4 เหตุผลที่รถทุกคันต้องต่อ พ.ร.บ. รถยนต์
ทำไมต้องทำ พ.ร.บ.รถ?
แน่นอนว่าการขับขี่รถยนต์บนท้องถนน เราไม่มีทางรู้เลยว่าเหตุร้ายจะเกิดขึ้นกับเราเมื่อไหร่ ดังนั้น ปฏิเสธไม่ได้ว่ารถใหม่หรือรถยนต์มือสอง และรถคันไหน ๆ ก็ต้องมี พ.ร.บ. ติดรถทุกคัน
ซึ่งมีชื่อเต็ม ๆ ว่า “พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ” (Compulsory Third Party Insurance) เพราะเป็นประกันรถยนต์ภาคบังคับที่กฎหมายจราจรบัญญัติให้ทุกคันต้องทำเพื่อให้ต่อภาษีรถยนต์ประจำปีหรือที่รู้จักกันดีในชื่อว่าป้ายวงกลมนั้นแหละ ว่าแต่ะ พ.ร.บ. ยังมีข้อดีอะไรบ้างนั้น ? เราจะเล่าให้ฟัง
-
พ.ร.บ. รถยนต์ มีไว้ต่อภาษีประจำปี หรือป้ายวงกลม
ไหน ๆ เราก็ต้องจ่ายเงินทุกปี ๆ ก็ต้องรู้ประโยชน์ของ พ.ร.บ. รถยนต์กันบ้างล่ะ ต้องยอมรับว่าคำว่า พ.ร.บ. รถจะเป็นคำคุ้นชินกันเป็นอย่างดี แต่ถ้าระบุความหมายจริง ๆ โดยอ้างอิงข้อมูลจากพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถปี 2535 ระบุว่า “รถทุกชนิดต้องทำ พ.ร.บ. ก่อนจึงจะต่อทะเบียนรถได้”
แม้ว่าการต่อ พ.ร.บ. จะเป็นเรื่องง่ายที่ทำได้เอง แต่ก็เป็นเรื่องที่ต้องใส่ใจ เพราะอาจจะลืมวันขาดต่อได้เช่นกัน แนะนำจดรายละเอียดไว้ให้ดี เพราะหากรถยนต์คันไหนขาดต่อ หรือไม่มี พ.ร.บ. มีความผิดตามกฎหมายจราจรอาจมีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท
-
ช่วยค่ารักษาพยาบาลเบื้องต้นกรณีเกิดอุบัติเหตุ
เพราะอุบัติเหตุเป็นสิ่งที่ไม่มีใครคาดฝันและไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น สิ่งที่คุณต้องรู้เลย คือการต่อพ.ร.บ. เป็นสวัสดิการขั้นพื้นฐานหากเกิดอุบัติเหตุ คือ ดูแลความเสียหายต่อชีวิต ซึ่งจะช่วยดูแลคุณเบื้องต้นหากเกิดการบาดเจ็บ เช่น ค่ายา, ค่าบริการทางการแพทย์, ค่าห้องพัก, ค่าพาหนะนำผู้บาดเจ็บไปสถานพยาบาล และค่าอุปกรณ์รักษา สามารถเบิกค่ารักษาได้ตามจริง (สำรองจ่ายก่อน) แต่ไม่เกินคนละ 30,000 บาท โดยต้องเตรียมเอกสารไปที่บริษัทกลางประกันภัย ดังนี้
- ใบแจ้งความบันทึกประจำวัน
- ใบรับรองแพทย์/ใบเสร็จรักษาพยาบาล
- สำเนาบัตรประชาชนของผู้ประสบอุบัติเหตุ
หลังจากติดต่อยื่นเอกสารกับบริษัทกลางประกันภัยแล้ว คุณจะได้รับเงินชดเชยตามสิทธิภายใน 7 วันทำการ จ่ายเป็นเงินสด หรือโอนจ่ายเงินเข้าบัญชีธนาคาร ฯลฯ และต้องแจ้งใช้สิทธิภายใน 180 วันหลังจากเกิดเหตุครับ
-
จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นกรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวร
หากประสบอุบัติเหตุถึงขั้นเสียชีวิต พ.ร.บ.จะช่วยจ่ายค่าเยียวยากรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวรโดยจะได้รับเงินคนละ 35,000 บาท ในกรณีรักษาตัวในโรงพยาบาล แล้วเสียชีวิตลงในภายหลังก็จะได้รับค่าชดเชยรวมกัน [30,000 บาท (ข้อ2) +35,000 บาท (ข้อ 3)] คนละไม่เกิน 65,000 บาทซึ่งต้องนำใบมรณะบัตร และหลักฐานอื่น ๆ มายื่นด้วย หากผู้ใดยื่นคำขอรับค่าเสียหายอันเป็นเท็จ จะมีความผิดตามกฎหมาย มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
-
จ่ายสินไหมทดแทน เมื่อพิสูจน์ได้ว่า “ผู้เคลมเป็นฝ่ายถูก”
กรณีที่คุณเป็นฝ่ายถูกหลังจากการพิสูจน์หลักฐานแล้ว พบว่า คุณเป็นฝ่ายถูกต้องไม่ได้ทำผิดกฎหมาย จะได้รับค่าสินไหมทดแทน หรือค่าทำขวัญ ได้แก่
- รักษาพยาบาลจากอาการบาดเจ็บ 80,000 บาทต่อคน
- กรณีเสียชีวิตหรือพิการจากอุบัติเหตุดังกล่าว พิจารณาตามเกณฑ์ จะได้รับค่าสินไหมทดแทน 200,000 – 300,000 บาทต่อคน
- รับค่าชดเชยหากเป็นผู้ป่วยใน 200 บาทต่อวัน แต่ไม่เกิน 20 วัน (รวมไม่เกิน 4,000 บาท)
- วงเงินคุ้มครองรวมกันสูงสุดไม่เกิน 304,000 บาท
- วงเงินคุ้มครองรถยนต์ไม่เกิน 7 ที่นั่ง 5 ล้านบาท/ครั้ง
- วงเงินคุ้มครองรถยนต์เกิน 7 ที่นั่ง 10 ล้านบาท/ครั้ง
อย่างไรก็ดี พ.ร.บ. จะให้ความคุ้มครองเฉพาะตัวบุคคลเท่านั้น และใช้เวลาเบิกจ่ายประมาณ 7 วัน มิได้คุ้มครองความเสียหายส่วนทรัพย์สินหรือส่วนรถยนต์แต่อย่างใด
หลังจากอ่านบทความนี้ เราหวังว่าคุณคงได้คำตอบของคำถามที่ว่า “ทำไมต้องทำ พ.ร.บ.รถกันแล้วนะครับ”และสนใจต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ออนไลน์ง่าย ๆ เพียงปลายนิ้วสัมผัส ต่อกับ frank.co.th ได้เลย รับเอกสารทันทีภายใน 3 นาที ไม่ต้องรอให้ยุ่งยาก ไม่ต้องออกบ้านให้เสียเวลา พร้อมยื่นจดภาษีประจำปีได้เล้ย!!
ข้อมูลจาก frank.co.th