Prevent-Back-Pain-While-Driving

ขับรถบ่อย ๆ นั่งอยู่หลังพวงมาลัยวันละหลาย ๆ ชั่วโมง ไม่ว่าจะเป็นการขับฝ่ารถติดในคืนวันศุกร์แห่งชาติ หรือเดินทางไปเที่ยวพักผ่อนต่างจังหวัด หากคุณไม่ได้ปรับท่านั่งในการขับรถให้ดี ระวังจะมีปัญหาปวดหลัง ปวดเอวเมื่อเดินทางถึงที่หมาย ซ้ำร้ายกว่านั้น หากต้องขับรถในท่าทางที่ไม่ถูกต้องอยู่เป็นประจำ อาจส่งผลให้ปวดหลังเรื้อรัง อีกทั้งอาจทำให้ขับรถไม่ปลอดภัยอีกด้วย เราจึงได้รวบรวมเทคนิคขับรถไม่ให้ปวดหลัง ซึ่งจะช่วยให้คุณมีท่าทางในการขับรถที่ถูกต้องเมื่ออยู่หลังพวงมาลัย ซึ่งจะช่วยให้คุณสามารถขับรถได้อย่างสบาย อีกทั้งยังเพิ่มความปลอดภัยในการขับขี่ด้วยเช่นกัน

Prevent-Back-Pain-While-Driving

มานั่งขับรถให้ถูกวิธีกันดีกว่า Roojai.com จะพาทุกคนไปดูวิธีปรับท่านั่งบนรถให้ถูกวิธี หนีอาการปวดหลังเมื่อต้องอยู่บนรถนาน ๆ วิธีการจะเป็นอย่างไร ตามไปดูกันเลย

ขับรถไม่ให้ปวดหลัง เรื่องง่าย ๆ แค่ปรับเบาะกับท่าทาง

คนขับรถหลาย ๆ คนมักจะเข้าใจผิดว่าการขับรถให้สบายนั้น ควรจะปรับเอนหลังเบาะลงไปเยอะหน่อย แล้วนั่งพิงหลังไป วางแขนวางเท้าให้สบาย จะทำให้สามารถขับรถได้ผ่อนคลายและร่างกายไม่เมื่อยล้า ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นความเชื่อที่ผิดเกี่ยวกับการปรับเบาะไม่ให้ปวดหลัง เพราะการขับรถนั้น ร่างกายหลาย ๆ ส่วนต้องทำงานให้สอดคล้องกัน เพื่อควบคุมรถของคุณให้ขับเคลื่อนไปได้อย่างปลอดภัย ใช้สายตาในการมองจ้องไปบนท้องถนนตลอดเวลา แขนทั้งสองข้างถือพวงมาลัย เตรียมเลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวา เปลี่ยนเกียร์ และต้องใช้เท้าในการเหยียบคันเร่ง เหยียบเบรก เพื่อขับเคลื่อนรถไปข้างหน้า

ซึ่งถ้าคุณปรับเบาะเอนหลังต่ำจนเกินไป การมองเห็นของคุณก็จะทำได้ไม่ดี เหลือพื้นที่กระจกให้คุณสามารถมองเห็นได้น้อยลง จะมองกระจกข้างทีก็ต้องยกตัวขึ้นมา ชะโงกหน้า เอี้ยวตัวหลายครั้งกว่าจะเห็นจนชัด ต้องเอื้อมมือหรือยืดแขนมาบังคับพวงมาลัย ซึ่งส่งผลให้ต้องเกร็งแขนยกไหล่ตลอดเวลาที่ขับรถ เท้าเหยียบคันเร่ง เหยียบเบรกไม่ถนัด เพราะถอยเบาะไกลจากคันเร่งเกินไป ทำให้ต้องเกร็งขาเอาไว้ตลอดเวลาที่ขับรถ ทั้งหมดนี้เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการปวดหลังได้ นอกจากนี้ยังเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุในการขับรถอีกด้วย เพราะท่าทางที่ไม่ถูกต้องส่งผลให้บังคับรถได้ไม่ดีเท่าที่ควร

Prevent-Back-Pain-While-Driving

ดังนั้น การปรับเบาะ ปรับท่าทางในการขับรถของคุณให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม จะช่วยลดอาการเกร็งส่วนต่าง ๆ เพิ่มประสิทธิภาพในการตอบสนองของร่างกายเมื่อเกิดเหตุไม่คาดฝัน ช่วยให้มองเห็นถนนได้ดียิ่งขึ้น ลดการเอี้ยว การเอื้อม เพื่อมองกระจกข้าง กระจกหลังให้เห็นได้ชัดเจน โดยมีเทคนิคง่าย ๆ ดังนี้

  1. ปรับพนักพิงเอนหลังเล็กน้อยก็พอ

สำหรับองศาของพนักพิงเอนหลังจะอยู่ที่ประมาณ 110 องศา ซึ่งจะไม่ใช่การเอนเบาะลงไปมาก ๆ อย่างที่คุณเข้าใจว่าจะทำให้เกิดความสบาย แต่การปรับเบาะตามคำแนะนำนี้ จะช่วยให้คุณมีระยะในการมองเห็น หรือได้ทัศนวิสัยข้างหน้าสมบูรณ์ที่สุด ช่วยลดการชะเง้อ เบี่ยงตัว หันซ้าย หันขวา รวมทั้งไม่ต้องเอื้อมไปจับพวงมาลัยให้หัวไหล่ถูกใช้งานหนักตลอดเวลาด้วย

  1. ปรับเบาะนั่งขับรถ ให้ห่างแบบพอดี

การเลื่อนเบาะออกไปห่างจนเกินไป ส่งผลให้คุณจับพวงมาลัย และเหยียบคันเร่งได้ไม่ถนัด ซึ่งอาจจส่งผลให้เหยียบเบรกได้ไม่สุด หรือตอบสนองได้ไม่ดีเมื่อมีอุบัติเหตุเกิดขึ้น การเลื่อนเบาะให้อยู่ในระยะที่พอดี สามารถเหยียบคันเร่งและเบรกได้แบบเต็ม ๆ เท้า หัวเข่างอเล็กน้อย ช่วงแขนถึงพวงมาลัยอยู่ในระยะที่จับพวงมาลัยได้ถนัด สามารถบังคับทิศทางได้ง่าย จะช่วยให้คุณสามารถขับรถได้สบายมากขึ้น โดยที่คงความปลอดภัยสูงสุดเอาไว้

Prevent-Back-Pain-While-Driving

  1. ปรับความสูงเบาะรถยนต์ ให้สอดคล้องกับความสูงคุณ

รถยนต์รุ่นใหม่ ๆ ที่เป็นเบาะไฟฟ้าจะสามารถปรับความสูงของเบาะนั่งขึ้นลงได้ด้วย ซึ่งถ้าหากคุณเป็นคนตัวเล็ก ก็ควรยกเบาะให้สูงขึ้นเพื่อที่จะได้มองเห็นถนนได้ชัดเจนมากขึ้น ไม่ใช่เห็นพื้นที่ตรงคอนโซลเยอะจนเกินไป สำหรับคนตัวสูงก็ควรปรับเบาะลงมาให้ต่ำ โดยระยะห่างที่แนะนำระหว่างศีรษะถึงหลังคาจะอยู่ที่หนึ่งกำปั้น ซึ่งคุณสามารถเช็คได้ง่าย ๆ ด้วยตัวเองว่าปรับความสูงเบาะได้ระดับที่เหมาะสมหรือยัง

  1. ปรับพวงมาลัย ระยะห่างพวงมาลัยให้เหมาะสม

เช่นเดียวกันกับเรื่องการปรับเบาะที่นั่ง พวงมาลัยของรถยนต์รุ่นใหม่  ๆ สามารถปรับระดับได้ทั้งดึงเข้า ดึงออก และสูงขึ้นหรือต่ำลง คุณจึงหาระยะที่เหมาะสมที่จะทำให้คุณสามารถบังคับพวงมาลัยได้ถนัดมากที่สุด ไม่ต้องเกร็งร่างกายเมื่อต้องขับรถเป็นเวลานาน ๆ

  1. จับพวงมาลัยให้ถูกวิธีก็สำคัญ

อีกหนึ่งเรื่องที่มองข้ามไม่ได้เลยคือการจับพวงมาลัยให้ถูกต้อง เนื่องจากเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุมรถยนต์ ซึ่งจะต้องอยู่ในมือของคุณตลอดการขับขี่ การจับพวงมาลัยหลวมหรือแน่นเกินไป นอกจากจะทำให้เมื่อยแล้ว ยังทำให้ไม่สามารถบังคับพวงมาลัยให้ดีได้เท่าที่ควร ตำแหน่งการจับพวงมาลัยที่ถูกต้อง มือของคุณจะต้องอยู่ที่ตำแหน่ง 9 และ 3 นาฬิกา ซึ่งจะช่วยให้คุณสามารถหมุนพวงมาลัยได้ถนัดและไม่หลุดมือนั่นเอง

  1. ปรับหัวเบาะให้รองรับคอให้พอดี

การขับขี่ทางไกล หรือการขับรถที่ใช้เวลานาน ควรปรับหัวเบาะของพนักพิงให้รองรับกับช่วงศีรษะและลำคอของคุณด้วย เพราะนอกจากจะทำให้คุณได้ใช้โอกาสพิงเพื่อผ่อนคลายความเมื่อยล้าที่คอของคุณแล้ว ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุขึ้นมา เจ้าเบาะนี้จะทำหน้าที่ช่วยรองรับแรงกระแทกที่เกิดขึ้นจากการชน ช่วยลดอาการบาดเจ็บที่จะเกิดขึ้นกับคอหรือศีรษะของคุณได้ ซึ่งเป็นอีกเรื่องที่ไม่ควรมองข้ามเช่นกัน

  1. ปรับกระจกมองข้างให้เป็นมุมกว้าง

การขับรถที่ดีต้องมีทัศนวิสัยในการขับขี่ที่สมบูรณ์ด้วย การปรับกระจกมองข้างจึงควรปรับให้เห็นเป็นมุมกว้าง เห็นรถคันอื่นชัด ๆ เห็นพื้นที่ถนนเยอะ ๆ มากกว่าที่จะเห็นตัวรถของคุณเป็นหลัก โดยให้กระจกข้างตั้งฉากกับตัวรถของคุณ จะได้เห็นสิ่งรอบข้างได้อย่างชัดเจน

  1. ปรับกระจกหลัง ให้เห็นรถหลังที่ขับตามมา

ซึ่งควรปรับแบบตรง ๆ ให้เห็นถนนด้านหลังทั้งหมดได้อย่างชัดเจน ซึ่งจะทำให้คุณสามารถมองกระจกหลังได้ง่ายขึ้น ร่างกายไม่ต้องยืดขึ้นยืดลง เอี้ยวไปเอี้ยวมา เพื่อทำให้เห็นรถข้างหลังได้อย่างชัดเจน เป็นอีกหนึ่งเทคนิคขับรถไม่ให้ปวดหลัง ที่ทำได้ง่ายและมอบความปลอดภัยในการขับรถให้คุณด้วย

เมื่อปรับท่าทางการนั่งให้ถูกต้องตามหลักสรีระแล้ว การขับรถทางไกล หรือผจญรถติดในเมืองก็ไม่ใช่ปัญหา นอกจากจะช่วยให้ขับรถได้สบายมากขึ้นแล้ว ยังเพิ่มความปลอดภัยในการขับขี่ให้คุณได้ด้วย โดยเทคนิคขับรถไม่ให้ปวดหลังที่เรานำมาฝากคุณในวันนี้ ก็สามารถนำไปปฏิบัติตามกันได้ง่าย ๆ และได้ผลดีมากมายเกินกว่าที่คิดไว้อย่างแน่นอน ในเมื่อปรับท่าทางให้ถูกต้องได้แล้ว คุณจะสังเกตเห็นได้เลยว่าอาการล้า ปวดหลังหายไป สามารถขับรถได้สบายมากขึ้นกว่าที่เคย นอกจากนี้ต้องไม่ลืมคาดเข็มขัดนิรภัยให้ถูกต้องทุกครั้งที่ขับรถ เพื่อช่วยปกป้องคุณจากสิ่งไม่คาดฝันบนท้องถนนด้วย

ที่ Roojai.com เราให้บริการประกันรถออนไลน์ ช่วยคุ้มครองคุณและรถยนต์ของคุณจากอุบัติเหตุบนท้องถนนได้ เข้ามาเช็คราคาด้วยตัวคุณเองได้ผ่านทางเว็บไซต์ของเราออนไลน์ฟรีตลอด 24 ชั่วโมง เพียงกรอกข้อมูลของรถและคนขับ ภายในไม่กี่นาที คุณก็จะได้แผนประกันภัยที่คุณต้องการ และยังปรับแผนได้เองตามที่ต้องการอีกด้วย ระบบจะแจ้งเบี้ยประกันให้คุณทราบพร้อมรายละเอียดความคุ้มครองทั้งหมด บริการรู้ใจกว่า ประหยัดกว่า…

และถ้าหากไม่อยากพลาดโปรโมชั่นใหม่ ๆ และเรื่องราวดี ๆ ก็สามารถ add Official Line ของเราได้ที่ http://nav.cx/8tzQPw8

Drive-Safely-In-Flooding

ในช่วงนี้มีหลายพื้นที่ได้รับผลกระทบจากอิทธิพลของพายุโนอึล ซึ่งส่งผลให้หลายพื้นที่เกิดภัยน้ำท่วม มีน้ำท่วมสูง และเกิดน้ำท่วมขัง ต้องขับรถลุยน้ำท่วมตามที่เห็นในภาพข่าวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่างจังหวัด พายุถาโถมจนหลายเมือง หลายตำบลจมน้ำไปเรียบร้อยแล้ว ถึงขนาดต้องมีเจ้าหน้าที่รัฐเข้าไปส่งถุงยังชีพกัน เพราะว่าประชาชนติดอยู่ในบ้านไม่สามารถออกไปไหนได้

Drive-Safely-In-Flooding

ส่วนทางฝั่งคนกรุงเทพที่อยากจะร่วมด้วยช่วยกันเที่ยวเมืองไทย เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจการท่องเที่ยวให้หายซบเซาจากพิษของโควิด 19 หากจะเดินทางไปพื้นที่ต่างจังหวัดในช่วงเวลานี้ ก็อย่าลืมติดตามข่าวสารดีๆ ว่าพื้นที่ไหนที่ฝนตกหนักน้ำท่วมสูงมาก “รอระบาย” ก็ควรจะหลีกเลี่ยง เพราะในตอนขับหรือหลังขับรถลุยน้ำท่วมแล้ว สามารถสร้างความเสียหายให้กับรถอันเป็นที่รักของคุณได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าน้ำเข้าห้องเครื่องหรือห้องโดยสารแล้วละก็ ไม่แคล้วต้องเสียเงินซ่อมกันเป็นเรื่องใหญ่ได้

Roojai.com จึงอยากพาคุณไปดูวิธี “เอาตัวรอด” ให้กับรถของคุณเมื่อต้องเจอเส้นทางที่เปรียบเสมือนทะเลแบบนี้ จะต้องทำอย่างไร เพื่อให้รถของคุณขับผ่านน้ำท่วมได้โดยที่ไม่มีความเสียหายตามมา ตามไปดูกันเลย

ขับรถลุยน้ำท่วม ว่าแย่แล้ว ลุยฝนไปด้วย เครียดกว่าเดิมอีกสองเท่า

ช่วงนี้เราเข้าสู่หน้าฝนกันแบบเต็มตัวแล้ว ไม่ว่าจะเจอน้ำท่วมหรือไม่ แต่สิ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้แน่ๆ ก็คือสายฝนโปรยปราย ซึ่งในกรณีที่ไม่ได้ตกหนักมาก คุณก็ยังสามารถขับรถไปได้แบบชิลล์ๆ ไม่มีปัญหาอะไร แต่ถ้าเจอกับสายฝนโปรยปรายตกกระหน่ำเม็ดใหญ่ ๆ เปิดที่ปัดน้ำฝนเบอร์แรงสุดแล้วยังแทบไม่เห็นทาง วิสัยทัศน์ในการมองเห็นจะลดลงเป็นอย่างมาก แบบนี้ขับไปเครียดไปแน่นอน อีกทั้งมีความเป็นไปได้สูงมากที่ฝนตกหนักลักษณะนี้ จะทำให้คุณเจอกับน้ำท่วมด้วย เพราะน้ำมักจะระบายออกไปได้ไม่ทัน จนสุดท้ายถนนทุกสายกลายเป็นทะเลกรุงเทพดี ๆ นี่เอง

การขับรถภายใต้การมองเห็นที่จำกัด วิสัยทัศน์ไม่ดี จำเป็นต้องใช้สมาธิในการเพ่งท้องถนนเป็นอย่างมาก ยิ่งถ้าหากเจอน้ำท่วมซ้ำอีกด้วยแล้วล่ะก็ สามารถทำให้เครียดได้เลยทีเดียว เพราะมองทางก็ไม่เห็น จะขับต่อก็กลัว แต่จะหยุดรถกลางทางก็ไม่ได้ ดังนั้นคำแนะนำที่ดีที่สุดคือ พยายามอย่าขับรถฝ่าสายฝนที่ตกกระหน่ำไปไหนถ้าไม่จำเป็น รอจนฝนซาสักนิดแล้วค่อยเริ่มออกรถจะปลอดภัยกว่า หรือหาปั๊มน้ำมันใกล้ๆ เข้าไปพักรถก่อน เพื่อรอเวลาขับต่อไปนั่นเอง

อย่าลืมประเมินสถานการณ์

ในเมื่อหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็คงต้อง “ลุยน้ำ” กันไป โดยสิ่งที่คุณควรเตรียมตัว เริ่มจากขั้นตอนการประเมินสถานการณ์ก่อนเลย ซึ่งถ้าหากว่าน้ำสูงเกินที่จะลุยไปได้ ยังไงก็ต้องจอดรอเพียงอย่างเดียวเท่านั้น โดยการประเมินสถานการณ์เบื้องต้นนั้น จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนก็คือ ประเมินความสูงของน้ำ และ ประเมินความเตี้ยของรถคุณ

ต้องเข้าใจก่อนว่ารถคันอื่นวิ่งได้ไม่ได้หมายความว่ารถคุณจะวิ่งได้ด้วย สำหรับรถที่ได้เปรียบมากกว่าในการขับลุยน้ำท่วม ก็จะเป็นรถกระบะยกสูงหรือรถยนต์อเนกประสงค์ SUV หรือ PPV ต่างๆ โดยจะมีระดับความสูงจากพื้นถึงใต้ท้องรถเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 22 เซนติเมตร เปรียบเทียบกับรถเก๋งทั่วไป จะมีระดับความสูงจากพื้นถึงใต้ท้องรถอยู่ที่ประมาณ 14-15 เซนติเมตรเท่านั้นเอง ดังนั้นนอกจากคาดการณ์ว่าน้ำท่วมขังสูงแค่ไหนได้แล้ว ก็ต้องรู้ด้วยว่ารถของคุณมีระดับความสูงจากพื้นถึงใต้ท้องรถอยู่ที่เท่าไหร่อีกด้วย

Drive-Safely-In-Flooding

ขับรถลุยน้ำท่วม อย่างไรให้ปลอดภัยกับรถของคุณ

สำหรับระดับความสูงของน้ำท่วม ที่สามารถขับขี่และปลอดภัยอย่างแน่นอนก็คือ น้ำท่วมยังไม่ถึงใต้ท้องรถ หรือ ยังไม่ถึงขอบประตูรถ โดยข้อควรปฏิบัติให้รถลุยน้ำ ขับไปได้ มีดังนี้

  • ปิดแอร์

การเปิดแอร์เอาไว้จะทำให้พัดลมระบายความร้อนของหม้อน้ำทำงาน ซึ่งถ้าหากน้ำท่วมถึงพัดลมก็จะทำให้พัดลมตีน้ำกระจายไปทั่วห้องเครื่องได้ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้รถยนต์ดับ หรือถ้าเลวร้ายกว่านั้นอาจทำให้เกิดไฟฟ้าช็อตได้ ดังนั้นเมื่อมีความจำเป็นต้องขับรถในขณะน้ำท่วมก็ควรปิดแอร์ทุกครั้ง เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาในภายหลัง

  • ใช้เกียร์ต่ำ

การขับรถด้วยการใช้เกียร์ต่ำ เป็นสภาวะที่เครื่องยนต์ดับได้ยากที่สุด เนื่องจากใช้รอบเครื่องยนต์ 1,500-2,000 รอบ/นาที  โดยสำหรับรถธรรมาดาก็จะหมายถึงการใช้เกียร์ 1 หรือ 2 เท่านั้น ส่วนรถเกียร์ออโต้ก็คือการขับด้วยเกียร์ L นั่นเอง

  • รักษาความเร็วคงที่

เมื่อใช้เกียร์ต่ำแล้วก็ควรรักษาความเร็วสม่ำเสมอด้วย ไม่เร่งเครื่องหรือเปลี่ยนความเร็วกะทันหัน เนื่องจากจะทำให้เกิดกระแสน้ำวิ่งไปกระทบกับฟุตพาท แล้วเกิดการตีกลับของกระแสน้ำเข้าสู่รถได้

  • ให้รถคันหน้านำทางให้

โดยการขับรถทิ้งระยะห่างจากรถคันหน้าประมาณ 50 เมตร เพื่อที่คุณจะได้เห็นว่ารถคันหน้าที่กำลังวิ่งบนเส้นทางเดียวกันกับคุณอยู่นั้น สามารถวิ่งได้อย่างปลอดภัยหรือไม่ มีหลุมหรือสิ่งกีดขวางต่าง ๆ หรือเปล่า เพื่อที่คุณจะได้หลีกเลี่ยงได้ทันเวลานั่นเอง

  • หากเครื่องดับห้ามสตาร์ทเครื่องใหม่เด็ดขาด

กรณีเลวร้ายที่สุดก็คือ เมื่อตัดสินใจขับรถตอนน้ำท่วมไปแล้ว เกิดรถดับกลางทาง สิ่งที่คุณควรทำคือการเข็นรถเข้าข้างทาง โดยพยายามหาพื้นที่สูงเข้าไว้ เพื่อลดความเสี่ยงไม่ให้คลื่นน้ำที่เกิดจากรถยนต์คันอื่นไหลเข้าสู่รถของคุณ โดยคุณต้องไม่พยายามสตาร์ทรถใหม่เด็ดขาด เนื่องจากเสี่ยงที่จะทำให้น้ำไหลเข้าสู่เครื่องยนต์และทำให้เกิดความเสียหาย

  • หลีกเลี่ยงการ ขับรถลุยน้ำท่วม ในพื้นที่ที่คุณไม่คุ้นเคย

กรณีที่เป็นการขับรถไปในพื้นที่คุ้นเคยหรือเส้นทางที่คุณใช้เป็นประจำ คุณจะสามารถประเมินสถานการณ์ได้ง่ายกว่า ว่าควรจะเสี่ยงขับรถลุยน้ำไปดีหรือไม่ เนื่องจากคุณจะรู้ว่าถนนเส้นนั้น ๆ เป็นเส้นที่น้ำท่วมขังเป็นระยะทางสั้นๆ หรือว่าท่วมยาวทั้งเส้นร่วมสิบกิโล รวมไปถึงการที่เคยเห็นสภาพถนนตอนที่น้ำไม่ท่วม ว่ามีตรงไหนต้องระวังหรือมีถนนช่วงไหนไม่ดี จะช่วยให้คุณสามารถขับขี่ได้อย่างปลอดภัยกว่า

แต่ด้วยความจำเป็นที่ทำให้คุณต้องเดินทางไปยังพื้นที่ที่ไม่คุ้นเคย แล้วยังต้องไปเสี่ยงกับการขับรถน้ำท่วมบนถนนที่คุณไม่คุ้นเคยมาก่อน คุณจะไม่รู้เลยว่ายิ่งขับไปน้ำจะยิ่งท่วมสูงขึ้นหรือว่าจะลดลงนั่นเอง รวมทั้งทางข้างหน้ามีการก่อสร้างทาง หรือถนนมีหลุมมีบ่ออย่างไรบ้าง คุณก็ไม่สามารถรู้ได้เลย ถ้าเป็นไปได้เราอยากแนะนำให้คุณแวะหลบฝนหลบน้ำที่ปั๊มน้ำมันก่อนจะปลอดภัยกว่า

Drive-Safely-In-Flooding

เมื่อผ่านพ้นเส้นทางลุยน้ำวิบากมาแล้วต้องทำอย่างไร

หลังจากที่คุณรอดจากสถานการณ์หลังขับรถลุยน้ำท่วม ก็อย่าเพิ่งรีบจอดรถลงไปหาซื้อของกินมาฉลอง เพราะว่ายังมีข้อควรปฏิบัติที่คุณควรรู้ หลังจากฝ่าน้ำท่วมมาได้ คือ

  • หลังจากที่เพิ่งขับพ้นช่วงถนนที่น้ำท่วมสูง ให้ขับต่อไปโดยใช้ความเร็วต่ำ และให้ทำการไล่น้ำออกจากคาลิเปอร์-ผ้าเบรก โดยการเหยียบเบรกเบาๆ ย้ำๆ ไปเรื่อยๆ ตลอดระยะเวลาที่ขับด้วยความเร็วต่ำอีกสักระยะ ซึ่งจะช่วยไล่น้ำและความชื้นจากเครื่องยนต์ได้
  • ไม่หยุดพักรถและดับเครื่องโดยทันทีหลังจากที่เพิ่งลุยน้ำท่วมมาเสร็จ เนื่องจากมีความเป็นไปได้ที่จะทำให้น้ำที่ค้างอยู่ที่ท่อไอเสียย้อนกลับเข้าไปได้ รวมทั้งความชื้นที่ยังมีอยู่อาจทำให้เครื่องยนต์เสียหายได้ด้วย ที่สำคัญอีกอย่างก็อย่าลืมเช็ครถหลังลุยน้ำท่วมด้วย ว่ามีอะไรผิดปกติหรือเปล่า

รถลุยน้ำได้ แต่ก็ใช่ว่าจะเป็นระดับน้ำสูง จะขับรถลุยน้ำ จำเป็นต้องใช้สมาธิอย่างสูง เพื่อที่จะประคองรถให้ฝ่าน้ำท่วมไปได้อย่างปลอดภัยทั้งรถและคุณ อีกทั้งยังมีโอกาสที่คุณจะเจอทั้งสายฝนกระหน่ำและน้ำท่วมในเวลาเดียวกัน ซึ่งทำให้คุณต้องใช้สมาธิจดจ่อในการขับรถมากกว่าเดิม การรู้เท่าทันและการเตรียมตัวที่ดี จะช่วยให้คุณสามารถประคับประคองสถานการณ์ หรือขับรถไปถึงจุดหมายปลายทางได้ง่ายยิ่งขึ้น ง่ายเหมือนซื้อประกันภัยรถยนต์ออนไลน์ ที่ Roojai.com ไม่ซับซ้อน ราคาดี และเชื่อใจได้ มาพร้อมตัวเลือกที่หลากหลาย สามารถปรับแต่งแผนกรมธรรม์ได้ด้วยตัวคุณเอง เลือกความคุ้มครองที่ตอบโจทย์คุณได้มากที่สุด ที่สำคัญผ่อนสบายๆ ผ่านบัตรเครดิตหรือเดบิตได้นานสูงสุดถึง 10 งวด คลิกเช็คราคาออนไลน์ได้ตลอด 24 ชม. เลย

Carro-Roojai-5-Bad-Reasons-Parking-Car-Under-The-Trees

หากพื้นที่จอดรถไม่มีหลังคาที่จอดรถ หลายคนมักจะคิดว่าขอจอดรถใต้ต้นไม้เพราะได้จอดรถในร่ม ยังไงก็ดีกว่า แต่นั่นอาจไม่จริงเสมอไปเพราะมันอาจมีภัยที่ทำร้ายกับรถของคุณมากกว่าข้อดีที่แค่ช่วยให้รถไม่ต้องตากแดดร้อน ๆ

Roojai.com จึงอยากพาผู้ใช้รถใช้ถนนทุกคนได้ “เบิกเนตร” เห็นความจริงของภัยร้ายข้อเสียเมื่อคุณเลือกจอดรถใต้ต้นไม้ ยิ่งจอดทิ้งไว้นาน ๆ ก็จะยิ่งส่งผลเสียกับรถของคุณโดยเฉพาะเรื่องของความเงางามของสีรถ และมากกว่านั้น ต่อไปนี้คือ 5 เหตุผลที่เราไม่อยากให้คุณนำรถไปทิ้งไว้ใต้ต้นไม้ ไม่ว่าจะต้นไหนที่ไหน จะมีอะไรบ้าง ตามไปดูกันเลย

เมื่อจอดรถใต้ต้นไม้ ไม่ได้ปกป้องสีรถของคุณ

จะเรียกว่าเป็น “ความเชื่อ การทำตาม หรือสัญชาตญาณ” ของผู้ใช้รถที่มักนิยมว่าการจอดรถใต้ต้นไม้นั้นเหมือนเป็นการช่วยปกป้องรถ ทั้งสีรถก็ดี ชิ้นส่วนภายในของรถก็ดีที่ไม่ต้องจอดกลางแดดร้อน ๆ จอดใต้ต้นไม้ยังไงก็ดีกว่า จอดรถตากแดด ปล่อยให้ต้องร้อน ข้อนั้นดีแน่นอนถ้ารถได้จอดไว้ในที่จอดซึ่งมีหลังคาที่จอดรถคลุมเป็นกิจจะลักษณะ นั่นเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับรถของคุณ แต่การที่อาศัย จอดรถในร่ม ด้วยร่มไม้จากต้นไม้อาจไม่ใช่คำตอบที่ดีในการช่วยรักษารถของคุณได้มากเท่าไร

ข้อเสียมากมายของร่มไม้ที่เมื่อคุณจอดรถ หลายคนอาจไม่รู้หรือลืมสังเกต มารู้อีกทีร่มไม้ที่คุณว่าช่วยให้รถของคุณไม่ต้องทนกับการตากแดดร้อน ๆ ก็กลับทำร้ายรถของคุณให้เสียหายจนเกินเยียวยาอย่างไม่คาดคิดแล้ว และต่อไปนี้คือเหตุผลที่เราไม่อยากให้คุณจอดรถไว้ใต้ต้นไม้

1. ยางต้นไม้ ทำลายสีรถของคุณมากกว่าที่คิด

เมื่อคุณหวังให้ต้นไม้บังแดดสำหรับการจอดรถของคุณ แน่นอนว่าทุกคนคงไม่เดินไปดูหรอกใช่มั้ยว่าต้นไม้ที่รถไปจอดนั้นเป็นต้นอะไร จะมียางต้นไม้ มีอะไรจะหยดใส่รถหรือเปล่า และนี่คือความจริงที่ต้องรู้ว่าภัยจากยางไม้คือศัตรูร้ายตัวฉกาจของสีรถ หยดใส่รถทีถ้าไม่ล้างให้ดีให้สะอาดแล้วปล่อยทิ้งไว้พาแต่จะกลายเป็นคราบฝังลึกขัดออกยาก หรือแย่กว่านั้น! คือขัดไม่ออก จนกลายเป็นตราบาปที่ติดรถของคุณไปตลอด และวิธีขัดสีรถ วิธีเดียวที่จะทำให้รถดูดีได้เหมือนเดิมก็คือการทำสีเป็นทางออกสุดท้าย

5-Bad-Reasons-Parking-Car-Under-The-Trees

2. ขี้นกก็ร้ายต่อสีรถไม่น้อย

“นี่ก็ร้าย” พอกัน สำหรับคราบขี้นก หยดใส่หัวยังล้างได้ แต่ถ้าใส่สีรถแล้วคุณไม่รีบล้าง มันคือฝันร้ายของสีรถอย่างแท้จริง นี่ยังเป็นกรณีที่คุณสังเกตเห็นนะ ถ้าดันมาหยดมาขี้ใส่ในส่วนที่คุณไม่ทันสังเกตแล้วปล่อยทิ้งไว้นาน มันก็อาจทำให้คุณต้องกุมขมับกันได้เลยถ้าจะขัดให้ออกที

5-Bad-Reasons-Parking-Car-Under-The-Trees

3. เศษกิ่งไม้ หล่นใส่รถจนกลายเป็นลักยิ้ม

นี่เราไม่ได้หมายถึงกิ่งใหญ่ ๆ นะ เป็นแค่เศษกิ่งเล็ก ๆ หรือตัวเมล็ด แค่นี้ก็ร้ายพอที่จะทำให้รถของคุณ “บุบ” เป็นริ้วรอยเล็ก ๆ น้อย ๆ ได้เหมือนกัน ไม่ว่าจะส่วนของหลังคา ส่วนของฝากระโปรงซึ่งเป็นพื้นที่รองรับแรงตกกระแทกเต็ม ๆ เมื่อนำรถไปจอด ซึ่งมันอาจทำให้รถของคุณเป็นรอยบุบลักยิ้มเล็ก ๆ ที่แก้ได้ยาก วิธีขัดสีรถต่าง ๆ ก็อาจช่วยไม่ได้และอาจเป็น “งานใหญ่” จนถึงขั้นทำสีรถในส่วนนั้น ๆ ใหม่ได้เลย

4. น้ำฝน ที่นำมาสู่คราบฝังลึก

เรารู้ว่าพื้นที่จอดรถอย่าง ต้นไม้ หรือ ลานจอดรถ ไม่สามารถช่วยบังน้ำฝันได้เต็ม ๆ ยังไงรถก็เปียกอยู่ดี แต่ข่าวร้ายก็คือการจอดรถใต้ต้นไม้ในตอนที่ฝนตก น้ำฝนจะชะล้างคราบยางของต้นไม้ลงมาโดนสีรถคุณด้วย จนกลายเป็นคราบเมื่อรถแห้งและล้างออกยาก ซึ่งจะว่าไปจอดรถที่โล่ง ๆ กลางฝนยังดีกว่าซะอีก

5-Bad-Reasons-Parking-Car-Under-The-Trees

5. สัตว์เลื้อยคลาน

จอดรถใต้ต้นไม้นาน ๆ คุณกลับมาใช้รถทีอาจมีเพื่อนร่วมทางไม่รู้ตัว พวกสัตว์เลื้อยคลานอาจอาศัยรถของคุณเป็นที่พักหลบฝน จะงูเงี้ยวเขี้ยวขอ ตะขาบ หนู หรือแม้กระทั่ง มด อาจนัดกันไปรวมตัวทำรังอยู่ที่รถคุณก็เป็นได้ มีต้นไม้ก็ต้องมีดินอยู่รอบ ๆ และพื้นที่เป็นดินซึ่งคุณใช้เป็นที่จอดรถ ก็คือเส้นทางให้พวกสัตว์เหล่านั้นไปหารถคุณ

พื้นที่จอดรถ และวิธีที่จะช่วยดูแลรถคุณได้อย่างแท้จริง

  • จอดรถในร่ม ในที่สำหรับจอดซึ่งเป็นหลังคาที่จอดรถที่บังแดด ไม่ใช่ร่มไม้
  • เลี่ยงการจอดรถบนพื้นที่เป็นดิน เพื่อช่วยป้องกันรถเป็นที่พักอาศัยของพวกสัตว์ทั้งหลาย
  • ถ้าต้องจอดรถตากแดดนาน ๆ ใช้ม่านบังแดดเพื่อลดอุณหภูมิภายในห้องโดยสาร
  • ถ้าสังเกตเจอคราบยางไม้หรือขี้นกให้รีบล้างออกด้วยน้ำสะอาดทันที
  • ถ้าต้องจอดรถกลางแดดเป็นประจำ ควรเลือกใช้ฟิล์มกันแดดที่มีคุณภาพ สามารถกันความร้อนได้จริง

เพียงเท่านี้การใช้รถของคุณเมื่อต้องจอดรถที่ไหนก็จะเหมือนเป็นการดูแลรถได้ ด้วยเทคนิคและสิ่งที่ควรเลี่ยงที่เรานำมาฝาก จะช่วยป้องกันการทำร้ายรถของคุณในทางอ้อมได้เป็นอย่างดี และถ้าคุณเป็นหนึ่งคนที่รักรถ ก็ย่อมต้องการการคุ้มครองจากประกันภัยรถยนต์คุณภาพใช่มั้ยล่ะ? เลือกประกันรถยนต์ออนไลน์จาก Roojai.com ที่มาพร้อมกับตัวเลือกในการคุ้มครองมากมายซึ่งคุณสามารถปรับแต่งแผนได้เอง เลือกได้ตามที่เหมาะกับการใช้งานรถของคุณ รู้ใจกว่า ประหยัดกว่า ที่สำคัญผ่อนได้ ไม่ง้อบัตรเครดิต ถูกใจคนรักรถทุกคนอย่างแน่นอน คลิกเช็คราคาประกันรถยนต์ออนไลน์ที่นี่ได้เลย

What-Is-Glass-Coating

เคลือบแก้วรถยนต์คืออะไร ราคาเท่าไหร่..คำตอบอยู่ที่นี่

หนึ่งในปัญหาและความกังวลของคนที่รักรถนั่นก็คือ กลัวว่ารถยนต์สุดรักจะมีริ้วรอย ไม่ว่าจะเป็นรอยขีดข่วนจากการใช้งาน รอยเบียด รอยขนแมว หรือรอยที่เกิดจากอุบัติเหตุเล็กๆ น้อยๆ แต่นั่นทำให้เจ้าของรถต้องจิตตกและกังวลอยู่ไม่น้อย แถมยังต้องเสียเวลาไปซ่อมทำสีรถใหม่อีก

วันนี้ Roojai.com ประกันรถยนต์ออนไลน์รูปแบบใหม่ สามารถเลือกราคาเบี้ยประกันรถยนต์ได้เองผ่านเว็บไซต์ มีเรื่องราวดี ๆ มาแนะนำกันอีกเช่นเคย ซึ่งปัญหารถเป็นรอยมีวิธีป้องกันที่อยากจะแนะนำคือการนำรถไปเคลือบแก้วนั่นเอง เรามาทำความรู้จักกับการเคลือบแก้วรถยนต์กัน

What-Is-Glass-Coating

การเคลือบแก้วรถยนต์ (Glass Coating) คือ การเคลือบชั้นผิวของสีรถยนต์ สภาพเหมือนกับกระจกเงาใสที่มีความแข็งและหนา บนชั้นของ Clear Lacquer (ชั้นเคลือบตัวถังรถที่มาจากโรงงาน) เหนือชั้นสีของตัวรถ ซึ่งระดับความหนาของชั้นเคลือบจะมีระดับที่แตกต่างกัน โดยมีหลายระดับราคาและคุณภาพ (ตั้งแต่ 1 – 9 H) รวมถึงการให้บริการของแต่ละร้านอีกด้วย ซึ่งในสารเคลือบแก้วจะมีส่วนผสมของซิลิกา หรือ SI ที่เป็นชื่อทางวิทยาศาสตร์ เป็นสารสำคัญที่ทำให้สารเคลือบแก้วมีความแข็งแรง ไม่บดบังและหักเหแสง ทำให้สีรถไม่เปลี่ยน ยังคงสีเดิมทำให้ดูเหมือนใหม่ตลอดเวลา

ประโยชน์ของการเคลือบแก้ว คือป้องกันรถจากรอยขนแมว สะเก็ดหิน กิ่งไม้เกี่ยว และรอยขีดข่วนได้มากกว่าชั้นเคลือบตัวถังรถที่มาจากโรงงาน รวมทั้งลดการเกิดรอยด่างบนสีตัวถังรถที่เกิดจากคราบต่าง ๆ ทำให้ตัวถังรถยังมีความสดใสและเงางามอยู่เสมอ

เคลือบแก้วต่างจากเคลือบสีรถธรรมดาตรงไหน? อธิบายง่าย ๆ ว่า การเคลือบสีปกติจะเป็นการเคลือบสีระยะสั้น เมื่อใช้ไปนาน ๆ สีก็จะเริ่มซีดจาง ชั้นผิวจะบางและป้องกันรอยขีดข่วนได้น้อย แต่ถ้าเป็นเคลือบแก้ว ชั้นของผิวเคลือบจะหนาและแข็งกว่า ป้องกันรอยขีดข่วนและรักษาสภาพชั้นสีตัวถังได้ดีกว่า รวมทั้งมีความแวววาวมากกว่า และแน่นอนว่าเคลือบแก้วรถยนต์ย่อมมีราคาที่สูงกว่าอยู่พอสมควร

โดยการทำเคลือบแก้วนั้น ไม่ได้วัดกันที่ความหนาของการเคลือบว่าหนากี่ไมครอน (Micron) ตามที่เข้าใจกันมา เพราะที่จริงแล้วจะพิจารณาจากความแข็งแกร่งของสารที่นำมาใช้เคลือบแก้วเป็นหลัก รวมทั้งต้องดูคุณสมบัติเกี่ยวกับการปกป้องสีจริงของรถที่ออกมาจากโรงงานว่า สารที่ใช้เคลือบนั้นสามารถป้องกันสีจากแสงแดดได้หรือไม่ หรือเป็นเพียงแค่สารเคลือบชั้นผิวทั่วไป ที่ต้องถามเยอะ เพราะราคาค่าเคลือบแก้วรถยนต์โดยทั่วไปมีราคาหลักหมื่น เมื่อจ่ายเงินแล้วควรได้การป้องกันและความคุ้มค่ากลับมาด้วย

What-Is-Glass-Coating

การเคลือบแก้วรถยนต์มีกี่แบบ? หากแบ่งตามเทคนิคและวิธีการเคลือบแก้ว จะแบ่งออกเป็น 2 แบบ ดังนี้

การเคลือบแก้วแบบทา เป็นวิธีการเคลือบแบบดั้งเดิม ที่ยังคงใช้มาถึงปัจจุบัน ก่อนการทาสารเคลือบแก้ว ต้องมีการปรับผิวสีรถให้พร้อมก่อนการลงสารเคลือบ ทำให้วิธีแบบนี้จำเป็นต้องอาศัยช่างที่มีความชำนาญเป็นพิเศษ เพราะต้องทาสารเคลือบแก้วให้ทั่วพื้นผิวตัวถังรถยนต์ ต้องไม่บางและไม่หนาจนเกินไป เพื่อให้เกิดการยึดติดผิวสีและมีความหนาที่เหมาะสม

การเคลือบแก้วแบบพ่น เป็นการเคลือบแก้วที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน ถูกพัฒนามาจากแผนกพ่นสีรถยนต์ในโรงงานประกอบรถยนต์ ซึ่งมีวิธีการพ่นเช่นเดียวกับการพ่นสีรถยนต์ ทำให้สารเคลือบกระจายตัวไปบนพื้นผิวรถได้อย่างทั่วถึงและครอบคลุม มีการระเหยได้รวดเร็วโดยที่ไม่ต้องเช็ดของเหลวออก ซึ่งวิธีการเคลือบแบบนี้จะทำให้เกิดความคงทน มีความเงางาม สีตัวถังรถดูฉ่ำตลอดเวลา เป็นวิธีที่ได้มาตรฐานในการเคลือบแก้วรถยนต์มากที่สุด

เคลือบแก้ว ราคาเท่าไร? ราคาของการเคลือบแก้วรถยนต์มีหลายราคาตั้งแต่หลักพันไปถึงหลักแสนบาท ขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการและผลิตภัณฑ์ที่นำมาใช้เคลือบ ซึ่งแบ่งออกเป็นหลายเกรดอีกเช่นกัน ถ้าจะแบ่งกลุ่มและราคาคงจะต้องอ่านกันตาแฉะ เอาเป็นว่าขอสรุปเอาไว้คร่าว ๆ อ้างอิงตามคุณภาพระดับมาตรฐานแล้วกัน

ราคาเคลือบสีรถ (ราคาแต่ละศูนย์ไม่เท่ากัน รวมทั้งราคาแพ็คเกจเคลือบต่างกัน)

ขนาดตัวถังรถ ราคา (บาท)
S, M, L 300-700
XL, XXL 500-900

ราคาเคลือบแก้วรถยนต์ (ราคาแต่ละศูนย์ไม่เท่ากัน รวมทั้งราคาแพ็คเกจเคลือบต่างกัน)

ขนาดตัวถังรถ ราคา (บาท)
S 15,000-30,000
M 20,000-35,000
L 25,000-40,000
XL 30,000-40,000
XXL 30,000-45,000

ทีนี้จะเห็นว่าราคามีความแตกต่างกัน เจ้าไหนราคาถูกหรือแพงเกินไป ต้องดูที่ความน่าเชื่อถือกันอีกด้วย ตอนนี้ไม่ยาก ลองค้นหาใน Google ก็จะมีชื่อศูนย์เคลือบแก้วขึ้นมามากมาย ควรเลือกศูนย์ที่มีชื่อเสียง เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ ซึ่งตรงนี้เช็คได้ไม่ยาก รวมทั้งต้องดูบริการหลังการขายควบคู่กันไปด้วย เพราะหากมีปัญหาเกี่ยวกับการเคลือบแก้ว จำเป็นจะต้องกลับไปแก้ไขที่ศูนย์เดิมที่ให้บริการ เนื่องจากถ้าเปลี่ยนร้าน ตัวน้ำยาที่ใช้อาจจะเป็นคนละยี่ห้อ จะทำให้สารเคลือบตัวถังรถมีปัญหาได้

โดยปกติแล้วราคาของการเคลือบแก้วจะมีราคาที่สูงกว่าการเคลือบสีธรรมดา เพราะการเคลือบแก้วจะมีรายละเอียดและขั้นตอนการทำมากกว่า ต้นทุนสูงกว่า ทำให้เป็นข้อสังเกตว่าถ้าราคาเคลือบแก้วสูงกว่าเคลือบแบบธรรมดาเพียงเล็กน้อย มีโอกาสที่จะได้รับการเคลือบที่ไม่ได้มาตรฐานก็เป็นได้ นอกจากนี้ เมื่อเคลือบแก้วรถยนต์แต่ละครั้ง จำเป็นจะต้องนำรถไปบำรุงรักษาทุก 6 เดือน จึงควรดูเรื่องของระยะเวลาการรับประกันเอาไว้ด้วย เพราะจะเป็นการการันตีคุณภาพของศูนย์ว่ามีคุณภาพและมาตรฐานการบริการเพียงใด

ทิ้งท้ายเอาไว้อีกสักนิด เผื่อคุณลูกค้าจะนำรถไปเคลือบแก้ว ต้องรู้จักวิธีการดูแลรักษาเอาไว้ด้วย ซึ่งก็ไม่ยาก เพียงแค่ล้างรถตามปกติ สามารถลงแว็กซ์เคลือบเงาได้ตามปกติ แต่ควรที่จะหลีกเลี่ยงการขัดสีรถด้วยเครื่องขัดสีรถแบบรอบสูงหรือการขัดด้วยน้ำยาขัดสีรถแบบที่มีส่วนผสมของผงขัด หรือ Compound เพราะจะทำให้สารที่เคลือบอยู่หลุดออกมาได้ด้วยเช่นกัน

และเพื่อความอุ่นใจ หากรถคุณเกิดอุบัติเหตุเล็ก ๆ จนทำให้เกิดรอยความเสียหายบนรถที่คุณรัก Roojai.com ประกันรถออนไลน์แนะนำว่า คุณควรหาประกันดีๆ ไว้ดูแล และพร้อมช่วยเหลือคุณ 24 ชม.

เช็คราคาประกันรถออนไลน์คลิก https://bit.ly/34raJcM