Penalty-Driver-Not-Have-Driving-License

แก้กฎหมายเพิ่มโทษ ไม่พกใบขับขี่ ปรับ 1 หมื่นบาท ใบขับขี่หมดอายุ ติดคุก 3 เดือน ปรับอีก 5 หมื่นบาท

Penalty-Driver-Not-Have-Driving-License

นายสนิท พรหมวงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ กรมการขนส่งทางบก อยู่ระหว่างการบูรณาการกฎหมาย 2 ฉบับ คือ พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 และพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 เข้าด้วยกัน เพื่อให้เป็นกฎหมายเดียวง่ายต่อการกำกับดูแล รวมทั้งเร่งปรับปรุงรายละเอียดของกฎหมายให้มีความทันสมัย และสอดคล้องกับพฤติกรรมการขับขี่ของยุคนี้มากขึ้น

Penalty-Driver-Not-Have-Driving-License

โดยขณะนี้ ร่างกฎหมายฉบับแก้ไขได้ผ่านความเห็นชอบของของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเรียบร้อยแล้ว อยู่ระหว่างการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ยังไม่สามารถระบุได้ว่า จะผ่านความเห็นชอบเมื่อไหร่ ทั้งนี้หากผ่านการพิจารณาของ สนช. แล้ว ตามขั้นตอนจะต้องนำประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา ก่อนซึ่งตามขั้นตอนกฎหมาย จะมีผลบังคับใช้เป็นทางการได้ จะต้องลงประกาศในราชกิจจาฯ ครบ 1 ปีไปแล้ว

Penalty-Driver-Not-Have-Driving-License

สำหรับการแก้ไขกฎหมายด้านการขนส่ง ครั้งนี้ กรมฯ ได้มีการปรับเพิ่มบทลงโทษกรณีผู้ขับขี่กระทำผิดตามพระราชบัญญัติรถยนต์ด้วย เพื่อให้ผู้ขับขี่เข็ดหลาบไม่กล้าทำความผิดหรือฝ่าฝืนกฎหมายอีก รวมทั้งให้ปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด ซึ่งเชื่อว่าจะช่วยลดอุบัติเหตุและความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนได้

พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 ตามกฎหมายใหม่ ที่กรมฯ ได้นำเสนอได้มีการแก้ไขปรับเพิ่มโทษสำคัญๆใน 3 มาตรา ประกอบด้วย

  • 1. มาตรา 64 ขับรถโดยไม่มีใบอนุญาต ตามกฎหมายเดิมลงโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน ปรับสูงสุดไม่เกิน 1พันบาท แต่กฎหมายใหม่เสนอได้ปรับเพิ่มโทษเป็น จำคุกไม่เกิน 3 เดือน ปรับสูงสุดไม่เกิน 5 หมื่นบาท
  • 2. มาตรา 65 ขับรถในระหว่างใบอนุญาตสิ้นอายุ ถูกพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาต หรือถูกยึดใบอนุญาต ตามกฎหมายเดิมลงโทษปรับไม่เกิน 2 พันบาท แต่กฎหมายใหม่ได้เสนอให้มีการเพิ่มโทษจำคุกเข้ามาด้วย คือ จำคุกไม่เกิน 3 เดือน ส่วนโทษ ปรับก็เพิ่มขึ้นเป็นสูงสุดไม่เกิน 5 หมื่นบาท
  • 3. มาตรา 66 ขับรถโดยไม่แสดงใบอนุญาต ตามกฎหมายเดิมปรับไม่เกิน 1พันบาท แต่ตามกฎหมายใหม่ เสนอให้ปรับสูงสุดไม่เกิน 1 หมื่นบาท

ซึ่งก็ไม่รู้ว่า ผู้ใช้รถอย่างเราๆ ท่านๆ เหมือนด้วยหรือไม่หรือเปล่านะครับ …

ขอขอบคุณเนื้อหาข่าวจาก ข่าวสด

I-tim-Light

จับปรับจริง! ไฟท้ายไอติม หรือไฟ LED ที่สว่างจ้าเกินไป

ไฟไอติม

เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์มานานหลายปีแล้ว สำหรับการเปลี่ยนไฟหรี่ หรือไฟเลี้ยวท้ายรถเป็นสีฟ้า (หรือที่เรียกกันว่า “ไฟไอติม”) ซึ่งพบว่ามีความสว่างมากกว่าปกติ นิยมติดกันในรถเก๋ง รถกระบะ และรถบัสขนส่งผู้โดยสาร

ไฟไอติม

ตามกฎหมายสากลทั่วโลก กำหนดไว้ว่า ไฟหรี่หน้ารถต้องเป็นสีเหลือง ไฟเบรกต้องเป็นสีแดง และไฟเลี้ยวต้องเป็นสีเหลือง หรือสีเหลืองอำพัน (หรือสีแดงก็ได้ ในสหรัฐอเมริกา) โดยไฟหรี่หน้ารถ และท้ายรถ กฎหมายระบุไว้ชัด ให้ใช้ไฟสีขาวหรือสีเหลืองเท่านั้น หากไปใช้ไฟหรี่สีอื่นๆ นอกเหนือจากนี้ก็ถือว่าผิดกฎหมาย

ไฟไอติม

กรณีพบรถโดยสารสาธารณะ ฝ่าฝืนดัดแปลงอุปกรณ์ส่องสว่างในลักษณะดังกล่าว เป็นความผิดตามตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 71 ฐานใช้รถที่มีอุปกรณ์ส่วนควบไม่ถูกต้องตามที่กำหนด ต้องระวางโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 50,000 บาท และอาจถูกสั่งระงับการใช้รถจนกว่าจะดำเนินการแก้ไขเรียบร้อย

ไฟไอติม

ในส่วนของรถที่จดทะเบียนตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ.2522 ที่มีการแก้ไขดัดแปลงโคมไฟหน้าให้เป็นแสงสีอื่น หรือดัดแปลงอุปกรณ์ส่วนควบหรือเพิ่มเติมส่วนหนึ่งส่วนใดเข้าไป จนทำให้แสงมีความสว่างจ้ามากเกินไป มีความผิดตามมาตรา 12 ฐานเพิ่มเติมสิ่งใดสิ่งหนึ่งเข้าไปซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจของผู้อื่น ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท

ไฟไอติม

หากท่านพบเจอรถที่เปลี่ยนไฟหรี่ หรือไฟเลี้ยวท้ายรถเป็นสีฟ้า (หรือที่เรียกกันว่า “ไฟไอติม”) หรือไฟ LED แบบอื่นๆ ที่มีความสว่างจ้ามากเกินไป สามารถแจ้งร้องเรียนไปที่ 1584 กรมการขนส่งทางบก ได้ตามช่องทางต่อไปนี้

– Facebook : “1584 ร้องเรียนรถโดยสารสาธารณะ”
– Line ID : “1584dlt”
– E-Mail : [email protected]

ไฟไอติม

โดยต้องแนบหลักฐานเป็นภาพนิ่ง หรือภาพเคลื่อนไหว ระบุสถานที่ เวลาที่พบเหตุ ชื่อและข้อมูลผู้แจ้งเรื่องร้องเรียน เพื่อความรวดเร็วในการดำเนินการตามกฎหมายต่อไป