เคล็ดไม่ลับ ใช้งานเกียร์ออโต้ให้ปลอดภัย

ทุกวันนี้ ถ้าจะให้มีรถยนต์ที่ออกมาบนท้องถนนส่วนใหญ่ ในประเทศไทยที่ขึ้นชื่อเรื่องรถติดอันดับโลก การขับรถยนต์แบบเกียร์อัตโนมัตินั้นถือว่าเป็นเรื่องธรรมดาสามัญไปเกือบหมดแล้ว ไม่เว้นแม้แต่รถกระบะ หรือรถตู้ ก็มีระบบเกียร์อัตโนมัติใช้กันมากพอสมควร

การขับรถที่ใช้เกียร์อัตโนมัติ ถูกพัฒนาขึ้นมาให้ผู้ขับขี่สะดวกสบายกว่าการขับรถด้วยเกียร์ธรรมดา ยิ่งในรถติดๆ ด้วยล่ะก็สบายขาซ้ายขึ้นเป็นกอง นับตั้งการพัฒนาเทคโนโลยีในอดีตหลายสิบปีที่แล้ว ที่เกียร์อัตโนมัติยังใช้ระบบแบบกลไก มีสปีดเริ่มต้นแค่ 2-3 สปีด และยังไม่ค่อยทนทานมากเท่าในปัจจุบัน

Automatic-Transmission

ภาพจาก V.Group Honda

มาถึงยุคปัจจุบัน ที่วิวัฒนาการก้าวหน้าในยุคที่เกียร์อัตโนมัติเป็นแบบระบบสายพาน CVT หรือระบบไฟฟ้า ที่มีความสลับซับซ้อนและทันสมัยมากๆ มีสปีดให้เลือกใช้มากถึง 9-10 สปีด แต่วิธีในการใช้งานนั้น ก็ยังคงไม่ต่างจากในอดีตนัก

Mr.Carro จะมาเล่าให้ฟังถึงวิธีการขับรถด้วยเกียร์อัตโนมัติ ที่เน้นถึงความปลอดภัยในการใช้งาน ขับแล้วไม่เกิดอุบัติเหตุ หรือเกิดอุบัติเหตุจากความตกใจและประมาท (เช่น ใส่เกียร์ผิดตำแหน่ง) เพราะความปลอดภัยหลักของคนขับ ก็อยู่ที่ … ตัวคนขับนั่นเองครับ

เคล็ดไม่ลับ การใช้งานเกียร์ Auto ให้ปลอดภัย

ใช้เท้าขวาเหยียบเบรกเท่านั้น

การขับรถเกียร์อัตโนมัติ ควรใช้เท้าขวาเพียงเท้าเดียวในการเหยียบเบรกและคันเร่ง ไม่ควรใช้เท้าซ้ายเหยียบเบรก และเหยียบเบรคทุกครั้งก่อนสตาร์ทรถ เพื่อป้องกันอันตรายในกรณีเกียร์ไม่ได้อยู่ที่ตำแหน่งเกียร์ว่าง N หรือเกียร์จอด P

เคล็ดไม่ลับ ใช้งานเกียร์ Auto ให้ปลอดภัย

เกียร์ถอย R ต้องตั้งใจเข้า

สำหรับรถยนต์รุ่นที่มีร่องคันเกียร์แนวตรง และมีปุ่มกดที่หัวเกียร์ การเข้าเกียร์ไปตำแหน่งเกียร์ถอย R ทั้งจากเกียร์จอด P หรือจากเกียร์ว่าง N รถยนต์ทุกรุ่นที่คันเกียร์เป็นแนวตรง ต้องกดปุ่มที่หัวเกียร์ หรือบางรุ่นต้องเหยียบเบรก กับกดปุ่มที่หัวเกียร์พร้อมกัน ถึงจะเลื่อนตำแหน่งเกียร์ไปยังเกียร์ถอย R ได้ เพื่อป้องกันการใส่เกียร์ผิด หรือมีเด็กเล็กมาโยกเล่น

ดังที่ทุกค่ายรถยนต์ได้ออกแบบมาเพื่อความปลอดภัย เพราะมีสลักล็อกอยู่ แม้จะใช้ 2 มือดันสุดแรง ถ้าสลักไม่หัก ก็เลื่อนไม่ได้แน่นอน

เคล็ดไม่ลับ ใช้งานเกียร์ Auto ให้ปลอดภัย

เกียร์คร่อมตำแหน่ง ระหว่าง N-R หรือ P-R

การเลื่อนคันเกียร์ไปมาระหว่างแต่ละตำแหน่ง มีระยะห่างที่น้อยมาก การคาคันเกียร์คร่อมอยู่ระหว่าง 2 ตำแหน่ง ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็มีโอกาสเกิดขึ้นได้ กรณีรถรุ่นเก่าๆ ในขณะที่เกิดแรงสั่นสะเทือนของตัวรถ และเกียร์ดีดไปเข้าในตำแหน่งต่างๆ ได้

ดังนั้น ไม่ว่าในช่วงสตาร์ทเครื่องยนต์ หรือก่อนจะออกรถ ควรแน่ใจเสมอว่าคันเกียร์อยู่ในล็อกของตำแหน่ง N หรือ P เท่านั้น ไม่ก้ำกึ่งอยู่ระหว่างตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง

Shift-Lock-Release

ระบบ Shift Lock Release ในเกียร์อัตโนมัติ

ในรถบางรุ่นที่ออกแบบมาให้มีระบบ Shift Lock Release เวลาเข้าเกียร์จอด P ไว้ ซึ่งก่อนจะขับรถออกไป ยังไงก็ต้องนำกุญแจรถลงไปเสียบที่ช่องสำหรับเสียบกุญแจ หรือกดปุ่ม เพื่อปลดล็อคเกียร์ออกจากเกียร์จอด P อยู่แล้ว เพื่อความปลอดภัยของผู้ขับขี่นั่นเอง

เคล็ดไม่ลับ ใช้งานเกียร์ Auto ให้ปลอดภัย

เปลี่ยนเกียร์จาก D มา N ไม่ต้องกดปุ่มที่หัวเกียร์ก็ได้ (สำหรับรถรุ่นเก่า)

โดยทั่วไปการเลื่อนคันเกียร์จาก N มา D ขับเคลื่อนเดินหน้า ไม่ต้องกดปุ่ม เพราะผู้ผลิตรถออกแบบมาให้สะดวกในเวลาขับ ในกรณีของ N มา D ไม่ต้องกดปุ่มได้ แต่จาก N ไป R หรือ P ต้องกดปุ่มครับ ป้องกันการเข้าเกียร์ผิด อาจจะให้รถกระชาก ถึงขั้นเกียร์พังได้

โดยเกียร์จอด จาก P หรือ N ไป R ต้องกดปุ่มที่หัวเกียร์ (หรือเท้าอาจต้องเหยียบเบรก ในกรณีที่เกียร์เป็นแบบขั้นบันได (Gate Type) ซึ่งหลายรุ่นไม่มีปุ่มกดเกียร์)

เคล็ดไม่ลับ ใช้งานเกียร์ Auto ให้ปลอดภัย

จอดรถขณะติดไฟแดง รถติด โดยมีผู้ขับอยู่ในรถ

การขับรถจอดติดไฟแดง หรือรถติดจากการจราจรติดขัด หากจอดไม่นาน แค่เหยียบเบรกค้างไว้ โดยตำแหน่งอยู่ที่เกียร์ D เพื่อไม่ให้เกียร์มีการสึกหรอจากการสลับไป-มา ระหว่าง N-D หรือถ้าจอดนานสักหน่อย จะค้างไว้ที่เกียร์ D พร้อมดึงเบรกมือไว้ก็ได้ … แต่อย่าเผลอเมื่อยขาละกัน!

ถ้ารู้สึกรถติดนานหลายนาที เลื่อนเกียร์มาที่ N และเหยียบเบรกหรือดึงเบรกมือเสริมไว้ดีกว่า หากรถติดอยู่บริเวณคอสะพาน หรือทางลงในลานจอดรถ เป็นต้น

หากต้องจอดรถแล้วติดเครื่องยนต์ไว้ และต้องลงจากรถยนต์ โดยมีผู้อื่นอยู่ในรถยนต์ นอกจากควรดึงเบรกมือและเข้าเกียร์ P ไว้ โดยไม่ควรเข้าเกียร์ N ไว้ เพราะอาจมีใครดันมาเป็นเกียร์ D ได้

เคล็ดไม่ลับ ใช้งานเกียร์ Auto ให้ปลอดภัย

อย่าวางใจเบรกมือ

เมื่อดึงเบรกมือจนสุด (หรือใช้มือดึงเบาๆ กรณีที่เป็นเบรกมือไฟฟ้า หรือใช้เท้าเหยียบให้สุด กรณีที่เป็นเบรกมือแบบเหยียบ) หากรถยนต์ปกติ การเข้าเกียร์ค้างไว้ที่ D หรือ R โดยไม่แตะคันเร่ง รถยนต์ต้องไม่ไหล แต่ก็อาจจะไหลได้ เช่น สายสลิงเบรกมือยืดตัว รอบกระตุกเพราะคอมเพรสเซอร์แอร์ตัด-ต่อการทำงาน แม้เมื่อดึงเบรกมือสุด จะมีแรงกดผ้าเบรกมาก แต่ก็แค่ 2 ล้อ และแรงกดนั้นน้อยกว่าการเหยียบเบรกอยู่มาก ดังนั้นจึงไม่ควรไว้วางใจเบรกมือ

ควรคิดเสมอว่า แม้ดึงเบรกมือจนสุด แล้วรถยนต์ก็ยังอาจจะไหลได้ ขนาดที่ดึงเบรกมือค้างไว้ ก็ยังขับรถยนต์ออกไปได้ นั่นคือ เบรกมือมีแรงเบรกพอสมควรเท่านั้น ไม่ได้มีทั้งหมด มิฉะนั้นคงไม่สามารถขับออกไปได้โดยหลายคนหลงลืม

เคล็ดไม่ลับ ใช้งานเกียร์ Auto ให้ปลอดภัย

สัญญานเตือนเมื่อเข้าเกียร์ถอยหลัง R

ในรถรุ่นใหม่ๆ เวลาถอยรถ หลายรุ่นมักมีติดสัญญาณเตือนถอยหลัง พร้อมภาพจากกล้องมองหลังขึ้นมา ถือได้ว่าเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยให้เวลาถอดจอดง่ายขึ้นมาก โดยเฉพาะเวลาเข้าใกล้วัตถุ เสียงเตือนจะดังขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งช่วยเพิ่มความปลอดภัย และได้ทราบเวลาใส่เกียร์ถอยหลังได้

เคล็ดไม่ลับ ใช้งานเกียร์ Auto ให้ปลอดภัย

สายพ่วงแบตเตอรี่ติดรถ

ควรมีสายพ่วงแบตเตอรี่ติดรถไว้ตลอดเวลา เผื่อแบตเตอรี่ไม่พอ เนื่องจากรถเกียร์อัตโนมัติ ไม่สามารถเข็นด้วยความเร็วต่ำ แล้วกระตุกสตาร์ทให้ติดเครื่องยนต์ได้แบบรถเกียร์ธรรมดา การเข็นรถเกียร์อัตโนมัติแล้วใช้วิธีกระตุกสตาร์ท ต้องใช้ความเร็วอย่างน้อย 20 กม./ชม. ซึ่งเข็นด้วยแรงคนคงเป็นไปได้ยาก และเสี่ยงกับความเสียหายต่อเกียร์ในขณะที่ทำการเข็นหรือลากอีกด้วย

เคล็ดไม่ลับ ใช้งานเกียร์ Auto ให้ปลอดภัย

ตรวจสอบน้ำมันเกียร์อัตโนมัติ

น้ำมันเกียร์อัตโนมัติ ช่วยให้ยืดอายุการใช้งานของเกียร์รถท่านได้ยาวนาน จึงควรตรวจสอบระดับน้ำมันเกียร์ให้อยู่ในระดับที่ไม่ต่ำกว่าขีดที่ก้านวัด และเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเกียร์ตามระยะทางที่ในคู่มือแนะนำ

ทั้งนี้ทั้งนั้น ความปลอดภัยในการขับขี่รถเกียร์อัตโนมัติ เริ่มต้นจากตัวผู้ขับขี่ และสภาพรถที่พร้อมใช้งานครับ …

Carro Express ขายรถกับคาร์โร อยากขายรถ ขายรถด่วน

สำหรับใครที่อยากขายรถคันเดิม ไปซื้อรถยนต์คันใหม่มาใช้ในช่วงนี้ มาขายรถกับทาง Carro Express สิ! คลิกเลยที่ https://th.carro.co/sell-car/express รับรองได้เงินเร็ว ไว ทันใจแน่นอน!

CARRO Automall

ส่วนใครสนใจจะซื้อรถมือสอง Carro แหล่งรวมรถมือสองคุณภาพเยี่ยมผ่านระบบออนไลน์ คุณสามารถจองรถได้ในเวลาเพียง 1 นาทีเท่านั้น! พร้อมคำนวณสินเชื่อและค่างวด ได้ภายในเว็บไซต์ทันที!

ซึ่ง Carro เรามีรถให้คุณเลือกมากมาย รถทุกคันผ่านการตรวจสภาพโดย Carro Certified อย่างละเอียดแบบ Double Check มากกว่า 160 จุด, การันตีคืนเงินภายใน 5 วัน, รับประกันเครื่องยนต์และเกียร์ 1 ปี, รับประกันไม่กรอไมล์ และไม่ประสบอุบัติเหตุหนัก ไฟไหม้ หรือน้ำท่วม พร้อมรับประกันคุณภาพรถ 1 ปี หรือ 30,000 กิโลเมตร!

อีกทั้งยังมีเทคโนโลยี “360 View & Sound Engine Analysis” เลือกชมรถยนต์เสมือนจริงออนไลน์รายแรกในไทย ทั้งภาพและเสียงในรูปแบบ 360 องศา รวมถึงมีเทคโนโลยีสนับสนุนฝ่ายขาย ทั้ง Digital Device ที่เชื่อมต่อกับ Digital Screen นำเสนอสิ่งที่ลูกค้าต้องการ และจัดการเรื่องเอกสารให้กับลูกค้าให้ตั้งแต่ต้นจนจบ บวกกับ Online Viewing Service ที่ลูกค้าสามารถวิดีโอคอล ตรวจสภาพรถยนต์คันที่สนใจได้แบบเรียลไทม์ ซื้อรถคุณภาพเยี่ยม ต้องที่ Carro สิ!

หรือถ้าหากคุณสนใจรถรุ่นไหนอยู่ แต่ยังหาที่ถูกใจไม่ได้ เรายินดีหาให้! เพียงกรอกชื่อ-เบอร์โทรศัพท์ และรถที่คุณสนใจ ไว้ที่ “รับการแจ้งเตือน” เมื่อมีรถที่คุณต้องการ Carro จะรีบติดต่อไปยังคุณทันที สอบถามรายละเอียดได้ที่ Facebook -> Carro Thailand โทร. 02-508-8690 หรือทาง Line @carrothai

เนื้อหาบางส่วนจาก:

  • นิตยสาร Thaidriver ฉบับปี 2545
เจาะลึกรถยนต์ที่มาพร้อมระบบเกียร์ CVT และการดูแลรักษา

ว่าด้วยการขับรถยนต์ที่มีระบบเกียร์ CVT ระบบการขับเคลื่อนรถที่สุดล้ำ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการขับเคลื่อนเร่งความเร็วพร้อมกับความปลอดภัย ให้ทุกการขับขี่ของคุณเต็มไปด้วยความมั่นใจและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น แต่เชื่อว่าน้อยคนนักที่จะรู้จักกับการขับรถยนต์เกียร์ CVT ในรูปแบบนี้ ดังนั้นคำถามคือก่อนการซื้อรถครั้งต่อไปของคุณ ควรเลือกรถที่ใช้ระบบเกียร์ CVT ดีหรือไม่ พร้อมทั้งการบำรุงรักษาเป็นอย่างไร วันนี้ รู้ใจ จะมาบอกกัน อะไรบ้างที่คุณต้องรู้เกี่ยวกับระบบขับเคลื่อนของรถประเภทนี้ เราไปดูกันเลย

เจาะลึกรถยนต์ที่มาพร้อมระบบเกียร์ CVT และการดูแลรักษา

ทำความรู้จักกับระบบเกียร์ CVT และความแตกต่างจากเกียร์อัตโนมัติทั่วไป

เรียกว่าคนขับรถโดยทั่วไปแทบไม่เคยรู้กันมาก่อนเลยว่าในปัจจุบันนี้มีการออกแบบระบบเกียร์สำหรับการขับเคลื่อนออกมาหลายรูปแบบ และรูปแบบที่กำลังได้รับความนิยมอย่างสูง มีใช้อยู่ในรถหลาย ๆ รุ่น หลากหลายแบรนด์ คือระบบเกียร์ CVT ระบบที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ขับขี่ได้เป็นอย่างดี รวมไปถึงความปลอดภัยในการควบคุมที่ดียอดเยี่ยม มาดูกันว่าระบบเกียร์ CVT นี้มีการพัฒนาการทำงานที่เหนือกว่าเกียร์ประเภทอื่นอย่างไร

เจาะลึกรถยนต์ที่มาพร้อมระบบเกียร์ CVT และการดูแลรักษา

ทั่วไปแล้วระบบการทำงานของเกียร์อัตโนมัติของรถยนต์ปกตินั้น จะมาในรูปแบบของอัตรากำลังทดที่ค่อย ๆ เพิ่มความเร็วให้สูงขึ้น โดยการเลื่อนขยับของชุดเฟืองในระบบเกียร์ตามระดับของความเร็ว สิ่งที่สามารถรู้สึกได้นั่นคือ ทุกจังหวะที่เกียร์เปลี่ยนคุณจะสัมผัสถึงแรง “กระชาก” ที่เกิดขึ้นระหว่างเกียร์ที่เปลี่ยนอยู่เสมอ

แต่การทำงานของระบบเกียร์ CVT หรือที่เรียกกันในภาษาช่างว่าเป็นระบบ CONTINOUS VARIABLE TRANSMISSION นั้นจะต่างออกไป เป็นการทำงานแบบ “ระบบเกียร์แปรผัน” เป็นการทำงานประสานกันของพูเลย์สองตัวที่จะทำหน้าที่แปรผันระบบเกียร์ที่เราใช้งานตามความเร็วของรถนั่นเอง

ข้อดีของการขับรถยนต์ระบบเกียร์ CVT

สำหรับรถยุคใหม่ในปัจจุบันยิ่งในรถที่ถูกผลิตผ่านโรงงานของเครือข่ายจากประเทศญี่ปุ่น จะเลือกใช้ระบบเกียร์ CVT กันมากยิ่งขึ้น เหตุผลก็เพราะด้านการขับขี่ที่เต็มไปด้วยความปลอดภัยสูง รวมไปถึงการจัดการความเร็วที่ช่วยให้การขับขี่ต่อเนื่อง ในการขับเคลื่อนแต่ละช่วงความเร็วจะไม่พบกับอาการกระชากกระตุกเปลี่ยนเกียร์ ทุกอย่างจะขับเคลื่อนไปด้วยความนุ่มนวล ซึ่งคุณจะไม่เจอกับจังหวะกระชากใด ๆ ในระหว่างการขับขี่แม้แต่น้อยตั้งแต่รถเริ่มวิ่งจนทำความเร็วสูงสุด

อย่างไรก็ตามสิ่งที่ถือเป็นจุดอ่อนของระบบเกียร์ CVT คือเรื่อง “อัตราเร่ง” ที่จะค่อยๆ ไต่ระดับขึ้นไปเรื่อยๆ ไม่รวดเร็วทันใจเมื่อเทียบกับระบบเกียร์อัตโนมัติหรือแม้แต่เกียร์ธรรมดา “สายซิ่ง” อาจไม่ถูกใจสิ่งนี้ที่ชอบความแรงแบบทันใจทุกการเหยียบคันเร่ง ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ระบบเกียร์ CVT นี้ถูกออกแบบมาก็เพื่อในเรื่องความปลอดภัยด้วย เพราะเมื่ออุบัติเหตุส่วนใหญ่เกิดจากใช้รถความเร็วสูง ระบบเกียร์ CVT นี่แหละจะทำให้ความเร็วมาช้ากว่าที่ควรจะเป็น ช่วยลดความเร็วของรถได้ระดับนึง

เจาะลึกรถยนต์ที่มาพร้อมระบบเกียร์ CVT และการดูแลรักษา

แล้วระบบเกียร์ CVT มีวิธีดูแลรักษาอย่างไร

สำหรับรถยนต์ระบบเกียร์ CVT วิธีดูแลนั้นแทบไม่มีอะไรยุ่งยากเลย ซึ่งหัวใจสำคัญสำหรับการดูแลรักษารถยนต์ระบบเกียร์ CVT คือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการขับขี่ของผู้ใช้รถนั่นเอง ที่จะเป็นตัวแปรสำคัญในการยืดอายุการใช้งานของเกียร์ประเภทนี้ได้ ซึ่งคำแนะนำการใช้งานต่าง ๆ มีดังต่อไปนี้

1.งดการออกตัวแบบกระชากคันเร่ง

การขับรถยนต์ระบบเกียร์ CVT เป็นระบบการขับเคลื่อนที่เน้นการไต่ระดับของความเร็วขึ้นไปทีละน้อยเพื่อลดอาการกระชากที่อาจก่อให้เกิดอันตรายหากคุณเหยียบคันเร่งเข้าไปเต็มแรง แน่นอนว่าสำหรับการขับขี่ที่เกิดเหตุอันไม่ตั้งใจ ระบเกียร์ CVT จะไม่ทำให้รถพุ่งทะยานไปข้างหน้าแบบคุมไม่อยู่

แต่สำหรับนักขับ “สายซิ่ง” อาจรู้สึกไม่ทันใจกับพลังของเครื่องยนต์ที่ค่อย ๆ ไต่ขึ้นในรูปแบบ “รอรอบ” จังหวะการทดของเกียร์ ทำให้แทนที่จะเห็นรถวิ่งฉิวไปข้างหน้าด้วยความรวดเร็ว แต่กลับต้องทนรอจังหวะรถที่ค่อย ๆ ไต่ความเร็วขึ้นไป ซึ่งการเหยียบคันเร่งเพื่อเพิ่มความเร็วในทันทีนี้ จะทำให้ระบบเกียร์ CVT พังเร็วมากยิ่งขึ้น

2.ลดจังหวะการขับรถแบบคิกดาวน์

หลายคนคงสงสัยกันว่า การขับรถแบบคิกดาวน์คืออะไร และคุณเองกำลังมีพฤติกรรมการขับรถในแบบนี้อยู่หรือเปล่า สำหรับการขับรถแบบคิกดาวน์ คือการเหยียบคันเร่งเพื่อเค้นการทำงานของระบบเครื่องและระบบเกียร์ให้ออกมาเต็มกำลัง หรือที่เรามักเรียกกันในหมู่นักขับว่า “เหยียบกันมิดคันเร่งมิดไมล์“ ซึ่งโดยส่วนใหญ่การขับในรูปแบบนี้ เรามักใช้ในจังหวะการแซงรถซะเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งแน่นอนว่าการขับแบบนี้ย่อมไม่ส่งผลดีต่อเกียร์รถยนต์สักเท่าไร

การขับแบบคิกดาวน์บ่อย ๆ นั้น จะทำให้แรงบิด แรงเค้น เกิดขึ้นบ่อยในระบบเกียร์ แม้ว่าระบบเกียร์ CVT จะใช้วัสดุโลหะผสมที่มีความทนทานสูงมาขึ้นรูปชิ้นงานก็ตาม แต่เมื่อทำงานหนักบ่อยๆ ก็ไม่อาจทานทนต่อแรงเค้นมหาศาลที่เกิดขึ้นได้ ก่อให้เกิดอาการสึกหรอของชุดเกียร์ที่อาจมีบทลงเอยด้วยการเสียค่าซ่อมรถด้วยเงินทุนมหาศาลเลยที่เปรียบเสมือนฝันร้ายในการใช้รถของคุณเลยก็ว่าได้

3.การขับรถทางไกลด้วยความเร็วคงที่

สำหรับนักขับผู้ชื่นชอบการเดินทางไกลและต้องเดินทางไปกับรถที่มีระบบเกียร์ CVT ต้องห้ามใจกันซักนิดที่จะไม่เพิ่มความเร็วให้กับรถอย่างเต็มแรงจนเกินไป เพราะถึงอย่างไร รถในระบบเกียร์ CVT จะค่อยๆ ปรับความเร็วขึ้นไปช้าๆ อยู่แล้ว ซึ่งเป็นการออกแบบมาเพื่อให้รถสามารถทำความเร็วในระดับสูงได้ด้วยการใช้รอบเครื่องยนต์ที่ต่ำกว่าปกติ สิ่งที่ตามมาก็คือ รถในระบบเกียร์ CVT จะมีอัตราการประหยัดพลังงงานน้ำมันที่สูงมาก

ดังนั้นการคะยั้นคะยอเพิ่มความเร็วให้กับรถ นอกจากจะทำให้เกิดการสึกกับระบบเกียร์ที่ต้องรับภาระในการขับขี่ที่หนักหน่วงแล้ว ยังทำให้เกิดปัญหาของการที่รถใช้น้ำมันอย่างสิ้นเปลืองโดยไม่จำเป็นอีกด้วย ทางที่ดีควรปล่อยให้รถค่อย ๆ เพิ่มความเร็วด้วยตัวเองตามระบบการทดรอบของเกียร์ วิธีนี้จะช่วยเค้นประสิทธิภาพการเดินทางได้ดีกว่าการเปลี่ยนรอบความเร็วขึ้นลงอยู่บ่อยครั้งที่จะทำให้ระบบเกียร์สึกหรอได้ไวยิ่งขึ้นอีกด้วย

4.หลีกเลี่ยงการปรับเปลี่ยนเกียร์แบบ Paddle shift

สำหรับนักขับที่ชื่นชอบความแรงและความไวมักเค้นประสิทธิภาพของรถเกียร์ออโต้ด้วยการ “Shift” เกียร์อยู่เสมอ ด้วยการใช้เทคนิคการทดรอบขึ้นลงแบบรถเกียร์ธรรมดา (MT) ใช่แหละว่าช่วยให้คุณขับสนุกมากขึ้น ช่วยให้เกิดพลังการขับเคลื่อนที่พุ่งไปข้างหน้าได้มากกว่า แต่อีกแง่..! การขับเช่นนี้เป็นการทำร้ายระบบเกียร์ CVT อย่างมาก! ไม่ว่าจะเป็นระบบเกียร์อัตโนมัติแบบพื้นฐานหรือระบบเกียร์ CVT ต่างไม่ชอบจังหวะการ Shift เกียร์โดยไม่จำเป็นแบบนี้แทบทั้งสิ้น

เพราะระบบการเปลี่ยนแปลงเกียร์ถูกออกแบบมาเพื่อการขับเคลื่อนในพื้นที่คับขัน ไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อปรับความเร็วให้กับรถในการวิ่ง และยิ่งเป็นระบบเกียร์ CVT แล้วจะทำให้เกิดแรงเค้นสุดมหาศาลกับระบบเกียร์ โดยเฉพาะในส่วนของสายพานเกียร์ที่จะทำงานในระบบอัตราทดแบบ FIX จะเกิดภาวะสึกหรอได้เร็วขึ้น บั่นทอนอายุการใช้งานไปอย่างไม่จำเป็น

5.ซ่อมบำรุงอย่างเข้าใจในประสิทธิภาพของรถ

ระบบเกียร์ CVT ในส่วนของการซ่อมบำรุงต้องทำอย่างสม่ำเสมอเช่นเดียวกับเกียร์อัตโนมัติทั่วไป โดยปกติแล้วการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเกียร์จะทำกันที่ประมาณ 40,000 กิโลเมตร ซึ่งเป็นระยะการบำรุงที่ควรทำอยู่เป็นประจำ โดยปกติสำหรับรถที่ใช้งานทั่วไปจะใช้เวลาประมาณ 2 ปี จึงจะทำการเปลี่ยนน้ำมันเกียร์ซักครั้ง ดังนั้น เมื่อถึงรอบระยะไมล์การซ่อมบำรุง ก็ควรดูแลที่ส่วนนี้ “อย่าให้ขาด” เพื่อการเตรียมความพร้อมด้านการขับขี่ให้เต็มประสิทธิภาพ หมดห่วงตอนใช้งานว่าจะขึ้นยานแม่

เจาะลึกรถยนต์ที่มาพร้อมระบบเกียร์ CVT และการดูแลรักษา

เมื่อทำความรู้จักกับระบบเกียร์ CVT กันไปแล้ว เชื่อว่าคุณน่าจะเข้าใจกับระบบขับเคลื่อนนี้มากขึ้น เข้าใจในการขับขี่และการดูแลรักษาเกียร์รถของคุณ (หากใช้ระบบเกียร์ CVT) หรือรู้ก่อนซื้อ หากรถคันที่คุณสนใจใช้ระบบเกียร์ CVT และเพื่อเพิ่มความมั่นใจไปอีกระดับ! การมองหาเพื่อนที่รู้ใจช่วยดูแลสุขสภาพรถของคุณด้วยประกันรถยนต์ที่ง่าย ราคาดี ไม่ซับซ้อน ก็เป็นอีกสิ่งที่มองข้ามไม่ได้ ทำประกันรถยนต์กับทางรู้ใจ ประกันออนไลน์ “รู้ใจกว่า ประหยัดกว่า” สำหรับรถที่คุณรักและเพื่อความปลอดภัยของคุณในทุกเส้นทาง เช็คราคาประกันฟรีใน 60 วิ ประหยัดสูงสุด 30% ราคาดีที่สุดสำหรับผู้ขับขี่ปลอดภัย ทุนประกันสูง คุ้มครองทันที มีบริการช่วยเหลือฉุกเฉิน 24 ชม. คำตอบสุดท้ายของประกันรถยนต์ออนไลน์ต้องที่นี่เลย

คุณยังสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารและโปรโมชั่นใหม่ ๆ จากรู้ใจได้ทาง FB Fanpage: Roojai หรือ คลิก add Official Line ของเราไว้ได้เช่นกัน

Carro-How-To-Use-Automatic-Transmission

รถเกียร์อัตโนมัติ หรือ รถเกียร์ออโต้ เริ่มเป็นที่รู้จักและนิยมใช้งานในรถยนต์ กันมาตั้งแต่ในช่วงยุค 50 ที่แพร่หลายมาจากในรถอเมริกัน ก่อนจะแพร่หลายมายังในรถยุโรปและรถญี่ปุ่น ซึ่งในบ้านเราเริ่มจะรู้จัก “เกียร์อัตโนมัติ” กันตั้งแต่ในยุค 60 จากรถอเมริกัน แต่ที่มีแพร่หลายมากขึ้น ก็เริ่มกันตั้งแต่ในช่วงประมาณยุค 80 ที่รถญี่ปุ่นรุ่นท็อปๆ เริ่มติดตั้งมาให้

แต่ยุคปัจจุบัน จากสภาพจราจรที่ติดขัดอย่างหนัก รวมไปถึงระบบเกียร์ เทคโนโลยีที่ทันสมัยมากขึ้น ใช้งานได้ง่ายมากขึ้น ก็กลายเป็นเรื่องธรรมดาสามัญไปแล้ว จนคนรุ่นใหม่ เวลาเรียนขับรถส่วนใหญ่ ก็หัดจากรถเกียร์อัตโนมัติกัน

แต่บางคนก็อาจจะละเลยถึงความสำคัญของตำแหน่ง “เกียร์อัตโนมัติ” หรือ “เกียร์ออโต้” ไป Mr.Carro จะมาอธิบายให้ฟังกันครับ …

How-To-Use-Automatic-Transmission

เกียร์อัตโนมัติในปัจจุบัน แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ นั่นคือ เกียร์อัตโนมัติแบบมีลำดับขั้น (ซึ่งก็มีแยกออกไปอีก ทั้งแบบต้องกดปุ่มเปลี่ยนเกียร์ ตามยาว และแบบ Gate-Type หรือแบบขั้นบันได ที่ไม่มีปุ่มให้กด แต่ใช้วิธีเลื่อนไปตามตำแหน่งต่างๆ ตามรอยหยัก) และเกียร์อัตโนมัติแบบ CVT ซึ่งในการเรียกตำแหน่งเกียร์ ก็ยังคงใช้ชื่อเรียกตำแหน่งเกียร์เหมือนกัน

ตำแหน่ง P (Parking)

ตำแหน่ง P (Parking) ใช้สำหรับจอดรถแบบล็อคล้อ ไม่ต้องการให้รถเคลื่อน หรือ จอดบนทางลาดชัน

ตำแหน่งเกียร์ P จะอยู่ด้านบนสุด ควรใช้ต่อเมื่อรถจอดดับเครื่องเรียบร้อยแล้ว เพราะจะเป็นการล็อคล้อไว้ไม่ให้รถเคลื่อนได้ และถ้าจะจอดบนทางลาดชัน ก็ใช้ตำแหน่งเกียร์ P นี้เช่นกัน ทางที่ดีควรดึงเบรกมือไว้ด้วย เพื่อป้องกันเกียร์เสียหาย กรณีที่ถูกชนท้าย และควรใช้ต่อเมื่อจอดรถในตำแหน่งที่ไม่มีรถกีดขวางอยู่ครับ (เพราะคนอื่นจะเข็นรถคุณไม่ได้!)

ตำแหน่ง R (Reverse)

ตำแหน่ง R (Reverse) คือ เกียร์ถอยหลัง

ตำแหน่งเกียร์ R แล้ว ชื่อก็บอกอยู่แล้ว ว่าเป็นเกียร์ถอยหลัง เมื่อใช้เกียร์ตำแหน่งนี้ รถก็จะถอยหลังได้เองอย่างช้าๆ โดยที่เรานั้นไม่ต้องเหยียบคันเร่ง ระหว่างถอย คุณก็เตรียมวางเท้าขวาเอาไว้ที่แป้นเบรกตลอดเวลา

หากคุณจะเปลี่ยนเกียร์จากตำแหน่ง P มาตำแหน่ง R จะต้องเหยียบเบรกก่อน แล้วกดปุ่มปลดล็อคบริเวณหัวเกียร์ด้วย แต่หากเป็นรถใช้เกียร์แบบขั้นบันได ก็เหยียบเบรกแล้วเลื่อนคันเกียร์ไปด้านข้าง ก็เข้าเกียร์ R ได้แล้ว

ตำแหน่ง N (Neutral)

ตำแหน่ง N (Neutral) คือ เกียร์ว่าง

ตำแหน่งเกียร์ N ไว้สำหรับจอดรถชั่วคราว เช่น จอดรถติดไฟแดง เป็นต้น และการจอดรถที่ใส่เกียร์ในตำแหน่ง N นี้ รถก็ยังสามารถเข็นไปมาได้ ซึ่งเหมาะจะใช้ในกรณีการจอดรถในห้าง หรือริมถนนมาก

ตำแหน่ง D (Drive)

ตำแหน่ง D (Drive) หรือ เกียร์ขับ

เมื่อเราทำการเปลี่ยนเกียร์มาที่ D แล้ว รถจะไหลไปอย่างช้า เมื่อคุณเหยียบคันเร่ง รถจะเริ่มทำความเร็ว แล้วเปลี่ยนเกียร์ไปตามรอบเครื่องให้เองโดยอัตโนมัติ เริ่มตั้งแต่เกียร์ 1 ไปจนเกียร์ 10 ที่นับว่าเป็นเกียร์ที่สูงสุด ในรถเกียร์อัตโนมัติยุคปัจจุบัน ถือเป็นตำแหน่งเกียร์หลักๆ ในการขับรถไปข้างหน้า

ตำแหน่ง L (Low)

ตำแหน่ง L (Low) ใช้ในการขับรถขึ้น-ลงเนินที่ค่อนข้างชัน

ตำแหน่งเกียร์ L หรือ D2 จะใช้ขับรถขึ้น-ลงทางชัน เช่น ในลานจอดรถ หรือทางขึ้น-ลง ภูเขา เป็นต้น ซึ่งรถจะไม่มีการปรับอัตราทดเกียร์ให้ หรือเวลาที่ต้องการแรงเบรกจากเครื่องยนต์

ตำแหน่ง S (Sport) หรือ B (Brake)

ตำแหน่ง S (Sport) หรือ B (Brake) อันนี้หลายคนอาจไม่คุ้นเคย เพราะมีมาไม่นานนี้ สำหรับตำแหน่ง S ไว้ใช้สำหรับเร่งแซง ลากรอบได้สูง และในส่วนของ B นั้น ใช้เพื่อขับรถขึ้น-ลงทางชัน การทำงานเหมือนกับเกียร์ L ครับ

How-To-Use-Automatic-Transmission

เป็นยังไงบ้างครับ สำหรับรายละเอียดของตำแห่งเกียร์ที่ทาง Mr.Carro นำมาอธิบายในครั้งนี้ ซึ่งในครั้งหน้า เราจะขอนำเสนอเกี่ยวกับรายละเอียดต่างๆ ของรถยนต์เกียร์อัตโนมัติกันเพิ่มเติมครับ

ถ้าคุณตัดสินใจอยากขายรถคันเดิม เพื่อไปซื้อรถคันใหม่ หรือรับเป็นเงินก้อนไปใช้ สามารถขายรถคันเดิมกับ Carro ได้ ง่ายๆ ได้เงินไว! กับ Carro Express เพียงแค่คลิก https://th.carro.co/sell-car/express หรือสามารถ Inbox มาขอรายละเอียดได้ที่ Facebook Carro Thailand

หรือจะ Add Line สอบถามรายละเอียดได้ที่ @Carrothailand หรือคลิกที่นี่ครับ —> เพิ่มเพื่อน