Carro-Roojai-The-Keys-To-Driving-Safety

ถ้าคุณคิดว่าการไปสอบใบขับขี่รถยนต์ ทั้งข้อเขียนและปฎิบัติ จะช่วยให้คุณรู้ทั้งหมดเกี่ยวกับการใช้รถบนท้องถนนอย่างปลอดภัยแล้วล่ะก็… คุณกำลังคิดผิด เพราะในความจริงการใช้รถมันมีอะไรมากกว่านั้น คุณจึงไม่ควรพลาดเนื้อหาเหล่านี้ที่เรากำลังจะบอก เพื่อให้คุณขับขี่ปลอดภัยมากขึ้น

วันนี้ Roojai.com จะพาคุณไปดูสิ่งที่มากกว่าแค่เรื่อง กฎจราจร หรือสิ่งที่ได้รู้จากตอน อบรมใบขับขี่ แต่เป็นความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำหรับใครที่ต้องใช้รถในเมือง ความหนาแน่นในการจราจรมีสูง ทำให้ความเสี่ยงแปรผกผันตาม ไปดูกันดีกว่าว่าจะมีอะไรบ้าง

The-Keys-To-Driving-Safety

1. จอดรถให้ปลอดภัย

การจอดรถใช่ว่ามีที่ว่างตรงไหนก็จอดได้ เพราะมันอาจส่งผลต่อเรื่องความปลอดภัยในการใช้รถของคุณด้วย โดยเฉพาะคุณผู้หญิงควรเลี่ยงจอดรถในที่เปลี่ยว หรือถ้าต้องจอดรถค้างคืนในที่ที่ไม่เคยจอด ควรเลือกจอดให้อยู่ใน “สายตา” ของกล่องวงจรปิดสักหน่อย ที่เดี๋ยวนี้มีติดอยู่ทั่วไปตามหน้าบ้านหรือร้านค้า

จอดรถในที่ปลอดภัยแล้ว เพื่อเลี่ยงความเสี่ยงว่ารถของคุณจะอยู่ในอันตราย ก็ไม่ควรเก็บทรัพย์สินมีค่าใด ๆ ไว้ในรถด้วย ขโมยขโจรมันเยอะ บางทีสิ่งที่คุณคิดว่าไม่ได้มีค่าอะไรมากมาย เกิดหายไปก็ไม่เสียดาย แต่ก็ต้องอย่าลืมนึกด้วยล่ะ ว่าค่าใช้จ่ายในการซ่อมหลังจากรถถูกงัดหรือโดนทุบไปแล้วอยู่ที่ราคาเท่าไร หลายคนก็คงไม่อยากต้องมาเสียค่าใช้จ่ายส่วนนี้โดยไม่จำเป็นหรอก

2. ใช้ไฟสัญญาณรถให้เป็นนิสัย

อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากสัญญาณไฟมีอยู่ไม่น้อย และเรารู้ว่าตอน อบรมใบขับขี่ เขาให้ใช้ แต่คุณให้ความสำคัญกับมันมากน้อยแค่ไหน? ทั้งการเปิดไฟส่องสว่างบ้าง ไฟสัญญาณบ้าง หรือไฟเบรกที่เสีย คุณใช้มันเป็นนิสัยแล้วหรือยัง?

ควรใช้เป็นประจำไม่ว่าในซอยเล็กๆ หรือถนนใหญ่ เพราะอย่าลืมว่า คุณไม่ใช่คนเดียวที่ใช้รถใช้ถนน คนอื่น ๆ ที่เขาใช้ร่วม เขาไม่มีทางรู้หรอกว่าคุณจะเลี้ยวหรือเบรก หรือจะขับรถไปทางไหน และมันคงไม่แฟร์กับพวกเขาถ้าต้องมาสูญเสียจากอุบัติเพราะความมักง่ายไม่ใช้ไฟสัญญาณ ดังนั้นใช้ไฟสัญญาณให้เป็นนิสัยไว้ดีที่สุด

The-Keys-To-Driving-Safety

3. ถ้ารถพร้อม การขับขี่ก็ปลอดภัยกว่า

ในตอนที่ สอบใบขับขี่ หลายคนน่าจะเน้นจำในเรื่องของ กฎจราจร เป็นสำคัญ ในตอนอบรมก็มีแทรกให้ความรู้เรื่องการดูแลรถอยู่บ้าง แต่ความจริงการดูแลรถมันมีอะไรมากกว่านั้น การเป็นเจ้าของรถจริง ๆ มันก็เหมือนเป็นภาระอันใหญ่ยิ่ง และถ้ารู้จักรถที่ตัวเองใช้ให้มากกว่าแค่ทั่วไป มันจะไม่ใช่เรื่องยากเลย

ขอแนะนำให้คุณหมั่นตรวจเช็ครถในส่วนของพื้นฐานการใช้งาน ตั้งแต่ในส่วนของน้ำมันเครื่อง น้ำมันเกียร์ ระบบหล่อเย็น เบรก ยาง และอื่น ๆ มากไปกว่านั้น คุณควรหาความรู้เกี่ยวกับรถที่ตัวเองใช้ไว้บ้างด้วย ว่าถ้ามีปัญหาจากการใช้งานตรงไหนต้องซ่อมยังไง คอยหมั่นสังเกตความผิดปกติของตัวรถ รถมีปัญหาอะไรก็รีบแก้ อย่าปล่อยให้ลุกลามไปเสียที่จุดอื่นๆ จนเสียหายใหญ่ ซ่อมแพง หรือพาให้การใช้รถของคุณต้องปลอดภัยน้อยลงจากเดิม

4. โทรศัพท์ต้องพร้อมอยู่เสมอ

จริง ๆ เราไม่แนะนำให้ใช้โทรศัพท์บนรถหรอกนะ เพราะมันจะเสี่ยงให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่ายขึ้น แต่สิ่งนี้ “มันก็ต้องมี” และจำเป็นในสถานการณ์ฉุกเฉินเมื่อคุณใช้รถ รถดับ รถพังกลางทาง หรือเกิดอุบัติเหตุ โทรศัพท์นี่แหละคือตัวช่วยที่ดีที่สุดแล้ว

โทรศัพท์มือถือหรือสมาร์ทโฟนที่มีอินเทอร์เน็ต ควรมีติดตัวไว้เสมอในตอนที่ใช้รถ เมมเบอร์ฉุกเฉินไว้ด้วยทั้งเบอร์ประกันรถของคุณ เบอร์ช่าง เบอร์อู่ หรือแม้แต่เบอร์รถยก เพื่อให้ตอนที่จะใช้จะได้ไม่ต้องมาเสียเวลาหา และควรมีพวกสายชาร์จไว้สำหรับชาร์จไฟโทรศัพท์ในรถด้วย

The-Keys-To-Driving-Safety

5. ออกจากซอย ระวังซ้ายมากขึ้นอีกนิด

หลายคนน่าจะเจอบ่อยเวลาที่ออกจากซอย เราก็มองขวาแล้วอย่างดี แต่มักจะมีรถมอเตอร์ไซค์ประเภท “ชอบแทรก” ขอไปก่อนเพราะเห็นว่ารถตัวเองเล็กกว่า แทรกแซงไปทางซ้าย บางคนไม่ระวังหรือไม่เห็นแล้วหักเลี้ยวมากไป ก็จะไปเบียดกับรถมอเตอร์ไซค์ แนะนำคือเวลาที่จะออกจากซอยให้ระวังซ้ายสักหน่อย มองขวาเห็นแล้วว่ารถไม่มีมีก็เหลียวระวังทางซ้ายไว้เพื่อเลี่ยงการเกิดอุบัติเหตุ

6. ไม่ชัวร์ก็อย่าเปลี่ยนเลน

โดยเฉพาะสายซิ่งยิ่งต้องห้ามใจไว้สักหน่อย ทางแคบ ๆ ที่คิดว่าแซงได้หรือเคยแซงได้มันอาจไม่เป็นอย่างนั้นเสมอไป ตอนสอบใบขับขี่ก็บอกอยู่ว่าถ้าจะเปลี่ยนเลนให้มั่นใจว่ารถที่ตามมาต้องอยู่ในระยะห่างพอสมควร เห็นช่องเล็ก ๆ คิดจะแซง เปลี่ยนเลน ต้องให้ชัวร์ก่อนว่ารถคันหลังขับตามมาอยู่ไกลพอให้ไป อย่ามั่นใจในตัวเองมากเกินไปเพราะ “ถ้าไม่พ้น” ขึ้นมาจงจำไว้ว่ามันไม่ใช่แค่คุณหรอกนะที่จะต้องสูญเสีย

The-Keys-To-Driving-Safety

7. ใจกว้างขึ้นบนถนนก็ปลอดภัยขึ้น

ดูจากคลิปมากมายของพวก “หัวร้อน” ในการใช้รถ และคิดว่าตัวเองคงไม่ทำเรื่องแบบนั้น แต่พออยู่ในสถานการณ์จริงกลับทำไม่ได้ เพื่อความปลอดภัยที่มากกว่า เราจึงอยากแนะนำให้ทุกคนใจกว้างในการใช้รถสักหน่อย เข้าใจว่าทุกคนมีพฤติกรรมในการใช้รถไม่เหมือนกัน บางคนนิสัยไม่ดีขี่แซงในจังหวะที่ไม่ควร แทรกรถเข้าไปทั้งที่แทรกไม่ได้

ทุกพฤติกรรมทำให้การใช้รถมีความสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุมากขึ้น แต่ถ้าทุกคนขับขี่ด้วยน้ำใจ อะไรปล่อยได้ก็ปล่อย ไม่เก็บมาคิดเล็กคิดน้อยจนกลายเป็นเรื่องใหญ่ เราเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่าบนท้องถนนจะปลอดภัย มากขึ้นอีกเยอะ

และทั้งหมดน่าจะช่วยให้ทุกคนใช้รถกันได้อย่างปลอดภัยมากขึ้น รู้ว่า ขับขี่อย่างไรให้ปลอดภัย  เริ่มนับที่หนึ่งจากคุณและอีกหลาย ๆ คน บนท้องถนนก็จะเป็นที่ที่มีความสุขมากขึ้นได้แล้ว ปลอดภัยมากขึ้น อุบัติเหตุที่เกิดจากรถก็จะน้อยลง และที่สำคัญรถทุกคันต้องทำประกันรถยนต์เพื่อเพิ่มความมั่นใจในการขับขี่ เรามีบริการช่วยเหลือฉุกเฉินบนท้องถนนตลอด 24 ชม. เพื่อเพิ่มความอุ่นใจให้คุณอีกด้วยนะ สามารถเช็คราคาออนไลน์ พร้อมทั้งซื้อประกันรถยนต์ออนไลน์ได้ตลอด 24 ชม. ซื้อง่าย ไม่ซับซ้อน ราคาดี และเชื่อใจได้ ต้อง Roojai.com รู้ใจกว่า ประหยัดกว่า คลิกเลย

จะโดน “ปาดหน้า” กี่ที ก็ไม่มีปัญหา
รวมข้อคิดดีๆ ที่ทำให้ใจไม่ร้อน ตามสภาพอากาศ

การโดน “ขับรถปาดหน้า” ถือเป็นปัญหาโลกแตกพอๆกับคำว่า วันนี้จะกินอะไรดี แต่ที่แย่กว่านั้นก็คือ การขับรถปาดหน้ามักเป็นต้นเหตุให้เกิดการปะทะ ทะเลาะวิวาท หรือถึงขั้นเกิดอุบัติเหตุเลยก็ได้ เป็นการเสียเงิน เสียเวลาโดยใช่เหตุ บางครั้งก็ถึงขั้นเสียชีวิต!

ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มาจากชั่วโมงเร่งรีบบนท้องถนน จนคนบางคนลืมกฏจราจรไป ยิ่งการขับรถในกรุงเทพฯ ยิ่งเจอเหตุการณ์ “โดนปาดหน้า” ได้บ่อยกว่าชาวบ้าน เพราะคนกรุงเทพฯ มีวิถีชีวิตที่ต้องรวดเร็วในทุกๆอย่าง รวมไปถึง “การขับรถ” อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ขับรถ, หัวร้อน, คิดบวก, เทคนิค

แต่ถึงแม้ว่า เราจะแก้ไขปัญหา “การขับรถปาดหน้า” หรือหลีกเลี่ยงมันไม่ได้ แต่เราสามารถจัดการอารมณ์ของตนเองได้ หากตกอยู่ในสถานการณ์เหล่านี้ ซึ่งมีวิธีคิดบวกเบื้องต้น จากกรมสุขภาพจิต ที่จะช่วยลดความหงุดหงิด หรืออาการ “หัวร้อน” จากการโดนปาดหน้า เพื่อลดการทะเลาะวิวาท และการเกิดอุบัติเหตุ ที่สำคัญที่สุดคือ เพื่อรักษาสุขภาพจิตที่ดี วิธีการคิดบวกเบื้องต้น 5 ข้อ ก็ทำได้ง่ายๆ คือ

  1. คิดว่าเขาเป็นคนในครอบครัว เป็นญาติ เป็นครูบาอาจารย์ที่เราเคารพ
  2. คิดว่าเขารีบ เพราะมีเรื่องจำเป็นเร่งด่วนในชีวิตของลูก คนในบ้านหรือญาติๆ
  3. ร้องเพลง, เปิดเพลงที่ชอบ เพื่อระงับหรือเปลี่ยนอารมณ์ของตนเอง ไปในทางที่ดีขึ้น
  4. ฝึกการหายใจทางหน้าท้อง สูดลมหายใจเข้าและออกยาวๆ เพื่อบรรเทาความเครียด
  5. ขอบคุณคนที่ขับปาดหน้ารถ ที่ช่วยฝึกความอดทนให้กับเรา

การฝึกคิดแง่บวกในสถานการณ์แย่ๆเป็นเรื่องที่ดี ทั้งในเวลาที่เกิดเหตุการณ์และในระยะยาว เพราะจะฝึกให้เราเป็นคนใจเย็น มีสติมากขึ้น และการคิดบวกก็ไม่มีผลเสียตามมา ให้เราต้องรับผิดชอบในภายหลัง

ขับรถ-หัวร้อน-คิดบวก-เทคนิค

หวังว่าคุณผู้อ่านจะนำข้อคิดดีๆ 5 ข้อนี้ ไปปรับใช้ในการเดินทางในชีวิตประจำวัน หรือในช่วงสงกรานต์ที่กำลังจะมาถึง เพื่อการขับขี่ที่ปลอดภัย ไม่หัวร้อน ไร้อุบัติเหตุ แถม save เงินค่าซ่อมรถไปได้อีกเยอะ!