จอดรถ, รถยนต์, ดูแลรถยนต์, วิธี

“จอดรถทิ้งไว้” “รถไม่ค่อยได้ใช้งาน”
ต้องดูแลรถยนต์อย่างไรบ้าง?

สงกรานต์ใกล้เข้ามาทุกที ผู้อ่านหลายๆ คนก็คงจะมีแพลนเตรียมตัวกลับบ้านในวันหยุดยาวที่จะมาถึง ซึ่งหลายๆคนที่มีครอบครัวใหญ่หน่อยก็มักจะขับรถกลับบ้าน และแน่นอนว่าก่อนการเดินทางครั้งนี้ คุณจะต้องตรวจเช็คสภาพและความพร้อมของเครื่องยนต์ก่อนออกเดินทางอยู่แล้ว เพื่อการขับขี่ที่ราบรื่นของคุณเอง และการถึงที่หมายอย่างปลอดภัย

สำหรับรถยนต์ที่ใช้งานทุกวันก็คงไม่มีปัญหาอะไร เพราะคุณจะรู้เสมอหากรถมีปัญหา คุณจึงสามารถส่งรถไปซ่อมบำรุงได้ทัน ก่อนจะนำมาขับอีกครั้ง แต่สำหรับรถยนต์ที่ไม่ค่อยได้ใช้งาน หากรถมีปัญหา หรือมีอะไรสักอย่างเสีย เราก็คงจะไม่ทราบว่ารถเป็นอะไร ตรงไหน เพราะแทบจะไม่ได้แตะรถ ฉะนั้น สิ่งที่เราจะต้องเช็คเสมอ สำหรับรถใช้งานน้อยๆ รถที่จอดทิ้งไว้ หรือแทบไม่ใช้งาน จะมีอยู่ 6 เรื่อง นั่นก็คือ

 

1. แบตเตอรี่

จอดรถ, รถยนต์, ดูแลรถยนต์, วิธี

หลายคนเจอปัญหารถไม่ค่อยได้ใช้ แต่แบตหมด, แบตเสื่อม ทำไมถึงเสื่อม?เหตุผลก็คือ ถึงแม้ว่าจะไม่มีการเปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าไว้ แต่แบตเตอรี่ก็ยังคงมีการจ่ายกระแสไฟฟ้าไปเลี้ยงระบบในรถยนต์อยู่ เช่น ระบบกันขโมย ซึ่งหากจอดไว้โดยไม่มีการติดเครื่องยนต์เป็นเวลานาน ก็ทำให้แบตเตอรี่หมดประจุได้ ซึ่งวิธีแก้ไขก็คือ ควรสตาร์ทเครื่องยนต์ไว้ 10 นาทีหรือมากกว่านั้น อย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง หรือทำทุกวันก็ได้ค่ะ

2. ของเหลวในรถยนต์จอดรถ, รถยนต์, ดูแลรถยนต์, วิธี

หากรถไม่ค่อยได้ใช้ เมื่อกลับมาใช้งานอีกครั้ง ควรเช็คของเหลวต่างๆ ในรถว่าพร้อมใช้งานแค่ไหน เช่น น้ำมันเครื่อง น้ำในหม้อน้ำ เพื่อหล่อเลี้ยงชิ้นส่วนต่างๆ ไม่ให้เกิดสนิม สำหรับน้ำมันเครื่อง ควรเปลี่ยนทุกๆ 6 เดือน หรือตามที่คู่มือรถกำหนด เพราะน้ำมันเครื่องมีวันหมดอายุ และเสื่อมสภาพ

3. ลมยาง, ยางรถยนต์จอดรถ, รถยนต์, ดูแลรถยนต์, วิธี

หากเราจะต้องจอดรถเอาไว้เป็นระยะเวลานานๆ แนะนำให้เติมลมยางมากกว่าปกติประมาณ 5 – 10 ปอนด์/ตารางนิ้ว หรือ นำรถไปขับเพื่อให้ยางได้หมุนบ้าง เพราะการจอดรถอยู่กับที่นานๆ จะทำให้เกิดอาการยางไม่คืนตัว โดยเกิดการยุบตัวของโครงยางส่วนหน้าที่สัมผัสกับพื้นได้ ทำให้โครงยางเสียรูป ไม่กลม วิธีที่ดีที่สุด หากต้องต้องจอดรถทิ้งไว้นานเกินกว่า 3 เดือนขึ้นไป คือ ให้ยกรถตั้งบนแท่นวางทั้ง 4 ล้อ ซึ่งทำให้น้ำหนักรถไม่กดทับลงบนยาง ซึ่งเป็นการรักษารูปร่างของยางได้ดีที่สุด

4. สตาร์ทเครื่องยนต์จอดรถ, รถยนต์, ดูแลรถยนต์, วิธี

แม้จะไม่ค่อยใช้รถ แต่คุณก็ควรนำรถออกไปขับบ้าง เป็นระยะทางสั้นไก็ได้ เพราะการสตาร์ทเครื่องยนต์ จะทำให้เครื่องยนต์ทำงานและชาร์จไฟเข้าแบตเตอรี่ และในรถยนต์นั้นมีชิ้นส่วนและอุปกรณ์ที่เป็นจุดหมุน เช่น ระบบช่วงล่าง ลูกหมากต่างๆ ซึ่งหากปล่อยให้อยู่กับที่นานๆ อาจทำให้เกิดการสึกหรอได้ง่าย

5. การทำความสะอาดจอดรถ, รถยนต์, ดูแลรถยนต์, วิธี

เพื่อไม่ให้ฝุ่นและสิ่งสกปรกเกาะอยู่ที่สีรถนานเกินไป จนยากที่จะล้างออก ควรมีการทำความสะอาดหรือล้างรถก่อน จึงค่อยใช้ผ้าคลุมรถ เพื่อป้องกันฝุ่น และรักษาสีของรถยนต์ ให้ดูเหมือนใหม่อยู่เสมอ

6. สถานที่จอดรถ

ควรจอดในที่ร่ม หลีกเลี่ยงการจอดรถใต้ต้นไม้ สถานที่เปียกชื้น ใกล้ถังขยะ เพราะอาจมีโอกาสที่หนูเข้ามาอาศัยหรือทำรังใต้กระโปรงรถได้ หากจอดรถใต้ต้นไม้จะต้องระวัง หากไม่ได้มีการคลุมรถ เนื่องจากต้นไม้จะมียางของต้นไม้ที่หล่นลงมา ทำให้สีรถด่างได้ รวมถึงกิ่งไม้ที่ตกลงมาตามแรงลม หรืออื่นๆ ซึ่งอาจทำให้รถของเราเกิดรอยขีดข่วนได้

สุดท้ายถ้าคุณมีรถที่ไม่ได้ใช้งาน หรือนานๆครั้งจะขับ อาจด้วยเพราะชีวิตประจำวันของคุณไม่ได้จำเป็นจะต้องใช้รถบ่อยๆ แนะนำให้นำรถมาขายด่วนกับคาร์โร (คลิก) จะได้ไม่ต้องมาเสียเวลาตรวจเช็คหรือคอยดูแล อีกทั้งถ้าคุณปล่อยรถเอาไว้นานๆ มีแต่ผลเสีย คือราคาตกลงเรื่อยๆทุกปี นอกจากนี้ถ้าคุณมาขายกับเรา คุณจะได้รับเงินสด ทันที! คุณจะยังได้เงินกลับไปทำประโยชน์อื่นๆได้อีกด้วยค่ะ

การนำรถยนต์เข้าจอดตามสถานที่ต่างๆ เช่น อาคารชุด, สำนักงาน, ห้างสรรพสินค้า, โรงพยาบาล ฯลฯ ซึ่งในทางปฏิบัติ ทางฝ่ายอาคารสถานที่ มักมีบัตรจอดไว้ให้เสมอ และในบัตรฯ ก็มักมีข้อความที่สะดุดตาว่า “บริษัทฯ จะไม่รับผิดชอบในความเสียหาย สูญหายของทรัพย์สิน”

ข้อสงสัยที่เกิดกับเจ้าของรถยนต์ คือ หากทรัพย์สินและรถยนต์ที่จอดในอาคารสถานที่นั้นๆ เกิดสูญหายหรือเสียหาย จะสามารถเรียกร้องให้ทางฝ่ายอาคารสถานที่ ซึ่งให้บริการพื้นที่จอดรถยนต์แก่ผู้มาติดต่อธุระ รับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นได้หรือไม่ ในเมื่อมีการปฏิเสธเป็นข้อความชัดเจนไว้แล้วในบัตร

ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นต่อไปนี้ คงทำให้ผู้อ่านสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ หากประสบเหตุการณ์ด้วยตนเอง

Car-Lost-In-Car-Park

เย็นวันหนึ่งหลังเลิกงาน วิรัชมีนัดทานอาหารมื้อค่ำกับเพื่อนที่โรงแรมแห่งหนึ่ง และนำรถยนต์เข้าจอดในสถานที่ซึ่งทางโรงแรมจัดไว้ให้ โดยพนักงานโรงแรมได้จดหมายเลขทะเบียนลงในบัตรจอดรถยนต์ของโรงแรม และได้ส่งมอบบัตรนั้นให้วิรัชเก็บไว้

ในทางปฏิบัติ โรงแรมนี้มีพนักงานตรวจหมายเลขทะเบียนรถยนต์ในบัตรจอด ให้ตรงกับรถยนต์ที่จะออกจากโรงแรม และมีป้ายติดไว้ในบริเวณที่จอด มีข้อความชัดเจนว่า “บริการจอดรถยนต์ฟรี แต่ทางโรงแรมจะไม่รับผิดในทรัพย์สินของผู้มาใช้บริการที่สูญหาย” ซึ่งวิรัชเองก็เห็นข้อความนี้แล้ว ขณะนำรถยนต์เข้าจอด

หลังจากเสร็จสิ้นอาหารมื้อค่ำ เขากลับมาที่รถยนต์เพื่อกลับบ้าน ปรากฎว่ารถยนต์หาย! สอบถามจากพนักงานโรงแรมพบว่า ผู้ตรวจสอบบัตรตอนขาออกบกพร่องในหน้าที่ ไม่ตรวจบัตรของคนร้ายที่ขับรถยนต์ของวิรัชออกไปจากโรงแรม

Car-Lost-In-Car-Park

กรณีนี้ศาลได้พิจารณาคดีแล้วได้ความว่า การที่โรงแรมเพียงแต่ยอมอนุญาตให้ผู้มาใช้บริการ นำรถยนต์เข้าจอดในที่จัดไว้ โดยมีพนักงานมอบบัตรตอนขาเข้าและตรวจบัตรตอนขาออก เพื่อช่วยรักษาความปลอดภัยให้ผู้มาใช้บริการเข้าจอดรถยนต์ดังกล่าว ไม่มีลักษณะเป็นการมอบการครอบครองรถยนต์ให้แก่ทางโรงแรม จึงไม่ใช่สัญญาฝากทรัพย์

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 657 ที่วิรัชจะฟ้องเรียกค่าเสียหาย อันเนื่องจากผู้รับฝากไม่ใช้ความระมัดระวังสงวนทรัพย์สินซึ่งฝากนั้น ตามมาตรา 359 ดังนั้นวิรัชจึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายจากโรงแรม ฐานผิดสัญญาฝากทรัพย์ได้

แต่การที่ทางโรงแรมจัดที่จอดรถยนต์ให้แก่ผู้มาใช้บริการ โดยมีพนักงานจดหมายเลขทะเบียนรถยนต์ลงในบัตรจอด มอบให้ผู้มาใช้บริการที่นำรถยนต์เข้ามาจอด และมีพนักงานตรวจหมายเลขทะเบียนในบัตรจอดให้ตรงกันตอนขาออก เพื่อช่วยรักษาความปลอดภัยแก่ผู้มาใช้บริการ

ถือว่าโรงแรมมีหน้าที่ต้องระมัดระวังในการตรวจสอบผู้นำรถยนต์ออกจากที่จอดด้วย แม้ว่าบริเวณที่จอดของโรงแรมจะมีการปิดป้ายประกาศไว้ว่า “ไม่รับผิดชอบในทรัพย์สินของผู้มาใช้บริการที่สูญหาย” ก็ตาม ถือว่าไม่ใช่ข้อความที่ผู้มาใช้บริการซึ่งในที่นี้คือวิรัช ได้ตกลงด้วย โรงแรมจึงไม่ได้รับการยกเว้นให้พ้นความรับผิดชอบ

Car-Lost-In-Car-Park

เมื่อพนักงานโรงแรมได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ตรวจหมายเลขทะเบียนบนบัตรจอดของผู้มาใช้บริการตอนขาออก แต่ปฏิบัติหน้าที่บกพร่อง โดยงดเว้นไม่ตรวจบัตรตอนคนร้ายขับรถยนต์ของวิรัชออกไป อันเป็นการงดเว้นการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อป้องกันการโจรกรรมรถยนต์ เป็นผลโดยตรงทำให้รถยนต์ของวิรัชถูกลักไป และเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อ เป็นเหตุให้วิรัชได้รับความเสียหายแก่ทรัพย์สิน

จึงเป็นการทำละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 420 และการที่พนักงานโรงแรมทำละเมิดต่อวิรัช ถือว่าพนักงานโรงแรมได้กระทำไปในทางการที่จ้างของโรงแรม

ดังนั้นโรงแรมในฐานะนายจ้าง จึงต้องร่วมรับผิดกับพนักงานโรงแรมซึ่งเป็นลูกจ้าง ในผลแห่งละเมิดนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 425

เจ้าของรถยนต์ที่ได้รับความเสียหายหรือสูญหาย ต้องฟ้องเรื่องการงดเว้นการปฏิบัติหน้าที่ จึงจะมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายได้

แหล่งที่มาจาก:

  • คุณ ศราวุธ สายเชื้อ จากนิตยสารไทยไดรฟ์เวอร์