Howto-Clean-Headlights

สำหรับปัญหาไฟหน้ารถเหลือง ถือเป็นเรื่องกวนใจของใครหลายๆ คน โดยเฉพาะรถยนต์ที่ผ่านการใช้งานมานาน มักจะเจอปัญหาไฟหน้ารถมีสีหม่นๆ หรือสีเหลือง ดังนั้น คนรักรถอย่างเราที่ดูแลรักษารถมาเป็นอย่างดี ลองมาหาวิธีขัดไฟหน้ารถให้ใสเหมือนใหม่กันเถอะ รับรองว่าหลังจากใช้วิธีนี้แล้ว ไฟหน้ารถของคุณก็จะกลับมาใสเหมือนเดิม แถมไม่ต้องเปลืองเงินขัดไฟหน้ารถด้วย

Howto-Clean-Headlights

1. ใช้ยาสีฟันมาเป็นตัวช่วย

รู้หรือไม่ว่า? นอกจากยาสีฟันจะช่วยทำให้ฟันขาวสะอาดแล้ว ยาสีฟันยังเป็นอุปกรณ์สำคัญที่จะช่วยขจัดคราบเหลืองบนไฟหน้ารถอีกด้วย แต่แนะนำให้ใช้เป็นยาสีฟันแบบครีม เน้นฟลูออไรด์ หรือสูตรฟันขาวจะช่วยขจัดไฟเหลืองหน้ารถได้ดี เพียงคุณทำตามวิธีดังนี้

  • ล้างไฟหน้ารถให้สะอาดด้วยน้ำเปล่า
  • เช็ดด้วยผ้าสะอาดให้แห้ง
  • จากนั้นบีบยาสีฟันยี่ห้ออะไรก็ได้
  • ใช้ผ้าหรือโฟมถูบริเวณที่มีคราบเหลืองเกาะติด ทิ้งไว้ประมาณ 2 นาที
  • ล้างน้ำเปล่าให้สะอาดก็เป็นอันเรียบร้อย

2. ขัดไฟหน้ารถด้วยสเตคลีน

ต่อด้วยสเตคลีน ครีมสำหรับทำความสะอาดเครื่องหนังแ และพลาสติกที่หาได้ง่าย มีชาวเน็ตหลายคนบอกว่าสเตคลีนสามารถขัดไฟหน้ารถเหลืองให้ขาวสะอาดได้ เพียงทำตามขั้นตอนง่ายๆ ได้แก่

  • นำสเตคลีนทาบริเวณไฟหน้ารถที่มีคราบเหลือง
  • จากนั้นให้ใช้ผ้าสะอาดขัดออก ทิ้งพักไว้ 2 นาที
  • หลังจากนั้นคราบเหลืองก็จะหายไป

หากคราบเหลืองยังไม่หาย ก็สามารถทาสเตคลีนซ้ำอีก แล้วขัดวนไปจนกว่าไฟหน้ารถจะกลับมาขาวสะอาดอีกครั้ง เห็นไม่ล่ะว่าง่ายนิดเดียว อีกทั้งยังช่วยให้รถดูเงางามด้วย

Howto-Clean-Headlights

3. ขัดไฟหน้ารถด้วยน้ำยาขัดโคมไฟ

เริ่มต้นด้วยวิธีแรกสำหรับ “น้ำยาขัดโคมไฟ” ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เพียงลงทุนซื้อยาขัดโคมไฟหน้ารถมา ก็สามารถนำมาขัดไฟหน้ารถได้แล้วครับ ซึ่งให้เตรียมอุปกรณ์แค่ 2 อย่างเท่านั้น คือ น้ำยาขัดโคมไฟ และผ้าไมโครไฟเบอร์ หรือผ้าชามัวร์สัก 2-3 ผืน ให้เราลองทำตามวิธีดังนี้

  • ล้างไฟหน้ารถให้สะอาดก่อน
  • นำผ้าไมโคไฟเบอร์หรือผ้าชามัวร์มาเช็ดให้แห้ง
  • เทน้ำยาขัดโคมไฟลงผ้าไมโคไฟเบอร์ หรือผ้าชามัวร์
  • ขัดไฟหน้ารถเหลืองให้ทั่วบริเวณ ทิ้งไว้ประมาณ 3 นาที
  • ให้นำผ้าสะอาดมาเช็ดคราบน้ำยาขัดโคมไฟให้ออกก็เรียบร้อย

ทั้งหมดนี้ก็คือ วิธีขจัดไฟหน้ารถเหลืองให้กลับมาขาวใหม่อีกครั้ง ซึ่งเราสามารถหาอุปกรณ์ง่ายๆ ได้ตามท้องตลาด แล้วใช้ตามคำแนะนำที่บอกข้างต้นได้เลย เพียงเท่านี้ไฟหน้ารถของคุณก็จะวิบวับเหมือนเดิม แถมยังช่วยเซฟค่าใช้จ่ายของคุณอีกด้วย เอาเป็นเราลองมาทำกันดูนะครับ ง่ายนิดเดียว!!

ขอบคุณข้อมูลจาก : frank.co.th ประกันที่รวดเร็ว เรียบง่าย และจริงใจกับคุณ

Bad-Result-For-Drive-Through-Water

พอเข้าสู่ช่วงเดือนหน้าฝนทีไร ก็คงหนีไม่พ้นกับปัญหา “ฝนตก รถติด” นอกจากจะสร้างความรำคาญใจและอันตรายแก่ผู้ใช้รถใช้ถนนแล้ว ยังเกิดผลเสียต่อรถของเราอีกด้วย โดยเฉพาะสถานการณ์จำเป็นที่ต้องขับรถลุยน้ำท่วมขัง หากคุณขับรถลุยน้ำไปนานๆ อาจจะทำให้รถพังเร็วกว่าที่คิดได้ แล้วปัญหานี้จะส่งผลเสียต่อรถของเรายังไงบ้าง มาอ่านกันเลยครับ

1. สภาพเครื่องยนต์ทำงานหนัก

แน่นอนเวลาขับรถลุยน้ำ พลังของมวลน้ำจะมาปะทะที่ตัวรถเรา จึงทำให้รถหนักและเคลื่อนตัวได้ช้าลง ยิ่งถ้าคุณเหยียบคันเร่งเพื่อที่จะเร่งเครื่อง ก็จะทำให้เครื่องยนต์ทำงานหนักหรือร้อนมากขึ้น ดังนั้น หากคุณขับรถลุยฝนไม่ถูกวิธี ท้ายที่สุดจะทำให้เครื่องยนต์ดูดน้ำเข้าไปในห้องเครื่อง และทำให้เครื่องยนต์พังนั่นเอง

Bad-Result-For-Drive-Through-Water

2. ผ้าเบรกเสื่อมสภาพไว

สำหรับระบบ “เบรก” ถือเป็นอีกหนึ่งจุดที่สำคัญมากๆ เมื่อเกิดน้ำท่วมอาจจะทำให้น้ำเข้าสู่การทำงานของเบรค แล้วทำให้เบรคเกิดอาการขัดข้องได้ง่าย ไม่เพียงเท่านั้นความชื้นของเบรคยังส่งผลให้เบรคมีประสิทธิภาพในการทำงานลดลง เช่น เบรคเป็นสนิม เบรคแล้วไม่อยู่ เบรคแล้วลื่น เป็นต้น ทางที่ดีเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุไม่คาดคิด หลังจากขับรถลุยน้ำแล้วอย่าลืมไล่ความชื่นด้วยการเหยียบเบรคเบาๆ มันก็จะช่วยให้ผ้าเบรคแห้ง และกลับมาเป็นปกติได้

3. ระบบไฟฟ้าในรถเสียหาย

เพราะน้ำกับไฟเป็นสิ่งไม่คู่กันอยู่แล้ว หากเราไม่ดูแลรถหลังจากขับรถลุยน้ำท่วม ก็อาจจะทำให้ระบบไฟฟ้าทั้งหมดภายในเครื่องเสียหายตามมาได้ครับ ไม่ว่าจะเป็นกล่องควบคุมไฟฟ้าภายในเครื่องยนต์ ระบบแอร์ เเบตเตอรี่รถยนต์ รวมถึงระบบต่างๆ ของเครื่องยนต์ ก็จะทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจร หรือรถสตาร์ทไม่ติดอีกด้วย

Bad-Result-For-Drive-Through-Water

4. รถพัง รถเป็นสนิม

นอกจากปัญหาฝนตกรถติด น้ำท่วมจะทำให้ระบบภายในเครื่องยนต์เสียหายแล้ว หากคุณไม่ล้างรถและเช็ดรถให้แห้งหลังจากขับรถลุยฝน ยังส่งผลให้รถภายนอกของคุณเป็นสนิม เสื่อมโทรมเร็วกว่าที่คิดด้วย เพราะคราบน้ำฝนจะกลายเป็นคราบฝังแน่น และทำลายสีรถได้ รวมถึงเศษฝุ่น เศษดิน เศษใบไม้ใบกิ่งไม้ ทั้งหมดนี้ก็จะทำให้รถของคุณดูเก่าเร็ว เกิดคราบสนิมเกาะบนผิวรถอีกด้วย

ดังนั้น หากเราไม่รู้จักดูแลรถหลังจากขับรถลุยฝน ก็จะยิ่งทำให้รถของคุณพัง และเสื่อมสภาพตามมาครับ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องยนต์ ระบบไฟฟ้าภายใน ระบบเบรค ระบบแอร์ ระบบท่อไอดี และสีของรถ ทางที่ดีเราควรหมั่นดูแลรักษาเครื่องยนต์ เพื่อให้รถสุดที่รักอยู่กับเราไปนานๆ

แล้วที่สำคัญเราอย่าลืมต่อประกันรถยนต์ให้ช่วยคุ้มครองรถจากอุบัติเหตุไม่คาดฝันด้วยนะ อย่างน้อยประกันรถยนต์จะช่วยดูแลเราในทุกการขับขี่มากขึ้น สบายใจได้เปราะหนึ่งเลยครับ

ขอบคุณข้อมูลจาก : frank.co.th ประกันที่รวดเร็ว เรียบง่าย และจริงใจกับคุณ

Carro-Not-Forget-If-Double-Parking

อะไรเอ่ย หายากกว่าค่าผ่อนรถ คำตอบก็คือ “ที่จอดรถ” นั่นเองครับ ค่าผ่อนรถถ้าเรามีการวางแผนการเงินที่ดี ไม่สุรุ่ยสุร่าย ยังไงก็มีเงินผ่อนรถแน่ๆ

แต่ที่จอดรถนี่สิครับ บางทีวนแล้ววนอีก วนจนตาลาย ก็ยังหาที่จอดรถไม่เจอซักที ทางเลือกที่เหลืออยู่ก็คือต้อง “จอดซ้อนคัน” แต่การจอดรถซ้อนคันนั้นมีอะไรต้องคำนึงและห้ามลืมบ้าง วันนี้เพนกวิน Frank ได้นำมาเสนอคุณแล้ว

Not-Forget-If-Double-Parking

1. คำนึงถึงระยะห่าง

ถ้าเราจอดรถในซองที่มีเส้นแบ่งชัดเจนก็คงไม่เป็นปัญหา แต่การจอดซ้อนคันมันไม่มีเส้นแบ่งเป็นสัญลักษณ์ให้เรา แล้วเราจะทำยังไงดีล่ะ ถ้าใครกังวล แฟรงค์ขอแนะนำให้คุณ “เว้นระยะห่างให้มากกว่าปกติ” โดยแฟรงค์แนะนำให้มีพื้นที่ว่างอย่างน้อยหนึ่งช่วงรถ ที่ต้องทำอย่างนี้ก็เพื่อความปลอดภัย และอำนวยความสะดวกกรณีต้องมีการเคลื่อนย้ายรถด้วย

2. ดูทำเลที่จอดรถซ้อนคันของเราด้วย

การจอดรถซ้อนคัน ใช่ว่าจะจอดที่ไหนก็ได้นะครับ เพราะถ้าเราจอดไม่ดูทำเลอาจกลายเป็นว่าไปขวางทางเข้าออกของคนอื่น หรือดันไปจอดในที่ที่มีความลาดชันมากจนอาจเกิดอุบัติเหตุรถไหลไปชนคันอื่นได้ ดังนั้น เราต้องดูทำเลที่จอดให้ดีๆ นะครับ ห้ามลาดชัน ห้ามขวางทาง จำให้มั่น

Not-Forget-If-Double-Parking

3. จอดรถให้สามารถเคลื่อนย้ายได้

เพราะการจอดรถซ้อนคัน เราต้องคำนึงถึงรถคันที่เราไปซ้อนด้วยครับ ดังนั้น เราต้องจอดรถให้ดี เพื่อให้สามารถเคลื่อนย้ายรถได้สะดวก โดยแฟรงค์แนะนำให้คุณทำตามดังนี้ครับ

1. ตั้งล้อให้เป็นแนวตรง ก่อนที่จะดับเครื่องและลงจากรถ ให้เราหมุนพวงมาลัยให้เป็นแนวตรงก่อนครับ เพื่อที่เวลาคนจะมาเคลื่อนย้ายรถเราจะได้เข็นเป็นเส้นตรง ไม่เบี้ยวไปชนรถคันอืนๆ
2. เข้าเกียร์ N หรือเกียร์ว่าง เพื่อให้รถสามารถเคลื่อนย้ายได้ ห้ามใส่เกียร์ P เด็ดขาดนะครับ
3. เอาเบรกมือลง หลายคนเคยชินกับการจอดรถโดยยกเบรกมือขึ้น แต่ถ้าเราจอดรถซ้อนคัน ต้องห้ามเอาเบรกมือขึ้นเด็ดขาดครับ

4. ทิ้งเบอร์ติดต่อไว้ซักหน่อย

สุดท้ายแล้วเผื่อไว้สำหรับกรณีฉุกเฉิน ให้เราลองเขียนข้อความชื่อ พร้อมเบอร์ติดต่อแนบไว้หน้ากระจกรถของคุณ หากเกิดปัญหาอะไรขึ้น ก็จะมีคนติดต่อคุณได้นั่นเองครับ

และนี่ก็คือสิ่งที่ห้ามลืมเมื่อจอดรถซ้อนคัน ที่จะช่วยให้การจอดรถซ้อนคันของคุณปลอดภัยขึ้นอย่างแน่นอนครับ แต่ไม่ว่าจะปลอดภัยแค่ไหน เปอร์เซนต์การเกิดอุบัติเหตุก็ยังคงไม่เป็นศูนย์อยู่ดี ดังนั้น อย่าลืมทำประกันรถยนต์จาก www.frank.co.th ไว้ดูแลคุณนะครับ

4 เหตุผลที่รถมือสอง เหมาะกับประกันชั้น 2+

สำหรับใครที่ซื้อรถมือสองมาครอบครองแล้ว นอกเหนือจากการมีประกันภาคบังคับพ.ร.บ.รถยนต์ไว้ดูแลชีวิต ค่ารักษาพยาบาลแล้ว การซื้อประกันรถยนต์ หรือประกันภาคสมัครใจก็เป็นสิ่งที่คุณไม่ควรมองข้าม เพื่อป้องกันกรณีเกิดอุบัติเหตุรถชน รถหาย หรือรถไฟไหม้ หากคุณกำลังมองหาประกันรถยนต์ที่มีความคุ้มค่าที่มาพร้อมกับเบี้ยที่ไม่แพง ไม่แรงเกินไป อยากให้คนใช้รถมือสองลองพิจารณาประกัน 2 พลัส กับเหตุผลดี ๆ ที่นำมาเล่าตามนี้

 

1. เบี้ยประหยัด ราคาไม่แพง ดีต่อใจคนใช้รถมือสอง

หากคุณต้องการประหยัดเงิน และไม่อยากใช้งบเยอะ ประกันชั้น 2+ เป็นอะไรที่ดีต่อใจจริง ๆ เนื่องจากมีเบี้ยประหยัดกว่าประกันชั้น 1 ประมาณครึ่งนึง อย่างไรก็ดีการคำนวณเบี้ยกัน มาจากหลายตัวแปร เช่น

  • ทุนประกันรถที่ควรเลือกตามความต้องการของเราได้ตั้งแต่ 100,000 บาทเป็นต้น เมื่อทุนประกันต่างกันค่าเบี้ยประกันก็ต่างกันด้วย
  • ส่วนลดเบี้ยประกันต่าง ๆ เช่น ประวัติการขับขี่ดีในปีที่ผ่านมา, การเลือกมีค่าเสียหายส่วนแรก (Deductible) ก็ช่วยประหยัดเบี้ยได้เป็นอย่างดี
  • ส่วนลดกล้องติดรถยนต์ก็ทำให้ได้ราคาเบี้ยประกันที่ถูกลงด้วยประมาณ 5-10% จากราคาเบี้ยสุทธิตามประกาศของ คปภ. แนะนำให้ลองพูดคุยขอส่วนลดกับบริษัทฯ ประกันหรือโบรกเกอร์ที่คุณกำลังจะซื้อประกันรถยนต์จะดีที่สุด

ประกันชั้น 2+ จึงเหมาะกับรถมือสองที่มี 4 ปีขึ้นไปที่ต้องการความคุ้มครองเทียบเท่าประกันชั้น 1 แต่ไม่อยากจ่ายเบี้ยแพง ประกันชั้น 2+ คือทางเลือกที่เหมาะที่สุดสำหรับคุณ

 

2. คุ้มครองคุ้มค่า ดูแลอุบัติเหตุ

ถ้าคุณกำลังมองหาตัวช่วยในการประหยัดเบี้ยประกัน ประกันชั้น 2+ สามารถตอบโจทย์คุณได้เพราะประกันชั้น 2+ หรือประกันรถยนต์ชั้น 2 พลัส ยังออกแบบมาเพื่อดูแลอุบัติเหตุที่เกิดจากการชนของรถชนรถตามทุนประกันที่เลือกไว้ (เพียงแต่ประกันชั้น 2+ ไม่คุ้มครองดูแลเหตุรถชนสิ่งอื่นที่ไม่ใช่รถ  เช่น ชนเสาไฟฟ้า ชนรั้วบ้าน หรือไปครูดฟุตบาท หรือเคสอุบัติเหตุที่ไม่สามารถระบุคู่กรณี จะต้องจ่ายค่าซ่อมเอง)

 

3. ประกันชั้น 2+ ช่วยดูแลเหตุรถหาย ไฟไหม้ น้ำท่วม ฯลฯ

อย่างที่บอกว่าประกันชั้น 2 พลัสมีความคุ้มครองที่เหมือนกับประกันรถยนต์ชั้น 1 นอกเหนือจากดูแลเหตุรถชนรถประกันชั้น 2+ ยังช่วยดูแลเหตุรถหาย ให้ความคุ้มครองตามทุนประกันที่ได้เลือกไว้เช่นเดียวกัน และกรณีรถไฟไหม้อีกด้วย ซึ่งจะดูแลตามทุนประกันล่ะ

นอกจากดูแลถยนต์สูญหาย, รถยนต์ไฟไหม้ ประกัน 2+ ยังคุ้มครองเหตุอื่น ๆ เช่น รถยนต์น้ำท่วม,  ผลกระทบจากภัยก่อการร้ายอุบัติเหตุส่วนบุคคลของคนขับและผู้โดยสาร รวมทั้งรักษาพยาบาลผู้ขับขี่และผู้โดยสาร ทั้งกรณีที่ได้รับบาดเจ็บ หรือสูญเสียชีวิตที่เกินจากความคุ้มครองของพ.ร.บ.รถยนต์ ตามด้วยการรักษาแบบต่อเนื่องที่ต้องใช้ระยะเวลา ฯลฯ เห็นไหมว่า ประกันชั้น 2+ เป็นอีกหนึ่งทางเลือกของคนขับรถมือสอง

 

4. เพราะประกันชั้น 2+ ช่วยจ่ายความเสียหายที่เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุ

กรมธรรม์ประกันชั้น 2+ นอกจากช่วยดูแลค่าใช้จ่ายในการซ่อมรถของคู่กรณี (ยานพาหนะทางบก) ยังช่วยจ่ายช่วยเหลือกรณีอุบัติเหตุนั้น ๆ ทำให้ทรัพย์สินเสียหายตามทุนประกันที่เลือกไว้ เพื่อแบ่งเบาภาระเรื่องค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้น เริ่มสนใจประกันชั้น 2+ เนื้อคู่ของรถมือสองบ้างหรือยัง ? เช็กเบี้ยที่ใช่กับ frank.co.th ได้นะ

ขอบคุณข้อมูลจาก Frank “ประกันที่รวดเร็ว เรียบง่าย และจริงใจกับคุณ”

ซื้อประกันภัยออนไลน์ ช่วงเวลาไหน เบี้ยดีที่สุด

รู้ก่อนซื้อประกันรถยนต์ เพื่อให้ได้เบี้ยที่ดีที่สุด

ไม่ว่าคุณจะกำลังซื้อรถใหม่เอี่ยม หรือซื้อรถมือสอง สิ่งที่ Chauffeur ทั้งหลายจะต้องรู้คือ การซื้อประกันรถยนต์ เพื่อให้ได้เบี้ยที่ดีที่สุดจะต้องซื้อช่วงไหนกันนะ 

ไม่ว่าจะเป็น ประกันชั้น 1 ประกันชั้น 2+ หรือประกันชั้น 3+ ก็ตาม เราก็ต้องเลือกสิ่งที่ดีที่สุดกับเรา ถูกไหม โดยเฉพาะเบี้ยรถที่จ่ายไหว ไม่แรงเกินไปตรงนี้สำคัญมาก ๆ บ่อยครั้งเรามักจะได้ยินว่า ต่อประกันกับที่เดิม หรือบริษัทฯ ประกันเจ้าเก่าเจ้าประจำจะได้เบี้ยดีกว่า เพราะหากขับดีไม่มีเคลม ก็ได้รับส่วนลดประวัติดี ๆ ประมาณ 20-30% มีรายละเอียดประมาณนี้จ้า

ส่วนลดประวัติดี

    • ขั้นที่ 1 ลด 20% เมื่อไม่มีการเคลมรถยนต์ในปีแรก
    • ขั้นที่ 2 ลดเพิ่มอีก 10% จากปีที่แล้วเป็น 30% เมื่อไม่มีการเคลมใน 2 ปีติดต่อกัน
    • ขั้นที่ 3 ลดเพิ่มอีก 10% จากปีที่แล้วเป็น 40% เมื่อไม่มีการเคลมใน 3 ปีติดต่อกัน
    • ขั้นที่ 4 ลดเพิ่มอีก 10% จากปีที่แล้วเป็น 50% เมื่อไม่มีการเคลมใน 4 ปีติดต่อกัน หรือมากกว่านั้น

 

  • แต่ทั้งนี้ในการให้ส่วนลดประวัติดีนั้นอาจจะขึ้นอยู่กับโปรโมชั่นของแต่ละบริษัทประกันด้วย

ซื้อประกันภัยออนไลน์-ช่วงเวลาไหน-เบี้ยดีที่สุด-(๑)

 

ต่อประกันรถยนต์จะให้ดีต้องช่วงไหน ?

“ซื้อได้หมดถ้าเราสะดวก” พูดง่าย ๆ เลยคือ ซื้อตอนไหนก็ได้ตามความสะดวกของคุณ เราสามารถต่อประกันรถยนต์ล่วงหน้าได้ตั้งแต่

  • ซื้อล่วงหน้า 6 เดือน จะทำให้เราผ่อนยาว ๆ สบาย ๆ เพราะเบี้ยรถยนต์โดยเฉพาะประกันชั้น 1 ที่ค่อนข้างสูง ซึ่งการซื้อประกันออนไลน์บางเจ้าจะมีบริการผ่อน 0% สูงสุดถึง 10 เดือน ให้ด้วยทำให้เราบริหารการเงินได้ง่ายขึ้น และยังมีของแถม มีส่วนลด ที่สำคัญเรามีเวลาตัดสินใจเลือกซื้อประกันรถยนต์ที่ดีที่สุดด้วย
  • ซื้อล่วงหน้า 3 เดือน ต่อประกันล่วงหน้าก็มีข้อดีคือผ่อนชำระสบาย ๆ ไม่กดดันเกิน แต่เราอาจะมีเวลาตัดสินใจน้อยกว่าการซื้อล่วงหน้า 6 เดือน เพื่อให้ความคุ้มครองรถยนต์ต่อเนื่องแบบไม่มีตกร่องล่ะค่ะ
  • ต่อประกันล่วงหน้า 1 เดือน ก่อนหมดความคุ้มครอง ค่อนข้างกระชันชิค่ะ แต่ก็ยังถือว่าโอเค ลองหาข้อมูลออนไลน์เปรียบเทียบซื้อประกันรถยนต์ที่ไหนดี เลือกเบี้ยที่ใช้ พร้อมกับจ่ายเงินเต็ม ๆ เพื่อรับความคุ้มครองประกันที่ใช่สำหรับคุณได้เลย
  • หรือแม้กระทั่ง 1 วัน ก่อนหมดความคุ้มครองประกันรถยนต์ก็ยังได้ แต่มีความเสี่ยงหน่อย ๆ คือ ความคุ้มครองอาจจะไม่ครอบคลุม หากเกิดเหตุในวันที่เราไม่มีประกันรถยนต์ อาจจะต้องจ่ายเองนะคะ 

ด้วยข้อแตกต่างระหว่างประกันรถยนต์ซึ่งเป็นประกันภาคสมัครใจจะไม่มีค่าปรับเหมือน พ.ร.บ.รถยนต์ (อย่าลืมต่อพ.ร.บ.ก่อนซื้อประกันรถยนต์) แต่อย่างไร อย่าปล่อยให้ขาดต่อประกันรถยนต์นะคะ เพราะคุณจะไม่ได้รับความคุ้มครองหากเกิดเหตุการณ์บนท้องถนน เช่น รถชน รถหาย ฯลฯ

ในที่นี่คุณสามารถเลือกจ่ายค่าเสียหายส่วนแรก (Deductible) 1,000 – 5,000 บาทเพื่อรับส่วนลดเบี้ยประกันได้ด้วยนะคะ หรือจะให้ประหยัดลงอีกสามารถทำประกันรถยนต์แบบระบุชื่อคนขับ 2 คนก็จะได้รับเบี้ยราคาจ่ายสบาย พร้อมกับติดกล้องหน้ารถยนต์ก็ได้ส่วนลดเบี้ยด้วยเหมือนกัน

ขอบคุณข้อมูลจาก Frank.co.th

 

เหตุผลที่รถทุกคันต้องต่อ พ.ร.บ. รถยนต์

ทำไมต้องทำ พ.ร.บ.รถ?

แน่นอนว่าการขับขี่รถยนต์บนท้องถนน เราไม่มีทางรู้เลยว่าเหตุร้ายจะเกิดขึ้นกับเราเมื่อไหร่ ดังนั้น ปฏิเสธไม่ได้ว่ารถใหม่หรือรถยนต์มือสอง และรถคันไหน ๆ ก็ต้องมี พ.ร.บ. ติดรถทุกคัน

ซึ่งมีชื่อเต็ม ๆ ว่า “พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ” (Compulsory Third Party Insurance) เพราะเป็นประกันรถยนต์ภาคบังคับที่กฎหมายจราจรบัญญัติให้ทุกคันต้องทำเพื่อให้ต่อภาษีรถยนต์ประจำปีหรือที่รู้จักกันดีในชื่อว่าป้ายวงกลมนั้นแหละ ว่าแต่ะ พ.ร.บ. ยังมีข้อดีอะไรบ้างนั้น ? เราจะเล่าให้ฟัง

  1. พ.ร.บ. รถยนต์ มีไว้ต่อภาษีประจำปี หรือป้ายวงกลม

ไหน ๆ เราก็ต้องจ่ายเงินทุกปี ๆ ก็ต้องรู้ประโยชน์ของ พ.ร.บ. รถยนต์กันบ้างล่ะ ต้องยอมรับว่าคำว่า พ.ร.บ. รถจะเป็นคำคุ้นชินกันเป็นอย่างดี แต่ถ้าระบุความหมายจริง ๆ โดยอ้างอิงข้อมูลจากพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถปี 2535 ระบุว่า “รถทุกชนิดต้องทำ พ.ร.บ. ก่อนจึงจะต่อทะเบียนรถได้”

แม้ว่าการต่อ พ.ร.บ. จะเป็นเรื่องง่ายที่ทำได้เอง แต่ก็เป็นเรื่องที่ต้องใส่ใจ เพราะอาจจะลืมวันขาดต่อได้เช่นกัน แนะนำจดรายละเอียดไว้ให้ดี เพราะหากรถยนต์คันไหนขาดต่อ หรือไม่มี พ.ร.บ. มีความผิดตามกฎหมายจราจรอาจมีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท

 

  1. ช่วยค่ารักษาพยาบาลเบื้องต้นกรณีเกิดอุบัติเหตุ

เพราะอุบัติเหตุเป็นสิ่งที่ไม่มีใครคาดฝันและไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น สิ่งที่คุณต้องรู้เลย คือการต่อพ.ร.บ. เป็นสวัสดิการขั้นพื้นฐานหากเกิดอุบัติเหตุ คือ ดูแลความเสียหายต่อชีวิต ซึ่งจะช่วยดูแลคุณเบื้องต้นหากเกิดการบาดเจ็บ เช่น ค่ายา, ค่าบริการทางการแพทย์, ค่าห้องพัก, ค่าพาหนะนำผู้บาดเจ็บไปสถานพยาบาล และค่าอุปกรณ์รักษา สามารถเบิกค่ารักษาได้ตามจริง (สำรองจ่ายก่อน) แต่ไม่เกินคนละ 30,000 บาท โดยต้องเตรียมเอกสารไปที่บริษัทกลางประกันภัย ดังนี้

  • ใบแจ้งความบันทึกประจำวัน
  • ใบรับรองแพทย์/ใบเสร็จรักษาพยาบาล
  • สำเนาบัตรประชาชนของผู้ประสบอุบัติเหตุ

หลังจากติดต่อยื่นเอกสารกับบริษัทกลางประกันภัยแล้ว คุณจะได้รับเงินชดเชยตามสิทธิภายใน 7 วันทำการ จ่ายเป็นเงินสด หรือโอนจ่ายเงินเข้าบัญชีธนาคาร ฯลฯ และต้องแจ้งใช้สิทธิภายใน 180 วันหลังจากเกิดเหตุครับ

 

  1. จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นกรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวร

หากประสบอุบัติเหตุถึงขั้นเสียชีวิต พ.ร.บ.จะช่วยจ่ายค่าเยียวยากรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวรโดยจะได้รับเงินคนละ 35,000 บาท ในกรณีรักษาตัวในโรงพยาบาล แล้วเสียชีวิตลงในภายหลังก็จะได้รับค่าชดเชยรวมกัน [30,000 บาท (ข้อ2) +35,000 บาท (ข้อ 3)] คนละไม่เกิน 65,000 บาทซึ่งต้องนำใบมรณะบัตร และหลักฐานอื่น ๆ มายื่นด้วย หากผู้ใดยื่นคำขอรับค่าเสียหายอันเป็นเท็จ จะมีความผิดตามกฎหมาย มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ  

 

  1. จ่ายสินไหมทดแทน เมื่อพิสูจน์ได้ว่า “ผู้เคลมเป็นฝ่ายถูก”

กรณีที่คุณเป็นฝ่ายถูกหลังจากการพิสูจน์หลักฐานแล้ว พบว่า คุณเป็นฝ่ายถูกต้องไม่ได้ทำผิดกฎหมาย จะได้รับค่าสินไหมทดแทน หรือค่าทำขวัญ ได้แก่

  • รักษาพยาบาลจากอาการบาดเจ็บ 80,000 บาทต่อคน
  • กรณีเสียชีวิตหรือพิการจากอุบัติเหตุดังกล่าว พิจารณาตามเกณฑ์ จะได้รับค่าสินไหมทดแทน 200,000 – 300,000 บาทต่อคน
  • รับค่าชดเชยหากเป็นผู้ป่วยใน 200 บาทต่อวัน แต่ไม่เกิน 20 วัน (รวมไม่เกิน 4,000 บาท)
  • วงเงินคุ้มครองรวมกันสูงสุดไม่เกิน 304,000 บาท
  • วงเงินคุ้มครองรถยนต์ไม่เกิน 7 ที่นั่ง 5 ล้านบาท/ครั้ง
  • วงเงินคุ้มครองรถยนต์เกิน 7 ที่นั่ง 10 ล้านบาท/ครั้ง

อย่างไรก็ดี พ.ร.บ. จะให้ความคุ้มครองเฉพาะตัวบุคคลเท่านั้น และใช้เวลาเบิกจ่ายประมาณ 7 วัน มิได้คุ้มครองความเสียหายส่วนทรัพย์สินหรือส่วนรถยนต์แต่อย่างใด

หลังจากอ่านบทความนี้ เราหวังว่าคุณคงได้คำตอบของคำถามที่ว่า “ทำไมต้องทำ พ.ร.บ.รถกันแล้วนะครับ”และสนใจต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ออนไลน์ง่าย ๆ เพียงปลายนิ้วสัมผัส ต่อกับ frank.co.th ได้เลย รับเอกสารทันทีภายใน 3 นาที ไม่ต้องรอให้ยุ่งยาก ไม่ต้องออกบ้านให้เสียเวลา พร้อมยื่นจดภาษีประจำปีได้เล้ย!!

 

ข้อมูลจาก frank.co.th