7-Initials-Of-Car-Brand-Name

ที่มาของแบรนด์ยี่ห้อรถยนต์นั้น บางแบรนด์อาจจะมีประวัติเก่าแก่มาก ทำธุรกิจสืบทอดยาวนานตั้งแต่ก่อนจะมาผลิตรถยนต์ขายด้วยซ้ำไป รถหลายยี่ห้อ อาจจะใช้นามสกุลของผู้ก่อตั้ง หรือชื่อสถานที่ มาใช้เป็นยี่ห้อตัวเอง เพื่อเป็นเกียรติประวัติของตระกูลนั้นๆ หรือสถานที่นั้นๆ ในการกำเนิดในโลกยานยนต์

แต่หลายยี่ห้อก็อาจจะเลือกใช้อักษรย่อ มาตั้งเป็นชื่อยี่ห้อรถของตัวเอง บางแบรนด์ก็เป็นที่ติดหูของคนเล่นรถใช้รถทั่วโลก แต่น้อยคนนักที่จะทราบว่า ชื่อย่อของรถยี่ห้อเนี้ย มันหมายความว่าอะไร

Mr.Carro จะมาเล่าให้ฟังถึงรายละเอียด ของชื่อย่อยี่ห้อรถแต่ละเจ้าครับ ว่ามีที่มาจากอะไร …

1. BMW

BMW-Series-3-2019

สำหรับ BMW (บีเอ็มดับเบิลยู) ที่คนไทยเรียกกันติดปากว่า “บีเอ็มฯ” แต่คนเยอรมนีเรียกกันว่า “เบเอ็มเว” มีที่มาจากคำในภาษาเยอรมันที่ว่า “Bayerische Motoren Werke” หรือ “Bavarian Motor Works” ในภาษาอังกฤษ หมายถึง กลุ่มกรรมกรยานยนต์แห่งแคว้นบาวาเรีย

ซึ่งเป็นการรวมตัวกันระหว่างบริษัท Rapp Motorenwerke โดย Carl Rapp และ Max Friz วิศวกรเครื่องกลชาวเยอรมัน กับ Fahrzeugfabrik Eisenach แห่งแคว้นทือริงเงิน (Thuringen) ถือกำเนิดขึ้นเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2516 โดยตั้งชื่อบริษัทว่า Bayerische Flugzeugwerke AG แต่ในปี 1918 ก็เปลี่ยนชื่อบริษัทแบบที่ใช้มาจนถึงปัจจุบัน และมีที่ตั้งอยู่ในนครมิวนิค

BMW เริ่มต้นธุรกิจการผลิตใบพัดเครื่องบินในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ส่วนโลโก้สีฟ้า-ขาว ที่มาของสัญลักษณ์ดังกล่าวนี้คือลักษณะการหมุนของใบพัดเครื่องบิน แต่ในส่วนของสีฟ้าและสีขาว มาจากสีประจำแคว้นบาวาเรียครับ

2. FIAT

FIAT

รถ FIAT (เฟียต) ที่รู้ไทยรู้จักกันมานานแล้วจนเรียกกันติดปาก แท้จริงแล้วมาจาก คำย่อเต็มๆ ของ “Fabbrica Italiana Automobili Torino” ในภาษาอิตาลี หรือในภาษาอังกฤษเรียกว่า Italian Automobiles Factory, Turin

FIAT ได้ถูกก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 1899 โดย Giovanni Agnelli (จีโอวานนี่ อักเนลลี) ร่วมกับนักลงทุนอีกหลายคน ปัจจุบัน FIAT มีแบรนด์รถยนต์ในเครือมากมาย อาทิ FIAT, Ferratri, Alfa Romeo, Maserati, Abarth และยังควบรวมกิจการของ Chrysler, Dodge กับ Jeep มาไว้ในมืออีกด้วย ในชื่อ FCA (Fiat Chrysler Automobiles)

พร้อมกับธุรกิจอื่นอีก เช่น รถบรรทุก, อุปกรณ์การเกษตร, อุปกรณ์ก่อสร้าง, การเงิน, สื่อสิ่งพิมพ์ และอุตสาหกรรมเหล็ก เป็นต้น และตระกูล Agnelli ตอนนี้ยังเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ของทีมฟุตบอล Juventus (ยูเวนตุส) อีกด้วย

3. MG

MG-ZS-EV

MG (เอ็มจี) รถยี่ห้อเก่าแก่ชื่อดัง ของอังกฤษ (แต่ปัจจุบันมีสัญชาติจีนไปซะแล้ว) ซึ่ง “MG” นั้นย่อมาจาก Morris Garages เป็นชื่ออู่ซ่อมรถของ William Richard Morris (วิลเลี่ยม ริชาร์ด มอร์ริส) ผู้ก่อตั้งแบรนด์รถยนต์ยี่ห้อนี้ในปี 1924 ตั้งอยู่บนถนนลองวอลล์ เมืองออกซ์ฟอร์ด ประเทศอังกฤษ

นับจากนั้นรถ MG ก็ถูกเปลี่ยนเจ้าของหลายครั้ง จาก Morris มาสู่ British Motor Corporation, British Motor Holdings, British Leyland, Rover Group, British Aerospace, BMW, MG Rover Group ในปี 2005 จึงถูกซื้อโดยบริษัทจีน Nanjing Automobile Group (ซึ่งต่อมารวมเข้ากับ SAIC – Shanghai Automotive Industry Corporation ในปี 2008 ทำให้ปัจจุบัน MG เป็นของ SAIC)

ซึ่ง MG ในบ้านเรา เป็นการร่วมมือกันระหว่าง บริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) และทาง SAIC ผลิตรถ MG ขายในประเทศไทย พร้อมกับเป็นฐานส่งออกไปยังประเทศที่ใช้รถพวงมาลัยขวาด้วย

4. MAN

MAN

รถบรรทุก รถบัส “MAN” (เอ็มเอเอ็น) ที่สิงห์รถรรทุกรู้จักกันดี กับชื่อที่เรียก “แมน” กันจนติดปาก เป็นรถบรรทุกสัญชาติเยอรมนีที่ถือกำเนิดขึ้นเมื่อ 1758 ในช่วงการปฏิวัติอุตสาหกรรมในยุโรป โดย MAN SE (หรือ MAN Truck & Bus) ตอนนี้ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของ Volkswagen AG มีสำนักงานใหญ่อยู่ในนครมิวนิค ประเทศเยอรมนี

คำว่า “MAN” นั้นย่อมาจากภาษาเยอรมันที่ว่า “Maschinenfabrik Augsburg-Nurnberg” หรือคำว่า “Machine Works of Augsburg and Nürnberg, Truck Manufacturer” ในภาษาอังกฤษ

5. UD Trucks

UD-Trucks

UD Trucks (ยูดี ทรัคส์) เป็นยี่ห้อรถอีกยี่ห้อหนึ่งที่หลายคนรู้จักกันดี นับตั้งแต่ยุคที่เป็น Nissan Diesel ถูกก่อตั้งขึ้นโดย Kenzo Adachi (เคนโซ่ อาดาชิ) เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 1935 ในชื่อบริษัท Nihon Diesel Industries, Ltd. มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่อาเกโอะ เมืองไซตามะ ประเทศญี่ปุ่น

ในปี 1960 เปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น “Nissan Diesel” (นิสสัน ดีเซล) ก่อนจะถูกขายกิจการ ควบรวมเป็นส่วนหนึ่งของ AB Volvo (หรือ Volvo Trucks) 100% นับตั้งแต่ปี 2007 เป็นต้นมา

สำหรับคำว่า “UD Trucks” แต่เดิม “UD” นั้นหมายถึง “Uniflow Diesel” (เครื่องยนต์ดีเซลแบบ 2 จังหวะ) ที่พัฒนาขึ้นในปี 1955 แต่ต่อมาได้พัฒนาไปในความหมายที่ว่า “Ultimate Dependability” หรือ “ความไว้วางใจสูงสุด”

6. GMC

GMC

รถ “GMC” ชื่อมีชื่อเสียงในไทยมานานมาก ในรูปแบบรถกระบะ รถบรรทุกอเมริกันคันโต มีชื่อเต็มๆ ว่า “General Motors Company” หรือ บริษัท เจเนอรัล มอเตอร์ ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ยี่ห้อนี้นั่นเอง

ยี่ห้อ GMC ก่อตั้งขึ้นเมื่อ 22 กรกฎาคม 1911 ปัจจุบันเน้นการผลิตเฉพาะรถประเภทกระบะ รถ SUV และรถตู้ เป็นต้น

7. FAW

FAW

ช่วงนี้ของจีนๆ กำลังมาแรง อย่างรถบรรทุก FAW (เอฟเอดับบลิว) ที่หลายคนคงเคยเห็นกัน ซึ่ง FAW ถือกำเนิดขึ้นในวันที่ 15 กรกฎาคม 1953 ที่สาธารณรัฐประชาชนจีน ถือเป็นบริษัทรถยนต์ของรัฐบริษัทแรก ที่เกิดขึ้นตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 ของจีนในปี 1953 เริ่มต้นผลิตรถบรรทุกที่ได้เทคโนโลยีมาจากสหภาพโซเวียต ปัจจุบันเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ของรถยนต์, รถบรรทุก, รถโดยสาร และรถโค้ช

สำหรับชื่อ “FAW” นั้นย่อมาจาก “First Automobile Works” ครับ

ถ้าคุณตัดสินใจอยากขายรถคันเดิม เพื่อไปซื้อรถคันใหม่ หรือรับเป็นเงินก้อนไปใช้ สามารถขายรถคันเดิมกับ Carro ได้ ง่ายๆ ได้เงินไว! กับ Carro Express เพียงแค่คลิก https://th.carro.co/sell-car/express หรือสามารถ Inbox มาขอรายละเอียดได้ที่ Facebook Carro Thailand

หรือจะ Add Line สอบถามรายละเอียดได้ที่ @Carrothailand หรือคลิกที่นี่ครับ —> เพิ่มเพื่อน

King-Rama-9-Royal-Car

ยุคเริ่มแรกของรถยนต์ในโลกและในประเทศไทยเมื่อหนึ่งร้อยกว่าปีที่แล้ว มาพร้อมกับช่วงที่พระราชวงศ์ไทยได้ไปศึกษาต่อในประเทศแถบยุโรป ซึ่งเวลานั้น มีบริษัทรถยนต์ในยุโรปและอเมริกาเหนือ เกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก โดยพระราชวงศ์หลายพระองค์ ต่างก็สนพระทัยในรถยนต์ จวบจนรถยนต์คันแรก ได้ถูกนำเข้ามาในสมัยรัชกาลที่ 5 และเริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นในรัชกาลต่อมา

King-Rama-9

ล่วงมาจนถึงยุคของ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในหลวงรัชกาลที่ 9 ครั้งยังทรงพระเยาว์ มีโอกาสได้ไปศึกษาต่อ ณ เมืองโลซาน สวิตเซอร์แลนด์ มีแรงบันดาลพระทัยมาจาก สมเด็จพระบรมราชชนนี ทรงนิยมท่องเที่ยวโดยรถยนต์ในภูมิประเทศแถบที่ประทับ และได้มีโอกาสเรียนรู้วิทยาการต่างๆ ของชาวตะวันตกมากมาย รวมไปถึงด้านรถยนต์ ซึ่งเป็นสิ่งที่พระองค์ทรงให้ความสนใจมาตั้งแต่ทรงพระเยาว์

ตลอดรัชสมัยอันยาวนาน มีรถยนต์ยอดเยี่ยมของโลกหลายรุ่น ได้รับใช้พระเจ้าแผ่นดินของปวงชนชาวไทย.

Fiat-500-Topolino

Fiat Topolino

เมื่อทรงเจริญพระชันษา ได้ทรงขอพระราชทานอนุญาตจากสมเด็จพระราชชนนี เพื่อทรงซื้อ Fiat 500 “Topolino” (ชื่อ “Topolino” ในภาษาอิตาลี หมายถึง “Micky Mouse” หรือ หนูตัวเล็ก ในภาษาอังกฤษ) เพราะ “ดู ตลก และน่ารักดี” เป็นรถประเทศอิตาลี มีเครื่องยนต์ขนาด 500 ซีซี 4 สูบ 13 แรงม้า ส่งกำลังผ่านเกียร์ธรรมดา 4 สปีด ทำความเร็วได้สูงสุด 85 กม./ชม.

โดยมี พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพีระพงศ์ภาณุเดช นักแข่งเจ้าดาราทอง ผู้มีชื่อเสียงทั่วยุโรปมาตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง ถวายการฝึกหัดขับรถ

เมื่อวันจันทร์ที่ 4 ตุลาคม 2491 เกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันขึ้น เมื่อรถยนต์ตอนเดียวเล็กๆ คันหนึ่ง แล่นอย่างรวดเร็วตามถนนผ่านเมืองมอร์จ (Morges) มุ่งสู่ นครเจนีวา (Geneva) โดยผู้ขับมิได้คาดการณ์ว่า รถบรรทุกที่อยู่ข้างหน้าจะหยุดอย่างกะทันหันเพื่อมิให้ชนผู้ขี่จักรยานสองคนบนถนน แม้ผู้ขับรถยนต์คันเล็กจะเหยียบห้ามล้อแล้ว รถยนต์คันเล็กก็ปะทะท้ายรถบรรทุกเข้าอย่างจัง ผู้ขับรถยนต์คันเล็กนั้นคือ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งทรงได้รับบาดแผลฉกรรจ์ที่พระเนตรข้างขวา ผู้โดยเสด็จในรถพระที่นั่งคือ นายอร่าม รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ ได้รับบาดเจ็บกะโหลกศีรษะร้าว

หลังจากนั้น รถที่ทรงโปรดในเวลาต่อมา ก็จะเป็นรถยี่ห้อ Delahaye จัดว่าเป็นรถยนต์สมรรถนะสูง ของประเทศฝรั่งเศส ที่ก่อตั้งขึ้นโดย Émile Delahaye ในปี 1894

Delahaye-GFA-135M-Convertible

Delahaye G.F.A. 135 M Convertible

Delahaye G.F.A. 135 M Convertible ปี 1952 ตัวถังผลิตโดย Henri Chapron ตัวรถผลิตโดย Société Des Automobiles Delahaye (G.F.A. ย่อมาจาก Groupe Français de l’Automobile)

ตัวถังแบบเปิดประทุน หมายเลขตัวถัง 801401 ส่วนเครื่องยนต์ (หมายเลขเครื่องยนต์ แอนน์ 6787) 6 สูบ 3 คาร์บูเรเตอร์ ถ่ายทอดกำลังผ่านเกียร์ไฟฟ้า 4 สปีด มีตัวควบคุมการเดินหน้าถอยหลัง ใช้ยาง Firestone ขนาด 6.00 X 17

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงซื้อในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ แล้วส่งมายังประเทศไทยในภายหลัง ป้ายทะเบียน ก.ท.ด. 0008

Delahaye-GFA-178

Delahaye G.F.A. 178

Delahaye G.F.A. 178 ปี 1952 (วันที่ซื้อ คือ : 18/4/95) ตัวถังผลิตโดย Henri Chapron ตัวรถผลิตโดย Société Des Automobiles Delahaye

ตัวถังแบบ Saloon หมายเลขตัวถัง 820029 ส่วนเครื่องยนต์ รหัส 2AL-183 6 สูบ 3 คาร์บูเรเตอร์ ถ่ายทอดกำลังผ่านเกียร์ไฟฟ้า 4 สปีด มีตัวควบคุมการเดินหน้าถอยหลัง ใช้ยาง Dunlop ขนาด 6.00/6.50 X 18

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงใช้ตั้งแต่ประทับอยู่ที่เมือง Lausanne ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ป้ายทะเบียน 1ด-0009 กรุงเทพมหานคร

Delahaye-GFA-178-Wagon

Delahaye G.F.A. 178

Delahaye G.F.A. 178 ปี 1952 (วันที่บนแผงหน้าปัด คือ : 25/2/96) ตัวถังผลิตโดย Henri Chapron ตัวรถผลิตโดย Société Des Automobiles Delahaye

ตัวถังแบบ Saloon (ต่อมาถูกดัดแปลงเป็นตัวถัง Station Wagon โดย บริษัท ไทยประดิษฐ์ จำกัด โดยมี Sunroof บนหลังคา) หมายเลขตัวถัง 820038 ส่วนเครื่องยนต์ (หมายเลขเครื่องยนต์ 820038) รหัส 1AL-183 6 สูบ คาร์บูเรเตอร์เดี่ยว ถ่ายทอดกำลังผ่านเกียร์ 4 สปีด ใช้ยาง Dunlop ขนาด 6.00/6.50 X 18

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงใช้ตั้งแต่ประทับอยู่ที่เมือง Lausanne ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ป้ายทะเบียน ก.ท.ด. 0009

Delahaye-180

Delahaye G.F.A. 180

Delahaye G.F.A. 180 ปี 1953 ตัวถังผลิตโดย Henri Chapron (หมายเลขตัวถัง 6961) ตัวรถผลิตโดย Société Des Automobiles Delahaye

ผลิตเมื่อปี 2496 ตัวถังแบบลีมูซีน (หมายเลขแชสซีส์ 825018) มีหน้าต่างกระจกกั้นพระที่นั่งตอนหน้า และตอนหลัง กระจกหน้าต่างแบบไฮดรอลิก และหน้าต่างรับแดด (ซันรูฟ) บนหลังคา จุดระเบิดด้วยคอยล์ ส่งกำลังผ่านเกียร์ 4 สปีด

ผู้ซื้อคือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

Delahaye-VRLD

Delahaye VLR

Delahaye VLR (ย่อมาจาก Véhicule léger de Reconnaissance Delahaye) ปี 1953 รถผลิตโดย Société Des Automobiles Delahaye เมื่อปี 2496 (วันที่บนแผงหน้าปัด คือ : 24/9/96) ตัวถังแบบรถจี้ป (หมายเลขแชสซีส์ 836206)

พวงมาลัยซ้าย เครื่องยนต์เบนซิน 4 สูบ (หมายเลขเครื่อง 57939) ใช้ระบบไฟฟ้า 24 โวลท์ และหล่อลื่นแบบอ่างแห้ง ส่งกำลังผ่านเกียร์ 4 สปีด พร้อมเกียร์ Low และระบบขับเคลื่อนสี่ล้อ ใช้ยาง Goodyear ขนาด 7.00 X 16

ผู้ซื้อคือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ปัจจุบันติดป้ายทะเบียน กงจักร 0002

Amilcar-CO

Amilcar CO

Amilcar CO (รถเปิดประทุน) ผลิตโดย Atelier et Générale Carrosserie, Paris. ตามแบบของ Farina (หมายเลขแชสซีส์ Dans La Series 11041)

ผลิตในปี 2470 นับเป็นหนึ่งในจำนวนรถอนุกรม C6 Cruiser ซึ่งเริ่มการผลิตเป็นครั้งแรกเมื่อ ปี 2469 และเป็นหนึ่งในจำนวนรถแข่งเพียงไม่กี่คัน ที่ได้รับการบรรจุเข้าสู่สายการผลิต ตัวถังเปลี่ยนเป็นแบบดังที่ปรากฎเมื่อปี 2490 ขับเคลื่อนด้วยกำลังของเครื่องยนต์ Simca-เดอโอ 4 สูบ 1100 ซีซี รุ่นปี 2489 (หมายเลขเครื่อง 90025) ส่งกำลังผ่านเกียร์ไฟฟ้า 4 สปีด ใช้ยาง Michelin ขนาด 4.75/500-19

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงซื้อรถคันนี้ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์

Mercedes-Benz-300-SL-(W198)

Mercedes-Benz 300 SL (W198) “Gullwing Coupe”

Mercedes-Benz 300 SL (W198) “Gullwing Coupe” ปี 1955 ทะเบียน 1ด-0010 กรุงเทพมหานคร (ปัจจุบัน ทะเบียน 1ด-1110 กรุงเทพมหานคร) ราชยานยนต์หลวงคันนี้ จอมพล ป. พิบูลสงคราม อดีตนายกรัฐมนตรี น้อมเกล้าฯ ถวาย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในปี 2498 และเข้าประจำการเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2498

Mercedes-Benz 300 SL (W198) “Gullwing Coupe” ปัจจุบันมีเพียง 8 คันในประเทศไทย และคันนี้ถือว่ามีสภาพสมบูรณ์ที่สุดในประเทศไทย

Mercedes-Benz-190-SL

Mercedes-Benz 190 SL (W121)

Mercedes-Benz 190 SL (W121) สีน้ำเงิน ที่ในหลวงทรงขับเมื่อคราวเสด็จฯ เยือนยุโรปห้าประเทศ ในปี 2503 ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงใช้ เมื่อคราวเสด็จพระราชดำเนินเยือนยุโรป 5 ประเทศ ในปี 2503 และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นำกลับมาใช้ในประเทศไทย

Daimler-DE36

ส่วนรถยนต์พระที่นั่งหลักในงานราชพิธียุคนั้น จะเป็นรถจากประเทศอังกฤษ ได้แก่ Daimler DE36 ตัวถังโดย Hooper (Couchbuilder) แบบเดียวกับพระราชินีอังกฤษ และผู้นำของนานาประเทศเลือกใช้ นอกจาก Daimler แล้วยังมี Jaguar Mk VII M และ Armstrong Siddeley Sapphire เป็นรถยนต์พระที่นั่งรองด้วย

เมื่อเสด็จนิวัติพระนคร พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้เสด็จออกเยี่ยมพสกนิกรไปทั่วทุกภาค เมื่อเสด็จออกต่างจังหวัด จะทรงใช้รถ Mercedes-Benz 300 แบบเดียวกับที่รู้จักกันดีในชื่อ “เบนซ์ อาเดนนาวเออร์” (Benz Adenauer) ที่ทรงมีครบทุกรุ่น

ในระยะนี้ยังทรงเริ่มสนพระราชหฤทัยรถอเมริกัน ตามยุคสมัยเช่นเดียวกับพระองค์เจ้าพีระฯ ผู้เป็นองค์ที่ปรึกษา ทรงซื้อ Cadillac Fleetwood ปี 1955 ใช้เป็นรถยนต์พระที่นั่งส่วนพระองค์ ภายหลังจึงทรงเลือกใช้รถพระที่นั่งสำหรับเสด็จฯ เยี่ยมราษฎร ที่สามารถลุยเข้าพื้นที่ทุรกันดารได้มากขึ้นอย่าง Jeep และ Land Rover แทนรถยนต์พระที่นั่งแบบ 4 ประตู

แหล่งที่มาบางส่วนจาก:

  • ภาพจาก หนังสือ “เกิดวังปารุสก์” ของสำนักพิมพ์ ริเวอร์ บุ๊คส์
  • ข้อมูลจาก นพ.สมคนึง ตัณฑ์วรกุล และหนังสือ ราชยานยนต์โบราณแห่งสยาม