10 อันดับ รถเมล์ใช้งานมานานที่สุด ของ ขสมก.

ในปัจจุบัน ปัญหาฝุ่น PM2.5 ที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในประเทศไทยทุกปี กำลังเป็นที่วิตกของหลายๆ ฝ่าย เนื่องจากเป็นอันตรายต่อสุขภาพในระยะยาว ซึ่งอีกหนึ่งในแนวทางที่ภาครัฐ ขอความร่วมมือให้ประชาชนช่วยกันปฏิบัติตาม ได้แก่ “การออกมาใช้ระบบขนส่งมวลชน” เพื่อลดปัญหาฝุ่นและมลพิษ

แต่ทว่า … ระบบขนส่งมวลชนบ้านเราอยู่ในสถานะที่ย่ำแย่ ไม่สามารถจูงใจให้คนมาใช้บริการได้ เมื่อรถเมล์มีสภาพเก่ามาก ควันดำ สกปรก กะเวลารอไม่ค่อยได้ บริการไม่ค่อยดีในบางคัน และไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่

อีกทั้งรถไฟฟ้าก็ค่าโดยสารแพง และคนแน่น หลายคนที่บ้านอยู่ไกล เข้าซอยลึก หรือต้องไปติดต่อธุระ ส่งของหลายที่ต่อวัน จึงเป็นเหตุผลใหญ่ที่คนไทย สมัครใจและจำเป็นต้องซื้อรถยนต์ส่วนตัวมาใช้ ไม่ว่าจะเป็นรถมือหนึ่ง หรือรถมือสองก็ตาม ทำให้ในกรุงเทพฯ มีการจราจรที่ติดหนักทุกวัน

แต่คุณรู้หรือไม่ว่า รถเมล์ ขสมก. หลายคันที่คุณๆ เห็นวิ่งกันอยู่ บางคันมีอายุมากกว่าเด็กเพิ่งเรียนจบ เพิ่งทำงานใหม่ๆ ซะอีก! MR.CARRO ขอนำเสนอข้อมูลของ รถเมล์ ขสมก. ที่มีอายุการใช้งานมากที่สุด 10 อันดับ ให้ทุกคนได้ตะลึงกันครับ!

Hino-AK176

ภาพจาก Ian Fuller

1. Hino AK176 (2 สิงหาคม 2534 – ปัจจุบัน)

รถเมล์ Hino AK176 นี้ เป็นรถล็อตที่ ขสมก. ได้จัดซื้อรถเมล์ใหม่ จำนวน 2,840 คัน ได้แก่ รถเมล์ครีมแดง 4 รุ่น (Hino, Isuzu, Mitsubishi และ Daewoo รุ่นประตูกลาง 12 เมตร) และรถปรับอากาศ Mercedes-Benz ครีมน้ำเงิน จำนวน 800 คัน และมีพิธีรับมอบกันในวันที่ 2 สิงหาคม 2534

โดย Hino AK176 ใช้เครื่องยนต์ดีเซลรหัส EH700 ขนาด 6.4 ลิตร แบบ 6 สูบ ให้แรงม้าสูงสุด 168 แรงม้า

สำหรับ Hino AK176 จัดหามาใช้ทั้งหมด จำนวน 540 คัน มีเลขข้างรถขึ้นต้นด้วย 40XXX (40001 – 40540) ใช้งานในเขตการเดินรถที่ 1, 3, 4 และ 5

Isuzu-MT111QB

ภาพจาก Ian Fuller

2. Isuzu MT111QB (2 สิงหาคม 2534 – ปัจจุบัน)

รถเมล์ Isuzu MT111QB นี้ เป็นรถล็อตที่ ขสมก. ได้จัดซื้อรถเมล์ใหม่ จำนวน 2,840 คัน ได้แก่ รถเมล์ครีมแดง 4 รุ่น (Hino, Isuzu, Mitsubishi และ Daewoo รุ่นประตูกลาง 12 เมตร) และรถปรับอากาศ Mercedes-Benz ครีมน้ำเงิน จำนวน 800 คัน และมีพิธีรับมอบกันในวันที่ 2 สิงหาคม 2534

โดย Isuzu MT111QB ใช้เครื่องยนต์ดีเซลรหัส 6BD1 ขนาด 5.8 ลิตร แบบ 6 สูบ ให้แรงม้าสูงสุด 160 แรงม้า ส่งกำลังผ่านเกียร์ธรรมดา 5 สปีด แบบ MLH5B น้ำหนักรถ 9,140 กิโลกรัม

สำหรับ Isuzu MT111QB จัดหามาใช้ทั้งหมด จำนวน 540 คัน มีเลขข้างรถขึ้นต้นด้วย 50XXX (50001 – 50540) ใช้งานในเขตการเดินรถที่ 1, 6, 7 และ 8

Mitsubishi-Fuso-RP118

ภาพจาก 

3. Mitsubishi Fuso RP118 (2 สิงหาคม 2534 – ปัจจุบัน)

รถเมล์ Mitsubishi Fuso RP118 นี้ เป็นรถล็อตที่ ขสมก. ได้จัดซื้อรถเมล์ใหม่ จำนวน 2,840 คัน ได้แก่ รถเมล์ครีมแดง 4 รุ่น (Hino, Isuzu, Mitsubishi และ Daewoo รุ่นประตูกลาง 12 เมตร) และรถปรับอากาศ Mercedes-Benz ครีมน้ำเงิน จำนวน 800 คัน และมีพิธีรับมอบกันในวันที่ 2 สิงหาคม 2534

และรุ่นนี้ ยังเป็นรุ่นที่มีราคาต่อคันแพงที่สุด เพราะเครื่องยนต์วางท้ายรถ แบบรถเมล์โดยสารที่นิยมใช้รถทั่วโลก รวมถึงตัวรถด้านหน้า ถอดแบบมาจากรถเมล์ Mitsubishi Fuso ของญี่ปุ่น ใช้เครื่องยนต์ดีเซลรหัส 6D22-1A ขนาด 11.1 ลิตร แบบ 6 สูบ ให้แรงม้าสูงสุด 225 แรงม้า

สำหรับ Mitsubishi Fuso RP118 จัดหามาใช้ทั้งหมด จำนวน 510 คัน มีเลขข้างรถขึ้นต้นด้วย 80XXX (80001 – 80510) ใช้งานในเขตการเดินรถที่ 2, 4 และ 8

Isuzu-LT112P

ภาพจาก Noltawat Rattanawan‎

4. Isuzu LT112P (2537 – 2564)

รถเมล์ Isuzu LT112P คันนี้ จัดว่าเป็นรถ Rare Item ของ ขสมก. เพราะมีไว้ใช้ในฐานะรถสแปร์ ซึ่งเป็นของบริษัท ออโต้เทคนิค (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทในเครือของ ตรีเพชรอีซูซุเซลส์ ให้สำหรับไว้ยืมใช้ในระหว่างการนำรถเมล์คันใดคันหนึ่งเข้าศูนย์บริการ จัดได้ว่าเป็นรถเมล์ที่หายาก (เพราะมีทำออกมาแค่คันเดียว) และวนเวียนไปในหลายสาย หลายเขตที่มีรถเมล์ Isuzu ใช้งานอยู่

สำหรับความพิเศษของรถคันนี้คือ เครื่องยนต์วางด้านท้าย ใช้เครื่องยนต์ดีเซลรหัส 6HE1 ขนาด 5.8 ลิตร แบบ 6 สูบ ให้แรงม้าสูงสุด 195 แรงม้า และใช้เกียร์อัตโนมัติ ของ Allison MTB643 ภายในเบาะนั่งขนาดใหญ่ กว้างขวาง น้ำหนักรถ 9,000 กิโลกรัม

สำหรับ Isuzu LT112P มีเลขข้างรถ 7-50542 ในอดีตเคยใช้งานในเขตการเดินรถที่ 1, 6, 7 และ 8 ซึ่งล่าสุดทางบริษัท ออโต้เทคนิค (ประเทศไทย) จำกัด ผู้เป็นเจ้าของรถเมล์คันนี้ ได้ประกาศขายจนเป็นข่าวดังในเดือนพฤษภาคม 2564

Hino-HU3KSKL

5. Hino HU3KSKL (6 มีนาคม 2538 – ปัจจุบัน)

รถเมล์ Hino HU3KSKL นี้ เป็นรถล็อตที่ ขสมก. ได้จัดซื้อไว้ด้วยกัน 80 คัน เพื่อใช้งานในเขตการเดินรถที่ 11 (เขตรถปรับอากาศ) ในสาย ปอ.2 มีนบุรี-สีลม , ปอ.12 จตุจักร-ปากคลองตลาด และ ปอ.18 จตุจักร-ลาดกระบัง

ต่อมาภายหลังจากการยุบเขตการเดินรถที่ 11 จึงเปลี่ยนเขตการเดินรถ เป็นเขตการเดินรถที่ 2 และย้ายไปใช้งานในเขตการเดินรถที่ 4 จนถึงปัจจุบัน โดย Hino HU3KSKL ใช้เครื่องยนต์ดีเซลรหัส K13U ขนาด 13.2 ลิตร แบบ 6 สูบ ให้แรงม้าสูงสุด 260 แรงม้า

สำหรับ Hino HU3KSKL มีเลขข้างรถขึ้นต้นด้วย 40XX (4001 – 4080) (และรถสำรองอีก 1 คัน 4081) ใช้งานในเขตการเดินรถที่ 4

Isuzu-CQA650

6. Isuzu CQA650 (2538 – ปัจจุบัน)

รถเมล์ Isuzu CQA650 นี้ เป็นรถล็อตที่ ขสมก. ได้จัดซื้อไว้ด้วยกัน 100 คัน เพื่อใช้งานในเขตการเดินรถที่ 11 (เขตรถปรับอากาศ) ต่อมาภายหลังจากการยุบเขตการเดินรถที่ 11 จึงเปลี่ยนเขตการเดินรถ ไปใช้งานในเขตการเดินรถที่ 1 และ 7 จนถึงปัจจุบัน

โดย Isuzu CQA650 ใช้เครื่องยนต์ดีเซลรหัส 6RB2 ขนาด 13.7 ลิตร แบบ 6 สูบ Boxer ให้แรงม้าสูงสุด 275 แรงม้า

สำหรับ Isuzu CQA650 มีเลขข้างรถขึ้นต้นด้วย 30XX (3001 – 3100)

Hino-RU1JSSL

ภาพจาก Express502

7. Hino RU1JSSL (15 พฤษภาคม 2541 – ปัจจุบัน)

รถเมล์ Hino RU1JSSL นี้ เป็นรถล็อตที่ ขสมก. ได้จัดซื้อรถเมล์ใหม่ จำนวน 797 คัน ได้แก่ รถเมล์ Hino, Isuzu, Mercedes-Benz และ Daewoo ใช้สีส้ม พร้อมเครื่องยนต์มาตรฐาน Euro II (ยูโรทู) มีพิธีรับมอบกันในวันที่ 15 พฤษภาคม 2541 ค่าโดยสารเริ่มแรกคิด 12 บาทตลอดสาย

โดย Hino RU1JSSL ใช้เครื่องยนต์ดีเซลรหัส J08C-TK ขนาด 8.0 ลิตร แบบ 6 สูบ ให้แรงม้าสูงสุด 250 แรงม้า ภายหลังจึงได้ดัดแปลงติดตั้งก๊าซ NGV เข้าไป

สำหรับ Hino RU1JSSL จัดหามาใช้ทั้งหมด จำนวน 200 คัน มีเลขข้างรถขึ้นต้นด้วย 44XXX (44001 – 44200) ผลิตที่อู่ธนบุรีบัสบอดี้ ใช้งานในเขตการเดินรถที่ 1, 2, 3 และ 5

แต่ต่อมาในปี 2545 จึงได้จัดซื้อรถเมล์รุ่นเดียวกันนี้เพิ่มเติม อีก 125 คัน มีเลขข้างรถขึ้นต้นด้วย 45XXX (45001 – 45125)

Isuzu-LV223S

ภาพจาก Wikipedia

8. Isuzu LV223S (15 พฤษภาคม 2541 – ปัจจุบัน)

รถเมล์ Isuzu LV223S นี้ เป็นรถล็อตที่ ขสมก. ได้จัดซื้อรถเมล์ใหม่ จำนวน 797 คัน ได้แก่ รถเมล์ Hino, Isuzu, Mercedes-Benz และ Daewoo ใช้สีส้ม พร้อมเครื่องยนต์มาตรฐาน Euro II (ยูโรทู) มีพิธีรับมอบกันในวันที่ 15 พฤษภาคม 2541 ค่าโดยสารเริ่มแรกคิด 12 บาทตลอดสาย

โดย Isuzu LV223S ใช้เครื่องยนต์ดีเซลรหัส 6SD1-TC ขนาด 9.8 ลิตร แบบ 6 สูบ ให้แรงม้าสูงสุด 270 แรงม้า ส่งกำลังผ่านเกียร์อัตโนมัติของ ZF 4HP500 น้ำหนักรถ 11,600 กิโลกรัม

สำหรับ Isuzu LV223S จัดหามาใช้ทั้งหมด จำนวน 200 คัน มีเลขข้างรถขึ้นต้นด้วย 55XXX (55001 – 55200) ผลิตที่อู่เชิดชัย ใช้งานในเขตการเดินรถที่ 6, 7 และ 8

Mercedes-Benz-OH1829-63

ภาพจาก Sira Sripairojkul

9. Mercedes-Benz OH1829/63 (15 พฤษภาคม 2541 – ปัจจุบัน)

รถเมล์ Mercedes-Benz OH1829/63 นี้ เป็นรถล็อตที่ ขสมก. ได้จัดซื้อรถเมล์ใหม่ จำนวน 797 คัน ได้แก่ รถเมล์ Hino, Isuzu, Mercedes-Benz และ Daewoo ใช้สีส้ม พร้อมเครื่องยนต์มาตรฐาน Euro II (ยูโรทู) มีพิธีรับมอบกันในวันที่ 15 พฤษภาคม 2541 ค่าโดยสารเริ่มแรกคิด 12 บาทตลอดสาย

สำหรับ Mercedes-Benz OH1829/63 ใช้เครื่องยนต์ดีเซลรหัส OM441LA ขนาด 11.0 ลิตร แบบ 6 สูบ ให้แรงม้าสูงสุด 285 แรงม้า

สำหรับ Mercedes-Benz OH1829/63 จัดหามาใช้ทั้งหมด จำนวน 397 คัน มีเลขข้างรถขึ้นต้นด้วย 66XXX (66001 – 66397) ผลิตที่อู่ธนบุรีบัสบอดี้ ใช้งานในเขตการเดินรถที่ 6, 7 และ 8

แต่ทว่ารถเมล์รุ่นนี้ มีปัญหาในเรื่องของควันดำมาก และในเรื่องของการจัดหาอะไหล่ซ่อมแซม ทำให้ต้องถูกปลดระวางไปจนหมดในปี 2561 ในตอนนี้จึงเหลือใช้งานอยู่แค่เพียงคันเดียว นั่นคือ 8-66249 ซึ่งเป็นรถที่ปรับสภาพใหม่ และซ่อมแซมโดยช่างของ ขสมก.

Daewoo-BH115

ภาพจาก Wikipedia

10. Daewoo BH115 (2544 – ปัจจุบัน)

รถเมล์ Daewoo BH115 นี้ เป็นรถล็อตที่ ขสมก. จัดซื้อรถเมล์แบบ Euro II รอบสอง จำนวน 250 คัน เริ่มออกให้บริการตั้งแต่ช่วงปลายปี 2544 มีเลขข้างรถขึ้นต้นด้วย 67XXX (67001 – 67250) ผลิตที่อู่ธนบุรีบัสบอดี้ เหลือใช้งานในเขตการเดินรถที่ 8 เพียงเขตเดียว

สำหรับ Daewoo BH115 ใช้เครื่องยนต์ดีเซลรหัส DE12 ขนาด 11.0 ลิตร แบบ 6 สูบ ให้แรงม้าสูงสุด 235 แรงม้า

แต่ทว่ารถเมล์รุ่นนี้ เคยมีปัญหาในเรื่องของควันดำมาก และถุงลมช่วงล่างที่ชอบแตก จนต้องปลดระวางรถที่มีปัญหาไปเกือบๆ 200 คัน แต่รถเมล์ที่เหลือภายหลังได้รับการแก้ไขซ่อมแซมแล้ว

Isuzu-LV423R

ภาพจาก nighteye

อันนี้แถมให้ … Isuzu LV423R (2545 – ปัจจุบัน)

รถเมล์ Isuzu LV423R นี้ เป็นรถล็อตที่ ขสมก. ได้จัดซื้อรถเมล์แบบ Euro II อีกครั้ง ในปี 2545 จำนวน 250 คัน ได้แก่ รถเมล์ Hino และ Isuzu ใช้สีส้ม พร้อมเครื่องยนต์มาตรฐาน Euro II (ยูโรทู)

โดย Isuzu LV423R ใช้เครื่องยนต์ดีเซลรหัส 6SD1 ขนาด 9.8 ลิตร แบบ 6 สูบ ให้แรงม้าสูงสุด 270 แรงม้า

สำหรับ Isuzu LV423R จัดหามาใช้ทั้งหมด จำนวน 125 คัน มีเลขข้างรถขึ้นต้นด้วย 56XXX (56001 – 56125) ผลิตที่อู่เชิดชัย ใช้งานในเขตการเดินรถที่ 6, 7 และ 8

*หมายเหตุ 10 อันดับ รถเมล์ใช้งานมานานที่สุด ของ ขสมก. เป็นข้อมูล ณ เดือนฤษภาคม 2564

ถ้าเบื่อรอรถเมล์แล้ว อยากซื้อรถใหม่ แต่มีงบไม่พอ หรืออยากขายรถเก่าออกแบบไวที่สุด ได้เงินเร็วที่สุด เพื่อนำเงินไปโปะรถคันใหม่ ให้ CARRO เป็นผู้ช่วยมืออาชีพของคุณ มาขายรถกับ CARRO Express สิ! ได้ราคาดี พร้อมปิดการขายภายใน 24 ชั่วโมง! หรือจะ Inbox มาขอรายละเอียดได้ที่ Facebook -> CARRO Thailand และ Add Line สอบถามรายละเอียดได้เช่นกัน ที่ @carrothai

และอีกหนึ่งบริการใหม่! CARRO Automall แหล่งรวมรถมือสองคุณภาพเยี่ยม ผ่านการตรวจสภาพแบบ Double Check รับประกันพร้อมโอนทุกคัน ฟรี! ค่าจัดโอน มีให้เลือกชมเพียบ เปิดบริการทุกวัน อยากซื้อรถคุณภาพเยี่ยม มาซื้อกับ CARRO Automall สิ!

หรือสนใจรถรุ่นไหนอยู่ แต่หาไม่ได้ สามารถสั่งตามออเดอร์ได้ที่นี้ > https://th.carro.co/buy-car หรือโทร. 02-508-8690 อีกทั้งยัง Inbox เข้ามาสอบถามก็ได้เช่นกันได้ที่ Facebook -> CARRO Automall – รถบ้านมือสอง หรือทาง Line เชิญเลยครับที่ @carroautomall

ขอขอบคุณข้อมูลจาก:

10-BMTA-Bus-Wait-Long-Time

คุณเคยรอรถเมล์นานที่สุดกี่ชั่วโมง?

ในวันที่ข่าวการขึ้นราคาค่ารถเมล์กำลังเป็นที่ฮือฮา เพราะคุณภาพชีวิตของคนนั่งรถเมล์หลายคน ยังมีชีวิตการขึ้นรถเมล์เหมือนเดิม คนแน่น รถน้อย รอนาน กะเวลารอไม่ได้ เพราะปัญหาที่หมักหมมมานาน ขาดการเหลียวแลจากภาครัฐมาหลายสิบปี โดยมีแต่คำอ้างว่า “ขาดทุน” มาโดยตลอด

ทำให้คนส่วนใหญ่ เมื่อมีทางเลี่ยง ก็หันไปขึ้นรถไฟฟ้าราคาแสนแพง หรือขี่รถจักรยานยนต์ ขับรถยนต์ส่วนตัว ออกมาอัดกันจนแน่นถนน ในช่วงเวลาเร่งด่วน

แม้ที่ผ่านมา ขสมก. จะเปิดรถเมล์สายใหม่ๆ และรื้อฟื้นบางสายที่เลิกวิ่งไปแล้วกลับมาวิ่งใหม่ เมื่อมีเส้นทางถนนตัดใหม่เกิดขึ้นก็ตาม แต่รถเมล์ก็ยังคงไม่พอ รอนาน และวิ่งไม่ทั่วถึง จนผู้โดยสาร (บางคน) รอไม่ไหวจะใช้บริการ

แต่ถ้าคุณเป็นคนชอบการรอคอย MR.CARRO ขอแนะนำ 10 สายรถเมล์ของ ขสมก. ที่รอนานที่สุด ฉบับ Update ปี 2562 (เรียงตามหมายเลขสาย จากน้อยไปมาก) มีเส้นทางไหน วิ่งผ่านจุดใด จำนวนรถเท่าไหร่

เผื่อคุณสนใจจะไปยืนรอ ในวันที่มีเวลาว่างมากพอ.

26 มีนบุรี – เอกมัย

BMTA-Bus-Route-26

ภาพจาก Kittipich Konganandech

แรกเริ่มเดิมที สายนี้คือ 26ก มีนบุรี – เอกมัย เปิดให้บริการครั้งแรกในปี 2553 ด้วยเหตุผลที่ต้องการให้รถเมล์มีวิ่งบนถนนประดิษฐ์มนูธรรม และทดแทนรถเมล์สาย 154 ที่เลิกวิ่งไปแล้ว กับต้องลดจำนวนรถเมล์ฟรีที่วิ่งในเส้นทางหลักอย่าง มีนบุรี – อนุสาวรีย์ชัย ไปในตัว แต่ก็สร้างวีรกรรม ในการไม่รับผู้โดยสารบนถนนเส้นนี้ ไว้มากพอสมควร

ในช่วงปลายปี 2560 ทางเขตการเดินรถที่ 2 ได้นำตัว “ก” ออก ก็เลยกลายเป็น สาย 26 มีนบุรี – เอกมัย นับแต่นั้นมา หากใครที่จะไปเอกมัย ต้องสังเกตป้ายหน้ารถให้ดี ไม่งั้นขึ้นผิดคันได้ เอาให้มันงงเล่นแบบนี้ล่ะ รอก็นานมากๆ เพราะจะออกมาแค่ช่วงเช้า-เย็น

ในปี 2562 สาย 26 มีนบุรี – เอกมัย มีจำนวนรถวิ่งที่ไม่แน่นอน ในแต่ละวัน

64 อู่นครอินทร์ – สะพานพระปิ่นเกล้า (ขสมก. วิ่งถนนราชพฤกษ์)

BMTA-Bus-Route-64

ภาพจาก Pattalan Chuthamanee

รถเมล์สายนี้ วิ่งโดยเขตการเดินรถที่ 7 แต่ก็มีจำนวนรถเพียงไม่กี่คัน เส้นทางหลักๆ อยู่บนถนนราชพฤกษ์ ซึ่งปกติเป็นถนนที่คนรอขึ้นรถเมล์น้อยอยู่แล้ว โดยจะได้คนมากหน่อย ก็ช่วงเช้า-เย็น มากกว่าเวลาอื่นๆ

จุดเริ่มต้นของ สาย 64 อู่นครอินทร์ – พระปิ่นเกล้า ที่ดำเนินการโดย ขสมก. เกิดขึ้นมาเพื่อให้สาย 64 เดินรถได้ครบถ้วนตามสัมปทาน

(เดิมสาย 64 ขสมก. ขายสัมปทานไปในช่วงปรับลดขนาดขององค์กรในปี 2541-2543 โดยให้รถร่วมบริการวิ่ง ภายหลัง กรมการขนส่งทางบกปรับเส้นทางแบบวงกลม เป็น วงกลมนนทบุรี – สนามหลวง – ราชพฤกษ์ เมื่อรถร่วมบริการไม่วิ่ง ขสมก. จึงต้องจัดรถสายนี้เพื่อให้วิ่งตามสัมปทานแทน มิฉะนั้นจะถูกปรับ)

ในปี 2562 สาย 64 อู่นครอินทร์ – สะพานพระปิ่นเกล้า เหลือรถวิ่งเพียง 1 คัน

88 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี บางขุนเทียน – ท่าดินแดง

BMTA-Bus-Route-88

ภาพจาก Phachara Pornarunchai‎

แต่เดิมนั้นรถเมล์สาย 88 เป็นรถของรถร่วมบริการ บริษัท ธิติวัชขนส่ง จำกัด เลิกวิ่งไปแล้ว ทาง ขสมก. จึงจำเป็นต้องจัดหารถมาวิ่งแทน เพื่อรักษาเส้นทางสัมปทานเอาไว้

จากเดิมที่สุดสายตรงแฟลตทุ่งครุ ปรับเปลี่ยนเส้นทางเข้าไปยัง วัดคลองสวน, อบต. คลองสวน และต่อมาขยายเส้นทางไปจนถึง มจธ. บางขุนเทียน ซึ่งมีระยะทางไกลมากๆ

ในปี 2562 สาย 88 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี บางขุนเทียน – ท่าดินแดง เหลือรถวิ่งเพียง 5 คัน แต่วิ่งจริงๆ เพียง 2 คัน/วัน เพราะรถเมล์อีก 3 คัน ไปช่วยสาย 75 วิ่ง

143 แฮปปี้แลนด์ – พระจอมเกล้าลาดกระบัง

BMTA-Bus-Route-143

ภาพจาก Chanon Lekanupanon‎

แต่เดิมนั้นรถเมล์สาย 143 เป็นรถของรถร่วมบริการ บริษัท ลาดกระบัง จำกัด เลิกวิ่งไปแล้ว ทาง ขสมก. จึงจำเป็นต้องจัดหารถมาวิ่งแทน เพื่อรักษาเส้นทางสัมปทานเอาไว้ เริ่มให้บริการในวันที่ 10 มกราคม 2556 โดย ขสมก. กลุ่มปฏิบัติการเดินรถที่ 1 เขตการเดินรถที่ 2 อู่มีนบุรี

เริ่มแรกวิ่งในเส้นทาง มีนบุรี – เคหะฉลองกรุง (ซึ่งเป็นเส้นทางเสริมของสาย 143 เดิม ภายหลังเป็น 143ก) ต่อมาจึงขยายเส้นทางไปเป็น แฮปปี้แลนด์ – พระจอมเกล้าลาดกระบัง

ในปี 2562 สาย 143 แฮปปี้แลนด์ – พระจอมเกล้าลาดกระบัง เหลือรถวิ่งเพียง 1 คัน

165 อู่บรมราชชนนี – พุทธมณฑลสาย 3 – สนง.เขตบางกอกใหญ่

BMTA-Bus-Route-165

ภาพจาก Ritthi Phosiyamanee‎

รถเมล์สาย 165 ถือกำเนิดขึ้นเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2543 ในเส้นทาง พุทธมณฑลสาย 3 – สนามหลวง (วิ่งเส้นถนนเพชรเกษม) เป็นรถเมล์สายที่หาขึ้นยากอีกหนึ่งสาย และเส้นทางเหมือนคู่แฝดอย่างสาย 91ก อีกทั้งยังเปลี่ยนเส้นทางบ่อยครั้งมาก

ในปี 2546 ขสมก. ได้มีมติขยายเส้นทางสาย 165 ให้ยาวขึ้นเป็น พุทธมณฑลสาย 3 – บรมราชชนนี – สนามหลวง ต่อมาในเดือนกรกฎาคม 2549 เปลี่ยนเส้นทางเป็น พุทธมณฑลสาย 2 – เขตบางกอกใหญ่ ในเดือนมกราคม 2551 ปรับเส้นทางเป็น พุทธมณฑลสาย 2 – ศาลาธรรมสพน์ – เขตบางกอกใหญ่ และในเดือนกุมภาพันธ์ 2555 เปลี่ยนเส้นทางอีก เป็น พุทธมณฑลสาย 2 – พุทธมณฑลสาย 3 ก่อนจะเปลี่ยนมาเป็น อู่บรมราชชนนี – พุทธมณฑลสาย 3 – สนง.เขตบางกอกใหญ่ ตามอู่ที่ย้ายไปใหม่

ในปี 2562 สาย 165 อู่บรมราชชนนี – พุทธมณฑลสาย 3 – สนง.เขตบางกอกใหญ่ เหลือรถวิ่งเพียง 8 คัน แต่วิ่งจริงๆ เพียง 3 คัน/วัน เพราะรถเมล์อีก 5 คัน ไปช่วยสายวิ่งสาย 7ก

197 (วงกลม) มีนบุรี – หทัยราษฎร์

BMTA-Bus-Route-197

ภาพจาก N’James Cac

สาย 197 แรกเริ่มเดิมทีเป็นรถเมล์ วงกลมทดลองวิ่ง (สาย B1 / B2) วิ่งวนซ้าย วนขวา ที่กลุ่มปฏิบัติการเดินรถที่ 1 เขตการเดินรถที่ 2 อู่มีนบุรี ทดลองวิ่ง เพื่อให้มีรถเมล์บริการบนถนนหทัยราษฏร์ ถนนเลียบคลองสอง และถนนคู้บอน จนกลายมาเป็นรถเมล์สาย 197 ที่เริ่มวิ่งให้บริการในวันที่ 12 กันยายน 2556

โดยเส้นทางนี้ มีประชากรอาศัยอยู่มากกว่า 2 แสนคน (ยอดเมื่อปี 2556) แต่ยังไม่มีรถเมล์ให้บริการ มีเพียงรถสองแถว และรถตู้ ซึ่งก็มีผู้ประกอบการรถสองแถวประท้วง อ้างว่า จะเกิดผลกระทบต่อรถสองแถวที่ให้บริการ และปัจจุบันเส้นทางดังกล่าวก็มีรถติดอยู่แล้ว

ในปี 2562 สาย 197 (วงกลม) มีนบุรี – หทัยราษฎร์ เหลือรถวิ่งเพียง 1 คัน

525 สวนสยาม – คู้ซ้าย – หมู่บ้านเธียรทอง 3

BMTA-Bus-Route-525

ภาพจาก วันชัย ห่อรัตนาเรือง

525 แต่เดิมคือ ปอ.28 ที่เปิดมาพร้อมๆ กับ ปอ.29 ที่ถูกยุบเส้นทางไป (ปัจจุบันคือสาย 526) เพื่อให้มีรถเมล์วิ่งบริการในย่านหนองจอก ถนนคู้ซ้าย ถนนคู้ขวา (ถนนทั้ง 2 เส้นนี้ เป็นถนนที่วิ่งเลียบไปกับคลองแสนแสบ ตั้งแต่มีนบุรี ถึงหนองจอก)

แม้ว่าสาย 525 และ 526 ปัจจุบันจะเป็นรถเมล์ครีม-แดง ที่เริ่มกลับมาวิ่งอีกครั้งช่วงประมาณปี 2554 ได้ แต่ก็ถือว่าเป็นรถเมล์ที่มีความสำคัญของชาวหนองจอก และชาว ขสมก. อีกสาย เพราะหมู่บ้านเธียรทอง 3 เป็นหมู่บ้านที่พนักงาน ขสมก. อาศัยอยู่มาก สาย 525 จึงมาสุดสายที่นี่ เสมือนเป็นรถรับ-ส่งพนักงานไปในตัว

ในปี 2562 สาย 525 สวนสยาม – คู้ซ้าย – ม.เธียรทอง 3 เหลือรถวิ่งเพียง 4 คัน

710 (วงกลม) ตลิ่งชัน – ราชพฤกษ์ – อรุณอมรินทร์

BMTA-Bus-Route-710

ภาพจาก Kittipich Konganandech

สาย 710 กับตัวเลขที่ไม่คุ้นเคยของคนรอ ด้วยเส้นทางที่เน้นวิ่งในถนนราชพฤกษ์เป็นหลัก รวมทั้งวิ่งเป็นวงกลมแบ่งเป็นวนซ้ายและวนขวา สร้างความสับสนให้กับผู้ใช้บริการไม่น้อย แล้วมีจำนวนรถที่น้อย จึงทำให้มีผู้ใช้บริการน้อยมาก เท่าที่เห็น คนใช้บริการรถเมล์สายนี้เยอะอยู่เพียงแค่ช่วงหน้าโรงพยาบาลศิริราช กับตรงวังหลัง เท่านั้น เพราะสามารถทดแทนรถเมล์สาย 57 ได้

เริ่มให้บริการตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน 2556 ปล่อยรถชั่วโมงละ 1 คัน ยกเว้นช่วง 6.00 – 7.00 น. และช่วง 17.00 – 18.00 น. จะปล่อยรถชั่วโมงละ 2 คัน (ใครรอไหวก็รอกันไป)

เป็นสายรถเมล์ที่ถือกำเนิดขึ้นมาจาก กรมการขนส่งทางบก คิดปฏิรูปรถเมล์ในปี 2552 พร้อมกับรอรถเมล์ใหม่ในช่วงนั้น โดยใช้เลขสายตั้งแต่ 600-755 ตามประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1950 (พ.ศ. 2552) ต่อมาโครงการก็ล้มไม่เป็นท่า โดย ขสมก. ก็มีนโยบายที่ต้องการนำรถเมล์ฟรีไปเปิดสายใหม่ๆ อยู่แล้ว สาย 710 วงกลมอรุณอมรินทร์ – ถ.กาญจนาภิเษก ถึงเกิดขึ้น และดำเนินงานโดย เขตการเดินรถที่ 5

ในปี 2562 สาย 710 (วงกลม) ตลิ่งชัน – ราชพฤกษ์ – อรุณอัมรินทร์ เหลือรถวิ่งเพียง 8 คัน แต่วิ่งจริงๆ เพียง 2 คัน/วัน เพราะรถเมล์อีก 6 คัน ไปช่วยสายวิ่งสาย 7ก

720 (วงกลม) กัลปพฤกษ์ – พระราม 2

BMTA-Bus-Route-720

ภาพจาก Chanon Lekanupanon

สาย 720 ดำเนินการโดยเขตการเดินรถที่ 5 สลับวิ่งวนซ้ายและวนขวา โดยรถเมล์สายนี้ จะได้คนเยอะหน่อยก็ช่วงถนนเพชรเกษมเท่านั้น หลังจากนั้นก็วิ่งขายเบาะ

สาย 720 แต่เดิมนั้นคือรถเมล์สาย 193 ที่เปิดขึ้นมาใหม่ตามกำหนดของประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในเดือนสิงหาคม 2550 เพื่อให้ผู้โดยสารมีรถเมล์ไปยังถนนกัลปพฤกษ์ แต่ก็ไม่ได้รับความนิยมมากนัก เนื่องจากรถมีน้อย หลังจากที่กรมการขนส่งทางบก ปฏิรูปรถเมล์ในปี 2552 พร้อมกับรอรถเมล์ใหม่ในช่วงนั้น โดยใช้เลขสายตั้งแต่ 600-755 รถเมล์สาย 193 จึงเปลี่ยนเลขสายเป็น 720 ในภายหลัง

ในปี 2562 สาย 720 (วงกลม) กัลปพฤกษ์ – พระราม 2 เหลือรถวิ่งเพียง 2 คัน

751 สะพานพระราม 4 – สถานีรถไฟฟ้า BTS บางหว้า

BMTA-Bus-Route-751

ภาพจาก Wisarut Hanpatthanakotchakorn‎

สาย 751 เดินรถโดยเขตการเดินรถที่ 7 อีกทั้งเส้นทางเดินรถที่ค่อนข้างยาว เราจึงแทบไม่เห็นใครรอขึ้นรถเมล์สายนี้้เลยในช่วงระหว่างทาง โดยจะได้คนแค่เพียงช่วงต้นสายและปลายสายเท่านั้น

เป็นสายรถเมล์ที่ถือกำเนิดขึ้นมาจาก กรมการขนส่งทางบก คิดจะปฏิรูปรถเมล์ในปี 2552 พร้อมกับรอรถเมล์ใหม่ในช่วงนั้น โดยใช้เลขสายตั้งแต่ 600-755 ตามประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1950 (พ.ศ. 2552) เริ่มวิ่งอย่างเป็นทางการในวันที่ 1 มิถุนายน 2556

สาย 751 นั้น วิ่งในส่วนของถนนราชพฤกษ์เกือบตลอดทั้งสาย ตั้งแต่ช่วงบางหว้า ก่อนจะเลี้ยวเข้าไปถนนชัยพฤกษ์ สุดสายที่บริเวณใต้สะพานพระราม 4 (ฝั่งถนนชัยพฤกษ์) ซึ่งนับว่าเป็นการเดินทางที่สะดวกมากๆ ของคนที่อยู่ในย่านปากเกร็ด แล้วต้องการเข้าเมืองมาต่อรถไฟฟ้าบริเวณ BTS บางหว้า ไม่ต้องเสียเวลารถติดในเมือง (แต่ไปติดนอกเมืองแทน!)

ในปี 2562 สาย 751 สะพานพระราม 4 – สถานีรถไฟฟ้า BTS บางหว้า เหลือรถวิ่งเพียง 3 คัน

*หมายเหตุ 10 สายรถเมล์รอนานนี้ เป็นการรวบรวมสอบถาม สายรถเมล์ที่คนรอรถเมล์นาน จากผู้โดยสารรถเมล์ ในเดือนพฤษภาคม 2562 เท่านั้น

ถ้าเบื่อรอรถเมล์แล้ว อยากซื้อรถใหม่ แต่มีงบไม่พอ หรืออยากขายรถเก่าออกแบบไวที่สุด ได้เงินเร็วที่สุด เพื่อนำเงินไปโปะรถคันใหม่ ก็ให้ CARRO เป็นผู้ช่วยมืออาชีพของคุณ …

ถ้าคุณอยากขายรถคันเดิม เพื่อไปซื้อรถคันใหม่ หรือรับเงินก้อนไปใช้ สามารถขายรถคันเก่ากับ CARRO ได้ ง่ายๆ ได้เงินไว! กับ CARRO Express เพียงแค่คลิก https://th.carro.co/sell-car/express หรือสามารถ Inbox มาขอรายละเอียดได้ที่ Facebook CARRO Thailand

หรือจะ Add Line สอบถามรายละเอียดได้ที่ @Carrothailand หรือคลิกที่นี่ครับ —> เพิ่มเพื่อน

10-Very-Old-Bangkok-Bus

รถเมล์ไทย แก่แต่เก๋า ที่คุณต้องทึ่ง ว่ายังมีวิ่งอยู่อีกหรือ!

รู้หรือไม่ รถเมล์ไทยเก่าที่สุดในตอนนี้ มีอายุการใช้งานมาแล้วกี่ปี?

ปัญหาของรถเมล์ไทยในปัจจุบัน ถ้าจะยกขึ้นมาพูดคุยกันแล้ว ก็คงยาวจนไม่รู้จักจบในหนึ่งชั่วโมง (เพราะมันมากจริงๆ) ตั้งแต่การบริการ ปัญหาการจราจร สภาพของตัวรถที่เก่ามาก การจัดการที่ล้าหลัง เดี๋ยวก็ขอปรับขึ้นราคา แล้วขู่จะประท้วงหยุดวิ่งบ้างล่ะ ฯลฯ

ในอดีต เมื่อ ขสมก. ปลดระวางรถเมล์ของตัวเองแล้ว มักจะบริจาคให้กับหน่วยงานต่างๆ เพื่อนำไปใช้งานต่อ แต่รถเมล์อีกส่วนหนึ่ง ก็ขายให้กับกลุ่มรถร่วมบริการ เพื่อเอาไปปรับปรุงสภาพใหม่ แล้วกลับมาวิ่งรับ-ส่ง ผู้โดยสารอีกครั้ง (พอหลังจากปี 2546 ขสมก. จึงไม่สามารถทำแบบนี้ได้อีกต่อไป เนื่องจากทางขนส่งฯ ไม่รับจดทะเบียนรถปลดระวางให้เป็นรถเมล์โดยสารแล้ว) ซึ่งรถเมล์เหล่านี้ ยังมีวิ่งในกรุงเทพฯ มากพอสมควร …

ถ้าเบื่อรอรถเมล์แล้ว อยากซื้อรถใหม่ แต่มีงบไม่พอ หรือต้องการขายรถเก่าออกแบบไวที่สุด ได้เงินเร็วที่สุด เพื่อนำเงินไปโปะรถคันใหม่ ก็ให้ CARRO เป็นผู้ช่วยมืออาชีพของคุณ “ขายรถกับ CARRO Express ง่ายๆ ได้ราคาดี” หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มได้ใน Fanpage “CARRO Thailand” ครับผม

MR.CARRO ขอรวบรวม 10 รถเมล์ไทยที่เก่าที่สุด (เท่าที่ยังมีเห็น และสังเกตได้จากรูปทรงตัวถังรถ) ซึ่งยังมีวิ่งรับใช้คนเดินทางในปัจจุบัน มียี่ห้อใดรุ่นไหนบ้าง เผื่อคุณสนใจจะไปยืนรอดูตัวเป็นๆ กันครับ.

Hino-BX320

ภาพจาก Dick van der Spek / Jack Klongtoey

1. Hino BX320 (ปี 2521 – ปัจจุบัน)

รถเมล์ Hino BX320 (ฮีโน่ บีเอ็กซ์ 320) รุ่นแรก ที่ทาง ขสมก. จัดหามาใช้ในปี 2521 จำนวน 1,000 คัน ในรุ่นเลขข้างรถรหัส 1001 – 2000 จนกระทั่งปลดระวางไปในปี 2535 ซึ่งในตอนนี้ ยังมีใช้อยู่กับรถร่วมบริการหลายสาย แต่ก็ดัดแปลงหรือยกตัวถังใหม่ลงบนแชสซีส์เกือบหมด จนแทบหาเค้าเดิมไม่เจอแล้ว ยังมีวิ่งอยู่ในสาย 113 เป็นต้น

Mercedes-Benz-O302

ภาพจาก Fukuda Tokuji

2. Mercedes-Benz O302 (ปี 2521 – ปัจจุบัน)

รถเมล์ Mercedes-Benz O302 (เมอร์เซเดส-เบนซ์ โอ302) รุ่นแรก ที่ทาง ขสมก. จัดหามาใช้ในปี 2521 จำนวน 500 คัน ในรุ่นเลขข้างรถรหัส 3001 – 3800 และในปี 2524 ในรุ่นเลขข้างรถรหัส 30101 – 30300 จำนวน 200 คัน จนกระทั่งปลดระวางไปในปี 2535 ซึ่งในตอนนี้ ทราบว่ายังมีเหลืออยู่ แต่ถูกแปลงหรือยกตัวถังใหม่ลงบนแชสซีส์เดิมหมด จนไม่สามารถค้นหาเคล้าเดิมได้แล้ว ว่าอยู่ในสายไหนกันแน่

Isuzu-TX

ภาพจาก Busphoto

3. Isuzu TX (ปี 2521 – ปัจจุบัน)

รถเมล์ Isuzu TX (อีซูซุ ทีเอ็กซ์) เป็นอีซูซุรุ่น 9 เมตร ที่ทาง ขสมก. จัดหามาใช้ในปี 2521 จำนวน 500 คัน ในรุ่นเลขข้างรถรหัส 2001 – 2500 ปลดระวางไปในปี 2535

ในตอนนี้ ยังมีใช้อยู่กับรถร่วมบริการ กับรถเมล์ในต่างจังหวัด แต่ถือว่าหาได้ยากแล้ว เท่าที่เห็น มีเพียงสาย 356 ของ บริษัท สหายยนต์ จำกัด และสาย 370 ของบริษัท สหบางบัวทองขนส่ง จำกัด ที่ยังมีรุ่นนี้ใช้อยู่

Hino-BX340

ภาพจาก Dick van der Spek / Alexander Chan

4. Hino BX340 (ปี 2523 – ปัจจุบัน)

รถเมล์ Hino BX340 (ฮีโน่ บีเอ็กซ์ 340) เป็นฮีโน่รุ่น 10 เมตร ที่ทาง ขสมก. จัดหามาใช้ในปี 2523 – 2524 จำนวน 500 คัน ในรุ่นเลขข้างรถรหัส 10101 – 10600 ปลดระวางไปในปี 2540

ในตอนนี้ ยังมีใช้อยู่กับรถร่วมบริการหลายสาย แต่ก็ดัดแปลงตัวถังกันจนจำไม่ได้ ถ้ายังไม่เห็นทรงหน้าต่างเดิม ยังมีวิ่งอยู่ในสาย 74, 92, 122, 123, 146, 149 เป็นต้น

Isuzu-JCR600YNZZ

ภาพจาก John Veerkamp / Ian Fuller

5. Isuzu JCR600YNZZ (ปี 2523 – ปัจจุบัน)

รถเมล์ Isuzu JCR600YNZZ (อีซูซุ เจซีอาร์600) เป็นอีซูซุรุ่น 12 เมตร ที่ทาง ขสมก. จัดหามาใช้ในปี 2523 – 2524 จำนวน 500 คัน ในรุ่นเลขข้างรถรหัส 20101 – 20600 ปลดระวางไปในปี 2540 เป็นรุ่นที่ตอนนี้ยังเห็นได้บ่อยอีกรุ่นหนึ่ง ที่เป็นรถร่วมบริการ แล้วก็บริจาคไปหน่วยงานตามต่างจังหวัดก็เยอะครับ

ในตอนนี้ ยังมีใช้อยู่กับรถร่วมบริการหลายสาย บางคันก็โละตัวถังเดิมทิ้ง ต่อตัวถังใหม่ครอบแซสซีส์เดิมไปแล้ว ยังมีวิ่งอยู่ในสาย 8, 38, 48, 52, 110, 113, 115, 122, 126, 146, 149 และ 1141 เป็นต้น

Hino-BX321

ภาพจาก John Veerkamp / Nakhon Phathiwit

6. Hino BX321 (ปี 2531 – ปัจจุบัน)

รถเมล์ Hino BX321 (ฮีโน่ บีเอ็กซ์ 321) รุ่นแรก ที่ ขสมก. ใช้สี “ครีมแดง” และใช้ระบบการเก็บค่าโดยสารแบบหยอดเหรียญ แต่ก็ยกเลิกไป จัดหามาใช้ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2531 จำนวน 250 คัน ในรุ่นเลขข้างรถรหัส 4001 – 4250 จนกระทั่งปลดระวางไปในช่วงปี 2541 – 2543 โดยบริจาคและขายให้กับรถร่วมบริการเกือบหมด (ซึ่ง ขสมก. เอง มีเก็บรถรุ่นนี้ไว้ใช้งานต่ออีกหลายคัน แต่ปัจจุบันปลดระวางหมดแล้ว)

ยังมีใช้อยู่กับรถร่วมบริการหลายสาย แต่ก็ดัดแปลงตัวถังกันไป ยังมีวิ่งอยู่ในสาย 17, 38, 46, 89, 98, 124 เป็นต้น

Isuzu-MT111L

ภาพจาก John Veerkamp / SpeedBusszz RallySalaya‎

7. Isuzu MT111L (ปี 2531 – ปัจจุบัน)

รถเมล์ Isuzu MT111L (อีซูซุ เอ็มที111แอล) รุ่นแรก ที่ ขสมก. ใช้สี “ครีมแดง” และใช้ระบบการเก็บค่าโดยสารแบบหยอดเหรียญ แต่ก็ยกเลิกไป จัดหามาใช้ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2531 จำนวน 250 คัน ในรุ่นเลขข้างรถรหัส 5001 – 5250 จนกระทั่งปลดระวางไปในช่วงปี 2541 – 2543 โดยบริจาคและขายให้กับรถร่วมบริการทั้งหมด

ยังมีใช้อยู่กับรถร่วมบริการหลายสาย แต่ก็ดัดแปลงตัวถังกันไป ยังมีวิ่งอยู่ในสาย 14, 17, 43, 85, 99, 133 เป็นต้น

Daewoo-BS120DS

ภาพจาก John Veerkamp / mai_kawabus

8. Daewoo BF120DS (ปี 2531 – ปัจจุบัน)

รถเมล์ Daewoo BF120DS (แดวู บีเอฟ120ดีเอส) รุ่นแรก ที่ ขสมก. ใช้สี “ครีมแดง” และใช้ระบบการเก็บค่าโดยสารแบบหยอดเหรียญ แต่ก็ยกเลิกไป จัดหามาใช้ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2531 จำนวน 400 คัน ในรุ่นเลขข้างรถรหัส 70101 – 70500 ตัวถังแบบประตูหน้า-หลัง ปลดระวางไปในช่วงปี 2541 – 2543 โดยบริจาคและขายให้กับรถร่วมบริการทั้งหมด

ยังมีใช้อยู่กับรถร่วมบริการหลายสาย แต่ก็ดัดแปลงตัวถังกันไป ยังมีวิ่งอยู่ในสาย 28, 64, 92, 99, 108, 149, 182 เป็นต้น

Mercedes-Benz-Padane

ภาพจาก John Veerkamp / mai_kawabus

9. Mercedes-Benz Padane (รถร่วมบริการ ปี 2532 – ปัจจุบัน / รถ ขสมก. ปี 2534 – มีนาคม 2561)

รถเมล์ Mercedes-Benz Padene (เมอร์เซเดส-เบนซ์ ปาดาเน่) หรือ Mercedes-Benz OF1617 ถ้าคนที่ขึ้นรถเมล์ย้อนไปสัก 20 กว่าปีที่แล้ว จะคุ้นเคยกันดี เพราะมีวิ่งเยอะมาก ทั้งในรูปแบบของรถเมล์ และรถทัวร์ รถเมล์รุ่นนี้ เริ่มต้นจากบริษัท เอส.เค.ทัวร์ แอนด์ เซอร์วิส จำกัด (SK) นำมาใช้เป็นรถเมล์ จน ขสมก. เห็นว่ารุ่นนี้ใช้ดี จึงสั่งมาใช้บ้างจำนวน 800 คัน แต่ก็มีรายละเอียดต่างกันอยู่หลายจุด และเป็นรถเมล์รุ่นแรกๆ ที่ใช้เกียร์อัตโนมัติด้วย แต่พอสภาพเก่าแล้ว ตัวรถโทรม ควันดำมากๆ จนเป็นที่มาของชื่อ “เบนซ์เน่า”

ปัจจุบัน ยังมีใช้อยู่กับรถร่วมบริการหลายสาย หลายบริษัท แต่ก็ดัดแปลงตัวถังกันเกือบหมด แปลงเป็นเกียร์ธรรมดาก็หลายคัน ยังมีวิ่งอยู่ในสาย 7, 68, 84, 113, 507, 524, 542 และ 1013 เป็นต้น

Daewoo-BS120S

ภาพจาก John Veerkamp / YUN Free Photo

10. Daewoo BF120S (ปี 2534 – ปัจจุบัน)

รถเมล์ Daewoo BF120S (แดวู บีเอฟ120เอส) จัดหามาใช้ในช่วงเดือนสิงหาคม 2534 ถึงมิถุนายน 2535 จำนวน 450 คัน ในรุ่นเลขข้างรถรหัส 70501 – 70900 ตัวถังแบบประตูกลาง เป็นรถรุ่นที่เสียบ่อยและควันดำมาก จึงปลดระวางอย่างเร็วในช่วงปี 2542 – 2545 และรุ่นที่ ขสมก. ซ่อมเอง (รถย้อมแมว) ปลดระวางช่วงปี 2551 โดยบริจาค หรือเอาไปทำปะการังเทียม และขายให้กับรถร่วมบริการทั้งหมด

ยังมีใช้อยู่กับรถร่วมบริการหลายสาย บางคันก็ดัดแปลงจนเละ บางคันก็ยังสภาพเดิมๆ ก็มี ยังมีวิ่งอยู่ในสาย 9, 17, 29, 30, 40, 43, 44, 110, 115, 122, 126, 182 เป็นต้น

แหล่งที่มาบางส่วนจาก: