ไม่หลบรถฉุกเฉิน รถพยาบาลขณะเปิดไซเรน โทษหนัก

ในช่วงที่โควิด-19 กำลังระบาดหนักมากในประเทศไทย ผู้ป่วยวันละหนึ่งหมื่นกว่าคน และโดยเฉพาะในกรุงเทพฯ ที่มียอดผู้ป่วยวันละสองสามพันคน ทำให้พวกเราได้เห็นรถฉุกเฉิน รถพยาบาล เปิดไซเรนวิ่งรับส่งผู้ป่วยกันบนถนนทุกชั่วโมงเลยก็ว่าได้

แต่ถึงแม้ว่าช่วงนี้ถนนจะโล่งๆ เพราะคนส่วนใหญ่ต่างก็อยู่บ้าน ไม่ออกไปไหนเท่าที่จำเป็นจริงๆ แต่ก่อนหน้านั้นก็ยังมีข่าวที่โลกโซเชียลแชร์คลิปรถแกล้งขับช้าๆ กีดขวางรถฉุกเฉินที่ต้องไปรับหรือส่งผู้ป่วย ซึ่งหลายคนอาจไม่รู้ว่าการกระทำแบบนี้ ผิดกฎหมายและมีโทษหนักกว่าที่คาดไว้ แต่จะมีอะไรบ้าง MR.CARRO จะมาเล่าให้ฟัง

รถฉุกเฉิน รถพยาบาล

ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 4 ได้ให้คำนิยามของ “รถฉุกเฉิน” ไว้ว่า รถดับเพลิง และรถพยาบาลของราชการบริหารส่วนกลาง ราชการบริหารส่วนภูมิภาคและราชการบริหารส่วนท้องถิ่น หรือรถอื่นที่ได้รับอนุญาตจากอธิบดีให้ใช้ไฟสัญญาณแสงวับวาบ หรือให้ใช้เสียงสัญญาณไซเรน หรือเสียงสัญญาณอย่างอื่นตามที่จะกำหนดให้

และมาตรา 76 ระบุว่า เมื่อเห็นรถฉุกเฉินในขณะปฏิบัติหน้าที่ใช้สัญญาณแสงวับวาบหรือได้ยินเสียงสัญญาณไซเรน ผู้ขับขี่ที่อยู่ด้านหน้าต้องให้ทางรถฉุกเฉินไปก่อน หากฝ่าฝืนมีโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 500 บาท

รถฉุกเฉิน รถพยาบาล

แม้ว่าโทษปรับจะดูเล็กน้อย แต่ถ้าการกระทำดังกล่าวส่งผลให้ผู้เจ็บป่วยในรถพยาบาล หรือรถฉุกเฉินถึงแก่ชีวิต ก็อาจโดนข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 “ผู้ใดกระทำโดยประมาท เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย” ซึ่งมีโทษต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท

ทางที่ดี เมื่อคุณเจอรถฉุกเฉิน ไม่ว่าจะเป็นรถพยาบาล, รถกู้ชีพ หรือรถประเภทอื่นๆ อย่าง รถตำรวจ, รถทหาร หรือรถที่ได้รับอนุญาตให้ติดตั้งสัญญาณไฟวับวาบ (ไฟไซเรน) ได้อย่างถูกต้องตามที่ระบุไว้ในกฎหมาย ให้หยุดรถหรือจอดรถให้อยู่ชิดขอบทางด้านซ้าย หรือในกรณีที่มีช่องเดินรถประจำทางอยู่ทางซ้ายสุดของทาง ต้องหยุดรถหรือจอดรถให้อยู่ชิดช่องเดินรถประจำทาง แต่ห้ามหยุดรถหรือจอดรถในทางร่วมทางแยก

สำหรับคนเดินเท้าต้องหยุดและหลบให้ชิดขอบทาง หรือขึ้นไปบนทางเขตปลอดภัย หรือไหล่ทางที่ใกล้ที่สุด ถ้าเป็นผู้ขี่หรือควบคุมสัตว์ ต้องบังคับสัตว์ให้หยุดชิดทาง แต่ห้ามหยุดในทางร่วมทางแยก

รถฉุกเฉิน รถพยาบาล

หากผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท ตามมาตรา 76 ทั้งหมด

เมื่อคุณรู้แล้ว ก็อย่าเจตนาทำ หรืออย่าขับรถเฉื่อยชา ในขณะที่รถพยาบาล หรือรถฉุกเฉิน วิ่งมาด้านหลังเลยนะครับ

สำหรับใครที่อยากขายรถคันเดิมตอนนี้ หรือกำลังตัดสินใจจะซื้อรถป้ายแดงอยู่พอดี แต่งบไม่พอ! มาขายรถกับ CARRO Express สิ! Inbox มาขอรายละเอียดได้ที่ Facebook -> CARRO Thailand และ Add Line สอบถามรายละเอียดได้เช่นกัน ที่ @carrothai

อีกหนึ่งบริการใหม่! CARRO Automall แหล่งรวมรถมือสองคุณภาพเยี่ยม ผ่านการตรวจสภาพแบบ Double Check รับประกันพร้อมโอนทุกคัน ฟรี! ค่าจัดโอน มีให้เลือกชมเพียบ เปิดบริการทุกวัน อยากซื้อรถคุณภาพเยี่ยม มาซื้อกับ CARRO Automall สิ!

หรือสนใจรถรุ่นไหนอยู่ แต่ยังหาที่ถูกใจไม่ได้ เรายินดีหาให้! เพียงแค่กรอกเบอร์โทรศัพท์ ชื่อยี่ห้อ / รุ่นรถ ที่คุณต้องการก็ได้เช่นกันครับ อีกทั้งยังสามารถ Inbox เข้ามาสอบถามรายละเอียดได้ที่ Facebook -> CARRO Automall – รถบ้านมือสอง โทร. 02-508-8690 หรือทาง Line @carroautomall

5-Popular-Ambulance-Cars-In-Thailand

ในยุคที่โควิด-19 (COVID-19) กำลังระบาดหนักทั่วโลกในขณะนี้ ซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบสาธารณสุขแลระบบเศรษฐกิจในตอนนี้ โดยอุปกรณ์ทางการแพทย์ต่างๆ นับว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับแพทย์และพยาบาล เพื่อช่วยเหลือชีวิตผู้ป่วยให้ได้ดีที่สุด อุปกรณ์ทางการแพทย์ จึงต้องควรมีไว้ให้พร้อมทุกสถานการณ์

แต่นอกจากนั้น หากมีผู้ป่วยอยู่นอกสถานที่ล่ะ จะได้อย่างไร คำตอบคือ ต้องมี “รถพยาบาล” ที่มีอุปกรณ์ทางการแพทย์พร้อม และเครื่องมือเวชภัณฑ์ต่างๆ ที่พร้อมใช้งานุกสถานการณ์ ดังนั้น หากเรามีรถพยาบาลที่มีคุณภาพดี พร้อมปฏิบัติทุกภารกิจของระบบการแพทย์ฉุกเฉินเป็นไปอย่างเต็มประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด

มาดูกันว่า ในบ้านเรา ทั้งหน่วยงานสาธารณสุขและโรงพยาบาล นิยมใช้รถพยาบาลรุ่นไหนกันนั้น MR.CARRO จะขอยกตัวอย่างรถพยาบาลที่น่าสนใจ มาเล่าให้ฟัง 5 รุ่นด้วยกัน …

Volkswagen-Type-2-Ambulance-Car

1. Volkswagen Type 2

Volkswagen Type 2 (โฟล์คสวาเกน ที1 หรือ โฟล์ค ตู้) รุ่นแรก T1 หรือ “โฟล์คตู้หน้าวี” ใช้กระจกรถรอบคันแบบ Split Windows อยู่ในสายการผลิตตั้งแต่ปี 1950-1967 ได้ถูกนำเข้ามาในไทยด้วยกันหลายรูปแบบ ซึ่งหนึ่งในนั้นก็รวมไปถึงรถพยาบาลด้วย

Volkswagen-Type-2-Ambulance-Car

ซึ่งจุดเด่นของรถพยาบาลรุ่นนี้คือ เป็นรถที่ผลิตขึ้นมาเป็นพิเศษ ด้านบนหลังคาจะมีไฟสัญลักษณ์พยาบาล พร้อมไซเรน และสัญลักษณ์ตราพยาบาลข้างตัวรถ มีกระจกกั้นระหว่างห้องโดยสารกับคนขับ มีเก้าอี้สำหรับพยาบาล และเตียงพยาบาลพร้อม

ความสำเร็จของรถพยาบาล Volkswagen Type 2 รุ่นแรก T1 นี้ ทำให้หลังจากนั้น ในบ้านเราจึงมีการนำเข้า และดัดแปลงรถพยาบาลของ Volkswagen มาใช้กันอีกตั้งแต่รหัสรุ่น T2, T3, T4 และรุ่นปัจจุบันอย่าง T5

Volvo-960-Ambulance-Car

2. Volvo 960

ด้านค่าย Volvo ในอดีตมาพร้อมสโลแกน “ทุกชีวิตปลอดภัยในวอลโว่” ก็เริ่มรุกตลาดรถพยาบาลในบ้านเราด้วย Volvo 245 GL Station Wagon เครื่องยนต์ขนาด 1.9 ลิตร โดยโรงพยาบาลที่สั่งรถรุ่นนี้มาใช้ มักจะเป็นโรงพยาบาลของ “คริสเตียน” ต่างๆ ทำให้รถรุ่นนี้จึงไม่ค่อยมีให้เห็นนัก

ต่อมาก็จะเป็นรถยอดนิยมของโรงพยาบาลหน่อย อย่าง Volvo 960 (วอลโว่ 960) ที่ดัดแปลงจากรุ่น Station Wagon ขยายฐานล้อยาวเป็นพิเศษ ทำเป็นรถพยาบาลโดย Nilsson ประเทศสวีเดน จัดซื้อโดยกระทรวงสาธารณสุข จากโครงการเงินกู้ ระหว่างกระทรวงการคลัง กับธนาคาร Skandinaviska Enskilda Banken ของสวีเดน เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของสถานบริการสาธารณสุขทั่วประเทศ เมื่อปี 2538-2539 ทั้งหมด 98 คัน

ภายในมีอุปกรณ์การแพทย์ครบครัน มีชุดทำคลอด 1 ชุด เพื่อใช้ทำคลอดฉุกเฉิน มีห้องพยาบาลกว้างขวางยืนได้ บุคลากรปฏิบัติงานได้สะดวกมาก มีระบบกันกระเทือนและความปลอดภัยสูงมาก จำนวน 98 คัน ที่ใช้งานไปได้ไม่นาน สุดท้ายก็ปลดระวางหมด

Honda-Stepwgn-Spada-Ambulance-Car

3. Honda Stepwgn Spada

หลายคนคงงงว่า Honda (ฮอนด้า) มีรถพยาบาลด้วยหรือเนี่ย! คำตอบก็คือ “มีครับ” โดยเป็นการนำ Honda Stepwgn Spada (ฮอนด้า สเตปแวกอน สปาด้า) ที่ดัดแปลงเป็นรถพยาบาล จำนวน 10 คัน โดย กองทุนฮอนด้าเคียงข้างไทย ภายใต้มูลนิธิฮอนด้าประเทศไทย โดย บริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด พร้อมมอบให้กับสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2555

สำหรับ Honda Stepwgn Spada มาพร้อมเครื่องยนต์ขนาด 2.0 ลิตร i-VTEC 150 แรงม้า ส่งกำลังผ่านเกียร์อัตโนมัติ CVT

Toyota-Hilux-Revo-Ambulance-Car

4. Toyota Hilux Vigo / Hilux Revo

Toyota Hilux Vigo และ Toyota Hilux Revo (โตโยต้า ไฮลักซ์ วีโก้ และ โตโยต้า ไฮลักซ์ รีโว่) นับว่าเป็นรถพยาบาลที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายมาก โดยเฉพาะรถกู้ภัย อาสากู้ภัย ต่างนิยมใช้งานกันเป็นอย่างยิ่ง

Toyota-Hilux-Revo-Ambulance-Car

ทั้งในด้านความทนทาน แข็งแรง ราคาไม่แพง สามารถซื้อเครื่องมือปฐมพยาบาลติดรถได้

Toyota-Commuter-Ambulance-Car

5. Toyota Commuter

Toyota Commuter (โตโยต้า คอมมิวเตอร์) เป็นรถพยาบาลที่ได้รับความนิยมตลอดกาล จากโรงพยาบาลชั้นนำหลายๆ แห่ง รวมไปถึงโรงพยาบาลของรัฐ ต่างนิยมใช้งานกันเป็นอย่างยิ่ง ทั้งในด้านความทนทาน แข็งแรง อะไหล่หาง่าย ซ่อมง่าย และสามารถติดตั้งเครื่องมือพร้อมเวชภัณฑ์ต่างๆ ที่จำเป็นในเหตุฉุกเฉินได้มาก ซึ่งก็มีบริษัทและอู่หลายแห่ง ที่รับดัดแปลงรถตู้รุ่นนี้เป็นรถพยาบาลโดยเฉพาะ

สำหรับช่วงนี้ หากใครที่เกิดอาการฉุกเฉินวิกฤต บาดเจ็บ ป่วยฉุกเฉิน หรือ ผู้ป่วยโควิด-19 รอเตียงอยู่ที่บ้าน สายด่วนไม่มีคนรับสาย รถพยาบาลมารับช้า สามารถโทรไปขอความช่วยเหลือได้ที่ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) เบอร์โทรสายด่วน 1669 ศูนย์เอราวัณ นะครับผม ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น พร้อมช่วยหาเตียงสำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ฉุกเฉิน เฉพาะเคสเร่งด่วน เพื่อให้บริการได้ทันเวลา

ส่วนเคสโควิด-19 ที่ยังไม่แสดงอาการ หรืออาการไม่รุนแรง ขอความร่วมมือแจ้งเรื่องได้ที่สายด่วน 1330 และ 1668 ซึ่งจะให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยโควิด-19 ทุกกรณีเช่นกัน

ส่วนถ้าใครอยากขายรถ เพื่อนำเงินไปใช้จ่ายในยุค COVID-19 ระบาด สามารถขายคันเก่ากับ CARRO Express ได้ เรายินดีรับซื้อรถของคุณ ได้เงินไว เร็ว พร้อมปิดการขายได้ทันที แค่คลิก -> https://th.carro.co/sell-car/express หรือจะ Inbox มาขอรายละเอียดได้ที่ Facebook -> CARRO Thailand และ Add Line สอบถามรายละเอียดได้เช่นกัน ที่ @carrothai

และอีกหนึ่งบริการใหม่! CARRO Automall แหล่งรวมรถมือสองคุณภาพเยี่ยม ผ่านการตรวจสภาพแบบ Double Check รับประกันพร้อมโอนทุกคัน ฟรี! ค่าจัดโอน มีให้เลือกชมเพียบ ซื้อรถ คลิก -> https://th.carro.co/taladrod/allcar/carro 

หรือสนใจรถรุ่นไหนอยู่ แต่หาไม่ได้ สามารถสั่งตามออเดอร์ได้ที่นี้ > https://th.carro.co/buy-car หรือโทร. 02-508-8690 อีกทั้งยัง Inbox เข้ามาสอบถามก็ได้เช่นกันได้ที่ Facebook -> CARRO Automall – รถบ้านมือสอง หรือทาง Line เชิญเลยครับที่ @carroautomall

แหล่งที่มาจาก: