3-Tips-To-Choose-Driving-Sunglasses

แม้ว่าประเทศไทยจะอยู่ในเขตเส้นศูนย์สูตร มีแดดร้อนแดดจ้ากันตลอดทั้งปี แต่ในช่วงหน้าร้อนตอนนี้ ก็รู้ๆ กันอยู่ว่าช่วงสายๆ เที่ยงๆ บ่ายๆ โดยเฉพาะช่วงเวลาประมาณ 10.00-16.00 น. บ้านเราแดดแรงเป็นพิเศษ ย่อมส่งผลต่อสายตาของคนเราโดยตรงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากในแสงแดดมีรังสี UV A และรังสี UV B (หรือ Ultraviolet) ซึ่งนอกจากจะเป็นอันตรายต่อผิวพรรณ เกิดมะเร็งผิวหนัง และทำให้สายตาเสื่อมสภาพ เป็นต้อลม ต้องเนื้อ ต้อกระจก ได้เร็วขึ้น

3-Tips-To-Choose-Driving-Sunglasses

ถึงแม้ว่าในรถยนต์รุ่นแพงๆ หลายรุ่น นับตั้งแต่ยุค 2000 เป็นต้นมา กระจกรถยนต์จะผลิตออกมาเป็นแบบ “UV Cut” ซึ่งเป็นกระจกที่ผ่านการ Coding UV (ตัดแสงยูวี) ได้ หรือฟิล์มกรองแสงแพงๆ หลายรุ่น ก็สามารถป้องกันรังสี UV ได้ แต่การที่คุณจำเป็นที่จะต้องขับรถกันทั้งวัน หรือขับรถในช่วงที่ต้องเจอแดดจ้าๆ แยงตาตลอด การเลือกแว่นกันแดดที่เหมาะสม ก็น่าจะช่วยถนอมสายตาของคุณได้ดีมากยิ่งขึ้น

MR. CARRO จะขอแนะนำ 3 วิธี เลือกแว่นกันแดด ที่เหมาะกับสายตาคุณเวลาขับรถ ว่ามีวิธีเลือกได้อย่างไรบ้าง..

3-Tips-To-Choose-Driving-Sunglasses

1. เลือกแว่นกันแดดที่เหมาะสม

ถ้าต้องขับรถเจอแดดจ้าๆ บ่อยๆ ควรเลือกแว่นกันแดด ที่สามารถป้องกันรังสี UV ใยระดับความถี่ 400 Nanometer ได้ ซึ่งเลนส์ควรมีเคลือบสารกรองรังสี UV อาจจะเป็นแบบสีต่างๆ เช่น สีดำ สีเทา สีน้ำตาล สีเขียว สีแดง หรือสีชา ส่วนระดับความเข้ม ก็ขึ้นอยู่กับความต้องการของแต่ละคน

ตามมาตรฐานขององค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา กำหนดไว้ว่า เลนส์แว่นกันแดดที่ดีนั้นควรป้องกันรังสี UV ได้ 95% เป็นอย่างน้อยของ UV A และป้องกันได้ 99% เป็นอย่างน้อยของ UV B

รวมไปถึงการเลือกแบบของแว่นกันแดด ควรเลือกให้เหมาะสมกับรูปหน้าด้วยนะครับ เช่น หน้าทรงกลม ควรเลือกใส่แว่นทรงรี ทรงเหลี่ยม ส่วนคนหน้าเหลี่ยม ควรเลือกใส่แว่นทรงกลม ทรงรี หรือแบบรูปโค้ง ถ้าคนหน้าทรงสามเหลี่ยมตั้ง กรอบแว่นด้านบนแบบกว้างและหนา ส่วนด้านล่างควรเป็นกรอบสี่เหลี่ยมหรือกรอบโลหะ หรือจะเป็นแบบไม่มีกรอบเลยก็ได้

ส่วนรูปหน้าทรงสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด เหมาะกับกรอบแว่นทรงกลม ทรงรี และกรอบแบบที่ไม่มีขอบล่าง แต่หน้ารูปไข่นี้ดีหน่อย สามารถเลือกกรอบแว่นได้ทุกแบบ

แต่เดี๋ยวนี้มีแว่นกันแดดแฟชั่น ที่มีราคาถูกๆ ขายกันมากมายซึ่งผลิตจากวัสดุที่ไม่ได้มาตรฐาน ป้องกันรังสี UV ไม่ได้ และยังทำให้มองเห็นภาพที่ผิดเพี้ยนไปจากเดิมด้วย อีกทั้งยังทำให้เกิดอาการปวดตา ปวดหัวขึ้นมาได้ จึงควรเลือกแว่นกันแดดที่ได้คุณภาพมาตรฐานนะครับ เช่น มีมาตรฐาน CE เป็นต้น

3-Tips-To-Choose-Driving-Sunglasses

2. เลือกเลนส์ที่เหมาะสม

สำหรับแว่นกันแดดในปัจจุบันก็จะมีแบบเลนส์ต่างๆ ให้เลือกในปัจจุบัน นอกจากเลนส์แก้วและเลนส์พลาสติก อาทิ

เลนส์ CR39 เป็นเลนส์ชนิดพลาสติกที่ให้การมองเห็นที่ดี อีกทั้งนำไปย้อมสีเป็นแว่นกันแดดได้ด้วย และให้ภาพไม่หลอกตา ให้ความใสมากที่สุด ไม่เวียนหัว หรือปวดหัว และป้องกันรังสี UV ได้ 100% ทั้ง UV A และ UV B โดยเลนส์ชนิดนี้ ยังนิยมใช้ในเลนส์สายตาสั้น สายตาเอียง อีกด้วย แต่ก็มีน้ำหนักและต้องระวังแตกได้ง่าย

เลนส์ Polarized เป็นเลนส์ที่ตัดแสงแนวนอน (Glare หรือแสงฟรุ้ง) ลดความจ้า และการสะท้อนของแสง จากผิวถนนหรือผิวน้ำ จึงเหมาะสมกับท่านที่ชอบทำกิจกรรมแบบ Outdoor และเหมาะกับผู้ขับรถยนต์ เพราะช่วยลดแสงสะท้อนจากกระจกมองหลัง หรือแสงสะท้อนจากรถยนต์ที่วิ่งสวนมา

เลนส์ Photochromic เป็นเลนส์ใสที่เปลี่ยนสีตามความเข้มของ UV หรือความสว่างสีจะเปลี่ยนจากใสไปเข้ม เมื่ออยู่ในที่สว่างไปสักระยะหนึ่ง เหมาะสำหรับงานที่ใช้ในที่ร่มและกลางแจ้ง

3-Tips-To-Choose-Driving-Sunglasses

3. สีของเลนส์ก็สำคัญ

ถ้าคุณเน้นการขับรถตอนกลางวันเป็นหลัก ควรเลือกแว่นกันแดดที่มีเลนส์สีเทา สีเขียว หรือสีน้ำตาล จะช่วยลดความสว่างจ้าของแสง และยังช่วยให้การมองเห็นเป็นไปตามปกติธรรมชาติ รู้สึกสบายตา ไม่ปวดตา หากขับรถในช่วงที่ท้องฟ้าขมุกขมัวมืดครึ้ม เลนส์สีเหลืองของแว่นจะช่วยลดความสว่างของแสง ทำให้วิสัยทัศน์ในการมองเห็นดีขึ้น

ถ้าคุณต้องการขับรถในตอนกลางคืน อาจจะใช้แว่นกันแดดเพื่อลดแสงไฟจากรถที่สวนมาแยงตา หรือไฟส่องทาง ควรใช้เลนส์สีฟ้าหรือสีเหลือง เนื่องจากเลนส์สีเหล่านี้จะช่วยป้องกันแสงสะท้อนได้

ควรเลือกกรอบแว่นที่แข็งแรงหน่อย กรอบอาจจะโค้งไปทางขมับ ที่เรียก Wraparound ทำให้ป้องกันแสงและลมฝุ่นได้กว้างกว่า และได้จากทุกทิศ และยังป้องกันดวงตาจากการแตกหักเวลาถูกกระแทกได้อีกด้วย ที่สำคัญ ตัวเลนส์ของแว่นต้องได้มาตรฐานด้วยนะครับ

ส่วนใครที่อยากขายรถ หรือมีเพื่อนฝูงกำลังหาที่ขายรถอยู่ CARRO เรารับซื้อรถของคุณ สามารถเข้าไปเช็กราคา ตีราคาขายรถก่อนได้ โดยใส่ข้อมูลรถของคุณที่นี่เลย กับ CARRO Express > https://th.carro.co/sell-car/express หรือโทร. 02-508-8425

หรือใครจะ Inbox มาสอบถามก็ได้เช่นกัน ที่ Facebook CARRO Thailand หรือสะดวก Add Line ก็ที่ @Carrothailand หรือคลิกที่นี่ครับ —> เพิ่มเพื่อน

แหล่งที่มาจาก: