจังหวัดรถยนต์บริการ |
รถยนต์รับจ้าง |
รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลรถลากจูงรถแทรกเตอร์ที่มิได้ใช้ในการเกษตร |
ไม่เกิน 500 |
150 |
450 |
185 |
300 |
501 – 750 |
300 |
750 |
310 |
450 |
751 – 1,000 |
450 |
1,050 |
450 |
600 |
1,001 – 1,250 |
800 |
1,350 |
560 |
750 |
1,251 – 1,500 |
1,000 |
1,650 |
685 |
900 |
1,501 – 1,750 |
1,300 |
2,100 |
875 |
1,050 |
1,751 – 2,000 |
1,600 |
2,550 |
1,060 |
1,350 |
2,001 – 2,500 |
1,900 |
3,000 |
1,250 |
1,650 |
2,501 – 3,000 |
2,200 |
3,450 |
1,435 |
1,950 |
3,001 – 3,500 |
2,400 |
3,900 |
1,625 |
2,250 |
3,501 – 4,000 |
2,600 |
4,350 |
1,810 |
2,550 |
4,001 – 4,500 |
2,800 |
4,800 |
2,000 |
2,850 |
4,501 – 5,000 |
3,000 |
5,250 |
2,185 |
3,150 |
5,001 – 6,000 |
3,200 |
5,700 |
2,375 |
3,450 |
6,001 – 7,000 |
3,400 |
6,150 |
2,560 |
3,750 |
7,001 ขึ้นไป |
3,600 |
6,600 |
2,750 |
4,050 |
4) รถที่ขับเคลื่อนด้วยกำลังไฟฟ้า
– รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน ให้เก็บภาษีตามน้ำหนักของรถในอัตรารถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกินเจ็ดคน
– รถอื่นนอกจาก 4.1 ให้เก็บภาษีในอัตรากึ่งหนึ่งของรถตามข้อ 2 และ 3
รถใครภาษีขาดเกิน 3 ปี ดูวิธีการต่อภาษี พร้อมจดทะเบียนใหม่ ได้ใน Link นี้ – 3 ขั้นตอนง่ายๆ ในการต่อทะเบียนรถ “ภาษีขาดเกิน 3 ปี”

แล้วภาษีสรรพสามิต ของรถยนต์ป้ายแดงที่ออกใหม่จากโรงงานล่ะ?
ปัจจุบัน กรมสรรพสามิต จัดเก็บภาษีเฉพาะรถยนต์ใหม่ ที่ผลิตจากโรงงานอุตสาหกรรม หรือนำเข้าจากต่างประเทศ โดยจัดเก็บภาษีตามหลักสิ่งแวดล้อม โดยกำหนดอัตราภาษีตามอัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เพื่อส่งเสริมให้เกิดการประหยัดพลังงาน และลดมลพิษด้านสิ่งแวดล้อม จากการปล่อย CO2 อันเป็นสาเหตุหลักให้เกิดสภาวะโลกร้อน และฝุ่น PM 2.5

ข้อดี ของ แนวคิดของการเก็บภาษีรถเก่า อายุเกิน 10 ปี
- ปริมาณรถยนต์เก่าในบ้านเราลดลง เพราะผู้คนส่วนหนึ่ง ยอมขายรถเก่าทิ้ง เนื่องจากสู้กับภาษีที่เพิ่มขึ้นไม่ไหว
- ปริมาณฝุ่น PM 2.5 ที่ปล่อยออกจากเครื่องยนต์รถยนต์ น้อยลง
- ภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ มียอดขายรถยนต์ใหม่มากขึ้น กับบรรดาผู้ผลิตชิ้นส่วนอะไหล่ต่างๆ และอุปกรณ์เกี่ยวเนื่อง มีเงินหมุนเวียนในระบบมากขึ้น
- ซากรถคันเก่า จะเข้าสู่กระบวนการกำจัดซากที่ได้มาตรฐาน แบบโรงงานรีไซเคิลรถยนต์ เช่นในประเทศจีน หรือ ญี่ปุ่น และได้รับเงินที่จ่ายเข้ากองทุนคืนพร้อมดอกเบี้ย ซึ่งอาจจะเป็นการลดภาษีสรรพสามิตของรถใหม่ ที่จะซื้อออกไป

ข้อเสีย ของ แนวคิดของการเก็บภาษีรถเก่า อายุเกิน 10 ปี
- ผู้บริโภคต้องยอมซื้อรถยนต์ป้ายแดงคันใหม่ ในราคาจำหน่ายที่แพงกว่าหลายประเทศทั่วโลกพอสมควร ทั้งๆ ที่ ซื้อรถมือสองคุณภาพดี (แต่อายุมากหน่อย) ซึ่งคุ้มค่าเงินกว่า
- ไม่เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน รายได้ของคนไทยส่วนใหญ่ มิได้มากพอที่จะสามารถเปลี่ยนรถยนต์ได้ทุกๆ 5-10 ปี เนื่องจากรถยนต์ใหม่ ก็มีการจัดเก็บภาษีสรรพสามิต ค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่ค่อนข้างสูงอยู่แล้ว
- บางคนอาจใช้เวลาในการผ่อนรถยนต์ นานถึง 6-7 ปี พอผ่อนหมด ใช้งานได้อีก 3 ปี ก็ต้องเจอการปรับภาษีรถยนต์ที่สูงขึ้น ทำให้ต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายที่มากขึ้น
- ในต่างประเทศ ที่เป็นทั้งบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ และมีเทคโนโลยีเป็นของตัวเอง สามารถทำราคาจำหน่ายรถยนต์ที่เหมาะสมได้ ซึ่งต่างไปจากบ้านเรา
- รถเก่าหลายคัน อายุมากแล้ว แต่ถ้าได้รับการดูแลรักษาที่ดี ก็ยังน่าใช้ไม่แพ้รถใหม่ๆ
- คนที่มีรถยนต์มากกว่า 1 คัน และถ้าเป็นรถยนต์เก่า ต้องรับภาระค่าใช้จ่ายต่อปีมากขึ้น
- ระบบขนส่งมวลชน เช่น รถเมล์ ที่มีอายุมากถึง 20-40 ปี สภาพเก่าโทรม ควันดำ ยังวิ่งให้บริการผู้คนในเมืองใหญ่ ค่อนข้างย้อนแย้งกับข้อเสนอในการลดมลพิษ

สำหรับตัวเลขของ กรมการขนส่งทางบก พบว่า รถยนต์เก่าอายุเกิน 10 ปี ที่จดทะเบียนก่อนปี 2552 ในปัจจุบัน มีอยู่ประมาณ 26 ล้านคัน จำนวนนี้ เป็นรถยนต์ส่วนบุคคลประมาณ 9 ล้านคัน แยกออกได้เป็น รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน 4.07 ล้านคัน รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน 3.8 แสนคัน และรถกระบะ 4.6 ล้านคัน
คือต้องบอกก่อนว่า แนวคิดนี้ “ดี” ในประเทศที่ “พัฒนาแล้ว” คุณภาพชีวิตประชาชนดี มีการกระจายรายได้อย่างทั่วถึง มีค่าครองชีพสูง และมีระบบขนส่งมวลชนที่ได้คุณภาพ จนทำให้รู้สึกว่า ไม่มีรถยนต์ใช้งาน ชีวิตก็ไม่ลำบากในการเดินทาง

การตรวจสภาพรถ ของประเทศญี่ปุ่น
เช่น ในประเทศญี่ปุ่น รถยนต์ใหม่มีราคาถูกกว่าในไทยมาก แต่เมื่อคุณใช้รถยนต์ไปจนถึงปีที่ 4 นับตั้งแต่วันที่จดทะเบียน คุณก็ต้องนำรถยนต์เข้าตรวจสภาพ (ของญี่ปุ่นเรียกว่า “車検” Shaken = ชาเกง) ซึ่งคล้ายกับ ตรอ. ในบ้านเรา เป็นการตรวจสภาพรถยนต์ทุกๆ 2 ปี แต่มีความละเอียดในการตรวจสอบรถยนต์มากกว่ามาก และค่าตรวจสภาพที่ค่อนข้างแพงมาก ครั้งนึงต้องจ่ายหลายหมื่นเยนเลยทีเดียว
ซึ่งถ้าตรวจสภาพรถไม่ผ่าน ก็ต้องกลับไปซ่อมแซมแก้ไข เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มอีก (โดยการตรวจสภาพรถนี้ ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม เช่น ภาษีรถยนต์ ที่ขึ้นอยู่กับน้ำหนักของรถ, ประกันภัยรถยนต์ 24 เดือน, ภาษีค่าใช้ถนน และค่าอากร เป็นต้น)

อัตราค่าตรวจสภาพรถ ของประเทศญี่ปุ่น
และยิ่งรถเก่ามากเท่าไหร่ ค่าตรวจสภาพก็ยิ่งสูงมากขึ้น ทำให้คนญี่ปุ่นหลายคนรับภาระค่าใช้จ่ายไม่ไหว ถ้าเกิดอุบัติเหตุ ค่าซ่อมก็ไม่คุ้ม เพราะค่าซ่อมแพงกว่าซื้อรถใหม่ แถมตอนลากเอาไปทิ้ง ต้องเสียเงินค่ากำจัดขยะอีก

รถมือสองเก่าจากญี่ปุ่น ที่อยู่ในประเทศพม่า
ด้วยเหตุนี้ จึงมีพ่อค้ารถมือสอง ทำธุรกิจส่งรถยนต์เก่าจากญี่ปุ่น ไปขายที่ภาคตะวันออกไกลของรัสเซีย พม่า หรือแถบโอเชียเนีย แถบแคริเบียน หรือประเทศที่ใช้รถพวงมาลัยขวากันมากมาย จนบางทีก็ตัดขายเป็นอะไหล่ แบบเชียงกงในบ้านเรา หรือขับไปทิ้งเป็นซาก อยู่ตามป่าตามเขาในต่างจังหวัด ยังดีกว่า (คนญี่ปุ่นขี้เหนียวก็เยอะนะ! รู้ว่าค่าใช้จ่ายแพง ทิ้งแล้วซื้อใหม่คุ้มกว่า)
คนญี่ปุ่นส่วนใหญ่ จึงใช้รถยนต์เฉลี่ยประมาณ 5-7 ปี ก็เปลี่ยนคันใหม่แล้ว
แต่ถ้าในบ้านเรา หากมีการบังคับใช้จริงๆ แล้วล่ะก็ คนที่จะเดือดร้อนจำนวนมาก ก็คงหนีไม่พ้นคนไทยส่วนใหญ่ ที่ใช้รถเก่า และรถมือสอง นี่ล่ะครับ …
แหล่งที่มาบางส่วนจาก: