Carro-Prevent-Covid-19-With-BMTA-2021

การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 (COVID-19) ในขณะนี้ นอกจากจะส่งผลกระทบนอกต่อบุคคลทั่วไปแล้ว ยังส่งผลต่อผู้ที่ต้องเดินทางด้วยระบบขนส่งมวลชน ที่จัดว่าอยู่ในกลุ่มเสี่ยงสูงกว่าบุคคลทั่วไป ที่เดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัวอย่างมาก

Carro-Prevent-Covid-19-With-BMTA-2021

Carro-Prevent-Covid-19-With-BMTA-2021

“CARRO” หรือ “คาร์โร” สตาร์ทอัพด้านตลาดรถยนต์จากประเทศสิงคโปร์ จึงขอเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือสังคม ส่งมอบความปรารถนาดี ช่วยเหลือคนไทย ผ่านแคมเปญ “อาสาดูแลรถขนส่งสาธารณะ พ่นน้ำยาฆ่าเชื้อ ลดความเสี่ยงโควิด-19” ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ พ่นน้ำยาฆ่าเชื้อ ลดความเสี่ยง COVID-19 ในปีที่สอง ณ อู่พระราม 9 เมื่อวันที่ 28 มกราคม ที่ผ่านมา

Carro-Prevent-Covid-19-With-BMTA-2021

Carro-Prevent-Covid-19-With-BMTA-2021

Carro-Prevent-Covid-19-With-BMTA-2021

Carro-Prevent-Covid-19-With-BMTA-2021

หากช่วงนี้ใครต้องการซื้อรถมือสองคุณภาพเยี่ยม ผ่านการตรวจสภาพได้มาตรฐาน รับประกันพร้อมโอนทุกคัน หรือหารถมือสองรุ่นที่ต้องการ สามารถเข้ามาดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ CARRO Automall > https://th.carro.co/buy-car หรือโทร. 02-508-8690 หรือจะ Inbox มาสอบถามก็ได้เช่นกัน ที่ Facebook CARRO Automall – รถบ้านมือสอง ถ้าสะดวก Add Line ก็ที่ @carroautomall

Carro-Prevent-Covid-19-With-BMTA-2021

ส่วนใครที่อยากขายรถ หรือมีเพื่อนฝูงกำลังหาที่ขายรถอยู่ CARRO เรารับซื้อรถของคุณ สามารถเข้าไปเช็กราคา ตีราคาขายรถก่อนได้ โดยใส่ข้อมูลรถของคุณที่นี่เลย กับ CARRO Express > https://th.carro.co/sell-car/express หรือโทร. 02-508-8425

หรือใครจะ Inbox มาสอบถามก็ได้เช่นกัน ที่ Facebook CARRO Thailand หรือสะดวก Add Line ก็ที่ @Carrothai หรือคลิกที่นี่ครับ —> เพิ่มเพื่อน

Trick-To-Prevention-Covid-19-From-Bus

แม้ว่าในสถานการณ์นี้ ไวรัสโควิด-19 ที่ระบาดอยู่ในไทยกำลังเริ่มซาลงแล้ว แต่หลายคนยังต้องปฏิบัติตัวให้รับกับ “New Normal” หรือ “ความปกติใหม่” กันอย่างสม่ำเสมอ ไม่ว่าจะเป็นการใส่หน้ากากอนามัย รักษาระยะห่างทางสังคม (Social Distrancing) รวมไปถึง อยู่บ้าน ลดเชื้อ เพื่อชาติ ก็ตาม

แต่บางคนก็ยังต้องออกไปทำงานนอกบ้านทุกวัน เนื่องจากงานหลายอย่างอาจทำที่บ้านไม่ได้ ยิ่งระบบขนส่งมวลชนบ้านเรา ถ้าอย่างรถไฟฟ้า BTS หรือรถไฟฟ้า MRT ก็ยังมั่นใจในเรื่องความสะอาดได้ แต่ระบบขนส่งมวลชนอย่าง รถเมล์ ขสมก. รถร่วมบริการ หรือรถสองแถว ก็อาจจะต้องระมัดระวังในการสัมผัสกันหน่อย

MR.CARRO มีเคล็ดลับในการใช้บริการรถเมล์อย่างไรให้ปลอดภัย ไม่ติดโควิด-19 มาฝาก …

Trick-To-Prevention-Covid-19-From-Bus

1. คนขับรถเมล์ / กระเป๋ารถเมล์

– คนขับรถเมล์ และกระเป๋ารถเมล์ ต้องสวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้าตลอดการให้บริการ
– คนขับที่มีอาการป่วย เช่น มีไข้ ไอ จาม ห้ามขับรถเด็ดขาด และกักตัวที่บ้านเพื่อดูอาการ
– คนขับรถเมล์ สามารถปฏิเสธผู้โดยสารที่ไม่สวมหน้ากากอนามัยไม่ให้ขึ้นได้

2. ตัวรถเมล์ รถสองแถว

– จัดที่นั่ง หรือเว้นระยะการยืนของผู้โดยสารอย่างน้อย 1-2 เมตร ตาม Social Distrancing
– จัดให้มีเจล แอลกอฮอล์ ประจำรถ และทำความสะอาดรถทุกครั้ง ทั้งก่อนและหลังให้บริการ
– เมื่อหยุดพักรถ ให้เปิดประตูและหน้าต่าง เพื่อระบายอากาศภายในรถ

Trick-To-Prevention-Covid-19-From-Bus

3. ผู้โดยสาร

– สวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้า ตลอดการเดินทาง
– นั่งหรือยืนห่างกันอย่างน้อย 1-2 เมตร
– ล้างมือด้วยแอลกอฮอล์เจลบ่อยๆ
– ขอความร่วมมือในการงดคุยโทรศัพท์
– เมื่อสัมผัสราวจับ ประตู ตัวถังรถ เบาะ อย่าลืมเอามือไปคุ้ยแกะแกะเกาบริเวณใบหน้าก็แล้วกัน

และนี่ก็คือวิธีปฏิบัติตัวเองอย่างง่ายๆ ที่สามารถทำได้เลย ตลอดการขึ้นรถเมล์ หรือรถสองแถว แค่นี้คุณก็ปลอดภัยจากไวรัสโควิด-19 แล้วล่ะครับผม

ส่วนใครที่อยากขายรถ เพื่อนำเงินไปใช้ในช่วงโควิด-19 ระบาด หรืออยากซื้อรถคันใหม่ ไว้เดินทางเป็นการส่วนตัว เพื่อลดความเสี่ยงจากโควิด-19 CARRO เรารับซื้อรถของคุณ สามารถเข้าไปเช็กราคา ตีราคาขายรถก่อนได้ โดยใส่ข้อมูลรถของคุณที่นี่เลย กับ CARRO Express > https://th.carro.co/sell-car/express หรือโทร. 02-508-8425

หรือใครจะ Inbox มาสอบถามก็ได้เช่นกัน ที่ Facebook CARRO Thailand หรือสะดวก Add Line ก็ที่ @Carrothailand หรือคลิกที่นี่ครับ —> เพิ่มเพื่อน

ขอขอบคุณข้อมูลจาก:

Carro-And-Doctor-Car-Prevent-Covid-19

การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 (COVID-19) ในขณะนี้ นอกจากจะส่งผลกระทบนอกต่อบุคคลทั่วไปแล้ว ยังส่งผลต่อผู้ที่ต้องเดินทางด้วยระบบขนส่งมวลชน ที่จัดว่าอยู่ในกลุ่มเสี่ยงสูงกว่าบุคคลทั่วไป ที่เดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัวอย่างมาก

“CARRO” หรือ “คาร์โร” สตาร์ทอัพด้านตลาดรถยนต์จากประเทศสิงคโปร์ จึงขอเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือสังคม ส่งมอบความปรารถนาดี ช่วยเหลือคนไทย ผ่านแคมเปญ “พ่นน้ำยา ด้วยน้ำใจ สู้ภัยโควิด” อาสาดูแลรถตู้โดยสารปรับอากาศ ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ พ่นน้ำยาฆ่าเชื้อ ลดความเสี่ยง COVID-19

Carro-And-Doctor-Car-Prevent-Covid-19

นางสาวฐปณีย์ จ๋วงพานิช ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท คาร์โร (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า “เนื่องจากคาร์โร คือผู้ประกอบการด้านตลาดรถยนต์มือสองแพลตฟอร์มออนไลน์ เราเข้าใจดีถึงผลกระทบจาก COVID- 19 ที่ทุกคนกำลังเจอในทุกรูปแบบ รวมถึงในระบบขนส่งสาธารณะ เนื่องจากมีประชาชนเป็นจำนวนมาก ที่ยังต้องเดินทางโดยรถขนส่งสาธารณะ ซึ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้เลยที่ต้องอยู่ใกล้ชิดกัน รวมถึงรถตู้สาธารณะ ใน 1 วัน มีผู้ใช้บริการจำนวนมาก

เราจึงตั้งใจทำแคมเปญ “พ่นน้ำยา ด้วยน้ำใจ สู้ภัยโควิด” เพื่ออาสา พ่นน้ำยาฆ่าเชื้อ ให้แก่รถตู้โดยสารปรับอากาศ ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ เพื่อลดความเสี่ยง COVID-19 และคาร์โรขอเป็นกำลังใจ ให้เราทุกคนร่วมกันผ่านพ้นวิกฤตครั้งนี้ไปได้อย่างดีที่สุด”

Carro-And-Doctor-Car-Prevent-Covid-19

โดยแคมเปญ “พ่นน้ำยา ด้วยน้ำใจ สู้ภัยโควิด” คาร์โร ยังได้รับการสนับสนุนจาก เฟซบุ๊กแฟนเพจ Doctor Car ที่มีผู้ติดตามมากกว่า 260,000 คน ร่วมสนับสนุนงบประมาณในการพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อ COVID-19 ในครั้งนี้ด้วย

เราคนไทยทุกคน สามารถมีส่วนช่วยเหลือสังคมให้ก้าวผ่านวิกฤตในครั้งนี้ได้ แค่ร่วมมือกันเราจะก้าวผ่านช่วงเวลาที่ยากลำบากไปด้วยกันได้อย่างแน่นอน

ส่วนใครที่อยากขายรถ หรือมีเพื่อนฝูงกำลังหาที่ขายรถอยู่ CARRO เรารับซื้อรถของคุณ สามารถเข้าไปเช็กราคา ตีราคาขายรถก่อนได้ โดยใส่ข้อมูลรถของคุณที่นี่เลย กับ CARRO Express > https://th.carro.co/sell-car/express หรือโทร. 02-508-8425

หรือใครจะ Inbox มาสอบถามก็ได้เช่นกัน ที่ Facebook CARRO Thailand หรือสะดวก Add Line ก็ที่ @Carrothai หรือคลิกที่นี่ครับ —> เพิ่มเพื่อน

King-Rama-10-Royal-Barge-Procession

การเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร โดยริ้วกระบวน “พยุหยาตราทางชลมารค” เป็นอีกพิธีในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพุทธศักราช 2562 โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีขึ้นในวันที่ 12 ธันวาคม 2562 ซึ่งจัดขึ้นตามโบราณราชประเพณี เพื่อให้พสกนิกรได้เฝ้าฯ ถวายพระพรชัยมงคล

พิธีการขบวน “พยุหยาตราทางชลมารค” จะใช้เรือจำนวน 52 ลำ โดยเรือพระที่นั่งใช้ 4 ลำใหญ่ เรือนำ คือ เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช เชิญพระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์ ซึ่งเป็นพระมงคลที่นำขบวนทุกครั้งในประเทศไทย ลำที่ 2 คือ เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เป็นเรือที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ลำที่ 3 คือ เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ เป็นของสมเด็จพระบรมวงศ์ และลำที่ 4 คือ เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ เป็นเรือพระที่นั่งสำรอง

จากนั้นเป็นเรือดั้ง เรือแซง เรือรูปสัตว์ และเรือมีชื่อต่างๆ ทั้งหมด 52 ลำ เรียกว่า ขบวนพยุหยาตราใหญ่

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดขบวนราบเพิ่ม กล่าวคือเดิมเมื่อขบวนเรือมาถึงท่าราชวรดิฐ จะเสด็จเข้าประทับที่พระที่นั่งราชกิจวินิจฉัย แล้วขึ้นรถยนต์พระที่นั่งเสด็จกลับพระที่นั่งอัมพรสถาน แต่ได้เปลี่ยนแปลงเพิ่มเติม โดยเมื่อเรือมาถึงท่าราชวรดิฐ จะเสด็จฯ ขึ้นที่พลับพลา ก่อนเสด็จฯ ไปยังพระที่นั่งราชกิจวินิจฉัย

จากนั้นจะมีขบวนราบ ซึ่งมีลักษณะคล้ายขบวน “พยุหยาตราทางสถลมารค” แต่มีขนาดย่อมกว่าโดยขบวนราบจะเริ่มจากท่าราชวรดิฐ มาตามถนนมหาราช ก่อนเลี้ยวขวาเข้าสู่ถนนพระลาน แล้วเลี้ยวขวาเข้าพระบรมมหาราชวังที่ประตูวิเศษไชยศรี แล้วเสด็จไปสู่พระที่นั่งอาภรณ์ภิโมกข์ เพื่อเปลี่ยนฉลองพระองค์ แล้วเสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่งกลับพระที่นั่งอัมพรสถาน

ทาง CARRO รวบรวมวิธีการเดินทาง สำหรับทุกท่านที่อยากไปร่วมงานชมขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ด้วยระบบขนส่งมวลชนกันครับ ซึ่งหลายภาคส่วนร่วมอำนวยความสะดวก และไม่เก็บค่าบริการ

การเดินทางโดยรถเมล์

BMTA-Free-Shuttle-Bus-12-Dec-2019

เดินทางด้วยรถเมล์ เป็นวิธีเดินทางสำหรับที่ไม่รีบร้อนและมีเวลา จัดเดินรถโดยสารให้บริการฟรี จำนวน 19 เส้นทาง ในวันที่ 12 ธันวาคม 2562 ตั้งแต่เวลา 9.00 – 22.00 น. หรือจนกว่าจะส่งประชาชนออกจากพื้นที่หมด แบ่งเป็น

1. จัดรถโดยสารปรับอากาศชานต่ำ ใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ (NGV) และรถโดยสารปรับอากาศยูโรทู วิ่งในเส้นทางเดินรถเฉพาะกิจ (จอดรับ – ส่งทุกป้าย) จำนวน 6 เส้นทาง โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • เส้นทางที่ 1 อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ – สนามหลวง จอดรับ – ส่ง บริเวณหน้าร้านอาหารสกายไฮ
  • เส้นทางที่ 2 สถานีขนส่งกรุงเทพ (จตุจักร) – สนามหลวง จอดรับ – ส่ง บริเวณใต้สะพานพระราม 8 (ฝั่งพระนคร)
  • เส้นทางที่ 3 วงเวียนใหญ่ – สนามหลวง จอดรับ – ส่ง บริเวณสถานีรถไฟธนบุรี และบริเวณหน้าวัดกัลยาณมิตร
  • เส้นทางที่ 4 สนามศุภชลาศัย – สนามหลวง จอดรับ – ส่ง บริเวณ ม.เทคโนโลยีราชมงคลพระนคร วิทยาเขตเทเวศร์
  • เส้นทางที่ 5 สถานีขนส่งกรุงเทพ (สายใต้ใหม่) – สนามหลวง จอดรับ – ส่ง บริเวณใต้สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า (ฝั่งธนบุรี)
  • เส้นทางที่ 6 สถานีรถไฟหัวลำโพง – สนามหลวง จอดรับ – ส่ง บริเวณใต้สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า (ฝั่งพระนคร)

2. จัดรถโดยสารปรับอากาศชานต่ำ ใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ (NGV) และรถโดยสารปรับอากาศยูโรทู
วิ่งในเส้นทางเดินรถ Shuttle Bus (รับจากจุดจอด – จุดส่ง) จำนวน 11 เส้นทาง โดยมีรายละเอียด ดังนี้

  • เส้นทางที่ 1 เมืองทองธานี, ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ – สนามหลวง จอดรับ – ส่ง บริเวณใต้สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า (ฝั่งพระนคร)
  • เส้นทางที่ 2 สโมสรตำรวจ, ม.เกษตรศาสตร์ – สนามหลวง จอดรับ – ส่ง บริเวณใต้สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า (ฝั่งพระนคร)
  • เส้นทางที่ 3 สโมสรทหารบก, กทม.2 – สนามหลวง จอดรับ – ส่ง บริเวณ ม.เทคโนโลยีราชมงคลพระนคร วิทยาเขตเทเวศร์
  • เส้นทางที่ 4 ฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต – สนามหลวง จอดรับ – ส่ง บริเวณ ม.เทคโนโลยีราชมงคลพระนคร วิทยาเขตเทเวศร์
  • เส้นทางที่ 5 ที่จอดรถ MRT สำนักงานใหญ่, MRT ลาดพร้าว, ศาลอาญา, จอดรับ – ส่ง บริเวณ ม.เทคโนโลยี สำนักงานอัยการสูงสุด, SCB สำนักงานใหญ่ – สนามหลวง ราชมงคลพระนคร วิทยาเขตเทเวศร์
  • เส้นทางที่ 6 อีเกีย, เมกาบางนา, ไบเทคบางนา – สนามหลวง จอดรับ – ส่ง บริเวณ ม.ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
  • เส้นทางที่ 7 ท่าเรือคลองเตย, โรงงานยาสูบ, จอดรับ – ส่ง บริเวณ ม.ธรรมศาสตร์ แอร์พอร์ต เรลลิ้งก์ มักกะสัน – สนามหลวง ท่าพระจันทร์
  • เส้นทางที่ 8 สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า จอดรับ – ส่ง บริเวณ เจ้าคุณทหารลาดกระบัง – สนามหลวง หน้าร้านอาหารสกายไฮ
  • เส้นทางที่ 9 เซ็นทรัลพระราม 2, โรงเรียนบางมดวิทยา – สนามหลวง จอดรับ – ส่ง บริเวณท่าเตียน
  • เส้นทางที่ 10 พุทธมณฑลสาย 4, เซ็นทรัลศาลายา, อู่บรมราชชนนี, จอดรับ – ส่ง บริเวณใต้สะพาน วิทยาลัยทองสุข – สนามหลวง พระราม 8 (ฝั่งธนบุรี)
  • เส้นทางที่ 11 เซ็นทรัลเวสเกต – สนามหลวง จอดรับ – ส่ง บริเวณใต้สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า (ฝั่งธนบุรี)

BMTA-Free-Shuttle-Bus-12-Dec-2019

3. จัดรถโดยสารธรรมดา วิ่งในเส้นทางเดินรถ Shuttle Bus แทนเรือข้ามฟาก (รับจากจุดจอด – จุดส่ง) จำนวน 2 เส้นทาง โดยมีรายละเอียด ดังนี้

  • เส้นทางที่ 1 สะพานกรุงธน (หน้าโรงเรียนเขมะสิริอนุสรณ์) – สนามหลวง จอดรับ – ส่ง บริเวณใต้สะพานพระพุทธยอดฟ้า (ฝั่งพระนคร)
  • เส้นทางที่ 2 สะพานกรุงธน (หน้าสถานีดับเพลิงสามเสน) – สนามหลวง จอดรับ – ส่ง บริเวณใต้สะพานพระพุทธยอดฟ้า (ฝั่งพระนคร)

การเดินทางโดยรถไฟฟ้า BTS / รถโดยสารด่วนพิเศษ BRT

https://btsapp1.bts.co.th/WebApplication/storage_file/files/%E0%B9%91%E0%B9%92%20%E0%B8%98%E0%B8%84%20Banner%20web-06.jpg

รถไฟฟ้า BTS อำนวยความสะดวกให้กับประชาชนที่จะเข้าเฝ้าฯ รับเสด็จ และเข้าชมพระราชพิธีในการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 ในวันที่ 12 ธันวาคม 2562

โดยประชาชน สามารถเดินทางรถไฟฟ้า BTS ฟรีตลอดเส้นทาง ในวันพฤหัสบดีที่ 12 ธันวาคม 2562 ตั้งแต่เวลา 06.00 – 24.00 น. สายสุขุมวิท ตั้งแต่สถานีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ถึงสถานีเคหะฯ และสายสีลม ตั้งแต่สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ ถึงสถานีบางหว้า และรถโดยสารด่วนพิเศษ BRT

โดยผู้โดยสารรถไฟฟ้า BTS และรถโดยสารด่วนพิเศษ BRT สามารถกดรับบัตรโดยสารฟรีได้ทุกสถานี หรือรับบัตรฟรีที่ห้องจำหน่ายตั๋ว สำหรับผู้ใช้บัตรแรบบิทแบบเติมเงิน ระบบจะไม่ตัดเงินในวันดังกล่าว

ส่วนผู้โดยสารที่ใช้บัตรแรบบิทประเภทเติมจำนวนเที่ยว ต้องกดรับบัตรโดยสารเที่ยวเดียวจากตู้จำหน่ายบัตร หรือรับบัตรฟรีที่ห้องจำหน่ายตั๋วทุกสถานี

การเดินทางโดยรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT

https://admin.bemplc.co.th/Upload/FreeRide01_45343633_1575633046..jpg

รถไฟฟ้า MRT ให้บริการรถไฟฟ้า MRT สายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน) และรถไฟฟ้า MRT สายฉลองรัชธรรม (สายสีม่วง) ยกเว้นค่าโดยสารรถไฟฟ้าในวันพฤหัสบดีที่ 12 ธันวาคม 2562 ตลอดระยะเวลาการเปิดให้บริการ

นอกจากนี้ รฟม. ได้จัดให้บริการที่จอดรถฟรีทุกอาคารและลานจอดรถ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนที่จะเดินทางเข้าร่วมงานในวันดังกล่าว ได้แก่ MRT สายสีน้ำเงิน อาคารจอดแล้วจร จำนวน 4 แห่ง บริเวณสถานีลาดพร้าว, สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย, สถานีหลักสอง และลานจอดแล้วจร จำนวน 9 แห่ง บริเวณสถานีรัชดาภิเษก, สถานีห้วยขวาง, สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย, สถานีพระราม 9, สถานีเพชรบุรี, สถานีศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์, และสถานีสามย่าน

รถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง จำนวน 4 แห่ง บริเวณสถานีคลองบางไผ่, สถานีสามแยกบางใหญ่, สถานีบางรักน้อยท่าอิฐ และสถานีแยกนนทบุรี 1

การเดินทางโดยรถไฟฟ้า ARL (แอร์พอร์ต เรล ลิงค์)

Airport-Rail-Link-Free-12-Dec-2019

รถไฟฟ้า Airport Rail Link อำนวยความสะดวกในการเดินทางของประชาชนที่จะเข้าร่วมงานพระราชพิธี เปิดให้โดยสารฟรีในวันที่ 12 ธันวาคม 2562 ตั้งแต่เวลา 05.30 – 24.00 น. โดยประชาชนสามารถขอรับคูปองเดินทางฟรีได้ที่เจ้าหน้าที่ประจำสถานีบริเวณห้องจำหน่ายตั๋วทุกสถานี

การโดยสารด้วยเรือโดยสารสาธารณะ

Chaophraya-Boat-Free-12-Dec-2019

กรมเจ้าท่า ร่วมกับบริษัทเอกชนต่างๆ จัดเรือบริการฟรี วันที่ 12 ธันวาคม 2562

1. บริษัทเรือด่วนเจ้าพระยา จำกัด และบริษัท วรรณงามนาวา จำกัด จัดเรือบริการฟรี

  • ด้านเหนือ ให้บริการเรือ ตั้งแต่ ท่าเรือนนทบุรี – ท่าเรือซังฮี้ เวลา 12.00 น. – 18.00 น. ในทุกๆ 1 ชั่วโมง
  • ด้านใต้ ให้บริการเรือ ตั้งแต่ ท่าเรือสาทร – ท่าเรือสะพานพุทธฯ เวลา 7.00 น. – 18.00 น. ในทุกๆ 1 ชั่วโมง

SanSaab-Boat-Free-12-Dec-2019

2. บริษัท ครอบครัวขนส่ง 2002 จำกัด จัดบริการเรือฟรี

ให้บริการเรือ ตั้งแต่ ท่าเรือประตูน้ำ – ท่าเรือผ่านฟ้าลีลาศ เวลา 7.00 น. – 20.00 น. ให้บริการทุกๆ 10 นาที

การเดินทางโดยรถไฟ รฟท.

SRT-Train-Free-12-Dec-2019

รฟท. จัดเดินขบวนรถไฟพิเศษ ในโอกาสเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 ในวันที่ 12 ธันวาคม 2562 เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้โดยสาร ใน 4 เส้นทางหลัก คือ อยุธยา นครปฐม ฉะเชิงเทรา และมหาชัย โดยไม่เสียค่าโดยสาร (บริการฟรี) ประกอบด้วย
  • เส้นทางที่ 1 อยุธยา – กรุงเทพ ขบวนที่ 320 (09.30-11.00 น.) กรุงเทพ – อยุธยา ขบวนที่ 321 (20.15-21.50 น.)
  • เส้นทางที่ 2 นครปฐม – ธนบุรี ขบวนที่ 322 (09.55-10.50 น.) ธนบุรี – นครปฐม ขบวนที่ 333 (20.00-21.00 น.)
  • เส้นทางที่ 3 ฉะเชิงเทรา – กรุงเทพ ขบวนที่ 326 (09.20 – 10.45 น.) กรุงเทพ – ฉะเชิงเทรา ขบวนที่ 325 (20.05 – 21.25 น.)
  • เส้นทางที่ 4 มหาชัย – วงเวียนใหญ่ ขบวนที่ 4322 (09.35 – 10.30 น.) วงเวียนใหญ่ – มหาชัย ขบวนที่ 4347 (20.10 – 21.00 น.)

ผู้โดยสาร สามารถขอรับตั๋วโดยสารขบวนรถดังกล่าวฟรี ที่สถานีต้นทาง และสถานีที่ขบวนรถผ่าน โดยแสดงบัตรประชาชนต่อเจ้าหน้าที่เพื่อทำการออกตั๋วโดยสาร หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วน Call Center 1690 ตลอด 24 ชั่วโมง

ขอขอบคุณเนื้อข่าวจาก สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์ และ phralan.in.th/

10-BMTA-Bus-Wait-Long-Time

คุณเคยรอรถเมล์นานที่สุดกี่ชั่วโมง?

ในวันที่ข่าวการขึ้นราคาค่ารถเมล์กำลังเป็นที่ฮือฮา เพราะคุณภาพชีวิตของคนนั่งรถเมล์หลายคน ยังมีชีวิตการขึ้นรถเมล์เหมือนเดิม คนแน่น รถน้อย รอนาน กะเวลารอไม่ได้ เพราะปัญหาที่หมักหมมมานาน ขาดการเหลียวแลจากภาครัฐมาหลายสิบปี โดยมีแต่คำอ้างว่า “ขาดทุน” มาโดยตลอด

ทำให้คนส่วนใหญ่ เมื่อมีทางเลี่ยง ก็หันไปขึ้นรถไฟฟ้าราคาแสนแพง หรือขี่รถจักรยานยนต์ ขับรถยนต์ส่วนตัว ออกมาอัดกันจนแน่นถนน ในช่วงเวลาเร่งด่วน

แม้ที่ผ่านมา ขสมก. จะเปิดรถเมล์สายใหม่ๆ และรื้อฟื้นบางสายที่เลิกวิ่งไปแล้วกลับมาวิ่งใหม่ เมื่อมีเส้นทางถนนตัดใหม่เกิดขึ้นก็ตาม แต่รถเมล์ก็ยังคงไม่พอ รอนาน และวิ่งไม่ทั่วถึง จนผู้โดยสาร (บางคน) รอไม่ไหวจะใช้บริการ

แต่ถ้าคุณเป็นคนชอบการรอคอย MR.CARRO ขอแนะนำ 10 สายรถเมล์ของ ขสมก. ที่รอนานที่สุด ฉบับ Update ปี 2562 (เรียงตามหมายเลขสาย จากน้อยไปมาก) มีเส้นทางไหน วิ่งผ่านจุดใด จำนวนรถเท่าไหร่

เผื่อคุณสนใจจะไปยืนรอ ในวันที่มีเวลาว่างมากพอ.

26 มีนบุรี – เอกมัย

BMTA-Bus-Route-26

ภาพจาก Kittipich Konganandech

แรกเริ่มเดิมที สายนี้คือ 26ก มีนบุรี – เอกมัย เปิดให้บริการครั้งแรกในปี 2553 ด้วยเหตุผลที่ต้องการให้รถเมล์มีวิ่งบนถนนประดิษฐ์มนูธรรม และทดแทนรถเมล์สาย 154 ที่เลิกวิ่งไปแล้ว กับต้องลดจำนวนรถเมล์ฟรีที่วิ่งในเส้นทางหลักอย่าง มีนบุรี – อนุสาวรีย์ชัย ไปในตัว แต่ก็สร้างวีรกรรม ในการไม่รับผู้โดยสารบนถนนเส้นนี้ ไว้มากพอสมควร

ในช่วงปลายปี 2560 ทางเขตการเดินรถที่ 2 ได้นำตัว “ก” ออก ก็เลยกลายเป็น สาย 26 มีนบุรี – เอกมัย นับแต่นั้นมา หากใครที่จะไปเอกมัย ต้องสังเกตป้ายหน้ารถให้ดี ไม่งั้นขึ้นผิดคันได้ เอาให้มันงงเล่นแบบนี้ล่ะ รอก็นานมากๆ เพราะจะออกมาแค่ช่วงเช้า-เย็น

ในปี 2562 สาย 26 มีนบุรี – เอกมัย มีจำนวนรถวิ่งที่ไม่แน่นอน ในแต่ละวัน

64 อู่นครอินทร์ – สะพานพระปิ่นเกล้า (ขสมก. วิ่งถนนราชพฤกษ์)

BMTA-Bus-Route-64

ภาพจาก Pattalan Chuthamanee

รถเมล์สายนี้ วิ่งโดยเขตการเดินรถที่ 7 แต่ก็มีจำนวนรถเพียงไม่กี่คัน เส้นทางหลักๆ อยู่บนถนนราชพฤกษ์ ซึ่งปกติเป็นถนนที่คนรอขึ้นรถเมล์น้อยอยู่แล้ว โดยจะได้คนมากหน่อย ก็ช่วงเช้า-เย็น มากกว่าเวลาอื่นๆ

จุดเริ่มต้นของ สาย 64 อู่นครอินทร์ – พระปิ่นเกล้า ที่ดำเนินการโดย ขสมก. เกิดขึ้นมาเพื่อให้สาย 64 เดินรถได้ครบถ้วนตามสัมปทาน

(เดิมสาย 64 ขสมก. ขายสัมปทานไปในช่วงปรับลดขนาดขององค์กรในปี 2541-2543 โดยให้รถร่วมบริการวิ่ง ภายหลัง กรมการขนส่งทางบกปรับเส้นทางแบบวงกลม เป็น วงกลมนนทบุรี – สนามหลวง – ราชพฤกษ์ เมื่อรถร่วมบริการไม่วิ่ง ขสมก. จึงต้องจัดรถสายนี้เพื่อให้วิ่งตามสัมปทานแทน มิฉะนั้นจะถูกปรับ)

ในปี 2562 สาย 64 อู่นครอินทร์ – สะพานพระปิ่นเกล้า เหลือรถวิ่งเพียง 1 คัน

88 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี บางขุนเทียน – ท่าดินแดง

BMTA-Bus-Route-88

ภาพจาก Phachara Pornarunchai‎

แต่เดิมนั้นรถเมล์สาย 88 เป็นรถของรถร่วมบริการ บริษัท ธิติวัชขนส่ง จำกัด เลิกวิ่งไปแล้ว ทาง ขสมก. จึงจำเป็นต้องจัดหารถมาวิ่งแทน เพื่อรักษาเส้นทางสัมปทานเอาไว้

จากเดิมที่สุดสายตรงแฟลตทุ่งครุ ปรับเปลี่ยนเส้นทางเข้าไปยัง วัดคลองสวน, อบต. คลองสวน และต่อมาขยายเส้นทางไปจนถึง มจธ. บางขุนเทียน ซึ่งมีระยะทางไกลมากๆ

ในปี 2562 สาย 88 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี บางขุนเทียน – ท่าดินแดง เหลือรถวิ่งเพียง 5 คัน แต่วิ่งจริงๆ เพียง 2 คัน/วัน เพราะรถเมล์อีก 3 คัน ไปช่วยสาย 75 วิ่ง

143 แฮปปี้แลนด์ – พระจอมเกล้าลาดกระบัง

BMTA-Bus-Route-143

ภาพจาก Chanon Lekanupanon‎

แต่เดิมนั้นรถเมล์สาย 143 เป็นรถของรถร่วมบริการ บริษัท ลาดกระบัง จำกัด เลิกวิ่งไปแล้ว ทาง ขสมก. จึงจำเป็นต้องจัดหารถมาวิ่งแทน เพื่อรักษาเส้นทางสัมปทานเอาไว้ เริ่มให้บริการในวันที่ 10 มกราคม 2556 โดย ขสมก. กลุ่มปฏิบัติการเดินรถที่ 1 เขตการเดินรถที่ 2 อู่มีนบุรี

เริ่มแรกวิ่งในเส้นทาง มีนบุรี – เคหะฉลองกรุง (ซึ่งเป็นเส้นทางเสริมของสาย 143 เดิม ภายหลังเป็น 143ก) ต่อมาจึงขยายเส้นทางไปเป็น แฮปปี้แลนด์ – พระจอมเกล้าลาดกระบัง

ในปี 2562 สาย 143 แฮปปี้แลนด์ – พระจอมเกล้าลาดกระบัง เหลือรถวิ่งเพียง 1 คัน

165 อู่บรมราชชนนี – พุทธมณฑลสาย 3 – สนง.เขตบางกอกใหญ่

BMTA-Bus-Route-165

ภาพจาก Ritthi Phosiyamanee‎

รถเมล์สาย 165 ถือกำเนิดขึ้นเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2543 ในเส้นทาง พุทธมณฑลสาย 3 – สนามหลวง (วิ่งเส้นถนนเพชรเกษม) เป็นรถเมล์สายที่หาขึ้นยากอีกหนึ่งสาย และเส้นทางเหมือนคู่แฝดอย่างสาย 91ก อีกทั้งยังเปลี่ยนเส้นทางบ่อยครั้งมาก

ในปี 2546 ขสมก. ได้มีมติขยายเส้นทางสาย 165 ให้ยาวขึ้นเป็น พุทธมณฑลสาย 3 – บรมราชชนนี – สนามหลวง ต่อมาในเดือนกรกฎาคม 2549 เปลี่ยนเส้นทางเป็น พุทธมณฑลสาย 2 – เขตบางกอกใหญ่ ในเดือนมกราคม 2551 ปรับเส้นทางเป็น พุทธมณฑลสาย 2 – ศาลาธรรมสพน์ – เขตบางกอกใหญ่ และในเดือนกุมภาพันธ์ 2555 เปลี่ยนเส้นทางอีก เป็น พุทธมณฑลสาย 2 – พุทธมณฑลสาย 3 ก่อนจะเปลี่ยนมาเป็น อู่บรมราชชนนี – พุทธมณฑลสาย 3 – สนง.เขตบางกอกใหญ่ ตามอู่ที่ย้ายไปใหม่

ในปี 2562 สาย 165 อู่บรมราชชนนี – พุทธมณฑลสาย 3 – สนง.เขตบางกอกใหญ่ เหลือรถวิ่งเพียง 8 คัน แต่วิ่งจริงๆ เพียง 3 คัน/วัน เพราะรถเมล์อีก 5 คัน ไปช่วยสายวิ่งสาย 7ก

197 (วงกลม) มีนบุรี – หทัยราษฎร์

BMTA-Bus-Route-197

ภาพจาก N’James Cac

สาย 197 แรกเริ่มเดิมทีเป็นรถเมล์ วงกลมทดลองวิ่ง (สาย B1 / B2) วิ่งวนซ้าย วนขวา ที่กลุ่มปฏิบัติการเดินรถที่ 1 เขตการเดินรถที่ 2 อู่มีนบุรี ทดลองวิ่ง เพื่อให้มีรถเมล์บริการบนถนนหทัยราษฏร์ ถนนเลียบคลองสอง และถนนคู้บอน จนกลายมาเป็นรถเมล์สาย 197 ที่เริ่มวิ่งให้บริการในวันที่ 12 กันยายน 2556

โดยเส้นทางนี้ มีประชากรอาศัยอยู่มากกว่า 2 แสนคน (ยอดเมื่อปี 2556) แต่ยังไม่มีรถเมล์ให้บริการ มีเพียงรถสองแถว และรถตู้ ซึ่งก็มีผู้ประกอบการรถสองแถวประท้วง อ้างว่า จะเกิดผลกระทบต่อรถสองแถวที่ให้บริการ และปัจจุบันเส้นทางดังกล่าวก็มีรถติดอยู่แล้ว

ในปี 2562 สาย 197 (วงกลม) มีนบุรี – หทัยราษฎร์ เหลือรถวิ่งเพียง 1 คัน

525 สวนสยาม – คู้ซ้าย – หมู่บ้านเธียรทอง 3

BMTA-Bus-Route-525

ภาพจาก วันชัย ห่อรัตนาเรือง

525 แต่เดิมคือ ปอ.28 ที่เปิดมาพร้อมๆ กับ ปอ.29 ที่ถูกยุบเส้นทางไป (ปัจจุบันคือสาย 526) เพื่อให้มีรถเมล์วิ่งบริการในย่านหนองจอก ถนนคู้ซ้าย ถนนคู้ขวา (ถนนทั้ง 2 เส้นนี้ เป็นถนนที่วิ่งเลียบไปกับคลองแสนแสบ ตั้งแต่มีนบุรี ถึงหนองจอก)

แม้ว่าสาย 525 และ 526 ปัจจุบันจะเป็นรถเมล์ครีม-แดง ที่เริ่มกลับมาวิ่งอีกครั้งช่วงประมาณปี 2554 ได้ แต่ก็ถือว่าเป็นรถเมล์ที่มีความสำคัญของชาวหนองจอก และชาว ขสมก. อีกสาย เพราะหมู่บ้านเธียรทอง 3 เป็นหมู่บ้านที่พนักงาน ขสมก. อาศัยอยู่มาก สาย 525 จึงมาสุดสายที่นี่ เสมือนเป็นรถรับ-ส่งพนักงานไปในตัว

ในปี 2562 สาย 525 สวนสยาม – คู้ซ้าย – ม.เธียรทอง 3 เหลือรถวิ่งเพียง 4 คัน

710 (วงกลม) ตลิ่งชัน – ราชพฤกษ์ – อรุณอมรินทร์

BMTA-Bus-Route-710

ภาพจาก Kittipich Konganandech

สาย 710 กับตัวเลขที่ไม่คุ้นเคยของคนรอ ด้วยเส้นทางที่เน้นวิ่งในถนนราชพฤกษ์เป็นหลัก รวมทั้งวิ่งเป็นวงกลมแบ่งเป็นวนซ้ายและวนขวา สร้างความสับสนให้กับผู้ใช้บริการไม่น้อย แล้วมีจำนวนรถที่น้อย จึงทำให้มีผู้ใช้บริการน้อยมาก เท่าที่เห็น คนใช้บริการรถเมล์สายนี้เยอะอยู่เพียงแค่ช่วงหน้าโรงพยาบาลศิริราช กับตรงวังหลัง เท่านั้น เพราะสามารถทดแทนรถเมล์สาย 57 ได้

เริ่มให้บริการตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน 2556 ปล่อยรถชั่วโมงละ 1 คัน ยกเว้นช่วง 6.00 – 7.00 น. และช่วง 17.00 – 18.00 น. จะปล่อยรถชั่วโมงละ 2 คัน (ใครรอไหวก็รอกันไป)

เป็นสายรถเมล์ที่ถือกำเนิดขึ้นมาจาก กรมการขนส่งทางบก คิดปฏิรูปรถเมล์ในปี 2552 พร้อมกับรอรถเมล์ใหม่ในช่วงนั้น โดยใช้เลขสายตั้งแต่ 600-755 ตามประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1950 (พ.ศ. 2552) ต่อมาโครงการก็ล้มไม่เป็นท่า โดย ขสมก. ก็มีนโยบายที่ต้องการนำรถเมล์ฟรีไปเปิดสายใหม่ๆ อยู่แล้ว สาย 710 วงกลมอรุณอมรินทร์ – ถ.กาญจนาภิเษก ถึงเกิดขึ้น และดำเนินงานโดย เขตการเดินรถที่ 5

ในปี 2562 สาย 710 (วงกลม) ตลิ่งชัน – ราชพฤกษ์ – อรุณอัมรินทร์ เหลือรถวิ่งเพียง 8 คัน แต่วิ่งจริงๆ เพียง 2 คัน/วัน เพราะรถเมล์อีก 6 คัน ไปช่วยสายวิ่งสาย 7ก

720 (วงกลม) กัลปพฤกษ์ – พระราม 2

BMTA-Bus-Route-720

ภาพจาก Chanon Lekanupanon

สาย 720 ดำเนินการโดยเขตการเดินรถที่ 5 สลับวิ่งวนซ้ายและวนขวา โดยรถเมล์สายนี้ จะได้คนเยอะหน่อยก็ช่วงถนนเพชรเกษมเท่านั้น หลังจากนั้นก็วิ่งขายเบาะ

สาย 720 แต่เดิมนั้นคือรถเมล์สาย 193 ที่เปิดขึ้นมาใหม่ตามกำหนดของประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในเดือนสิงหาคม 2550 เพื่อให้ผู้โดยสารมีรถเมล์ไปยังถนนกัลปพฤกษ์ แต่ก็ไม่ได้รับความนิยมมากนัก เนื่องจากรถมีน้อย หลังจากที่กรมการขนส่งทางบก ปฏิรูปรถเมล์ในปี 2552 พร้อมกับรอรถเมล์ใหม่ในช่วงนั้น โดยใช้เลขสายตั้งแต่ 600-755 รถเมล์สาย 193 จึงเปลี่ยนเลขสายเป็น 720 ในภายหลัง

ในปี 2562 สาย 720 (วงกลม) กัลปพฤกษ์ – พระราม 2 เหลือรถวิ่งเพียง 2 คัน

751 สะพานพระราม 4 – สถานีรถไฟฟ้า BTS บางหว้า

BMTA-Bus-Route-751

ภาพจาก Wisarut Hanpatthanakotchakorn‎

สาย 751 เดินรถโดยเขตการเดินรถที่ 7 อีกทั้งเส้นทางเดินรถที่ค่อนข้างยาว เราจึงแทบไม่เห็นใครรอขึ้นรถเมล์สายนี้้เลยในช่วงระหว่างทาง โดยจะได้คนแค่เพียงช่วงต้นสายและปลายสายเท่านั้น

เป็นสายรถเมล์ที่ถือกำเนิดขึ้นมาจาก กรมการขนส่งทางบก คิดจะปฏิรูปรถเมล์ในปี 2552 พร้อมกับรอรถเมล์ใหม่ในช่วงนั้น โดยใช้เลขสายตั้งแต่ 600-755 ตามประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1950 (พ.ศ. 2552) เริ่มวิ่งอย่างเป็นทางการในวันที่ 1 มิถุนายน 2556

สาย 751 นั้น วิ่งในส่วนของถนนราชพฤกษ์เกือบตลอดทั้งสาย ตั้งแต่ช่วงบางหว้า ก่อนจะเลี้ยวเข้าไปถนนชัยพฤกษ์ สุดสายที่บริเวณใต้สะพานพระราม 4 (ฝั่งถนนชัยพฤกษ์) ซึ่งนับว่าเป็นการเดินทางที่สะดวกมากๆ ของคนที่อยู่ในย่านปากเกร็ด แล้วต้องการเข้าเมืองมาต่อรถไฟฟ้าบริเวณ BTS บางหว้า ไม่ต้องเสียเวลารถติดในเมือง (แต่ไปติดนอกเมืองแทน!)

ในปี 2562 สาย 751 สะพานพระราม 4 – สถานีรถไฟฟ้า BTS บางหว้า เหลือรถวิ่งเพียง 3 คัน

*หมายเหตุ 10 สายรถเมล์รอนานนี้ เป็นการรวบรวมสอบถาม สายรถเมล์ที่คนรอรถเมล์นาน จากผู้โดยสารรถเมล์ ในเดือนพฤษภาคม 2562 เท่านั้น

ถ้าเบื่อรอรถเมล์แล้ว อยากซื้อรถใหม่ แต่มีงบไม่พอ หรืออยากขายรถเก่าออกแบบไวที่สุด ได้เงินเร็วที่สุด เพื่อนำเงินไปโปะรถคันใหม่ ก็ให้ CARRO เป็นผู้ช่วยมืออาชีพของคุณ …

ถ้าคุณอยากขายรถคันเดิม เพื่อไปซื้อรถคันใหม่ หรือรับเงินก้อนไปใช้ สามารถขายรถคันเก่ากับ CARRO ได้ ง่ายๆ ได้เงินไว! กับ CARRO Express เพียงแค่คลิก https://th.carro.co/sell-car/express หรือสามารถ Inbox มาขอรายละเอียดได้ที่ Facebook CARRO Thailand

หรือจะ Add Line สอบถามรายละเอียดได้ที่ @Carrothailand หรือคลิกที่นี่ครับ —> เพิ่มเพื่อน

Coronation-Of-King-Maha-Vajiralongkorn-2019

ในวันที่ 4-6 พฤษภาคม 2562 เป็นพระราชพิธีบรมราชาภิเษก สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ขึ้นเป็น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อย่างสมบูรณ์ตามโบราณราชประเพณี ณ พระบรมมหาราชวัง

นับเป็นพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งแรกในประเทศไทยที่มีการถ่ายทอดผ่านทางสถานีโทรทัศน์ โดยทุกสถานีจะเชื่อมสัญญาณการถ่ายทอดสดจากโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย

แต่ถ้าหากใครอยากไปร่วมงานครั้งหนึ่งในชีวิต ก็สามารถเดินทางไปที่งาน  พระราชพิธีบรมราชาภิเษก ด้วยวิธีการเดินทางต่างๆ ดังรายละเอียดด้านล่างนี้ครับ

จุดคัดกรอง-พระราชพิธีบรมราชาภิเษก-2562

จุดคัดกรอง-พระราชพิธีบรมราชาภิเษก-2562

วันที่ 2 พฤษภาคม 2562 เปิดจุดคัดกรองเวลา 14.00 น.

จุดคัดกรองที่เปิด มีดังนี้ 1. พระแม่ธรณี 2. วงเวียน รด. 3. ท่าช้าง 4. สะพานช้างโรงสี 5. ถนนพระจันทร์ 6. แยกวังแดง 7. สะพานชมัยมรุเชษฐ์ 8. บ้านหม้อ (ปากคลอง) 9. จักรเพชร
——————————————————————————————————————-
วันที่ 3 พฤษภาคม 2562 เปิดจุดคัดกรองเวลา 12.00 น.

จุดคัดกรองที่เปิด มีดังนี้ 1. พระแม่ธรณี 2. สะพานช้างโรงสี 3. วงเวียน รด. 4. ท่าช้าง 5. ถนนพระจันทร์
——————————————————————————————————————-
วันที่ 4 พฤษภาคม 2562 เปิดจุดคัดกรองเวลา 7.00 น.

จุดคัดกรองที่เปิด มีดังนี้ 1. พระแม่ธรณี 2. สะพานช้างโรงสี 3. วงเวียน รด. 4. ท่าช้าง 5. ถนนพระจันทร์
——————————————————————————————————————-
วันที่ 5 พฤษภาคม 2562 เปิดจุดคัดกรองเวลา 12.00 น. เปิดทั้งหมด 22 จุดคัดกรอง

1. สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า (ฝั่งธน) 2. ถนนหน้าพระธาตุ 3. ท่าช้าง 4. พระแม่ธรณีบีบมวยผม
5. ถนนจักรพงษ์ (หน้าพิพิธภัณฑ์เหรียญ) 6. ถนนข้าวสาร 7. ถนนบูรณศาสตร์ 8. ถนนตะนาวใต้
9. ถนนบุญศิริ 10. ถนนแพร่งนภา 11. แยกบางลำพู 12. ถนนประชาธิปไตย
13. ถนนนครสวรรค์ 14. ถนนหลานหลวง 15. ถนนมหาไชย 16. ถนนดินสอ
17. ซอยดำรงรักษ์ 18. แยกเสาชิงช้า 19. แยกเฉลิมกรุง 20. สน.พระราชวัง 21. ท่าเตียน 22. โรงเรียนราชินี
——————————————————————————————————————-
วันที่ 6 พฤษภาคม 2562 เปิดจุดคัดกรองเวลา 12.00 น.

จุดคัดกรองที่เปิด มีดังนี้ 1. พระแม่ธรณี 2. สะพานช้างโรงสี 3. สะพานมอญ 4. สะพานเจริญรัช 5. ท่าช้าง 6. ใต้สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า 7. ในหน่วยกองบัญชาการรักษาดินแดน (รด.)

การเดินทางโดยรถเมล์

รถ-Shuttle-Bus-พระราชพิธีบรมราชาภิเษก-2562

เดินทางด้วยรถเมล์ เป็นวิธีเดินทางสำหรับที่ไม่รีบร้อนและมีเวลา มีรถ Shuttle Bus จำนวน 11 เส้นทาง ทั่วกรุงเทพมหานคร ให้บริการในวันที่ 1-7 พฤษภาคม 2562 มีรถให้บริการตั้งแต่ 06.00 – 24.00 น. หรือจนกว่าจะอำนวยความสะดวกประชาชนออกจากพื้นที่จนหมด

รถ-Shuttle-Bus-พระราชพิธีบรมราชาภิเษก-2562

เส้นทาง Shuttle bus รับส่งประชาชน จากจุดต่าง ๆ ทั่วกรุงเทพมหานคร เข้าสู่บริเวณงานพระราชพิธีฯ จำนวน 11 เส้นทาง คือ

1. เมืองทองธานี, ศูนย์ราชการ – สนามม้านางเลิ้ง
2. สโมสรตำรวจ, ม.เกษตรศาสตร์ – สนามม้านางเลิ้ง
3. สโมสรกองทัพบก, กทม.2 – สนามม้านางเลิ้ง
4. ฟิวเจอร์พาร์ครังสิต – สนามม้านางเลิ้ง
5. ที่จอดรถของ รถไฟฟ้า (รฟม.) รัชดาฯ, MRT, ศาลอาญา,- บ้านมนังคศิลา
6. อิเกีย, เมกะ, ไบเทคบางนา – บ้านมนังคศิลา
7. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ลาดกระบัง – บ้านมนังคศิลา
8. ท่าเรือคลองเตย, โรงงานยาสูบ, แอร์พอร์ตลิงค์มังกะสัน – บ้านมนังคศิลา
9. เซ็นทรัลพระราม 2, โรงเรียนบางมดวิทยา, – วัดเทพศิรินทร์
10. พุทธมณฑลสาย 4, เซ็นทรัลศาลายา , อู่รถบรมราชชนนี, มหาวิทยาลัยทองสุข – วัดเทพศิรินทร์
11. เซ็นทรัลเวสเกต – สะพานพระปิ่นเกล้า

อีกทั้งยังมี เส้นทางเดินรถเฉพาะกิจ รับส่งประชาชน จากจุดต่างๆ ทั่วกรุงเทพมหานคร รับส่งทุกป้าย เข้าสู่บริเวณงานพระราชพิธีฯ อีกจำนวน 6 เส้นทาง คือ

1. อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ – สนามม้านางเลิ้ง
2. สถานีขนส่งจตุจักร – สนามม้านางเลิ้ง
3. วงเวียนใหญ่ – สะพานพระพุทธยอดฟ้า
4. สนามศุภชลาศัย- บ้านมนังคศิล
5. สถานีขนส่งกรุงเทพ (สายใต้ใหม่) – สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า
6. สถานีรถไฟหัวลำโพง – บ้านมนังคศิลา

การเดินทางโดยรถไฟฟ้า BTS / รถโดยสารด่วนพิเศษ BRT

BTS-พระราชพิธีบรมราชาภิเษก-2562

รถไฟฟ้า BTS 5 พฤษภาคมนี้ เดินทางฟรี ทั้งรถไฟฟ้า BTS และรถโดยสารด่วนพิเศษ BRT ตลอดเส้นทาง ตั้งแต่ 06.00 – 24.00 น.

BTS-พระราชพิธีบรมราชาภิเษก-2562

สำหรับ BTS ส่วนต่อขยาย กรุงเทพมหานคร ได้ให้บริการฟรีเพิ่มเติมในสถานีส่วนต่อขยายทั้งสายสุขุมวิท และสายสีลม ตลอดระยะเวลา 3 วัน คือ ระหว่างวันที่ 4-6 พฤษภาคม 2562

การเดินทางโดยรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT

MRT-พระราชพิธีบรมราชาภิเษก-2562

รถไฟฟ้า MRT ให้บริการรถไฟฟ้า MRT สายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน) และรถไฟฟ้า MRT สายฉลองรัชธรรม (สายสีม่วง) ฟรี ในวันที่ 5 – 6 พ.ค.62 ตลอดระยะเวลาเปิดให้บริการ และยังเปิดให้บริการที่จอดรถฟรี ณ อาคารจอดแล้วจร สายสีน้ำเงินและสีม่วง ระหว่างวันที่ 4 – 6 พฤษภาคม 2562

MRT-พระราชพิธีบรมราชาภิเษก-2562

นอกจากนี้ ยังมี Shuttle Bus เชื่อมต่อ ณ MRT สถานีหัวลำโพง สถานีเพชรบุรี สถานีลาดพร้าว และสถานีตลาดบางใหญ่ ระหว่างวันที่ 2- 6 พ.ค.62 เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนที่เดินทางในช่วงงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

MRT-พระราชพิธีบรมราชาภิเษก-2562

นอกจากนั้น BEM ยังได้ร่วมกับ บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) จัดรถบริการรับ-ส่ง ประชาชน ฟรี ณ MRT สถานีหัวลำโพง ไปยังจุดพักคอยวัดเทพศิรินทร์ ในวันที่ 5 – 6 พ.ค. 62 ตั้งแต่เวลา 07.00 – 24.00 น.

และตั้งจุดบริการอาหารและน้ำดื่ม ณ MRT สถานีหัวลำโพง และจุดบริการน้ำดื่ม ณ สถานีลาดพร้าว ในวันที่ 4 – 6 พฤษภาคม 2562 พร้อมหน่วยปฐมพยาบาลเบื้องต้น (เฉพาะวันที่ 5 พฤษภาคม 2562) ณ สถานีหัวลำโพง บริเวณชั้นออกบัตรโดยสาร ทางเข้า – ออก 2 และ 3 เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนที่เดินทางในช่วงงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก อีกด้วย

การเดินทางโดยรถไฟฟ้า ARL (แอร์พอร์ต เรล ลิงค์)

Airport-Link-พระราชพิธีบรมราชาภิเษก-2562

รถไฟฟ้า Airport Rail Link แนะนำเส้นทางร่วมเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 และอำนวยความสะดวกในการเดินทางของประชาชนที่จะเข้าร่วมงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เปิดให้ใช้บริการฟรีวันที่ 5 พฤษภาคม 2562 เวลา 05.30 – 24.00 น.

การโดยสารด้วยเรือโดยสารสาธารณะ

เรือ-พระราชพิธีบรมราชาภิเษก-2562

การบริการขนส่งสาธารณะ เรือด่วนเจ้าพระยา เรือข้ามฟาก และเรือโดยสารคลองแสนแสบ บริการฟรี ระหว่างวันที่ 4 – 6 พ.ค. 2562

เรือ-พระราชพิธีบรมราชาภิเษก-2562

เรือด่วนเจ้าพระยา และเรือโดยสารสมาคมเรือไทย

จาก ท่าเรือท่าน้ำนนทบุรี ถึง ท่าเรือปิ่นเกล้าฝั่งพระนคร ให้บริการตั้งแต่เวลา 09.00 – 18.00 น. เรือออกจากต้นทางทุก 1 ชั่วโมง

จาก ท่าเรือสาทร ถึง ท่าเรือสะพานพุทธ ให้บริการตั้งแต่เวลา 09.00 – 18.00 น. เรือออกจากต้นทางทุก 1 ชั่วโมง

เรือข้ามฟาก (ระหว่างวันที่ 4 – 6 พ.ค. 62 ตั้งแต่ 06.00 – 22.00 น.)

จาก ท่าเรือพระราม 8 (ฝั่งธนบุรี) มา ท่าเรือพระราม 8 (ฝั่งพระนคร) บริการทุก 15 นาที

จาก ท่าเรือพระราม 8 (ฝั่งธนบุรี) มา ท่าปิ่นเกล้า (ฝั่งพระนคร) บริการทุก 20 นาที

จาก ท่าเรือปิ่นเกล้า (ฝั่งธนบุรี) มา ท่าเรือปิ่นเกล้า (ฝั่งพระนคร) บริการทุก 15 นาที

จาก ท่าเรือรถไฟ มา ท่าเรือพระจันทร์ใต้ บริการทุก 20 นาที

เรือ-พระราชพิธีบรมราชาภิเษก-2562

เรือโดยสารคลองแสนแสบ (บริการฟรี ระหว่างวันที่ 4 – 6 พ.ค. 62)

วันที่ 4 เรือเที่ยวแรก ออกจาก ท่าเรือประตูน้ำ ไป ท่าเรือผ่านฟ้าลีลาศ เวลา 07.00 น. เที่ยวสุดท้าย 19.00 น. II ขากลับ เที่ยวสุดท้าย จาก ท่าเรือผ่านฟ้าลีลาศ ไป ท่าเรือประตูน้ำ เวลา 19.15 น.

วันที่ 5 เรือเที่ยวแรก ออกจาก ท่าเรือประตูน้ำ เวลา 07.00 น ส่งถึง ท่าเรือโบ้เบ้ เวลา 11.45 น.หลังจากนั้น ส่งถึง ท่าเรือผ่านฟ้าลีลาศ เที่ยวสุดท้าย 22.00 น. II ขากลับ เที่ยวสุดท้ายออกจาก ท่าเรือผ่านฟ้าลีลาศ ไป ท่าเรือประตูน้ำ เวลา 22.00 น.

วันที่ 6 เรือเที่ยวแรก ออกจาก ท่าเรือประตูน้ำ เวลา 07.00 น. เที่ยวสุดท้าย 19.45 น. II ขากลับ เที่ยวสุดท้ายออกจาก ท่าเรือผ่านฟ้าลีลาศ ไป ท่าเรือประตูน้ำ เวลา 20.00 น.

การเดินทางโดยรถไฟ รฟท.

รฟท-พระราชพิธีบรมราชาภิเษก-2562

รฟท. จัดเดินขบวนรถไฟพิเศษ ช่วงงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก 2562 ระหว่างวันที่ 4 – 6 พฤษภาคม 2562
สายเหนือ จำนวน 4 ขบวน ดังนี้

เที่ยวไป ขบวน 320 อยุธยา – กรุงเทพ ต้นทาง 10.30 – ปลายทาง 12.00 น. | ขบวน 322 อยุธยา – กรุงเทพ ต้นทาง 12.00 – ปลายทาง 13.30 น.
เที่ยวกลับ ขบวน 319 กรุงเทพ – อยุธยา ต้นทาง 23.00 – ปลายทาง 00.30 น. | ขบวน 321 กรุงเทพ – อยุธยา ต้นทาง 24.00 – ปลายทาง 01.30 น.

สายใต้ จำนวน 4 ขบวน ดังนี้

เที่ยวไป ขบวน 332 นครปฐม – ธนบุรี ต้นทาง 10.55 – ปลายทาง 12.00 น. | ขบวน 334 นครปฐม – ธนบุรี ต้นทาง 12.00 – ปลายทาง 13.05 น.
เที่ยวกลับ ขบวน 331 ธนบุรี – นครปฐม ต้นทาง 23.00 – ปลายทาง 24.00 น. | ขบวน 333 ธนบุรี – นครปฐม ต้นทาง 24.00 – ปลายทาง 01.00 น.

รฟท-พระราชพิธีบรมราชาภิเษก-2562

สายตะวันออก จำนวน 4 ขบวน ดังนี้

เที่ยวไป ขบวน 326 ฉะเชิงเทรา – กรุงเทพ ต้นทาง 10.35 – ปลายทาง 11.55 น. | ขบวน 328 ฉะเชิงเทรา – กรุงเทพ ต้นทาง 12.00 – ปลายทาง 13.20 น.
เที่ยวกลับ ขบวน 325 กรุงเทพ – ฉะเชิงเทรา ต้นทาง 23.00 – ปลายทาง 00.40 น. | ขบวน 327 กรุงเทพ – ฉะเชิงเทรา ต้นทาง 24.00 – ปลายทาง 01.40 น.

สายแม่กลอง จำนวน 4 ขบวน ดังนี้

เที่ยวไป ขบวน 4342 มหาชัย – วงเวียนใหญ่ ต้นทาง 10.40 – ปลายทาง 11.35 น. | ขบวน 4348 มหาชัย – วงเวียนใหญ่ ต้นทาง 12.00 – ปลายทาง 12.55 น.
เที่ยวกลับ ขบวน 4348 วงเวียนใหญ่ – มหาชัย ต้นทาง 23.00 – ปลายทาง 23.55 น. | ขบวน 4333 วงเวียนใหญ่ – มหาชัย ต้นทาง 24.00 – ปลายทาง 00.55 น.

ขอขอบคุณภาพหน้าปกจาก กองทัพเรือ