ไม่หลบรถฉุกเฉิน รถพยาบาลขณะเปิดไซเรน โทษหนัก

ในช่วงที่โควิด-19 กำลังระบาดหนักมากในประเทศไทย ผู้ป่วยวันละหนึ่งหมื่นกว่าคน และโดยเฉพาะในกรุงเทพฯ ที่มียอดผู้ป่วยวันละสองสามพันคน ทำให้พวกเราได้เห็นรถฉุกเฉิน รถพยาบาล เปิดไซเรนวิ่งรับส่งผู้ป่วยกันบนถนนทุกชั่วโมงเลยก็ว่าได้

แต่ถึงแม้ว่าช่วงนี้ถนนจะโล่งๆ เพราะคนส่วนใหญ่ต่างก็อยู่บ้าน ไม่ออกไปไหนเท่าที่จำเป็นจริงๆ แต่ก่อนหน้านั้นก็ยังมีข่าวที่โลกโซเชียลแชร์คลิปรถแกล้งขับช้าๆ กีดขวางรถฉุกเฉินที่ต้องไปรับหรือส่งผู้ป่วย ซึ่งหลายคนอาจไม่รู้ว่าการกระทำแบบนี้ ผิดกฎหมายและมีโทษหนักกว่าที่คาดไว้ แต่จะมีอะไรบ้าง MR.CARRO จะมาเล่าให้ฟัง

รถฉุกเฉิน รถพยาบาล

ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 4 ได้ให้คำนิยามของ “รถฉุกเฉิน” ไว้ว่า รถดับเพลิง และรถพยาบาลของราชการบริหารส่วนกลาง ราชการบริหารส่วนภูมิภาคและราชการบริหารส่วนท้องถิ่น หรือรถอื่นที่ได้รับอนุญาตจากอธิบดีให้ใช้ไฟสัญญาณแสงวับวาบ หรือให้ใช้เสียงสัญญาณไซเรน หรือเสียงสัญญาณอย่างอื่นตามที่จะกำหนดให้

และมาตรา 76 ระบุว่า เมื่อเห็นรถฉุกเฉินในขณะปฏิบัติหน้าที่ใช้สัญญาณแสงวับวาบหรือได้ยินเสียงสัญญาณไซเรน ผู้ขับขี่ที่อยู่ด้านหน้าต้องให้ทางรถฉุกเฉินไปก่อน หากฝ่าฝืนมีโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 500 บาท

รถฉุกเฉิน รถพยาบาล

แม้ว่าโทษปรับจะดูเล็กน้อย แต่ถ้าการกระทำดังกล่าวส่งผลให้ผู้เจ็บป่วยในรถพยาบาล หรือรถฉุกเฉินถึงแก่ชีวิต ก็อาจโดนข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 “ผู้ใดกระทำโดยประมาท เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย” ซึ่งมีโทษต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท

ทางที่ดี เมื่อคุณเจอรถฉุกเฉิน ไม่ว่าจะเป็นรถพยาบาล, รถกู้ชีพ หรือรถประเภทอื่นๆ อย่าง รถตำรวจ, รถทหาร หรือรถที่ได้รับอนุญาตให้ติดตั้งสัญญาณไฟวับวาบ (ไฟไซเรน) ได้อย่างถูกต้องตามที่ระบุไว้ในกฎหมาย ให้หยุดรถหรือจอดรถให้อยู่ชิดขอบทางด้านซ้าย หรือในกรณีที่มีช่องเดินรถประจำทางอยู่ทางซ้ายสุดของทาง ต้องหยุดรถหรือจอดรถให้อยู่ชิดช่องเดินรถประจำทาง แต่ห้ามหยุดรถหรือจอดรถในทางร่วมทางแยก

สำหรับคนเดินเท้าต้องหยุดและหลบให้ชิดขอบทาง หรือขึ้นไปบนทางเขตปลอดภัย หรือไหล่ทางที่ใกล้ที่สุด ถ้าเป็นผู้ขี่หรือควบคุมสัตว์ ต้องบังคับสัตว์ให้หยุดชิดทาง แต่ห้ามหยุดในทางร่วมทางแยก

รถฉุกเฉิน รถพยาบาล

หากผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท ตามมาตรา 76 ทั้งหมด

เมื่อคุณรู้แล้ว ก็อย่าเจตนาทำ หรืออย่าขับรถเฉื่อยชา ในขณะที่รถพยาบาล หรือรถฉุกเฉิน วิ่งมาด้านหลังเลยนะครับ

สำหรับใครที่อยากขายรถคันเดิมตอนนี้ หรือกำลังตัดสินใจจะซื้อรถป้ายแดงอยู่พอดี แต่งบไม่พอ! มาขายรถกับ CARRO Express สิ! Inbox มาขอรายละเอียดได้ที่ Facebook -> CARRO Thailand และ Add Line สอบถามรายละเอียดได้เช่นกัน ที่ @carrothai

อีกหนึ่งบริการใหม่! CARRO Automall แหล่งรวมรถมือสองคุณภาพเยี่ยม ผ่านการตรวจสภาพแบบ Double Check รับประกันพร้อมโอนทุกคัน ฟรี! ค่าจัดโอน มีให้เลือกชมเพียบ เปิดบริการทุกวัน อยากซื้อรถคุณภาพเยี่ยม มาซื้อกับ CARRO Automall สิ!

หรือสนใจรถรุ่นไหนอยู่ แต่ยังหาที่ถูกใจไม่ได้ เรายินดีหาให้! เพียงแค่กรอกเบอร์โทรศัพท์ ชื่อยี่ห้อ / รุ่นรถ ที่คุณต้องการก็ได้เช่นกันครับ อีกทั้งยังสามารถ Inbox เข้ามาสอบถามรายละเอียดได้ที่ Facebook -> CARRO Automall – รถบ้านมือสอง โทร. 02-508-8690 หรือทาง Line @carroautomall

การแต่งรถเหล่านี้
อาจสร้างความรำคาญให้กับผู้ร่วมเดินทางได้

หลายคนอาจซื้อรถมาเพื่อขับใช้งานปกติ แต่สำหรับบางคนนอกจากจะนำมาใช้งานแล้ว ยังชื่นชอบการตกแต่งเพิ่มเติม เพื่อให้รถของตัวเองดูสวย ดูหล่อ แตกต่างจากคันอื่น หรือตกแต่งเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งาน

ซึ่งหากตกแต่งแบบธรรมดาทั่วไป ไม่ผิดกฎหมาย ก็คงจะไม่น่าเป็นห่วง และไม่น่าจะมีปัญหาอะไร แต่ถ้าเป็นการแต่งรถที่สร้างปัญหาให้กับผู้อื่น แบบนี้ไม่น่ารักเลย เพราะบนถนนไม่ได้มีแค่รถของคุณวิ่งอยู่คันเดียว

วันนี้ คาร์โร จึงยกตัวอย่างการแต่งรถที่มักสร้างปัญหาให้กับผู้อื่น มีอยู่ 5 ข้อใหญ่ๆ ดังนี้

1. ท่อไอเสียเสียงดังเกินมาตรฐาน

สำหรับคนคิดอยากจะแต่งรถเป็นสิ่งแรกๆ เลยที่จะต้องเปลี่ยนท่อก่อน ไม่ว่าจะเปลี่ยนทั้งเส้น หรือเปลี่ยนแค่ปลายท่อ เพื่อให้ได้เสียงลั่นๆ สร้างความเร้าใจยิ่งขึ้น ซึ่งหากเปลี่ยนมาแล้วเสียงดังกำลังดี และไม่รบกวนเพื่อนร่วมทาง ก็ถือว่าโอเค แต่ถ้าเปลี่ยนมาแบบไม่สนใจใคร เสียงดังลั่นซอย แบบนี้ไม่ดีแน่ เพราะคนอื่นอาจไม่ชอบเหมือนเราก็ได้ แถมยังเป็นการรบกวนอีกด้วย

2. โหลดเตี้ย – ยกสูง

ข้อนี้ จริงๆ แล้วการโหลดเตี้ยลงมาจนติดพื้นมันไม่ได้สร้างปัญหาให้คนอื่นสักเท่าไหร่ ส่วนมากจะลำบากคนที่ขับรถโหลดเตี้ยมากกว่า เพราะเวลาเจอเนินสูงๆ หรือเจอหลังเต่าในซอย ก็จะต้องค่อยๆ ขับ ค่อยๆ ตะแคง หยอดลงไปเบาๆ เพื่อป้องกันชุดแต่งเสียหาย ซึ่งตรงนี้แหละที่จะทำให้รถที่ขับตามหลังต้องลำบาก เพราะต้องคอยจนกว่ารถโหลดเตี้ยจะผ่านไปได้ ส่วนรถยกสูงก็จะมีแค่เรื่องบดบังทัศนวิสัย เนื่องจากรถสูงๆ ใหญ่ๆ ที่วิ่งอยู่ด้านหน้า จะทำให้รถที่ขับตามมองไม่เห็นเส้นทางข้างหน้านั่นเอง
พ.ร.บ
3. ไฟหน้าซีนอนแยงตา

รถบางคันไม่มีมาให้แต่แรก จึงจัดการไปเปลี่ยนใหม่เป็นหลอดซีนอน เพื่อเพิ่มความสว่าง และสวยงาม แต่การเปลี่ยนเฉพาะหลอดจะทำให้แสงไฟฟุ้งกระจาย รถที่ขับสวนเลน หรือรถที่ขับอยู่ด้านหน้าก็จะได้รับผลกระทบไปเต็มๆ ทำให้ตาพร่า มองเห็นไม่ชัดเจน ฯลฯ ซึ่งถ้าหากอยากจะใส่จริงๆ ควรจะหาโคมโปรเจคเตอร์มาใส่ด้วย เพราะตัวโคมสามารถรวมแสงไม่ให้ฟุ้งกระจายไปรบกวนคนอื่นได้

4. ไฟหรี่ไอติม ทั้งด้านหน้า-หลัง

คนใส่อาจจะคิดว่าเท่ สวย ดูดี เงินตัวเองจะแต่งรถแบบไหนก็ได้ แต่จริงๆ แล้ว การดัดแปลงสัญญาณไฟรถที่ไม่ใช่จากผู้ผลิต เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย และก่อให้เกิดความรำคาญ รบกวนการขับรถ ทำให้สมรรถนะในการขับขี่ลดลง จนอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้

ไฟไอติม-ไฟซิ่ง

5. เปิดเพลงเสียงดัง

รถบางคันอาจไม่ได้แต่งภายนอก หรือเครื่องยนต์เลย แต่กลับจัดชุดเครื่องเสียงชุดใหญ่ลงไปแทน ซึ่งหลายๆ คนมักคิดว่าไหนๆ ทำมาแล้วก็เปิดโชว์ให้คนอื่นฟัง หรือหันมามองในความเท่นี้ด้วย แต่กลับกันคนส่วนใหญ่มักไม่ได้คิดแบบนั้น เพราะมันสร้างความเดือดร้อน และความรำคาญเสียมากกว่า

สุดท้าย อยากให้คนที่แต่งรถแบบที่ได้กล่าวมานั้น เห็นใจและเข้าใจผู้ร่วมทางคนอื่นๆที่เดือดร้อนกันบ้าง เพราะคงไม่มีใครพอใจหรอก หากมีคนมาทำเรื่องที่คุณไม่ชอบเหมือนกันต่อหน้า นอกจากนี้บางข้อที่กล่าวมา ยังผิดกฎหมาย หากคุณขับไปเจอด่านก็เตรียมเงินเสียค่าปรับได้เลย

 

ที่มา : auto.sanook.com/62009/

Modify-Suspension

ดัดแปลงช่วงล่างต้องแจ้งขนส่งก่อนใช้งาน หากตรวจเจอว่าไม่แจ้ง ปรับสูงสุด 5,000 บาท

Modify-Suspension

            กรมการขนส่งทางบก แนะ การแก้ไขดัดแปลงระบบช่วงล่าง ทั้งระบบรองรับน้ำหนัก ระบบกันสะเทือน ระบบบังคับเลี้ยว หรือระบบขับเคลื่อน ต้องนำรถเข้าตรวจสภาพกับกรมการขนส่งทางบก และแก้ไขรายละเอียดลักษณะรถในใบคู่มือจดทะเบียนรถก่อนนำไปใช้งาน ต้องนำรถเข้าตรวจสภาพกับกรมขนส่งทางบกและแก้ไขรายละเอียดในคู่มือจดทะเบียนก่อนใช้งาน เพื่อความมั่นคงแข็งแรงและความปลอดภัยในการใช้งาน ฝ่าฝืนมีโทษปรับสูงสุด 5,000 บาท

Nissan-Navara

นายกมล บูรณพงศ์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางบก เปิดเผยว่า การแก้ไขดัดแปลงตัวรถหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของรถให้ผิดไปจากรายการที่จดทะเบียนไว้ โดยเฉพาะกรณีการแก้ไขดัดแปลงระบบช่วงล่าง ทั้งระบบรองรับน้ำหนัก การเสริมแหนบ ระบบกันสะเทือน ระบบบังคับเลี้ยว หรือระบบขับเคลื่อน ต้องนำรถเข้าตรวจสภาพกับกรมการขนส่งทางบก และแก้ไขรายละเอียดลักษณะรถในใบคู่มือจดทะเบียนรถก่อนนำไปใช้งาน

โดยแสดงหลักฐาน ได้แก่ การได้มาของอุปกรณ์ที่นำมาดัดแปลงรถ หรือบันทึกถ้อยคำรับรองว่าอุปกรณ์ดังกล่าวได้มาโดยถูกต้องและสุจริต เช่น ใบเสร็จค่าชิ้นส่วน อุปกรณ์ ค่าแรง และหนังสือรับรองความมั่นคงแข็งแรงและความปลอดภัยในการใช้รถ จากวิศวกรสาขาเครื่องกลหรือยานยนต์ หลักฐานประจำตัวเจ้าของรถ และใบคู่มือจดทะเบียนรถหรือสำเนา ในกรณีที่นายทะเบียนพิจารณาแล้วว่ารถนั้นปลอดภัยในเวลาใช้งาน จะบันทึกรายการในใบคู่มือจดทะเบียนรถไว้เป็นหลักฐาน ส่วนกรณีที่นายทะเบียนเห็นว่ารถที่แก้ไขดัดแปลงอุปกรณ์ส่วนควบดังกล่าวอาจก่อให้เกิดอันตรายในการใช้งาน ให้เจ้าของรถดำเนินการแก้ไขก่อนนำรถเข้าตรวจสภาพ

Leaf-Spring

ทั้งนี้ หากตรวจสอบพบการแก้ไขดัดแปลงตัวรถหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของรถให้ผิดไปจากรายการที่จดทะเบียนไว้ โดยไม่มีการนำรถไปให้นายทะเบียนตรวจสภาพและแก้ไขรายละเอียดลักษณะรถในใบคู่มือจดทะเบียนรถ เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ.2522 มาตรา 14 ต้องระวางโทษตามมาตรา 60 ปรับไม่เกิน 2,000 บาท

ส่วนกรณีเป็นรถที่จดทะเบียนตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.2522 หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถ ให้ผิดแผกแตกต่างในสาระสำคัญตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ต้องได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนก่อนดำเนินการ หากฝ่าฝืนมีความผิดตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 78 ต้องระวางโทษตามมาตรา 149 ปรับไม่เกิน 5,000 บาท