King-Rama-9-Royal-Car

ยุคเริ่มแรกของรถยนต์ในโลกและในประเทศไทยเมื่อหนึ่งร้อยกว่าปีที่แล้ว มาพร้อมกับช่วงที่พระราชวงศ์ไทยได้ไปศึกษาต่อในประเทศแถบยุโรป ซึ่งเวลานั้น มีบริษัทรถยนต์ในยุโรปและอเมริกาเหนือ เกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก โดยพระราชวงศ์หลายพระองค์ ต่างก็สนพระทัยในรถยนต์ จวบจนรถยนต์คันแรก ได้ถูกนำเข้ามาในสมัยรัชกาลที่ 5 และเริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นในรัชกาลต่อมา

King-Rama-9

ล่วงมาจนถึงยุคของ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในหลวงรัชกาลที่ 9 ครั้งยังทรงพระเยาว์ มีโอกาสได้ไปศึกษาต่อ ณ เมืองโลซาน สวิตเซอร์แลนด์ มีแรงบันดาลพระทัยมาจาก สมเด็จพระบรมราชชนนี ทรงนิยมท่องเที่ยวโดยรถยนต์ในภูมิประเทศแถบที่ประทับ และได้มีโอกาสเรียนรู้วิทยาการต่างๆ ของชาวตะวันตกมากมาย รวมไปถึงด้านรถยนต์ ซึ่งเป็นสิ่งที่พระองค์ทรงให้ความสนใจมาตั้งแต่ทรงพระเยาว์

ตลอดรัชสมัยอันยาวนาน มีรถยนต์ยอดเยี่ยมของโลกหลายรุ่น ได้รับใช้พระเจ้าแผ่นดินของปวงชนชาวไทย.

Fiat-500-Topolino

Fiat Topolino

เมื่อทรงเจริญพระชันษา ได้ทรงขอพระราชทานอนุญาตจากสมเด็จพระราชชนนี เพื่อทรงซื้อ Fiat 500 “Topolino” (ชื่อ “Topolino” ในภาษาอิตาลี หมายถึง “Micky Mouse” หรือ หนูตัวเล็ก ในภาษาอังกฤษ) เพราะ “ดู ตลก และน่ารักดี” เป็นรถประเทศอิตาลี มีเครื่องยนต์ขนาด 500 ซีซี 4 สูบ 13 แรงม้า ส่งกำลังผ่านเกียร์ธรรมดา 4 สปีด ทำความเร็วได้สูงสุด 85 กม./ชม.

โดยมี พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพีระพงศ์ภาณุเดช นักแข่งเจ้าดาราทอง ผู้มีชื่อเสียงทั่วยุโรปมาตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง ถวายการฝึกหัดขับรถ

เมื่อวันจันทร์ที่ 4 ตุลาคม 2491 เกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันขึ้น เมื่อรถยนต์ตอนเดียวเล็กๆ คันหนึ่ง แล่นอย่างรวดเร็วตามถนนผ่านเมืองมอร์จ (Morges) มุ่งสู่ นครเจนีวา (Geneva) โดยผู้ขับมิได้คาดการณ์ว่า รถบรรทุกที่อยู่ข้างหน้าจะหยุดอย่างกะทันหันเพื่อมิให้ชนผู้ขี่จักรยานสองคนบนถนน แม้ผู้ขับรถยนต์คันเล็กจะเหยียบห้ามล้อแล้ว รถยนต์คันเล็กก็ปะทะท้ายรถบรรทุกเข้าอย่างจัง ผู้ขับรถยนต์คันเล็กนั้นคือ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งทรงได้รับบาดแผลฉกรรจ์ที่พระเนตรข้างขวา ผู้โดยเสด็จในรถพระที่นั่งคือ นายอร่าม รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ ได้รับบาดเจ็บกะโหลกศีรษะร้าว

หลังจากนั้น รถที่ทรงโปรดในเวลาต่อมา ก็จะเป็นรถยี่ห้อ Delahaye จัดว่าเป็นรถยนต์สมรรถนะสูง ของประเทศฝรั่งเศส ที่ก่อตั้งขึ้นโดย Émile Delahaye ในปี 1894

Delahaye-GFA-135M-Convertible

Delahaye G.F.A. 135 M Convertible

Delahaye G.F.A. 135 M Convertible ปี 1952 ตัวถังผลิตโดย Henri Chapron ตัวรถผลิตโดย Société Des Automobiles Delahaye (G.F.A. ย่อมาจาก Groupe Français de l’Automobile)

ตัวถังแบบเปิดประทุน หมายเลขตัวถัง 801401 ส่วนเครื่องยนต์ (หมายเลขเครื่องยนต์ แอนน์ 6787) 6 สูบ 3 คาร์บูเรเตอร์ ถ่ายทอดกำลังผ่านเกียร์ไฟฟ้า 4 สปีด มีตัวควบคุมการเดินหน้าถอยหลัง ใช้ยาง Firestone ขนาด 6.00 X 17

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงซื้อในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ แล้วส่งมายังประเทศไทยในภายหลัง ป้ายทะเบียน ก.ท.ด. 0008

Delahaye-GFA-178

Delahaye G.F.A. 178

Delahaye G.F.A. 178 ปี 1952 (วันที่ซื้อ คือ : 18/4/95) ตัวถังผลิตโดย Henri Chapron ตัวรถผลิตโดย Société Des Automobiles Delahaye

ตัวถังแบบ Saloon หมายเลขตัวถัง 820029 ส่วนเครื่องยนต์ รหัส 2AL-183 6 สูบ 3 คาร์บูเรเตอร์ ถ่ายทอดกำลังผ่านเกียร์ไฟฟ้า 4 สปีด มีตัวควบคุมการเดินหน้าถอยหลัง ใช้ยาง Dunlop ขนาด 6.00/6.50 X 18

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงใช้ตั้งแต่ประทับอยู่ที่เมือง Lausanne ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ป้ายทะเบียน 1ด-0009 กรุงเทพมหานคร

Delahaye-GFA-178-Wagon

Delahaye G.F.A. 178

Delahaye G.F.A. 178 ปี 1952 (วันที่บนแผงหน้าปัด คือ : 25/2/96) ตัวถังผลิตโดย Henri Chapron ตัวรถผลิตโดย Société Des Automobiles Delahaye

ตัวถังแบบ Saloon (ต่อมาถูกดัดแปลงเป็นตัวถัง Station Wagon โดย บริษัท ไทยประดิษฐ์ จำกัด โดยมี Sunroof บนหลังคา) หมายเลขตัวถัง 820038 ส่วนเครื่องยนต์ (หมายเลขเครื่องยนต์ 820038) รหัส 1AL-183 6 สูบ คาร์บูเรเตอร์เดี่ยว ถ่ายทอดกำลังผ่านเกียร์ 4 สปีด ใช้ยาง Dunlop ขนาด 6.00/6.50 X 18

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงใช้ตั้งแต่ประทับอยู่ที่เมือง Lausanne ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ป้ายทะเบียน ก.ท.ด. 0009

Delahaye-180

Delahaye G.F.A. 180

Delahaye G.F.A. 180 ปี 1953 ตัวถังผลิตโดย Henri Chapron (หมายเลขตัวถัง 6961) ตัวรถผลิตโดย Société Des Automobiles Delahaye

ผลิตเมื่อปี 2496 ตัวถังแบบลีมูซีน (หมายเลขแชสซีส์ 825018) มีหน้าต่างกระจกกั้นพระที่นั่งตอนหน้า และตอนหลัง กระจกหน้าต่างแบบไฮดรอลิก และหน้าต่างรับแดด (ซันรูฟ) บนหลังคา จุดระเบิดด้วยคอยล์ ส่งกำลังผ่านเกียร์ 4 สปีด

ผู้ซื้อคือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

Delahaye-VRLD

Delahaye VLR

Delahaye VLR (ย่อมาจาก Véhicule léger de Reconnaissance Delahaye) ปี 1953 รถผลิตโดย Société Des Automobiles Delahaye เมื่อปี 2496 (วันที่บนแผงหน้าปัด คือ : 24/9/96) ตัวถังแบบรถจี้ป (หมายเลขแชสซีส์ 836206)

พวงมาลัยซ้าย เครื่องยนต์เบนซิน 4 สูบ (หมายเลขเครื่อง 57939) ใช้ระบบไฟฟ้า 24 โวลท์ และหล่อลื่นแบบอ่างแห้ง ส่งกำลังผ่านเกียร์ 4 สปีด พร้อมเกียร์ Low และระบบขับเคลื่อนสี่ล้อ ใช้ยาง Goodyear ขนาด 7.00 X 16

ผู้ซื้อคือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ปัจจุบันติดป้ายทะเบียน กงจักร 0002

Amilcar-CO

Amilcar CO

Amilcar CO (รถเปิดประทุน) ผลิตโดย Atelier et Générale Carrosserie, Paris. ตามแบบของ Farina (หมายเลขแชสซีส์ Dans La Series 11041)

ผลิตในปี 2470 นับเป็นหนึ่งในจำนวนรถอนุกรม C6 Cruiser ซึ่งเริ่มการผลิตเป็นครั้งแรกเมื่อ ปี 2469 และเป็นหนึ่งในจำนวนรถแข่งเพียงไม่กี่คัน ที่ได้รับการบรรจุเข้าสู่สายการผลิต ตัวถังเปลี่ยนเป็นแบบดังที่ปรากฎเมื่อปี 2490 ขับเคลื่อนด้วยกำลังของเครื่องยนต์ Simca-เดอโอ 4 สูบ 1100 ซีซี รุ่นปี 2489 (หมายเลขเครื่อง 90025) ส่งกำลังผ่านเกียร์ไฟฟ้า 4 สปีด ใช้ยาง Michelin ขนาด 4.75/500-19

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงซื้อรถคันนี้ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์

Mercedes-Benz-300-SL-(W198)

Mercedes-Benz 300 SL (W198) “Gullwing Coupe”

Mercedes-Benz 300 SL (W198) “Gullwing Coupe” ปี 1955 ทะเบียน 1ด-0010 กรุงเทพมหานคร (ปัจจุบัน ทะเบียน 1ด-1110 กรุงเทพมหานคร) ราชยานยนต์หลวงคันนี้ จอมพล ป. พิบูลสงคราม อดีตนายกรัฐมนตรี น้อมเกล้าฯ ถวาย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในปี 2498 และเข้าประจำการเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2498

Mercedes-Benz 300 SL (W198) “Gullwing Coupe” ปัจจุบันมีเพียง 8 คันในประเทศไทย และคันนี้ถือว่ามีสภาพสมบูรณ์ที่สุดในประเทศไทย

Mercedes-Benz-190-SL

Mercedes-Benz 190 SL (W121)

Mercedes-Benz 190 SL (W121) สีน้ำเงิน ที่ในหลวงทรงขับเมื่อคราวเสด็จฯ เยือนยุโรปห้าประเทศ ในปี 2503 ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงใช้ เมื่อคราวเสด็จพระราชดำเนินเยือนยุโรป 5 ประเทศ ในปี 2503 และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นำกลับมาใช้ในประเทศไทย

Daimler-DE36

ส่วนรถยนต์พระที่นั่งหลักในงานราชพิธียุคนั้น จะเป็นรถจากประเทศอังกฤษ ได้แก่ Daimler DE36 ตัวถังโดย Hooper (Couchbuilder) แบบเดียวกับพระราชินีอังกฤษ และผู้นำของนานาประเทศเลือกใช้ นอกจาก Daimler แล้วยังมี Jaguar Mk VII M และ Armstrong Siddeley Sapphire เป็นรถยนต์พระที่นั่งรองด้วย

เมื่อเสด็จนิวัติพระนคร พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้เสด็จออกเยี่ยมพสกนิกรไปทั่วทุกภาค เมื่อเสด็จออกต่างจังหวัด จะทรงใช้รถ Mercedes-Benz 300 แบบเดียวกับที่รู้จักกันดีในชื่อ “เบนซ์ อาเดนนาวเออร์” (Benz Adenauer) ที่ทรงมีครบทุกรุ่น

ในระยะนี้ยังทรงเริ่มสนพระราชหฤทัยรถอเมริกัน ตามยุคสมัยเช่นเดียวกับพระองค์เจ้าพีระฯ ผู้เป็นองค์ที่ปรึกษา ทรงซื้อ Cadillac Fleetwood ปี 1955 ใช้เป็นรถยนต์พระที่นั่งส่วนพระองค์ ภายหลังจึงทรงเลือกใช้รถพระที่นั่งสำหรับเสด็จฯ เยี่ยมราษฎร ที่สามารถลุยเข้าพื้นที่ทุรกันดารได้มากขึ้นอย่าง Jeep และ Land Rover แทนรถยนต์พระที่นั่งแบบ 4 ประตู

แหล่งที่มาบางส่วนจาก:

  • ภาพจาก หนังสือ “เกิดวังปารุสก์” ของสำนักพิมพ์ ริเวอร์ บุ๊คส์
  • ข้อมูลจาก นพ.สมคนึง ตัณฑ์วรกุล และหนังสือ ราชยานยนต์โบราณแห่งสยาม