Oil-Additive-Drama

เมฆ-มังกรบิน

จากกรณีของ “เมฆ มังกรบิน” ที่ออกมาท้าจะเผารถยนต์หรูของตัวเอง หาก “ผลิตภัณฑ์หัวเชื้อน้ำมันเครื่อง” ไม่ได้คุณภาพจริง โดยก่อนหน้านี้ได้ประกาศปิดโรงงาน จนเป็นกระแสสังคมที่ตอนนี้กำลังจับตามองกัน รวมไปถึงผลิตภัณฑ์ที่ “เมฆ มังกรบิน” ทำขายอยู่ในตอนนี้ด้วย

เมฆ-มังกรบิน

อีกฝั่งหนึ่ง ทางมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จ.นครราชสีมา ออกแถลงการณ์ระบุว่า มีข้อความกล่าวอ้างว่า มีการนำผลิตภัณฑ์หัวเชื้อน้ำมันเครื่องที่ช่วยเคลือบป้องกันการสึกหรอ และช่วยเพิ่มความแรงของเครื่องยนต์ มาเข้าห้องแล็ปเพื่อทดสอบที่ ม.สุรนารี พร้อมกับมีใบรับรองว่าผลิตภัณฑ์ได้รับการทดสอบ โดยยืนยันว่ามหาวิทยาลัยไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ต่อการกล้าวอ้างเพื่อโฆษณาผลิตภัณฑ์ และขอให้ยุติคำกล่าวอ้าง

Oil-Addictive

ทำให้กลายเป็นดราม่าและถกเถียงกันขึ้นในกลุ่มของคนใช้รถ ว่า หัวเชื้อน้ำมันเครื่อง (Oil Additives) ดี หรือ ไม่ดี ? น่าใช้ หรือ ไม่น่าใช้ ?

Oil-Lubricant

การเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง ในแต่ละครั้ง ต้องเป็นไปตามที่ระบุไว้อยู่ในคู่มือการใช้รถ เพื่อประสิทธิภาพของเครื่องยนต์คงทนทานและใช้ได้ยาวนาน ซึ่งตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา มักจะมีโฆษณาผลิตภัณฑ์หัวเชื้อน้ำมันเครื่องยี่ห้อต่างๆ บ้างก็ว่าใส่เครื่องยนต์แล้วจะทนทาน ประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงขึ้น เครื่องยนต์เดินเรียบขึ้น เป็นต้น

ถ้าหากดีจริง ทางวิศวกรเครื่องยนต์ของบริษัทรถยนต์ต่างๆ คงต้องออกมาเสนอบริษัทรถยนต์ผลิตออกจำหน่าย หรือแนะนำให้ลูกค้าใช้

Engine-Flush

หัวเชื้อน้ำมันเครื่อง ในการเติมใส่เพียงครั้งคราว ก็จะไม่เกิดผลข้างเคียงอะไรมากนัก ช่วงแรกก็อาจรู้สึกได้ว่า รถมันเร่งดีขึ้น ควันลดลง เนื่องจากหัวเชื้อน้ำมันเครื่องบางยี่ห้อ อาจจะมีผสมสารคลอริเนเตท พาราฟิน หรือ คลอรีน ลงไป ซึ่งมีความลื่น แต่พอผสมกับกรีเซอรีน ให้ดูใส จนเป็นหัวเชื้อน้ำมันเครื่อง

เมื่อใส่ไปในเครื่องยนต์นานๆ อาจจะก่อให้เกิดฟรีคลอไรด์ และไฮโดรคลอริค เอซิด (Hydrochloric Acid) ที่จะกัด ยาง ซีล ปะเก็น อลูมิเนียม และเหล็ก คลอรีนทำให้เหนียว และลดการติดไฟ เหลือเป็นยางเหนียวหนืดๆ ในเครื่องยนต์

Engine

หากคุณอยากทดลองใช้ “หัวเชื้อน้ำมันเครื่อง” จริงๆ ก็ควรเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ และเชื่อถือได้ ถ้าจะให้ดีก็ควรจะมีผลการทดสอบยืนยันอย่างชัดเจนครับ ถ้าผลิตแบบใช้คนมานั่งกรอกใส่ขวดในโรงงาน ก็อาจจะเป็นอันตรายต่อเครื่องยนต์ของท่านได้

หากใครใช้แล้วกลัวเครื่องยนต์พัง ก็ถ่ายออกซะ แล้วใช้น้ำยาล้างเครื่องยนต์ (Flushing Oil) ก่อนเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องของใหม่ลงไป

Engine

สุดท้ายนี้ขอบอกว่า การบำรุงรักษาเครื่องยนต์ที่ดี ใช้น้ำมันเครื่องที่มีคุณภาพดี ก็ไม่ต้องพึ่ง “วิตามิน” ที่อาจกลายเป็น “ยาพิษ” สำหรับเครื่องยนต์ได้นะครับ

ขอขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก Phithan-Toyota