Taximeter-Baggage-Fees

เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง กำหนดอัตราค่าบริการอื่น กรณีการจ้างโดยมีบริการพิเศษสำหรับรถแท็กซี่มิเตอร์ (Taxi-Meter) ที่จดทะเบียนในเขตกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2563 โดยที่เป็นการแก้ไขปรับปรุงอัตราค่าบริการอื่น ให้มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น

ซึ่งมีการปรับค่าบริการอื่นกรณีการจ้างโดยมีบริการพิเศษดังนี้

1. การจ้างที่มีการบรรทุกสัมภาระที่มีขนาดความกว้าง ความยาว หรือความสูงด้านใดด้านหนึ่งเกินกว่า 26 นิ้ว ขึ้นไป ให้เรียกเก็บค่าบริการในอัตราชิ้นละไม่เกิน 20 บาท

2. การจ้างที่มีการบรรทุกสัมภาระที่มีขนาดความกว้าง ความยาว หรือความสูงด้านใด ด้านหนึ่งไม่เกิน 26 นิ้ว เกินกว่าสองชิ้น ให้เรียกเก็บค่าบริการตั้งแต่ชิ้นที่สามขึ้นไป ในอัตราชิ้นละไม่เกิน 20 บาท ทั้งนี้ ไม่นับรวมกับสัมภาระตามข้อ 1

3. การจ้างที่มีการบรรทุกสัมภาระเป็นอุปกรณ์การกีฬาจำพวก ถุงกอล์ฟ รถจักรยาน วินด์เซิร์ฟ หรือเครื่องดนตรี ซึ่งมีขนาดตั้งแต่ 50 นิ้ว ขึ้นไป ให้เรียกเก็บค่าบริการในอัตราชิ้นละไม่เกิน 100 บาท

4. การจ้างที่มีการบรรทุกสัมภาระเป็นสินค้า สิ่งของ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ ที่บรรจุกล่อง และที่มิได้มีการบรรจุกล่อง แต่มีการมัดรวมหรือหีบห่อรวมกันไว้ ซึ่งมีขนาดตั้งแต่ 50 นิ้ว ขึ้นไป ให้เรียกเก็บค่าบริการในอัตราที่บรรจุกล่อง มัดรวมหรือหีบห่อชิ้นละไม่เกิน 100 บาท

*สัมภาระ ในที่นี้หมายถึง สิ่งของหรืออุปกรณ์ต่างๆ ที่นำติดตัวมาด้วย แต่มิได้หมายความรวมถึงรถวีลแชร์ ไม้เท้า หรืออุปกรณ์สำหรับคนพิการ

แหล่งที่มาจาก:

New-Traffic-Ticket-Fine-From-Police

ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กำหนดจำนวนค่าปรับกรณีทำผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกฉบับใหม่ โดยให้มีผลบังคับใช้ 26 ส.ค. 2563

เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เรื่องการกำหนดจำนวนค่าปรับตามที่เปรียบเทียบ สำหรับความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ โดยเป็นการกำหนดค่าปรับสำหรับผู้ขับขี่ยานพาหนะประเภทต่าง ๆ รวมทั้งหมด 155 ข้อ โดยมีค่าปรับขั้นต่ำสุด 200 บาท ไปถึงสูงสุด 1,000 บาท ซึ่งต่างจากเดิมที่จะใช้ดุลยพินิจในการพิจารณาเปรียบเทียบปรับในแต่ละข้อหา เช่น

  • ไม่พกใบอนุญาตขับขี่ จากเดิมปรับไม่เกิน 1,000 บาท เป็นข้อหาไม่สามารถแสดงใบอนุญาตขับขี่ได้ ปรับ 200 บาท
  • รถมีค่าควันดำเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด จากเดิมปรับไม่เกิน 1,000 บาท เป็นปรับ 1,000 บาท
  • ไม่ปฏิบัติตามเครื่องหมายจราจร หรือสัญญาณไฟจราจร จากเดิมปรับไม่เกิน 1,000 บาท เป็นปรับ 500 บาท
  • ขับรถบนทางเท้าโดยไม่มีเหตุอันสมควร จากเดิมปรับ 400-1,000 บาท เป็น ปรับ 500 บาท
  • ไม่ขับรถตามความเร็วที่กฎหมายกำหนด จากเดิมปรับ 200-500 บาท เป็นปรับ 500 บาท
  • ไม่สวมหมวกกันน็อกขณะขับขี่รถจักรยานยนต์ จากเดิมปรับไม่เกิน 500 บาท เป็นปรับ 400 บาท และคนซ้อนไม่สวมหมวกกันน็อก จากเดิมปรับไม่เกิน 500 บาท เป็นปรับ 800 บาท

สำหรับใบสั่งที่ใช้ในปัจจุบันนี้ จะใช้ไปถึงสิ้นเดือนตุลาคม จากนั้น 1 พฤศจิกายน จะเป็นใบสั่งรูปแบบใหม่ที่ผู้กระทำผิดสามารถนำไปชำระค่าปรับพื้นที่ใดก็ได้

ขอขอบคุณข่าวจาก

Penalty-Driver-Not-Have-Driving-License

แก้กฎหมายเพิ่มโทษ ไม่พกใบขับขี่ ปรับ 1 หมื่นบาท ใบขับขี่หมดอายุ ติดคุก 3 เดือน ปรับอีก 5 หมื่นบาท

Penalty-Driver-Not-Have-Driving-License

นายสนิท พรหมวงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ กรมการขนส่งทางบก อยู่ระหว่างการบูรณาการกฎหมาย 2 ฉบับ คือ พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 และพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 เข้าด้วยกัน เพื่อให้เป็นกฎหมายเดียวง่ายต่อการกำกับดูแล รวมทั้งเร่งปรับปรุงรายละเอียดของกฎหมายให้มีความทันสมัย และสอดคล้องกับพฤติกรรมการขับขี่ของยุคนี้มากขึ้น

Penalty-Driver-Not-Have-Driving-License

โดยขณะนี้ ร่างกฎหมายฉบับแก้ไขได้ผ่านความเห็นชอบของของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเรียบร้อยแล้ว อยู่ระหว่างการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ยังไม่สามารถระบุได้ว่า จะผ่านความเห็นชอบเมื่อไหร่ ทั้งนี้หากผ่านการพิจารณาของ สนช. แล้ว ตามขั้นตอนจะต้องนำประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา ก่อนซึ่งตามขั้นตอนกฎหมาย จะมีผลบังคับใช้เป็นทางการได้ จะต้องลงประกาศในราชกิจจาฯ ครบ 1 ปีไปแล้ว

Penalty-Driver-Not-Have-Driving-License

สำหรับการแก้ไขกฎหมายด้านการขนส่ง ครั้งนี้ กรมฯ ได้มีการปรับเพิ่มบทลงโทษกรณีผู้ขับขี่กระทำผิดตามพระราชบัญญัติรถยนต์ด้วย เพื่อให้ผู้ขับขี่เข็ดหลาบไม่กล้าทำความผิดหรือฝ่าฝืนกฎหมายอีก รวมทั้งให้ปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด ซึ่งเชื่อว่าจะช่วยลดอุบัติเหตุและความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนได้

พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 ตามกฎหมายใหม่ ที่กรมฯ ได้นำเสนอได้มีการแก้ไขปรับเพิ่มโทษสำคัญๆใน 3 มาตรา ประกอบด้วย

  • 1. มาตรา 64 ขับรถโดยไม่มีใบอนุญาต ตามกฎหมายเดิมลงโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน ปรับสูงสุดไม่เกิน 1พันบาท แต่กฎหมายใหม่เสนอได้ปรับเพิ่มโทษเป็น จำคุกไม่เกิน 3 เดือน ปรับสูงสุดไม่เกิน 5 หมื่นบาท
  • 2. มาตรา 65 ขับรถในระหว่างใบอนุญาตสิ้นอายุ ถูกพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาต หรือถูกยึดใบอนุญาต ตามกฎหมายเดิมลงโทษปรับไม่เกิน 2 พันบาท แต่กฎหมายใหม่ได้เสนอให้มีการเพิ่มโทษจำคุกเข้ามาด้วย คือ จำคุกไม่เกิน 3 เดือน ส่วนโทษ ปรับก็เพิ่มขึ้นเป็นสูงสุดไม่เกิน 5 หมื่นบาท
  • 3. มาตรา 66 ขับรถโดยไม่แสดงใบอนุญาต ตามกฎหมายเดิมปรับไม่เกิน 1พันบาท แต่ตามกฎหมายใหม่ เสนอให้ปรับสูงสุดไม่เกิน 1 หมื่นบาท

ซึ่งก็ไม่รู้ว่า ผู้ใช้รถอย่างเราๆ ท่านๆ เหมือนด้วยหรือไม่หรือเปล่านะครับ …

ขอขอบคุณเนื้อหาข่าวจาก ข่าวสด